[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 22 พฤศจิกายน 2559 20:34:06



หัวข้อ: ปรางค์สามยอด แดนดินถิ่นวานรของฝูงลิงอารมณ์ดี : อ.เมือง จ.ลพบุรี
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤศจิกายน 2559 20:34:06

เชิญชมภาพอิริยาบถอันน่ารักของบรรดาลิงๆ
ที่อาศัยอยู่ในพระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี

ลิงที่พระปรางค์สามยอด เป็นลิงอารมณ์ดี ไม่ดุร้าย ไม่กลัวคน...คนก็ไม่กลัวลิง
เพราะเขาคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมปรางค์สามยอด
และกราบไหว้บูชาเจ้าพ่อพระกาฬ ที่ศาลพระกาฬไม่ขาดสาย

ภาพ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74106928913129_13.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18676957695020_1.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27487174214588_2.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68885132835970_3.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75906013324856_4.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44182991070879_5.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32042807009484_6.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82219948247075_7.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25199482258823_8.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15279128816392_9.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/96974057621426_10.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36638802828060_11.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/21157420964704_12.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76141721299952_15.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55049622307221_a.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88720172974798_b.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90258528457747_14.jpg)
พระปรางค์สามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี ตั้งอยู่ตรงข้ามศาลพระกาฬ
ถิ่นอาศัยของฝูงลิงขนาดใหญ่ ที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาช้านาน

มีต่อ


หัวข้อ: Re: ปรางค์สามยอด แดนดินถิ่นวานรของฝูงลิงอารมณ์ดี : อ.เมือง จ.ลพบุรี
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤศจิกายน 2559 16:19:23



เมืองลพบุรี หรือเมืองโบราณลพบุรี ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก เดิมเรียกว่าเมืองละโว้ เป็นชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ที่มีผู้คนอาศัยหนาแน่นตั้งแต่สมัยทวารวดี มีหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์กลุ่มชนต่างๆ อพยพเข้ามาอยู่อาศัยหลายกลุ่ม เช่น ชาวลาวจากเมืองเวียงจันทน์ ชายไทยพวนจากเมืองหลวงพระบาง รวมทั้งชาวมอญจากเมืองหงสาวดี เป็นต้น จึงทำให้ผู้คนในเมืองลพบุรีต่างมีภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง

จากการที่เมืองลพบุรีตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เมื่อขอมเรืองอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ ขอมจึงกำหนดให้ละโว้เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองมณฑลละโว้ในเขตทวาราวดีตอนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, ตั้งเมืองสุโขทัยเป็นเมืองหลวงปกครองมณฑลสยาม, ตั้งเมืองหลวงริมหนองหาญ (สกลนครในปัจจุบัน) ปกครองดินแดนแถบที่ราบสูง, และตั้งเมืองเพชรบูรณ์เป็นเมืองหน้าด่านแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่แคว้นโยนก นอกจากนี้ ขอมยังแสดงความเป็นผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือดินแดนเหล่านี้ด้วยการบังคับเกณฑ์ไพร่พลเมืองให้สร้างเทวสถานตามรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมขอมขึ้นกระจายไปตามจุดต่างๆ ของประเทศไทย ได้แก่ที่จังหวัด บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ จันทบุรี ลพบุรี เพชรบุรี เรื่อยไปจนจดเขตแดนประเทศพม่า โดยยังคงปรากฏหลักฐานได้แก่ ปรางค์ ปราสาท จนถึงปัจจุบัน

เมืองลพบุรีหรือเมืองละโว้ในอดีตเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการเมือง ศาสนาและวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและสมัยขอมเรืองอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ และมีความสำคัญยิ่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชราช ที่ทรงโปรดฯ ให้เมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สองรองจากพระนครศรีอยุธยา และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้ทรงสถาปนาให้เมืองลพบุรีเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง จึงทำให้จังหวัดลพบุรีมีโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมาก ได้แก่

