[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ในครัว => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 26 สิงหาคม 2559 10:11:31



หัวข้อ: 28 คุณค่าของเพกา พืชพื้นบ้าน ที่คนไทยไม่ค่อยรู้จัก เป็นทั้งอาหารและยา
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 26 สิงหาคม 2559 10:11:31
(http://www.winnews.tv/upload/media/entries/2016-08/16/6453-0-b8eaadc53068d1d3db413517d4f83ab1.jpg)

เพกา(ลิ้นฟ้า) มีสรรคุณเป็นยา ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆของต้นเพกาตั้งแต่ ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร “เพกาทั้ง 5”

สรรพคุณของเพกา

    1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมของเซล์ต่างๆในร่างกาย

    2. ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย และช่วยชะลอวัย

    3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา

    4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้

    5. เป็นยาบำรุงธาตุ

(http://www.winnews.tv/upload/media/entries/2016-08/16/6453-2-ed5f754e0d53f54603b35fb1f7595ecc.jpg)

    6. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก,ใบ)

    7. เป็นส่วนประกอบยาช่วยรักษาโรคเบาหวาน

    8. การรับประทานฝักเพาหรือยอดอ่อนเพกาจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้

    9. ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขับเลือดดับพิษในโลหิต

    10. การกินฝักอ่อนของเพกาจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ร้อนใน

เพกาฝัก

(http://www.winnews.tv/upload/media/entries/2016-08/16/6453-3-ed5f754e0d53f54603b35fb1f7595ecc.jpg)

    11. ช่วยบรรเทาอาการปวดไข้ ด้วยการใช้ใบเพกาต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้เพื่อลม ช่วยแก้ละอองไข้ หรือโรคเยื่อเมือกในช่องจมูกอักเสบ

    12. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อนๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝัก อ่อน,เมล็ด)

เพกาปิ้ง

(http://www.winnews.tv/upload/media/entries/2016-08/16/6453-4-50c9a7889f970d5f9a29367deefe56f9.jpg)

   13. ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้ม นำน้ำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    14. ช่วยแก้อาเจียนไม่หยุด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกาตำผสมกับน้ำส้มที่ได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์

    15. ช่วยเรียกน้ำย่อย (ราก) ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก

    16. ช่วยบำรุงกระเพาะ ตับ และปอด

เพกาจิ้มน้ำพริก

(http://www.winnews.tv/upload/media/entries/2016-08/16/6453-5-50c9a7889f970d5f9a29367deefe56f9.jpg)

    17. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ใบเพกาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการจุกเสียกแน่นท้อง (เปลือกต้น) ช่วยแก้โรคบิด (เปลือกต้น,ราก)ช่วยรักษาท้องร่วง

    18. ช่วยขับลมในลำไส้ ใช้เป็นยาขับถ่าย ช่วยระบายท้อง ช่วยในการขับผายลม

เพกายำ

(http://www.winnews.tv/upload/media/entries/2016-08/16/6453-6-50c9a7889f970d5f9a29367deefe56f9.jpg)

      19. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น) ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ

      20. ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ ปวดบวม อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นหรือรากเพกากับน้ำปูนใสทาลดบริเวณที่เป็น  ช่วยรักษาฝี ลดอาการปวดฝี ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณรอบๆบริเวณที่เป็นฝี ช่วยแก้อาการคัน ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น

เพกาไข่ทอด

(http://www.winnews.tv/upload/media/entries/2016-08/16/6453-7-52cad6e895908aac8a4cb2e89caefbc3.jpg)

    21. ใช้เป็นยาแก้พิษหมาบ้ากัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกานำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด

    22. ช่วยแก้โรคงูสวัด ด้วยการใช้ เปลือกต้นเพกา เปลือกคูณ รากต้นหมูหนุน นำมาฝนใส่น้ำทาบริเวณที่เป็น จะช่วยให้หายเร็วขึ้น

    23. เปลือกต้นมีสารสกัดฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อ

    24. แก้โรคไส้เลื่อน  ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกา รากเขยตาย หญ้าตีนนก นำมาตำรวมกันให้ละเอียด แล้วนะไปละลายกับน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด นำมาทาลูกอัณฑะ ให้ทาขึ้นอย่าทาลง

แกงกะทิเพกา

(http://www.winnews.tv/upload/media/entries/2016-08/16/6453-8-52cad6e895908aac8a4cb2e89caefbc3.jpg)

    25. ช่วยแก้โรคมานน้ำ หรือภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้องจำนวนมาก เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น

    26. ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

    27. ประโยชน์เพกาฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก

    28. ประโยชน์ของเพกา เปลือกของลำต้นนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า ซึ่งให้สีเขียวอ่อน

เปลือกเพกา ย้อมสีผ้า

(http://www.winnews.tv/upload/media/entries/2016-08/16/6453-9-52cad6e895908aac8a4cb2e89caefbc3.jpg)

สิ่งที่ควรระวัง

หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก !

สารเคมีที่พบในเพกา

ราก มี D-Galatose, Baicalein, Sitosterols

แก่น มี Prunetin, B- sitosterols

ใบ มี Aloe emodin

เปลือก มี Baicalein, Chrysin, 6-Methylbaicalein

อ้างอิงจาก : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี