[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 19 มีนาคม 2554 12:46:41



หัวข้อ: ศีล - สมาธิ - ปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 19 มีนาคม 2554 12:46:41
(http://www.seesod.com/storage36/9W9uBpVgrm1295519812/l.jpg)

http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma

(http://uyfz9q.bay.livefilestore.com/y1puwwLyY1hQGevKbPEFyCjgBoQn3NSNeo-y8gjotl_lxJ--glH5i3PgMx-t56j5hxrXEdhp0j_jvxReSFv7ti_moNX3z_jaCAr/hyooneunhye.gif?psid=1)



ถ่ายภาพประกอบเนื้อหาสาระโดย Sometime สงวนลิขสิทธิ์ภาพตามกฏหมาย



ทำไมท่านจึงกล่าวว่า สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ทั้งที่ปัญญาเกิดได้จาก

สาเหตุอื่นอันเป็นกุศลอีกหลายเหตุ ?

ต้องเข้าใจก่อนว่า สมาธิอันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา สมาธิในที่นี้คืออย่างไรที่

ทำให้เกิดปัญญาและปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาอะไร

สมาธิหรือความตั้งมั่นแห่งจิตนั้นมีทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิเพราะฉะนั้น..................

มิจฉาสมาธิที่เป็นความตั้งมั่นที่เป็นเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตจะไม่เป็นสัมมา

สมาธิและไม่เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญาได้เลย เพราะปัญญาที่กล่าวถึงคือปัญญาที่รู้แจ้ง

ตามความเป็นจริงในสภาพธรรมในขณะนี้{รู้ทุกขอริยสัจ}โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์

เป็นอนัตตาเพราะฉนั้น...............สมาธิใดที่เกิดพร้อมปัญญาที่รู้ความจริงในขณะนี้{เอกัคคตา

เจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท} สมาธินั้นเป็นสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นในอารมณ์นั้นเมื่อสมาธิ

ตั้งมั่นในอารมณ์นั้นปัญญาก็รู้ความจริงในสภาพธรรมนั้นที่กำลังปรากฎตามความเป็น

จริงและอีกประการหนึ่ง สมาธิใดที่เมื่อเกิดแล้ว ทำให้เกิดการรู้สภาพธรรมตามความเป็น

จริงจนถึงระดับวิปัสสนาญานและบรรลุธรรมสมาธินั้นก็เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาด้วย

เช่นกัน เป็นสัมมาสมาธิ แต่จะเห็นได้ว่าที่กล่าวมาจะต้องมีปัญญา มีความเข้าใจในเรื่อง

ของสภาพธรรมเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว หากไม่เข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐานก็ไม่สามารถที่

จะรู้แจ้งอริยสัจ 4 เป็นสมมาสมาธิในการตรัสรู้ได้เลย ดังเช่น ดาบสทั้งหลายที่ได้ฌาน

แต่ก็ไม่สามารถรู้ความจริงในขณะนี้พราะไม่มีความเข้าใจเรื่องการ{เจริญสติปัฏฐาน}นั่นเอง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม 5 ภาค 2 หน้าที่ 404



คำว่า{สมาธิ}ที่ถูกต้องเป็นสัมมาสมาธิตามความหมายใน ข้อ 3 นั้นจะทำให้ได้

อภิญญาด้วยหรือจะเกี่ยวกันหรือไม่เนื่องจากเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปจริง ๆ ว่าหากนั่ง

สมาธิแล้วจะทำให้ได้อิทธิฤทธิ ปาฏิหาริย์ หายโรค - หายภัย ต่าง ๆ เป็นผลพลอยได้ ?

การเจริญสมาธิตามพระสูตรข้างต้นเป็นสัมมาสมาธิที่เป็นการเจริญฌานด้วย เพราะ

ฉะนั้นเมื่อเจริญฌานจนถึงขั้นสูงสุดและมีความคล่องแคล่วในเรื่องฌานย่อมสามารถได้

ฤทธิ์ต่าง ๆ ได้แต่หากขาดความเข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ฌานนั้นก็ไม่สามารถเป็น

บาทอันทำให้บรรลุธรรมได้เลยซึ่งการเจริญฌานที่ถูกต้องเพียงเบื้องต้นยังยากที่จะ

ทำได้ไม่ต้องกล่าวถึงการบรรลุขั้นสูงสุดที่จะได้ฤทธิ์และที่สำคัญการเข้าใจความจริง

ในเรื่องการเจริญสติปัฏฐานนั้นยากกว่าการเจริญฌานหาประมาณมิได้เพราะฉะนั้น

จึงเป็นเรื่องของปัญญาความเข้าใจทั้งหมดสำคัญที่สุดคือความเข้าใจในเรื่องสติปัฏ

ฐานหรือการเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะนี้เป็นพื้นฐาน



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า........................

ทานที่ให้แล้วมีผล

ยัญที่บูชาแล้วมีผล

สังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล

ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วมีอยู่

โลกนี้มี - โลกอื่นมี

มารดามีคุณ - บิดามีคุณ

สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี

สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ

ปฏิบัติชอบซึ่งประกาศโลกนี้

โลกอื่นให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ

เทวทหวรรคที่ 1 จูฬปุณณมสูตรที่ 10 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม 3 ภาค 1 หน้าที่ 189



หัวข้อ: Re: ศีล - สมาธิ - ปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 19 มีนาคม 2554 19:27:56
อนุโมทนาสาธุธรรมครับ อ.บางครั้ง