๑.พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่ประทับสร้างขึ้นในสมัยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประกอบด้วยพระที่นั่งและตึกต่างๆ ได้แก่ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระที่นั่งจันทรพิศาล ตึกพระเจ้าเหา พระที่นั่งเย็น (เป็นพระที่นั่งที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทอดพระเนตรจันทรุปราคา เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๒๒๘ ร่วมกับบาทหลวงเจซูอิก แห่งประเทศฝรั่งเศส) ท้องพระคลัง โรงช้างหลวง ถังเก็บน้ำ และอาคารหมู่พระที่นั่งซึ่งสร้างเพิ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ได้แก่ หมู่พระนั่งพิมานมงกุฎ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย ตึกพระประเทียบ และที่พักของทหารรักษาการณ์  
๒.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ตั้งอยู่ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติลำดับที่ ๓ ที่ตั้งขึ้นในประเทศไทย แบ่งเป็น ๔ อาคาร คือ
    ๑) หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดแสดงศิลปะโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ ๒,๗๐๐ ปี
    ๒) อาคารพระที่นั่งจันทรพิศาล แสดงโบราณวัตถุที่ทำด้วยหินขนาดใหญ่ พระพุทธรูปต่างๆ
    ๓) อาคารพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ แสดงหนังใหญ่เรื่องรามเกียรติ์ ที่ได้มาจากวัดตะเคียน ต.ท้ายตลาด อ.เมืองลพบุรี
    ๔) อาคารพิพิธภัณฑ์ชาวนา แสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวนา
๓.ศาลพระกาฬ สถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลพบุรี เป็นเทวสถานเก่าแก่ครั้งขอมครองเมืองลพบุรี
๔.ปรางค์สามยอด เป็นสัญลักษณ์ของเมืองลพบุรี เป็นปรางค์ศิลปะเขมรแบบบายน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
๕.เทวสถานหรือปรางค์แขก เป็นปรางค์ที่ก่อสร้างเพื่อประกอบพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ก่อด้วยอิฐสามองค์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕
   ฯลฯ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90258528457747_14.jpg)

พระปรางค์สามยอด
(PHRAPRANG SAM YOD)

พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่บนเนินดินด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ  ลักษณะเป็นปราสาทเรียงต่อกัน ๓ องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมต่อกัน ปรางค์องค์กลางสูงประมาณ ๒๑.๕  เมตร เป็นศิลปะเขมรแบบบายน  มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ก่อด้วยศิลาแลง หินทราย และตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ที่ซุ้มประตูมีเสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤๅษีนั่งชันขาในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบที่นิยมของเสาประดับกรอบประตูศิลปะแบบบายน ที่ปราสาทองค์กลางมีเพดานไม้ซึ่งเขียนสีแดงเป็นลวดลายรูปดอกไม้สมัยอยุธยา

ปรางค์สามยอดนี้เดิมคงเป็นเทวสถานของขอม ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฎอยู่ในองค์ปรางค์ทั้ง ๓ องค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรป ตรงหน้าปราสาทองค์กลางทางทิศตะวันออกมีวิหารอิฐ ซึ่งคงได้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยประตูและหน้าต่างเป็นวงโค้งแบบที่นิยมทำกันมาในรัชสมัยนี้ ภายในวิหารอิฐมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่ยังสมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐

ในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น ปราสาทองค์กลางประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ปราสาทองค์ทิศใต้ประดิษฐานรูปโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปราสาทองค์ทิศเหนือประดิษฐานรูปนางปรัชญาปารมิตา หรือนางปัญญาบารมีศักดิ์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนพระปรางค์สามยอดเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๙ ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70161316543817_1a.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/50511502971251_2a.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45924972949756_2.JPG)
ฤๅษีนั่งชันขาในซุ้มเรือนแก้ว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12776235201292_1.JPG)
ฐานศิวลึงค์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66459214025073_5.JPG)
ฐานศิวลึงค์ ปรากฎอยู่ในองค์ปรางค์ทั้ง ๓ องค์
ศิวลึงค์เป็นความคิดที่พราหมณ์ในสมัยก่อนคิดกันขึ้นมาเพื่อแสดงเป็นสัญลักษณ์
มิใช่ความปรารถนาของพระศิวะที่จะให้พราหมณ์นับถือศิวลึงค์ หรือโยนี

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61869179788562_b.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60805068040887_a.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72319237556722_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62345229337612_3.JPG)
เพดานไม้เขียนสีแดง สมัยอยุธยา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77114759178625_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47025404001275_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36183653109603_10.JPG)




หัวข้อ: Re: ปรางค์สามยอด แดนดินถิ่นวานรของฝูงลิงอารมณ์ดี : อ.เมือง จ.ลพบุรี
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 ธันวาคม 2559 15:58:52

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90258528457747_14.jpg)

พระปรางค์

พระปรางค์เป็นสถาปัตยกรรมที่ชาวไทยนิยมสร้างขึ้นเป็นศาสนสถานประเภทหนึ่ง แต่เดิมเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของขอม โดยมีคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ พระปรางค์ที่สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนาส่วนมากสร้างด้วยเครื่องก่ออิฐและศิลาแลง มีรูปทรงสัณฐานส่วนที่เป็นองค์พระปรางค์คล้ายกับฝักข้าวโพด ตั้งตรงขึ้นไปบนฐานรูป ๔ เหลี่ยม ขนาดลดหลั่นซ้อนเทินขึ้นไป

องค์ประกอบของพระปรางค์ ได้แก่
๑.นภศูล คือส่วนปลายแหลมที่ประดับบนยอดปลายสุดของเจดีย์ทรงปรางค์ ทำด้วยโลหะหล่อเป็นรูป ๔ แฉกคล้ายปลายดาบ ต่อซ้อนกัน ๒-๓ ชั้น ระหว่างกลางแทรกด้วยแกนคล้ายปลายหอก  ซึ่งต้นแบบของการประดับมีมาก่อนปราสาทแบบเขมร
๒.บัวกลุ่ม คือส่วนที่อยู่บนยอดสุดของปรางค์ ลักษณะรูปกลีบบัวแย้ม ตั้งรับนภศูล
๓.รัดอก ส่วนประดับคาดกลางองค์ประกอบใดๆ เช่น คาดกลางองค์ระฆัง หรือคาดส่วนกลางของเสา จุดประสงค์เพื่อการประดับให้สวยงาม
๔.กลีบขนุน คือส่วนประดับบนมุมชั้นซ้อนเป็นส่วนบนของ “เจดีย์ทรงปรางค์” รูปร่างของกลีบขนุน คงดูคล้ายหนึ่งในสี่ส่วนของลูกขนุนผ่าตามตั้ง จึงเข้าใจว่าคือที่มาของชื่อที่เรียกตามลักษณะว่ากลีบขนุน ต้นแบบของงานประดับนี้ คือ บรรพแถลง  (รูปจั่วอันเป็นด้านหน้าของอาคาร) ของปราสาทแบบเขมร  อันเป็นต้นแบบของเจดีย์ทรงปรางค์
๕.บรรพแถลง (บันแถลง) คือรูปจั่วอันเป็นด้านหน้าของอาคาร ประดับอยู่ระหว่างกลางของกลีบขนุนคู่ในของชั้นรัดประคดแต่ละชั้นของพระปรางค์ ซึ่งหมายถึงหลังคา หรือส่วนของเรือนยอดพระปรางค์ส่วนที่ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุ
๖.เรือนธาตุ คือส่วนกลางของเจดีย์ทรงใดๆ ก็ตาม เทียบได้กับส่วนกลางของเรือนอันเป็นส่วนที่อยู่อาศัย (ส่วนล่างของเรือนคือ ฐาน หรือ เสา ส่วนบนคือ ยอด หรือ หลังคา)
๗.ซุ้ม คือสัญลักษณ์ของหลังคา หากมีเสาคู่ตั้งขึ้นเพื่อรับซุ้มก็ครบความหมายว่า คือรูปจำลองของเรือน เช่น จระนำประตูซุ้ม  หน้าต่างซุ้ม จระนำ หรือซุ้มคูหา หรือซุ้มทิศ หรือซุ้มประตู คือส่วนที่ทำขึ้นประกอบเข้ากับองค์พระปรางค์ หรือพระเจดีย์บริเวณภายนอกอาคารส่วนที่เป็นเรือนธาตุ เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มี ๔ ด้าน เรียกว่า ซุ้มทิศ ถ้าพระปรางค์นั้นกลวงมีทางเข้าออก จะเรียกและทำหน้าที่เป็นซุ้มประตู
๘.ฐานสิงห์ คือส่วนล่างของฐานบัวรับองค์ “เรือนธาตุ” มีขาประดิษฐ์ให้งดงาม ดูว่ามีเค้าของขาสิงห์  คือที่มาของชื่อฐานสิงห์ ช่น เรียกส่วนหน้าของขาสิงห์ว่า แข้งสิงห์  หลังขาสิงห์เรียกน่องสิงห์ ซึ่งมีครีบน่องประดับ ยังมีบัวหลังสิงห์ รักแร้สิงห์ นมสิงห์ ท้องสิงห์ มีครีบท้องประดับ และกาบเท้าสิงห์
๙.ฐานปัทม์ คือส่วนที่เป็นฐานอาคาร ใช้ตั้งรับองค์เรือนธาตุอาคาร
๑๐.ฐานเขียง คือส่วนของโครงสร้างที่เป็นฐานชั้นล่างสุด

พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ส่วนมากจะทำเป็นประธานอยู่ตรงศูนย์กลางของพระอาราม เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรจุอยู่ในห้องภายในองค์พระปรางค์  ด้วยเหตุเช่นนี้ พระปรางค์ในพระอารามสำคัญ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระมหาธาตุ

คำว่าพระปรางค์ หรือ ปรางค์ แท้จริงมิได้หมายความตรงตัวว่าเป็นอาคารที่สร้างขึ้นโดยมีรูปเหมือนฝักข้าวโพดตั้งตรงเป็นประธาน  คำว่า ปรางค์ เป็นคำที่มาแต่คำว่า ปร+องคณ แปลว่า ชาลา คือ ลานที่อยู่ข้างปราสาท โดยเฉพาะเรียกลานข้างหน้าเทวสถานว่า ปรางค์ เหตุเช่นนี้มีอธิบายว่า ปรางค์เป็นสิ่งติดอยู่กับเทวสถานของพวกพราหมณ์มาก่อน  คติทางฝ่ายลัทธิพราหมณ์นั้นห้ามมิให้ชนสามัญเข้าไปบูชาพระเป็นเจ้าได้ถึงข้างในเทวาลัย เว้นไว้แต่พวกพราหมณ์ผู้มีหน้าปรนนิบัติพระเป็นเจ้าเท่านั้น  ชนสามัญคงได้บูชาพระเป็นเจ้าอยู่ตรงที่ข้างหน้าเทวสถานที่เรียกว่า ปรางค์ คือ ชาลาข้างหน้าเท่านั้น  ส่วนอาคารที่เป็นเทวสถาน หรือเทวาลัยนั้น ทำเลียนแบบมาแต่ปราสาท คือเรือนหลายชั้นเป็นอาคารซึ่งคหบดีได้ปลูกขึ้นอาศัย และพระมหากษัตริย์สถาปนาขึ้นเป็นที่เสด็จประทับมาแต่สมัยก่อนพุทธกาล เมื่อเวลาที่นำแบบอย่างมาสร้างเป็นเทวสถานถวายเป็นที่สถิตแห่งพระเป็นเจ้าก็คงทำย่นย่อลง ให้เพียงได้ใช้ประดิษฐานเทวปฏิมาที่ภายในห้องชั้นล่าง ส่วนอาคารชั้นเหนือขึ้นไป ตัวอาคารที่เป็นเทวสถานจึงมีแบบอย่างเลียนเอาอย่างปราสาทและส่วนต่อออกมาข้างหน้าปราสาท คือ ชาลา หรือเรียกว่า ปรางค์  เทวสถานเช่นว่านี้จึงมีชื่อเรียกว่า ปรางค์ปราสาท แล้วในเวลาต่อมาเลือนไปเป็นปรางค์ปรา และที่สุดเหลือคำเรียกแต่ปรางค์ ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน  ส่วนที่ชานชาลาต่อออกมาจากปราสาท คือส่วนที่เรียกว่าปรางค์นี้มักทำหลังคาคลุมมีทำฝากั้นด้านข้างทั้งสองด้านและระหว่างปรางค์ต่อกับปราสาทมีทำมุขกระสันเป็นอาคารเชื่อมโยง

พระปรางค์ในพุทธศาสนามีการสร้างเป็น ๒ แบบ คือแบบที่เป็นพระปรางค์ขนาดใหญ่ที่คนเข้าไปภายในห้องที่มีอยู่ข้างในองค์พระปรางค์ได้ กับทำพระปรางค์ขนาดใหญ่และขนาดย่อมชนิดที่คนเข้าไปภายในองค์พระปรางค์ไม่ได้

พระปรางค์ในพุทธศาสนามีรูปทรงส่วนใหญ่คล้ายๆ กัน แม้จะมีสร้างในที่ต่างๆ แต่ละเมือง กล่าวคือส่วนฐานล่างสุดมักก่อเป็นฐานหน้ากระดานเกลี้ยงๆ อย่างที่เรียกว่า ฐานบัตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมมีย่อมุมเป็นเป็นย่อเก็จ ฐานถัดขึ้นมานิยมก่อเป็นฐานเชิงบาตร มีลูกฟักรัดอกท้องไม้ ทำซ้อนเทินขึ้นไปประมาณ ๓ ชั้น จึงถึงส่วนห้องชั้นต่ำสุดองค์ปรางค์ ซึ่งทำเป็นอาคารรูป ๔ เหลี่ยม ฝาผนังอาคารแต่ละด้านทำเป็นช่วง พระทวารมีก่อซุ้มพระทวารประจำทุกช่อง พระทวารนี้มักทำเป็นพระทวารหลอก คือ ก่อตันเสีย ๓ ช่อง คงทำเป็นทางผ่านเข้าไปข้างในองค์ปรางค์ได้เฉพาะด้านข้างหน้าแต่ด้านเดียว เหนืออาคารชั้นที่ ๑ นี้ขึ้นไปเป็นหน้ากระดานรัดรอบทั้ง ๔ ด้าน ส่วนนี้เรียกว่าชั้นครุฑอัษฎงค์ ทำรูปครุฑด้านที่ติดประจำตรงมุมปรางค์ ทั้ง ๔ มุม และยังมีทำรูปภาพ อสูร กุมภัณฑ์ แทรกอยู่ระหว่าง ๒ ข้างครุฑ รูปภาพพวกนี้สร้างขึ้นด้วยเหตุผลทางความเชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์รักษาศาสนสถานแห่งนั้นๆ ต่อขึ้นไปจากชั้นครุฑอัษฎงค์มีท้องไม้กระดานรัดรอบพระปรางค์ บนท้องไม้ตอนที่อยู่ตรงกลางแต่ละด้านทำเป็นรูปซุ้มคูหาคล้ายกับบันแถลงบนหลังคาปราสาท และตรงมุมปรางค์แต่ละมุมทำเป็นบัวกลีบขนุนประดับขนาบอยู่ข้างซุ้มคูหาปรางค์แต่ละชั้น ซึ่งทำซ้อนกันขึ้นไปก็ได้ ทำตามลักษณะที่กล่าวนี้ รวม ๗ ชั้นด้วยกัน ชั้นบนสุดจะทำก่อรวบปลายซุ้มคูหาและบัวกลีบขนุน รวมเข้าด้วยกันคล้ายรูปฝาชี มีบัวรัดเกล้า หรือเรียกว่า จอมโมฬี ต่อขึ้นไป ยอดบัวรัดเกล้านี้ มีรูปประติมาหล่อด้วยโลหะทำเป็นกิ่งๆ แยกจากแกนกลาง เป็นรูปหอกและพระแสงดาบ เรียกว่า นพศูล

พระปรางค์ในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ถือปูนฉาบผิวภายนอกเรียบและเกลี้ยง แล้วตกแต่งลวดลายประดับส่วนต่างๆ เป็นต้นว่า เชิงฝาผนัง ปลายฝาผนัง เสาแผนก บังอวด ซุ้มคูหาหน้าบัน และบัวกลีบขนุน ฯลฯ ด้วยปูนโขลกกับน้ำกาวหนังสัตว์

พระปรางค์ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา นิยมนำเอาแผ่นโลหะทองแดงแผ่ให้บาง จำหลักเป็นลวดลายและบุติดกับส่วนต่างๆ ห่อหุ้มองค์พระปรางค์ แล้วปิดทองคำเปลวทับอีกชั้นหนึ่ง พระปรางค์ขนาดย่อมซึ่งก่อเป็นพระปรางค์ทึบตันมีการตกแต่งด้วยการลงรักแล้วปิดทองคำเปลวและใช้สีเขียนระบายตกแต่งส่วนที่เป็นช่องไฟช่วยให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82819903186625_1.JPG)
นพศูล หรือ นภศูล เครื่องประดับยอดพระปรางค์
ลักษณะเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ
ภาพจาก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา