[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ในครัว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 25 ตุลาคม 2559 16:44:39



หัวข้อ: สาคูแปะก๊วย สูตร/วิธีทำ - ของหวานมากคุณค่าตามตำรับยาจีนโบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 ตุลาคม 2559 16:44:39

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95177246009310_1.JPG)

สาคูแปะก๊วย
ของหวานมากคุณค่าตามตำรับยาจีนโบราณ

• ส่วนผสม
- สาคูเม็ดเล็ก ½ ถ้วย
- แปะก๊วยต้มสุก ½ - 1 ถ้วย
- น้ำตาลทรายขาว¾ ถ้วย
- น้ำสะอาด2+½ ถ้วย
- หัวกะทิ 1 ถ้วย
- เกลือป่น ¼ ช้อนชา
- แป้งข้าวโพด 1 ช้อนชา

• วิธีทำ
1. ใส่สาคูในชามก้นลึก เติมน้ำให้ท่วม แล้วรีบรินน้ำทิ้งให้หมด
    พักสาคูไว้ประมาณ 10 นาที (ให้ความชื้นของน้ำซึมไปในเม็ดสาคู จะช่วยให้กวนไม่นาน)
2. ตั้งน้ำสะอาดสองถ้วยครึ่ง พอน้ำเดือด ใส่สาคูลงไปกวนประมาณ 3-5 นาที ใส่น้ำตาลทราย
    พอน้ำตาลทรายละลายหมด ใส่แปะก๊วยคนให้เข้ากันแล้วยกลง
3. ทิ้งไว้จนเย็น เสิร์ฟพร้อมหัวกะทิสด
4. วิธีทำกะทิราดสาคู ผสมแป้่งข้าวโพดละลายให้เข้ากับกะทิ ใส่เกลือป่น ยกขึ้นตั้งไฟ คนตลอดเวลาจนน้ำกะทิร้อน
    ยกลงจากเตา (อย่าให้กะทิเดือด จะแตกมัน)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82829566217131_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65287231074439_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67584285305605_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95177246009310_1.JPG)

  
วิธีกำจัดความขมของแปะก๊วย (ต้มสุกแล้ว) ให้สังเกตที่ผลของแปะก๊วย ถ้ามีจุดเขียวเล็กๆ ตรงกลางผลด้านบน  แสดงว่ามีต้นอ่อนของแปะก๊วยงอกอยู่ด้านใน  
และต้นอ่อนนี้เองที่ทำให้แปะก๊วยมีรสขม  ให้ใช้ไม้จิ้มฟันแทงจากด้านล่างของผล ซึ่งเป็นส่วนที่เรียวเล็ก แทงขึ้นไปด้านบนตรงๆ  ต้นอ่อนของแปะก๊วยจะหลุดออกมาอย่างง่ายดาย
ทำให้ความขมหมดไปอย่างได้ผลดีที่สุด เรื่องนี้ มีผู้ให้คำแนะนำหลากหลาย บางตำราให้นำไปต้มโดยใส่ผงโซดาไบคาร์บอเนตไปด้วย บางตำราให้นำไปต้มหลายๆ ครั้ง  จะทำให้ความขมหมดไป  
ซึ่งเป็นไปได้แต่ก็จะทำให้คุณค่าของสารอาหารหมดตามไปด้วยเช่นกัน ...  

แปะก๊วย เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบ  พบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซนเมื่อประมาณช่วงราว ค.ศ. ๑๓๐๐ หรือสมัยคามากุระ  ลักษณะพิเศษของต้นแปะก๊วยคือ จะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน  

ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่นๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อม  โรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ

ผลแปะก๊วย ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก


(http://www.kimleng.net/ภาพประกอบ/แปะก๊วย/DSC00971.JPG)
แปะก๊วยในน้ำลำใย - สุขใจดอทคอม