[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม => ข้อความที่เริ่มโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 16:58:05



หัวข้อ: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 16:58:05
บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong

ผมจะทยอยนำมาลงเรื่อยๆครับ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 17:00:37
หนังสืออ้างอิง

หนังสือมนต์พิธี พระครูอรุณธรรมรังษี  (เอี่ยม  สิริวณโณ) วัดอรุณราชวราราม
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก  ชินบัญชร  และพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ
พิธีการทำบุญและอนุโมทนาวิธี   สำนักพิมพ์ธรรมสภา  (ปีที่จัดพิมพ์  2540)
หนังสือบารมีพระสยามเทวาธิราช   สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ
หนังสือพระบัวเข็ม  พระอรหันต์พิชิตมารให้ลาภร่ำรวย    พ.สุวรรณ  ผู้เรียบเรียง สำนักพิมพ์บ้านมงคล  พิมพ์ครั้งที่1  (พฤษภาคม 2540)
หนังสือพระสิวลี  อรหันต์ผู้มีลาภมาก   พ.สุวรรณ  ผู้เรียบเรียง สำนักพิมพ์บ้านมงคล  พิมพ์ครั้งที่2  (กรกฎาคม 2540)
หนังสือพระสังกัจจายน์  พระอรหันต์ผู้สมบูรณ์ลาภผล   พ.สุวรรณ  ผู้เรียบเรียง   สำนักพิมพ์บ้านมงคล  พิมพ์ครั้งที่1  (ตุลาคม 2541)
อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพพระภิกษุพระยานรรัตน์ราชมานิต  วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์  2515
หนังสือโลกลี้ลับฉบับที่  170  เดือน กุมภาพันธ์  2542
หนังสือโลกลี้ลับฉบับที่  172  เดือน เมษายน  2542
หนังสือโลกลี้ลับฉบับอื่นๆ
หนังสือย้อนรอยกรรมตำนานพระสุพรรณกัลยา  (หลวงปู่โง่น  โสรโย)
หนังสือรำลึกถึงพระสุพรรณกัลยา
หนังสือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกต้นฉบับเดิมและพระคาถาชินบัญชร   ภัตตาคารฟูหมั่นเหลา
หนังสือทำวัตร  สวดมนต์แปล  หลวงปู่ชา  วัดหนองป่าพง  อุบลราชธานี

หนังสือสวดมนต์  พระอาจารย์สมชาย  ธมมะโชโต   ศูนย์ปฎิบัติแสงส่องชีวิต  สี่แยกหินกอง  สระบุรี
หนังสือกิตติคุณหลวงพ่อเดิม  วัดหนองโพ  นครสวรรค์
หนังสือพระคาถาศักดิ์สิทธิ์สิริมงคลประเสริฐนักแล
ที่ระลึกพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  (วัดพระแก้ว)  วัดสุทธาราม  สำเหร่  ธนบุรี  กรุงเทพฯ
หนังสือสวดมนต์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด  นิวย่งฮั้ว (ไทยแลนด์) จัดพิมพ์ถวายและแจกเป็นทาน
บทสวดมนต์พระไภสัชคุรุไวฑูรยประภาตถาคต   สภาเภสัชกรรม  ก.สาธารณสุข  นนทบุรี
มนต์เสกตัว   ศาสตร์และศิลป์แห่งการสร้างกำลังใจด้วยพระพุทธมนต์
มนต์ธานี   สำนักพิมพ์  เลี่ยงเซียง 
หนังสือพิมพ์ข่าวสด         


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 17:01:40
คำอาราธนา  บูชา  ภาวนา  ถวาย
(ก่อนอาราธนา  บูชา  ภาวนา  ถวาย  ต้องภาวนาด้วย  นะโม  ๓  จบก่อนเสมอ)
คำบูชาพระรัตนตรัย
อิมินา   สักกาเรนะ  พุทธัง  ปูเชมิ
อิมินา   สักกาเรนะ  ธัมมัง  ปูเชมิ
อิมินา   สักกาเรนะ  สังฆัง  ปูเชมิ
ไตรสรณคมน์
พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ธัมมัง   สะระณัง   คัจฉามิ
สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ทุติยัมปิ   พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ทุติยัมปิ   ธัมมัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ทุติยัมปิ   สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ตะติยัมปิ   พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ตะติยัมปิ   ธัมมัง   สะระณัง   คัจฉามิ
ตะติยัมปิ   สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ
คำอาราธนาศีล  ๕
มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ
ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ
ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ
ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ
ตะติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ
ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ
หมายเหตุ   ๑.ถ้าบุคคลหลายๆคน  ให้เปลี่ยน  มะยัง … เป็น  อะยัง…
และ   ยาจามะ…   เป็น   ยาจามิ…
๒.ถ้าศีล  ๘  เปลี่ยน  ปัจจะ…  เป็น  อัฎฐะ…


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 17:02:26
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฎิพาหายะ         สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ   ทุกขะ   วินาสายะ      ปะริตตัง   พรูถะ  มังคะลัง
วิปัตติปะฎิพาหายะ         สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ   ภะยะ   วินาสายะ      ปะริตตัง   พรูถะ  มังคะลัง
วิปัตติปะฎิพาหายะ         สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ   โรคะ   วินาสายะ      ปะริตตัง   พรูถะ  มังคะลัง

คำอาราธนาธรรม
พรัหมา  จะ  โลกาธิปะตี  สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ
สันตีธะ  สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสตุ  ธัมมัง  อะนุกัมปิมัง  ปะชัง

คำถวายข้าวพระพุทธ
อิมัง  สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง  สาลีนัง  โพทะนัง  อุทะกัง  วะรัง  พุทธัสสะ  ปูเชมิ
คำลาข้าวพระพุทธ
เสสัง  มังคะลา  ยาจามิ

คำถวายสังฆทาน  (สามัญ)
อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ภัตตานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  ภัตตานิ  สะปะริวารานิ  ปะฎิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ภัตตาหาร  กับทั้งบริวารเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน  เทอญ ฯ

คำถวายสังฆทาน ( อุทิศแก่ผู้ตาย )
อิมานิ   มะยัง   ภันเต   ภัตตานิ   สะปะริวารานิ   ภิกขุสังฆัสสะ   โอโณชะยามะ   สาธุ   โน   ภันเต   ภิกขุสังโฆ   อิมานิ   ภัตตานิ   สะปะริวารานิ   ปะฏิคคัณหาตุ   อัมหากัญเจวะ   มาตาปิตุ   อาทีนัญจะ   ญาตะกานัง   หิตายะ   สุขายะ   ฯ
คำแปล
   ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ   ข้าพเจ้าทั้งหลาย   ขอน้อมถวาย   ซึ่งภัตตาหาร   กับทั้งสิ่งของบริวารทั้งหลายเหล่านี้   แด่พระภิกษุสงฆ์   ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ   ซึ่งภัตตาหาร   กับทั้งสิ่งของบริวารทั้งหลายเหล่านี้   เพื่อประโยชน์   เพื่อความสุข   แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย   มีบิดามารดาเป็นต้น   ที่วายชนม์ไปแล้ว   ตลอดกาลนานเทอญ   ฯ
หรือ
   อิมานิ  มะยัง  ภันเต  มะตะกะภัตตานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  มะตะกะภัตตานิ  สะปะริวารานิ  ปะฏิคคัณหาตุ  อัมหากัญเจวะ  มาตาปิตุอาทีนัญจะ  ญาตะกานัง  กาละกะตานัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ
คำแปล
   ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายมะตะกะภัตตาหาร  กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์  จงรับมะตะกะภัตตาหาร  กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย  แก่ญาติข้าพเจ้าทั้งหลาย  มีมารดาบิดาเป็นต้น  และ......................................(ผู้ที่จะอุทิศไปให้)..................  ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย  สิ้นกาลนานเทอญ.


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 17:03:01
ชุมนุมเทวดา
(*สะรัชชัง   สะเสนัง   สะพันธุง   นะรินทัง   ปะริตตานุภาโว   สะทา   รักขะตูติ   ผะริตตะวานะ   เมตตัง   สะเมตตา   ภะทันตา   อะวิกขิตตะจิตตา   ปะริตตัง   ภะณันตุ)
   สัคเค   กาเม   จะ   รูเป   คิริสิขะระตะเฏ   จันตะลิกเข   วิมาเน   ทีเป   รัฏเฐ   จะ   คาเม   ตะรุวะนะคะหะเน   เคหะวัตถุมหิ   เขตเต   ภุมมา   จายันตุ   เทวา   ชะละถะละวิสะเม   ยักขะคันธัพพะนาคา   ติฏฐันตา   สันติเก   ยัง   มุนิวะระวะจะนัง   สาธะโว   เม   สุณันตุ   ฯ   ธัมมัสสะวะนะกาโล   อะยัมภะทันตา   ธัมมัสสะวะนะกาโล   อะยัมภะทันตา   ธัมมัสสะวะนะกาโล   อะยัมภะทันตา   ฯ

(**สะมันตา   จักกะวาเฬสุ   อัตตะราคัจฉันตุ   เทวะตา   สัทธัมมัง   มุนิราชัสสะ   สุณันตุ   สัคคะโมกขะทัง   ฯ )

หมายเหตุ   สวดเจ็ดตำนาน ใช้   *      ;   สวดสิบสองตำนานใช้   **

บทอัญเชิญเทวดากลับ
ทุกขัปปัตตา  จะ  นิททุขาภะยัปปัตตา  จะ  นิพภะยา  โสกัปปัตตา  จะ  นิสโสกา  โหนตุ  สัพเพปิ  ปาณิโน  เอตตาวะตา  จะ  อัมเหหิ  สัมภะตัง  ปุญญะสัมปะทัง  สัพเพ  เทวานุโมทันตุ  สัพพะสัมปัตติสิทธิยา  ทานัง  ทะทันตุ  สัทธายะ  สีลัง  รักขันตุ  สัพพะทา  ภาวะนาภิระตา  โหนตุ  คัจฉันตุ  เทวะตาคะตา ฯ  สัพเพ  พุทธา  พะลัปปัตตา  ปัจเจกานัญจะ  ยัง  พะลัง  อะระหันตานัญจะ  เตเชนะ  พันธามิ  สัพพะโส


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 17:03:37
ขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ   พุทธัง ,  สัพพะ   เมโทสัง ,   ขะถะเม   ภันเต ,   วันทามิ   ธัมมัง  ,  สัพพะ   เมโทสัง ,   ขะถะเม   ภันเต ,   วันทามิ   สังฆัง ,  สัพพะ   เมโทสัง ,   ขะถะเม   ภันเต


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 17:04:11
ถวายพรพระ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ   (   ๓   จบ   )
อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถาเทวะมะนุสสานัง  พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
   สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฎฐิโก  อะกาลิโก  เอสิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ฯ
สุปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อุชุปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สามีจิปะฎิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง  จัตตาริ  ปะริสะยุคานิ  อัฎฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ  ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 17:08:13
พระพุทธชัยมงคลคาถา
  พาหุง  สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
คะรีเมขะลัง  อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ  ฯ
  มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ  ฯ
  นาฬาคิริง  คะชะวะรัง  อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ  สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ  ฯ
  อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน  ชิตะวา  มุนินโท
ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ  ฯ
  กัตตะวานะ  กัฎฐะมุทะรัง  อิวะ  คัพภินียา
จิญจายะ  ทุฏฐะวะจะนัง  ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ  โสมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ  ฯ
  สัจจัง  วิหายะ  มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง  อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต  ชิตะวา  มุนินโท
ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ  ฯ
  นันโทปะนันทะภุชะคัง  วิพุธัง  มะหิทธิง
ปุตเตนะ  เถระภุชะเคนะ  ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ  ฯ
  ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ  สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง  วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ  วิธินา  ชิระวา  มุนินโท
ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ  ฯ

เอตาปิ  พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย  วาจะโน  ทินะทิเน  สะระเต  มะตันที
หิตตะวานะเนกะวิวิธานิ  จุปัททะวานิ
โมกขัง  สุขัง  อะธิคะเมยยะ  นะโร  สะปัญโญ ฯ
มะหาการุณิโก  นาโถ   หิตายะ  สัพพะปาณินัง
ปูเรตตะวา  ปาระมี  สัพพา   ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ   โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง  ฯ
ชะยันโต  โพธิยา  มูเล   สักกะยานัง  นันทิวัฑฒะโน
เอวัง  ตะวัง  วิชะโย  โหหิ   ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก   สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก  สัพพะพุทธานัง   อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติ  ฯ
สุนักขัตตัง  สุมังคะลัง   สุปะภาตัง  สุหุฎฐิตัง
สุขะโณ  สุมุหุตโต  จะ   สุยิฏฐัง  พรัหมะจาริสุ
ปะทักขินัง  กายะกัมมัง   วาจากัมมัง  ปะทักขินัง
ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง   ปะณิธี  เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ  กัตตะวานะ   ละภันตัตเถ  ปะทักขิเณ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง   รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ   สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง   รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ   สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง   รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ   สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ
หมายเหตุ   ถ้าต้องการสวดให้กับตัวเอง  ให้เปลี่ยนจากภะวะตุ   เต   เป็น   เม


