[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 17 สิงหาคม 2559 00:00:20



หัวข้อ: พระอริยจริยาวัตร “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” ที่หาชมได้ยากมาก
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 17 สิงหาคม 2559 00:00:20
สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) กับ วงศ์พระกรรมฐาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43517 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43517)

ที่นี่...พระของประชาชน
(พระอริยจริยาวัตรของสมเด็จพระสังฆราช)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=49462 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=49462)

พระอริยจริยาวัตร
“สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ”
อันทรงคุณค่า หาชมได้ยากมาก


ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : พระศรัณย์ ปญฺญาพโล
ที่พักสงฆ์อาพาธ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
: หนังสือ บวรธรรมบพิตร ฉบับประมวลพระรูป


(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_paragraph_paragraphparagraph_22_131.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงทอดพระเนตรพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระราชปิตุจฉา
เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
ที่จัดแสดงอยู่ภายในพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เขตพระราชฐานชั้นใน
พระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖

พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรนี้เคยถูกอัคคีภัยทั้งองค์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๑
จนในภายหลังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่
ตามแบบสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียน เพื่อใช้เป็นที่แปรพระราชฐาน
และใช้ในการรับรองพระราชอาคันตุกะ แล้วเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๗

ในส่วนของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์นั้น ทรงเป็นพระราชธิดา
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
จึงทรงเป็นพระราชปิตุจฉา (ป้า)
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ ๙


(http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph__paragraph_paragraphparagraph44_930.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงทอดพระเนตรพระบรมสาทิสลักษณ์ล้นเกล้าทั้ง ๒ พระองค์
ภายในพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เขตพระราชฐานชั้นใน
พระราชวังบางปะอิน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา


(http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraphparagraph_oe_191.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงทอดพระเนตร “พระแท่นที่ประทับ”
ภายในท้องพระโรงของพระที่นั่งวโรภาษพิมาน
เขตพระราชฐานชั้นนอก พระราชวังบางปะอิน
อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖


(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph___oe_325.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “หลวงพ่อพุทธโสธร” หรือ “หลวงพ่อโสธร”
พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา
ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ (หลังเก่า) วัดโสธรวราราม วรวิหาร
ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖


ประวัติ “หลวงพ่อพุทธโสธร” วัดโสธรวราราม วรวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=38565 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=38565)

(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_____507.jpg)


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงนำพระเถรานุเถระกราบสักการะ “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร”
หรือ “พระแก้วมรกต” พระประธานในพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ในพระบรมมหาราชวัง
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๐


ประวัติ “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” หรือพระแก้วมรกต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19306 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19306)


(http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraph__oe_194.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “พระพุทธเทวปฏิมากร” พระประธานในพระอุโบสถ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๖

พระพุทธเทวปฏิมากรนี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์)
มาประดิษฐานเป็นองค์พระประธาน ณ พระอารามแห่งนี้


ประวัติ “พระพุทธเทวปฏิมากร” วัดพระเชตุพนฯ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19303 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19303)

(http://www.dhammajak.net/board/files/ae__15_157.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงถวายพวงมาลัยสักการะ “พระไพรีพินาศ”
พระพุทธรูปศิลาปิดทอง ศิลปะศรีวิชัย ปางประทานพร
ในโอกาสที่เสด็จขึ้นคำบูชาและวางเครื่องสักการะพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร
เนื่องในวันมาฆบูชา วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕


“พิธีมาฆบูชา” เป็นธรรมเนียมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ทรงตั้งขึ้นนับแต่ยังทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร
ด้วยเป็นพิธีบูชาที่ทรงพระราชดำริขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก
ซึ่งหลังจากพระองค์ทรงนำทำวัตรสวดมนต์แล้ว
จักเสด็จไปยังลานประทักษิณชั้นบนของพระเจดีย์
ทรงกล่าวคำบูชาพระเจดีย์แล้ววางเครื่องสักการะ
(โดยไม่มีการเวียนเทียนแต่อย่างใด)



เหตุใดจึงชื่อ “พระไพรีพินาศ” ?
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=44199 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=44199)

(http://www.dhammajak.net/board/files/__paragraph_15_741.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “พระพุทธวชิรญาณ” พระพุทธรูปฉลองพระองค์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ภายในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร
เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๕


รัชกาลที่ ๔ พระบูรพาจารย์ในการก่อตั้งวงศ์พระธรรมยุต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=45383 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=45383)

(http://www.dhammajak.net/board/files/__paragraph_15_741.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “พระพุทธวชิรญาณ” พระพุทธรูปฉลองพระองค์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ภายในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร
เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๕


รัชกาลที่ ๔ พระบูรพาจารย์ในการก่อตั้งวงศ์พระธรรมยุต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=45383 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=45383)

(http://www.dhammajak.net/board/files/__paragraph_16_175.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “พระพุทธปัญญาอัคคะ” พระพุทธรูปฉลองพระองค์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
ภายในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๕

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๒
และทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ (พระอุปัชฌาย์)
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕



พระประวัติ “สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=26031 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=26031)

(http://www.dhammajak.net/board/files/_22_785.jpg)

ณ พระตำหนักเดิม (พระตำหนักใหญ่) ชั้น ๒
ที่สถิตของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร - ภาพในอดีต

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงสักการะพระอัฐิและอัฐิของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ภายในพระคูหาไม้แกะสลัก ด้านบนประดับลวดลายฉัตร ๕ ชั้น
พระคูหาหลังนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิร่วมกัน ๓ พระองค์ ได้แก่
๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๒
๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๓
๓. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๔

สำหรับอัฐิของ “พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)”
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๕
ประดิษฐาน ณ ม้าหมู่ด้านหน้าพระคูหาไม้แกะสลักดังกล่าว

(http://www.dhammajak.net/board/files/_11_740.jpg)

ณ พระตำหนักเดิม (พระตำหนักใหญ่) ชั้น ๒
ที่สถิตของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร - ภาพในปัจจุบัน

 พระคูหาตรงกลาง : ประดิษฐานพระอัฐิ
๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๒ ร่วมกับ
๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๓

 พระคูหาเบื้องซ้าย : ประดิษฐานพระอัฐิ
๑. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๔ ร่วมกับ
๒. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๖

 พระคูหาเบื้องขวา : ประดิษฐานอัฐิ “พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)”
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๕


หัวข้อ: Re: พระอริยจริยาวัตร “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” ที่หาชมได้ยากมาก
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 17 สิงหาคม 2559 00:01:01
(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_paragraphparagraph_paragraph_16_190.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
กำลังเสด็จกลับภายหลังทรงนมัสการพระปฐมเจดีย์
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
เนื่องในธรรมเนียมการนมัสการพระปฐมเจดีย์

ธรรมเนียมการนมัสการพระปฐมเจดีย์นี้
เป็นธรรมเนียมของ “คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย”
ที่สืบมาตั้งแต่ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ยังทรงพระผนวช และทรงค้นพบพระปฐมเจดีย์
โดยสันนิษฐานว่าเป็นพระสถูปโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินนี้
จึงทรงโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ ด้วยพระราชศรัทธาเลื่อมใส
ด้วยทรงสันนิษฐานเห็นความมหัศจรรย์ของพระสถูป
จึงสถาปนาให้เป็นพระมหาสถูปและเป็นพระเจดีย์สำคัญของแผ่นดิน

เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายสืบมา
ได้ทรงตั้งเป็นธรรมเนียมขึ้นโดยกำหนดไว้ว่า
ภายหลังเสร็จการรับกฐินแห่งวัดทั้งหลายแล้ว
ทรงนัดพระเถรานุเถระทั้งหลายไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
สืบมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้ทรงกำหนดธรรมเนียมนี้ในวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี



ประวัติ “คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=47044 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=47044)

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39910 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39910)

(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_____601.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เสด็จฯ ออกทรงรับน้ำสรงพระราชทานฯ
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติพระชันษา ๘๙ ปี
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕
ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


(http://www.dhammajak.net/board/files/64_112.jpg)

“ห้องกระจก” ใต้กุฏิไม้หลังใหญ่
ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้า “พระตำหนักคอยท่าปราโมช”
คณะเหลืองรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร


(http://www.dhammajak.net/board/files/268_1455695973.jpg_160.jpg)

พลโท Phone Myint รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและการศาสนา
พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตแห่งเมียนมาร์ และคณะ
เข้าถวายสักการะ ณ ห้องรับแขก พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้นล่าง
วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔
ในคราวอัญเชิญเครื่องสมณศักดิ์ที่ “อภิธชมหารัฏฐคุรุ”
อันเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์เมียนมาร์
มาถวายแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
นับว่าทรงเป็นพระมหาเถระไทยองค์ที่ ๒ ที่ได้รับพระเกียรติยศเช่นนี้
จากคณะสงฆ์เมียนมาร์ สืบต่อจาก “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์”
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ที่ทรงได้รับการถวายเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐
ในคราวที่นายกรัฐมนตรีแห่งเมียนมาร์
ได้รับเชิญมาร่วมในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษในประเทศไทย


หมายเหตุ : สมัยก่อนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงรับแขก
ที่ห้องรับแขก พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้นล่างบ้าง
ที่ห้องกระจก ใต้กุฏิไม้หลังใหญ่ ด้านหน้าพระตำหนักคอยท่าปราโมชบ้าง
เมื่อประมาณหลังปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ เป็นต้นมา
แต่ละวันจะมีประชาชนเดินทางมาเข้าเฝ้ากราบนมัสการเป็นจำนวนมาก
เนื่องด้วยทั้งพระตำหนักฯ ชั้นล่าง และในห้องกระจกดังกล่าวคับแคบ
จึงเปลี่ยนมาทรงรับแขกที่บริเวณลานด้านหน้าพระตำหนักฯ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่ง
เชื่อมต่อระหว่างพระตำหนักฯ กับกุฏิไม้หลังใหญ่ที่ชั้นล่างเป็น “ห้องกระจก”


(http://www.dhammajak.net/board/files/_9_139.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทรงถวายสังฆทานทุกวันจันทร์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ณ ห้องรับแขก
พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้นล่าง วัดบวรนิเวศวิหาร


ในภาพ : (ก) ประตูที่อยู่ด้านหลังของเจ้าประคุณสมเด็จฯ
คือ ประตูเข้าห้องทรงงานซึ่งใช้เป็นที่เสวยด้วย
(ข) ป้ายที่แขวนอยู่บนตู้เหนือพระเศียรของเจ้าประคุณสมเด็จฯ
คือ ป้ายลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่ทรงเขียนป้ายบอกให้พุทธศาสนิกชนรอก่อนเมื่อถึงเวลาเสวย
โดยทรงลงพระนามกำกับไว้ด้วย ความว่า “เมื่อถวายภัตตาหารแล้ว
ขอเชิญท่านสาธุชนทั้งหลายลงคอยข้างล่างจนฉันเสร็จ
ระหว่าง ๘.๐๐ น. - ๙.๓๐ น.
สิรินธร
๒๙ เมษายน ๒๕๒๕”


(http://www.dhammajak.net/board/files/3000_169.jpg)

ความเรียบง่ายภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนา
เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระญาณสังวร”
ทรงออกรับการปฏิสันถารจากพุทธศาสนิกชน ณ ห้องหน้ามุข
พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้น ๒ วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕


“พระตำหนักคอยท่าปราโมช” วัดบวรนิเวศวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=46698 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=46698)


