[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 29 ธันวาคม 2559 15:34:38



หัวข้อ: นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร : พิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 ธันวาคม 2559 15:34:38

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27962773417433_5.JPG)

นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย

------------------
ศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมและสงวนรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ที่บรรพบุรุษไทยได้สรรสร้างอย่างประณีตด้วยเชิงช่างศิลปะชั้นสูงที่ต้องใช้ทั้งฝีมือ ความรู้ ความชำนาญ
และความละเอียดประณีตทุกขั้นตอน  จึงเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนควรภาคภูมิใจและได้ศึกษาเป็นความรู้
เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ศิลปะเหล่านี้ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีรากฐานมาจากพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๒ โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งขึ้นในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “ประพาสพิพิธภัณฑ์” เพื่อจัดแสดงข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งแต่เดิมเป็นวังหน้าของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับวังหลวง

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นที่ หอคองคอเดีย หรือศาลาสหทัยสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวังชั้นนอก เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “มิวเซี่ยม”  เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเนื่องในการเฉลิมพระชนมายุครบ ๒๑ พรรษา โดยทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๑๗ จึงถือว่าวันนี้เป็นวันกำเนิดพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนในประเทศไทย ปัจจุบันกำหนดเป็น “วันพิพิธภัณฑ์ไทย

ถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือพระมหาอุปราช หรือวังหน้า แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย “มิวเซียม” จากพระบรมมหาราชวัง มาจัดตั้งในพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า ของกรมพระราชวังบวรฯ  เฉพาะพระที่นั่งด้านหน้า ๓ องค์ คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย  โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็นส่วนๆ ดังนี้

๑.พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เคยใช้เป็นท้องพระโรงและที่บำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทย หลังคาเครื่องไม้ชั้นลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ด้านหน้าเป็นห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติไทยในอดีตตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
 
๒.อาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแก่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นที่จัดแสดงศิลปะต่างประเทศและในประเทศไทย ได้แก่ ศิลปะเอเชีย ศิลปะทวารวดี ศิลปะลพบุรี และเทวรูปโบราณ

๓.พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตำหนักแดง พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย ศาลาลงสรง อาคารโบราณสถาน จัดแสดงอาคารหมู่พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่เดิม รวมทั้งอาคารที่เคลื่อนย้ายมาจากพระราชวังต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญมากมาย เช่น พระพุทธสิหิงค์, พระชัย, พระพุทธรูปโปรดมหิศรเทพบุตร, พระพุทธรูปประทับรอยพระพุทธบาท และรวมถึงสถานที่สำคัญคือ "หอแก้วศาลพระภูมิพระราชวังบวรสถานมงคล" ที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นที่สถิตของพระภูมิเจ้าที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าของผืนแผ่นดินที่สร้างวัง ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งประจำกรมศิลปากร ที่ผู้คนต่างให้ความเคารพ

๔.อาคารหมู่พระวิมานและโรงราชรถ จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์อย่างประณีตศิลป์ เช่น เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องมุก เครื่องดนตรี เครื่องไม้จำหลัก เครื่องแต่งกายและผ้าโบราณ เครื่องถ้วย ราชรถ และเครื่องประกอบการพระราชพิธีพระบรมศพที่สำคัญ คือ พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตรราชรถ ราชรถน้อย เกริน ส่วนประกอบของพระเมรุมาศ พระโกศ พระยานมาศสามลำคานเป็นต้น



(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif) จากการที่พสกนิกรไทยทั้งแผ่นดิน อยู่ในห้วงแห่งความเศร้าโศกอาลัย ในการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และรัฐบาลได้ดำเนินการจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ดังนั้น ในลำดับแรก จึงนำเรือง "เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศในงานพระบรมศพ" ซึ่งมีโบราณวัตถุเก็บรักษาไว้ที่โรงราชรถ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร มาเสนอเป็นอันดับแรก ก่อนที่นำชมโบราณวัตถุอันมีค่าอื่นนอกจากนี้ในลำดับถัดไป

เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศงานพระบรมศพและพระศพ
เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ เป็นเครื่องแสดงฐานะของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ตามความเชื่อที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นสมมติเทพ เมื่อถึงแก่อายุขัย ใช้ศัพท์ว่า “สวรรคต” หรือ “ทิวงคต” แปลว่า “กลับสู่สวรรค์”  ดังนั้น งานพระบรมศพและพระศพอันเป็นการส่งเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์กลับสู่สรวงสวรรค์ จึงต้องถวายพระเกียรติยศอย่างสูงสุด  เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศในงานพระบรมศพและพระศพตามโบราณราชประเพณีประกอบด้วยสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ คือ เครื่องประกอบในการตั้งพระบรมศพ พระศพ เพื่อการบำเพ็ญพระราชกุศล ได้แก่ พระโกศ หีบศพบรรดาศักดิ์ พระแท่นสุวรรณเบญจดล พระแท่นแว่นฟ้า ฉัตร อภิรุมชุมสาย เครื่องราชูปโภค และเครื่องประโคมต่างๆ เครื่องประกอบในริ้วขบวนพยุหยาตราอัญเชิญพระบรมศพและพระศพสู่พระเมรุ เช่น เรือพระที่นั่ง ราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือ พระราชทานเพลิงพระศพ ได้แก่ พระเมรุมาศ พระจิตกาธาน ฉากบังเพลิง สัตว์หิมพานต์ เครื่องประดับพระเมรุต่างๆ พระโกศจันทน์ ฟืน และเครื่องหอม เป็นต้น  ทั้งนี้ เป็นไปตามลำดับแห่งพระเกียรติยศ

สำหรับเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศในงานพระบรมศพและพระศพที่สำคัญและเก็บรักษาไว้ในโรงราชรถนี้ ได้แก่ ราชรถ และราชยาน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77528747874829_3.JPG)
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เดิมชื่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สร้างขึ้นในสมัยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
ในรัชกาลที่ ๑ ปฏิสังขรณ์สมัยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธรูปสำคัญของวังหน้า

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46861066669225_4.JPG)
ซ้ายมือของภาพ คือ ศาลามุขมาตย์ เดิมชื่อ พระที่นั่งราชฤดี
สร้างไว้ที่พระราชวังดุสิต ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ออกแบบโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ใช้เป็นที่สรงน้ำเทพมนต์และน้ำพระพุทธมนต์ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖
พระราชทานนามใหม่ เป็น "ศาลาสำราญมุขมาตย์" ภายหลังรื้อมาปลูกในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร
ในรัชกาลที่ ๗  ลักษณะเป็นพระที่นั่งโถง สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ปัจจุบันใช้เป็นที่ต้อนรับแขกพิเศษของทางราชการ
และเป็นที่ประกอบพิธีต่างๆ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17564186412427__MG_7454.JPG)
ตำหนักแดง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88619580657945_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35918097446362_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62170980953507_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22863719612359_7.JPG)

ราชรถ (The Royal Chariots)

ราชรถ หมายถึงรถของพระราชา ปรากฏประวัติการใช้มาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้ในการไปมาเป็นปกติและใช้การพิธีต่างๆ เช่น เมื่อพุทธศักราช ๒๒๒๙ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใช้อัญเชิญพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔  ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ใช้ในพระราชพิธีอินทราภิเษก หรือใช้คราวเสด็จพระราชทานพระกฐินในเดือน ๑๑ ด้วยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค และใช้ในการศพ เป็นต้น

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชรถขึ้นมา ๗ รถ ประกอบด้วย พิชัยราชรถ ๑ รถที่นั่งรอง ๑ รถพระ ๑ รถชัก (โยง) ๑ รถโปรยข้าวตอก ๑ และรถท่อนจันทน์ ๒

ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่โรงราชรถ ๕ รถ คือ พระมหาพิชัยราชรถ ๑ เวชยันตราชรถ ๑ และราชรถน้อย ๑ (รถพระ รถโยง รถโปรย)
...ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16247020744615_2.JPG)

ราชยาน (The Royal Palanquins)

ราชยาน คือ พาหนะของพระราชาและพระบรมวงศานุวงศ์ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ แบบนั่งห้อยขา เป็นยานสำหรับบุคคลชั้นสูง เป็นยานขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก การหามจะต้องนำลำคานขึ้นพาดบ่าและคนหามต้องมีความสูงไล่เลี่ยกัน เช่น พระยานมาศสามลำคาน พระที่นั่งราเชนทรยาน และคานหามเก้าอี้ เป็นต้น  อีกประเภทจะเป็น แบบนั่งราบ เป็นยานที่มีน้ำหนักไม่มาก การหามจะใช้เชือกผูกลำคานสองข้างเป็นสาแหรกขึ้นไปผูกกับคานน้อยอีกอันหนึ่ง  คนหามจะหามปลายคานน้อยทั้งสองข้าง  สำหรับราชยานที่ยังปรากฏมาจนถึงปัจจุบันและใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ นั้น ส่วนหนึ่งเก็บรักษาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง พระราชวังดุสิต และบางส่วนเก็บรักษาไว้ในพระที่นั่งภิมุขมณเฑียร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้แก่ ยานมาศสามลำคาน ๒ เกรินบันไดนาค ๒ วอสีวิกากาญจน์ ๑ พระที่นั่งราเชนทรยาน ๑ เป็นต้น ...ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95133583040701_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31870244029495_3.JPG)

ยานมาศสามลำคาน (The Triple Beam Royal Palanquin)

ยานมาศสามลำคาน : ยานขนาดใหญ่ มี ๓ ลำคาน สำหรับทรงพระโกศ ตรงกลางเป็นแท่นฐานสิงห์ย่อมุมไม้สิบสองจำหลักไม้ปิดทองประดับกระจก ตกแต่งภาพ คือ เทพนม ครุฑพนม โดยรอบ  ชั้นบนสุดทำเป็นแผงราชวัติกั้น ด้านหน้าและด้านหลังมีเกยลาสำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลาขึ้นประคองโกศ ลำคานทำจากไม้กลึงกลมทาสีแดง ปลายแกะเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ปิดทองประดับกระจก ใช้พนักงานหาม ๖๐ คน เวลาหามจริงใช้คน ๒ ผลัด

ยานมาศสามลำคานสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี ในกรุงรัตนโกสินทร์ใช้ในการอัญเชิญพระโกศไปในกระบวนพยุหยาตรา จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ ณ บริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม และใช้ในการเชิญพระโกศพระบรมศพ เวียนอุตราวัฏรอบพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง ๓ รอบ ตามราชประเพณี
...ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


โปรดติดตามตอนต่อไป



หัวข้อ: Re: นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร : พิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 มกราคม 2560 10:59:53

โบราณวัตถุที่มีค่าทางประวัติศาสตร์
เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

อาทิ ครื่องทองพุทธบูชา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ ๒๔)
พบที่วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า), เครื่องทองจากกรุ
พระปรางค์วัดราชบุรณะ พระนครศรีอยุธยา สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐,
เครื่องใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ฯลฯ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37371415272355_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89968997902340_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86195696352256_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35633742229805_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48731413938932_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54638612104786_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24868295755651_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95214552970396_1.JPG)
รองพระบาท ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79692803488837_2.JPG)
พระแท่นบรรทม ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45189413800835_3..JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36095907373560_3.JPG)
คันฉ่อง สมัยรัตนโกสินทร์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64935117959976_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63617511052224_4_1.JPG)
ราวผ้าซับพระพักตร์ สมัยรัตนโกสินทร์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38346930510467_4_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33453176294763_5.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63672332548432_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28678789652056_1.1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/80238811961478_1.JPG)
พู่หางช้างเผือก สมัยรัตนโกสินทร์ จากเมืองเชียงใหม่และเมืองชนบท (ขอนแก่น)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19820569910936_2.JPG)
พัดโบกกูนันกัน ศิลปะอินโดนีเซีย สมัยรัตนโกสินทร์
นายอานันท์  ปันยารชุน  นายกรัฐมนตรี มอบให้เป็นของที่ระลึกจากประธานาธิบดีอินโดนีเซีย, นายซูดาห์โมดน เอส.เอช.
เนื่องในโอกาสเดินทางไปเยือนประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๕ พฤษภาคม ๒๕๓๔


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/84079945832490_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59222012634078_4.JPG)
ระแทะ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
ได้มาจากเมืองพระตะบอง ในสมัยรัชกาลที่ ๕

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73860981025629__MG_7635.JPG)
สัปคับงาช้าง (เก้าอี้บนหลังช้าง) ทำจากงาช้าง จำหลักลายกนก และลายเครือไม้
 พระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ (พระราชบิดา พระราชชายาเจ้าดารารัศมี)
ส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๐ พรรษา
สมัย รัตนโกสินทร์ เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาแต่เดิม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47738719938529_7.JPG)