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 17:14:21
คำแปลพุทธชัยมงคลคาถา
๑.พระจอมมุนี  ได้ชนะพญามาร  ผู้นิรมิตแขนมากตั้งพัน  ถืออาวุธครบมือ  ขี่คชสารครีเมขละ  พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึก  ด้วยธรรมวิธีทานบารมีเป็นต้น  ขอชัยมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๒.พระจอมมุนี  ได้ชนะอาฬวกยักษ์  ผู้มีจิตกระด้าง  ปราศจากความอดทน  มีฤทธิ์พิลึกยิ่งกว่าพญามารเข้ามาต่อสู้ยิ่งนักจนตลอดรุ่ง  ด้วยวิธีทรมาณเป็นอันดี  คือ  พระขันตี (ความอดทน) ขอชัยมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๓.พระจอมมุนี  ได้ชนะช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี  เป็นช้างเมายิ่งนัก  แสนที่จะทารุณ  ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า  ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ  คือพระเมตตา  ขอชัยมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๔.พระจอมมุนี  มีพระหฤทัยไปในที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์   ได้ชนะโจรชื่อองคุลิมาล  (ผู้มีพวงคือนิ้วมนุษย์)  แสนร้ายกาจมีฝีมือ  ถือดาบวิ่งไล่พระองค์  ไปสิ้น  ๓  โยชน์  ขอชัยมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๕.พระจอมมุนี  ได้ชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา  ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์  เพราะทำไม้มีสัณฐานอันกลม  ให้เป็นประดุจมีท้อง  ด้วยวิธีสมาธิอันงาม  คือความระงับพระหฤทัยในท่ามกลางหมู่ชน  ขอชัยมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๖.พระจอมมุนี  รุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป  คือปัญญา  ได้ชนะสัจจกนิครนถ์  ผู้มีอัชฌาสัยที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์  มีใจในที่จะยกถ้อยคำของตน  ให้สูงดุจยกธง  เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก  ด้วยเทศนาญาณวิธี  คือรู้อัชฌาสัยแล้ว  ตรัสเทศนา  ขอชัยมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๗.พระจอมมุนีโปรดให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส   นิรมิตกายเป็นนาคราชไปทรมาน   พญานาคราช   ชื่อนันโทปนันทะ   ผู้มีความรู้ผิด   มีฤทธิ์มาก   ด้วยวิธีอันให้อุปเทห์แห่งฤทธิ์  แก่พระเถระ  ขอชัยมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๘.พระจอมมุนี  ได้ชนะพรหมผู้มีนามว่า  ท้าวพกา  ผู้มีฤทธิ์  มีอันสำคัญตนว่า  เป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์  มีมืออันท้าวภุชงค์  คือทิฏฐิที่ตนถือผิดรัดตรึงไว้แน่นแฟ้นแล้ว  ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษคือเทศนาญาณ  ขอชัยมงคลทั้งหลาย  จงมีแก่ท่าน  ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
นรชนใด  มีปัญญา  ไม่เกียจคร้าน  สวดก็ดี  ระลึกก็ดี  ซึ่งพระพุทธชัยมงคล  ๘  คาถา  แม้เหล่านี้ทุก ๆ วัน  นรชนนั้นจะพึงละเสียได้  ซึ่งอุปัทวันอันตรายทั้งหลาย  มีประการต่าง ๆ เป็นเอนก  ถึงซึ่งวิโมกขสิวาลัย  อันเป็นบรมสุขแล .
   มหาการุณิโก  นาโถ    ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ประกอบแล้วด้วย    พระมหากรุณา  หิตายะสัพพะปาณินัง  ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา  ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม  เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย  ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง  ถึงแล้วซึ่งความตรัสรู้อันอุดม  เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้  โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง  ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน .


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 22 เมษายน 2553 17:17:17
หมายเหตุ                 การภาวนาพระพุทธชัยมงคลคาถา
๑.   เมื่อเผชิญกับศัตรูหมู่มาก  ซึ่งมุ่งจะทำลายความมุ่งมั่นตั้งใจ  ในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามของเรา  ทำให้เราท้อถอยและท้อแท้ด้วยเหตุผลต่างๆ   ให้ภาวนาบทที่  ๑  ( มั่นใจในการทำความดี  ในเจตนาดี  และหวังดีของเราเอง  แล้วมุ่งหน้ากระทำต่อไป  จึงจะชนะศัตรูและผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ )
๒.   เมื่อเผชิญกับผู้ที่มีจิตใจหยาบกระด้าง  ไม่ได้ฝึกฝนตนเองในเรื่องวินัยและมารยาท  ให้ภาวนาบทที่  ๒  ( ในการที่เราเจอกับคนที่จิตใจกระด้าง  หยาบคาย  นับว่าเป็นโอกาสให้เราฝึกขันติธรรม  และหากเราฝึกได้ดี  ก็จะสามารถชนะใจคนแข็งกระด้าง  ทำให้เขายอมรับข้อเสนอของเราและทำประโยชน์ร่วมกันได้ )
๓.   เมื่อเผชิญกับสัตว์ดุร้าย  ให้ภาวนาบทที่  ๓  ( แม้ว่าสัตว์จะดุร้าย  เราก็ควรแผ่เมตตาให้ความเอ็นดู  ไม่ควรฆ่า  หรือใช้วิธีรุนแรง  ด้วยความเมตตานี้  จะทำให้มนุษย์กับสัตว์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ )
๔.   เมื่อเผชิญกับโจร  มุ่งทำร้ายเราหรือก่อนที่จะไปต่อสู้กับผู้ร้ายในสถานการณ์ที่ต้องสู้ไม่มีทางเลือกอื่น  ให้ภาวนาบทที่  ๔  ( วิธีที่ดี  คือ  ต้องพยายามทำให้เราเป็นฝ่ายเหนือกว่าเพื่อควบคุมสถานการณ์ให้ได้เสมอ  เมื่อเราทำให้เขายอมจำนนได้แล้ว  จึงค่อยหาโอกาสแนะนำสิ่งที่ดีแก่เขาภายหลัง  ด้วยเจตนาดีและมีเมตตา )
๕.   เมื่อต้องเจอกับคำครหา  นินทา   การใส่ความให้เสียหาย    ให้ภาวนาบทที่  ๕   ( เบื้องต้นต้องสงบจิตใจไว้ก่อน  อย่างน้อยก็ตระหนักถึงข้อที่ว่า  การนินทานั้น  เป็นหนึ่งในโลกธรรม  คือ  เป็นสิ่งประจำโลก  แม้พระพุทธองค์ยังมีคนกล่าวร้ายได้  จากนั้นจึงพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยสติสัมปชัญญะ  หากจะโต้ตอบต้องตอบโต้ตามความเป็นจริง  หากเรื่องที่เกิดขึ้นไม่จริง  ผู้กล่าวหาย่อมแพ้ภัยตนเองไปในที่สุด)
๖.   เมื่อต้องตอบโต้คำถามจากผู้มีความเห็นผิดทะนงตัว  หรือต้องโต้วาทีเพื่อหาข้อยุติด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้อง  ให้ภาวนาบทที่  ๖  ( เมื่อเผชิญกับผู้ที่โอ้อวดยกเหตุผลต่างๆ  เพื่อมาหักล้างศีลธรรม  ความถูกต้องดีงาม  เราจำเป็นต้องโต้ด้วยเหตุผลที่ชัดเจนกว่า  โดยแยกแยะให้เขาเห็นข้อบกพร่องในเหตุผลของเขา  ถ้าเป็นปัญหา  ที่ต้องตอบตรงๆ  ก็ยกความเป็นจริงขึ้นหักล้าง  บางอย่างอาจถามย้อนก่อนตอบ  เพื่อให้ผู้ถามเห็นข้อบกพร่องในคำถามและเหตุผลที่ตนยกขึ้นถาม  อย่างไรก็ตาม  บางคำถามที่ควรงดเว้นไม่ควรตอบให้เสียเวลา )
๗.   เมื่อต้องเผชิญกับผู้ที่มีเล่ห์เหลี่ยม  มากด้วยอุบาย  ให้ภาวนาบทที่  ๗  ( เหตุการณ์บางอย่าง  เราอาจพึ่งผู้อื่น  เพื่อช่วยคลีคลายสถานการณ์  โดยเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ  ช่วยจัดการให้เรียบร้อย )
๘.   เมื่อต้องเผชิญกับผู้ใหญ่ที่มีความเห็นผิด  ผู้มีทิฐิมานะมาก  ทั้งมีอำนาจในสังคม  เป็นที่รู้จัก  และนับถือของคนทั่วไป   ต้องทำใจให้เป็นสมาธิด้วย   การภาวนาบทที่  ๘  ( เมื่อเราเผชิญกับปัญหาที่สำคัญในระดับที่เป็นหลักการ  หรือนโยบาย  ซึ่งแม้ผู้ใหญ่มีอำนาจวาสนา  เป็นที่ยอมรับนับถึอของคนทั่วไป  ยังมีความเห็นผิดจากหลักการตามความเป็นจริง  เราต้องแม่นยำในหลักการพิจารณาหลักการ  หรือนโยบายนั้นอย่างรอบคอบ  แล้วชี้แจงให้เห็นถึงความบกพร่องและผลเสียที่เกิดขึ้นในระยะยาว  ทั้งนี้การชี้แจงกับผู้ใหญ่ต้องมีเหตุผลชัดเจน  ชี้แจงให้แจ่มแจ้งว่าหลักการ  วิธีการ  และเป้าหมายของกิจการนั้นๆ  มีความขัดแย้งกันอย่างไร  มีจุดบกพร่องที่สำคัญตรงไหนบ้าง  และอย่าลืมว่าหลังจากกระบวนการทางปัญญาสิ้นสุดลง  เรากับผู้ใหญ่นั้น  ยังคงมีความสัมพันธ์ร่วมงานกันได้ดังเดิม  หรืออาจจะดีกว่าเดิม  เพราะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ  )
   อานิสงส์เบื้องต้น  ในการภาวนาชัยมงคลคาถานั้น  เป็นการยับยั้งการตัดสินใจ  อย่างหุนหันพลันแล่น  ไม่รอบคอบ  ซึ่งอาจให้ผลร้ายตามมาอย่างคาดไม่ถึง  และที่สำคัญ  เป็นการ  เรียกสติกลับคืนมา  เพื่อให้จิตใจมั่นคง  เมื่อจิตใจมั่นคงแล้ว  จะทำให้เราจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ  ได้อย่างรอบคอบมากขึ้น  และได้ผลดีย้อนกลับมามากขึ้นด้วย


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 22 เมษายน 2553 17:33:24

(http://gotoknow.org/file/sangsri/monk.jpg.jpg)
ขอบพระคุณ คุณ sithiphong มากมายสำหรับการแบ่งปันค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 16:56:37
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก

      เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก  มีคำกล่าวในหนังสือนำว่า  ผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือน  มีอานิสงค์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลก  และป้องกันภยันตรายต่าง ๆ    ทำมาหากินเจริญฯ
      ผู้ใดสร้างไว้สวดมนต์  สักการะบูชาเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่  และจะมีความสุข     ศิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบัน กาลอนาคต  และภายหน้าภาคหน้า  ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้  สร้างครบ ๗ วัน  ครบอายุ  หมดเคราะห์โศกทุกประการฯ

ประวัติต้นฉบับเดิมกล่าวไว้ว่า
      หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าศักดิ์สิทธิ์     ถ้าผู้ใดได้สวนมนต์ภาวนาทุกค่ำเช้าแล้ว  ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ  แม้ได้บูชาไว้กับ      บ้านเรือนก็อาจป้องกันอันตรายต่าง ๆ จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก ๑๐๐ ปี  อานิสงค์         ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง  ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์         จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำ  ก่อเป็นพระเจดีย์  ตั้งแต่มนุษยโลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก  อานิสงค์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้  และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ใน       ต้นฉบับเดิมนั้นอีกหลายประการฯ
      ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก  เป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลาน  จึงแปลเป็นภาษาไทย  หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง) ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก
      ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนี้  ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสามเณร หรือญาติสนิทมิตรสหาย  ครบ ๗ วัน  หรือครบอายุปัจจุบันของตน  จะบังเกิดโชคลาภ      ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง  จะพ้นเคราะห์  ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย  และภัยพิบัติทั้งปวง