(http://www.dhammajak.net/board/files/____paragraph__234_378.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงเป็นองค์ประธานในการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.)
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๓
โดยทรงนำกรรมการมหาเถรสมาคมและพระมหาเถรานุเถระ
นมัสการพระรัตนตรัยก่อนเริ่มการประชุม


(http://www.dhammajak.net/board/files/_paragraphparagraph_456_992.jpg)

ท้องพระโรงพระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร

(http://www.dhammajak.net/board/files/__16_971.jpg)

ธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์อย่างหนึ่งในเทศกาลเข้าพรรษา
คือพระสงฆ์จะไปกราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ
ที่อาจจะพลั้งเผลอล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ในรอบปีที่ผ่านมา
ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกเวลาหากมีความประมาท ก่อนอธิษฐานเข้าพรรษา
จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติคือการกราบขอขมาคารวะต่อพระรัตนตรัย
จากนั้นก็จะมากราบขอขมาคารวะต่อพระเถระในอารามที่พระสงฆ์จะอยู่จำพรรษา
หลังเข้าพรรษาก็จะนิยมเดินทางไปกราบขอขมาคารวะ
ต่อพระเถระทั้งหลายตามวัดต่างๆ ขอให้ท่านอดโทษ ยกโทษให้
ดังนั้น หลังวันเข้าพรรษาตามอารามต่างๆ
ที่มีพระเถระผู้มีตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์อยู่
จึงมีพระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ
เดินทางมากราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ ณ อารามทั้งหลาย


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา ก็มักทรงเสด็จฯ ไปสักการะ
อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารทุกพระองค์ในวันเข้าพรรษา
หลังจากนั้นก็จะเสด็จฯ ไปสักการะพระอัฐิ
ของสมเด็จพระสังฆราชในอดีตทุกพระองค์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส
ตลอดจนเสด็จฯ ไปสักการะ “พระเทพมงคลรังษี (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)”
พระอุปัชฌาย์ในคราวอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
อยู่เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด ในขณะเมื่อพระอนามัยยังอำนวย
ทั้งยังโปรดให้มีการสร้างสาธารณูปโภคอุทิศถวาย
เป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราชในอดีตทุกพระองค์ด้วย
นับเป็นความกตัญญุตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ


ประเพณีการขอขมาคารวะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=30082 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=30082)

(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_22_210.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงบิณฑบาต ณ วัดสีตลาราม (วัดน้ำหัก) ต.ระแหง อ.เมือง จ.ตาก
ในคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ภาคพายัพ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๔


(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_40_619.jpg)

ภิกษุ ซึ่งแปลว่า ผู้ขอนั้นเป็นผู้ขอโดยปรกติ
เดินอุ้มบาตรเข้าไปในละแวกบ้าน ด้วยอาการที่สำรวม
สำรวมตา สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ เดินเข้าไป
ผู้มีศรัทธาเกิดความเลื่อมใสก็ใส่บาตรถวาย
และผู้ถวายนั้นก็ไม่ได้ดูหมิ่นว่าเป็นยาจกวณิพก
แต่ว่าถวายด้วยความเคารพนับถือ
ถือว่าเมื่อใส่บาตรถวายพระแล้วก็ได้บุญ
เพราะฉะนั้น เมื่อพระอุ้มบาตรเข้าไป คนไทยเราจึงเรียกว่า พระมาโปรด
อันแสดงว่าใส่บาตรถวายด้วยความเคารพ และถือว่าได้บุญกุศล

การบิณฑบาต “อาการที่ขออย่างภิกษุ” ดั่งนี้
จึงไม่ใช่เป็นการขอที่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน
พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเปรียบว่า
เหมือนอย่างแมลงผึ้งที่เคล้าเอารสของดอกไม้เพื่อไปทำน้ำผึ้ง
โดยไม่เบียดเบียนดอกไม้ ไม่เบียดเบียนกลิ่นของดอกไม้
ไม่เบียดเบียนรสส่วนใดส่วนหนึ่งของดอกไม้ต้นดอกไม้
นำเอารสหวานไปเท่านั้น

มุนีผู้ที่จาริกบิณฑบาตไปในละแวกบ้านก็เช่นเดียวกัน
ไม่เบียดเบียนชาวบ้านให้เดือดร้อน
รับแต่ของที่เขาแบ่งมาใส่บาตรคนละเล็กคนละน้อย
โดยไม่ทำให้ผู้ที่ใส่บาตรต้องเดือดร้อน ต้องเสียหายแต่อย่างใด
เพราะโดยปกตินั้นเขาก็ปรุงอาหารไว้สำหรับบริโภคอยู่แล้ว
และโดยมากนั้นก็มักจะปรุงไว้มีส่วนเหลือ
เพราะฉะนั้น แม้เขาจะแบ่งมาใส่บาตรบ้าง
ก็ไม่ทำให้เขาต้องขาดอาหารบริโภค
แล้วก็ใส่บาตรกันหลายๆ คน คนละเล็กคนละน้อย


จาก...หนังสือพระไตรรัตนคุณ เรื่อง “ปาหุเนยโย” หนึ่งในพระสังฆคุณ
หนังสือที่ระลึกงานออกพระเมรุพระศพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

(http://www.dhammajak.net/board/files/__1_190.jpg)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านพระไตรปิฎก วรรณกรรมบาลี
และภาษาบาลีเป็นอย่างดี ด้วยทรงพระนิพนธ์ตำราทางด้านนี้ไว้เป็นจำนวนมาก
พระเกียรติคุณของพระองค์จึงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ
ดังที่พระองค์ทรงได้รับเลือกเป็นกรรมการรจนาพจนานุกรมภาษาบาลี
ที่มีชื่อว่า A Critical Pali Dictionary จาก
ราชบัณฑิตสมาคมทางวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์แห่งประเทศเดนมาร์ก
(The Royal Danish Academy of Sciences and Letters)
อันนับว่าเป็นพระเกียรติคุณอย่างสูงที่พระองค์ทรงได้รับประการหนึ่ง


ส่วนหนึ่งจาก...คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณในวโรกาส
ถวายปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสนาเปรียบเทียบ)
แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีการศึกษา ๒๕๓๑

(http://www.dhammajak.net/board/files/_oeae__17_447.jpg)

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช มาร่วมถวายสักการะ
และเฝ้าอังคาส (ถวายอาหารพระ) แด่
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
เนื่องในงานพิธีสมโภชสุพรรณบัฏ สมเด็จพระราชาคณะ
และวันคล้ายวันประสูติครบ ๖๐ ปี วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖


สมเด็จพระญาณสังวรฯ กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อครั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาพื้นฐาน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น มีการเพิ่มรายวิชาอารยธรรมไทย
เป็นวิชาพื้นฐานทั่วไปสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ทุกคน
ในที่ประชุมครั้งนั้น ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ ได้เสนอว่า
วิชาพื้นฐานทั่วไปสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ในต่างประเทศนั้น
“...มักเอาอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ที่มีความรู้มากมาสอนปี ๑
ไม่ใช่เอาอาจารย์เด็กไปสอนปี ๑...”

ในที่ประชุมจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรกราบเรียน
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มาเป็นผู้สอน แม้ท่านจะกรุณารับ
แต่ก็ได้เสนอแนวทางเพิ่มเติมไว้ให้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
โดยที่ท่านเป็นคนมาสอนทางด้านวัฒนธรรม
นาฏศิลป์ และวรรณคดีในตอนเริ่มต้น

ในส่วนของศาสนา ในครั้งแรกท่านจะไม่สอน
โดยท่านแนะนำให้อาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ซึ่งในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
มาเป็นผู้บรรยายในส่วนของพระพุทธศาสนา
โดยท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นผู้นำคณาจารย์
ไปกราบเรียนเชิญด้วยตนเอง
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็บอกว่าท่านสอนได้ช่วงหนึ่ง
คือเป็นหลักพระพุทธศาสนาเท่านั้น
เรื่องอื่นๆ ขอให้อาจารย์คึกฤทธิ์ช่วยสอน

ครั้งนั้นจึงเป็นครั้งแรกที่มีการนิมนต์พระเถระผู้ใหญ่
มาเป็นผู้บรรยายในมหาวิทยาลัยฝ่ายโลก



จาก...หนังสือครูคึกฤทธิ์
โดย อัจฉราพร กมุทพิสมัย และสุนทรี อาสะไวย์
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
พิมพ์ในโอกาสครบรอบอายุ ๘๔ ปี วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘
และหนังสือบวรธรรมบพิตร ฉบับประมวลพระรูป

(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_11_675.jpg)

รถยนต์... ก็ยังนับว่าไม่เหมาะ

ในการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มักใช้บริการรถรับจ้างสาธารณะ
ด้วยไม่โปรดที่จะรบกวนผู้อื่น หากเดินไปเองได้ ก็จะเดิน

บ่อยครั้งที่มีผู้มาอาราธนาไปบำเพ็ญกุศลที่บ้าน
ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดมากนัก
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็จะตรัสแก่เจ้าภาพว่า
“ไม่ต้องเอารถมารับนะ แล้วจะเดินไปเอง”

เมื่อคราวที่ต้องไปปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์
ประทานบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร ณ วัดพุทธบูชา บางมด
เป็นประจำทุกปีก่อนเข้าพรรษา ก็โปรดที่จะเดินทางโดยรถแท็กซี่
จากวัดบวรนิเวศวิหารต่อหนึ่ง แล้วไปลงเรือหางยาวอีกต่อหนึ่ง
ลัดเลาะเรื่อยไปตามคลอง จนถึงวัดพุทธบูชา

ด้วยเหตุนี้ ผู้เคารพนับถือหลายคน
จึงพยายามที่จะถวายรถยนต์สำหรับทรงใช้ส่วนพระองค์
แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ ด้วยเหตุผลง่ายๆ
“ไม่รู้จะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน”

อีกครั้งหนึ่ง คราวเกิดเหตุระเบิดขึ้นข้างพระตำหนัก
ในช่วงบ่ายขณะที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
กำลังสนทนาธรรมอยู่กับนางโยเซฟีน สแตนตัน*
ซึ่งโชคดีว่าไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
แต่เหตุระเบิดในครั้งนั้นทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาถวายอารักขา วันละ ๑ นาย
และโปรดให้รถยนต์หลวง (รยล.) มาประจำไว้ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
เพื่อถวายความสะดวกในการเสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจยังสถานที่ต่างๆ

สำหรับกรณีของรถยนต์หลวงนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับสั่ง
กับเจ้าหน้าที่ผู้รับรับสั่งสั้นๆ เพียงว่า
“ไม่สมควร”

เป็นอันว่าไม่ทรงรับไว้
เพียงแต่ขอรับพระราชทานใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้น


หมายเหตุ : * นางโยเซฟีน สแตนตัน
คือ ภรรยาของนายเอดวิน เอฟ สแตนตัน
อดีตเอกอัครราชทูตอเมริกาประจำประเทศไทยคนแรก


หลวงพ่อชากับรถยนต์ (หนังสือลำธารริมลานธรรม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=52037 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=52037)


(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraphparagraphae_2520_aeparagraph_paragraphparagraph_793.jpg)

พระเมตตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่มีประมาณ
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ เสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจทางภาคอีสาน
ทรงแวะตามหมู่บ้านประทานของแจกแก่ชาวบ้านที่ประสบภัยพิบัติ


