[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 26 พฤศจิกายน 2559 13:08:15



หัวข้อ: หลวงปู่หลอด ปโมทิโต จากหนังสือ ปโมทิตเถรบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟัง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 พฤศจิกายน 2559 13:08:15

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64488255770670__3627_3621_3623_3591_3611_3641.gif)
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา)ลาดพร้าว บางกะปิ กรุงเทพฯ


ปโมทิตเถรบูชา
 หลวงปู่เล่าให้ฟัง  
โดย พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)
 
ถ้อยแถลง จากปกหนังสือ ปโมทิตเถรบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟัง...
การพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน สามารถพิมพ์ได้ตามความประสงค์
โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของประวัติหรือทางวัดแต่อย่างใด
หากพิมพ์เพื่อจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดๆ ขอสงวนสิทธิ์
เนื้อความของหนังสือเล่มนี้ทุกตอน
------------- * -------------

คำปรารภของหลวงปู่

ประวัติของอาตมา ได้เคยพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง ในครั้งนี้คณะศิษยานุศิษย์ได้มาขอพิมพ์อีกครั้ง เพื่อรวบรวมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมได้อ่าน จะได้รู้จักครูบาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานโดยเฉพาะครูบาอาจารย์ผู้มีอุปการคุณ อาตมาภูมิใจที่ได้บรรยายไว้ทุกขั้นตอน ส่วนเรื่องป่า สัตว์ป่า ภูเขาลำเนาไพรที่เล่าไว้นั้น ต่อไปอาจไม่มีให้เห็น ซึ่งอาตมามีความประทับใจอยู่มาก จึงเน้นเขียนชีวประวัติในช่วงที่ออกธุดงค์ตั้งแต่พรรษาแรกที่บวชและชีวิตที่ระหกระเหินในป่า บางครั้งแทบจะเอาชีวิตไม่รอด จนสุดท้ายต้องมาเป็นเจ้าอาวาสในเมืองกรุง

แถมท้ายด้วย โคลงโลกนิติกาพย์ภาษาลาวของเจ้าคุณอุบาลีฯ และคู่มือปฏิบัติธรรมที่อาตมาได้พิมพ์เผยแพร่ ปี ๒๔๙๒ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

ท้ายสุดท้าย อาตมาขออนุโมทนากับลูกศิษย์ ที่ช่วยกันเรียบเรียงหนังสือ และญาติโยมที่ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ ในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ทุกๆ ท่านเทอญ

ปโมทิโต
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต


(http://www.web-pra.com/upload/amulet-page/957-73f2.jpg)

หลวงปู่เล่าให้ฟัง

• ชาติกำเนิด
พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านถือกำเนิด ณ บ้านขาม ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็น ตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู) ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ของคุณพ่อบัวลา ชุริมน และคุณแม่แหล้ (แร่) ชุริมน  มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน ๓ คน คือ
๑.นายเกิ่ง ขุริมน (ถึงแก่กรรม)
๒.นางประสงค์ ขุริมน (ถึงแก่กรรม)
๓.พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)

พระเดชพระคุณหลวงปู่เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ สัปตศก จ.ศ.๑๒๗๗ ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๘ ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง หลวงปู่เคยเล่าว่าช่วงชีวิตในวัยเด็กของท่าน มันก็มิได้ต่างอะไรกับลูกชาวนาทั่วไป ช่วยครอบครัวทำงานไปตามกำลัง เลี้ยงวัว เลี้ยงควายไปตามความสามารถของวัยเด็กที่ควรจะทำได้ เฉกเช่นกับเด็กคนอื่นๆ ที่เติบโตมากับท้องไร่ ท้องนา มีความสุขบ้าง ลำบากบ้างตามเหตุปัจจัย

เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่มีอายุครบเกณฑ์ที่จะเข้าศึกษาเล่าเรียนในชั้นประถมศึกษา คุณพ่อบัวลาจึงได้พาไปฝากเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านหิน ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งท่านได้จบการศึกษาตามหลักสูตรในสมัยนั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ พออ่านออกเขียนได้ ขณะนั้นหลวงปู่ท่านมีอายุได้ ๑๖ ปี ก็เรียกได้ว่ากำลังหนุ่มแน่นมีกำลังแรงงานดี จึงเป็นแรงสำคัญของทางบ้านในการทำเรือกสวน ไร่นา แต่ก็เป็นอันต้องมีเหตุให้เกิดความเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เมื่อคุณแม่แหล้ผู้เป็นมารดาล้มป่วยอย่างหนัก และถึงแก่กรรมในที่สุด แต่ทุกคนก็ต้องทนกับชะตาชีวิตที่เกิดขึ้น พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านตั้งใจว่าจะบรรพชาเพื่ออุทิศกุศลให้แก่มารดา เมื่อถึงเวลาอันสมควร

ไม่นานเวลานั้นก็มาถึง ขณะที่หลวงปู่เจริญอายุได้ ๑๘ ปี จึงได้มีโอกาสเข้าบรรพชาเป็นสามเณรสมดังใจตั้งมั่น ที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอธิการคูณ เจ้าอาวาสเป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่ท่านเล่าว่า "อาตมาได้บวชเณรอยู่ได้ไม่นานเท่าไหร่ บิดาก็มาเสียชีวิตไป" เมื่อคุณพ่อบัวลามาด่วนจากไปเสียอีกคน หลวงปู่ท่านจึงต้องลาสิกขาออกมาเพื่อช่วยพี่ๆ ทำเรือกสวนไร่นาต่อไป

เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านได้ลาสิกขาจากสามเณรมาแล้ว ท่านได้ใช้เวลาต่างๆ นั่งขบคิดเปรียบเทียบชีวิตของทั้งสองเพศ คือเพศบรรพชิตและเพศฆราวาส ท่านพบว่าการออกมาใช้ชีวิตในเพศฆราวาสนั้น มันมีแต่กองทุกข์ หลวงปู่ท่านบอกว่าความคิดของท่านที่คิดอยู่ตลอดเวลาในขณะนั้นคือ "ชีวิตเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ จำเจอย่างมาก และมองไม่เห็นความก้าวหน้าความเจริญในชีวิตเลย ถ้าหากใช้ชีวิตฆราวาสก็คงเป็นแบบชาวไร่ชาวนาทั่วไป คงลำบากลำเค็ญ อย่างไม่มีอะไรดีขึ้น ในชีวิตนี้คงต้องเอาดีให้ได้ เมื่อเอาดีทางเพศฆราวาสไม่ได้ ก็ต้องเอาดีทางบรรพชิตให้ได้ เพราะได้มาคิดดูแล้วว่า ชีวิตในทางธรรม คงจะสงบน่าอยู่กว่าทางโลก เนื่องจากได้เคยสัมผัสมาแล้วครั้งหนึ่ง ถึงแม้จะเป็นเพียงระยะสั้นๆ ยังไม่ทันได้รู้อะไร ก็จำต้องสึกออกมาช่วยงานทางบ้าน เพราะบิดาก็มาเสียชีวิตตามมารดาไปอีกคน แต่นั่นก็พอจะยืนยันได้ว่า ทางนี้เป็นทางที่เหมาะกับตน"


• สู่ร่มกาสาวพัสตร์
เมื่อความคิดอยากจะบวชอีกครั้งยังมีอยู่ และไม่เคยลบเลือนไปจากจิตใจ พอทุกสิ่งทุกอย่างทางบ้านเข้าที่เข้าทางหมดแล้ว สองปีต่อมาหลวงปู่จึงได้หาโอกาสที่จะปล่อยวางการงานและภาระทางบ้าน เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา หลวงปู่เล่าว่าภายในใจนั้นคิดอยู่ตลอดเวลาว่า "ไม่เอาอีกแล้วชีวิตฆราวาสน่าเบื่อหน่ายสิ้นดี อยู่ต่อไปก็ไม่มีอนาคตที่ดีงามที่เจริญเป็นแน่ และความสุขสงบที่เคยปรารถนาจะไม่เกิดมีขึ้นได้"

พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ สังกัดมหานิกาย ณ พัทธสีมา วัดธาตุหันเทาว์ ตำบลบ้านขาม บ้านเกิดของหลวงปู่นั่นเอง เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๙ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลี วัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ขานเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้มาพำนักที่วัดธาตุหันเทาว์

วัดธาตุหันเทาว์ในขณะนั้นมีพระอาจารย์มหาตัน สุตฺตโน เป็นเจ้าอาวาส หลวงปู่ได้เคยพูดถึงชีวิตในการบวชของพระภิกษุในชีวิตการบวชของพระภิกษุให้กับลูกศิษย์ฟังว่า "ผู้ที่บวชย่อมรู้สึกด้วยตนเองว่าสุขทุกข์อย่างไร คนที่ยังไม่ได้บวชนั้นยากที่จะเข้าใจได้ว่า การบวชคืออะไร ถึงแม้บางคนจะอธิบายการบวชได้อย่างละเอียดก็ตาม หรือแม้ว่าเขามีความรู้ดีเท่าผู้บวชก็ตาม เช่นเดียวกับคนหนึ่งติดคุก และอีกคนหนึ่งนั้นไม่เคยติดคุกตะรางเลยแล้ว ทั้งสองคนนี้ใครจะรู้เรื่องความทุกข์ยากได้ดีกว่ากัน คนที่ยังไม่เคยติดคุกตะราง แล้วมาอธิบายเรื่องทุกข์ เรื่องความยาก ความลำบากในคุกว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อาตมาไม่เชื่อเลย คนที่เคยใช้ชีวิตบวชเป็นพระมาแล้วย่อมเข้าใจและรู้ดีมากกว่าคนที่ไม่เคยบวชทีเดียว ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างถ้าอยากรู้อย่างชัดเจนต้องประสบมาด้วยตนเองจริงๆ"

เมื่อหลวงปู่ได้อุปสมบทแล้วประมาณ ๓ เดือน พอขึ้นเดือนมิถุนายนท่านก็ได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์มณฑา ซึ่งท่านเดินทางมาจากวัดบ้านโกทา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งขณะนั้นพระอาจารย์มณฑามีพรรษายุกาลได้ ๓ พรรษาและเดินทางมาพักอยู่ที่วัดธาตุหันเทาว์ได้ประมาณ ๑ เดือน

ขณะที่ท่านพักอยู่ที่วัดธาตุหันเทาว์นั่นเอง หลวงปู่จึงได้มีโอกาสพบปะสนทนากับท่าน โดยได้สนทนากันถึงหลายเรื่องหลายราว และมีอยู่เรื่องหนึ่งที่ท่านนำมาสนทนากันนั้นคือ เรื่องการเรียน โดยท่านพระอาจารย์มณฑาบอกว่า "การบวชกับการเรียนเป็นของคู่กัน ถ้าบวชแล้วไม่เรียนก็เป็นการบวชที่ไม่สมบูรณ์ เพราะเป็นเหตุให้ตนหูตาแคบ ล้าสมัยไม่ทันการณ์ ยิ่งโลกต่อไปนี้นับวันการศึกษาจะเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป มีความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงเสมอ ดังนั้นเราจึงควรไปแสวงหาสถานที่ศึกษาเล่าเรียน ณ ถิ่นที่มีการศึกษาเจริญแล้ว เช่นที่กรุงเทพฯ หรือจังหวัดอุบลฯ ขอนแก่น หรือแม้แต่ในตัวเมืองอุดรฯ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในชีวิต ที่จะได้รับฟังการอบรมจากผู้รู้ หรือแม้กระทั่งได้มีโอกาสสนทนากับนักปราชญ์ราชบัณฑิตอีกด้วย ซึ่งเป็นมงคลอย่างหนึ่งของชีวิตตามแนวแห่งมงคล ๓๘ ประการ คือเป็นหนทางที่จะทำให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้าหรือมีความสุขความเจริญอีกด้วย"

หลวงปู่เล่าว่า "เมื่อฟังอาจารย์มณฑายกเหตุผลมากล่าวเช่นนั้น อาตมาก็เห็นดีตามเหตุผลของท่าน จึงตกลงกันว่า จะพากันไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ในตัวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีพระเดชพระคุณ พระธรรมเจดีย์ (จูม พันฺธุโล) เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลอยู่ นับว่าเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาคอีสานในขณะนั้นก็ว่าได้"

หลังจากที่หลวงปู่กับพระอาจารย์มณฑา ได้ตกลงคุยกันเป็นที่เรียบร้อย จึงได้พากันเข้ากราบเรียนปรึกษาพระอาจารย์มหาตัน ซึ่งท่านก็อนุญาตและขออนุโมทนาด้วย ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๙ นั่นเอง หลวงปู่เล่าว่าในวันที่จะเดินทางไปวัดโพธิสมภรณ์ ดูเหมือนจะเป็นช่วงประมาณบ่าย ๓ โมง หลวงปู่กับพระอาจารย์มณฑาจึงได้เดินทางออกจากวัดธาตุหันเทาว์ ซึ่งการเดินทางในครั้งนั้นจะไปในลักษณะธุดงค์ไปในตัว



• กรรมฐานประวัติศาสตร์
หลวงปู่ท่านได้เคยเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางไปวัดโพธิสมภรณ์ให้กับบรรดาลูกศิษย์ฟังหลายต่อหลายครั้งว่า

โดยปกติทั่วๆ ไป พระกรรมฐานที่ออกธุดงค์ ท่านจะมีถุงย่ามใบใหญ่สำหรับใส่บริขาร แล้วท่านก็จะสะพายถุงนั้น แต่ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ท่านต้องกลายเป็นกรรมฐานประวัติศาสตร์ คือไม่มีพระกรรมฐานองค์ไหนที่จะทำเหมือนท่านอีกแล้ว ด้วยความจำเป็น สาเหตุก็คือในการออกเดินทางไปวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานีครั้งนี้  พระอาจารย์มณฑาได้สั่งให้ท่านไปหาไม้รวก หรือไม้ไผ่ยาว ๔-๕ ศอก มาใช้แทนไม้คานหามถุงอัฐบริขาร  หลวงปู่เล่าว่า "อาตมาถึงกับตกตะลึง เมื่อได้ยินพระอาจารย์มณฑาสั่งอย่างนั้น อาตมาพยายามคัดค้านยกเหตุผลมาชี้แจง เพื่อให้เห็นว่าเป็นการไม่เหมาะสม แต่ท่านก็ไม่ยอมท่าเดียว ด้วยความเกรงใจและขมขื่นใจยิ่งนัก อาตมาจึงต้องยอมปฏิบัติตามท่านสั่ง ในตอนนั้นอาตมาคิดนะว่าทำไมหนอ อาจารย์มณฑาท่านก็เรียนจบตั้งนักธรรมเอก แต่กลับสั่งให้อาตมาต้องทำในสิ่งที่ผิดสมณสารูป มันไม่ถูกไม่ควรเลยจริงๆ แต่ก็ต้องทำด้วยความขมขื่นใจ ต้องก้มหน้าก้มตาหามบริขารไปด้วยความละอายเป็นยิ่งนัก ซึ่งการเดินทางนั้น อาตมามีพรรษาน้อยกว่าอาจารย์มณฑา อาตมาจึงเดินหามบริขารตามหลังท่าน"

เมื่อผ่านหมู่บ้านใด หลวงปู่เล่าว่า "ก็จะมีแต่ชาวบ้านแตกตื่นพากันมามุงดู บ้างก็หัวเราะด้วยความขบขัน บางคนก็พูดขึ้นว่า...นั่นครูบาหามอีหยัง มาขายขะหน่อย บ้าง ...ครูบาหามอีหยังมาหนอ สิไปไส บ้าง ถึงแม้จะเป็นคำพูดที่ดูซื่อๆ เขาคงไม่มีเจตจาจะเยาะเย้ยถากถางก็จริง แต่คำพูดนั้นมันเสียดแทงความรู้สึกที่ขมขื่นของอาตมาจริงๆ พออาตมาคิดถึงหรือได้พูดถึงเรื่องนี้ทีไร ก็อดที่จะขำไม่ได้ คงมีแต่อาตมารูปเดียวที่หามบริขาร เพราะตั้งแต่เกิดมาจนถึงเดี๋ยวนี้อาตมาก็ยังไม่เคยได้ยินว่ามีพระรูปไหนหามบริขารและคิดว่าอนาคตก็คงจะไม่มีเช่นกัน นึกแล้วก็อดสังเวชไม่ได้ ดูแล้วก็เหมือนพวกพ่อค้าขายของอย่างที่ชาวบ้านเขาเข้าใจกันจริงๆ"

หลวงปู่ท่านเล่าว่า ท่านก็ยังโชคที่ที่เจ้าคุณเจ้าคณะอำเภอหนองบัวลำภูได้ช่วยไว้ ไม่งั้นคงต้องหามบริขารไปจนถึงอุดรฯ เป็นแน่

คือมีอยู่ว่าตอนที่หามบริขารไปเพื่อเข้าตัวอำเภอ (ตัวเมือง) หนองบัวลำภู หลวงปู่ท่านได้ขอร้องท่านอาจารย์มณฑาว่าจะเข้าเมืองแล้วขอให้ต่างคนต่างถือถุงบริขารของตนเถอะ แต่พระอาจารย์มณฑาท่านไม่ยอม  หลวงปู่เล่าว่า "นี่แหละเหตุมันจะเกิดตอนนี้แหละ เหตุแห่งความดื้อรั้นของพระอาจารย์มณฑา คือเราตกลงกันว่าจะแวะพักค้างแรมที่วัดมหาชัย ซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุต  สมัยนั้นท่านเจ้าคุณพิศาลฯ เป็นเจ้าอาวาส นี่เจอดีตอนนี้แหละเมื่อเดินเข้าไปในเขตวัดมหาชัยเท่านั้นแหละ ท่านเจ้าคุณพิศาลฯ คงจะเห็นอาตมาหามบริขารพะรุงพะรังมาแต่ไกล ท่านเลยเรียกอาตมาและพระอาจารย์มณฑาไปอบรมเป็นการใหญ่เลยว่า

"ทำอะไร...ไม่ดูบ้านดูเมืองบ้าง มีที่ไหนพระกรรมฐานหามบริขารเห็นแล้วมันน่าทุเรศจริงๆ"

หลวงปู่ท่านเล่าถึงเรื่องนี้ต่อไปอีกว่า ท่านรู้สึกเจ็บใจพระอาจารย์มณฑาจริงๆ ที่เป็นเหตุให้ต้องถูกด่าด้วย และท่านต้องเป็นแพะรับบาปทั้งๆ ที่ทัดทานพระอาจารย์มณฑาหลายครั้ง แต่ขณะเดียวกันก็นึกดีใจว่า ดีแล้วสมใจแล้วที่ท่านเจ้าคุณฯ ได้ช่วยด่าพระอาจารย์มณฑาแทนท่าน จากนั้นก็ได้ขอความอนุเคราะห์ค้างแรมที่วัดมหาชัยหนึ่งคืน รุ่งเช้าก็ออกเดินทางต่อไป คราวนี้พระอาจารย์มณฑาไม่ได้ให้ช่วยหามบริขารอีกแล้ว คงรู้สึกตัวและขยาดที่จะถูกด่าเข้าอีก "คงต้องขอบพระคุณท่านเจ้าคุณพิศาลฯ จริงๆ ที่ทำให้ท่านไม่ต้องขมขื่นใจอีก" หลวงปู่เล่าปิดท้ายเรื่องนี้


• หนทางของพระอริยเจ้า
    พระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐานองค์แรก
การเดินทางในสมัยนั้นหนทางยังไม่สะดวก จำต้องใช้การเดินทางด้วยเท้าเป็นส่วนใหญ่ ออกเดินทางจากวัดมหาชัยตั้งแต่เช้าผ่านไปหลายหมู่บ้านจนกระทั่งเย็น ก็มาถึงบ้านหนองบัวบาน เขตอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ท่านทั้ง ๒ จึงตัดสินใจเข้าพักที่วัดป่านิโครธาราม ซึ่งวัดนี้หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นเจ้าอาวาสดูแลอยู่ในขณะนั้น

หลวงปู่และพระอาจารย์มณฑาจึงได้ตรงเข้าไปกราบนมัสการ และขออนุญาตเข้าพักต่อท่านหลวงปู่อ่อน ซึ่งท่านก็ได้เมตตาไต่ถามถึงวัตถุประสงค์ที่มาและที่ไป พอทราบเรื่องดีแล้ว ท่านก็ยังเมตตาเทศนาอบรมและสอนการเจริญภาวนาเบื้องต้นแก่หลวงปู่และพระอาจารย์มณฑา

หลวงปู่เล่าว่า "อาตมายังจำคำสอนของพระอาจารย์อ่อนได้ดี ท่านสอนว่า ขอให้หมั่นพิจารณาดูกายของเรานี้เป็นหลักสำคัญ ร่างกายของเราคือ ขันธ์ ๕ นี้ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทุกอย่างนี้มีอยู่ในร่างกายเราทั้งหมด โดยให้พิจารณาแยกแยะออกเป็นส่วนๆ เป็นเรื่องๆ ไป

รูปได้แก่สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาเนื้อ คือปรากฏให้เห็นรับรู้ได้ที่ตา ถ้าเราตาบอดก็จะมองไม่เห็นรูป แต่ถึงแม้เราจะมองเห็นหรือไม่ รูปมันก็คงอยู่อย่างนั้น

เราในฐานะที่เป็นศิษย์ของพระตถาคต และเป็นนักปฏิบัติธรรม จำเป็นต้องรู้จักรูปในขันธ์ ๕ ให้ละเอียดพอสมควร จึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง

รูปนี้แหละคือนิมิตหมายที่พวกเราต้องนำเอามาแยกแยะให้ละเอียดว่ามันเป็นอย่างไร เมื่อปรากฏขึ้นมาแล้ว รูปนั้นคงอยู่เป็นรูปตลอดได้ไหม?...

สิ่งที่มีวิญญาณ เมื่อปรากฏขึ้นมาแล้ว เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไหม?... คงทนอยู่ไหม?... แล้วทำไมเราจึงไปติดอยู่ในรูปที่ไม่มั่นคงนั้น

เราเป็นคนโง่หรือเปล่า รูปมันจะสวยหรือขี้เหร่ อัปลักษณ์อย่างไรมันก็ไม่สามารถอยู่กับเราได้ตลอดไป ดังนั้นเราไปติดข้องอยู่ทำไม มันไม่ได้ให้อะไรกับเราเลย ถ้าเรามัวไปติดยึดอยู่ในรูป มันก็หยิบยื่นแต่ภพแต่ชาติให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่นั่นเอง

ส่วนเวทนาซึ่งเป็นข้าศึกของเรามันก็ไม่มีอะไรแน่นอน ประเดี๋ยวมันก็เรียกว่าสุขเวทนา มันเป็นมันเกิดขึ้นภายในจิตโดยลำพัง ประเดี๋ยวก็ทุกข์เรียกว่าทุกขเวทนา มันเกิดขึ้นมาเองบ้าง บางครั้งเราก็เรียกร้องหามันบ้าง  ฉะนั้น เราจึงต้องพิจารณาดูเวทนา คือการเสวยอารมณ์ในขณะนั้นๆ ให้ละเอียด

เมื่ออารมณ์สุขเกิดขึ้น ก็อย่าไปดีใจกับมัน ถ้าเกิดอารมณ์ที่เป็นทุกข์ก็อย่าไปทุกข์กับมัน จงทำใจให้เป็นกลางๆ จนจิตเราเกิดเป็นอุเบกขาเวทนาคือวางเฉยอารมณ์ที่สุขและทุกข์

เรื่องของสัญญา คือ การจำได้หมายรู้ ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียว คือ เมื่อทุกข์เกิดขึ้นก็ทำหน้าที่จำหมายเอาไว้ แต่ทุกข์มิได้เกิดขึ้นทุกเวลา สัญญาเป็นธรรมชาติ ทำหน้าที่จดจำทุกข์หรือว่าสุขเอาไว้ต่างหาก

ส่วนสังขารนั้น คือความปรุงแต่งทางจิตของผู้คิดผู้นึก เป็นความคิดดีบ้างไม่ดีบ้าง พอจดจำขึ้นมาแล้ว จิตก็คิดปรุงแต่งไปต่างๆ นานา หาทางระงับดับได้ยาก

สำหรับข้อสุดท้าย คือ วิญญาณก็เป็นธรรมชาติสำหรับรับรู้อารมณ์ที่เข้ามากระทบ เป็นส่วนที่รู้แจ้งในอารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยินเป็นต้น เรียกว่า วิญญาณ ๖

คนเราส่วนมากถูกตัวสัญญาเป็นเครื่องปิดบังใจ ทำให้หลงใหลไปตามกระแสโลก  ฉะนั้นเราจึงต้องฝึกฝนปัญญา เพื่อให้รู้ทันมายาของขันธ์ทั้ง ๕ เท่านั้น การที่เราไม่รู้เท่าทันสิ่งเหล่านี้ เพราะว่าเราไม่ได้กำหนดในสิ่งทั้ง ๕ นี้ จึงไม่รู้ว่าการเกิดดับของคนเรานั้นมีปรากฏอยู่ตลอดเวลา ละเอียดมากนะ ยากที่จะกำหนดจิตให้ตามรับรู้ถึงความเป็นไปได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นของละเอียดมาก

เพราะการที่เราจะสู้รบขบเคี่ยวกับกิเลสให้ชนะได้นั้นเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและทำได้ยาก แต่ก็จะเป็นต้องทำ เพราะถ้าเรามัวแต่ปล่อยให้กิเลสมันย่ำยีตัวเราอยู่ ก็เท่ากับเรายอมแพ้มัน และก็เท่ากับเราไม่ได้ทำอะไรให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเราเองเลย ไม่รู้จักกิเลสก็ย่อมถูกครอบงำและหลงอยู่ในวังวนแห่งวัฏสงสารนี้ตลอดไปอย่างไม่สิ้นสุด

หลวงปู่ได้กล่าวว่า "สำหรับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ นี้ อาตมาถือว่าท่านเป็นอาจารย์ผู้ให้กรรมฐานรูปแรกของอาตมาเลย ในครั้งนั้นอาตมาน้อมรับคำเทศนาของท่านด้วยความซาบซึ้งและปีติใจเป็นอย่างมาก ยังคงอยู่ในห้วงลึกของจิตใจอาตมาจนเท่าทุกวันนี้"

รุ่งเช้าหลวงปู่และพระอาจารย์มณฑา จึงได้กราบลาท่านหลวงปู่อ่อนเพื่อออกเดินทางต่อไป มุ่งหน้าไปยังอำเภอเมืองอุดรธานี



• พรรษาที่ ๑-๓ (พ.ศ.๒๔๗๙-๒๔๘๒)
ครั้งแรกเมื่อก้าวสู่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี

หลวงปู่และพระอาจารย์มณฑาได้เดินทางมาถึงวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.๒๔๗๙ นั่นเอง โดยไปพักอยู่กุฏิหลวงพ่อตุ๊ ซึ่งท่านเป็นญาติกับขุนวิสัยอุดรกิจ อดีตนายอำเภอหนองบัวลำภู และมีความคุ้นเคยกับหลวงปู่มาก่อน เมื่อได้ที่พักเรียบร้อยแล้ว พระภิกษุทั้งสองรูปจึงได้พากันเข้ากราบท่านเจ้าคุณ พระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ และแจ้งความจำนงว่ามากราบขอความเมตตาเพื่อขอพักอาศัยอยู่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดโพธิสมภรณ์ ท่านเจ้าคุณท่านก็สอบถามภูมิลำเนาและประวัติพร้อมทั้งตรวจดูหนังสือสุทธิ เมื่อเห็นว่าทุกอย่างเรียบร้อย ท่านก็เมตตารับพระภิกษุทั้งสองไว้เป็นพระลูกวัดตั้งแต่บัดนั้น   เมื่อหลวงปู่พำนักอยู่ที่วัดโพธิฯ เป็นที่เรียบร้อย ท่านจึงได้เข้าสมัครเรียนนักธรรมและพระบาลีตามประกาศของสำนักเรียนวัดโพธิฯ ส่วนพระอาจารย์มณฑา ท่านลงทะเบียนเรียนบาลีอย่างเดียว เนื่องจากท่านจบนักธรรมเอกมาแล้ว  เมื่อเปิดเรียนไม่นาน หลวงปู่ก็ลาออกจากการเรียนพระบาลี เหลือแต่นักธรรมอย่างเดียว หลวงปู่ท่านได้เล่าว่า “อาตมาความจำไม่ค่อยดี เพราะการเรียนพระบาลีนั้นยาก และต้องใช้ความจำเป็นอย่างมาก อาตมาเลยตัดสินใจหยุดเรียนพระบาลีในครั้งนั้น เพื่อมุ่งศึกษานักธรรมให้ได้เป็นอย่างดี”

อยู่ที่วัดโพธิฯ ไม่นาน หลวงปู่ก็คุ้นเคยกับพระเณรภายในวัดจนเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นมันก็มิได้อำนวยความสะดวกต่อการทำสังฆกรรม เช่น การลงประชุมฟังพระปาฏิโมกข์ หลวงปู่ก็มิได้ลงร่วมฟังสังฆกรรมดังกล่าว เพราะท่านต่างนิกายกันกับภิกษุอื่นในวัด

เมื่อเป็นเช่นนั้นหลวงปู่ท่านก็รู้สึกไม่ค่อยสะดวกและสบายใจเท่าไรนัก จึงได้ตัดสินใจที่จะขอญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกาย และได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากับพระปลัดทองมา ซึ่งท่านเป็นพระที่กว้างขวางรู้จักคนมาก ทั้งยังชอบสงเคราะห์เพื่อนภิกษุด้วยกันเป็นอย่างดี โดยหลวงปู่ได้ขอให้ท่านช่วยดำเนินการให้ รวมทั้งติดต่อหาเจ้าภาพบวชให้ท่าน พระปลัดทองมาก็ยินดีดำเนินการให้ทุกเรื่อง