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 16:57:15
พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  วะตะ   โส  ภะคะวา
   แม้เพราเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้ไกลจากกิเลส
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  สัมมาสัมพุทโธ  วะตะ  โส  ภะคะวา
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  วิชชาจะระณะ  สัมปันโน  วะตะ  โส  ภะคะวา
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  สุคะโต  วะตะ  โส  ภะคะวา
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  โลกะวิทู  วะตะ  โส  ภะคะวา
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้รู้แจ้งโลก
.   อะระหันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้า  ขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์  ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
   อะระหันตัง  สิระสา  นะมามิ
   ข้าพเจ้า  ขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์  ด้วยเศียรเกล้า
   สัมมาสัมพุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้า  ขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ  ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
   สัมมาสัมพุทธัง  สิระสา  นะมามิ
   ข้าพเจ้า  ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ  ด้วยเศียรเกล้า
   วิชชาจะระณะสัมปันนัง  สะระณัง  คัจฉามิ 
   ข้าพเจ้า  ขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ  ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
   วิชชาจะระณะสัมปันนัง  สิริสา  นะมามิ
   ข้าพเจ้า  ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ  ด้วยเศียรเกล้า
   สุคะตัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้า  ขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว  ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
   สุคะตัง  สิระสา  นะมามิ
   ข้าพเจ้า  ขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว  ด้วยเศียรเกล้า
   โลกะวิทุง   สะระณัง  คัจฉามิ 
   ข้าพเจ้า  ขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก  ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
   โลกะวิทุง  สิระสา  นะมามิ
   ข้าพเจ้า  ขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก  ด้วยเศียรเกล้า
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะนุตตะโร  วะตะ  โส  ภะคะวา
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้ยอดเยี่ยมไม่มีใครยิ่งกว่า
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ปุริสะธัมมะสาระถิ  วะตะ  โส  ภะคะวา
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  วะตะ  โส  ภะคะวา
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  พุทโธ  วะตะ  โส  ภะคะวา
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน
.   อะนุตตะรัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้า  ขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม  ไม่มีใครยิ่งกว่า  ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
   อะนุตตะรัง  สิระสา  นะมามิ
   ข้าพเจ้า  ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม  ด้วยเศียรเกล้า
   ปุริสะทัมมะสาระถิง   สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้า  ขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ  ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
   ปุริสะทัมมะสาระถิง  สิระสา  นะมามิ
   ข้าพเจ้า  ขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ  ด้วยเศียรเกล้า
   สัตถารัง   เทวะมะนุสสานัง  สะระณัง  คัจฉามิ 
   ข้าพเจ้า  ขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์  ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 16:58:09
   สัตถารัง  เทวะมะนุสสานัง  สิริสา  นะมามิ
   ข้าพเจ้า  ขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์  ด้วยเศียรเกล้า
   พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้า  ขอถึงพระองค์ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน  ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
   พุทธัง  สิระสา  นะมามิ
   ข้าพเจ้า  ขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน   ด้วยเศียรเกล้า
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา
   พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  กอปรด้วยดังว่ามานี้แล
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  รูปะขันโธ  อะนิจจะลักขะณะปาระมี  จะ  สัมปันโน 
   พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  แม้จะมีรูปขันธ์เป็นอนิจจลักษณะ  คือ ไม่เที่ยงแท้  แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  เวทะนาขันโธ  อะนิจจะลักขะณะปาระมี  จะ  สัมปันโน 
   พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  แม้จะมีเวทนาขันธ์เป็นอนิจจลักษณะ   คือ ไม่เที่ยงแท้  แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  สัญญาขันโธ  อะนิจจะลักขะณะปาระมี  จะ  สัมปันโน 
   พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  แม้จะมีสัญญาขันธ์เป็นอนิจจลักษณะ  คือ ไม่เที่ยงแท้  แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  สังขาระขันโธ  อะนิจจะลักขะณะปาระมี  จะ  สัมปันโน 
   พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  แม้จะมีสังขารขันธ์เป็นอนิจจลักษณะ  คือ ไม่เที่ยงแท้  แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  วิญญาณะขันโธ  อะนิจจะลักขะณะปาระมี  จะ  สัมปันโน 
   พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  แม้จะมีวิญญาณขันธ์เป็นอนิจจลักษณะ  คือ ไม่เที่ยงแท้  แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ปะฐะวี  ธาตุสะมาธิญาณะ   สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในปฐวีธาตุ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อาโป  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในอาโปธาตุ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  เตโช  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในเตโชธาตุ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  วาโย  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในวาโยธาตุ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อากาสะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในอากาศธาตุ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  วิญญาณะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในวิญญาณธาตุ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  จักกะวาฬะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในจักรวาลธาตุ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  จาตุมมะหาราชิกา  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ตาวะติงสา  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ยามา  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นยามา
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ดุสิตา  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นดุสิต
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  นิมมานะระติ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นนิมมานรดี
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นปรินิมมิตวสวัตดี
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  กามาวะจะระ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ การหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในเทวโลกชั้นกามาวจร
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา  รูปาวะจะระ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในพรหมโลกชั้นรูปาวจร
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะรูปาวะจะระ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในพรหมโลกชั้นอรูปาวจร
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  โลกุตตะระ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นโลกุตตระ  คือ อยู่เหนือโลกทั้งปวง
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ปะฐะมะฌานะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในปฐมฌาน
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ทุติยะฌานะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในทุติยฌาน
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ตะติยะฌานะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในตติยฌาน
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  จะตุตถะฌานะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในจตุตถฌาน
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  ปัญจะมะฌานะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในปัญจมฌาน
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อากาสานัญจายะตะนะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ  คือ อากาสานัญจายตนะ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  วิญญาณัญจายะตะนะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ  คือ วิญญาณัญจายตนะ
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อากิญจัญญายะตะนะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ  คือ อากิญจัญญายตนะ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 16:59:06
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ  ธาตุสะมาธิญาณะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ  คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา  โสตาปัตติมัคคะ  ธาตุสะมาธิญานะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ  คือ พระโสดาปัตติมรรค
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  สะกิทาคามิมัคคะ  ธาตุสะมาธิญานะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ  คือ พระสกิทาคามิมรรค
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะนาคามิมัคคะ  ธาตุสะมาธิญานะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ  คือ พระอนาคามิมรรค
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัตตะมัคคะ  ธาตุสะมาธิญานะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ  คือ พระอรหัตมรรค
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา  โสตา  ปัตติผะละ  ธาตุสะมาธิญานะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ  คือ พระโสดาปัตติผล
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  สะกิทาคามิผะละ  ธาตุสะมาธิญานะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ  คือ พระสกิทาคามิผล
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะนาคามิผะละ  ธาตุสะมาธิญานะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ  คือ พระอนาคามิผล
   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัตตะผะละ  ธาตุสะมาธิญานะ  สัมปันโน
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา  คือ ความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ  คือ พระอรหัตผล
.   กุสะลา  ธัมมา
   ธรรมะฝ่ายกุศล
   อิติปิ  โส  ภะคะวา
   พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  มีพระคุณดังพรรณมานานี้แล
   อะ  อา
   (มนต์คาถา)
   ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
   ชัมพูทีปัญจะอิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา
   พระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้เป็นอิสระแห่งชมภูทวีป  ธรรมะฝ่ายกุศล  เป็นใหญ่เหนือชมพูทวีป
   นะโม  พุทธายะ
   ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
   นะโม  ธัมมายะ
   ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า
   นะโม  สังฆายะ
   ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
   ปัญจะ  พุทธา  นะมามิหัง
   ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าห้าพระองค์
   อา  ปา  มะ  จุ  ปะ
   หัวใจพระวินัยปิฏก
   ที  มะ  สัง  อัง  ขุ
   หัวใจพระสุตตันตปิฏก
   สัง  วิ  ธา  ปุ  กะ  ยะ  ปะ
   หัวใจพระอภิธรรมปิฏก


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:08:36
   อุ  ปะ  สะ  ชะ  สุ  เห  ปา  สา  ยะ  โส
   (มนต์คาถา)
   โส  โส  สะ  สะ  อะ  อะ  อะ  อะ  นิ
   หัวใจโลกุตตรธรรม  คือ มรรคสี่ ผลสี่ นิพพานหนึ่ง
   เต  ชะ  สุ  เน  มะ  ภู  จะ  นา  วิ  เว
   หัวใจพระเจ้าสิบชาติแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ
   อะ  สัม  วิ  สุ  โล  ปุ  สะ  พุ  ภะ
   หัวใจพระพุทธคุณเก้า  (นวหรคุณ)
   อิ  สวา  สุ  สุ  สวา  อิ
   หัวใจคุณพระรัตนตรัย
   กุสะลา  ธัมมา  จิตติ  วิอัตถิ
   ธรรมะฝ่ายกุศล  มีนัยวิจิตรพิสดาร
.   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง
   แม้เพราะเหตุนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้ไกลจากกิเลส
   อะ  อา
   (มนต์คาถา)
   ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
   สา  โพธิ  ปัญจะ  อิสะโร  ธัมมา
   (มนต์คาถา)
.   กุสะลา  ธัมมา
   ธรรมฝ่ายกุศล
   นันทะวิวังโก
   (มนต์คาถา)
   อิติ  สัมมาสัมพุทโธ
   พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วแล
   สุ  คะ  ลา  โน
   (มนต์คาถา)
   ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
   จาตุมมะหาราชิกา  อิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา
   ธรรมะฝ่ายกุศล  เป็นใหญ่เหนือเทวโลกชั้นจาตุมมหาราช
   อิติ  วิชชาจะระณะสัมปันโน
   พระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
   อุ  อุ
   (มนต์คาถา)
   ยาวะ  ชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
   ตาวะติงสา  อิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา
   ธรรมะฝ่ายกุศล  เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
   นันทะ  ปัญจะ
   (มนต์คาถา)
   สุคะโต  โลกะวิทู
   พระพุทธเจ้า  ผู้เสด็จไปดีแล้ว  ผู้รู้แจ้งโลก
   มะหาเอโอ
   (มนต์คาถา)
   ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
   ยามา  อิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา
   ธรรมะฝ่ายกุศล  เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นยามา
   พรัหมะสัททะ  ปัญจะ  สัตตะ  สัตตาปาระมี  อะนุตตะโร
   พระโพธิสัตว์ห้า  และบารมีของพระโพธิสัตว์  ยอดเยี่ยมกว่าเสียงจากพระพรหม (หรือประกาศิตของพรหม)
   ยะมะกะขะ
   (มนต์คาถา)


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:09:22
   ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
.   ตุสิตา  อิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา
   ธรรมะฝ่ายกุศล  เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นดุสิต
   ปุ  ยะ  ปะ  กะ
   (มนต์คาถา)
   ปุริสะทัมมะสาระถิ
   พระพุทธเจ้า  พระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
   ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
.   นิมมานะระตี  อิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา
   ธรรมะฝ่ายกุศล  เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
   เหตุโปวะ
   (มนต์คาถา)
   สัตถา  เทวะมะนุสสานัง
   พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
   ตะถะ  ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
.   ปะระนิมมิตตะวะสะวัตตี  อิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา
   ธรรมะฝ่ายกุศล  เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
   สังขาระขันโธ
   ขันธ์ที่เกิดจากการปรุงแต่ง
   ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา
   ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  (มิใช่ตัวตนของเราจริง)
   รูปะขันโธ  พุทธะปะผะ
   แม้ว่ารูปขันธ์ของพระพุทธเจ้า (ก็ไม่เที่ยงแปรเปลี่ยนไปและเป็นอนัตตา)
   ยาวะชีวัง  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
.   พรัหมา  อิสสะโร  กุสะลา  ธัมมา
   ธรรมะฝ่ายกุศล  เป็นใหญ่เหนือกว่าพระพรหม
   นัตถิปัจจะยา  วินะปัญจะ  ภะคะวะตา
   แม้ธรรมะที่กล่าวถึงความไม่มีเป็นปัจจัย  พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้  ไม่มียกเว้น
   ยาวะนิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
   ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า  ว่าเป็นที่พึ่งตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
   นะโม  พุทธัสสะ
   ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
   นะโม  ธัมมัสสะ
   ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า
   นะโม  สังฆัสสะ
   ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
   พุทธิลา  โภกะลา  กะระกะนา
   (มนต์คาถา)
   เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหนตุ
   ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด
   หุลู  หุลู  หุลู  สะวาหายะฯ
   (มนต์คาถา)
.   นะโม  พุทธัสสะ
   ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
   นะโม  ธัมมัสสะ
   ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า
   นะโม  สังฆัสสะ
   ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
   วิตติ  วิตติ  มิตติ  มิตติ  มิตติ  จิตติ  จิตติ  วัตติ  วัตติ
   (มนต์คาถา)
   มะยะสุ  สุวัตถิ  โหนตุ
   ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด
   หุลู  หุลู  หุลู  สะวาหายะ
   (มนต์คาถา)
.   อินทะสาวัง  มะหาอินทะสาวัง  พรัหมะสาวัง  มะหาพรัหมะสาวัง  จักกะวัตติสาวัง  มะหาจักกะวัตติสาวัง  เทวาสาวัง  มะหาเทวาสาวัง  อิสิสาวัง  มะหาอิสิสาวัง  มุนีสาวัง  มะหามุนีสาวัง  สัปปุริสสาวัง  มะหาสัปปุริสสาวัง  พุทธะสาวัง  ปัจเจกะพุทธะสาวัง     อะระหัตตะสาวัง  สัพพะสิทธิ  วิชชาธาระณังสาวัง  สัพพะโลกา  อิริยานังสาวัง
   (มนต์คาถาจากพระคาถามหาทิพยมนตร์)
   เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุฯ
   ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด
.   สาวัง  คุณัง  วะชะพะลัง  เตชัง  วิริยัง  สิทธิกัมมัง  นิพพานัง  โมกขัง  คุยหะกัง  ทานัง  สีลัง  ปัญญานิกขัง  ปุญญัง  ภาคะยัง  ตัปปัง  สุขัง  สิริรูปัง  จาตุวีสะติ  เทสะนัง
   (มนต์คาถาจากพระคาถามหาทิพยมนต์)
   เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหนตุ
   (มนต์คาถา)  ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเดิม
   หุลู  หุลู  หุลู  สะวาหายะฯ
   (มนต์คาถา)
.   นะโม  พุทธัสสะ
   ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
   ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา  รูปะขันโธ  เวทะนาขันโธ  สัญญาขันโธ  สังขาระขันโธ  วิญญาณะขันโธ
   รูปขันธ์  เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์  วิญญาณขันธ์  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  มิใช่ตัวตนของเราจริง


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:09:41
   นะโม  อิติปิ  โส  ภะคะวา
   ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

.   นะโม  ธัมสะ
   ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า
   ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา  รูปะขันโธ  เวทะนาขันโธ  สัญญาขันโธ  สังขาระขันโธ  วิญญาณะขันโธ
   รูปขันธ์  เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์  วิญญาณขันธ์  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  มิใช่ตัวตนของเราจริง
   นะโม  สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม
   ขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
.   นะโม  สังฆัสสะ
   ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
   ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา  รูปะขันโธ  เวทะนาขันโธ  สัญญาขันโธ  สังขาระขันโธ  วิญญาณะขันโธ
   รูปขันธ์  เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์  วิญญาณขันธ์  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  มิใช่ตัวตนของเราจริง
   นะโม  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
   ขอนอบน้อมพระสงฆ์  สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้ปฏิบัติดีแล้ว
   วาหะปะริตตัง
   พระปริตรที่นำสิ่งดีงามมาให้
.   นะโม  พุทธายะ
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
มะอะอุ
พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์
ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา  ยาวะ  ตัสสะ  หาโย
ตราบใดที่ความไม่เที่ยง  ความเป็นทุกข์  และความเป็นอนัตตามีอยู่จริงเช่นนี้  ทุกสิ่งก็มีความสิ้นไปและเสื่อมไปเป็นธรรมดาอยู่ตราบนั้น
โม  นะ  อุอะมะ
ขอนอบน้อมพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์
ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา
ความไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา
อุ  อะ  มะ  อะ  วันทา
ขอกราบไหว้พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์
นะโม  พุทธายะ
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
นะ  อะ  กะ  ติ  นิ  สะ  ระ  ณะ
(มนต์คาถา)
อา  ระ  ปะ  ขุท  ธัง
(มนต์คาถา)
มะ  อะ  อุ
พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์
ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา ฯ
ความไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา
วิปัสสิต
(สำเร็จและเห็นแจ้ง)
สัพพะทุกขา  สัพพะภะยา  สัพพะโรคา  วินัสสันตุ
(ด้วยอำนาจแห่งยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกที่ข้าพเจ้าได้สวดแล้วนี้)
ขอทุกข์ภัย  อันตราย  และโรคทั้งปวง  จงพินาศไปสิ้น


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:10:13
อธิบายคำย่อใน
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก

      ในยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก  มีคำย่อที่ควรทราบ  ดังนี้:-
๑.   อา  ปา  มะ  จุ  ปะ  เป็นคำย่อพระวินัยปิฎกทั้ง ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
อา   =   อาทิกัมมิกะ (การกระทำที่เป็นต้นบัญญัติ)  หมายเอาพระวินัยของพระภิกษุ  ตั้งแต่อาบัติปาราชิกลงมาจนถึงสังฆาทิเสส
ปา   =   ปาจิตตีย์  เป็นชื่อของอาบัติที่มาในปาฏิโมกข์ (คำว่า “ปาฏิโมกข์”  คือ ศีลที่เป็นใหญ่เป็นสำคัญอันพระสงฆ์จะต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน)
มะ   =   มหาวัคค์  คือ วรรคใหญ่ของพระวินัย  แบ่งออกเป็นหมวด (ขันธกะ) ต่าง ๆ ๑๐ หมวด
จุ   =   จุลลวัคค์  คือ วรรคเล็กของพระวินัย  แบ่งออกเป็นหมวด (ขันธกะ) ต่าง ๆ ๑๒ หมวด
ปะ   =   ปริวาร  คือ หัวข้อเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ของพระวินัย  เป็นการสรุปเนื้อความวินิจฉัยปัญหาใน ๔ เรื่องข้างต้น
๒.   ที  มะ  สัง  อัง  ขุ  เป็นคำย่อพระสุตตันตปิฎกทั้ง ๒๑,000 พระธรรมขันธ์
ที   =   ทีฆนิกาย  แปลว่า หมวดขนาดยาว หมายถึง หมวดที่รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ส่วนหนึ่ง  ไม่ปนกับพระสูตรประเภทอื่นในหมวดนี้  มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๓๔ สูตร
มะ   =   มัชฌิมนิกาย  แปลว่า ขนาดกลาง  หมายถึง หมวดที่ราบรวมพระสูตรขนาดกลางไม่สั้นเกินไป  ไม่ยาวเกินไปไว้ส่วนหนึ่ง  ในหมวดนี้มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๑๕๒ สูตร
สัง   =   สังยุตตนิกาย  แปลว่า หมวดประมวล  คือ ประมวลเรื่องในพระสูตรที่เป็นประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่  มีจำนวนทั้งสิ้น ๗,๗๖๒ สูตร
อัง   =   อังคุตตรนิกาย  แปลว่า หมวดที่ยิ่งด้วยองค์  คือ จัดลำดับ ธรรมะในพระสูตรไว้เป็นหมวด ๆ ตามลำดับตัวเลข  เช่น หมวดธรรมะ ๒ ข้อ  เรียกว่า ทุกนิบาต  หมวดธรรมะ ๑๐ ข้อ  เรียกว่า ทสกนิบาต เป็นต้น  ในหมวดนี้ มีพระสูตรรวมทั้งสิ้น ๙,๕๕๗ สูตร
ขุ   =   ขุททกนิกาย  แปลว่า หมวดเล็กน้อย  รวบรวมข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน ๔ หมวดข้างต้นมารวมไว้ในหมวดนี้ทั้งหมด  เมื่อจะแบ่งโดยหัวข้อใหญ่ก็มี ๑๕ เรื่อง  คือ
๒.๑   ขุททกปาฐะ  แปลว่า บทสวดเล็ก ๆ น้อย  โดยมากเป็นบทสวดสั้น ๆ  เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
๒.๒   ธรรมบท  แปลว่า บทแห่งธรรม  คือ ธรรมภาษิตสั้น ๆ ประมาณ ๓๐๐ หัวข้อ (ส่วนเรื่องพิสดาร  มีท้องเรื่องประกอบปรากฏในอรรถกถา)
๒.๓   อุทาน  แปลว่า  คำที่เปล่งออกมา  หมายถึง คำอุทานที่เป็นธรรมภาษิต    มีท้องเรื่องประกอบเป็นเหตุปรารภในการเปล่งอุทานของพระพุทธเจ้า
๒.๔   อิติวุตตกะ  แปลว่า “ข้อความที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้”  เป็นการอ้างอิงว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความไว้อย่างนี้  ไม่มีเรื่องประกอบ  มีแต่ที่ขึ้นต้นว่าข้าพเจ้า      ได้ยินมาว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสไว้อย่างนี้
๒.๕   สุตตนิบาต  แปลว่า รวมพระสูตร  คือ รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน  มีชื่อสูตรบอกกำกับไว้
๒.๖   วิมานวัตถุ  แปลว่า เรื่องของผู้ได้วิมานแสดงเหตุดีที่ให้ได้ผลดีตามคำบอกเล่าของผู้ได้ผลดีนั้น ๆ
๒.๗   เปตวัตถุ  แปลว่า เรื่องของเปรตหรือผู้ล่วงลับไป  ที่ทำกรรมชั่วไว้
๒.๘   เถรคาถา  ภาษิตต่าง ๆ ของพระเถระผู้เป็นอรหันตสาวก
๒.๙   เถรีคาถา  ภาษิตต่าง ๆ ของพระเถระผู้เป็นอรหันตสาวิกา
๒.๑๐   ชาดก  แสดงภาษิตต่าง ๆ เกี่ยวโยงกับคำสอนประเภทเล่านิทาน (ท้องเรื่องพิสดาร  มีในอรรถกถาเช่นเดียวกับธรรมบท)
๒.๑๑   นิทเทส  แบ่งออกเป็น มหานิทเทส กับ จูฬนิทเทส  คือ มหานิทเทส เป็นคำอธิบายพระพุทธภาษิตในสุตตนิบาต (หมายเลข ๕) รวม ๑๖ สูตร  ส่วนจูฬนิทเทสเป็นคำอธิบาย  พระพุทธภาษิตในสุตตนิบาท (หมายเลข ๕) ว่าด้วยปัญหาของมาณพ    ๑๖ คน  กับ ขัคควิสาณสูตร  กล่าวกันว่าเป็นภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
๒.๑๒   ปฏิสัมภิทามัคค์  แปลว่า ทางแห่งปัญญาอันแตกฉาน  เป็นคำอธิบายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งกล่าวกันว่าพระสารีบุตรเถระได้กล่าวไว้
๒.๑๓   อปทาน  แปลว่า คำอ้างอิง  เป็นประวัติส่วนตัวที่แต่ละท่านเล่าไว้  ซึ่งอาจแบ่งได้  คือ เป็นอดีตประวัติของพระพุทธเจ้า  ของพระเถระอรหันตสาวก  ของพระเถรีอรหันตสาวิกา  ส่วนที่เป็นประวัติการทำความดีของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น  มีคำอธิบายว่าเป็นพระพุทธภาษิตตรัสเล่าให้พระอานนท์ฟัง
๒.๑๔   พุทธวังสะ  แปลว่า วงศ์ของพระพุทธเจ้า  หลักการใหญ่เป็นการแสดงประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ องค์  รวมทั้งของพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงเป็น ๒๕ องค์  นอกนั้นมีเรื่องเบ็ดเตล็ดแทรกเล็กน้อย
๒.๑๕   จริยาปิฎก  แปลว่า คัมภีร์แสดงจริยา  คือ การบำเพ็ญบารมีต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า  ซึ่งแบ่งหลักใหญ่ออกเป็น ทาน (การให้)  ศีล (การรักษากายวาจา             ให้เรียบรอย)  และเนกขัมมะ (การออกบวช)


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:11:01
๓.   สัง  วิ  ธา  ปุ  กะ  ยะ  ปะ  เป็นคำย่อพระอภิธรรมปิฎกทั้ง ๔๒,000 พระธรรมขันธ์
สัง   =   สังคณี  ว่าด้วยการรวมหมู่ธรรมะ  คือ ธรรมะแม้จะมีมากเท่าไร  ก็อาจรวมหรือจัดเป็นประเภท ๆ ได้เพียงไม่เกิน ๓ ประเภท
วิ   =   วิภังค์  ว่าด้วยการแยกธรรมะออกเป็นข้อ ๆ เช่น  เป็นขันธ์ ๕ เป็นต้น  ทั้งสังคณีและวิภังค์นี้  เทียบด้วยคำว่า สังเคราะห์ (Synthesis) และวิเคราะห์ (Analysis) ในวิทยาศาสตร์  เป็นแต่เนื้อหาในทางศาสนากับทางวิทยาศาสตร์  มุ่งไปคนละทาง  คงลงกันได้ในหลักการว่า  ควรเรียนรู้ทั้งในทางรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม  เช่น รถคันหนึ่งควรรู้ทั้งการประกอบเข้าเป็นคันรถ  และการแยกส่วนต่าง ๆ ออกฉะนั้น
ธา   =   ธาตุกถา  ว่าด้วย ธาตุ  คือ ธรรมะทุกอย่าง  อาจจัดเป็นประเภทได้โดย ธาตุ อย่างไร
ปุ   =   ปุคคลบัญญัติ  ว่าด้วย บัญญัติ ๖ ประการ  เช่น บัญญัติขันธ์  บัญญัติอายตนะ  จนถึงบัญญัติเรื่องบุคคล  พร้อมทั้งแจกแจงรายละเอียดเรื่องบัญญัติบุคคล    ต่าง ๆ ออกไป
กะ   =   กถาวัตถุ  ว่าด้วย คำถาม-คำตอบ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า เป็นคำถาม ๕๐๐ คำตอบ ๕๐๐ แต่ตัวเลข ๕๐๐ นี้  อาจหมายเพียงว่าหลายร้อย  เพราะเท่าที่นับกันดูแล้ว  ได้คำถาม-คำตอบ  อย่างละ ๒๑๙ ข้อ)
ยะ   =   ยมก  ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ ๆ บางทีการจัดคู่ก็มีลักษณะเป็นตรรกวิทยา  ซึ่งจะได้กล่าวถึงในภาค ๓ ย่อความแห่งพระไตรปิฎก
ปะ   =   ปัฏฐาน  ว่าด้วย ปัจจัย  คือ สิ่งสนับสนุน ๒๔ ประการ
เป็นอันว่า  หัวใจย่อแห่งพระไตรปิฏก  คือ อา ปา มะ จะ ปะ, ที มะ สัง อัง ขุ,   สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ  มีปรากฏสมบูรณ์ในยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก
๔.   โส  โส  สะ  สะ  อะ  อะ  อะ  อะ  นิ  ชุดนี้เป็นคำย่อของโลกุตรธรรม ๙  คือ มรรค ๔    ผล ๔  และนิพพาน ๑
โส   =   โสดาปัตติมรรค  คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน       ทีแรก  เป็นเหตุละสังโยชน์ ได้  คือ สักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา  สีลัพพตปรามาส
โส   =   โสตาปัตติผล  คือ ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน  อันเป็นผลที่พระโสดาบันพึงเสวย
สะ   =   สกทาคามิมรรค  คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี  เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ ข้างต้น  และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
สะ   =   สกทาคามิผล  คือ ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย
อะ   =   อนาคามิมรรค  คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี  เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕
อะ   =   อนาคามิผล  คือ ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย
อะ   =   อรหัตตมรรค  คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์  เป็นเหตุให้ละสังโยชน์ได้ทั้งหมด ๑๐ ข้อ
อะ   =   อรหัตตผล  คือ ผลความเป็นพระอรหันต์  ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย
นิ   =   นิพพาน  คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว  ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด  เพราะไร้กิเลส  ไร้ทุกข์  เป็นอิสระสมบูรณ์
๕.   เต  ชะ  สุ  เน  มะ  ภู  จะ  นา  วิ  เว  ชุดนี้เป็นคำย่อของการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในสิบชาติสุดท้ายก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  ที่นิยมเรียกกันว่า      พระจ้าสิบชาติ  หรือทศชาติชาดก
เต   =   พระเตมีย์  บำเพ็ญเนกขัมมบารมี  คือ การออกบวชปลีกตัวปลีกใจออกจากกาม
ชะ   =   พระมหาชนก  บำเพ็ญวิริยบารมี  คือ ความเพียรความแกล้วกล้า  ไม่เกรงกลัวอุปสรรค  พยายามบากบั่นอุตสาหะเรื่อยไป  ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่
สุ   =   พระสุวรรณสาม  บำเพ็ญเมตตาบารมี  คือ ความรักใคร่  ความปรารถนาดี  มีไมตรีจิตคิดเกื้อกูล
เน   =   พระเนมิราช  บำเพ็ญอธิษฐานบารมี  คือ ความตั้งใจมั่น  การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว  วางจุดหมายแห่งการกระทำไว้แน่นอน
มะ   =   พระมโหสถ  บำเพ็ญปัญญาบารมี  คือ ความรอบรู้  ความหยั่งรู้เหตุผล  เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
ภู   =   พระภูริทัตต์  บำเพ็ญศีลบารมี  คือ การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย
จะ   =   พระจันทกุมาร  บำเพ็ญขันติบารมี  คือ ความอดทน  ความทนทานของจิตใจ  ไม่ลุอำนาจกิเลส  ใช้สติปัญญาควบคุมจิตใจตนได้
นา   =   พระนารทะ  บำเพ็ญอุเบกขาบารมี  คือ ความวางใจเป็นกลางไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้าย  หรือชอบชัง  รักเกลียด
วิ   =   พระวิธูร  บำเพ็ญสัจจบารมี  คือ ความจริง พูดจริง ทำจริง และจริงใจ
เว   =   พระเวสสันดร  บำเพ็ญทานบารมี  คือ การให้  การเสียสละ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:11:26
๖.   อะ  สัม  วิ  สุ  โล  ปุ  สะ  พุ  ภะ  ชุดนี้เป็นคำย่อของพระพุทธคุณ ๙  คือ
อะ   =   อะระหัง
สัม   =   สัมมาสัมพุทโธ
วิ   =   วิชชาจะระณะสัมปันโน
สุ   =   สุคะโต
โล   =   โลกะวิทู
ปุ   =   อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ
สะ   =   สัตถา  เทวะมะนุสสานัง
พุ   =   พุทโธ
ภะ   =   ภะคะวา
๗.   อิ  สวา  สุ  และ  สุ  สวา  อิ  เป็นคำย่อของคุณพระรัตนตรัย
อิ   =   อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมา  สัมพุทโธ  วิชชาจะระณะ        สัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ ฯ
สวา   =   สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก  เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ฯ
สุ   =   สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  อุชุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  สามีจิปะฏิปันโน          ภะคะวาโต  สาวะกะสังโฆ,  ยะทิทัง  จัตตาริ,  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา,        เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  อาหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลี      กะระณีโย,  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ ฯ
(ข้อ ๖ และ ๗  ดูคำแปลในบทสวดถวายพรพระ)
๘.   มะอะอุ  ในยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้  ปรากฏกลับกันไปมา (อนุโลม  ปฏิโลม)  มีความหมายถึงการภาวนา  โดยนึกถึงคุณพระรัตนตรัย  ใน นโม  การัฏฐกคาถา   กล่าวถึงคำย่อนี้เป็น โอม  ว่า  นะโม โอมาตยารัทธัสสะ  ระตะนัตตยัสสะ  สาธุกัง  แปลว่า การนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยที่ขึ้นต้นว่า  โอม  (อะ อุ มะ)  ดังนี้ ให้สำเร็จประโยชน์
      อนึ่ง คำย่อในยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกที่ไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ (และคำแปล ข้างต้น) พึงทราบว่าเป็นมนต์คาถาที่ประดับยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกให้อลังการ และศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น  อีกทั้ง ท่านที่เคยสวดฉบับอื่นที่มีคำบางคำหรือบางวรรคไม่ต้องกันกับฉบับนี้  ไม่ได้หมายความว่าฉบับของท่านผิด  หรือฉบับนี้ผิด  และไม่ได้ทำให้อานิสงค์การสวดน้อยลงแต่อย่างใด  เพราะการสวดอาศัยศรัทธาเป็นหลัก  ในส่วนของหลักภาษายังสามารถพิจารณาเพื่อหาความถูกต้องได้อีก


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:49:27
พระอิติปิโสรัตนมาลา

นโม   ๓   จบ
(อิ)   อิฎโฐ  สัพพัญญุตะญาณัง   อิจฉันโต  อาสะวักขะยัง
   อิฎฐัง  ธัมมัง  อนุปปัตโต   อิทธิมันตัง  นะมามิหัง
(ติ)   ติณโณ  โญ  วัฎฎะทุกขัมหา   ติณณัง  โลกานะมุตตะโม
   ติสโส  ภูมี  อะติกกันโต      ติณณัง  โอฆัง  นะมามิหัง
 (ปิ)   ปิโย  เทวะมะนุสสานัง      ปิโย พรหมา นะมุตตะโม
   ปิโย  นาคะสุปัณณานัง      ปิณินทริยัง  นะมามิหัง
(โส)   โสกา  วิระตะจิตโต  โย      โสภะมาโน  สะเทวะเก
   โสกัปปัตเต  ปะโมเทนโต   โสตะวัณณัง  นะมามิหัง
(ภะ)   ภัชชิตา  เยนะ  สัทธัมมา      ภัคคะปาเปนะ  ตาทินา
   ภะเย  สัตเต  ปะหาเสนโต   ภะยะสันตัง  นะมามิหัง
(คะ)   คะมิโต  เยนะ  สัทธัมโม      คะมาปิโต  สะเทวะกัง
   คัจฉะมาโน  สิวัง  รัมมัง      คัมยะธัมมัง  นะมามิหัง
(วา)   วานา  นิกขะมิ  โย  ตัณหา   วาจัง  ภาสะติ  อุตตะมัง
   วานะ  นิพพาปะนัตถายะ      วายะมันตัง  นะมามิหัง
(อะ)   อะนัสสาสะกะสัตตานัง      อัสสาสัง  เทติ  โยชิโน
   อะนันตะคุณะสัมปันโน      อันตะคามิง  นะมามิหัง
(ระ)   ระโต  นิพพานะสัมปัตเต      ระโต  โส  สัตตะโมจะเน
   รัมมาเปตีธะ  สัตเตโย      ระณะจาคัง  นะมามิหัง
(หัง)   หัญญะเต  ปาปะเก  ธัมเม   หังสาเปติ  ปะรัง  ชะนัง
   หังสมานัง  มาหาวีรัง      หันตะปาปัง  นะมามิหัง
(สัม)   สังขะตาสังขะเต  ธัมเม      สัมมาเทเสสิ  ปาณินัง
   สังสารัง  สังวิฆาเฏติ      สะสัมพุทธัง  นะมามิหัง
(มา)   มาตะวา  ปาลิโต  สัตเต      มานะถัทเธ  ปะมัททิโน
   มานิโต  เทวะสังเฆหิ      มานะฆาฏัง  นะมามิหัง
(สัม)   สัญจะยัง  ปาริมิง  สัมมา      สัญจิตวา  สุขะมัตตะโน
   สังขารานัง  ชะยัง  กัตวา      สันตะคามิง  นะมามิหัง
(พุท)   พุชฌิตวา  จะตุสัจจานิ      พุชฌาเปติ  มะหาชะนัง
   พุชฌาเปนตัง  สิวัง  มัคคัง   พุทธะเสฏฐัง  นะมามิหัง
(โธ)   โธติ  ราเคจะ  โทเสจะ      โธติ  โมเหจะ  ปาณินัง
   โธตาสะวัง  มะหาวีรัง      โธตะกะเลสัง  นะมามิหัง


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:50:06
(วิช)   วิวิจเจวะ  อะสัทธัมมา         วิจิตวา  ธัมมะ  เทสะนัง
   วิเวเก  ฐิตะจิตโต  โย         วิทิตันตัง  นะมามิหัง
(ชา)   ชาติธัมโม  ชะราธัมโม         ชาติอันโต  ปะกาสิโต
   ชาติเสฏเฐนะ  พุทเธนะ      ชาติโมกขัง  นะมามิหัง
(จะ)   จะยะเต  ปุญญะสัมภาเร      จะเยติ  สุขะ  สัมปะหัง
   จะชันตัง  ปาปะ  กัมมานิ      จะชาเปนตัง  นะมามิหัง
(ระ)   ระมิตัง  เยนะ  นิพพานัง      รักขิตัง  โลกะสัมปะทัง
   ระชะ  โทสาทิ  กะเลเสหิ      ระหิตัง  ตัง  นะมามิหัง
(ณะ)   นามิโตเยวะ  พรหเมหิ         นระเทเวหิ  สัพพะทา
   นะทันโต  สีหะนาทัง  โย      นะทันตัง  ตัง  นะมามิหัง
(สัม)   สังขาเร  ติวิธโลเก         สัญชานาติ  อะนิจ  จะโต
   สัมนิพพานะ  สัมปัตโต      สัมปัสสันตัง  นะมามิหัง
(ปัน)   ปันนะกะเต  โพธิสัมภาเร      ปะสัฏโฐ  โสสะเทวะเก
   ปัญญายะ  อะสะโมโหติ      ปะสันนัง  ตัง  นะมามิหัง
(โน)   โน  เทติ  นิระยัง  คันตุง      โน  จะปาปัง  อะการะยิง
   โน  สะโมอัตถิ  ปัญญายะ      โนนะ  ธัมมัง  นะมามิหัง
(สุ)   สุนทะโร  วะระรูเปนะ         สุสสะโร  ธัมมะ  ภาเนสะ
   สุทุททะสัง  ทิสาเปติ         สุคะตันตัง  นะมามิหัง
(คะ)   คัจฉันโตโลกิยัง  ธัมมัง         คัจฉันโต  อะมะตัง ปะทัง
   คะโต  โต  สัตตะ  โมเจตุง      คะตัญ  ญาณัง  นะมามิหัง
(โต)   โตเสนโต  วะระธัมเมนะ      โตสัฎฐาเน  สิเว  วะเร
   โตสัง  อะกาสิ  ชันตูนัง         โตละจิตตัง  นะมามิหัง
(โล)   โลเภ  ชะหะติ  สัมพุทโธ      โลกะเสฏโฐ  คุณากะโร
   โลเภ  สัตเต  ชะหาเปติ      โลภะสันตัง  นะมามิหัง
(กะ)   กันโต  โย  สัพพะสัตตานัง      กัตวา  ทุกขังขะยัง  ชิโน
   กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง      กะถา สัณหัง นะมามิหัง
(วิ)   วินะยัง  โย  ปะกาเสติ         วิทธังเสตวา  ตะโยภะเว
   วิเส  สัญญาณะสัมปัญโน      วิปปะสันนัง  นะมามิหัง
(ทู)   ทูเส  สัตเต  ปะหาเสนโต      ทูรัฏฐานัง  ปะกาสะติ
   ทูรัง  นิพพานะมาคัมมะ      ทูสะหานัง  นะมามิหัง
(อะ)   อันตัง  ชาติชะราทีนัง         อะกาสิ  ทีปะ  ทุตตะโม
   อะเน  กุสสาหะจิตเตนะ      อัสสาเสนตัง  นะมามิหัง
(นุต)   นุเทติ  ราคะจิตตานิ         นุหาเปติ  ปะรัง  ชะนัง
   นุนะอัตถัง  มะนุสสานัง      นุสาสันตัง  นะมามิหัง
(ตะ)   ตะโนติ  กุสะลัง  ธัมมัง      ตะโนติ  ธัมมะเทสะนัง
   ตัณหายะ  วิจะรันตานัง      ตัณหาฆาตัง  นะมามิหัง
(โร)   โรเสนเต  เนวะโกเปติ         โรเสเหวะ  นะกุชฌะติ
   โรคานัง  ราคะอาทีนัง         โรคะสันตัง  นะมามิหัง
(ปุ)   ปุณันตัง  อัตตะโน  ปาปัง      ปูเรนตัง  ทะสะ  ปาระมิง
   ปุญญะวันตัสสะ  ราชัสสะ      ปุตตะภูตัง  นะมามิหัง
(ริ)   ริปุราคาทิภูตังวะ         ริทธิยา  ปะฏิหัญญะติ
   ริตตัง  กัมมังนะ  กาเรตา      ริยะวังสัง  นะมามิหัง
(สะ)   สัมปันโน  วะระสีเลนะ      สะมาธิปะ  วะโรชิโน
   สะยัมภูญญาณะสัมปันโน      สัณหะวาจัง  นะมามิหัง
(ทัม)   ทันโต  โย  สะกะจิตตานิ      ทะมิตวาปิ  สะเทวะกัง
   ทะทันโต  อะมะตัง  เขมัง      ทันตินทริยัง  นะมามิหัง
(มะ)   มะหุสสาเหนะ  สัมพุทโธ      มะหันตัง  ญาณะมาคะมิ
   มหิตัง  นะระเทเวหิ         มะโนสุทธัง  นะมามิหัง
(สา)   สารัง  เทตีธะ  สัตตานัง      สาเรติ  อะมะตังปะทัง
   สาระถิวิยะ  สาเรติ         สาระธัมมัง  นะมามิหัง
(ระ)   รัมมะตาริยะ  สัทธัมเม         รัมมาเปติ  สะสา  วะกัง
   รัมเมฐาเน  วะสาเปนตัง      ระณะหันตัง  นะมามิหัง
(ถิ)   ถิโต  โย  วะระนิพพาเน      ถิเร  ฐาเน  สะสาวะโก
   ถิรัง  ฐานัง  ปะกาเสติ         ถิตะธัมมัง  นะมามิหัง
(สัต)   สัทธัมมัง  เทสะยิตวานะ      สันตัง นิพพานะ ปาปะกัง
   สะมาหิตัง  สะสาวะกัง      สันตะจิตตัง  นะมามิหัง
(ถา)   ถามัง  นิพพานะ  สังขาตัง      ถาเมนาธิ  คะโตมุนิ
   ถาเนสัคคะสิวะ  รัมเม         ถาเปนตัง  ตัง  นะมามิหัง
(เท)   เทนโต  โย  สัคคะนิพพานัง      เทวะ  มะนุสสะ  ปาณินัง
   เทนตัง  ธัมมะวะรัง  ทานัง      เทวะ  เสฏฐัง  นะมามิหัง
(วะ)   วันตะราคัง  วันตะโทสัง      วันตะโมหัง  อะนาสะวัง
   วันทิตัง  เทวะพรหเมหิ         วะรัง  พุทธัง  นะมามิหัง
(มะ)   มะนะตา  วิริเยนาปิ         มะหันตัง  ปาระมิงอะกา
   มะนุสสะเทวะพรหเมหิ         มหิตัง  ตัง  นะมามิหัง

(นุส)   นุนะธัมมัง  ปะกาเสนโต      นุทะนัตถายะ  ปาปะกัง
   นุนะทุกขาธิปันนานัง         นุทาปิตัง  นะมามิหัง
(สา)   สาวะกานัง  นุสาเสติ         สาระธัมเมจะปาณินัง
   สาระธัมมัง  มะนุสสานัง      สาลิตัง  ตัง  นะมามิหัง
(นัง)   นันทันโต  วะระสัทธัมเม      นันทาเปติ  มะหามุนิ
   นันทะภูเตหิ  เทเวหิ         นันทะนียัง  นะมามิหัง
(พุท)   พุชฌิตาริยะสัจจานิ         พุชฌาเปติ  สะเทวะกัง
   พุทธะญาเณหิ  สัมปันนัง      พุทธัง  สัมมา  นะมามิหัง
(โธ)   โธวิตัพพัง  มะหาวีโร         โธวันโต  มะละมัตตะโน
   โธวิตตา  ปาณินัง  ปาปัง      โธตะกเลสัง  นะมามิหัง
(ภะ)   ภะยะมาปันนะสัตตานัง      ภะยัง  หาเปตินายะโต
   ภะเว  สัพเพ  อะติกกันโต      ภะยะสันตัง  นะมามิหัง
(คะ)   คะธิโต  เยนะ  สัทธัมโม      คะตัญญา  เณนะปาณินัง
   คัณหะนียัง  วะระธัมมัง      คัณหาเปนตัง  นะมามิหัง
(วา)   วาปิตัง  ปะวะรัง  ธัมมัง      วานะโมกขายะ  ภิกขูนัง
   วาสิตัง  ปะวะเร  ธัมเม      วานะมานัง  นะมามิหัง
(ติ)   ติณโณ  โส  สัพพะปาเปหิ      ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต
   ติเร  นิพพานะ  สังขาเต      ติกขะญาณัง  นะมามิหัง
จบห้อง  พระพุทธคุณ  ๕๖  คาถา


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:50:26
(สวาก)สวากตันตัง  สิวัง  รัมมัง      สวากหะเนยยัง ธัมมะ เทสันตัง
   สวากหะเนยยัง  ปุญญักเขตตัง      สวากสะภัง  นะมามิหัง
(ขา)   ขาเทนโต  โส  สัพพะปัชชัง      ขายิตัง  มะธุรัง  ธัมมัง
   ขายันตัง  ติวิธัง  โลกัง         ขายิตันตัง  นะมามิหัง
(โต)   โตเสนโต  สัพพะสัตตานัง      โตเสหิ  ธัมมะเทสะนัง
   โตมะหิ  จิตตัง  สะมิชณันตัง      โตเสนตันตัง  นะมามิหัง
(ภะ)   ภัคคะราโค  ภัคคะโทโส      ภัคคะโมโห  อนุตตะโร
   ภัคคะกิเลเส  สัตตานัง         ภะคะวันตัง  นะมามิหัง
(คะ)   คัจฉันโต  รัมมะเกสิเว         คะหะะจิตโต  สะเทวะเก
   คัจฉันเต  พรหมะ  จะติเย      คัจฉันตัง  ปะ  นะมามิหัง
(วะ)   วันตะราคัง  วันตะโทสัง      วันตะโมหัง ปุญญะ ปาปัง อนุตตะรัง
   วันตะพาละมิจฉาทีนัง         วันตันตัง  ปะ  นะมามิหัง
(ตา)   ตาเรสิ  สัพพะสัตตา         ตาเรติ  โอระมีติรัง
   ตาเรนตัง  โมกขะ  สังสารัง      ตาเรนตันตัง  นะมามิหัง
(ธัม)   ธะระมาเนปิ  สัมพุทเธ         ธัมเมเทสัง  นิรันตะรัง
   ธะเรยยะ  อะมะตะถานัง      ธะเรนตันตัง ปะ นะมามิหัง
(โม)   โมหัญเญ  ทะมันโต  สัตเต      โมหะตีเต  อะการะยิ
   โมหะชาเต  ธัมมะจาริ         โมหะตีตัง  นะมามิหัง
(สัน)   สัพพะสัตตะตะโมนุโท         สัพพโสกาวินาสะโก
   สัพพะสัตตะจิตตะกะโก      สัพพะสันตัง  นะมามิหัง
(ทิฏ)   ทิฏเฐ  ธัมเม  อะนุปปัตเต      ทิฏฐิกังขา  ราคะลุตเต
   ทิฏฐิทะวาสัฏฐี  ฉันทันเต      ทิฏฐิธัมเม  ปะ  นะมามิหัง
(ฐิ)   ฐิตีสีละสะมาจาเร         ฐิติ  เตระสะธุตังเค
   ฐิติธัมเม  ปะฏิปัตติ         ฐิตังปะทัง  นะมามิหัง
(โก)   โกกานัง  ราคะปิฬิโต         โกธัมโม  ปาฏิหัญญะติ
   โกกานัง  ปูชิโต  โลเก         โกกานะ  ปะ     นะมามิหัง
(อะ)   อัคโคเสฏโฐ  วะโรธัมโม      อัคคะปัญโญปิ  พุชฌะติ
   อัคคะธัมมัง  สุนิปุณัง         อัคคันตัง  ปะ  นะมามิหัง
(กา)   กาเรนโต  โส  สิเวรัชเช         กาเรยยะ  ธัมมะจาริเย
   กาตัพเพ  สุลิกขากาเม         กาเรนตันตัง     นะมามิหัง
(ลิ)   ลิโต  โย  สัพพะทุกเขสุ         ลิกขิโตปิฏะ  กัตตะเย
   ลิมปิเตปิ  สุวัณเณจะ         ลิขันเต  ปะ  นะมามิหัง

(โก)   โก  ปุคคะโล  สะทิโสมัง      โก  ธัมมัง  อะภิปูชะยิ
   โกวิทู  ธัมมะสาระทัง         โกสาลาตัง  นะมามิหัง


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:51:11
(เอ)   เอสะติ  พุทธธะวะจะนัง      เอสะติ  ธัมมะมุตตะมัง
   เอสะติ  สัตตะโมกขัญจะ      เอสาสันตัง  นะมามิหัง
(หิ)   หิเน  ถาเน  นัชฌายันเต      หิเน  เปติ  สุคะติง
   หิเน  โมหะสะเม  ชาเล         หิตันตัง  ปะ  นะมามิหัง
(ปัส)   ปักกะโต  โพธิสัมภาเร         ปะเสฏโฐ   โสสะเทวะเส
   ปัญญายะ  อะสะโม  โหติ      ปะสันตานัง  นะมามิหัง
(สิ)   สีเลนะ  สุคะติง  ยันติ         สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
   สีเลนะ  นิพพุติงยันติ         สีละธะนัง  นะมามิหัง
(โก)   โก  โย  อัคคะสุปุญโญ ปุพเพ      โกฑะชะเห  อะธิ  คัจฉิ
   โกธัมมัญจะ  วิชานาติ         โกวันตัง  ปะ  นะมามิหัง
(โอ)   โอนะโต  สัพพะกิเลสัง         โอนะโต  สัพพะ  มะมะลัง
   โอนะโต  ทิฏฐิชาลัญจะ      โอนะโตตัง  นะมามิหัง
(ปะ)   ปัญญา  ปาเสฏโฐ  โลกัสมิง      ปัญญาอัปปะฏิ  ปุคคะโล
   ปัญญายะ  อะสะโม  โหติ      ปะสันโนตัง  นะมามิหัง
(นะ)   นะรานะระ  หิตังเทวัง         นะระเทเวหิ  ปูชิตัง
   นะรานัง  กัมมะปักเขหิ      นะมิตันตัง  นะมามิหัง
(ยิ)   ยิชชะโต  สัพพะสัตตานัง      ยิชชะตัง  เทวะ  พรหเมหิ
   ยิชชะสะติ  จะ  ปาณินัง      ยิชชะตันตัง  นะมามิหัง
(โก)   โกธัง  ชะหะติ  ปาปะกัง      โกธัง  โกธะนัง  นาสสะติ
   โกธัง  ชะเหวิ  ปัชชะติ         โกธะ  นุทธัง  นะมามิหัง
(ปัจ)   ปัจจาภิระตา  ปะชา         ปัชชะหิตา  ปาปะกาโย
   ปัปโปติ  โชติวิปุโล         ปะโชตันตัง  นะมามิหัง
(จัต)   จะริตวา  พรหมะจะริยัง      จัชชันตัง  สุวิหัญญะติ
   จัชชันตัง  สัพพะทาเนนะ      จัชชะตันตัง  นะมามิหัง
(ตัง)   ตังโนติ  กุสะลังธัมมัง         ตังโนติ  สัพพะวิริยัง
   ตังโนติ  สีละสะมาธิง         ตังตะวายัง  นะมามิหัง
(เว)   เวรานิปิ  นะ  พันธันติ         เวรัง  เตสูปะสัมมะติ
   เวรัง  เวเรนะ  เวรานิ         เวระสันตัง  นะมามิหัง
(ทิ)   ทีฆายุโก  พะหูปุญโญ         ทีฆาระโต  มะหาสาโล
   ทีฆังเตเชนะ  ปุญเญนะ      ทีฆะรัตตัง  นะมามิหัง
(ตัพ)   ตะโต  ทุกขา  ปะมุญจะโส      ตะโตโมเจติ  ปาณิโน
   ตะโน  ราคาทิ  กิเลเส         ตะโตโมกขัง  นะมามิหัง
(โพ)   โพนโต  เทวะสังฆาโย  โก      โพธิเสฏ  เฐจะ  ปะกะโต
   โพธินา  ปะริปุณโณโส         โพธิสันตัง  นะมามิหัง
(วิญ)   วิระติ  สัพพะทุกขัสมา         วิริยะนาปี  ทุลละภา
   วิริยะ  ทุกขสัมปันนา         วิริยันตัง  นะมามิหัง
(ญู)   ญูตัญญาเญหิ  สัมปันนัง      ญูตะโยคะสะมัปปิตัง
   ญูตัญญาณะทัสสะนัญจะ      ญูตะโยคัง  นะมามิหัง
(หิ)   หิสันตัง  สัพพะโทสานิ         หิสันตา  สัพพะภยาติ
   หิสะโมหา  สัตตาคะตา      หิสะสันตัง  นะมามิหัง
(ติ)   ติณโณ  โย  วัฏฏะทุกธัมมะหา   ติณนะโลกานะ  มุตตะโม
   ติสโสภูมิ  อะติกกันโต         ติณนะโอฆัง  นะมามิหัง
จบห้องพระธรรมคุณ  ๓๘  คาถา


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 23 เมษายน 2553 17:51:43
(สุ)   สุทธิสีเลหิ  สัมปันโน         สุฏฐะปัตโตจะโย  สังโฆ
   สุนทะโร  สาสะนะธะโร      สุนทะรัง  ปะ  นะมามิหัง
(ปะ)   ปฎิสัมภิทา  จะตัสโส         ปะเสฏโฐ  โสอนุตตะโร
   ปัญญา  อนุตตะโร  โลเก      ปะสัฏฐัง  ปะ  นะมามิหัง
(ฏิ)   ฏิตถิปะราชิโต  สัตถา         ฏิตถาฏิยา  ทัสสะนะเม
   ฏิตถิ  พุทธะวิเสนะ         ฏิตถันตันตัง  นะมามิหัง
(ปัน)   ปะเสฏโฐ  ธัมมะคัมภิโร      ปัญญะวันโต  อะลังกะโต
   ปะเสนโต  อัตถะธัมมัญจะ      ปะสัฏฐัง  ปะ  นะมามิหัง
(โน)   โนเจติ  กุสะลัง  กัมมัง         โนจะปาปัง  อาการะยิ
   โนนะตัง  พุชฌะ  ธัมมัญจะ      โนทิสันตัง  นะมามิหัง
(ภะ)   ภัคคะราโค  ภัคคะโทโส      ภัคคะโมโหจะ  ปาณินัง
   ภัคคะกิเสสะสัตตานัง         ภัคคะตันตัง  นะมามิหัง
(คะ)   คัจฉันโต  โลกิยัง  ธัมมัง      คัจฉันโต  โลกุตตะ  รัมปี
   คัจฉะเทวะ  กิเลเสหิ         คะมิตันตัง  นะมามิหัง
(วะ)   วัณเณติ  กุสะลัง  ธัมมัง      วัณเณติสีละสัมปันนัง
   วัณเณติกขะติ  รักขิตัง         วัณเณนะตัง  นะมามิหัง
(โต)   โตเสนโต  เทวะมะนุสโส      ธัมมะยะลิ  โตเสติ
   ทุฏฐะ  จิตตานิ            โตเสนตันตัง  นะมามิหัง
(สา)   สาสะนัง  สุปะฏิจฉันนัง      สาสะยันตังลิวัง  รัมมัง
   สาสะนัง  อะนุสาเสนยัง      สาสะยันตัง  นะมามิหัง
(วะ)   วันตะราคัง  วันตะโทสัง      วันตะโมหัง  ทิฏฐิ  ฉันทัง
   วันตานัง  สัพพะปาณินัง      วันตะกิเลสัง  นะมามิหัง
(กะ)   กะโรนโต  สีละสะมาธิง      กะโรนโต  สาระมัตตะโน
   กะโรนโต  กัมมัฏฐานานิ      กะโรนโต ตันตัง นะมามิหัง
(สัง)   สังสาเร  สังสะรันโต  โส      สังสาระโต  วิมุญจิโส
   สังสาระ  ทุกขโมเจสิ         สังเสฏฐัง  ปะ  นะมามิหัง
(โฆ)   โฆรัง  ทุกขะยัง  กัตวา         โฆสาเปติ  สุรังนะรัง
   โฆสะยิตวา  ติปิฏะกัง         โฆระตันตัง  นะมามิหัง
จบห้องพระสังฆคุณ  ๑๔  คาถา
   
สะตะอัฏฐะธัมมะคาถา  รัตตะนัตตะยะคุณาสะมัตตา  เอเตนะ  ชะยะเตเชนะ  โสตถิเม  ชะยะมังคะลัง ฯ
   ปุตโต  ตะยาหัง  มะหาราชัง  ตะวัง  มังโปสะชานาที  อัญโญ  กิญจิ  เทโว  โทเสติ  สะมัง  ปัชชะ  ฯ
   อิติปาระมิตา  ติงสา  อิติ  สัพพัญญุมาคะตา  อิติ  โพธิมะ  นุปปัตโต  อิติ  ปิโสจะเต  นะโม  ฯ
   ภะคะวา   ภะคะวา  นามะ  ภะโค  กิเลสะ  พาหะโน  ภะโคสังสาระจักกานัง  ภะคะวา  นามะ  เตนะโม  ฯ
รวม  ๓  ห้อง   ๑๐๘  คาถา   อิติปิโสระตะนะมาลา  นิฏฐิตัง

***พระพุทธภาษิตธะชัคคะสูตรแสดงไว้ดังนี้  ภิกษุทั้งหลาย  ถ้าว่าความกลัวหรือความหวาดเสียว  หรือขนพองสยองเกล้า  เกิดขึ้นแก่ท่านทั้งหลาย  ผู้ไปสู่ที่ว่างเปล่า  อันเป็นที่เงียบสงัดอันจะพึงกลัว  เป็นตันว่า  ไปสู่ป่าก็ดี  สู่โคนต้นไม้ก็ดี  สู่เรือนเปลี่ยวก็ดี  สมัยนั้นท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเราผู้ตถาคตอย่างนี้ว่า 
***“ อิติปิโส  ภะคะวา  อะระหัง สัมมา  สัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโณ  สุคะโต  โลกะวิทู  อนุตตะโรปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง  พุทโธภะคะวาติ ”***


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:38:23
พระคาถาอาการะวัตตาสูตร
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดี ได้ทรงกระทำตามกันมาทุกๆพระองค์
พระสูตรนี้เป็นพระสูตรอันใหญ่ยิ่งหาสูตรอื่นมาเปรียบมิได้ ด้วยมีทั้ง พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ พระปิฎก
ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งวางในที่อันไม่สมควรเลย จงทำการสักการะบูชา สวดมนต์ ภาวนา ฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:39:19
1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:40:11
7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:40:39
12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)
________________________________________


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:41:20
อานิสงส์อาการวัตตาสูตร
......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานี
ราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า “อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา” สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หนาไปด้วยกิเลสมีอวิชชาหุ้มห่อไว้ มีสันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากุศลมูลขาดแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว เที่ยงที่จะไปสู่อบายทั้ง ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายและสัตดิรัจฉาน เมื่อสัตว์หนาไปด้วยอกุศล จะนำตนให้ไปไหม้อยู่ในอบายภูมิตลอดกาลยืดยาวนาน ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี๓๐ ทัศ มีอยู่จะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งมวล และธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตรพระวินัย พระปรมัตถ์ล้วนเป็นธรรมที่จะนำให้สัตว์พ้นจากสังสารทุกข์ทั้งนั้น เมื่อปริวิตกเช่นนี้เกิดมีแก่พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรแล้ว ด้วยความเมตตากรุณาแก่ประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในสุดท้ายภายหลังจะได้ปฏิบัติเป็นเครื่องป้องภัยในอบาย พระผู้เป็นเจ้าจึงยกอัญชลีกรถวายอภิวาทพระบรมโลกนาถเจ้า แล้วทูลถามว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ “เย เกจิ ทุปฺปญฺญา ปถคฺคลา” บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญายังหนาด้วยโมหะหารู้จักพุทธกรณธรรม คือบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้นไม่เพราะเป็นคนอันธพาล กระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวงด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำกระทำกรรมตั้งแต่เบาคือ ลหุกรรม จนกระทั่งกรรมหนักคือครุกรรม โดยไม่มีความกระดากอาย เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ จากชีวิตอินทรีย์แล้วจะไปเกิดในอเวจีนิรยาบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าข้าผู้ประเสริฐ ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพสามารถปราบปรามห้ามเสียซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มิให้ตกไปสู่นรกใหญ่จะมีอยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า
ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕  คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่น ๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตามระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้ และบุคคลผู้ใดได้ฟังก็ดีได้เขียนเองก็ดี หรือได้จ้างท่านผู้อื่นเขียนให้ก็ดีได้ท่องทรงจำไว้ก็ดี ได้กล่าวสอนผู้อื่นก็ดี ได้สักการบูชาเคารพนับถือก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่เนือง ๆ ก็ดี ก็จะได้พ้นจากภัย ๓๐ ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของนรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธรผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ
เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะเป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอันผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์ ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗ ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่นเทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่คติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:42:05
นะมะการะสิทธิคาถา
พระนิพนธ์ของสมเด็จพระพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
___________________
ใช้แทนสัมพุทเธ
โย จักขุมา โมหะมะลาปะกัฏโฐ สามัง วะ พุทโธ
สุคะโต วิมุตโต มารัสสะ ปาสา วินิโมจะยันโต ปาเปสิ
เขมัง ชะนะตัง วิเนยยัง ฯ พุทธัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ ตันเตชะสา เต ชะยะ
สิทธิ โหตุ สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ
ธัมโม ธะโช โย วิยะ ตัสสะ สัตถุ ทัสเสสิ โลกัสสะ
วิสุทธิมัคคัง นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะธารี สาตาวะโห สันติกะโร
สุจิณโณ ฯ ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ โมหัปปะทาลัง
อุปะสันตะทาหัง ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
สัมพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ
สัทธัมมะเสนา สุ คะตานุโค โย โลกัสสะ ปาปูปะกิเล
สะเชตา สันโต สะยัง สันตินิโยชะโก จะ สวากขาตะธัมมัง
วิทิตัง กะโรติ ฯ สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
พุทธานุพุทธัง สะมะสีละทิฏฐิง ตันเตชะสา เต ชะยะ
สิทธิ โหตุ สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ
__________________

ขึ้นสวดมนต์สิบสองตำนาน

สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตานุภาโว
สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ ฯ สะมันตา จักกะวาเฬสุ
อัตรา คัจฉันตุ เทวะตา สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ
สัคคะโมกขะทัง ฯ
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข
วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน
เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม
ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง
สาธะโว เม สุณันตุ ฯ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัส สะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล
อะยัมภะทันตา ฯ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
( ว่า ๓ หน )

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง
คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสา
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ
หันตวา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ
อะเสสะโต ฯ สัมพุทเธ ปัญจะปัญญาสัญจะจะตุวีสะติ สะหัส
สะเก ทะสะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสัง
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ
หันตวา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ
อะเสสะโตฯ สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก
วีสะติสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสัง สังฆัญจะ
อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ
อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

( ถ้าไม่สวด สัมพุทเธ จะสวด นะมะการะสิทธิคาถา
ซึ่งอยู่หน้าต้นแทนก็ได้ )
______________________


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:42:45
นะโมการะอัฏฐะกะ

นะโม อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ มะเหสิโน นะโม
อุตตะมะธัมมัสสะ สวากขาตัสเสวะ เตนิธะ นะโม มะหาสังฆัสสาปิ
วิสุทธะสีละทิฏฐิโน นะโม โอมาตยารัทธัสสะ ระตะนัตตะยัสสะ
สาธุกัง นะโม โอมะกาตี ตัสสะ ตัสสะวัตถุตตะยัสสะปิ นะโม
การัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา นะโม การานุภาเวนะ
สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา นะโม การัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ
เตชะวา ฯ
( นะโมการะอัฏฐะกะนี้สวดในสมัยที่ควร )
_____________________

เริ่มมังคะละสุตตัง

เย สันตา สันตะจิตตา ติสะระณะสะระณา เอตถะ
โลกันตะเร วา ภุมมาภุมมา จะ เทวา คุณะคะณะคะหะณัพยาวะฏา
สัพพะกาลัง เอเต อายันตุ เทวา วะระกะนะ กะมะเย เมรุราเช
วะสันโต สันโต สันโต สะเหตุง มุนิวะระวะจะนัง โสตุมมัคคัง ฯ
สัพเพสุจักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พรัหมุโน ยัง อัมเหหิ กะตัง
ปุญญัง สัพพะสัมปัตติ สาธะกัง สัพเพ ตัง อะนุโมทิตวา
สะมัคคา สาสะเน ระตา ปะมาทะระหิตา โหนตุ อารักขาสุ
วิเสสะโต สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒี ภะวะตุ
สัพพะทา สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา
สัทธิง โหนตุ สุขี สัพเพ ปะริวาเรหิ อัตตะโน อะนีฆา
สุมะนา โหนตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ
ยัญจะ ทวาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา
จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง จักกะ
วาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง กาลัง โกลาหะลัง
ชาตัง ยาวะ พรัหมเวสะนา ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ
สัพพะปาปะวินาสะนัง ยัง สุตวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตา
สังขิยา นะรา เอวะมาทิคุณูเปตัง มังตะลันตัมภะณามะ เห ฯ
____________________

มังคะละสุตตัง

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ
อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา
อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา
เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา
ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิฯ
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา
จะ ปูชะนียานัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ปะฏิรูปะเทสะ
วาโส จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ
เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย
จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห อะนากุลา จะ
กัมมันตา เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ
ญาตะกานัญจะ สังคะโห อะนะวัชชานิ กัมมานิเอตัม
มังคะละมุตตะมัง ฯ อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ
สัญญะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา กาเลนะ
ธัมมัสสะวะนัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ขันตี จะ โสวะจัสสะตา
สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัม
มังคะละมุตตะมัง ฯ ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ
ทัสสะนัง นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง
วิระชัง เขมัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ เอตาทิสานิ กัตวานะ
สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง
มังคะละมุตตะมันติ ฯ
________________________