ในยามที่ประชาชนประสบภัยพิบัติต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ไฟไหม้ โรคระบาด ภัยร้อน ภัยแล้ง ภัยหนาวต่างๆ
ก็จะทรงขวนขวายในทันทีทั้งด้านปัจจัยสี่ ทั้งการเยียวยาจิตใจ
และบำรุงขวัญด้วยธรรมะ เพื่อเกื้อกูล ผ่อนหนักให้บรรเทาเบาลง
ทั้งที่พระองค์เองก็ใช่ว่าจะมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์นัก
แต่ละวันถูกรุมเร้าด้วยพระศาสนกิจตั้งแต่เช้าจรดค่ำ
บางคราวต้องเสด็จไปกิจนิมนต์ไกลโพ้นข้ามจังหวัด
ทว่าก็ไม่เคยแสดงอาการอ่อนล้า
ครั้นผู้ถวายงานใกล้ชิดกราบทูลให้ทรงผ่อนคลายหรือละเว้นเสียบ้าง
ก็จะทรงพระสรวลแต่เบาๆ พลางรับสั่งว่า
“เออ ! จะทำอย่างไรได้...ที่นี่เป็นพระของประชาชน”


(http://www.dhammajak.net/board/files/_15_640.jpg)

วินัยกรรม ชีวิตก
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระโศภณคณาภรณ์
ทรงเป็นผู้ดำรงอยู่ในความไม่ประมาท
ด้วยทรงมีพระลิขิต “วินัยกรรม” หรือพระพินัยกรรม
ไว้ด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองลงบนกระดาษ ๑ แผ่น
จัดแจกบริขารทั้งปวงให้แก่สงฆ์ในอารามต่างๆ ดังปรากฏความว่า


บริกขารทั้งปวงก็ดี สิทธิเพื่อบริกขารทั้งปวงก็ดี ของข้าพเจ้า :
อยู่วัดบวรนิเวศ ถวายแด่ท่านเจ้าอาวาส

(ภายหลังเมื่อทรงครองวัด จึงขีดฆ่าออกแล้วลงพระนามกำกับไว้
ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ)

และพระกรรมการวัดบวรนิเวศ
อยู่ที่วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี
ถวายแด่ท่านเจ้าอาวาส
และพระเถระผู้รองลงมาอีก ๓ รูป วัดเทวสังฆาราม
นอกจากนี้ อยู่ที่ผู้ใดที่ไหน ให้แก่ผู้นั้นที่นั้น
ข้าพเจ้ามีความประสงค์แจ้งอยู่ในแบบวินัยกรรมชีวิตกนี้

พระโศภณคณาภรณ์
เขียนที่กุฏิคอยท่า วัดบวรนิเวศวิหาร
๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๒
เวลา ๒๓.๒๐ น.

ยืนยันตามนี้ พระโศภณคณาภรณ์
ยืนยันตามนี้ พระโศภณคณาภรณ์ ๒๒ เม.ย. ๒๔๙๖
,,______,, พระสาสนโสภณ ๒๕ ก.ค. ๒๕๐๙

พระวินัยกรรมนี้นอกจากจะแสดงความไม่ประมาทในการใช้ชีวิต
เนื่องด้วยทรงมีพระลิขิตตั้งแต่มีพระชนมายุได้ ๓๖ ปี
แล้วยังคงดำรงมั่นในเจตนารมณ์นี้ด้วยการลงพระนามกำกับอีก ๒ ครั้ง
ทั้งในปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๔๐ ปี
และในปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๕๓ ปี
ในครั้งหลังนี้พระองค์ได้ทรงขีดทับข้อความในพระวินัยกรรม
ที่ยกบริขารในส่วนของวัดบวรนิเวศวิหารออก
เนื่องด้วยพระองค์ท่านดำรงสถานะเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว
จึงไม่จำเป็นต้องยกบริขารใดๆ ให้เจ้าอาวาสอีก
พระวินัยกรรมนี้ยังสะท้อนถึงหลักอนุสสติ ๑๐
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงพิจารณามรณานุสสติอยู่เนืองๆ
นับเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ชิวิต
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับคนรอบข้างหากต้องจากโลกนี้ไป


จาก : หนังสือบวรธรรมบพิตร ฉบับประมวลพระรูป

จาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51025 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51025)