ในที่สุด หลวงปู่ก็ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตสมดังเจตนา โดยได้ติดตามท่านเจ้าคุณจูมไปทำการญัตติที่วัดทุ่งสว่าง เมืองหนองคาย เนื่องจากท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม) ท่านขึ้นไปตรวจราชการคณะสงฆ์ที่จังหวัดหนองคาย และประจวบกับมีงานพระราชทานเพลิงศพ อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานีในเวลานั้นด้วย

หลวงปู่ได้ทำการญัตติเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๙ โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูประสาทคณานุกิจ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปโมทิโต” หมายถึงผู้มีความบันเทิง ผู้ปลื้มใจ ผู้มีใจอันเบิกบาน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ ๒๑ ปี

หลังจากทำการญัตติเป็นที่เรียบร้อย หลวงปู่จึงได้กลับมาพำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ตามเดิม และยังได้มีโอกาสรับฟังการอบรมธรรมะจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์รูปสำคัญๆ ในวงพระกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่นหลายต่อหลายรูปดังที่หลวงปู่ได้เคยเขียนเล่าไว้ในหนังสืออัตตโนประวัติว่า “การอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ในยุคโน้น นับว่าเป็นโชคดีแก่ชีวิตหลายอย่าง เพราะนอกจากจะเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่ผู้มีบทบาทและมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการปกครองด้านการเผยแผ่ ตลอดทั้งด้านสมถะและวิปัสสนา มาพำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์อยู่เรื่อย เพื่อมากราบนมัสการท่านเจ้าคุณพระเทพกวีบ้าง เพื่อตรวจราชการคณะสงฆ์บ้าง

“อาตมาได้พบได้เห็น และได้ฟังการอบรมจากพระเถระเหล่านั้นมากต่อมากท่าน และหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งอาตมาก็รู้สึกภูมิใจมาตลอดที่พระเถระเหล่านั้นมีส่วนอย่างสำคัญยิ่งที่ช่วยให้อาตมาหูตาสว่างขึ้นมากมาย อาตมาไม่เคยลืมพระคุณของพระเถระเหล่านั้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร

ช่วงนั้นอาตมาได้รับการแนะนำจากพระกรรมฐานรูปหนึ่งว่า งานหลักของพระกรรมฐานก็คือการพยายามเอาราคะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ เพราะกิเลสทั้ง ๓ นี้ เป็นต้นตอที่ก่อให้เกิดความชั่วทั้งมวล ฉะนั้นทำอย่างไรจิตใจจึงจะสงบระงับจากราคะ โทสะ โมหะ ก็ให้ทำอย่างนั้น จิตใจอาตมาโน้มไปในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก เพราะได้รับการอบรมจากพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานอยู่บ่อยๆ แต่อาตมาก็ไม่ค่อยได้ปฏิบัติเต็มที่นัก เพราะโอกาสไม่ค่อยอำนวย เนื่องจากยังเป็นนักเรียนอยู่ ด้านกรรมฐานจึงพอมีความรู้เกี่ยวกับหลักการเพียงขั้นต้นเท่านั้น”

หลวงปู่ท่านยังได้เล่าถึงขั้นตอนแห่งการปฏิบัติธรรมกรรมฐานของท่านที่ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการเจริญภาวนามาตั้งแต่สมัยออกปฏิบัติใหม่ๆ ว่า

“เพราะได้รับการอบรมจากพระเถระฝ่ายกรรมฐานอยู่เสมอ อาตมาจึงมีกำลังใจในการปฏิบัติตามหลักแห่งไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่งๆ ขึ้นไป สำหรับขั้นตอนในการฝึกด้านจิตภาวนา อาตมายึดถือปฏิบัติดังนี้  อันดับแรก ไหว้พระสวดมนต์ก่อน  อันดับสอง ให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติจิตภาวนา ขอให้อำนาจคุณพระรัตนตรัยได้ช่วยเป็นดวงประทีปแก้วส่องทางให้ข้าพเจ้าเดินถูกทาง และได้รับผลสำเร็จ หรือความก้าวหน้าในการปฏิบัติ  อันดับสาม ให้บริกรรมว่าพุทโธ ธัมโม สังโฆ สามครั้ง  ต่อมาให้นึกบริกรรมว่า พุทโธๆ ๆ คำเดียวอยู่อย่างนั้นคราวละนานๆ จนจิตใจสงบนิ่งเป็นอารมณ์อันเดียว ไม่ฟุ้งซ่านไปทางอื่น (จิตเป็นเอกัคคตา)

ถ้าจิตเคยหรือชำนาญกับการอยู่กับพุทโธนานๆ แล้ว จิตจะสงบได้เร็ว ข้อสำคัญคือผู้ปฏิบัติต้องพยายามควบคุมสติให้อยู่กับพุทโธทุกลมหายใจเข้า-ออก และให้สัมปชัญญะคือให้เกิดความรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะว่าเรากำลังบริกรรมพุทโธอยู่ ต้องให้สติสัมปชัญญะอยู่คู่กันเสมอ (ให้ทำงานอยู่ด้วยกัน) เมื่อสติสัมปชัญญะอยู่กับลมหายใจเข้า-ออกนานๆ ใจก็จะหยุดฟุ้งซ่าน ใจก็สงบเย็น ใจก็จะสว่าง เมื่อเกิดสภาพเช่นนี้ขึ้นในใจ ผลดีอื่นๆ อีกมากก็จะเกิดตามมา



• เป็นครูสอนนักธรรมตรี
อยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ไปถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑ หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับไปยังวัดธาตุหันเทาว์ ขณะที่เดินทางกลับบ้านเกิด ในระหว่างทางหลวงปูก็ได้แวะเข้ากราบคารวะท่านเจ้าคณะอำเภอหนองบัวลำภู ฝ่ายธรรมยุต คือท่านเจ้าคุณพระพิศาลเถระ ซึ่งท่านเป็นพระเถระที่หลวงปู่เคารพอีกรูปหนึ่ง เมื่อกราบคารวะองค์ท่านเจ้าคุณเป็นที่เรียบร้อย ท่านเจ้าคุณก็ได้ไต่ถามถึงสารทุกข์สุขดิบ และผลสำเร็จทางการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม เมื่อองค์ท่านเจ้าคุณทราบว่าหลวงปู่เรียนจบนักธรรมตรีแล้วและพอที่จะช่วยเป็นครูสอนนักธรรมชั้นตรี ซึ่งขณะนั้นกำลังขาดแคลนครูสอน ท่านเจ้าคุณพิศาลฯ จึงได้ขอร้องให้หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดธาตุหันเทาว์ เพื่อเป็นครูสอนนักธรรม ด้วยความเกรงใจในองค์ท่านเจ้าคุณและเห็นใจพระเณรที่ขาดครูสอน หลวงปู่ท่านจึงรับคำอยู่ช่วยสอนนักธรรมตรีจนออกพรรษา และสอบนักธรรมสนามหลวงประจำปี พ.ศ.๒๔๘๑ จนแล้วเสร็จ ท่านจึงได้เดินทางกลับมาที่วัดโพธิสมภรณ์ตามเดิม เพื่อมาศึกษานักธรรมโทต่อที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี และสอบได้ในปีนั้นเอง จากนั้นก็สมัครสอบนักธรรมเอกในปีต่อมา


หัวข้อ: Re: หลวงปู่หลอด ปโมทิโต จากหนังสือ ปโมทิตเถรบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟัง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 ธันวาคม 2559 12:03:45
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88516769599583__3627_3621_3623_3591_3611_3641.gif)
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต กับ พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ) วัดพระบาทน้ำพุ จ.ลพบุรี

• ปูชารหบุคคลของหลวงปู่
การที่หลวงปู่กลับมาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ในครั้งนี้ หลวงปู่ได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้มีโอกาสศึกษาธรรมะทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติกับท่านพระมหาเส็ง ปุสฺโส (อดีตพระอริยคุณาธาร) ด้วย  เนื่องจากในบางโอกาสท่านเจ้าคุณฯ พระอุปัชฌาย์ได้มีหนังสือแจ้งไปยังท่านอาจารย์พระมหาเส็ง ให้มาช่วยจัดระเบียบการเรียนบาลีบ้างและกิจอย่างอื่นบ้าง หลวงปู่จึงได้มีโอกาสสนทนาศึกษาธรรมะจากท่านอาจารย์พระมหาเส็งอยู่เนืองๆ

ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม) นี้ หลวงปู่ท่านเคารพเทิดทูนและถือเป็นปูชารหบุคคลของท่านเลยทีเดียว เพราะองค์ท่านเจ้าคุณจูมท่านมีคุณงามความดีมากมายหลายอย่าง ซึ่งควรแก่การกราบไหว้เป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในข้อวัตรและมีปฏิปทาน่าเลื่อมใส

หลวงปู่เล่าว่า “เจ้าคุณพระอุปัชฌาย์ (จูม) ท่านเป็นชาวท่าอุเทน จังหวัดนครพนม อุปสมบทที่วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอาจารย์แสง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณฯ ท่านได้ไปศึกษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ เมื่อจบนักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม ๓ ประโยค ทางราชการก็กราบนิมนต์ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี เพื่อสนองงานคณะสงฆ์ทั้งในด้านพุทธจักรและอาณาจักร เพราะท่านเป็นพระเถระที่มีความสามารถสูงในหลายๆ ด้าน และมีความเสียสละเป็นอย่างมากอีกด้วย ท่านก็รับนิมนต์ตามที่ทางราชการประสงค์ มาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์

ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายที่พระธรรมเจดีย์ ท่านดำรงในสมณศักดิ์นี้เรื่อยมาจนกระทั่งมรณภาพที่วัดโพธิสมภรณ์ เป็นอันว่าธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ของท่านแตกดับไปตามวิสัยธรรมดาของสังขารทั่วๆ ไป แต่คุณความดีหรือจริยวัตรอันงดงามของท่านมิได้แตกดับไปด้วย”

หลวงปู่ท่านยังได้เล่าต่อไปอีกว่า “อุปนิสัยของเจ้าคุณจูม ท่านเป็นคนอ่อนน้อม ยำเกรง พูดง่าย มีความสนใจและให้ความสำคัญต่อการศึกษา  ท่านเจ้าคุณฯ ท่านเคารพยำเกรงหลวงปู่มั่นมากมายนัก ท่านไม่เคยแสดงความหยิ่งทนงตน ไม่เคยอวดอ้างว่าตนฉลาด เป็นผู้ที่เคารพเทิดทูนครูบาอาจารย์มากนะ ท่านเคยอยู่กับหลวงปู่มั่นมาตั้งแต่ยังเป็นเณรนะ เวลาท่านไปคารวะหลวงปู่มั่นท่านไม่เคยเอายศเอาศักดิ์ไปด้วยเลย และไม่ว่ากิจอันใดที่หลวงปู่มั่นมอบหมายให้ท่านทำ แม้ลำบากยุ่งยากแค่ไหน ท่านก็จะต้องไป เพราะท่านมีกตัญญู แม้แต่อาตมาเองก็ได้อาศัยปฏิปทาของท่าน เป็นแบบอย่างในการฝึกฝนอบรมตนเอง อาตมาก็ไม่เคยลืมพระคุณของท่านและถือว่าท่านเป็น ปูชารหบุคคล ได้อย่างสนิทใจ

อาตมายังจำได้ดีซึ่งใจความแห่งวาทะ ที่แสดงถึงหลักใจของท่านว่า คนเราจะได้ดีมันต้องมีหลัก ถ้าเป็นภายนอกเรียกว่า หลักฐาน คนที่ไร้หลักฐานก็อยู่อย่างเลื่อนลอย คือไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ทำมาหากิน แม้หลักฐานข้างในก็จำเป็นต้องมี คือต้องให้จิตใจอยู่อย่างมีอุดมคติที่มั่นคงและแน่วแน่ อย่าให้ใจโลเล เหลาะแหละ เหลวไหล ท่านจึงกล้าพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าตัวท่านจะบวชตลอดชีวิตโดยไม่สึก และจะอดทนเพียรพยายามในการกำจัดราคะ โทสะ โมหะ ให้สุดความสามารถ เพราะไหนๆ เราก็รู้อยู่แล้วว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น ต้นเหตุที่สิ่งเหล่านี้เกิดมีเพราะตัณหา ดังนั้นเมื่อรู้ตัวการที่ก่อให้เกิดทุกข์แล้ว เหตุใดเราจะมามัวรีรอให้เสียชาติเกิดอยู่ทำไม

เราจะรีบจัดการกำจัดตัณหา เพราะถ้าขืนปล่อยให้มันอยู่ในใจเรานาน มันก็ยิ่งจะแผ่ลูกแผ่หลานหรือฝังรากลึกยิ่งๆ ขึ้นไป นับวันแต่จะกำจัดได้ยาก แล้วมันก็จะก่อทุกข์แก่เราอยู่ร่ำไป ชาติแล้วชาติเล่า โดยไม่มีชาติที่สิ้นสุด  ฉะนั้น เราจึงต้องตั้งใจพยายามที่จะกำจัดมันในชาตินี้ แม้ว่ามันจะไม่หมด แต่อย่างน้อยมันคงต้องอ่อนกำลังลงอย่างแน่นอน แล้วเราก็จะชนะมันในชาติอันไม่ไกลนัก

จากนั้นท่านก็อธิบายเรื่องอริยมรรคมีองค์ ๘ และอริยสัจ ๔ ให้ฟัง โดยมีใจความที่พอสรุปได้ว่า ถ้าเราไม่มีใจต่อการปฏิบัติตามมรรค ๘ แล้วเราก็นับวันที่จะห่างจากจุดแห่งความสุขที่แท้จริง ฉะนั้นผู้ที่รักตนเองทั้งหลายจึงควรใช้ชีวิตให้อยู่ในกรอบของมรรค ๘ แม้ว่าเราจะยังไม่ถึงจุดสุดยอดแห่งปลายทางก็ตาม แต่เราก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เดินถูกทางหรือเป็นผู้เดินเข้าไปใกล้ศูนย์แห่งความสุขที่แท้จริงเข้าไปเรื่อยๆ  

หากพยายามเดินต่อๆ ไปโดยไม่หยุด แม้จะช้าๆ แบบคืบคลานก็ยังดีกว่าคนที่ยืนอยู่กับที่หรือดีกว่าคนที่เดินผิดทาง ซึ่งยิ่งห่างจากจุดหมาย   มรรค ๘ นั้นเป็นสิ่งที่ต้องเจริญหรือฝึกฝนปฏิบัติให้เกิดมีในตน ถ้าเพียงแต่ท่านพึงอ่านจนแตกฉานในพระไตรปิฎกก็ไม่มีทางดับทุกข์ได้ เหมือนคนที่รู้หลักในการหาทรัพย์เพื่อความเป็นเศรษฐี แต่ไม่ปฏิบัติตามหลักการนั้น ก็ไม่มีทางเห็นเศรษฐีได้อยู่นั่นเอง”


(http://www.web-pra.com/upload/amulet-page/957-73f2.jpg)

• พรรษาที่ ๔ (พ.ศ.๒๔๘๓)
ธุดงค์ครั้งแรก


ในพรรษาที่ ๓ ปี พ.ศ.๒๔๘๒ หลังจากออกพรรษา และสอบนักธรรมเสร็จแล้ว หลวงปู่ท่านได้มีโอกาสพบกับเพื่อนภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่าพระอาจารย์วิฤทธิ์ ปุญฺญมาโน ซึ่งท่านเป็นชาวจังหวัดอุดรธานี ได้บวชมา ๑๐ พรรษาแล้ว เดิมท่านก็เคยอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์มาก่อน แต่เหตุที่ท่านเป็นพระที่มีความรู้ดีมีความสามารถและยังมีความประพฤติดี ทางเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร ซึ่งขณะนั้นคือท่านพระมหาเส็ง ปุสฺโส จึงได้ขอตัวให้ไปช่วยเป็นครูสอนนักธรรมอยู่ที่วัดศรีโพนเมือง จังหวัดสกลนคร อยู่ระยะหนึ่ง ครั้นเมื่อครบวาระแล้วท่านจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ตามเดิม

เมื่อได้รู้จักกัน สนทนากันพอสมอัธยาศัยแล้ว พระอาจารย์วิฤทธิ์จึงได้ชวนให้หลวงปู่ซึ่งเป็นเพื่อนภิกษุรุ่นน้อง ออกธุดงค์หาวิเวกปฏิบัติธรรมด้วยกันตามสมณวิสัย ก็เป็นอันตกลงกัน

ดังนั้นในวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ พระอาจารย์วิฤทธิ์พร้อมด้วยหลวงปู่ และสามเณรอีกหนึ่งรูป คือสามเณรบัวลัย ได้ติดตามกันไปออกธุดงค์ โดยก่อนหน้าที่จะออกเดินธุดงค์กัน ได้มีโยมอุปัฏฐากท่านหนึ่งของวัดโพธิสมภรณ์ ชื่อว่า คุณนายทิพย์ พยงค์พลพ่าย มีความศรัทธาจัดหาเครื่องบริขารธุดงค์มาถวายรวม ๓ ชุด

เมื่อทุกอย่างพร้อม จึงได้พากันไปกราบลาท่านเจ้าคุณพระอุปัชฌาย์เพื่อขอออกธุดงค์ ท่านเจ้าคุณก็ได้ให้คำแนะนำก่อนออกธุดงค์ว่า "เมื่อเธอทั้งสามได้ตั้งจิตใจมั่นคงในการปฏิบัติวิเวกในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นครั้งแรก ก็จงยึดมั่นในคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์เอาไว้เป็นหลัก การธุดงค์ไม่ใช่การออกไปเที่ยวหาความเพลิดเพลิน สนุกสนาน หรือเพี่อการพักผ่อนแต่อย่างใด แต่ตรงกันข้ามขอให้เธอจงสำรวมระวังสังวร อย่าเห็นแก่ปากแก่ท้อง อย่าเห็นแก่การหลับการนอนมากเกินไป จงฉันจังหันแต่น้อย เพียงเพื่อดำรงกำลังเลี้ยงชีพอยู่ได้ และนอนให้น้อย เพื่อทำความเพียรให้มาก จงตั้งมั่นในองค์ภาวนาตลอดเวลา และทุกขณะจิตต้องมีสติระลึกรู้ อย่าปล่อยจิตปล่อยใจล่องลอยจนคิดออกนอกวิสัยของสมณะ ข้อสำคัญ ให้มั่นในศีลและยึดมั่นในเมตตาธรรม ระวังกาย วาจา ใจให้ดี มิให้กระทำสิ่งใดผิดพลาดเกิดขึ้นได้ มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายจากสัตว์ร้ายหรือพลาดพลั้งจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ฉะนั้นขอให้หมั่นเจริญสติและเมตตาธรรมเอาไว้ให้มากๆ

หลังจากที่ได้รับอุบายธรรมคำแนะนำจากเจ้าคุณพระอุปัชฌาย์แล้ว ในเวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. จึงได้พากันออกเดินธุดงค์ โดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ตั้งจุดหมายปลายทาง คือ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งต้องผ่านไปทางบ้านปากดง บ้านหนองขุ่ม บ้านนาแอ่ง"

หลวงปู่ท่านได้บรรยายถึงการเดินทางในครั้งนั้นไว้ว่า "ในการเดินทาง สิ่งที่อาตมาฝังจิตฝังใจมากจนยากที่จะลืมได้ คือป่าไม้ที่แสนกว้าง หนาทึบ ต้นใหญ่ๆ สูงชะลูด มองดูแล้วน่าเกรงขาม คล้ายๆ ประหนึ่งว่าน่าจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อาศัยต้นไม้อยู่

การเดินฝ่าดงพงไพร ก็รู้สึกเย็นแบบระรื่นชื่นใจ เพราะร่มสนิท เดินทั้งวันก็ไม่เจอแดดเลย และอากาศก็ดีไม่เหนื่อยง่าย แม้จะเดินมาเป็นเวลานานๆ อีกทั้งยังเคล้าไปด้วยบรรยากาศที่วิเวกวังเวง และน่าตื่นเต้นในบางคราวจากเสียงของสัตว์ป่านานาชนิดที่หวีดร้องด้วยความตกใจในการมาของอาตมา และทั้งที่ส่งเสียงร้องตามธรรมชาติ บางคราวก็ได้เห็นร่องรอยเท้าของสัตว์ร้าย ปรากฏใหม่ๆ ให้ได้เห็น ให้เกิดความระทึกใจ สัตว์ป่านานาชนิดโผล่ให้ได้เห็นอยู่เป็นระยะ ทั้งที่แปลกประหลาด สวยงาม และสัตว์ร้ายที่น่ากลัว การเดินทางในป่าจึงมีรสชาติที่ไม่จืดชืดเลย ซึ่งในปัจจุบันนี้จะหาสภาพเช่นนั้นได้ยาก แทบไม่มีให้เห็นแล้ว

อาตมาจึงมีแต่ภาพความหลังเท่านั้น ที่เป็นสิ่งประทับใจ สภาพของพื้นที่ในสมัยก่อนนั้นแทบจะกล่าวได้ว่า เมื่อออกจากตัวอำเภอหรือตัวเมืองของจังหวัดไปแล้ว ก็มีแต่ป่าต่อกันเป็นพรืดไปหมด นานๆ จึงจะพบหมู่บ้านคนเห็นอยู่เพียงหร๋อมแหร๋ม

อีกอย่างที่น่าประทับใจมากในการเดินธุดงค์คือ ลำธารน้ำตามป่าดงพงไพรมีอยู่มากมาย มีตนกำเนิดจากป่าอันอุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้น ไหลรวมเป็นลำธารสวยงามให้ได้เห็นอยู่มากแห่ง ธารน้ำนั้นจะใสแจ๋วและเย็นชุ่มชื่นใจยิ่งนัก เมื่อได้ดื่มได้อาบ (เย็นคล้ายๆ กับน้ำตามแก่งที่เป็นโขดหิน) เดี๋ยวนี้เพราะป่าไม่ค่อยมี แหล่งน้ำธรรมชาติก็ไม่ค่อยมี ร่องน้ำลำธารมากต่อมากเลยตื้นเขิน โลกคือปฐพีก็คงจะร้อนรุ่ม เพราะพื้นพิภพขาดความชุ่มฉ่ำ และคงจะร้อนระอุ เพราะเพลิงกิเลสของมนุษย์ ซึ่งนับวันแต่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย แต่คงไม่สายเกินแก้ ถ้าหลายๆ คนช่วยกันแก้ไข มิให้เหตุการณ์เลวร้ายไปกว่านี้ด้วยการรณรงค์ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มาก ก็คงช่วยบรรเทาความแห้งแล้งหรือความรุ่มร้อนภายนอกได้เป็นอย่างมาก ส่วนความเดือดร้อนวุ่นวายที่เกิดขึ้นเพราะแรงกิเลสของคนนั้น ก็ป้องกันหรือแก้ไขได้ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกในทางศีลธรรม เพื่อให้จิตใจของคนเป็นจิตใจที่เยือกเย็นสุขุมหนักแน่น กลัวบาป กลัวกรรมแล้ว ผู้นั้นก็จะไม่กล้าทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว มนุษย์เราก็จะอยู่อย่างเอ็นดู หรือเห็นอกเห็นใจกัน ไม่เบียดเบียนกันโดยทางร่างกายหรือทรัพย์สิน สังคมเราก็จะอยู่เย็นเป็นสุขเพราะร่มเงาแห่งต้นไม้และร่มเงาแห่งธรรมะฉะนี้

มอดอาศัยต้นไม้อยู่ แต่ก็กัดกินไม้ที่ตนอาศัยอยู่ ในที่สุดมอดก็เดือดร้อน คนเราอาศัยไร่นาสาโท อาศัยบ้านเรือนและอาศัยคุณธรรมคุ้มครองจึงอยู่กันอย่างมีความสุขได้ หากเราไม่ช่วยกันรักษาหวงแหนศีลธรรม เราก็จะตกอยู่ในสถานะเดียวกันกับมอดที่กัดไม้ ถ้าศีลธรรมแห้งเหือดไปจากจิตใจคน สังคมเราจะตกอยู่ในสถานะอย่างไร

การเดินธุดงค์ในครั้งนั้น เป็นการเดินธุดงค์หาวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรมจริงๆ ต่างกันกับการเดินธุดงค์ในครั้งก่อน ซึ่งเป็นการเดินทางแบบค่ำไหนนอนนั่น มีความรีบร้อนที่จะไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง แต่ในครั้งนี้หากพบสถานที่ใดที่มีความสงบวิเวกเหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียรแล้ว ก็จะพักปฏิบัติธรรมอยู่ระยะหนึ่ง จึงค่อยย้ายจากไปหาที่ใหม่เพื่อจะได้ไม่ติดในสถานที่ และจิตใจจะได้มีการตื่นตัวแปลกที่อยู่เสมอ ทำให้การทำความเพียรได้ผลดีมาก  



• ความหมายที่แท้จริงของคำว่าวิเวก
นอกจากนี้หลวงปู่ท่านยังได้เขียนบรรยายความหมายและความสำคัญของวิเวกไว้ว่า

คำว่าวิเวก หมายถึง ความสงบสงัด (สงัดภายนอก สงัดภายใน) ผู้แสวงหาวิเวกภายในควรคำนึงถึงสถานที่ปฏิบัติธรรมที่วิเวกด้วย สถานที่ก็คือสงัดภายนอก หรือวิเวกภายนอก เพราะถ้าสถานที่วิเวกจะอำนวยให้การปฏิบัติ คือวิเวกภายในก็จะเกิดได้เร็วขึ้น ถึงอย่างไรก็ตามสถานที่อันสงบสงัดเยือกเย็น ก็เป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุนเท่านั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเราเองต้องคอยดูแลตนให้ดีตามหลักการ จึงจะพบวิเวกภายในได้ วิเวกหรือไม่วิเวกอยู่ที่ตัวเรานี้ ธรรมะนั้นมันอยู่ในกายเรานี้ อยู่ใต้คางเรานี้ อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกนี้ ศาสนาก็อยู่ตรงนี้ วิเวกก็อยู่ตรงนี้ กว้างศอก ยาววา หนาคืบ ไม่ได้อยู่อื่นไกล แล้วจะตัดกิเลสทำลายกิเลสก็ที่ใจ ใจคือปัจจัยภายใน อยู่ในใจเรานี้ มันไม่ได้อยู่ที่ป่าไหนเขาไหน แต่ก่อนอาตมาเข้าใจว่าการเดินธุดงค์คือการเดินหาธรรมะ คือการเดินหาวิเวก แต่ตอนนั้นอาตมาไม่รู้ว่าธรรมะอยู่ตรงไหน พอได้ปฏิบัติเข้าจริงๆ แหม! หลงไปเดินหาธรรมะหาวิเวกอยู่นาน พอวิเวกภายในมี ธรรมะมันก็มี ที่ใจเรานี้ พญามารก็ที่ใจเรานี้ รัก โลภ โกรธ หลง ราคะ โทสะ โมหะ นี่แหละพญามาร มันไม่ได้อยู่ผาไหน ถ้ำไหน จะปราบพญามารก็อยู่ที่ใจ นิพพานก็ที่ใจ นิพพานมีอยู่ที่ใจมิได้อยู่ที่ไหนเลย พอได้รู้ได้ปฏิบัติเข้าจริงๆ อาตมาก็คิดนะว่า เมื่อก่อนเราไปเดินหาธรรมะแถวอีสาน เหนือ กลาง และใต้ ขึ้นเขาบุกป่าเพื่อหาวิเวกอยู่ตั้งหลายปีจริงๆ ของจริงก็อยู่ใต้คางเรานี่เอง ฉะนั้นสถานที่ก็เป็นเพียงปัจจัยภายนอกเท่านั้น ถึงแม้จะพบสถานที่ที่ดีเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าเราไม่ดีไม่รู้จักพิจารณา ไม่รู้จักฝึกใจ เราก็จะไม่พบความสงบสุขอยู่นั่นเอง ตนจึงสำคัญกว่าสิ่งอื่นๆ ทั้งหมด”

หลวงปู่ท่านยังได้อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมไว้ว่า “ในการปฏิบัตินั้น อาตมาเริ่มต้นจากสมถะก่อน เพราะสมถะเป็นการเจริญเบื้องต้น เปรียบเหมือนการปรับฐานของจิตให้สงบราบเรียบ มีความหนักแน่นด้วยสมาธิเสียก่อน เมื่อจิตแน่วแน่เป็นสมาธิแล้ว จึงดำเนินยกขึ้นสู่วิปัสสนา ซึ่งเป็นกรรมฐานชั้นสูงกว่าสมถะ วิปัสสนาแปลว่าการเห็นแจ้ง เห็นตรงตามความเป็นจริงตามสภาวะธรรม เข้าถึงพระไตรลักษณ์ คือเห็นว่าทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

ทั้งสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมอันสุขุมลึกซึ้ง ในพระพุทธศาสนาจำแนกออกเป็นภูมิ ดังนี้คือ
สมถะมีภูมิอยู่ ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ พรหมวิหารหรืออัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุวรัตถาน ๑ และอรูปญาน ๔ รวม ๔๐ ภูมิหรือ ๔๐ กอง

ส่วนภูมิของวิปัสสนาก็มี ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น) นี่เป็นภูมิของวิปัสสนา

ภูมิของสมถะนั้น เริ่มต้นที่ต้องทำใจให้หยุด จึงจะเข้าหลักของสมถะได้ ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เข้าภูมิสมถะไม่ได้ เพราะสมถะแปลว่า สงบระงับ หยุดนิ่ง คือต้องทำใจให้นิ่ง ต้องทำใจให้ยุด

อะไรจึงเรียกว่า ใจ ก็มีเห็นอย่างหนึ่ง จำอย่างหนึ่ง คิดอย่างหนึ่ง และรู้อย่างหนึ่ง ทั้ง ๔ อย่างนี้ รวมเข้าเป็นจุดเดียวเรียกว่า ใจ

ส่วนในเรื่องจิตนั้น ท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี ได้เคยเทศนาเอาไว้ว่า จิตนั้นนึกคิดสารพัดทุกอย่าง ไม่มีขอบเขต จิตแปลว่า ผู้คิด ผู้นึก ในทางธรรมะท่านว่า มะโนปุพพังคะมา ธัมมา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน  มะโนเสฏฐา มะโนมะยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วด้วยใจ  มะนะสา เจ ปะสันเนน ภาสะติ วา กะโรติ วา แม้จะพูดจาสารพัดทุกอย่าง ใจนั้นแหละเป็นคนถึงก่อน แล้วจึงค่อยพูดค่อยจาได้

จิตเป็นของผ่องใสสะอาดอยู่ตลอดเวลา อาคันตุกะกิเลสต่างหากที่ทำให้เศร้าหมอง
จิตนั่นแหละที่ไปคิด ไปนึก ไปปรุง ไปแต่ง ไปชวนเอากิเลสมา ถ้าหากว่าจิตไม่ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา เราก็ทำความสะอาดไม่ได้ดอก ของไม่สะอาดก็มีธรรมชาติของมันเป็นของสกปรก เราจะไปทำอย่างไร มันก็ไม่สะอาดได้

จิต ธรรมดาเป็นของผ่องใส อาคันตุกะกิเลสมันพาให้เศร้าหมอง ท่านจึงทำให้สะอาดได้ ที่มาหัดทำสมาธิภาวนานี่ก็ทำเพื่อให้กิเลสหมดสิ้นไป เพื่อให้มันสะอาดคืนสภาพเดิม ถ้าไม่รู้จักเรื่องจิตเรื่องใจ ก็ไม่รู้ว่าจะไปชำระตรงไหน ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นของใสสะอาด ใจนั่นเองเป็นของใสสะอาด เราจึงต้องเอาอาคันตุกะกิเลสที่หุ้มห่อออกมา มันก็จะใสสะอาดและผ่องใสขึ้นมาได้


• ธรรมชาติให้ความสุขใจ
สิ่งหนึ่งที่บรรดาลูกศิษย์ขององค์หลวงปู่ทราบดีอยู่แล้วว่า องค์ท่านเป็นนักอนุรักษ์ และชื่นชมความงามของธรรมชาติเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากที่ท่านได้บรรยายความงดงามของธรรมชาติ ที่ท่านได้พบเห็นระหว่างการเดินธุดงค์ไว้ในอัตตโนประวัติ ดังนี้
“ครั้งกระโน้น ไม้เนื้อแข็งนานาชนิดมีอยู่มากมาย เช่นไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะเคียนหิน ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้ยาง นอกจากจะเป็นไม้ที่ล้ำค่าแล้ว ยังให้ความร่มรื่นเป็นอย่างดี นี่คือความสุขใจอย่างหนึ่งที่ได้จากต้นไม้ สัตว์บางประเภทร้องแบบแผดเสียงดังก้องกังวาน แหลมคม จนแสบแก้วหู สัตว์บางประเภทร้องเสียงใหญ่ คล้ายๆ เสียงแหบเสียงเครือ เมื่อได้ฟังก็รู้สึกมีความสุขใจ นี่ก็คือความสุขอย่างหนึ่งที่ได้จากธรรมชาติ บางครั้งการเดินทางมากๆ เมื่อยแสนเมื่อย เพลียแสนเพลีย แต่พอนั่งพักผ่อน ก็ได้ยินเสียงร้องของนกชนิดหนึ่ง ก็รู้สึกเกิดกำลังใจ ไม่คิดท้อแท้ นกดังกล่าวนั้น ร้องเหมือนกับเสียงคนพูดว่า อดๆ เถิด, อดๆ เถิด, อดๆ เถิด ร้องอยู่อย่างนั้น เหมือนกับว่านกนั้นรู้ใจเรา เห็นใจเรา แล้วมาร้องปลอบใจเรา ให้กำลังใจเรา นี่ก็เป็นความสุขใจจากธรรมชาติอย่างหนึ่ง ในบางช่วงบางฤดู จะมีจักจั่น เรไร หวีดร้องระงมป่า รู้สึกไพเราะเพราะพริ้งแบบวังเวงใจ เป็นดนตรีจากธรรมชาติที่ให้ความสุขอย่างบริสุทธิ์จริงๆ เดี๋ยวนี้ดนตรีมิได้ก้องอยู่ในป่าเช่นเคยแล้ว แต่กลับไปก้องอยู่ในเมือง ในคลับในบาร์ ต้องเสียเงินเข้าไปดู เข้าไปฟัง มีการสิ้นเปลือง พาให้คนเกิดนิสัยฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เป็นเหตุให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย

อนิจจา...สังคมเป็นพิษแล้วหรือ โลกเรากำลังไหลไปหาความเสื่อมอย่างเลือดเย็น ธรรมชาติที่จะให้ความสุขอย่างบริสุทธิ์ โดยไม่สิ้นเปลืองนั้นเกือบไม่มีเหลืออยู่แล้ว สังคมกำลังหายใจเป็นเงิน และกำลังกระหายเงิน อะไรทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ ใครบ้างหนอที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

เมื่อก่อนธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ธรรมชาติไม่ถูกคนรังแก ฉะนั้น ธรรมชาติก็เลยช่วยคน มาบัดนี้คนไม่รักธรรมชาติ คนพากันทำลายธรรมชาติ แม้จะมีกฎหมายห้ามปรามมิให้ตัดไม้ทำลายป่า แต่คนก็ยังทำลายอยู่นั่นเอง โดยอาศัยช่องทางของกฎหมายนั้น โดยอาศัยอิทธิพลอย่างลับๆ บ้าง ลักลอบกระทำการบ้าง

คนหลอกลวงธรรมชาติอยู่เสมอว่า เรารักธรรมชาติๆ แต่บางคนก็ไม่ซื่อสัตย์ต่อธรรมชาติ ในที่สุดธรรมชาติก็ย้อนมาทำลายคน ลงโทษคนตามกฎกงกรรมกงเกวียน คนที่ตัดไม้ทำลายป่าขายได้เงินก้อนมหาศาลก็จริง แต่ธรรมชาติก็ล้างแค้นมนุษย์อยู่เช่นกัน และขอทำนายด้วยความมั่นใจว่า กรณีศึกล้างแค้นอย่างนี้ธรรมชาติจะเป็นผู้ชนะ นั่นคือมนุษย์ยิ่งทำลายธรรมชาติเท่าไร มนุษย์จะยิ่งทวีความเดือดร้อนมากขึ้น

จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์จะเป็นผู้แพ้ เช่นฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล แผ่นดินจะแห้งผาก อากาศจะฝืดแห้ง ไม่รวยระรื่นชื่นใจ หน้าฝนจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เหล่านี้เป็นต้น สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดเพราะต้นไม้ถูกทำลายไปมากนั่นเอง

อีกอย่างหนึ่งที่อาตมาฝังใจมาก จากอดีตเมื่อครั้งที่ออกแสวงหาวิเวกก็คือ แต่ก่อนนั้นตามข้างๆ ทางเดินเข้าในป่าในดง หรือตามหมู่บ้าน มักจะมีศาลาพักร้อนหลังเล็กๆ อยู่ริมทางและหลายๆ หมู่บ้านยังนิยมสร้างศาลาพักผ่อนไว้กลางหมู่บ้าน เพื่อให้แขกผู้สัญจรรอนแรมได้พักอาศัย การตั้งโอ่งน้ำดื่มไว้ตามหน้าบ้านนั้น เพื่อให้คนเดินทางที่กระหายน้ำได้ดื่มกิน เป็นคุณธรรมที่แสดงถึงความเมตตาสงสาร เห็นใจคนที่เดินทางไกล นี่คือเอกลักษณ์ของไทยที่หาได้ง่ายแต่โบราณ แต่เดี๋ยวนี้เกือบจะสูญพันธุ์ไปเสียแล้ว ใครหนอจะช่วยกู้เอกลักษณ์แบบไทยๆ ที่ดีๆ เช่นนี้เอาไว้”


• ตำนานน้ำตกเขาอีโต้
เส้นทางในการเดินธุดงค์ของหลวงปู่และคณะนั้น เมื่อเริ่มเดินทางออกจากวัดโพธิ์สมภรณ์ไปจนถึงบ้านปากดงแล้ว ก็เลยมาถึงบ้านหนองแซง ที่หมู่บ้านนี้ภายหลังมีวัดป่าพระกรรมฐานศิษย์สายท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต อยู่วัดหนึ่งเกิดขึ้น โดยมีหลวงปู่บัว สิริปุญฺโณ เป็นผู้มาริเริ่มสร้าง ประชาชนเลื่อมใสเคารพในปฏิปทาของท่านอย่างมากมาย ออกจากหนองแซงไป ผ่านบ้านหนองบัวบาน ผ่านบ้านหนองวัวซอ พักอยู่ที่วัดบุญญานุสรณ์ ๑ คืน  ขณะนั้น พระอาจารย์เพชรเป็นเจ้าอาวาส คณะธุดงค์ได้เดินทางต่อ ผ่านบ้านโนนทัน ซึ่งขณะนั้นมีบ้านประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน

ต่อมาภายหลังอีกหลายปี บ้านโนนทันก็เป็นที่รู้จักกันดีเมื่อหลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม ท่านมาอยู่ที่วัดป่าสิริสาลวัน บ้านโนนทัน หลวงปู่บุญมาท่านเป็นพระกรรมฐานที่มีชื่อเสียงมาก มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ โดยอุบัติเหตุเครื่องบินตกพร้อมกับพระกรรมฐานศิษย์สายท่านพระอาจารย์มั่นอีก ๔ รูป ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม  พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ  พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร  และพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม

หลวงปู่เล่าต่อไปอีกว่า เมื่ออาตมาออกจากบ้านโนนทัน ก็เข้าสู่เขตป่าดงดิบเทือกเขาภูพาน แดนแห่งความสุขที่บริสุทธิ์จากดนตรีธรรมชาติ ป่าทึบที่เย็นฉ่ำ กึกก้องไปด้วยเสียงหวีดร้องของสัตว์ป่านานาชนิดกลางป่าดงดิบ เราได้หยุดพักผ่อนชั่วคราว เพื่อเอาเรี่ยวเอาแรงจากการดื่มน้ำ และอาบน้ำในลำธารเล็กๆ ที่น้ำใสเย็นเฉียบ ฝูงปลามากมายแหวกว่ายในห้วยนั้น พวกเรานั่งดูด้วยความสุขใจ ห้วยดังกล่าวเขาเรียกกันว่า “ห้วยมะเดื่อ” บ่าย ๔ โมงกว่า เราต้องรีบเดินทางต่อไป ประมาณ ๕ โมงเย็นก็ถึงบริเวณน้ำตกเขาอีโต้และห้วยอีโต้ สวยงามมาก ไหลจากเขาภูพานด้านตะวันตกผ่านหนองบัวลำภู

เมื่อก่อนน้ำตกและห้วยอีโต้นี้ มีน้ำไหลมาตลอดปี แต่ปัจจุบันนี้ในหน้าแล้งหาน้ำแทบไม่มี น้ำตกแห่งอื่นๆ ก็กำลังมีสภาพอย่างนี้ คือจะมีน้ำไหลดีเฉพาะหน้าฝน ทั้งนี้ก็เพราะน้ำมือของมนุษย์ที่เห็นแก่ได้ โดยไม่ยอมมองการณ์ไกลนั่นเอง น้ำตกเขาอีโต้นี้คนเฒ่าคนแก่เล่าต่อๆ กันมาว่าชาวบ้านแถวนั้นชอบขึ้นไปหาหน่อไม้บนเทือกเขาภูพาน

วันหนึ่งกลุ่มหนุ่มๆ สาวๆ หลายคน ชวนกันไปหาหน่อไม้บนภูพานโดยชวนชายคนหนึ่งอายุ ๕๕ ปี ชื่อว่า “โต้” ให้เป็นหัวหน้าของหมู่คณะ เมื่อหาได้คนละมากๆ จนพอแล้ว คณะก็เตรียมตัวกลับ โดยก่อนกลับก็ชวนกันอาบน้ำที่น้ำตกเสียก่อน ขณะนั้นหญิงสาวคนหนึ่ง ผู้มีรูปร่างหน้าตาสวยงามมาก พูดกระเซ้าพวกผู้ชายทั้งหลายที่ไปด้วยกันว่า ถ้าใครกระโดดลงเหวน้ำตกนี้แล้วไม่ตาย ตัวจะแต่งงานกับชายคนนั้น โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขอย่างอื่นทั้งสิ้น คือ ไม่ต้องมีเงินสินสอด เฒ่าโต้ได้ฟังดังนั้นก็พูดย้อนเพื่อกำชับให้แน่ใจว่า จริงแน่นะ สาวตอบว่าจริงแน่ ขอให้ทุกคนในที่นี้เป็นพยานให้ เฒ่าโต้จึงพูดว่า ฉันเองจะกระโดด ใครๆ ก็นึกไม่ถึง คิดว่าเฒ่าพูดเล่นๆ ว่าแล้วเฒ่าโต้ก็ยืนที่ปากเหว หลับตาทำปากหมุบมิบๆ แล้วก็กระโดดตัวลอยละลิ่วลงสู่ก้นเหว คงเพราะเดชะบุญหรือบารมี เฒ่าโต้กลับตกลงบนเครือไม้ที่แผ่หนาทึบ ยึดยอดไม้ก้นเหวอยู่ เฒ่าโต้รอดตาย พอตะเกียกตะกายขึ้นพ้นเหวได้ ก็ทวงสัญญาทันที หญิงนั้นก็มิได้บิดพลิ้ว คือเต็มใจที่จะอยู่เป็นเมียตามที่ได้สัญญา เขาเลยตั้งชื่อเหวนั้นว่า ... อีโต้ (อี หมายถึง หญิงสาวคนนั้น  โต้ หมายถึง เฒ่าที่กระโดดเหวนั่นเอง) นี่เป็นเพียงตำนานที่เล่าต่อๆ กันมา เท็จจริงอย่างไรก็ขอฝากไว้ในดุลยพินิจของท่านทั้งหลาย อาตมาได้ยินได้ฟังคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังเช่นนั้น เลยนำมาเล่าต่อเพื่อเสริมแง่คิด หรือประสบการณ์แก่ท่านทั้งหลาย”

เมื่อคณะธุดงค์ของหลวงปู่ลงจากภูพาน ก็ถึงตัวอำเภอหนองบัวลำภู จึงได้มุ่งตรงไปยังวัดมหาชัย เพื่อแวะกราบเยี่ยมคารวะท่านเจ้าคุณพิศาลเถระ ในฐานะผู้คุ้นเคย ถ้าหลวงปู่มีโอกาสได้ผ่านมาท่านก็จะแวะเข้ากราบเยี่ยมท่านเจ้าคุณฯ ทุกครั้งไป”

หลวงปู่เล่าว่า “อาตมามาเยี่ยมท่านทีไร ก็อดที่จะพูดถึงเมื่อครั้งที่อาตมายังสังกัดมหานิกาย และหามบริขารผ่านเข้ามาในวัดมหาชัยจนท่านเจ้าคุณฯ ท่านจึงเอ็ดเอา พอพูดขึ้นทีไรอาตมาก็รู้สึกอาย ส่วนท่านเจ้าคุณฯ ท่านก็ยิ้มบ้างขำบ้างทุกที

คณะธุดงค์ได้พักอยู่ที่วัดมหาชัย ๑ คืน รุ่งขึ้นก็ออกเดินทางต่อไป เพื่อมุ่งหน้าไปยังจังหวัดเลย โดยผ่านหมู่บ้านหนองไภสูญย์ พักอยู่หนึ่งคืน รุ่งขึ้นก็เดินทางต่อไป ถึงหมู่บ้านกกค้อกกโพธิ์ ก็พักปักกลดนอนอยู่ห่างจากหมู่บ้านพอประมาณ และไม่ห่างจากป่าทึบนัก หลวงปู่เล่าว่า กลางคืนได้ยินเสียงสัตว์ป่าร้องได้ชัดเจน เช่นเสียงสุนัขจิ้งจอกเห่าหอน เสียงนกฮูกและนกอื่นๆ ท่านบอกว่าเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่ให้ความสุขใจแก่ท่านเหลือเกิน

หลวงปู่ยังเล่าต่อไปอีกว่า “นึกแล้วก็ภูมิใจนะ ว่าชีวิตเราสร้างกรรมอะไรไว้หนอ จึงได้มาบวชถือผ้าไตรดังเช่นพระพุทธเจ้า แล้วมาเดินตะลอนๆ อยู่ในป่าเช่นนี้ และนึกถึงคำที่พระอุปัชฌาย์บอกเมื่อแรกบวชว่า รุกขะมูลละเสนาสะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา คือบอกว่าชีวิตของนักบวชนั้นต้องอาศัยโคนต้นไม้เป็นที่อยู่อาศัย เออตอนนี้เราเองก็กำลังใช้ชีวิตอย่างนั้นอยู่ รู้สึกว่าสุขใจมากเมื่อนึกถึง

ข้อนี้ เพราะพระพุทธเจ้าพอทรงผนวชแล้ว พระองค์ก็ทรงจารึกไปตามดงตามป่าอยู่อย่างนั้นชั่วระยะหนึ่ง นี่แหละเราจึงภูมิใจ เพราะเรียกได้ว่าเป็นศิษย์ขององค์พระตถาคต ที่กำลังดำเนินรอยตามพระองค์ท่าน เมื่อคิดทีไรก็เกิดปีติทุกครั้งไป




หัวข้อ: Re: หลวงปู่หลอด ปโมทิโต จากหนังสือ ปโมทิตเถรบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟัง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 พฤษภาคม 2560 17:25:43

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41366259795096__3627_3621_3623_3591_3611_3641.gif)
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ในพิธีสมโภชพระธาตุเจดีย์หลวง
ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ - ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๘

• อำนาจพุทธคุณช่วยคุ้มครอง
คณะธุดงค์ของหลวงปู่ออกจากหมู่บ้านกกค้อกกโพธิ์ไม่นาน ก็ถึงบ้านผาวัง หลวงปู่ท่านบอกว่า เมื่อครั้งนั้น (พ.ศ.๒๔๘๒) บ้านผาวังมีบ้านคนอาศัยเพียง ๓ หลังคาเรือนเท่านั้น และที่สำคัญป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์ แต่เดี๋ยวนี้ภูเขาแถบนั้นกลายเป็นภูเขาโล้นเกือบทั้งหมดแล้ว เหลือแต่ต้นไม้เล็กๆ ซึ่งใช้ทำประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้แล้ว

เมื่อถึงหมู่บ้านผาวังก็เป็นเวลาใกล้จะค่ำแล้ว หลวงปู่ท่านจึงได้ปักกลดอยู่ริมธารน้ำสายเล็กๆ ท่านว่าลำธารนี้อยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้านมากนัก ในขณะที่คณะธุดงค์ของหลวงปู่กำลังจัดเตรียมที่พักอยู่ ท่านว่าคงจะเป็นเวลาเกือบทุ่ม ท่านได้เห็นว่ามีชายแก่คนหนึ่งลงมาตักน้ำในลำธาร ท่านจึงได้เข้าไปไต่ถาม และได้ตามชายแก่ผู้นั้นเข้าไปในบ้าน  หลวงปู่เล่าว่า “อาตมาเรียกแกว่าลุง เมื่อแกหาบน้ำกลับไปไม่นาน อาตมาก็ตามหลังไป คืออาตมาอยากไปสนทนาด้วย พอถึงกระต๊อบที่แกอยู่ สุนัขที่แกเลี้ยงไว้ก็เห่าหอนด้วยความแปลกใจ แม้ผู้คนก็มามุงดูกัน พอนั่งเรียบร้อย และได้โอกาสเหมาะเราก็สนทนากัน ลุงคนนั้นแกพูดภาษาอีสานแบบสำเนียงเมืองเลย

จากการสนทนาก็ได้ทราบว่า เขาไม่เคยได้ทำบุญเลย เพราะไม่มีวัดอยู่แถวนี้ และก็ไม่เคยมีพระผ่านมาแถวนี้ ๑๐ กว่าปีแล้ว อาชีพของแกปลูกผักพอได้กิน พอเกือบ ๒ ทุ่มอาตมาจึงได้ลากลับที่พัก เมื่อถึงที่พัก อาจารย์วิฤทธิ์ก็บอกว่า ขณะนี้มีกลุ่มพ่อค้าเกวียนหลายคนพักอยู่ห่างจากพวกเราประมาณ ๑ เส้นเศษๆ พวกเขามาจากอำเภอบ้านผือ อุดรธานี บรรทุกปลาร้า ปลาจ่อม ปลาแห้ง เพื่อมาแลกพริก ฝ้าย ทางจังหวัดเลย เพิ่งมาถึงสัก ๒๐ นาทีนี่แหละ ขณะนั้นพอดีคณะพ่อค้าเกวียนดังกล่าวได้ส่งตัวแทนมาหาและบอกว่า พรุ่งนี้ขอนิมนต์ไปรับอาหารบิณฑบาตแต่เช้าๆ โดยเขาบอกว่าดีใจเหลือเกินที่ได้มาพบพระกลางป่ากลางดงเช่นนี้ อาตมาก็รับนิมนต์แล้วตัวแทนคณะพ่อค้าก็ลากลับ”

หลวงปู่ท่านได้เล่าต่อไปอีกว่า “นี่แหละมาถึงตอนสำคัญแล้ว อาตมานี่แทบจะคุมสติไม่อยู่เลย ในป่านี้ก็มีสัตว์ร้ายชุกชุมมากซะด้วยนะ ทั้งเสือ ช้าง หมี ตกกลางคืนเสียงร้องขอสัตว์ป่ายิ่งฟังชัด ได้ยินเสียงโขลงช้างออกหากินอยู่แต่ไกล อีกทั้งนก หนู หมูป่าก็ออกหากินตามประสา เดินผ่านมาให้ได้เห็นถึงข้างกลด”

พอตกดึกสงัด อากาศยิ่งทวีความหนาวเย็น บรรยากาศรอบๆ กลดของท่านมีแต่ความเงียบสงัดผิดสังเกต แม้แต่เสียงใบไม้หล่นก็ยังได้ยิน เสียงมดปลวกเดินไต่ตามพื้นดินและกัดกินใบไม้แห้งดังกรอบแกรบ ซึ่งในบริเวณนั้นก็มีจอมปลวกใหญ่อยู่ใกล้ๆ กลดของหลวงปู่ ท่านก็ยังได้ยินเสียงของมัน พลันสรรพเสียงทุกสิ่งก็เงียบสนิท แล้วจู่ๆ ท่ามกลางความเงียบสงบนั้น หลวงปู่ท่านได้เล่าถึงเหตุการณ์นี้ว่า “อาตมาได้ยินเสียงฝีเท้าของสัตว์ใหญ่ตัวหนึ่งเดินเหยียบใบไม้แห้งเบาๆ ใกล้เข้ามา แล้วก็โผล่ออกจากมุมมืดด้านข้างๆ หลังจอมปลวก แสงจากโคมเทียนที่แขวนไว้ประกอบกับแสงจันทร์เดือนหงายคืนฟ้าโปร่ง ส่องให้เห็นร่างของเสือโคร่งตัวใหญ่เท่าม้าแกลบค่อยๆ เดินผ่านมา แล้วหันมาจ้องมองยังกลดของอาตมา มันคงไม่คาดคิดว่าจะมาเจอกับพระธุดงค์เข้ากลางป่า พอดีบริเวณที่อาตมาปักกลดคงอยู่ใต้ลม มันจึงไม่ได้กลิ่น แต่ว่ากลิ่นสาปเสือของมันรุนแรงมากๆ และก็เป็นครั้งแรกในชีวิตของอาตมาที่ได้เจอเสือโคร่งในระยะใกล้จนเกือบประชิดตัว ห่างออกไปเพียงไม่กี่วาเท่านั้นเอง

เจ้าเสือโคร่งตัวนั้นได้หันมาร้องคำรามกระหึ่มไปทั่วป่า ถึงกับทำให้รู้สึกหนาวสะท้านไปทั่ว ในชีวิตนับแต่เกิดมายังไม่เคยได้ยินเสียงเสือร้องดังใกล้ขนาดนี้เลย อาตมาตกใจตั้งแต่ได้แลเห็นตัวมันแล้ว พอมันส่งเสียงร้องแสดงอำนาจออกมา ยิ่งทำให้อาตมาตัวชาเกร็งไปหมด กลัวจนทำอะไรแทบไม่ถูก แต่ยังดีที่ยังคุมสติเอาไว้ได้บ้าง ก็รีบหลับตาลงระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยให้ช่วยด้วย แล้วเร่งคำภาวนาพุทโธๆ ๆ ๆ อาศัยอำนาจพุทธคุณช่วยคุ้มครอง อาตมาตั้งจิตบำเพ็ญภาวนาอย่างเต็มที่ จิตใจจึงเริ่มสงบเยือกเย็น เมื่อลืมตาขึ้นเจ้าเสือโคร่งตัวนั้นก็ไม่รู้ว่าหายไปไหนตั้งนานแล้ว อาตมาจึงได้ร้องถามไปยังกลดอาจารย์วิฤทธิ์ กับสามเณรบัวลัยว่ามีใครเป็นอะไรอย่างใดบ้าง ทั้งสองรูปต่างยอมรับว่า เมื่อคืนนี้ต่างรู้สึกกลัวมากด้วยเช่นกัน ที่ได้ยินเสือมาอยู่ใกล้ๆ แต่ไม่ทันได้เห็นตัว เพราะได้ปักกลดไกลออกไปอีกทางด้านหนึ่ง

พอเวลาตี ๔ พวกอาตมาก็ไหว้พระสวดมนต์ บำเพ็ญจิตภาวนาจนถึงรุ่งอรุโณทัย ทุกรูปต่างก็เตรียมตัวออกบิณฑบาตตามนัดหมาย ครั้นฟ้าสว่างพอเห็นลายมือได้ก็ออกเดินบิณฑบาต มุ่งไปยังที่ตั้งกองคาราวานพ่อค้าเกวียนที่อยู่ไม่ไกลกันนัก

พวกพ่อค้าเกวียน เมื่อได้เห็นพระธุดงค์ทุกรูปปลอดภัยก็ดีใจ ได้พากันมาไต่ถามกันยกใหญ่ว่ามีใครเป็นอะไรบ้าง อาตมาก็เล่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาให้พวกเขาฟัง จากนั้นพวกพ่อค้าก็นิมนต์ให้รับบิณฑบาต ซึ่งพวกพ่อค้าพากันทำบุญใส่บาตรกันใหญ่ กว่าจะหมดรอบกองคาราวาน อาตมาก็ต้องถ่ายบาตรออกถึง ๒-๓ ครั้ง มีทั้งข้าวเหนียว ปลาแห้ง ปลาร้า ปลาส้ม ฯลฯ มากจนล้นเหลือ สมดังคำที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า รุกขะมูละเสนาสนา อะติเรกลาโภ

หลังจากที่ท่านได้ให้ศีลให้พรแก่คณะพ่อค้าเกวียนแล้ว คณะของท่านก็ลากลับมายังที่พัก ฉันเช้าเสร็จก็ออกเดินทางต่อไป ท่านว่าในตอนเดินกลับมานี้ ท่านยังได้พบรอยเท้าเสือโคร่งตัวเมื่อคืน และรอยตะกุยดินทิ้งไว้ให้ได้เห็นอีกด้วย



• หลักของผู้อยู่ด้วยกัน
ฉันเช้าเสร็จท่านก็ออกเดินทางต่อไปถึงหมู่บ้านนาดอกไม้ หมู่บ้านเตาไห หลวงปู่ท่านได้เขียนบรรยายถึงบรรยากาศตามรายทางในตอนนี้ไว้ว่า “ด้วยจิตใจที่รัก และนิยมต่อธรรมชาติเมื่อครั้งอดีตเป็นยิ่งนัก เราก็มีความสุขใจกับความร่มรื่นและการได้ชมได้ฟังสัตว์ป่าร้อง แต่ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกว่า อารมณ์รักก็พาเราทุกข์ได้ เพราะสัจธรรมมีว่า เรารักสิ่งใดมาก เราก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้นมาก จึงพยายามปรับใจอยู่เสมอเพื่อมิให้หลงชอบอะไรไปมาก รวมทั้งมิให้หลงรักตนเองด้วย เพราะจะเป็นเหตุให้กังวลและเป็นห่วงตนจนเกิดทุกข์ได้เหมือนกัน สำหรับอาตมามีความรักและนิยมในธรรมชาติ เมื่อป่าไม้ในปัจจุบันถูกทำลายไปเสียหมด อาตมาก็รู้สึกสลดสังเวชใจยิ่งนัก”

คณะธุดงค์เดินทางมาถึงบ้านนาหลัก อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และได้ขอพักอยู่ที่วัดจันทรังษี ๓ คืน การที่หลวงปู่ได้มาพัก ณ ที่นี้ ท่านได้สังเกตสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของที่นี่ตลอดระยะเวลา ๓ วัน ท่านเล่าว่าอาหารหลักของวัดนี้ ก็จะมีข้าวเหนียวกับน้ำพริกแจ่วตาแดง ผักกาด แกงหอย ป่าไม้ก็อุดมสมบูรณ์ดี ทั้งสถานที่และอาหารก็สัปปายะดี

เมื่อครบกำหนดสามวัน คณะธุดงค์ของหลวงปู่ก็ออกเดินทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ท่องเที่ยวไปตามภูเขาเลากา ลูกแล้วลูกเล่า จุดหมายปลายทางของการเดินทางของหลวงปู่ครั้งนี้ คือตำบลหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (ปัจจุบันตำบลหล่มเก่า ได้ยกฐานะเป็นอำเภอหล่มเก่าแล้ว)

หลวงปู่เล่าว่า “เมื่อมองไปข้างหน้าก็จะเห็นภูหอ ภูหลวงตั้งตระหง่านสูงเทียมเมฆขวางอยู่ข้างหน้า รวมทั้งภูกระดึง ช่างสวยงามประทับใจเหลือเกิน ธรรมชาติรายทางที่ผ่านไปล้วนงดงามอุดมสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเอง อีกอย่างหนึ่งคงเป็นเพราะสมัยนั้นธรรมชาติยังไม่ค่อยได้ถูกฝีมือมนุษย์เข้ามาทำลายเหมือนเช่นทุกวันนี้ ถ้าเมื่อยเพลียมากก็พักอาบน้ำอาบท่าตามลำห้วยลำธาร ซึ่งน้ำก็สะอาดใส กินก็ได้อาบก็ได้ ไม่มีอันตรายใดๆ เลย แหม! มันชั่งสุขใจจริง เวลาประมาณ ๕ โมงเย็น พวกอาตมาก็มาถึงบ้านหนองบัว และมีวัดอยู่วัดหนึ่ง ชีปะขาวคนหนึ่งอยู่ที่นั่นในขณะนั้น เมื่อได้ที่พักไม่นานคณะญาติโยมก็พากันออกมาที่วัดเพื่อมาถามไถ่สนทนาและขอฟังธรรม

อาตมาจึงได้แนะนำอบรมธรรม ที่พอจะใช้เป็นประโยชน์ของผู้ครองเรือน เป็นหลักธรรมของผู้อยู่ด้วยกัน โดยมีใจความสั้นๆ ว่า การเป็นอยู่อย่างชาวบ้านนั้น ถ้าอยากให้มีความสุขความเจริญ ต้องอาศัยหลักมนุษยธรรม ๔ ข้อ สัจจะ ทมะ ขันติ จาโค และเรื่องศีล ๕ ข้อ แต่จะขอยกเรื่องศีลมาพูดซะก่อนเพราะสำคัญมาก

ข้อ ๑ ไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ ตั้งแต่สัตว์เล็กสัตว์น้อยจนถึงเพื่อนมนุษย์ ชีวิตเรา เราก็รัก เขาก็เหมือนกัน เรารักชีวิตเราแค่ไหนเขาก็รักเช่นนั้น

ข้อ ๒ ไม่ละเมิดของรักของหวงของคนอื่น นี่คือไม่ลักขโมยนั่นแหละ ทรัพย์สินแต่ละอย่างกว่าจะได้มายากแสนยาก ฉะนั้นอย่าได้ทำเลย

ข้อ ๓ ไม่ผิดลูกเขาเมียใคร นี่ข้อสำคัญมาก ฆ่ากันตายเพราะข้อนี้มากต่อมาก ไปยุ่งกับเมียเขา ผัวเขารู้ก็โกรธ พอโกรธก็หน้ามืดตามัว ไม่รู้อะไรเป็นอะไรนะ ฆ่าให้ตายไปเลย นี่อันตราย พอฆ่ากันมันก็ผิดศีลข้อ ๑ อีกนั่นแหละ นี่พึงระวัง อย่าได้ประมาทนะ รักษาเอาไว้ให้จงดี

ข้อ ๔ ไม่โป้ปดมดเท็จ จงมีแต่ความจริงใจให้แก่กัน อยู่ด้วยนะ แสดงแต่ความจริงใจ ให้กัน อดทน อดกลั้นยั้งคิดยั้งทำ และก็เพื่อสละละทิ้งมันออกไปความขี้โกหก เหลือไว้แต่ความจริงใจนะ เพราะคนอยู่ด้วยกันครองเรือนด้วยกัน มันเป็นเรื่องจำเป็น จำไว้ว่าพูดแต่ความจริงกันนะ พูดแต่สิ่งที่ถูกต้อ   ง

ข้อ ๕ ไม่กินเหล้ากินยา นี่พอกินแล้ว ผลเป็นอย่างไร เหล้านี้คือน้ำเปลี่ยนสันดานนะ จำไว้พอกินเหล้าปั๊บมันพาไปผิดตั้งแต่ศีลข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ ไปด้วย ก็พอกินเข้าไปมันก็เป็นการเบียดเบียนตัวเองแล้ว ไหนจะหากับแกล้มก็ฆ่าสัตว์แล้ว คราวนี้หมูเห็ดเป็ดไก่ตาย พูดไม่เข้าหูก็ด่าทอตีกัน ก็ผิดทั้งข้อ ๑ และข้อ ๔ ไปแล้ว  แหม! นั่งกินเหล้าอยู่ ลูกเมียใครนั่งอยู่ด้วยก็เอาแล้วเหล้าเข้าปาก ตัณหาก็เข้าตาก็เกิดเรื่องใหญ่ๆ นี่ๆ ข้อ ๓ อยากเหล้าแต่ไม่มีสตุ้งสตางค์ ก็ขโมยของกัน ข้อ ๒ ก็หมด สุดท้ายไม่เหลือเลยสักนิดศีลธรรม

จำไว้ให้ดีศีลธรรมรักษาให้ดี ถ้ารักษาไม่ครบ ๕ ข้อ ก็เอาแค่ ๒ ข้อก็พอ ข้อ ๓ กาเม กับข้อ ๕ สุราฯ เพราะถ้าผิด ๒ ข้อนี้มันก็ฆ่ากันได้ มันมหันต์นัก ไปยุ่งกับเมียเขาผัวเขารู้ก็ฆ่าเอานะ กินเหล้า พูดไม่ถูกหูถูกใจถึงคอขาดนะ แต่ถ้าจะว่า ๕ ข้อนี้ ข้อใดบาปกว่ากัน อาตมาว่ามันก็พอๆ กันนั่นและนรกเหมือนกัน

คนเราอยู่ด้วยกันนั้นต้องมีความจริงใจให้กัน รู้จักยั้งใจรู้จักความอดทน และการปล่อยวางอารมณ์ทางใจ รวมทั้งลด ละ เลิกอบายมุขทั้งหมด

ดึกพอควรแล้วอาตมาจึงเลิกการสนทนา ก่อนนอนก็ทำกิจวัตรประจำวัน เหมือนกับคืนที่แล้วๆ มา วันรุ่งขึ้นก็ออกเดินทางต่อ ถึงบ้านทรายขาว บ้านอีเก้ง บ้านเลยวังใส ซึ่งมีบ้านคนประมาณ ๒๐ หลังคาเรือนเห็นจะได้ อาตมาแวะพักที่นี่คืนหนึ่ง และก็เดินทางต่อข้ามแม่น้ำป่าสัก เข้าเขตเพชรบูรณ์ แล้วขึ้นเขาลงเขาทั้งวัน จึงถึงบ้านกกกล้วยญวน ซึ่งมีบ้านคนประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน

พวกอาตมาปักกลดอยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้านนัก ก่อไฟไว้พอได้บรรเทาความหนาว กลางคืนก็ทำกิจวัตรเช่นเคย เพื่อความเป็นสิริมงคลและกำลังใจ จะได้อยู่อย่างตลอดปลอดภัย ไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานการณ์เช่นไร การสวดมนต์ทำวัตรเช้าวัตรเย็นเราไม่ขาด ตลอดทั้งการบำเพ็ญจิตภาวนาก่อนนอนและก่อนรุ่งอรุณ วันแต่ละวัน คืนแต่ละคืน เรามีเวลาพักผ่อนน้อยที่สุดเพราะส่วนมากเราเดินทางบ้าง บำเพ็ญเพียรทางใจบ้าง

ออกจากบ้านกกกล้วยญวน ก็มุ่งหน้าไปยังหล่มเก่า ขึ้นเขาลงเขาตลอดทั้งวัน กี่ลูกต่อกี่ลูกมิได้นับ”




• คำนึงถึงครูบาอาจารย์
หลวงปู่ออกเดินทางต่อไปถึงหมูบ้านศิลา บ้านสงเปลือย ก็ได้แวะที่วัดร้างแห่งหนึ่ง

อากาศหนาวมาก เพราะอยู่ในช่วงเดือนมกราคม (พ.ศ.๒๔๘๓)

หลวงปู่ท่านเล่าว่า “ตอนนั้นอาตมาคิดว่า ถึงแม้ว่าอากาศจะหนาวจะเย็นแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ต้องทนและสร้างกำลังใจว่า เราเป็นสัตว์โลก เมื่อความหนาว มีอยู่บนโลกแล้ว เราจะหลีกมันได้อย่างไร และมิใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่เจอสภาพเช่นนี้ ดังนั้นอย่าได้พรั่นพรึงเลย ร้อนก็จะทน หนาวก็จะทน อย่างมากก็แค่ตาย เรามาปฏิบัติธรรม และได้อุทิศชีวิตถวายพระพุทธเจ้าแล้ว ถวายเป็นพุทธบูชา อันเป็นการปฏิบัติบูชาที่ได้อานิสงส์สูงสุด ดีที่สุดแล้ว”

เมื่อกล่าวถึงการสร้างกำลังใจให้กับตนเองนั้น อาตมานึกย้อนไปถึงเมื่อครั้งที่ยังจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ท่านอาจารย์มหาเส็ง ปุสฺโส ซึ่งอาตมาเคารพนับถือเป็นครูบาอาจารย์องค์หนึ่งของอาตมา ท่านอาจารย์ท่านได้เคยแนะนำไว้ว่า

...คนเราก็มีธาตุไฟอยู่ในตนแล้ว แต่จะมีธาตุไฟน้อยหรือมากต่างกันเท่านั้น 

ดังนั้น การทำกรรมฐานด้วยการเพ่งเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) เป็นอารมณ์นั้น หากทำถูกวิธีเราจะเกิดพลังความอบอุ่นขึ้นในตัว เหมือนกับว่าได้ชาร์ตไฟในตัว ให้แรงขึ้นกว่าเดิม พระกรรมฐานที่ท่านมีพลังสมาธิสูง ท่านจึงสามารถปรับเตโชธาตุภายในได้ จึงอยู่ในป่าทึบหรือหุบเขาที่แสนหนาวได้ โดยความหนาวเย็นไม่เป็นอุปสรรคเลย... ท่านที่สนใจในเรื่องนี้ควรทำให้ถูกหลักการ อย่าโมเมทำเพราะอันตรายอาจเกิดได้ จึงควรมีครูบาอาจารย์ผู้มีความรู้ หรือมีประสบการณ์ในเรื่องนี้เป็นผู้แนะนำ”

หลวงปู่กล่าวต่อไปอีกว่า “แต่แนวทางนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนมิให้ยึดติดจริงจัง เพราะอาจทำให้ติดในอารมณ์กสิณ ดังเช่น พวกฤๅษีชีไพรครั้งพุทธกาลเคยประสบมา ไม่มีความก้าวหน้าในทางปฏิบัติธรรม เพราะมัวแต่หลงติดเพ่งไฟ บูชาไฟอยู่ แค่นั้น ไม่รู้จักการนำไฟภายในคือกิเลสให้ออกไปจากจิตจากใจให้ลดน้อยถอยลงเลยคงปล่อยให้คุกรุ่นพร้อมที่จะแผดเผาเราให้มอดไหม้อยู่ภายในไปทุกเมื่อ แต่ไฟที่น่ากลัวที่สุดคือไฟตัณหา ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ นี่เอง

สิ่งสำคัญที่นักปฏิบัติควรใส่ใจให้มากคือ ต้องพยายามลด เลกละกามคุณ ๕ เพราะกามคุณเป็นศัตรูของจิตใจ ทำให้ใจเดือดร้อน วุ่นวายเป็นทุกข์ ถ้าทำใจให้สงบจากกามคุณ ๕ ได้ จึงจะได้พบกับความวิเวก ความสงบอย่างแท้จริง

กามคุณ ๕ คือส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา ๕ อย่าง ได้แก่ รูปะ (รูป), สัททะ (เสียง), คันธา (กลิ่น), รสะ (รส), โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ห้าอย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ รวมเรียกว่า กามคุณ

กามคุณมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับการรักษาศีลทั้ง ๕ ข้อ อันก่อให้เกิดความติดความหลงใหลใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย ทำให้เกิดความพึงพอใจ ความรักใคร่และตัณหาเกิดขึ้นตามมา

หากมีกามคุณมาก ก็ย่อมนำพาให้ล่วงละเมิดในศีลได้ โดยเฉพาะศีลข้อกาเม สุมิจฉาจารฯ แต่กามคุณก็ใช่ว่าจะมีแต่โทษอย่างเดียวก็หาไม่ เพราะกามคุณยังมีคุณประโยชน์ในเบื้องต้นอยู่บ้าง จึงเรียกว่ากามคุณมิใช่กามเฉยๆ

แม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านยังต้องอาศัยกามคุณของพระราชบิดาและพระราชมารดา ร่วมกันก่อให้เกิดเป็นพระพุทธองค์ขึ้นมา กามก่อเกิดกรรมจึงเป็นบ่อเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย

แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา การมีกามคุณเป็นเรื่องปกติ ถ้ามีแต่พอดีพอควรและควบคุมได้ ควบคุมนั้นคือการควบคุมจิตไม่ให้ไปกระทำกรรมใดๆ นับตั้งแต่มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม โดยการมีหิริและโอตตัปปะ คือมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปซึ่งเป็นธรรมคุ้มครองโลก เป็นอริยทรัพย์ข้อหนึ่ง

แต่สำหรับผู้ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ควรที่จะห่างไกลและลดละเลิกกามคุณให้ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ควรแตะต้อง หรือไม่ควรให้เกิดมีขึ้นในจิตใจ

ส่วนแนวทางสำหรับปฏิบัติ เพื่อมิให้กามคุณเกิดมีขึ้นในจิตในใจก็คือ ให้มองทุกสิ่งทุกอย่างว่าล้วนตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือ ไม่มีอะไรที่จะคงสภาพอยู่เหมือนเดิม แต่จะต้องเปลี่ยนแปร มีลักษณะแฝงอยู่ที่เรียกว่าเป็นทุกข์ เพราะทนต่อสภาพอยู่อย่างเดิมไม่ได้ มีลักษณะที่เรียกว่าเป็น อนัตตา คือไม่มีจุดที่จะบังคับได้ว่า อย่าแก่ อย่าเจ็บ อย่าแปร รวมความก็คือ ทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่างล้วนมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายไป การกำหนดได้อย่างนี้ ความยึดมั่น (อุปาทาน) จะอ่อนกำลัง ถ้าความยึดมั่นอ่อนตัว ทุกข์ก็จะน้อยลง ถ้าจิตไม่ยึดมั่นเลย เช่นเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น ใจก็ไม่เป็นทุกข์



• เจริญเมตตาพรหมวิหารอันตรายไม่มี
”จุดหมายปลายทางของการเดินท่องธุดงค์ในครั้งนี้ ยังต้องข้ามเขา ข้ามห้วย บุกป่ากันไปอีกนานหลายวันกว่าจะถึง แต่ก็เป็นการเดินทางอย่างไม่รีบร้อน ไปเรื่อยๆ พบสถานที่สัปปายะวิเวกดีที่ไหน ก็แวะพักปฏิบัติที่นั่น ในส่วนตัวแล้วอาตมาไม่เคยทิ้งข้อวัตรที่เคยกระทำทุกวันเลย คือการสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นไม่เคยขาด เพื่อความเป็นสิริมงคลและกำลังใจจะได้อยู่อย่างปลอดภัย รวมทั้งการบำเพ็ญจิตภาวนาก่อนนอนและก่อนอรุณรุ่ง แต่ละวันแต่ละคืน อาตมามีเวลาพักผ่อนน้อยที่สุด เพราะส่วนมากต้องเดินทางบ้าง บำเพ็ญเพียรทางใจบ้าง”

ตลอดหนทางที่ผ่านไป บ่อยครั้งที่ท่านต้องเผชิญกับสัตว์ร้ายต่างๆ ตลอดจนบรรดาภยันตรายต่างๆ แต่หลวงปู่ท่านก็รอดเนื้อรอดตัวมาได้ ซึ่งอาจเป็นด้วยเพราะอำนาจแห่งการเจริญเมตตาพรหมวิหาร ที่องค์หลวงปู่ท่านเจริญภาวนาอยู่ประจำ และท่านก็มักจะสอนศิษย์อยู่เสมอว่า “จะไปไหนมาไหนนะ ก่อนหลับ ก่อนนอนก็ให้นั่งสมาธิภาวนา เสร็จแล้วก็ให้สวดมนต์ เจริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และเจริญเมตตาพรหมวิหาร อันตรายไม่มี สัตว์ร้ายต่างๆ นานา ไม่มากวน ผีไทย ผีเจ๊ก ผีแขก ผีฝรั่ง ไม่กล้ามากร้ำกรายรับรองเลย”

ในระหว่างธุดงค์ เมื่อไปถึงสถานที่แห่งใดแล้ว ท่านจะแผ่เมตตาให้ตนเองก่อน แล้วจึงจะแผ่เมตตาให้แก่หมู่สรรพสัตว์ และพวกวิญญาณทั้งหลาย โดยท่านให้เหตุผลว่า “คนเราก่อนที่แผ่เมตตาให้คนอื่น ตัวเราเองต้องมีเมตตาก่อน เหมือนกับว่าการที่เราจะช่วยเหลือคนอื่นได้นั้น ตัวเราเองต้องพร้อมแล้ว เช่น ต้องมีกำลังทรัพย์พอใช้ก่อน จึงจะนำไปช่วยเหลือคนอื่นๆ ได้ มิใช่ว่าตัวเองไม่มีเมตตาแล้วจะเอาอะไรไปให้คนอื่น ในการแผ่เมตตานั้น ได้รวมถึงการแผ่อุทิศส่วนกุศลไปให้บุคคลอื่นด้วย โดยการน้อมระลึกถึงบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญด้วยดีมาแล้วในวันนั้น หรือที่ได้สั่งสมสร้างมาตั้งแต่อดีตในเรื่องใดบ้าง ก็ให้นึกถึงบุญกุศลเหล่านั้นที่เราได้เคยกระทำมา จะเป็นการบริจาคทานก็ดี วิหารทานก็ดี การปฏิบัติบำเพ็ญภาวนาก็ดี หรือบุญบารมีทั้ง ๓๐ ทัศน์ ที่เคยได้บำเพ็ญมาตั้งแต่ครั้งอดีต ให้น้อมระลึกจนจิตของตนรู้สึกปีติและอิ่มเอิบในผลานิสงส์ส่วนบุญเหล่านั้น แล้วความเมตตาก็จะเกิดขึ้นมาเองในจิตในใจของเรา พร้อมที่จะแผ่เมตตาให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างไม่มีวันหมด

จากนั้นก็สำรวมกาย วาจา ใจ น้อมแผ่เมตตาให้ตนก่อนด้วยบทที่ว่า...อะหัง สุขิโต โหมิ นิททุกโข โหมิ อะเวโร โหมิ อัพยาปัชโฌ โหมิ อะนีโฆ โหมิ สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ...

อันมีความหมายว่า ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ถึงสุข จงเป็นผู้ไร้ทุกข์ เป็นผู้ไม่มีเวร เป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ขอจงรักษาตัวข้าพเจ้าให้อยู่เป็นสุขเถิด

จากนั้นก็กล่าวแผ่เมตตาให้แก่ผู้อื่น รวมทั้งสรรพสัตว์และวิญญาณทั้งหลายดังนี้
...สัพเพสัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆาโหนตุ สุขีอัตตานัง ปริหะรันตุ...
มีความหมายว่า อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ขอจงอย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย ขอจงอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอจงพากันอยู่เป็นสุขอย่ามีทุกข์เลย ขอจงรักษาตนของตนให้เป็นสุขเถิด

บทที่กล่าวมานี้เป็นบทแผ่เมตตาสั้นๆ และง่ายๆ หรือหากมีเวลาอาจใช้บทอื่นที่มีความยาวกว่านี้ และครอบคลุมรายละเอียดมากกว่านี้ก็ได้

หลังจากนั้นก็ให้ทำการอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญมา ให้พวกเทพเจ้า เหล่าเทวดา และโอปปาติกะทั้งหลาย เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่เจ้าทาง ผู้รักษาปกครองสถานที่แห่งนี้ ขอบเขตนี้ที่นี้ ขอจงมาอนุโมทนาในผลานิสงส์และส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาด้วยดีแล้วนี้ และขอจงได้รับประโยชน์ ความสุข ความสำเร็จในทุกสิ่ง เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าพึงได้รับทุกประการ เกิดชาติหนึ่งภพใด ขอให้ได้สร้างแต่ความดีได้สร้างบารมีของตน ให้พ้นภัยพาลลุล่วงบ่วงมาร เข้าถึงพระนิพพานเป็นที่สุดเทอญ...”

หลวงปู่ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า “การปฏิบัตินั้นจำเป็นต้องพึ่งตนเอง และต้องฝึกตนเองตลอดเวลา เมื่อได้รับแนวทางการปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ไปแล้วก็ต้องไปฝึกปฏิบัติเอาเอง โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ตลอดเวลาแต่อย่างใด ต่อเมื่อมีปัญหาหรือมีข้อขัดข้องในแนวทางปฏิบัติก็มาขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ ซึ่งพระกรรมฐานต่างก็ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ว่าง่ายๆ ว่า อยู่ธุดงค์อย่างไรให้คุ้มครองตัวเองได้ ก็คือให้ยึดมั่นตามแนวคำสอนของครูบาอาจารย์ อย่าละเว้นข้อวัตร และก็เมตตาต่อสรรพสัตว์เท่านั้นแหละ ก็จะอยู่รอดปลอดภัย “

หลวงปู่ท่านได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในคืนก่อนที่ท่านจะเดินจากวัดร้างนั้นไป ว่า “คืนวันนั้นก่อนที่จะหนีจากหมู่บ้านนี้ไป ในขณะที่อาตมากำลังนั่งสมาธิภาวนาอยู่ ก็ได้ยันเสียงเสือร้องเป็นระยะๆ เดินผ่านตามเส้นทางเข้าไปยังหมู่บ้าน เสือคงจะเดินอยู่ประจำเป็นนิจ เพื่อเข้าไปหาอาหารจำพวกสุนัขหรือไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ อาตมาได้ยินเสียงมันร้องใกล้เข้ามาทุกที ใจคอชักไม่ค่อยดี ในขณะเดียวกันก็กำลังภาวนาอยู่ และบริกรรมพุทโธๆ พอได้ยินเสียงเสือมันคำรามเท่านั้น ไม่รู้ว่าพุทโธหายไปไหน เพราะขาดสติไป จะเป็นด้วยอำนาจความกลัวตายกระมัง จึงได้ลืมถึงปานนั้นมาได้สติก็ตอนเสือมันผ่านไปแล้ว โชคยังดีที่มันไม่ได้โดดตะครุบเอาไปเป็นอาหารของมัน เมื่อเสือมันไปแล้วอาตมาก็มานั่งนึก นี่นะเดชะบุญแท้ๆ ที่รอดมาได้ คงเป็นด้วยเพราะบารมีของคุณพระพุทธเจ้า บารมีพระธรรมของพระองค์ คุณของพระอริยสงฆ์ และอานิสงส์ของการเจริญเมตตามาช่วยคุ้มครองจริงๆ

หลังจากเจ้าเสือร้ายตัวนั้นผ่านไปแล้ว หลวงปู่ก็ไหว้พระสวดมนต์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้กับตนเอง และให้แน่ใจว่าจะไม่มีอันตรายใดๆ มากร้ำกรายในคืนนั้นอีก จากนั้นท่านก็ล้มตัวลงพักผ่อนและหลับไปด้วยความอ่อนเพลียจากการเดินทางมาตลอดวัน

เช้าวันรุ่งขึ้นท่านก็ได้ประกอบภัตกิจตามปกติ จากนั้นคณะธุดงค์จึงได้เริ่มออกเดินทางต่อไป ตามแบบพระธุดงค์ผู้ไม่ติดถิ่น



• พบหลวงปู่หลุยและหลวงปู่ซามา
ออกจากบ้านสงเปลือย ไปถึงบ้านคำอีเลิศ บ้านภูผักไส่ ซึ่งมีบ้านคนประมาณ ๒๐ หลังคาเรือน คณะธุดงค์ของหลวงปู่ก็ได้หยุดพักปักกลดในป่าใกล้กับหมู่บ้าน หลวงปู่เล่าว่า “ในกลางคืนนั้นก็มีชาวบ้านที่สนใจในธรรม ออกมาขอฟังธรรมมากเหมือนกัน ได้สนทนาธรรมอบรมธรรมกันพอสมควร ชาวบ้านจึงได้ลากลับ พวกเราก็ทำกิจวัตรประจำวัน รุ่งขึ้นก็เดินทางต่อไปถึงบ้านท่าภู่ บ้านปลาฝา บ้านหินฮาว แวะพักที่วัดศิลามงคล ซึ่งมีหลวงตาแก่ๆ สองรูปพักอยู่ที่นั่น ประมาณทุ่มกว่าๆ ชาวบ้านก็ทยอยกันออกมาเยี่ยมเยือนและสนทนาด้วย ได้ทราบข่าวจากผู้ใหญ่บ้านว่า เมื่อไม่นานมานี้มีพระธุดงค์ ๒ รูปมาพักอยู่ที่นี่เป็นเวลาหลายวัน ท่านเพิ่งย้ายไปวิเวกแถบบ้านวังหว้า บ้านห้วยหอย บ้านวังรู โดยท่านทั้งสองพักอยู่เชิงเขาใกล้หมู่บ้านนั้นแหละ สอบถามดูก็ทราบว่า พระธุดงค์ที่ว่านั้น รูปหนึ่งคือ พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ส่วนอีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์ซามา อจุตฺโต ทั้งสองรูปเป็นพระกรรมฐานที่มีชื่อเสียง และมีปฏิปทาที่เคร่งครัดน่าเลื่อมใส นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้กราบครูบาอาจารย์และขอฟังคำแนะนำด้านการปฏิบัติกรรมฐาน”

คณะธุดงค์ของหลวงปู่ได้พักอยู่ที่วัดศิลามงคลประมาณ ๑ สัปดาห์ จากนั้นก็ได้รีบเดินทางติดตามไปพบครูบาอาจารย์ทั้งสองท่าน ซึ่งได้ทราบข่าวว่าทั้งสองท่านกำลังพักปฏิบัติกรรมฐานอยู่แถบหมู่บ้านวังหว้า ในที่สุดก็ได้ติดตามพระอาจารย์ทั้งสองท่านจนพบ

ขณะนั้นหลวงปู่ท่านเล่าว่า “อาตมารู้สึกว่าเป็นบุญของชีวิตอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสพบครูบาอาจารย์ทางด้านพระกรรมฐานที่เคร่งครัด ท่านอาจารย์ทั้งสองได้เมตตาจัดหาสถานที่พัก ให้อุบายธรรมในการปฏิบัติ ซึ่งขณะนั้นตัวอาตมาเองถือว่าเป็นพระกรรมฐานฝึกหัดหรือหัดใหม่ ยังไม่มีความชำนาญในด้านการปฏิบัติเท่าใดนัก เพราะมีโอกาสน้อยครั้งที่จะรับฟังคำแนะนำจากนักปฏิบัติ นอกจาท่านเจ้าคุณพระอุปัชฌาย์ (จูม พนฺธุโล) ในครั้งก่อนที่จะออกธุดงค์มานี้ และก่อนหน้านั้นก็เคยได้ฟังแนวการปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้นจากพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เท่านั้น

นอกจากนั้นก็ได้ฟังแต่เพียงเล็กน้อยจากพระอาจารย์ท่านต่างๆ ขณะที่พำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ แต่ว่าประการณ์ธุดงค์ของแท้จริงนั้น อาตมาเองเพิ่งมาแจ้งเอาเมื่อได้พบพระอาจารย์ทั้งสองท่านคราวนี้เอง”

หลวงปู่ท่านได้เมตตาเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้นให้ฟังว่า “อากาศที่นั่นตอนนั้นนะหนาวแสนหนาว เพราะใกล้ภูเขา ดินแดนแถบนั้นชุกไปด้วยไข้มาลาเรีย และขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นมาตายอยู่เมืองไทยมากมายเพราะรบแพ้ฝ่ายพันธมิตร

พอมืดได้ไม่นานนัก พระทุกรูปก็ไปรวมกันที่ศาลาหลังเล็กๆ เมื่อได้เวลา พระอาจารย์หลุยก็จุดธูปเทียนนำไหว้พระสวดมนต์ จบแล้วก็ให้มีการฝึกอบรมวิธีการทำสมาธิ นั่งสมาธิไปและฟังท่านอบรมไปด้วย ญาติโยมก็พากันมาฟังธรรมและฝึกสมาธิทุกคืน คืนละมากมาย ดึกพอควรก็เลิกและแยกย้ายกันกลับ

อาตมาพักอยู่กับท่านอาจารย์ทั้งสองได้ประมาณ ๑ อาทิตย์ ในคืนสุดท้ายก่อนจะจากมา พระอาจารย์หลุยบอกให้อาตมาเป็นผู้แสดงธรรมแก่ญาติโยมอย่างกะทันหัน เพราะความไม่เคยมาก่อน ตนเองก็เพิ่งบวชได้แค่ ๓ พรรษา และไม่มีความสันทัดในการแสดงธรรมนัก แต่ไม่กล้าขัดคำสั่งพระอาจารย์หลุย

อาตมาจึงจำใจขึ้นธรรมาสน์ พอตั้งนะโมๆ ๓ จบแล้วก็นั่งเงียบไปนาน เพราะขณะนั้นมันมืดไปหมดทั้งแปดด้านเลย สมองมึนงงไปหมด ไม่ทราบว่าจะขึ้นสุภาษิตหัวข้อเทศนาว่าอย่างไร เมื่อนั่งเงียบไปนานพอสมควรทั้งพระทั้งโยมเริ่มยิ้มกริ่มในลักษณะอยากหัวเราะ แต่ก็เกรงใจ อาตมาจึงตัดสินใจพูดขึ้นว่า ... อะไรๆ ท่านก็รู้หมดแล้ว เอวัง ก็มีด้วยประการละฉะนี้...

เท่านั้นเองทั้งพระและโยมที่กลั้นหัวเราะเอาไว้อยู่นานก็ได้ปล่อยเสียงฮา หัวเราะกันใหญ่อย่างชอบอกชอบใจ

คราวนั้นอาตมารู้สึกอายจนแทบจะแทรกแผ่นดินหนี เพราะที่ผ่านมาแต่ละวันก็มีแต่ครูบาอาจารย์ท่านเปลี่ยนกันเทศน์ โดยไม่เคยบอกขอร้องอาตมาเลย ก็เลยนึกว่าเราคงไม่ต้องโดนจับให้เทศน์ ด้วยความชะล่าใจ เจอกะทันหันเช่นนี้เลยงง และไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้ก่อนด้วย

นับว่าครั้งนั้นเป็นการขายขี้หน้าครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตของอาตมา มากยิ่งกว่าคราวที่ต้องหามเครื่องบริขาร จนโดนเจ้าคุณพิศาลเถระเอ็ดเอาเสียอีก”

จากนั้นคณะธุดงค์ของหลวงปู่ก็เพิ่มจำนวนเป็น ๕ รูป คือมีหลวงปู่หลุย และหลวงปู่ซามาเพิ่มเข้ามา ไม่นานนัก คณะธุดงค์ของหลวงปู่โดยมีหลวงปู่หลุยเป็นหัวหน้าก็มุ่งหน้าเดินทางไปวัดสามัคคีพัฒนาที่อำเภอหล่มสัก



หัวข้อ: Re: หลวงปู่หลอด ปโมทิโต จากหนังสือ ปโมทิตเถรบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟัง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 กันยายน 2560 17:36:16
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11700233982668_a1.gif)

• พระดีที่หาได้ยาก
หลวงปู่ท่านได้เคยเขียนบันทึกไว้ในหนังสืออัตโนประวัติของท่านถึงเรื่องของหลวงปู่ซามาไว้ว่า

“สมจริงตามที่เขาเล่าลือกันว่า พระอาจารย์ซามา ที่ติดตามพระอาจารย์หลุยนั้น ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเคร่งครัด ท่านถือกำเนิดที่บ้านเม็ง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ขณะที่อาตมาติดตามท่านอยู่ที่อำเภอหล่มเก่านั้น อาตมาจึงทราบความจริงด้วยสายตาตนเองว่า

พระอาจารย์ซามานั้น ท่านฉันหนเดียวและฉันมังสวิรัติ (ไม่ฉันเนื้อ) และที่น่าสรรเสริญอย่างยิ่งก็คือ ท่านขยันทำความเพียรอย่างยิ่งยวด มีสัจจะที่เด็ดเดี่ยว ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ แล้วท่านจะไม่ยอมพูดเลย และท่านเป็นอยู่แต่ละวันด้วยอิริยาบถสามเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง (ท่านไม่ยอมนอน) ตลอดระยะเวลาที่รู้จักกันมาจนกระทั่งท่านมรณภาพ อาตมาไม่เคยเห็นท่านนอนในท่าเหยียดหลังแตะพื้นเหมือนคนทั่วไปเลย อาตมาก็รู้สึกแปลกใจอยู่ว่าที่ว่าท่านนอนโดยวิธีการนั่งนั้น ท่านทำอย่างไร ด้วยความอยากรู้ด้วยสายตาตนเอง คืนหนึ่งในขณะที่คณะธุดงค์ของอาตมาจะเดินทางไปวัดสามัคคีพัฒนา ได้แวะพักค้างแรมที่สวนข้างวัดสระเกศ หล่มเก่า ซึ่งมีพ่อออกหำ เป็นเจ้าของสวนนั้น ดูเหมือนจะเป็นเวลาประมาณเกือบยาม ๓ อาตมาก็เดินย่องๆ แอบไปดูการนอนของท่าน ก็ได้เห็นว่าท่านนั่งเอาหลังพิงต้นกล้วย โดยเหยียดขาทั้งสองไปข้างหน้า ส่วนมือทั้งสองก็วางอยู่บนหน้าตัก มือขวาทับมือซ้าย แบบเดียวกับการนั่งสมาธิ ท่านอาจารย์ซามาท่านถือสัจจะเป็นแม่บทที่สำคัญในการปฏิบัติธรรม  ดังนั้น ถ้าท่านเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่ดีงามและตั้งใจว่าจะทำ ท่านก็จะทำแบบเอาเป็นเอาตาย ไม่ยอมโลเลเหลาะแหละ เหลวไหลโดยเด็ดขาด


• เรื่องของพระอาจารย์โชติ
เมื่อคณะธุดงค์ของหลวงปู่เดินทางมาถึงวัดสามัคคีพัฒนา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้เข้ากราบนมัสการท่านเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้นมีพระอาจารย์โชติ กาญฺจโน ปกครองดูแลวัดสามัคคีพัฒนาอยู่

หลวงปู่ท่านได้เมตตาเล่าเรื่องของพระอาจารย์โชติให้ฟังว่า “พระอาจารย์โชตินี้ ท่านเทศน์เก่งมาก แม้กระทั่งทั่วทั้งจังหวัดยังศรัทธาในวาทะฝีปากของท่าน เพราะท่านเป็นนักเทศน์จริงๆ มีโวหารคล่องแคล่ว จนท่านสามารถเอาชนะความขัดแย้งในเรื่องการตั้งวัดธรรมยุตได้สำเร็จในที่สุด

เดิมทีพระอาจารย์โชติเป็นคนบ้านโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้บวชเรียนและปฏิบัติกรรมฐานเรื่อยมา เคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดทิพยรัตน์ จังหวัดอุดรธานี ส่วนสาเหตุที่ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดสามัคคีพัฒนานั้น ก็เพราะโยมมารดาของท่านบวชเป็นแม่ชี และธุดงค์ติดตามไปกับคณะของท่านพระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม แห่งวัดป่าสิริสาลวัน บ้านโนนทัน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งท่านธุดงค์ไปทางหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ แล้วปักหลักอยู่ที่สระคงคาน บ้านคลองสีฟัน ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก  พระอาจารย์โชติก็เลยออกธุดงค์ติดตามหาโยมมารดาจนกระทั่งได้พบ และตนเองก็ได้พักอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญมาด้วย จากนั้นไม่นาน ด้วยความสามารถของท่านพระอาจารย์โชติ ในทางเทศน์ปุจฉา-วิสัชนาเป็นอย่างมาก ความรู้ของท่านก็ดี ปฏิปทาข้อวัตรท่านก็เคร่ง ชาวบ้านเลื่อมใสท่านมาก ดังนั้นเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามัคคีพัฒนาว่างลง พวกชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันกราบนิมนต์ให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

ส่วนอุปนิสัยของท่านนั้น ท่านเป็นคนที่มีความขยันขันแข็ง เมื่อทำอะไรลงไปแล้ว ก็จะทำให้เสร็จลุล่วงไปในเวลาอันไม่นาน ท่านมีนิสัยโผงผาง พูดจาขวานผ่าซาก มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้ให้ภรรยาของอดีตนายอำเภอหล่มสักซึ่งเป็นคนเก่าคนแก่ มีหน้ามีตาในสังคม ไปพิจารณาซื้อถ้วยน้ำชา จำนวนโหล โดยอธิบายขนาดที่ต้องการไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อคุณนายอดีตนายอำเภอจัดเตรียมมาถวายเป็นที่เรียบร้อย แต่ขนาดที่ต้องการไม่มีจึงได้พิจารณาขนาดเล็กกว่าที่ต้องการมาให้ พระอาจารย์เห็นว่ามันไม่ใช่ตามที่ต้องการ พระอาจารย์โชติจึงได้จับห่อถ้วยน้ำชาโยนลงศาลาต่อหน้าต่อตาคุณนายท่านนั้น อาตมาก็อยู่นะในตอนนั้น อาตมาถึงกับตกใจ เมื่ออาตมาชำเลืองไปยังคุณนายท่านนั้น คุณนายนี้น้ำตารินเลย อาตมาก็คิดนะว่า เอ๊ะ! อาจารย์ทำไมถึงทำเช่นนี้ เมื่อเหตุการณ์นี้ผ่านไป พระอาจารย์โชติก็ได้มาคุยกับอาตมาว่า เอ๊ะ! เรานี่ทำเกินไปนะ เพียงเห็นว่าไม่ได้อย่างใจก็บันดาลโทสะทำลงไปขนาดนั้นนะ ลืมนึกถึงจิตใจคนถวาย แต่ในใจก็ไม่มีอะไรนะ พระอาจารย์โชติท่านเป็นคนเอาจริงเอาจังกับทุกสิ่งทุกอย่างนะ ก็เรียกได้ว่าท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่การกราบไหว้ ในส่วนตัวของอาตมาเองก็เคารพนับถือท่านมาก

เมื่อหลวงปู่ได้พักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนาไม่กี่วัน หลวงปู่หลุยและหลวงปู่ซามาก็แยกย้ายออกไปวิเวกในสถานที่ต่างๆ ในเขตอำเภอหล่มสักนั่นเอง และท่านทั้งสองก็ได้แวะเวียนมาพักที่วัดสามัคคีพัฒนาอยู่เสมอ

พอใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่หลุยก็กลับไปอยู่จำพรรษาที่จังหวัดเลย ส่วนหลวงปู่ซามาก็อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านสักแห้ง (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดบ้านหนองบัวบาน ตามชื่อของหมู่บ้าน) ตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก ส่วนคณะเดิม คือหลวงปู่, พระอาจารย์วิฤทธิ์ และสามเณรบัวลัย ทั้ง ๓ รูปได้อยู่จำพรรษาร่วมกับพระอาจารย์โชติ ที่วัดสามัคคีพัฒนานั้นเอง


• ปฏิบัติเข้ม
เป็นอันว่าในพรรษาของปี พ.ศ.๒๔๘๓ พรรษาที่ ๔ ของหลวงปู่ ท่านจำพรรษาที่วัดสามัคคีพัฒนา และในพรรษานี้เองหลวงปู่ได้ตั้งสัจจะปวารณาถือเนสัชชิก (อาการสาม ยืน เดิน นั่ง) โดยหลวงปู่เมตตาเล่าให้ฟังว่า “ทุกคืนวันพระ ประมาณพรรษา ๔ ได้มั้ง อาตมาได้อยู่จำพรรษาอยู่กับอาจารย์โชติ อาตมาก็คิดนะ เอ๊ะ! เราเองภาวนานี้ก็ยังไปไม่ถึงไหน ประจวบกับอาตมาเห็นพระอาจารย์ซามาเป็นแบบอย่างที่สำคัญนะซิ ก็เลยปวารณาเนสัชชิกทุกคืนวันพระ ก็เริ่มตั้งแต่ ๖ โมงเย็นเลยนะ แต่บางวันก็เริ่มทุ่มหนึ่ง ทำที่ศาลาวัดนั่นแหละ พอเข้าที่ (ที่นั่ง) ก็ตั้งสัจจะเลยว่า...ตั้งแต่บัดนี้ยันแจ้งจะไม่ยอมให้หลังแตะพื้น จะเป็นตายร้ายดียังไงก็จะไม่ยอมให้หลังนี้สัมผัสพื้นเลย แม้พิงก็จะไม่พิงสิ่งใดทั้งสิ้น ขอมอบกายใจนี้ตายเป็นเครื่องสักการะคุณพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ขอมอบกายวาจาใจนี้เป็นทาสรับใช้ต่อพระรัตนตรัย แม้นตายก็จะจะไม่ยอมให้เสียสัจจะ พอตี ๔ ตี ๕ ก็ทำวัตรเช้า แล้วก็บิณฑบาตตามปกติ เสร็จกิจวัตรประจำวันแล้วนั่นหล่ะจึงได้พักผ่อน แต่ก็ไม่นอนมากนะ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมงก็พอแล้ว

ของกินของฉันก็สำคัญนะ ถ้าฉันไอ้พวกเนื้อสัตว์มากๆ นม ของเผ็ด ของมัน นี่ภาวนาได้ยากนะ ระบบการย่อยอาหารนี่ก็ทำงานหนัก นั่งภาวนานี้ร้อนไปทั้งตัว เหงื่อออกท่วมตัวนะ เดินจงกรมภาวนาก็ไม่ทน ของทอดๆ ก็เหมือนกัน โทษของการขบฉันของพวกนี้มันไม่ใช่แค่นี้นะ มันเนี่ยเป็นตัวเสริมกามอย่างดีด้วย ลองดูซิฉันไอ้พวกนี้เข้าไปนี่ กามมันเดือดเลยนะ เอาลงก็ยาก ทีนี้ก็เอาแต่นอนอย่างเดียวด้วย ถ่ายก็ลำบาก แต่ถ้าฉันพวกผักน้ำพริกนี้ นั่งก็ทน เดินก็ทน ง่วงก็น้อย ถ่ายก็สบาย ภาวนาดี อาตมาก็หาฉันแต่พวกผักน้ำพริก แกงหวาย แกงหน่อไม้อะไรพวกนี้เท่านั้น เนื้อสัตว์ ของทอดไข่เข่ยอะไรเหล่านี้ ไม่ต้องเลย”

หลวงปู่ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษามิได้ขาด จนกระทั่งคืนหนึ่งในขณะที่ท่านถือเนสัชชิก ปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น ก็ได้มีนิมิตบังเกิดขึ้นแก่จิตของท่าน โดยหลวงปู่ได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า

“วันนั้นอาตมาสังเกตอาการของจิตนี้ ดูท่ามันจะสงบเย็นกว่าปกติ สงบนิ่งไม่มีอะไรมากวนภายในเลย จนกระทั่งสองยามตีหนึ่งได้มั๊ง อาตมาก็นิมิตเห็นศพ ศพอสุภะเด๊ะ! ชาวบ้านเขาหามออกมาจากหมู่บ้าน อาตมาก็นั่งดูอยู่ที่ป่าช้านะ พอสังเกตดูตัวเองนี้เหงื่อไหลท่วมทั้งตัวเลย ไอ้ที่เห็นชาวบ้านหามมานะ มีสี่คนหาม หามมาป่าช้าที่อาตมาอยู่นะ มีสองคนจุดไต้นำหน้า แล้วก็เดินวนรอบเชิงตะกอนสามรอบ เสร็จแล้วก็ยกศพตั้งบนกองฟอน แล้วก็จุดไฟเผา ไฟนี้ก็ไหม้ดังเปรี๊ยะปร๊ะๆ เลยนะ สักพักจิตมันก็ถอน เอ๊ะ! จิตมันสงบเยือกเย็น เมื่อลืมตาขึ้นมาถึงได้รู้ว่ามันนิมิต เพราะตอนนั้นอาตมาคิดว่าเป็นความจริง พอหันมาดูตัวเองนี่เหงื่อท่วมตัวเลยนะ ที่นั่ง สบง จีวรเปียกโชกไปหมดเลย อาตมาก็มานั่งพิจารณานะเอ๊! เราทำไมมานิมิตเห็นอย่างนี้นะ พิจารณาไปพิจารณามาเอ๊! ไอ้คนเรานี้มันไม่นอนนะ ไอ้สี่คนหามเนี่ยมันคือ สิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอก็วัฏจักร อัน เกิด แก่ เจ็บ ตาย เนี่ย คือของเที่ยงของมนุษย์ทุกคน ยิ่งคิดพิจารณาว่า คนเรานี้มันไม่ได้พ้นไปจากสิ่งที่พุทธองค์ตรัสกับพระรัฐบาลว่า โลกคือชรานำไป นำไป คนเรานี่เป็นจริงอย่างนั้นเลย ไม่มีผิดคำท่านเลย สูงแล้วก็ต่ำ ดำแล้วก็ขาว ยาวแล้วก็สั้น สั้นแล้วก็ยาว ไอ้ที่ว่าสูงแล้วก็ต่ำคืออะไร คือคนเราเนี่ยพิจารณาดูดีๆ นะ ยามหนุ่มสาวนี้ตัวสูงใหญ่ ยืนนี้ก็หลังเนี่ยตรงเลย นั่งนี่ก็หลังตรงเลยพอแก่แล้วเป็นไงหลังค่อมหลังงอลง กระดูกมันไม่ได้หดไปไหนนะ กระดูกสันหลังมันโก่ง ต่ำลงต่ำลงอย่างอาตมาเนี่ย เดี๋ยวนี้เตี้ยกว่าเก่า เพราะอะไรก็ชรามันนำไปอย่างนั้น ดำแล้วก็ขาวคืออะไรก็ผมเรานั่นแหละ แต่ก่อนเป็นเล็กเป็นน้อยผมนี้ดำสวยเชียว พอสี่สิบห้าสิบก็เริ่มแล้วหงอกแซมมาแล้ว ผมหงอก ฟันหักแล้ว นี่โลกมันเป็นไปอย่างนี้ ยาวแล้วก็สั้น คือชีวิตคนเราเนี่ยนับตั้งแต่วันเกิดมาเนี่ย สมมติว่าเราจะมีอายุ ๖๐ ปีใช่มั้ย นับตั้งแต่เกิดพอได้ ๑ ขวบ ชีวิตที่เหลือจาก ๖๐ เป็นเท่าไหร่ ก็เหลือแค่ ๕๙ ปี ๒ ขวบก็เหลือ ๕๘ ปี ชีวิตเรานั้นเข้าๆ ใกล้ความตายเข้าไปทุกที สั้นแล้วก็ยาวคืออะไรก็คือสายตาคนเรานี้จากตา ดีๆ มองเห็นอะไรก็ชัดเจน แต่พอแก่ตัวเข้าสายตาก็ยาวออกๆ มองอะไรก็ไม่ชัดเจน ก็ต้องใส่แว่นตา เลนซ์แว่นก็ต้องเป็นเลนซ์นูนถึงจะมองเห็นชัด สายตาก็ฝ้าฟาง พอแก่ตัวก็เป็นอย่างนี้ นี่เรียกว่าสั้นแล้วก็ยาว

ข้อที่สองที่ตถาคตตรัสกับพระรัฐบาลก็คือไม่มีอะไรเป็นของๆ ตัว ลองคิดดูให้ดีนะ มันไม่มีอะไรผิดพลาดไปจากอันนี้เลย บอกได้ไหมล่ะอย่าเจ็บนะ อย่าแก่นะ อย่าตายนะ หนังอย่าเหี่ยวนะ ผมอย่าหงอกนะ ฟันอย่าหักนะ ไม่มีใครห้ามได้เลย ฉะนั้นมันจึงไม่ใช่ของๆ ตัวเลย เอ้า! ลองดูซิใครห้ามได้มาบอกอาตมาด้วยนะ จะโมทนาด้วย

ข้อที่สามไม่มีอะไรเป็นที่ต่อต้าน ไม่มีอะไรเป็นที่ต้านทาน คนเราต้านทานเจ็บได้ไม๊ ต้านทานแก่ได้ไม๊ ต้านทานตายได้ไม๊ ถ้าคนเราไม่ตายนี้ก็คงจะเหยียบหัวกันแล้วมั้ง คิดดูซิ ถ้าเอาซากศพของมนุษย์สัตว์ สาวาสังมากองรวมกันเนี่ย แผ่นดินมันจะพอรองรับได้ไม๊ แต่อาตมาก็ยังไม่เคยเห็นนะ ว่าจะมีใครไม่ตาย ไอ้ที่ตายมาน่ะแผ่นดินไม่พอจะกองซากศพอยู่แล้ว ขนาดได้ชื่อว่าถาวรวัตถุ เจดงเจดีย์ ก็ยังรู้จักถล่มทลายสลายไป ต่อต้านได้ไม๊ อย่างคำโบร่ำโบราณเขาว่า ห้ามน้ำไม่ให้ไหล ห้ามไฟไม่ให้มีควัน ห้ามอาทิตย์ ห้ามดวงจันทร์ ห้ามได้เมื่อไหร่ ต่อต้านได้เมื่อไหร่ก็ค่อยห้ามตายนะ

ข้อที่สี่ข้อสุดท้ายบกพร่องอยู่เป็นนิจ ลองคิดตามอาตมานะ อาตมารับรองเลยโยมทั้งหลายไม่เคยคิดเลยว่าเราเป็นโรคภัยอยู่ โรคนี้รักษาไม่หาย โรคที่ต้องกิน ต้องขับถ่าย ต้องหลับ ต้องนอน มีใครคิดบ้างว่ามันคือโรคภัย กินเข้าไปสักเดี๋ยวก็หิวอีกแล้ว รักษาไม่หาย มีไม๊กินเข้าไปแป๊บเดียว ครั้งเดียวแล้ว ก็ไม่ต้องกินอีกตลอดชีวิต กินแล้วเดี๋ยวก็ต้องขับถ่ายระบายออก มีใครไม๊ กินเข้าไปโดยไม่ต้องถ่ายออก นอนก็เหมือนกัน มีใครที่ไม่ต้องนอน ไม่ต้องพักผ่อนมีไม๊ มันก็ไม่มี จึงเรียกว่าบกพร่องอยู่เป็นนิจ เป็นนิจก็เป็นบ่อยๆ ไง

ทีนี้ไอ้ที่ว่าสองคนจุดไต้นำทาง ก็บุญกรรมที่เราทำเอาไว้ กรรมดีมันก็ไปทางดี ไปสวรรค์นิพพานนู้น กรรมชั่วก็พาไปในทางชั่ว ไปนรก ไปเป็นเปรตเป็นผี นี่กรรมก็จะพาไปอย่างนี้

ที่เขาเดินวนรอบกองฟอน ๓ รอบก็อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา  อนิจจัง คือความไม่เที่ยงแท้ ไม่แน่นอนในชีวิต สังขารคนเราจะตายวันตายพรุ่งก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าตายแน่ๆ ในชีวิตนี้ไอ้ที่เที่ยงแท้แน่นอน ก็คือความตาย มีใครไหมที่ไม่ตาย มีใครไหม มีแต่ความสุขตลอดเวลา ไม่มี พอชีวิตมันไม่เที่ยงแท้แน่นอน คนเรานี่มันติดสุข มันไม่ชอบหรอกความเศร้าโศกา แต่มันก็ไม่มีใครห้ามได้เลย พอมันเศร้าโศกเสียใจมันก็ทนไม่ได้กับสภาพแบบนี้ มันก็ทุกข์ ทุกขังก็คือความทนได้ยาก รับได้ยาก และอะไรล่ะที่มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ก็เพราะมันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของๆ เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน เราเขา มันเป็นอนัตตาตน ไม่ใช่ตัวตนบอกไม่ได้ห้ามไม่ฟังว่างั้นนะ อย่าแก่นะอย่าเจ็บนะ อย่าตายนะบอกไม่ได้เลย พอมันบอกไม่ได้ก็เป็นทุกข์เพราะมันไม่เที่ยง ไอ้ที่ทุกข์ก็เพราะคนเรามันมีอัตตาตัวกูของกู วางตัวกูได้ก็สบายไม่ทุกข์ไม่ร้อนใดๆ เลยว่างจากทุกสิ่ง

เมื่ออาตมาเอามาคิดมันก็เป็นอย่างนี้นะ หลังจากวันนั้นนะ ภาวนาก็สงบเย็นเรื่อยมาเลยนะ”



• วินัยบัญญัติ
…วินัย คู่กับ ธรรม ปกติเรียกว่า ธรรมวินัย ถ้าแยกคำ ธรรมคือคำสั่งสอน  วินัย คือข้อบังคับ  ดังนั้น วินัยบัญญัติก็ข้อบังคับที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นหลักให้พระภิกษุปฏิบัติให้เป็นบรรทัดฐานแนวเดียวกัน ใครทำผิดก็จะถูกลงโทษเช่นเดียวกันกับกฎหมายของบ้านเมือง...

• พรรษาที่ ๕-๗ (พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๘๖)
อานิสงส์ของการท่องปาฏิโมกข์

พอออกพรรษาอาตมาก็ออกธุดงค์หาวิเวกไปในถิ่นต่างๆ ภายในเขตอำเภอหล่มสัก ต่อมาเมื่อใกล้จะเข้าพรรษาในปี พ.ศ.๒๔๘๔ อาตมาก็ตั้งใจว่าจะกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนาเหมือนเดิม แต่พอดีทางวัดเกาะแก้ว ตำบลน้ำเฮี้ย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระที่จะจำพรรษาไม่ครบ ๕ รูป ทางพระอาจารย์สิงห์ทอง สุวณฺณธมฺโม เจ้าอาวาสในขณะนั้น จึงได้มากราบเรียน ขอความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์โชติ เพื่อขอพระ ๑ รูป ไปอยู่จำพรรษาที่วัดเกาะแก้วด้วย

พระอาจารย์โชติเลยขอร้องให้อาตมาไปอยู่จำพรรษาที่นั่น อาตมาก็ไม่ขัดข้อง และรู้สึกชอบใจเมื่อได้ทราบว่า ที่วัดนั้นเป็นสถานที่สงบเงียบมากเพราะไกลจากชุมชน เป็นอันแน่นอนว่าพรรษาที่ ๕ นี้อาตมาก็จำพรรษาที่วัดเกาะแก้ว”

หลวงปู่ท่านได้เล่าให้ฟังว่า ท่านตั้งใจว่าท่านจะพากเพียรพยายามท่องปาฏิโมกข์ให้ได้ เพื่อว่าในวันออกพรรษา ท่านจะได้เป็นผู้สวดปาฏิโมกข์เอง ดังนั้นสิ่งใดที่จะเป็นอุปสรรคต่อความเพียรในครั้งนี้ หลวงปู่ท่านจะงดทำหมด เช่นท่านไปกราบเรียนท่านพระอาจารย์สิงห์ทองว่า ในพรรษานี้ท่านจะไม่ขอรับกิจนิมนต์ ไม่ว่าจะเป็นฉันในบ้าน สวดมนต์ในบ้าน ในงานต่างๆ แต่ข้อวัตรของภิกษุไม่ว่าบิณฑบาต กวาดลานวัด ทำวัตรสวดมนต์ ปฏิบัติภาวนา ท่านนี้ไม่ให้ขาดเลย ยังทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ฉันก็น้อยลง พักผ่อนก็น้อยลง เพื่อจะได้มีเวลาท่องจำมากๆ ในการทำความเพียรของหลวงปู่ ท่านเล่าว่า ท่านเริ่มท่องจำพระปาฏิโมกข์ตั้งแต่ ๙ โมงเช้า เรื่อยไป ๕ โมงเย็น ก็ทำวัตรเย็น แล้วก็ท่องต่อไป แล้วแต่เหตุปัจจัย ปฏิบัติอย่างจริงจังอย่างนี้ทุกวันตลอดพรรษา และแล้วท่านก็ทำได้สำเร็จ สามารถท่องพระปาฏิโมกข์ได้จบก่อนจะถึงวันออกพรรษา

หลวงปู่ได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า “นี่อานิสงส์ของการท่องปาฏิโมกข์ มันเกิดขึ้นตรงนี้ ในระหว่างที่อาตมากำลังท่องพระปาฏิโมกข์อยู่นั้น ทุกๆ วันตอนเช้าจะมีชายชราคนหนึ่งชื่อ ไทย เดิมเป็นคนโคราชมาได้ภรรยาอยู่บ้านนี้ อยู่ใกล้วัดนี้ ซึ่งแกเป็นคนที่ไม่ค่อยสนใจเข้าวัดเลย หรือแม้แต่จะนับถือศาสนาอะไร เอาว่าไม่ยอมเข้าวัดเข้าวาเลยว่างั้นนะ เมื่อเข้าพรรษาซึ่งอยู่ในช่วงทำนา ตาไทยแกต้องเอาข้าวไปส่งให้ลูกๆ ที่ไปทำนาทุกวัน จำเป็นต้องเดินผ่านกุฏิของอาตมา แกจะผ่านมาในช่วง ๓ โมงเช้าพอถึงใกล้ๆ กุฏิของอาตมา ตาไทยแกก็จะยืนฟังเสียงท่องปาฏิโมกข์สักชั่วครู แล้วแกก็เดินผ่านไป ตอนขากลับจากนาตอนเย็น แกจะผ่านมาประมาณ ๓ โมงเย็น แกก็จะยืนฟัง แกคงจะแปลกใจว่าพระรูปไหนหนอถึงขยันผิดมนุษย์ผิดมนากระมัง ดีไม่ดี แกอาจจะคิดว่าอาตมาท่องทั้งวันทั้งคืนด้วยซ้ำไป

บางครั้ง ตาไทยแกก็จะหยุดยืนมองหาต้นเสียงว่าเป็นใคร เพราะแกเองก็ยังไม่เคยเจออาตมาเลย บางคราวที่สายตาของแกมองมา ก็มาประสานกันกับอาตมาพอดี แล้วต่างคนก็ต่างละสายตาจากกัน จากนั้นในแต่ละวันตาไทยแกจะหยุดมองอาตมาชั่วขณะ แล้วแกก็เดินจากไปทั้งขาไปและขากลับ สังเกตดูกิริยาแล้ว แกคงแปลกใจที่เห็นอาตมาขยันท่องปาฏิโมกข์อยู่ที่ได้ทุกวัน เพราะได้ยินทั้งเช้าและเย็น จนกระทั่งวันออกพรรษามาถึง อาตมาก็ได้สวดพระปาฏิโมกข์ต่อหมู่สงฆ์ได้สมดังใจ ในวันนั้นมีชาวบ้านมาทำบุญกันมากมาย มาฟังเทศน์ฟังธรรม จำศีลภาวนากันจนเต็มศาลา ตกบ่ายอาตมาก็กลับไปพักที่กุฏิ สักครู่หนึ่ง ตาไทยแกก็ย่องเข้ามาหาอาตมา แล้วก้มลงกราบเท้าอาตมา ๓ ครั้ง แล้วแกก็บอกกับอาตมาว่า

กระผมยอมรับนับถือในความเพียรของท่านจริงๆ ตลอดเวลาสามเดือนที่ผ่านมานี้ กระผมเดินผ่านกุฏิท่านทุกวัน ทั้งเช้า-ทั้งเย็น กระผมก็อัศจรรย์ใจว่า ยังมีพระอย่างนี้อยู่อีกหรือทุกวันๆ แทบไม่ได้หยุดเลย ไหนจะอ่านหนังสือ ไหนจะนั่งสมาธิ ไหนจะเดินจงกรม และยังงานอย่างอื่นอีก ทั้งๆ ที่ท่านก็ฉันแค่หนเดียว ผมสอบถามคนอื่นๆ หลายๆ คนจึงทราบว่าที่กระผมเห็นนั้นเป็นความจริง พระอย่างท่านนี้หายาก ทำไห้คิดว่าพระดีก็ยังมีอยู่ โดยเฉพาะตัวท่านเองนี่แหละ ที่ผมเห็นเป็นตัวอย่างว่าพระบางรูปนั้นน่ายกย่องสรรเสริญ น่าศรัทธาจริงๆ สมดังคำเขาว่าจริงๆ กระผมเห็นกับตาแล้วก็เกิดศรัทธาอย่างมาก ผมเริ่มสงสารแอบเห็นใจพระเณร จึงได้เข้ามากราบต่อท่านในวันนี้ และตัดสินใจเข้าวัดฟังธรรมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอให้ท่านเป็นพยานด้วยว่า กระผมจะขอยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของกระผมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปด้วย เพราะว่าเมื่อก่อน กระผมบอกตามตรงว่า ผมไม่ค่อยศรัทธาพระและวัดเท่าใดนัก เพราะพระบางรูปเอาแต่กินแล้วก็นอนอยู่สบาย ไม่เห็นทำอะไร แต่พอมาเห็นท่านแล้ว กระผมก็คิดว่า ปัจจุบันนี้ก็ยังมีพระดีๆ อยู่บ้าง ผมยอมรับเลย

เป็นอันว่าเพราะการท่องปาฏิโมกข์แท้ๆ เป็นเหตุให้ตาแก่คนหนึ่งที่เคยนับถือผีสาง ไม่ศรัทธาพระเจ้าเลย ได้หันมาเลื่อมใสศรัทธาในวัดวาในศาสนาขึ้นมาได้ อาตมาจะถือว่าการที่ตาไทย หันมาสนใจวัดวาศาสนาเช่นนี้เป็นเพราะอานิสงส์ในการท่องปาฏิโมกข์นั่นเอง

หลังจากออกพรรษาไม่นาน หลวงปู่ก็กลับมาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา ในขณะที่ท่านกลับมาพักที่นี่ ก็มีคณะญาติโยมจากบ้านหนองไขว่ บ้านน้ำกร้อ บ้านน้ำชุน บ้านโนนทอง บ้านปากดุก บ้านดงเมือง มานิมนต์หลวงปู่ไปช่วยเทศน์อบรมชาวบ้านในหมู่บ้านของตน โดยหลวงปู่เล่าให้ฟังว่า

“เมื่ออาตมาพิจารณาแล้วว่าที่เขามานิมนต์ ถ้าอาตมาไปเทศน์มันก็จะก่อประโยชน์ให้กับเขามากมาย อาตมาจึงสนองศรัทธาไปตามหมู่บ้านนั้นๆ เฉพาะที่บ้านดงเมืองนั้น เป็นเมืองเก่าแก่โบราณมีซากสิ่งก่อสร้างกองพะเนินมากมาย ดูแล้วน่าศักดิ์สิทธิ์ น่าขลัง น่าประทับใจเป็นยิ่งนัก ยามค่ำคืนมีเสียงสัตว์ร้องกึกก้องพนาไพร ส่วนอาตมาก็ปักกลดอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ โดยมีชายชราคนหนึ่ง คือ นายกรวย คอยอยู่รับใช้ปรนนิบัติ

อาตมาพักอยู่เมืองโบราณแห่งนี้ประมาณ ๑ เดือน ก็ย้ายไปเรื่อยๆ ตามแนวริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตลอดระยะเวลา ๔ เดือนในหน้าแล้ง พอถึงหน้าฝนอาตมาก็ย้อนกลับมาวัดสามัคคีพัฒนาอีก เพื่อช่วยการจัดงานสร้างสรรค์สังคม... เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นรักใคร่สามัคคีกันแบบฉันท์พี่น้อง  ฉะนั้น จึงต้องมีกิจกรรมเพื่อกระชับไมตรีกันหลายอย่าง ในงานนั้น อาตมาเห็นว่าเป็นงานที่เกิดผลดีเป็นอย่างมากแก่สังคม น่าเสียดาย ที่ปัจจุบันนี้ไม่มีงานในลักษณะดังกล่าวนั้นเสียแล้ว”

หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า “จากนั้นไม่นาน พระอาจารย์วิฤทธิ์และสามเณรบัวลัย ก็ได้ลาสิกขาไปทั้งๆ ที่พระอาจารย์วิฤทธิ์อายุขณะนั้นก็ ๔๕ ปีแล้ว หากสึกไปใช้ชีวิตแบบฆราวาสก็คงจะลำบาก เพราะได้บวชมานาน ไม่เคยได้มีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตอย่างฆราวาสมาก่อนเลย แต่ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง จะขอลาสิกขาท่าเดียว จึงจำต้องปล่อยไปตามหนทางของแต่ละคน ทั้งที่อาตมาก็มีความเป็นห่วงในตัวเพื่อนสหธรรมิกด้วยกันมาก”

ในที่สุด พระอาจารย์วิฤทธิ์ก็ได้สึกออกไปตามที่ได้ตั้งใจไว้ ส่วนหลวงปู่ท่านก็เดินธุดงค์ต่อไปสักระยะหนึ่ง ครั้นกลับมาที่วัดสามัคคีพัฒนาก็ทราบว่าสามเณรบัวลัยได้ขอลาสิกขาไปอีกคน รวมแล้วท่านหลวงปู่ได้อยู่จำพรรษาและได้เที่ยวตระเวนธุดงค์ไปเขตจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นระยะเวลา ๓ ปีเต็มๆ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90892356592747__BE_C3_D0_CD_1192_D2_C3_C2_EC_.jpg)
          หลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79848095319337_1256043213_1_.jpg)
          หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

• อยู่วัดโนนนิเวศน์
หลวงปู่ก็ได้เดินทางออกจากจังหวัดเพชรบูรณ์ กลับมาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีหลวงปู่ภูมี จิตธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส

หลวงปู่ได้เมตตาเล่าถึงหลวงปู่ภูมีให้ฟังว่า
“ตอนที่อาตมาไปจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ ดูเหมือนจะเป็นพรรษาที่ ๖ ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อภูมี เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อภูมีท่านเป็นคนบ้านไก่เถื่อน จังหวัดอุดรธานี เมื่ออายุ ๑๔ ปี บรรพชาเป็นสามเณร จนกระทั่งอายุ ๒๐ ปี ก็อุปสมบทเป็นพระ ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๗๘- พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านบวชก่อนอาตมา ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาสร้างสำนักปฏิบัติกรรมฐานขึ้น ณ ที่ที่เรารู้จักกันว่าวัดป่าสาลวัน เมืองโคราชทุกวันนี้

นับว่าเป็นสำนักพระกรรมฐานแห่งแรกในภาคอีสาน ในช่วงนั้นกิตติศัพท์ของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ดังกระฉ่อนมาก หลวงพ่อภูมีซึ่งเป็นผู้มีบารมีทางพระกรรมฐานอยู่แล้ว หรือจะเรียกว่าท่านเป็นดอกบัวประเภทที่หนึ่งก็ว่าได้ พอได้ยินกิตติศัพท์เท่านั้น หลวงพ่อภูมีท่านก็ต้องการไปปฏิบัติกรรมฐานที่สำนักของหลวงปู่สิงห์ที่โคราช แล้วท่านก็ได้เดินทางไปตามที่ท่านตั้งใจไว้

เมื่อมาถึงวัดป่าสาลวันแล้ว ก็เข้าพบท่านอาจารย์ ขอฝากเนื้อฝากตัวต่อหลวงปู่สิงห์ ซึ่งท่านก็ได้เมตตารับไว้เป็นศิษย์

หลวงพ่อภูมี ท่านได้ตั้งใจเรียนและปฏิบัติอย่างจริงจัง และมีความสันทัดในการเทศน์เป็นอย่างดี มีญาติโยมที่รู้จักนับถือในวงกว้าง โดยเฉพาะท่านได้ไปตั้งสำนักปฏิบัติธรรมอยู่ที่อำเภอจักราช ต่อมาญาติโยมจากจังหวัดอุดรธานีก็ตามไปนิมนต์ท่านที่โคราช เพื่อให้ท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโนนนิเวศน์ อุดรธานี หลวงพ่อภูมีท่านก็รับนิมนต์แล้วเดินทางกลับอุดรธานี

ราวปี พ.ศ.๒๕๐๕ หลวงปู่สิงห์ ก็มรณภาพ ทางวัดป่าสาลวันไม่มีผู้ใดที่มีความเหมาะสมที่จะมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส คณะญาติโยมวัดป่าสาลวันก็พากันเดินทางไปอุดรธานี เพื่อนิมนต์หลวงพ่อภูมีกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน

วันแต่ละวันท่านแทบไม่ได้อยู่ฉันภัตตาหารที่วัดเลย เพราะติดกิจนิมนต์นอกวัดเสียยาวเหยียด วันหนึ่งประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๑๒-พ.ศ.๒๕๑๓ หลวงพ่อภูมีรับกิจนิมนต์ของลูกศิษย์ที่จังหวัดชลบุรี พอถึงวันงานลูกศิษย์ก็เอารถมารับที่วัดป่าสาลวัน ประมาณตี ๓ ตี ๔ เพื่อจะไปให้ทันสวดมนต์ฉันเช้าที่ชลบุรี รถรับท่านเดินทางไปจนถึงเขตอำเภอปากช่อง รถเกิดอุบัติเหตุ หลวงพ่อภูมีก็ถึงแก่มรณภาพทันที โดยที่ท่านมิได้ทุกข์ทรมานใดๆ เลย นี่แหละหนอชีวิต ไม่มีเครื่องหมายให้รู้ได้เลยว่าจะตายวันไหน เวลาใด”

เมื่อหลวงปู่กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ ท่านจึงได้รู้จักคุ้นเคยสนิทสนมกับหลวงปู่ภูมีเป็นอย่างดี จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๘๖ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะและสะดวกแก่การออกธุดงค์ ในระหว่างที่กำลังตระเวนธุดงค์อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีนั้น

หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังถึงตอนนี้ว่า “นับว่าเป็นความโชคดีของอาตมาที่ได้พบครูบาอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ทางพระกรรมฐานมากอีกองค์หนึ่งคือ พระอาจารย์อ่อนศรี สุเมโธ ท่านเคยปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น  ที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลาหลายปี

การออกธุดงค์ครั้งนี้เราไปด้วยกัน ๕ รูป คือ พระอาจารย์อ่อนศรี สุเมโธ, พระอาจารย์เหล็ก, อาตมา และพระหนุ่มอีก ๒ รูป ธุดงค์มุ่งหน้าไปทางอำเภอบ้านผือ ผ่านหมู่บ้านพันเหมือน แวะพักอยู่ที่ป่าช้าของบ้านพันเหมือน ๑๕ วัน ปักกลดอยู่ห่างกันประมาณ ๓ เส้นตามใต้ต้นไม้ โดยญาติโยมได้ขนฟางมาเกลี่ยปูพื้นที่ให้ การที่เอาฟางมาปูแม้ว่าจะช่วยให้เกิดความอบอุ่นได้ แต่เราก็ต้องระวังปลวกมาแทะเล็มกลด เพราะฟางจะส่งกลิ่นหอม เป็นอาหารที่โอชะของปลวกดีนัก

ที่ป่าช้าหมู่บ้านพันเหมือน ในคืนแรกก็มีคนหามศพมาทิ้ง คือเอามาฝังเสร็จแล้วก็หนีไป อยู่หลายวันก็ได้เห็นหลายศพ กลางคืนยิ่งดึกยิ่งเงียบ ได้ยินเสียงใบไม้กระพือสะพัดหวีดหวิวแบบแผ่วเบา นานๆ ทีก็มีเสียงสุนัขจิ้งจอกเห่าหอนเป็นระยะๆ นอกจากนี้สัตว์ที่หากินกลางคืน เช่น ค่าง บ่าง ชะนี และค้างคาว เป็นต้น บางทีมันบินมาใกล้ๆ เสียงปีกมันดังผับๆ บางครั้งถึงกับตกใจตื่น เพราะจิตกำลังจะสงบ ก็ต้องเริ่มประคองจิตใหม่เพื่อให้สงบอีก

ทุกๆ คืนประมาณ ๓ ทุ่ม พวกเราก็ฟังการอบรมธรรมะจากพระอาจารย์อ่อนศรี ส่วนมากท่านจะอบรมเกี่ยวกับเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา คืนไหนที่นั่งสมาธินานๆ เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ควรดัดตนยืดเส้นยืดสายบ้างเพื่อให้เส้นสายคลายตัว เลือดลมเดินสะดวก เมื่อยู่ป่าช้าบ้านพันเหมือนครบ ๑๕ วันแล้ว หลังจากนั้นคณะของอาตมาก็ออกเดินทางต่อ มุ่งไปยังอำเภอบ้านผือ ตามรายทาง เมื่อค่ำไหนก็นอนนั่น

หลวงปู่ท่านได้อธิบายถึงเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา หลังจากที่ได้เล่าเรื่องนี้จบลง

“ในใจของคนเราถ้าตั้งมั่นเป็นสมาธิ เชื่อมั่นในพระศาสนา เชื่อมั่นในศีลในพระธรรมวินัย หมั่นทำความเพียรอย่าใด้ลดละ ทำอย่างอุชุปฏิบัติ คือ ปฏิบัติตรงไปตรงมา ตรงต่อศีลต่อธรรม เคยปฏิบัติอย่างไรก็ทำอย่างนั้น เคยทำเวลาใดก็ทำเวลานั้น ปัญญาความรอบรู้ในกองสังขารก็จะบังเกิดขึ้น เมื่อรู้ในสังขารทั้งหลายว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนได้ยาก ไม่ใช่เราไม่ใช่ของๆ เรา แล้วตัวกูของกูที่ไหนมันจะมี มันก็ไม่ยึดถือ ไม่ติดไม่เกี่ยว อะไรจะมากระทบอายตนะทั้ง ๖ สิ่งนั้นก็เป็นแต่สักว่าเฉยๆ สิ่งนั้นมันก็ไม่เกี่ยวไม่ข้องไม่กวนอะไรเรา มันก็อยู่ตามสภาวะของมันไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มันก็ทิ้งไป วางไป ถ้ารู้อย่างนี้ก็เรียกว่า พุทโธ คือว่ารู้แล้ว เป็นเช่นนั้น จิตของคนเราก็จะไปหาเวรที่ไหนมามี จิตก็ไม่พยาบาทจองเวร จิตก็ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นเคืองจิตใจ นั้นก็คือบริสุทธิจิต จิตสะอาดจิตว่าง นั้น เพราะเราได้เป็นสุคะโต ฝึกจิตมาดี รักษาศีล ให้ทาน เจริญภาวนา พิจารณากาย นั่นแหละจึงได้ชื่อว่า ปัญญาทางโลกจะสู่ปัญญารอบรู้สังขาร ปัญญาผู้รู้เท่าทันกิเลสได้อย่างไร ซึ่งก็มีแต่ความสุข ความสุขที่มิใช่ทางโลก แต่เป็นความสุขทางธรรม เป็นความสุขที่ปราศจากกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ทางออกจากทุกข์ก็มีอยู่ที่ ศีล สมาธิ ปัญญา จะไปหาทางอื่นนั้นไม่มี คนมันเกิดจาก ๓ ตัวนี้ ทางอื่นไม่ใช่สุขแท้ แต่นั่นคือข้าศึกที่เรียกว่า กิเลส นั่นเอง





หัวข้อ: Re: หลวงปู่หลอด ปโมทิโต จากหนังสือ ปโมทิตเถรบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟัง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 มกราคม 2562 13:39:59
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11700233982668_a1.gif)

• บำเพ็ญสมณธรรมที่วัดพระบาทบัวบก
จากหมู่บ้านพันเหมือน ก็ธุดงค์ต่อไปทางอำเภอบ้านผือ แวะพักรายทางเรื่อยไปจนกระทั่งเข้าอำเภอบ้านผือ จึงได้ไปพักอยู่ที่วัดหนองหล่ม หลวงปู่เล่าว่า ในขณะนั้น มีท่านพระครูเขียนเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดหนองหล่ม

หลวงปู่ท่านได้เขียนบรรยายถึงตอนนี้ไว้ในอัตตโนประวัติว่า

“คณะของพวกเราเข้าสู่อำเภอบ้านผือ มุ่งขึ้นเขาภูพาน เพื่อจะไปพักที่วัดพระบาทบัวบก ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอบ้านผือประมาณ ๑๐ กิโลเมตรเห็นจะได้ พวกเราเดินจนถึงวัดพระบาทบัวบกก็เมื่อเวลาพลบค่ำ วางบริขารบนผลาญหินแล้ว ก็เดินดูบริเวณอื่นๆ แถบใกล้เคียง ได้เห็นผลาญหินเป็นแห่งๆ และมีถ้ำหลายถ้ำ ล้วนเหมาะแก่การเอาเป็นที่พักบำเพ็ญเพียรทั้งนั้น แต่คืนแรกนี้พวกเรายึดผลาญหินเป็นที่พักไปก่อน หัวหน้าคณะคือท่านอาจารย์อ่อนศรี บอกว่าจะพักอยู่ที่วัดแห่งนี้สัก ๓ เดือน จึงขอให้แต่ละรูปเลือกที่พักได้ตามอัธยาศัย พวกเราก็แยกย้าย พักห่างๆ กัน  น้ำประปาธรรมชาติสะดวกทั้งปี คือมีน้ำไหลมาตามร่องหินของภูเขา แล้วก็กระโจนลงเหมือนน้ำตก พวกเราก็ดัดแปลงให้เป็นน้ำประปาโดยเอาไม้ไผ่มาผ่าครึ่งตลอดลำ แล้วเจาะเอาปล้องกลางออก เพื่อให้น้ำไหลไปตามรางน้ำได้สะดวก แล้วเอาลำไม้ไผ่ที่แต่งดีแล้วนั้นไปรองน้ำที่ไหลออกมาตามร่องหิน ให้มันไหลมาตามรางไปยังทิศทางที่เราต้องการ น้ำนี้ใสเย็นเฉียบไหลดีทั้งปี อนิจจา เดี๋ยวนี้ไม่มีน้ำไหลเลย เพราะบนภูพานเองก็หาต้นไม้ใหญ่แทบไม่มีแล้ว เมื่อขาดต้นไม้ก็กระทบถึงการขาดแคลนน้ำด้วย ตามหลักวิทยาศาสตร์ว่าไว้เช่นนั้น ส่วนหมู่บ้านที่อาตมาจะไปบิณฑบาตนั้น อยู่ห่างวัดประมาณ ๓ กิโลเมตร นั่นคือบ้านติ้ว บ้านกะลึม เมืองพาน ที่นี่การทำความเพียรได้รับผลดี เพราะมีเวลาทำความเพียรมาก ไม่ค่อยมีคนไปรบกวน ดังนั้นในแต่ละปีจึงมักจะมีพระธุดงค์แวะมาพักปฏิบัติธรรมที่นี่เป็นประจำทุกๆ ปี ในครั้งนี้คณะของอาตมาพักอยู่ที่นี่ประมาณ ๓ เดือน (มกราคม-มีนาคม)”

หลวงปู่ยังได้เล่าถึงตำนานความเป็นมาของพระบาทบัวบกให้ฟังว่า “วัดพระบาทบัวบก เป็นวัดเก่าแก่ แต่ไม่มีพระจำพรรษาอยู่ มีเจดีย์ธาตุองค์ใหญ่สูงตระหง่าน หลวงปู่ศรีทัต ได้เป็นผู้มาพบรอยพระบาท จึงได้ทำการบูรณะและสร้างเจดีย์ธาตุครอบเอาไว้

หลวงปู่ศรีทัตเป็นพระอาจารย์กรรมฐานชื่อดัง ท่านเป็นคนอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ได้เดินธุดงค์ผ่านมาทางเขาภูพานนี้ และได้พบรอยพระบาทประดิษฐานอยู่ท่ามกลางผลาญหิน ขนาดของพระพุทธบาทยาวประมาณ ๒ เมตร กว้าง ๗๐ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ด้วยเดชะแห่งบุญฤทธิ์ เพื่อให้ผู้ที่ศรัทธาได้กราบไหว้และระลึกถึงจะได้เป็นอุปนิสัยทางจิตใจ”

หลวงปู่ศรีทัตได้พิจารณาเห็นสมควรว่า น่าที่จะได้สร้างเจดีย์ครอบเอาไว้ เพื่อเป็นที่หมายให้คนรุ่นหลังได้กราบไหว้บูชา จึงได้นำพาญาติโยมช่วยกันจัดสร้างเจดีย์ ลักษณะรูปทรงเหมือนเจดีย์พระธาตุพนม สูงประมาณ ๑ เส้น มียอดเจดีย์เป็นฉัตรทองเหลือง แลดูสวยงามอร่ามยิ่งนัก และได้จัดให้มีเทศกาลงานบูชาพระบาทบัวบกในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชาทุกปี


• นารีพิฆาต
ขณะที่อยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดพระบาทบัวบก ส่วนใหญ่ทุกรูปที่ไปก็มีความเป็นอยู่ด้วยความปกติเรียบร้อยดี ได้ออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้านติ้วและบ้านกะลึม เมืองพานทุกวัน

และแล้วก็มีเหตุที่มารบกวนการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่อย่างมากจนน่าลำบากใจ กล่าวคือได้มีโยมผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนในหมู่บ้าน เธอมีสามีและลูกแล้ว แต่เกิดมาหลงเสน่ห์ติดพันองค์ท่าน  สมดังคำของพุทธองค์ที่ว่า “ความไม่พอของตัณหานั้น ไม่มีวันสิ้นสุด” คงเพราะเห็นว่าท่านเป็นพระหนุ่มรูปงาม ผู้หญิงคนนี้ได้เพียรพยายามที่จะมาพูดคุยกับท่านเป็นเวลาหลายวัน แต่ไม่สำเร็จ เพราะท่านไม่เปิดโอกาสให้เลย

หลวงปู่ท่านเล่าว่า... “เห็นผิดสังเกตหลายอย่าง เพราะเวลาทำบุญที่วัด หญิงคนนี้ก็มักจะทาน้ำหอม ผัดแป้งแต่งตัวสวยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายตาของเธอได้จ้องมองมายังอาตมาอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าอาตมาจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม จะเป็นเป้าหมายสายตาของหญิงคนนั้นเสมอ

เมื่อเป็นอย่างนี้ อาตมาก็คอยระวังตัว โดยการตั้งใจภาวนา และปลีกตัวเสมอ อีกทั้งยังไม่ยอมให้เธอพบ หรือมีโอกาสได้พูดคุยด้วย พอฉันจังหันเสร็จก็หลบไปอยู่ทางหลังเขา ไปภาวนาอยู่ตามก้อนหินตามถ้ำ เพราะในบริเวณพระบาทบัวบกมีที่หลบหลีกเยอะแยะ นานวันไปหญิงคนนั้นก็หยุดไปเอง เพราะเราไม่ได้ติดต่อ หรือเดินตามสะพานที่เธอทอดไว้ให้เลย ความรู้สึกของอาตมาเองที่มีอยู่นั้นก็รู้สึกเฉยๆ

ไอ้กามเนี่ยมันเป็นของร้อน มันมีฤทธิ์ มีเดช มีความรู้สึกที่เป็นความใคร่ มันเป็นของดำของมืดมัว แล้วก็มีกามารมณ์เป็นตัวก่อความใคร่ มันจึงกลายเป็นเรื่องกามอย่างสมบูรณ์ แล้วก็ทำให้เกิดความหลงใหล

แต่อย่างว่าความสนุกของมนุษย์มนาก็อยู่ตรงนี้แหละ โดยที่ลืมคิดไปว่ามันก็แค่ที่เสพนั่นแหละ เสพเสร็จก็เท่านั้นแหละ มันไม่เกินไปกว่านั้น มันไม่สุขไปกว่านั้นเลย

ถ้าเราสัมผัสด้วยความไม่รู้ มันก็จะเกิดเวทนาความทุกข์ทางอายตนะ ทำให้เกิดกิเลสนั่นก็เพราะอายตนะเป็นของร้อน อย่างที่พระพุทธเจ้าเทศน์อาทิตตปริยายสูตรนั่นแหละ ตาเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ อย่างนี้เป็นต้น ไอ้ราคะ โทสะ โมหะ ก็คืสิ่งที่มากระทบอายตนะแล้วก็ส่งไปถึงใจ และก็เกิดมีความทุกข์ในที่สุด

ดู! บางคนไม่ได้คำนึงถึงศีลถึงธรรม และบาปกกรรมเลย กามมันขึ้นหน้า ลูกเขาเมียใครก็ไม่สน สนแต่จะเสพกามอย่างเดียว ถ้าอยากไปตามอำนาจของกามนั่นก็เรียกว่า กามตัณหา ตัณหาก็ทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานก็ทำให้เกิดภพชาติไม่สิ้นสุด แล้วก็ทุกข์อยู่ร่ำไป

เหล่านี้มันเป็นเพียงความหลอกลวงทางอายตนะ ที่นี้ก็มีปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่คำว่าหลอกลวง ถ้าเรายังไม่รู้เท่าทันมันเพียงใด มันก็จะหลอกลวงเราอยู่เพียงนั้น พอเรารู้เท่าทันมันเมื่อไหร่ มันก็จะหยุดหลอกลวง แล้วอย่างไรจึงจะรู้เท่าทันมัน ก็ให้รู้จักพิจารณาโดยเป็นสักแต่ว่าธาตุ ว่าธรรม ว่าขันธ์ มันเป็นอสุภะ เป็นไปตามธรรมชาติ ให้พิจารณาว่า ความกำหนัดนั้นเป็นเรื่องหลอกลวงทางอายตนะ เป็นสิ่งที่กิเลสตัณหากามตัณหามันยกขึ้นมาหลอกลวงเรา เราโง่ เรารู้ไม่ทันมัน มันพาเราไปหลงรู้สึกพอใจ ให้มองเห็นว่าเป็นความหลอกลวง เมื่อมองเห็นเช่นนี้แล้ว ความกำหนัดยินดีก็อ่อนกำลังลง แต่มันก็ต้องพิจารณาให้มาก เอาจนรู้สึกและเข้าใจอย่างแท้จริง ว่ามันทำให้เราเป็นทาสของมันจริงๆ

แต่เธอผู้นี้หาได้คิดอย่างนี้ไม่ มีแต่เอาอารมณ์ความต้องการของตนเป็นใหญ่ เอาแต่ใจตนเป็นใหญ่ จนลืมคิดถึงลูกและผัว ทั้งๆ ที่ตนก็มีลูกอยู่หลายคนแล้ว ทั้งตัวเองก็กำลังแต่จะแก่ลงไปทุกวัน ร่างกายก็จะแห้งเหี่ยวไม่มีความน่าอภิรมย์อีกต่อไป

ในที่สุดเรื่องนี้ก็ผ่านพ้นไปด้วยดีและเงียบไปเอง การภาวนาที่พระบาทบัวบกนี้ ก้าวหน้ามากและรู้สึกสนุกในการบำเพ็ญ”

วันหนึ่งคณะของหลวงปู่ก็ได้รับนิมนต์ ให้ไปร่วมงานทำบุญฉลอง (หอไตรพระไตรปิฎก) ที่วัดบ้านเอี้ยเหล่าคาม โดยพระครูธรรมธรเขียน เจ้าคณะอำเภอบ้านผือ เป็นผู้นิมนต์ งานนี้จัดอยู่ ๓ วัน ๓ คืน คณะของท่านก็ไปอยู่ร่วมตั้งแต่เริ่มงาน จนกระทั่งเก็บงานเสร็จสิ้นรวม ๕ วัน ๕ คืน จากนั้นก็กลับมาพักที่วัดพระบาทบัวบกตามเดิม


• ปัญญาบารมีช่วยให้พ้นจากบ่วงมาร
หลังจากที่หลวงปู่และคณะ ได้กลับไปบำเพ็ญสมณะธรรมที่วัดพระบาทบัวบกไม่นาน ท่านก็ได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมงานผูกพัทธสีมา ณ วัดป่าบ้านกุดสิม อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี โดยพระอาจารย์ชม เป็นผู้นิมนต์ ครั้นเสร็จงานแล้วหลวงปู่ก็ธุดงค์กลับไปยังอุดรธานีอีกครั้ง ครั้งนี้ท่านได้แยกุดงค์กันกับหลวงปู่อ่อนศรีที่นั่น

หลวงปู่ท่านได้กลับไปพักอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์ และได้พบกับพระอาจารย์ คำภา จุนฺโท ครั้งนี้หลวงปู่ได้เขียนเล่าไว้ในอัตตโนประวัติว่า “อาตมาก็ได้มีโอกาสรู้จัก และคุ้ยเคยกับพระอาจารย์คำภา จุนฺโท เมื่อเราได้รู้จักสนิทสนมกันแล้ว และรู้สึกว่าคุยกันถูกคอ ท่านก็ได้ชวนอาตมาออกวิเวกไปด้วยกัน ซึ่งท่านชวนให้เดินทางไปแถบตำบลหนองหาร ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน อาตมาก็รับคำ

พอได้ฤกษ์งามยามดี คณะของพวกเราก็ออกวิเวก ไปทางหนองหาร ผ่านไปจนถึงบ้านเชียง เห็นว่าจวนเข้าพรรษาแล้วก็เลยตกลงกันอยู่จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านเชียง (พรรษาที่ ๗) เวลาล่วงเลยไปเกือบถึงกลางพรรษาก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้อาตมาเกือบเสียคน

คืออาตมาได้เจอมารทางจิตอย่างสาหัส มันโถมเข้าย่ำยีอาตมาจนแทบตั้งตัวไม่ติด มารที่ว่านั้น คือกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ได้เกิดขึ้นก่อกวนอย่างหนัก สาเหตุจากการที่ได้มาอยู่จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านเชียงนี่เอง เพราะในท้องถิ่นนี้มีประเพณีอยู่อย่างหนึ่งคือ จะคัดเลือกสาวๆ รุ่นๆ เสียงดี มาทำการหัดสวดมนต์สรภัญญะ ซึ่งเป็นการสวดมนต์ที่คล้ายๆ กับร้องเพลง มีท่วงทำนองไพเราะเพราะพริ้งมาก มีบทร้องบรรยายเรื่องราวต่างๆ เท่าที่อาตมาทราบดูเหมือนจะแต่งโดย หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม และหลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นทำนองคล้องจองกันไป เป็นประเพณีของท้องถิ่นนี้สืบกันมามานาน ใช้ขับร้องในงานต้อนรับแขกต่างถิ่น หรือพระแปลกหน้า โดยมากขับร้องเฉพาะวันพระ อาตมาก็เช่นกัน เมื่อเป็นแขกต่างถิ่นเข้ามาพักอยู่ในถิ่นนั้น พวกชาวบ้านก็จัดการเกณฑ์สาวๆ รุ่นๆ มาสวดสรภัญญะแทบทุกวันทุกคืน น้ำเสียงที่ได้ยินได้ฟัง ประกอบกับรูปร่างหน้าตาของสาวรุ่น ได้ก่อให้เกิดไฟในใจ คือกามคุณ ๕ ขึ้นมารุมเร้าจนเกือบแก้ไขตนเองไม่ได้ มีทั้งรูป เสียง ปรากฏทางนิมิตเสมอ จิตใจอาตมาทุรนทุราย ร้อนรุ่ม อึดอัด และหนักอึ้งไปหมด เป็นอาการที่แสนจะทรมาน จบเกือบจะรักษาเพศบรรพชิตไปไม่รอด แต่แล้วด้วยสติปัญญา (ปัญญาบารมี) ที่ได้รับการอบรมมาจากครูบาอาจารย์ก็ผุดขึ้นมาช่วยแก้ปัญหา ประมาณเดือนหนึ่งที่อาตมาแสนจะทรมาน แต่แล้วก็ปลุกใจตนเองว่า ปัญหาคือสิ่งที่ต้องแก้ อุปสรรคคือสิ่งที่ต้องสู้ เราจะหาวิธีแก้มัน สู้กับมันให้สมกับการเป็นลูกผู้ชาย และเป็นลูกของพระตถาคตด้วยแล้ว เป็นไงเป็นกัน จะไม่ยอมสยบต่อมาร  อาตมาได้ใช้ความพยายามอยู่หลายวัน กว่าจะหาอุบายธรรมมาแก้ไขจิต ให้หายจากความผูกติดกับรูปและเสียงที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนั้นตามแต่จะคิดได้ ในใจของอาตมาระลึกอยู่ตลอดว่า เป็นไงเป็นกัน มันจะไม่ยอมสยบต่อมาร ว่าแล้วก็กำหนดหาวิธี หาทางแก้โดยอัตโนมัติ ครั้งแรกกำหนดหลักการว่า จะฉันให้น้อยแค่พออยู่ได้ แต่จะเดินจงกรมทั้งวัน เพื่อเป็นการทรมานตนให้เมื่อย เพลีย จิตใจจะได้ไม่มีโอกาสที่จะคิดถึงรูปเสียง ขั้นตอนในการปฏิบัติ คือ หลังจากประกอบภัตกิจเสร็จแล้ว ล้างบาตร เช็ดเก็บ เรียบร้อยแล้วก็เข้าห้องไหว้พระให้ใจสบาย พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้บารมีพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ได้ช่วยดลบันดาลให้จิตใจของข้าพเจ้าพบกับความเบา ว่าง กระจ่าง สงบ จนมีกำลังคลายจากกามคุณทั้งหลายด้วยเทอญ

จากนั้นก็ไปเดินจงกรม ตั้งแต่ ๓ โมงเช้า ก็เดินเรื่อยไป เดินไปเดินมาอยู่อย่างนี้จนถึง ๕ โมงเย็นจึงหยุด แล้วไปทำกิจวัตรประจำวัน ตั้งใจว่าจะทำอยู่อย่างนี้ ถ้าครบ ๑๕ วันแล้ว ยังไม่ได้ผลก็จะเปลี่ยนวิธีใหม่ ทำความเพียรเพื่อทรมานตนโดยไม่ยอมสยบ แม้ว่าฝนจะตกแดดจะออก อาตมาก็ได้พยายามทำความเพียรเพื่อทรมานตนด้วยอย่างนั้น โดยไม่ท้อถอยจนกระทั่งครบ ๑๕ วันแล้ว ก็ยังไม่ได้ผล กามคุณมิได้ลดน้อยถอยลงเลย แต่มันกลับยิ่งกำเริบมากขึ้นเสียอีก”

หลังจากที่หลวงปู่ท่านทำเพียรทรมานตนจนครบ ๑๕ วัน แต่ก็ไม่ได้ผล ท่านว่า “นั่นเพราะมิใช่หนทางอันประเสริฐ มิใช่หนทางที่จะให้พ้นทุกข์ได้เลย ทุกรกิริยานี้มิใช่ทางที่ประเสริฐเลย เมื่อไม่ใช่ทางที่จะพ้นทุกข์แล้วจะเอาอะไรกับทางนี้ที่จะมาสู้รบกับกิเลสเล่า กิเลสมารจึงไม่ได้ลดละเลย”

หลวงปู่ท่านเล่าต่อไปอีกว่า “หลังจากนี้เราควรจะใช้หลัก มหาสติปัฏฐานมาแก้ไขปัญหาดู นั่นคือ การพิจารณาดู กาย เวทนา จิต ธรรม แต่ในครั้งนี้เห็นทีจะต้องตามพิจารณาดูจิตทุกขณะ จิตจะคิดไปไหนก็จะตามกำหนดรู้ จิตอยู่อย่างไรก็รู้อาการทางจิต มีอารมณ์ใดเกิดขึ้นในจิตก็ตามรู้ ถ้ามันร้อน มันร้อนยังไง เพราะอะไร ถ้าจิตรู้สึกสบาย ก็กำหนดดูว่าสบายอย่างไร

ทำอย่างไรจึงจะทรงอารมณ์นั้นให้นานๆ จำเป็นต้องให้สติสัมปชัญญะคอยควบคุมอยู่กับจิตตลอดเวลา โดยไม่ลดละ

พอพยายามตามดูอยู่อย่างนั้นทุกขณะ เป็นเวลาประมาณ ๓๐ นาที จิตก็เริ่มเบา เย็นและสงบลง อาตมาพบว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้อง ใช่แล้ว วิธีนี้แน่แล้ว...ถูกแล้ว

จากนั้นก็เกิดอาการภูมิใจ อิ่มใจ ปลื้มใจจนขนลุกชัน และก็ยิ่งมีกำลังใจ จึงตามดูจิตอย่างหนักยิ่งขึ้นกว่าเดิม ผลก็ยิ่งคืบหน้าคือจิตยิ่งสบายๆ จนในที่สุดก็ปกติเหมือนเมื่อครั้งก่อนๆ มา สำหรับอาตมาเองเมื่อมีปัญหาทางจิต ก็ใช้แนวทางของสติปัฏฐานในการแก้ปัญหาและก็ได้ผลดีเสมอมา นี่คือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงกับตนเอง แต่นักปฏิบัติทั้งหลายไม่ควรปลงใจเชื่ออาตมาทันที เพราะอุปนิสัยและบารมีของแต่ละบุคคลนั้น ไม่เหมือนกัน วิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผล จึงอาจจะแตกต่างกันไป ถึงอย่างไรด้วยความหวังดีต่อกัน อาตมาขอโอกาสให้ข้อเสนอแนะต่อผู้ปฏิบัติทั้งหลายว่า เมื่อท่านเจอมารทางกายหรือมารทางใจก็ตาม ท่านจงตั้งสติให้ดี อย่าให้หวั่นไหว อย่าให้สติรวน จงควบคุมความคิดของตนเองให้มั่นคง อย่าหวั่นไหว อย่าให้คลอนแคลน แล้วค่อยๆ คิดหาวิธีแก้ปัญหานั้น ด้วยความใจเย็นและให้สุขุมรอบคอบที่สุด โดยเฉพาะต้องใช้ขันติและความฉลาดให้มากเป็นพิเศษ

เมื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการแก้ปัญหาได้แล้ว ก็ให้ดำเนินการแก้ปัญหาตามหลักการที่กำหนดไว้นั้น ด้วยความมีสัจจะที่แน่นอนและมั่นคงว่า จะทดลองแก้ปัญหานั้นตามหลักการนั้นๆ จะสักกี่วันก็พยายามทำให้ได้ตามที่ตั้งใจ ถ้าไม่ได้ผลโดยวิธีปฏิบัติเช่นนี้ ท่านก็จะพบวิธีใดวิธีหนึ่งในใจของท่านเองจนได้ เพราะจิตที่ศึกษาสภาพย่อมเกิดการรู้ผลไปโดยอัตโนมัติ

ที่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ก็โดยอาศัยหลักค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ปฏิบัติ ค่อยๆ ติดตามดูจิตนั่นเอง เอาจิตศึกษาจิตแล้วก็เกิดความรู้สึกที่เป็นสภาวธรรม โดยผู้นั้นจะรู้ด้วยตนเองดีว่าสภาพจิตนั้นมันเป็นอย่างไร เพราะมันเป็นปัจจัตตัง เรื่องที่รู้เฉพาะด้าน ใครทำใครก็ได้ใครกินใครก็อิ่ม”


• สาระทางธรรมประดับแง่คิด
”ศีล สมาธิ ปัญญา จะเกิดมีในตัวเราก็ต้องปฏิบัติหรือเจริญธรรมตามหลักอริยมรรค จึงจะคลายหรือถอนกิเลสได้ ถ้าเพียงแต่อ่านหรือศึกษาก็ให้ผลดีเพียงขั้นต่ำคือก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความซาบซึ้ง รู้ว่าอะไรควรและไม่ควร ถึงจะละ ราคะ โทสะ โมหะได้นิดหน่อย ด้วยเหตุที่ยังรู้สึกละอายต่อความรู้อยู่ย้าง ผลของการเรียนรู้ก็คงช่วยให้เป็นคนดี ระดับกัลยาณชน ราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่ในใจ และจะแสดงอาการเป็นครั้งคราว จิตใจก็มืดเป็นครั้งคราว ไม่มืดตลอดชาติ ก็ยังนับว่าดีอยู่บ้าง

เมื่อเดินทางต้องอย่าหลงทิศทาง เพราะถ้าหลงทิศและเดินไปตามทางที่ตนหลงนั้น ก็ยิ่งนับวันจะไกลจุดหมาย ถ้าหลงทิศแล้วยืนอยู่กับที่ คอยถามคนอื่นที่เดินผ่านมาเพื่อให้แน่ใจก่อน แล้วจึงค่อยเดินทางต่อไป อย่างนี้มีโอกาสถึงเป้าหมายได้ ข้อนี้ฉันใด นักปฏิบัติธรรมที่ดีก็ไม่ควรหลงหลักธรรม เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุไม่ควรเกี่ยวข้องกับที่สุด ๒ อย่าง คือการมัวเมาหมกมุ่นอยู่กับกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) และไม่ควรทนมานตนให้ตึงเกินไป เช่น อดข้าว อดน้ำ เป็นสิบๆ วัน จนเกือบตาย เป็นต้น

ใครก็ตามที่มีสองหลักสำคัญๆ ที่ว่านี้ คนนั้นจะประสบความทุกข์แน่นอน ยิ่งมั่ว ยิ่งเสพกามคุณ ๕ เท่าไร ความเป็นตัวของตัวก็ยิ่งหมดไป ใจจะติดหรือตกเป็นทาสของสิ่งนั้นๆ โดยหมดความเป็นอิสระในตัว เหมือนคนเสพฝิ่น ยิ่งเสพ ยิ่งติด หิวและหงุดหงิดอยู่เรื่อย นี่คืออาการของคำว่าติด คนที่ติดตัวกามคุณก็เช่นเดียวกัน ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาแล้วจะเห็นได้ว่า ผู้นั้นเป็นผู้ที่น่าสงสารเหลือเกิน เพราะบางคนติดมากจนได้แต่หึงหวงและเป็นทุกข์ทรมานจิตใจเป็นแรมเดือนแรมปีก็มี แต่ก็อย่างว่านั่นแหละ คนที่เมาเหล้าก็ไม่เคยสมเพชตัวเอง คนที่เมากามคุณก็ไม่เคยสลดใจตนเองฉันนั้น ถ้าอยากมีความสุขแท้จริง หรือสุขที่บริสุทธิ์ปลอดภัย ให้ดำรงตนให้อยู่ในขอบเขตของศีล สมาธิ ปัญญา อย่ากระทำ พูด คิด ในทางที่ขัดต่อ ศีล สมาธิ ปัญญา อีกนัยหนึ่งก็คือ ให้ปฏิบัติตนตามหลักของมรรค ๘ อย่าใช้ชีวิตในทางที่ขัดต่อมรรค ๘ ชีวิตท่านก็จะพบกับความสุขใจ ความเอิบอิ่มใจที่บริสุทธิ์แน่นอน


• พรรษาที่ ๘ (พ.ศ.๒๔๘๗)
• ได้พบพระผู้เป็นบิดาแห่งกองทัพธรรม
เมื่อออกพรรษาแล้ว คณะธุดงค์ของหลวงปู่และพระอาจารย์คำภา ก็ยังคงปักหลักอยู่ที่ป่าช้าบ้านเชียงนั้นต่อไปอีกประมาณสองถึงสามเดือน จากนั้นเพื่อนสหธรรมิกผู้ร่วมธุดงค์จึงได้มาชวนหลวงปู่ไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านโคก โดยหลวงปู่เล่าให้ฟังว่า

“อาตมาก็คิดหน้าคิดหลังล่ะ เพราะเคยได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงปู่มั่นมาว่า ท่านรู้ใจคน ใครทำผิดอะไรมาหลวงปู่มั่นท่านจะทักท้วงเลยนะ อาตมาก็เลยกลัวไม่กล้าไป เพราะเราไม่รู้ว่าเราเคยทำผิดพระธรรมวินัยอย่างไร แต่พอคิดไปคิดมา ผิดก็ผิด ถูกก็ถูก ให้ท่านทักท้วงว่าไม่ดีซิ ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย จะสึกก็สึกไปเลย ดีกว่าไปกินข้าวชาวบ้านเขาเฉยๆ ไปหาท่านซิ ผิดพระธรรมวินัยตรงไหน อาบัติหนักหรืออาบัติเบา จะได้สำรวมระวังแก้ไขต่อไป

อาตมาก็ออกเดินทางจากอุดรฯ ราววันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๗ กระมัง เราเดินทางผ่านหมู่บ้านทุ่งฝน บ้านไผ่ล้อมอ้อมกอ ก็เย็นพอดี พวกเราก็ปักกลดอยู่ในป่าใกล้ๆ หมู่บ้าน เพราะไม่มีวัด พักอยู่ที่นั่นสิบกว่าวันก็เดินทางต่อ ผ่านหมู่บ้านดงเย็น เป็นบ้านที่มีวัดมานาน และมีพระเณรอยู่มิได้ขาดตลอดมา ในขณะนั้นหลวงตาหรั่งเป็นผู้อยู่เฝ้าวัด ส่วนหลวงพ่อพรหม จิรปุญฺโญ ผู้เป็นเจ้าอาวาส ไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านโคกยังไม่กลับมา

หลวงตาหรั่งรูปนี้มีโรคแปลกประหลาดประจำตัว อาจเป็นเพราะโรคกรรมเก่าชนิดหนึ่งกระมัง เมื่อท่านฉันอะไรลงไปเพียงไม่นาน ก็จะอาเจียนออกมาหมด เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดชีวิตของท่าน ถึงเวลาฉันก็ฉันเหมือนพระรูปอื่นๆ ทั่วไป แต่ฉันเสร็จก็อาเจียนออกมา โดยที่ท่านก็รู้สึกอิ่มเหมือนพระธรรมดาทั่วๆ ไป นี่หนอผลของกรรม เรามองไม่เห็นแต่มันก็เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเรา ออกจากบ้านดงเย็น ก็เดินทางมุ่งหน้าไปทางอำเภอสว่างแดนดิน แวะพักที่วัดของหลวงตาฮวด ขณะนั้นท่านไม่อยู่ พวกเราพักแค่คืนเดียว

ครั้งนั้นสงครามอินโดนจีนกำลังจะยุติลง จากอำเภอสว่างแดนดิน ต่อรถยนต์ไปถึงสกลนครเวลาเที่ยงคืน ไปพักที่วัดป่าสุทธาวาส ๒ คืน พอได้กำลังแล้วก็เดินทางต่อไปยังวัดป่าบ้านโคก ขณะนั้นหลวงปู่มั่นท่านอยู่บ้านโคก แต่ก่อนท่านก็เคยอยู่วัดป่าสุทธาวาสเหมือนกัน ชาวบ้านโคกเขามานิมนต์ให้ท่านไปอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านโคก (ปัจจุบันคือวัดป่าวิสุทธิธรรม อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) พอดีในขณะนั้นที่บ้านโคกก็มีท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ซึ่งท่านก็เป็นชาวบ้านโคกอยู่แล้ว เป็นผู้รับผิดชอบด้านการจัดเสนาสนะที่พักในวัดป่าบ้านโคก  ดังนั้นจึงได้เข้าไปกราบรายงานตัวต่อท่าน และรอเวลาเพื่อจะได้เข้าพบหลวงปู่มั่น

พอเกือบ ๒ ทุ่ม พระภิกษุสามเณรทุกรูปก็ไปรวมกันที่กุฏิของหลวงปู่มั่น เพื่อรับฟังการอบรมธรรมประจำวัน ขณะนั้นอาตมารู้สึกตื่นเต้นระทึกใจมาก เมื่อพระทุกรูปมาพร้อมกันแล้ว หัวหน้าคณะต่างๆ ก็รายงานตัวต่อหลวงปู่มั่น หลังจากนั้นไม่นาน ก็ถึงขั้นที่ฟังการอบรมสาระธรรม ในความสำคัญที่หลวงปู่มั่นนำมาแสดงในคืนนั้นคือ ช่วงแรก ท่านเล่าประวัติของท่านเองโดยย่อ จากนั้นท่านก็อธิบายพุทธพจน์ที่ว่า เยธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต  สิ่งทั้งหลายล้วนมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าก็ตรัสบอกเหตุของสิ่งเหล่านั้นไว้ โดยใจความของพุทธพจน์ข้อนี้ก็คือ ถ้าหมายถึงที่ตัวเราแล้ว เหตุทั้งหลายของคนเราก็ล้วนมาจากใจ ใจจึงเป็นมหาเหตุ ถ้าใจดี ใจสูง ใจประเสริฐ การทำ การพูด ก็พลอยดี และประเสริฐไปด้วย ดังนั้น จึงควรดูแลอบรมใจของตนให้ดี เพื่อให้ใจเป็นเหตุแห่งพฤติกรรมที่ดี ถ้าปล่อยปละละเลยจิตใจ ชาตินี้ทั้งชาติก็สิ้นหวัง เอาดีอะไรไม่ได้เลย เพราะใจมีแต่จะไหวไปในทางต่ำ ชีวิตก็มีแต่เสียหายเดือดร้อน ผู้ที่ปฏิบัติธรรมหรือผู้ที่รักตนทั้งหลาย ถ้าอยากให้ชีวิตก้าวหน้าแล้วจงคอยดูแลจิตใจของตนให้ดี”

หลังจากประชุมเสร็จ หลวงปู่จึงได้เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น พร้อมกับได้กราบเรียนท่านถึงจุดประสงค์ในการมาครั้งนี้ ซึ่งหลวงปู่มั่นท่านก็ได้เมตตาสอบถามข่าวคราวว่า “เป็นอย่างไรบ้าง สำหรับการไปวิเวกที่ผ่านมา จิตใจเป็นอย่างไรบ้าง ดีไหม มีอุปสรรคอะไรไหม เป็นพระก็มีความลำบากอย่างนี้ พระพุทธองค์ท่านลำบากกว่าเราหลายเท่านะ”

ในขณะที่หลวงปู่อยู่กับหลวงปู่มั่น ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี ๒๔๘๗ โดยหลวงปู่เล่าว่า “หลวงปู่มั่นท่านก็นำเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา มาแสดงอยู่เรื่อยๆ โดยท่านให้เหตุผลว่า คนเราต้องการดับทุกข์ หรือต้องการพ้นทุกข์ หนทางที่จะสมหวังก็คือ ต้องรู้เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา และต้องปฏิบัติให้เกิด ศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นในตน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เกิดอริยมรรคขึ้นในตน เพราะมรรค ๘ ย่อลงมาก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง การปฏิบัติเรื่องไตรสิกขานี้ ต้องปฏิบัติจนศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นในตัวเราจนเป็นเนื้อเดียวกัน จึงจะถือว่าสมบูรณ์แบบ มิใช่ว่าจะปฏิบัติเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะสิ่งทั้งสามนั้นต้องอิงอาศัยกันเป็นลูกโซ่ คือ ศีลที่เคร่งครัด กาย วาจา ก็เรียบร้อย ใจก็พลอยเป็นสมาธิ ปัญญาก็ละเอียดลุ่มลึก จึงอาจกล่าวได้ว่า ศีลเป็นรากฐานของสมาธิ สมาธิเป็นรากฐานของปัญญา อยากมีความสุข อยากห่างจากกองแห่งความทุกข์ จงใส่ใจในเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้ก็มิใช่ทางแห่งความสุขที่แท้จริง”  

หลวงปู่เล่าว่า ในระหว่างที่อยู่กับหลวงปู่มั่นช่วงนั้น ท่านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนธรรมกับพระอาจารย์ต่างๆ ที่อยู่ร่วมกันในระยะนั้น ซึ่งพระอาจารย์เหล่านั้นก็มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน ดังที่หลวงปู่เล่าให้ฟังต่างวาระกันว่า “อาตมากับอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ได้มีโอกาสพบกันสมัยอยู่กับหลวงปู่มั่นใหม่ๆ นั่นแหละ ดูเหมือนว่าตอนนั้นท่านอาจารย์สุวัจน์จะรีบไปจำพรรษาที่สุรินทร์กระมัง ออกพรรษาแล้วก็ยังได้พบเจอกันบ้างในแถบสกลนคร... ถามว่าสนิทกันมากมั้ย... ก็ไม่มากเท่าไร พอจะสมัครมักคุ้นกันเฉยๆ”

“ตอนอยู่กับหลวงปู่มั่นก็ได้มีโอกาสพบหลวงตามหาบัว พอได้พูดคุยกันบ้างแต่ไม่มาก เพราะต่างคนต่างปฏิบัติ ท่านเองก็เป็นคนไม่ค่อยพูด เราเองก็ไม่รู้จะพูดอะไร ทำตามหน้าที่ข้อวัตรของตน กุฏิท่านก็อยู่ทางหนึ่ง กุฏิเราก็อยู่ทางหนึ่ง ไม่นานท่านก็ออกไปวิเวกทางอื่น เลยไม่ได้จำพรรษาร่วมกัน จะมาเจอกันภายหลังก็ที่อุดรฯ ก็เมื่อต่างคนต่างมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแล้ว ว่าง่ายๆ เข้าไปอุดรฯ ก็เจอท่านไม่ยาก บางทีก็วัดโพธิ์ฯ (วัดโพธิสมภรณ์) หรือในงานครูบาอาจารย์

ช่วงปี พ.ศ.สามสิบกว่าๆ อาตมาทอดกฐินที่อุดรฯ เลยถือโอกาสเข้าบ้านตาดเยี่ยมคารวะท่าน”

หลวงปู่เล่าต่อไปว่า “อาตมายอมรับเลยว่า ในขณะนั้นอุปนิสัยของอาตมายังหยาบเหลือเกิน ด้วยอยู่ในวัยหนุ่มฉกรรจ์ ทั้งยังขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดการศึกษาเรียนรู้เท่าที่ควร การฟังหลวงปู่มั่นเทศน์อบรมสั่งสอนแต่ละครั้งก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ ก็เพระภูมิธรรมตามความรู้ของอาตมาในขณะนั้น ยังต่ำอยู่มาก ที่ว่าต่ำนั้นก็เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือประการแรก ขาดการศึกษาในทางปริยัติธรรม อย่างที่ว่ามาแล้ว เรียนจบมาก็เพียงแค่นักธรรมเอก ทางบาลีก็เรียนไม่จบ ไม่ได้เปรียญธรรมอะไรสักอย่าง และประการที่สอง ก็คือว่าอาตมายังอยู่ในวัยคะนอง (ไฟราคะกำลังร้อนจัด)

ดังนั้น เวลาที่รับฟังคำอบรมเทศนาจากหลวงปู่มั่นในบางคราวบางขณะ ก็เหมือนกับความฝัน คือไม่ได้ซาบซึ้งเข้าสู่จิตใจอะไรเท่าไร เสร็จการอบรมแล้วก็ลืม ไม่ได้กำหนดจดจำในรายละเอียดเท่าใดนัก มาคิดได้ทีหลังก็เมื่อโอกาสนั้นผ่านไปแล้ว มิได้ตักตวงเอาประโยชน์จากคำสอนของท่าน ทั้งๆ ที่มีโอกาส เพื่อเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ได้สักเท่าไรเลย ก็เพราะไฟตัณหาราคะนี้เองที่เป็นเครื่องปิดกั้น

แต่ถึงกระนั้นก็ดีเมื่อมีสติสำนึกได้ ก็ได้พยายามจับเอาความหมายจากท่าน ที่ได้แสดงอบรมบรรยายธรรมเข้ามาสู่ใจไว้ได้บ้าง ไหนๆ ก็ได้พบได้อยู่ใกล้ครูอาอาจารย์แล้ว ไม่ได้มากก็น้อย ยังดีกว่าไม่ได้เลย

ดูเหมือนว่าหลวงปู่มั่นจะรู้ความคิดของอาตมา ในบางครั้งท่านจะเทศน์กระทุ้งอาตมา เพื่อเคาะเอากิเลสที่ค้างคาอยู่ในจิตใจออกเสียบ้าง พอให้ได้รู้สึกละอาย ทำให้กลับใจมาทำความเพียรปฏิบัติธรรมมากขึ้น บางคราวท่านจะเทศน์ดักคอ จี้ถูกใจดำอย่างชัดแจ้ง ถึงคนอื่นจะไม่รู้ แต่ตนของตนย่อมรู้ดี ว่าท่านหมายถึงใครเรื่องอะไร รับฟังแล้วก็ต้องสะดุ้งสะเทือนอยู่ในใจ ไม่กล้าคิดอะไรให้นอกลู่นอกทางสมณวิสัยเป็นอันขาด”

หลวงปู่เล่าว่า เมื่อท่านโดนหลวงปู่มั่น เคี่ยวบ่อยเข้า สภาวะจิตของท่านก็เข้าที่ หันกลับมาตั้งใจเอาใจใส่ต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนา ด้วยความบากบั่นต่อไป

โดยหลวงปู่มั่นท่านเตือนว่า ”ยังไม่สายเกินไปที่จะกลับตัวกลับใจ เวลาที่ล่วงเลยไปนั้นมีค่า ถึงเสียไปแล้วก็ตั้งต้นใหม่ยังสำเร็จได้ถ้าเอาจริง”

จากนั้นหลวงปู่ได้เร่งความเพียรในระยะหลัง ได้ดีพอสมควร โดยมิได้ท้อถอย นอกจากนี้ หลวงปู่ท่านยังกล่าวต่อไปอีกว่า “อาตมายอมรับนะว่าใหม่ๆ เมื่อเข้าไปอยู่ในสำนักของหลวงปู่มั่น จิตใจของอาตมาก็ตื่นเต้น และสนใจในการปฏิบัติดีอยู่ และก็รู้สึกยำเกรงในอำนาจบารมีของหลวงปู่มั่นมาก อย่างครั้งหนึ่งอาตมากำลังกราบพระอยู่ก็กราบพร้อมๆ กับหมู่เพื่อนนั่นแหละ แต่ ท่านจี้มาที่อาตมาเลยนะ ท่านว่า ท่านหลอดนี้กราบไม่ถูกนะโม ไม่รู้จักเบญจางคประดิษฐ์หรือไง ขาสอง แขนสอง หัวหนึ่ง กราบให้มันไปเสมอกันซิ เอ้า! กราบใหม่ กราบไม่ถูกศีลห้าเลย อะไรกันบวชมาก็หลายพรรษายังกราบไม่ถูกอีก ที่โดนหลวงปู่มั่นตำหนิ ก็เพราะอาตมากราบไม่ถูก กราบแบบป๊อบแป๊บๆ แล้วก็ไป

นี่พอเห็นโยมกรุงเทพฯ สมัยนี้กราบนี่ หัวไม่ได้แตะพื้นเลย ยังสลอนอยู่เลย เอามือแตะพื้นสามทีเสร็จ อาตมามองเห็น ก็นั่งขำล่ะซิ นึกถึงคำหลวงปู่มั่นทันที ตอนนั้นนะครูบาอาจารย์และหมู่เพื่อนก็อยู่กันเต็มที่นั่นเลย อาตมารู้สึกอายขายขี้หน้าอย่างยิ่ง

หลังจากอยู่กับท่านไม่นาน ความตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรมกรรมฐานก็เริ่มลดน้อยถอยลง จนต้องถูกหลวงปู่มั่นจี้เอาหลายๆ ครั้ง จึงได้ดีและเอาดีจนได้ในภายหลัง



หัวข้อ: Re: หลวงปู่หลอด ปโมทิโต จากหนังสือ ปโมทิตเถรบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟัง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 มกราคม 2562 14:46:18
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11700233982668_a1.gif)

• ทฤษฎีจะแจ่มชัด เมื่อปฏิบัติด้วยตัวเอง
หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า “เป็นนโยบายอย่างหนึ่งของหลวงปู่มั่นที่ต้องการให้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมจากท่านแล้ว ออกธุดงค์แสวงหาวิเวก เพื่อพิสูจน์หลักการที่ได้รับจากการอบรมว่า เมื่อได้นำไปปฏิบัติในสนามรบจริงๆ แล้วจะเกิดผลเช่นไร ผู้นั้นมีความพร้อมความชำนาญที่จะออกสนามรบเพื่อขับเคี่ยวกับข้าศึกศัตรูภายในอันสำคัญ คือกิเลส ตัณหาทั้งหลายซึ่งมีมารเป็นหัวหน้า  ทั้งนี้ เพราะประสบการณ์จากตนเองโดยตรงนั้น ย่อมแจ่มชัดและมั่นใจได้กว่าการฟังจากคนอื่น ความชำนาญในการรบ ต้องหาจากสนามรบประสบการณ์จริง จะแพ้หรือจะชนะนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจิตใจและสติของเรา ที่คอยควบคุมบังคับสั่งการอยู่ พร้อมด้วยความเพียรและปัญญา อาศัยขันติมาประกอบเป็นกำลังสำคัญ

โดยที่หลวงปู่มั่นได้บอกอุบายและยุทธวิธีพิชิตศึกให้เป็นแบบอย่างและแนวทางในการดำเนินการให้แล้ว เหลือแต่เราที่จะต้องน้อมนำเอาคำสอนนั้นมาใช้ในชีวิตจริง ในสนามรบจริงให้ได้ตามคำสอนเท่านั้น

ข้าศึกแต่ละตัวนั้นก็มีอันตราย ภัยร้ายกาจแตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ให้เข้าใจถึงวิธีการเอาชนะ และเข้าใจในลักษณะนิสัยของมัน ทำความรู้จักกับมันในทุกด้านโดยละเอียด เมื่อถึงคราวที่มันโผล่มาให้เห็นจะได้ฟาดฟันกับมันได้ถูกต้องและถูกวิธี หรือในบางครั้งก็อาจติดตามไปขุดค้นหาแล้วฆ่ามันให้ตายให้หมดไปจากจิตจากใจ ซึ่งข้าศึกพวกนี้มักแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในที่ลึก หรืออยู่ใกล้ชิดติดกับใจเราเองมาก จนไม่อาจแยกแยะ หรือไม่รู้ตัวว่าเจ้าสิ่งนี้ที่แท้จริงก็คือศัตรูตัวฉกาจที่น่ากลัวตัวหนึ่ง หากรู้ไม่เท่าทัน ก็จะต้องครอบงำและกุมจิตใจเอาไว้ จนตกเป็นทาสของมันตลอดไป

ท่านว่า สนามรบที่สำคัญที่สุดนั้นอยู่ภายในกาย ในใจเรานี่เอง หากว่าเรารบชนะภายในได้ ศึกภายนอกนั้นก็ไม่ยาก เพราะข้าศึกภายนอกนั้นจะมองเห็นตัวตนได้ง่ายกว่าข้าศึกภายใน

อาตมาและพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาพาโส ก็ตกลงกันว่าจะออกวิเวกร่วมกัน จึงได้เข้าไปกราบขออนุญาต ลาหลวงปู่มั่นเพื่อออกธุดงค์แสวงหาประสบการณ์ ซึ่งหลวงปู่มั่นท่านได้กล่าวอบรมก่อนไปว่า ไม่เคยมีใครบรรลุธรรมด้วยการอยู่ไปกินไป นอนไปตามใจชอบ โดยไม่มีการฝึกจิตทรมานใจ ใครจะไปวิเวกก็ไปได้

การธุดงค์ครั้งนั้น อาตมากับพระอาจารย์บัวพาได้มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ล่องลงมาตามเขาภูพานในเขตจังหวัดสกลนคร เข้าสู่อำเภอเมือง และแวะพักที่วัดธาตุนาเวงหนึ่งคืน แล้วเดินทางต่อผ่านบ้านนาศรีนวล บ้านจันทร์เพ็ง จนถึงบ้านนาเต่างอย จึงได้แวะพักกับพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร หนึ่งคืน  ขณะนั้น พระอาจารย์วิริยังค์ กำลังสร้างสำนักสงฆ์แห่งใหม่อยู่ในป่าช้าเผยแผ่ธรรมอยู่ในเขตตำบลบ้านบึงสานาเต่างอย และกำลังมีชื่อเสียงในด้านการเผยแพร่

จากนั้นก็ได้เดินทางขึ้นสู่เขาภูพานอีก โดยเดินขึ้นเขาลงเขาไปตลอด บางช่วงก็ลำบากยากยิ่งในการเดิน จนบางครั้งก็ทำให้อาตมาเกิดความรู้สึกว่าเรามีกรรมอะไรหนอ จึงต้องมาทรมานกับความยากลำบากเช่นนี้ ต้องเผชิญกับความเหน็บหนาวเช่นนี้ ทั้งเสี่ยงกับอันตรายทั้งจากสัตว์ร้ายและไข้ป่า จนกระทั่งถึงความตาย

แต่ความคิดอีกฝ่ายหนึ่งก็ว่า ตายเป็นตายเราไม่ควรกลับ เพราะเราตัวคนเดียว ทรัพย์สมบัติก็ไม่มี นอกจากบริขารแปดเท่านั้น ไม่มีอะไรต้องห่วงแม้แต่ชีวิตของตนเอง นี่คือความคิดที่เกิดขึ้นต่อสู้กันเองอยู่ภายใน เมื่อฝ่ายที่คิดดีชนะ เราก็ทำความดีได้ต่อๆ ไป เป็นอยู่อย่างนี้ ในบางครั้งกว่าจะดั้นด้นลงถึงเชิงเขาภูพาน ที่บ้านกวนบุ่นก็เกือบมืดแล้ว คณะของอาตมาจึงแวะพักที่โรงเรียนประชาบาลของหมู่บ้าน

เราพักที่นี่เพียงไม่นาน ก็มีญาติโยมมาสนทนาด้วยหลายคน อาตมาได้บอกให้โยมคนหนึ่งไปเชิญผู้ใหญ่บ้านออกมาพบ ไม่นานท่านผู้ใหญ่บ้านก็ออกมา เราสนทนาพาทีกันหลายเรื่อง ได้ทราบว่าหมู่บ้านนี้เป็นคริสต์เกือบทั้งหมด และไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนี้นักก็มีถ้ำ แต่เป็นถ้ำเล็กๆ พออาศัยอยู่ได้สองถึงสามคน อาตมาได้บอกกับผู้ใหญ่บ้านว่า เอาไว้พรุ่งนี้เช้าหลังจากบิณฑบาตและฉันจังหันแล้วจะขึ้นไปดู ขอให้ชาวบ้านช่วยจัดหาคนนำทางไปด้วย

รุ่งเช้าอาตมาและพระอาจารย์บัวพาได้ออกบิณฑบาต ได้มีญาติโยมมาใส่บาตร และใส่อาหารมากพอสมควร ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์ก็ตาม แต่ก็ยังมีใจที่จะสงเคราะห์ช่วยเหลือพระภิกษุต่างศาสนา

หลังจากฉันจังหันแล้ว จึงได้ชักชวนชาวบ้านให้พาไปสำรวจดูถ้ำที่ว่านั้น ว่าจะพออาศัยพักอยู่ได้หรือไม่ มีชาวบ้านอาสาที่จะติดตามไปด้วยประมาณสิบคน เมื่อไปถึงได้เห็นถ้ำแล้วก็พอใจ จึงได้ช่วยกันทำความสะอาดจนพอพักอาศัยได้ กะว่าจะอยู่พักปฏิบัติที่ถ้ำนี้สักระยะหนึ่ง

ถ้ำที่บ้านกวนบุ่น อยู่ห่างจากหมู่บ้านไม่ไกลมากนัก คือประมาณหนึ่งกิโลเมตร เวลาพลบค่ำคณะญาติโยมก็พากันกลับบ้าน ก่อนกลับบ้าน โยมคนหนึ่งได้ถามขึ้นว่า พระคุณเจ้าทั้งสองจะอยู่ที่นี่สักกี่วัน อาตมาตอบว่าไม่มีกำหนดที่แน่นอน ทั้งนี้แล้วแต่สถานการณ์

ในคืนแรกอาตมาก็ตั้งใจเป็นอย่างดี นั่งสมาธิ เดินจงกรม สลับกันไป พอเกือบ ๒ ทุ่มก็ได้ไต่ขึ้นหลังภูเขา เพื่อตากอากาศ เดินจงกรม สลับกันไป พอเกือบ ๒ ทุ่มกว่าๆ ก็กลับลงมาที่ถ้ำ ทำกิจวัตรประจำวัน คือตั้งแต่ไหว้พระสวดมนต์ แล้วก็ตามด้วยทำความเพียรจนดึกดื่น โดยที่อาตมาไม่รู้สึกง่วงเลย ยอมรับว่าคืนนั้นจิตใจหวั่นๆ ต่อภัยจากสัตว์ป่าเป็นอย่างมาก เลยไม่กล้านอน จึงได้ทำความเพียรตลอดคืน ที่พึ่งอันประเสริฐที่แสนอุ่นใจของอาตมาคือ คุณของพระรัตนตรัย”


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ9PMto-SPlIYSwbTqEXLFRsk1NoQRg_dhYghypXmHu-uSPGO6Z9A)
มีต่อ


หัวข้อ: Re: หลวงปู่หลอด ปโมทิโต จากหนังสือ ปโมทิตเถรบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟัง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 กุมภาพันธ์ 2562 16:12:19
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11700233982668_a1.gif)

• พรรษาที่ ๘ (พ.ศ.๒๔๘๗)
• เครื่องอยู่ของผู้ครองเรือนและพันธะ ๓
ระหว่างที่หลวงปู่และหลวงปู่บัวพา พักปักกลดอยู่ที่บ้านกวนบุ่งแห่งนั้น หลวงปู่ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนญาติโยมที่มากราบขอฟังธรรมจากท่าน ซึ่งก็มีทั้งคนหนุ่มสาว เฒ่าชแรแก่ชรา ก็มากมาย หลวงปู่เล่าถึงเรื่องที่ท่านเทศน์อบรมสั่งสอนบุคคลเหล่านั้นว่า “ถ้าเป็นหนุ่มสาว อาตมาก็จะสอนให้เขารู้จักธรรมของการครองเรือน ซึ่งควรยึดถือปฏิบัติในทางที่ถูกที่เหมาะสม

ผู้ที่จะให้ครอบครัวมีความสุขได้ จะต้องปฏิบัติตามปัจฉิมทิศคือทิศเบื้องหลังอันหมายถึง สามีพึงบำรุงภรรยาด้วยสถาน ๕ อย่างคือ
๑. ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา
๒. ด้วยไม่ดูหมิ่น
๓. ด้วยไม่ประพฤติล่วงนอกใจภรรยา
๔. ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้
๕. ด้วยให้เครื่องแต่งตัว

ส่วนภรรยาเมื่อได้รับบำรุงเช่นนี้แล้ว ก็ควรอนุเคราะห์ตอบแทนแก่สามีด้วย ๕ สถานเช่นเดียวกัน คือ
๑. จัดการงานดี
๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี
๓. ไม่ประพฤติล่วงใจสามี
๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
๕. ไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง

สำหรับสุขของคฤหัสถ์นั้น คือ
๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค
๓. สุขเกิดแต่การไม่เป็นหนี้
๔. สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

ส่วนคนเฒ่าคนแก่ อาตมาจะสอนให้รักษาศีล เจริญภาวนา และให้ถือศีลอุโบสถ คนเฒ่าคนแก่นี้มีอยู่อย่างหนึ่ง คือห่วงลูกห่วงหลานดังที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า ความรักลูกเหมือนห่วงผูกคอ ความรักสิ่งของเหมือนปอผูกศอก ความรักไร่นาสาโทเหมือนปลอกสวมตีน ใครแก้สามปลอกนี้ได้เข้าสู่พระนิพพาน จะไปห่วงอะไรกับมัน จะไปเฝ้าไปห่วงอะไรกับมันเราก็ปฏิบัติภาวนาเข้าสิ ละให้ได้นะ พันธะสามอย่างนี้จะได้ไปนิพพาน ไม่ต้องไปห่วงหรอก สักวันลูกหลานก็ต้องได้ไปนิพพานด้วยกันแหละ แต่ข้าวของ ไร่นาไปนิพพานไม่ได้นะ เพราะไม่มีใจครอง พุทโธๆ เข้า”

หลวงปู่ท่านมักจะเทศน์อบรมอย่างนี้ให้กับชาวบ้านกวนบุ่น ที่มาขอฟังธรรมจากท่านอยู่เป็นประจำ ตลอดระยะเวลาสองเดือนที่ท่านพำนัก ปักกลดอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78999466987119_paragraph_45_930_1_320x200_.jpg)
หลวงปู่บัวพา ปญฺญาพาโส
วัดป่าพระสถิต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

• หลวงปู่บัวพาปราบผีฟ้าผีแถน
ก็เป็นธรรมดาของชาวบ้าน ซึ่งมักจะต้องหาหลักที่พึงทางใจในยามทุกข์ยาก โดยส่วนมากในสมัยก่อน ตามบ้านนอกบ้านนาแถบชนบทท้องถิ่นห่างไกลความเจริญ อย่างที่หมู่บ้านกวนบุ่นนี้ก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์ ตามคำสอนตามบาทหลวงที่ได้เคยมาเผยแผ่ศาสนาแก่ชาวบ้านในแถบนี้ แต่โดยส่วนลึกในจิตใจของชาวบ้านแล้ว คงจะนับถือผีอยู่ก่อนแล้ว และสืบทอดเป็นความเชื่อต่อๆ กันมาหลายรุ่น เพราะส่วนใหญ่ยังมีความยึดถือในอิทธิฤทธิ์ของพวกผีฟ้าผีแถนฝังลึกอยู่ในจิตใจจนยากที่จะถอนได้ง่าย

ดังนั้นภายในหมู่บ้านจึงมักจะมีผู้ทำหน้าที่เป็นหมอผีประจำหมู่บ้าน คอยเป็นสื่อกลางติดต่อระหว่างผีกับชาวบ้าน ในลักษณะเป็นคนทรงเจ้าเข้าผี ซึ่งเมื่อเกิดมีเหตุหรือเรื่องราวอันใดที่ทำให้เดือดร้อนก็มักจะเชิญหมอผีประจำหมู่บ้านคนนี้ไปประทับทรง เพื่อที่จะได้ถามไถ่ดูว่าเกิดมาจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร แม้แต่จะป่วยไข้อะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นหนักหรือเบา ก็มักจะให้คนทรงผีรักษา ซึ่งเป็นค่านิยมความเชื่อถือที่ผิดๆ

หลวงปู่เมตตาเล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ตอนนั้นว่า
“วันหนึ่งมียายแก่ ๒ คน พร้อมกับหลานหนุ่มอีกคน ขึ้นไปหาพวกอาตมา ยายคนหนึ่งเป็นคนทรงประจำหมู่บ้าน มีอายุเกือบ ๖๐ ปี แกชื่อแม่คำตัน แกได้ทรงผีปู่ตามานานหลายปีแล้ว แต่ป่วยกระเสาะกระแสะบ่อยเหลือเกิน คงเป็นเพราะการนับถือผีปู่ตานี้แน่แท้ สามวันดีสี่วันไข้ เป็นอย่างนี้มาประมาณสามสิบกว่าปีแล้ว คือนับตั้งแต่นับถือผีเริ่มถือผีตลอดมา ทีนี้เกิดเบื่อหน่ายอยากจะเลิก ก็เลิกไม่ได้ ชีวิตก็ลำบากมาก จะทำอะไรหรือว่าเกิดอะไรขึ้นก็ผิดผีทั้งนั้น ต้องคอยระวังตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นอันมีความสุขสบายเลย สุขภาพสังขารก็แย่ลงมาก เดี๋ยวนี้ จะเลิกทำก็มีปัญหา เพราะถูกผีมันบังคับ จะเลิกก็ไม่ได้ พอทราบว่าอาตมาธุดงค์มาปักกลดอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน แกว่า... ดิฉันจึงได้มาหาพระคุณเจ้าเพื่อให้ช่วยทำพิธีออกจากการนับถือผี ขอได้โปรดเมตตาดิฉันบ้าง..”

หลวงปู่จึงได้ถามแม่คำตันว่า “แล้วทำไมถึงคิดอยากจะเลิกจากเป็นคนทรงเสียล่ะ”

แม่คำตันจึงบอกว่า “ก็ดิฉันได้เกิดฝันประหลาดขึ้นมาว่า ขณะที่ดิฉันนั่งอยู่ในบ้าน ก็มีชายรูปร่างสูงดำเข้ามาร้องว่าให้ไปกับเขา ก็พอดีมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งก้าวเข้าประตูมา พลางพูดว่า ให้ไปกับท่านจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้”

แม่คำตันกล่าวต่อไปว่า ในความฝันแกก็ได้คิดลังเลอยู่ในใจว่าจะไปกับใครดี ตัดสินใจไม่ถูกอยู่เช่นกัน จะไปกับพระก็กลัวผีจะไม่พอใจ เพราะตัวเองนับถือผีอยู่แล้ว แต่อีกใจหนึ่งก็คิดว่า พระท่านคงมีดีของท่านแน่ จึงได้มาชวนให้ไปกับท่าน ในนาทีสุดท้ายแกจึงได้ตัดสินใจไปกับพระรูปนั้น ก็พอดีสะดุ้งตื่นขึ้นมา จากนั้นไม่นานก็ได้ข่าวว่ามีพระธุดงค์มาพักอยู่ที่นี่ จึงได้รีบมากราบ ขอท่านเป็นที่พึ่งนั่นแหละ

หลวงปู่จึงได้ปรึกษากับหลวงปู่บัวพา จากนั้นก็ให้แม่คำตันจุดเทียนบูชาคุณพระรัตนตรัย และให้รีบสมาทานศีลห้า แล้วหลวงปู่บัวพาก็กล่าวนำสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

พอแม่คำตันเริ่มสวดพุทธคุณ ไปได้ไม่กี่คำก็เริ่มมีอาการตัวสั่นเทา แล้วชักกระตุกอย่างแรง ตัวแม่คำตันเองก็นั่งหลับตา เหมือนคนเคลิ้มไม่รู้สึกตัว เป็นอาการเริ่มต้นของผีเข้า หลวงปู่บัวพาท่านจึงได้เข้าสมาธิภาวนา แล้วทำน้ำมนต์ พอเสร็จแล้วก็เอาน้ำมนต์นั้นมารดที่ร่างของแม่คำตัน ทำให้ร่างนั้นสั่นเทิ้มและร้องลั่นออกมาว่า “โอ๊ย!...ไม่เอาข้าอยากกินเหล้า ไม่อยากกินน้ำอันนี้ น้ำอันนี้ข้าไม่เอาข้าจะเอาเหล้า”

ร่างแม่คำตันก็พูดวนเวียนอยู่อย่างนั้น หลวงปู่บัวพาจึงรดน้ำมนต์ลงไปอีกครั้ง แล้วท่องบ่นทำปากพึมพำ แล้วเป่าพรวดไปที่ร่างของแม่คำตันอีกหลายครั้ง จนกระทั่งร่างแม่คำตันร้องออกมาว่า “ยอมแล้ว ยอมแล้ว กลัวแล้วจะออกไปเดี๋ยวนี้”

เมื่อพูดจบร่างของแม่คำตันก็หงายหลัง ล้มตึงลงบนพื้น พวกที่ไปด้วยก็ช่วยกันปฐมพยาบาล นวดเฟ้นอยู่ครู่หนึ่ง แม่คำตันจึงได้ฟื้นคืนขึ้นมามีอาการเหมือนคนพึ่งตื่นนอนใหม่ๆ และอาการผิดปกติก็หายหมดไปกลับกลายเป็นคนละคนต่างไปจากเมื่อสักครู่ จากนั้นก็สวดอิติปิโสฯ ต่อจนจบ

เมื่อเสร็จพิธีแล้วหลวงปู่จึงได้ให้โอวาทกับแม่คำตันว่า “เอาละ หมดทุกข์หมดโศกเสียที เคราะห์กรรมต่างๆ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว นับจากนี้ไปก็ขอให้โยมจงหมั่นสวดมนต์ภาวนา และไหว้พระเป็นประจำทุกวัน และหาเวลาเข้าวัดปฏิบัติธรรมเสียบ้าง จะได้เป็นการดีแก่ตัวเอง เรื่องร้ายๆ ก็จะได้ไม่เกิดขึ้นมาอีก ขอให้ตั้งมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ท่านจะได้คุ้มครองเราให้เป็นสุข”

ข่าวการไล่ผีออกจากร่างของแม่คำตันได้แพร่กระจายออกไปทั่วภายในไม่กี่วันหลังจากนั้น ก็ได้มีชาวบ้านอีกหลายคนพากันมานมัสการหลวงปู่ทั้ง ๒ เพื่อให้ช่วยทำพิธีขับไล่ผีให้ จนชื่อเสียงของท่านทั้งสองดังไปทั่วทั้งหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ได้เลิกนับถือผี และหันมาสนใจพระพุทธศาสนากันมากขึ้น

ชาวบ้านกวนบุ่นก็ได้อยู่กันอย่างสงบสุขไม่มีผีตนไหนมารบกวนอีกเลย 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44495871787269_4.JPG)
กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดภูริทัตตถิราวาส บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

• กลับมาอยู่กับหลวงปู่มั่นอีกครั้ง
หลวงปู่กับหลวงปู่บัวพาอยู่บำเพ็ญสมณะธรรมที่บ้านกวนบุ่นเป็นระยะเวลา ๒ เดือนเศษ เมื่อย่างเข้าเดือนเมษายนฝนก็เริ่มตกลงมาบ้าง ทีนี้หลวงปู่เกิดอาพาธด้วยโรคไข้ป่า อาการหนักมาก โดยหลวงปู่ท่านได้เล่าเหตุการณ์ครั้งนั้นให้ฟังว่า “เป็นของหนักขนาดที่ว่ายาขนานไหนใช้ลงไปก็ไม่ดีขึ้น เพราะสมัยนั้นวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่เจริญ พอมียาอะไรก็ใช้ไปตามยถากรรมนั่นแหละ ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกสมุนไพรที่หาได้ในละแวกนั้น เมื่ออาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้ตกลงกับอาจารย์บัวพา ว่าจะกลับไปที่บ้านโคกเพื่อกราบพึ่งบารมีของหลวงปู่มั่น รุ่งเช้าเมื่อฉันเช้าเสร็จก็บอกลาญาติโยม ญาติโยมทั้งหลายมาคอยส่งอาตมาอยู่มากมาย เกือบเที่ยงจึงได้ออกเดินทาง ปีนป่ายขึ้นเขาลงเขา พอพ้นเขตภูเขาก็ถึงบ้านจันทร์เพ็ง

จากนั้นก็เป็นบ้านนาเต่างอย ซึ่งขณะนั้นท่านอาจารย์วิริยังค์ก็ได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นแห่งหนึ่ง พวกเราก็แวะพักกับท่านสามคืน ท่านช่วยรักษาเยียวยาให้จนอาการทุเลาเป็นอย่างมาก แล้วพวกเราก็ลาท่านออกเดินทางต่อไปถึงวัดป่าบ้านโคก ประมาณห้าโมงเย็นก็เข้ากราบรายงานการออกธุดงค์ต่อท่านพระอาจารย์กงมาให้ได้ทราบ

พอ ๒ ทุ่มก็ไปร่วมประชุมที่กุฏิของหลวงปู่มั่น เพื่อฟังโอวาท หรือรับการอบรมประจำวัน เมื่อพระเณรลงมาพร้อมกันแล้ว พวกเราจึงได้กราบรายงานถึงรายละเอียดต่างๆ ให้ท่านได้รับทราบ จากนั้นท่านก็เริ่มแสดงธรรมเกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา โดยใช้เวลาแสดงประมาณ ๓ ชั่วโมง เป็นอันว่าตั้งแต่เดือนเมษาฯ จนกระทั่งออกพรรษา อาตมาได้พำนักอยู่กับหลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านโคก

ระหว่างพรรษานี้เอง อาตมาเกิดเป็นไข้ป่ากำเริบ หลวงปู่มั่นท่านไม่ให้ฉันยา ท่านให้ภาวนารักษาตัว ท่านเทศน์ว่า อย่าไปยึดติด ที่สุดอาตมาก็หายได้ด้วยกำลังของการภาวนา   


• ข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
หลวงปู่ท่านได้ทบทวนถึงข้อวัตรปฏิบัติ ในยุคที่ได้เข้าไปรับการอบรมกับหลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านโคกว่า “อาตมาตื่นจากจำวัดประมาณตี ๓ ตี ๔ แล้วก็ทำวัดสวดมนต์ การทำวัตรของที่นี่ท่านให้ทำใครทำมัน โมงเช้าก็ออกบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตก็เตรียมจัดอาหารถวายหลวงปู่มั่น ราวๆ ๘ โมงกว่าก็ฉันอาหาร ฉันเสร็จต่างคนต่างประกอบกิจ กิจใครกิจมัน แล้วจึงแยกย้ายกันไปภาวนา ประมาณบ่าย ๓ โมงก็กวาดลานวัดถูศาลา ตักน้ำใส่ตุ่มและเตรียมทำอาจริยวัตร ก็คือสรงน้ำหลวงปู่มั่นนั่นแหละ จากนั้นประมาณ ๒ ทุ่ม หลวงปู่มั่นก็อบรมพระภิกษุสามเณรจนถึงเที่ยงคืนทุกวัน วันไหนท่านอาพาธท่านจึงเว้นไป

ส่วนข้อวัตรประจำองค์ท่าน ที่หลวงปู่มั่นยึดถือปฏิบัติคือ ท่านถือธุดงควัตร ฉันหนเดียว ฉันในบาตรตลอด บิณฑบาตไม่ขาด นอกจากท่านอาพาธ ถึงขั้นไปไหนไม่ได้จึงเว้น จากนั้นก็ล้างบาตร เมื่อเสร็จท่านจึงกลับกุฏิ เที่ยงวันท่านถึงได้พักผ่อน บ่าย ๓ โมงจึงออกมา ๕ โมงเย็นสรงน้ำ ๒ ทุ่มเทศน์อบรมพระภิกษุสามเณร

ขณะนั้นก็มีพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ (ตอนนั้นท่านพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านนาหม่น ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่นี่มากนัก) และพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ทั้ง ๒ ท่านนี้ปฏิบัติหลวงปู่มั่นอยู่ ซึ่งพระอาจารย์กงมาเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับภิกษุสามเณรที่เข้ามาพำนักที่บ้านโคก เป็นผู้เฝ้าดูแลจัดวาระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ดูว่าพระองค์ไหนปฏิบัติหลวงปู่มั่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ท่านเป็นผู้จัดวาระเองทั้งหมด บางทีท่านไม่สบายก็นวด

ส่วนอาตมานั้น หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า อาตมานี้รูปธรรมนามธรรมคือไปนวดท่านแล้วท่านไม่สบาย โดยท่านบอกว่ามือของอาตมาร้อนเกินไป ให้องค์อื่นมานวดแทน และให้อาตมาไปทำข้อวัตรอย่างอื่น ตอนนั้นอาตมาจึงได้รับหน้าที่เทกระโถน ดูแลปัดกวาดกุฏิ ทำความสะอาดศาลา นำบาตรท่านมาวาง ปฏิบัติอยู่อย่างนั้นในช่วงที่มาพักอยู่กับหลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านโคก (ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ นั้น)

เท่าที่อาตมาจำได้มีพระเณร ที่พักอยู่ร่วมจำพรรษาด้วยกันคือ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์เนตร สีลกนฺโต, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส (เนื่องจากท่านลาสิกขา ต่อมาได้อุปสมบทใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ พระอุปัชฌาย์จึงให้ฉายาใหม่ว่า จารุวณฺโณ) พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาพาโส พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม พระอาจารย์คำดี (ไม่ทราบฉายา), พระอาจารย์บุญมา (ไม่ทราบฉายา), พระอาจารย์มนู (ไม่ทราบฉายา), เณรดี, เณรใด, และอาตมา

พูดถึงอาจารย์ทองคำทีไรก็อดที่นึกถึงเรื่องนี้ไม่ได้ คือท่านชอบนอนไหล เรื่องนี้ถึงขนาดที่หลวงปู่มั่นดุเอาเลยทีเดียว แต่ท่านก็แก้ไม่หาย คืออาการนอนไหลเนี่ยเป็นลักษณะที่ว่านอนไม่รู้สึกตัว ท่านจะฝันไปหรือไปเห็นอะไรก็ไม่ทราบ ท่านจะมีอาการคล้ายนอนละเมอ ส่งเสียงรบกวนคนข้างๆ จนต้องลุกไปปลุกท่าน แต่ปลุกเท่าไรก็ไม่ตื่น

มีอยู่ครั้งหนึ่ง อาตมากำลังภาวนาใกล้กับบริเวณที่อาจารย์ทองคำหลับอยู่พอดี ปรากฏว่าท่านเกิดอาการเช่นเดิมอีก อาตมาจึงลุกไปปลุกท่าน แต่ทำอย่างไรก็ไม่ตื่น อาตมาเลยนึกเล่นๆ ว่า หรือเราจะลองกำหนดจิตไปปลุกท่านดูเผื่อจะตื่น จากนั้นอาตมาจึงกลับมานั่งภาวนาตามเดิม พร้อมกับกำหนดจิตสมมติว่า ตนลุกขึ้นเดินเข้าไปปลุกอาจารย์ทองคำ แล้วจึงถอยออกมา จากการกำหนดจิต ปรากฏว่าคราวนี้ได้ผล ท่านตื่นแล้วหันมาถามอาตมา... ท่านอาจารย์กำหนดจิตมาปลุกผมรึ? ... อาตมาก็มิได้ตอบอะไร เพียงแต่ยิ้มเฉยๆ”

ส่วนญาติโยมชาวบ้านโคกนั้นหลวงปู่ได้เล่าว่า “ในวันพระก็มีญาติโยมเข้าไปวัด แต่หลวงปู่มั่นท่านไม่ค่อยเทศน์ ถึงแม้จะเทศน์ชาวบ้านก็ไม่รู้เรื่อง นอกจากให้ระลึกพุทโธ ท่านย้ำอย่างนี้ โดยมากท่านสอนแต่พระ โยมนี้ท่านให้เอาไว้ก่อน เพราะพระนั้นเป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา ท่านจะสอนอย่างจริงๆ จังๆ เลย” 


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ9PMto-SPlIYSwbTqEXLFRsk1NoQRg_dhYghypXmHu-uSPGO6Z9A)
มีต่อ