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:43:18
เริ่มระตะนะสุตตัง

ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะปาระมิโย
ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโยติ
สะมะติงสะ ปาระมิโย ปูเรตวา ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส
จะริยา ปัจฉิมมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง
ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง
สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง นะวะ
โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา
ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา
อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา
โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาฌัมปะฏคคัณหันติ
ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร โรคามะนุสสะ ทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง
ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
__________________________

ระตะนะสุตตัง

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ
อันตะลิกเข สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ
สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง ตัส์มา หิ ภูตา นิสาเมถะ
สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ทิวา จะ
รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัส์มา หิ เน รักขะถะ
อัปปะมัตตา ฯ ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สะเคสุ
วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ
โหตุ ฯ ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สัก์ยะมุนี
สะมาหิโต นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม
ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยีสุจิงสะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง
ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย ปุคคะลา
อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ เต
ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ
มะหัปผะลานิ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ เต ปัตติปัตตา อะมะตัง
วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา อิทัมปิ สังเฆ
ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยะถินทะขีโล ปะถะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะ
กัมปิโย ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ
อะเวจจะ ปัสสะติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย อะริยะสัจจานิ
วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ กิญจาปิ เต
โหติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ
โหตุ ฯ สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา
ชะหิตา ภะวันตุ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง
วาปิ ยะทัตถิกิญจิ จะตูหะปาเยหิ จะวิปปะมุตโต ฉะจาภิฐานานิ
อะภัพโพ กาตุง อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ
ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา อะภัพโพ โส
ตัสสะ ปะฏิฐฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ
วุตตา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัส์มิง คิมเห ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง
อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ อิทัมปิ พุทเธ
ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ วะโร
วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง
อะเทสะยิ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ
สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง เต ขีระพีชา
อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป อิ
ทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวา
อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ ปูชิตัง พุทธัง
นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยานีธะ ภูตานิ สะมา คะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ
ปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยานีธะ ภูตานิ
สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง
เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
___________________


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:43:53
เริ่มกะระณียะเมตตะสุตตัง

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ
สุตโต ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง
ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

กะระณียะเมตตะสุตตัง

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง
อะภิสะเมจจะ สักโก อุชู จะ สุหุชู สุวะโจ จัสสะ
มุทุ อะนะติมานี สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ
จะ สัลละหุกะวุตติ สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะ
คัพโภ กุเลสุ อะนะ นุคิทโ ธ นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ
เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา เย เกจิ ปาณะภู
ตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ทีฆา วา เย
มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา ทิฏฐา วา
เย จะ อัทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร ภูตา วา สัมภะ
เวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา นะ ปะโร ปะรัง
นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ พยาโรสะนา
ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ มาตา
ยะถานิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข เอวัมปิ
สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง เมตตัญจะ
สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ
จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรังอะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง
นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ เอตัง
สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญ
จะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ
วิเนยยะ เคธัง นะหิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ
___________________

เริ่มขันธะปะริตตัง

สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนา
เสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ
สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ
ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ
___________________

ขันธะปะริตตัง

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะระเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม จะตุปปะ
เทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม มา มัง อะปา
ทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก มา มัง จะตุปปะโท
หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท สัพเพ สัตตา สัพเพ
ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ
มา กิญจิ ปาปะมาคะมา อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ
ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ
อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระภู มูสิกา กะตา
เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง
นะโม ภะคะวะโต นะโม สันตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ
___________________


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:44:29
ฉัททันตะปะริตตัง

วะธิสสะเมนันติ ปะรามะสันโต กาสาวะมัททักขิ ธะชัง
อิสีนัง ทุกเขนะ ผุฏฐัสสุทะปาทิ สัญญา อะระหัทธะโช
สัพภิ อะวัชฌะรูโป สัลเลนะ วิทโธ พยะถิโตปิ สันโต
กาสาวะวัตถัมหิ มะนัง นะทุสสะยิ สะเจ อิมัง นาคะวะ
เรนะ สัจจัง มามัง วะเน พาละมิคา อะคัญฉุนติฯ
___________________

เริ่มโมระปะริตตัง

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ
สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา จิรัสสัง วายะมัน
ตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมะมันตันติ อักขาตัง
ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

โมระปะริตตัง

อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ
ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง
ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย
พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมฌม เต เม นะโม เต จะ
มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม
วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา
โมโร จะระติ เอสะนาฯ อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ
หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ
รัตติง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม
เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง
กัตวา โมโร วา สะมะกัปปะยีติฯ
___________________

เริ่มวัฏฏะกะปะริตตัง

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง ยัสสะ
เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ เถรัสสะ
สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ
มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

วัฏฏะกะปะริตตัง

อัตถิ โลเก สีละถุโณ สัจจัง โสเจยยะนุททะยา
เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา
ธัมมะพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะวัส
สายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา
สันติปาทา อะวัญจะนา มาตา ปิตา จะ นิกขันตา ชาตะ
เวทะ ปะฏิกกะมะ สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัช
ชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา
สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ
___________________

เริ่มธะชัคคะสุตตัง

ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพู
ปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา คะณะนา นะ
จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:45:01
ธะชัคคะสุตตัง

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ
โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต
ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ
ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพยุฬ
โห อะโหสิ ฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท
เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา
มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง
อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
โส ปิหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย
ยาถะ ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง
อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ
เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ วะรุณัสสะ
หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ
ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิส
สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโล
เกยยาถะ อีสานัสสะ หิโว เทวะ ราาชัสสะ ธะชัคคัง
อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติฯ
ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะ
มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา
เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา
เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา
เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง
วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วาโส ปะหิยเยถาปิ โนปิ
ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะเหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท
อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุ ฉัมภี อุตราสี
ปะลายีติฯ อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ
ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง
วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง
วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง
สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ
ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง
เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ
สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ
กะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะ
ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว
อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถา
คะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค
วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุตราสี อะปะ
ลายีติฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วตวานะ สุคะโต
อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อะรัญเญ รุกขะมูเล วา
สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง
ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะ
เชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง
สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
เอวัมพุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง
วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ
___________________


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:45:41
เริ่มอาฏานาฏิยะปะริตตัง

อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ ปะริสานัญจะ
ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโร
ปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ
___________________

อาฏานาฏิยะปะริตตัง

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส
สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ
นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ
เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ
วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง
ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก
ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ
สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง
กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ
ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร
เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ
ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ
สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี
การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ
วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู
สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ
ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ
เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต
ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต
ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ
ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา
มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา
สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา
มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา
สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา
เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ
หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา
ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา
มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน
ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ
พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต
สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา
ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง
ภะวะ ฯ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ
ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ
ตุมเห อันุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง
ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ
นาคา มิหิทธิกา เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ
สุเขนะ จะ อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ
วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา
โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
อาโรเยนะ สุเขนะ จะ อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา
เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม
สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม
สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ
เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุ
เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ
ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา ธัมมะ
ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา
วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง
วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต
ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ
นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ
สุขัง พะลัง ฯ
______________________


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:47:36
เริ่มอังคุลิมาละปะริตตัง

ปะริตตัง ยัมภะณันตัสสะ นิสินนัฏฐานะโธวะนัง
อุทะกัมปิ วินาเสติ สัพพะเมวะ ปะริสสะยัง โสตถินา
คัพภะวุฏฐานัง ยัญจะ สาเธติ ตัง ขะเณ เถรัสสังคุลิมา
ลัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง
ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

อังคุลิมาละปะริตตัง

ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชา
นามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ
โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ ยะโตหัง ภะคินิ
อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง
ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ
คัพภัสสะ ฯ ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ
สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ
_________________________

เริ่มโพชฌังคะปะริตตัง

สังสาเร สังสะรันตานัง สัพพะทุกขะวินสะเน
สัตตะ ธัมเม จะ โพชฌังเค มาระเสนัปปะมัททิโน
พุชฌิตวา เยปิเม สัตตา ติภะวามุตตะกุตตะมา อะชาติง
อะชะราพยาธิง อะมะตัง นิพภะยัง คะตา เอวะมาทิคุณู
เปตัง อะเนกะคุณะสังคะหัง โอสะถัญจะ อิมัง มันตัง
โพชฌังคันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________



โพชฌังคะปะริตตัง

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติ ปัสสัทธิโพชฌังคา จะ ตะถาปะเร สะมาธุเปกขะ
โพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
ภาวิตา พะหุลีกะตา สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ
จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ
สัพพะทา ฯ เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ
กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ เอกะทา
ธัมมะราชาปิ เคลัญเญ นาภิปีฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ
ภะณาเปตวานะ สาทะรัง สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา
วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ
สัพพะทา ฯ ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ
มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ
___________________

เริ่มอะภะยะปะริตตัง

ปุญญะลาภัง มะหาเตชัง วัณณะกิตติมะหายะสัง
สัพพะสัตตะหิตัง ชาตัง ตัง สุณันตุ อะเสสะโต
อัตตัปปะระหิตัง ชาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ
___________________


อะภะยะปะริตตัง

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป
สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง
คะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห
ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ
สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ
วินาสะเมนตุ ฯ
ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพ เทวา นุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา ทานัง
ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา ภาวะนาภิระตา
โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโสฯ
____________________


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:48:03
เริ่มชะยะปะริตตัง

ชะยัง เทวะมะนุสสานัง ชะโย โหตุ ปะราชิโต
มาระเสนา อะภิกกันตา สะมันตาทวาทะสะโยชะนา
ขันติเมตตา อะธิฏฐานา วิทธังเสตวานะ จักขุมา
ภะวาภะเว สังสะรันโต ทิพพะจักขุง วิโสธะยิ ปะริยา
ปันนาทิโสตถานัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ พุทธะกิจจัง
วิโสเธตวา ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

ชะยะปะริตตัง

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัช
เชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ ชะยันโต โพธิยา มูเล
สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ
ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิวโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนัก
ขัตตัง สุมังคะลัง ปุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุกขะโณ สุมุหุตโต
จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจารีสุปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง
ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทัก
ขิณานิ กัตวานะละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
โส อัตถะลัทโธ สุขิโต วิรุฬโห พุทธะสาสะเน อะโรโค
สุขิโต โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ สา อัตถะลัทธา
สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ
สัพเพหิ ญาติภิ เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา
สะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะ
ธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ภะวะตุ
สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆา
นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา ปะริต
ตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ นักขัตตะยักขะ
ภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา
เตสัง อุปัททะเว ฯ นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะ
นิวาระณา ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ

จบสิบสองตำนานบริบูรณ์


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:52:16
เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)
เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ
ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ
วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?
(๑) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ  (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ  (๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (๑๐) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ
เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ
ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ
อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
(๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:53:04
อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
(๑) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:54:02
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ
อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา
ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ
เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:55:03
เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่แปล)
ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถีฯ ณ โอกาสนั้นและรพผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายฯ พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญฯ พระผู้มีพระภาคได้ประทานพระดำรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย (คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ) หวังได้แน่นอน (ที่จะรับ) อานิสงส์ ๑๑ ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนต้องเสพ (ทำให้ชำนาญ) แล้ว ทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม (ด้วยวสี ๕ ประการ) ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ อานิสงส์ ๑๑ ประการ (ของเมตตาเจโตวิมุติ) คืออะไรบ้าง? (อานิสงส์ ๑๑ ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ คือ)
(๑) นอนหลับเป็นสุข
(๒) ตื่นเป็นสุข
(๓) ไม่ฝันร้าย
(๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
(๕) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
(๖) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา
(๗) ไฟ ยาพิษ หรือ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย (ในตัว) ของเขา
(๘) จิตเป็นสมาธิเร็ว
(๙) ผิวหน้าผ่องใส
(๑๐) ไม่หลงตาย
(๑๑) ยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ หวังได้แน่นอนที่จะได้รับ อานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนส้องเสพ ทำให้ชำนาญ แล้วทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม ด้วยวสี ๕ ประการดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มีอยู่
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปเจาะจง บุคคล มีอยู่
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศที่มีอยู่ฯ
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง?
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง?
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศ มีกี่อย่าง?
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มี ๕ อย่าง
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มี ๗ อย่าง
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศมี ๑๐ อย่างฯ
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) ๕ อย่างมีอะไรบ้าง?
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) ๕ อย่าง คือ
(๑) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
(๒) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
(๔) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
(๕) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) ๗ อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) ๗ อย่าง คือ)
(๑) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:55:44
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ ๑๐ อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ ๑๐ อย่าง คือ)
(๑) ประเภทที่ ๑
(๑) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ประเภทที่ ๒
(๑) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ประเภทที่ ๓
(๑) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ประเภทที่ ๔
(๑) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ประเภทที่ ๕
(๑) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ประเภทที่ ๖
(๑) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ประเภทที่ ๗
(๑) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ประเภทที่ ๘
(๑) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ประเภทที่ ๙
(๑) ขอปุถุชนขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ประเภทที่ ๑๐
(๑) ขอเทวดาขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอผู้มีเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๑) ประเภทที่ ๑๑
(๑) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๒) ประเภทที่ ๑๒
(๑) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๒) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๓) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๔) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๕) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๖) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๗) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๘) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๙) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(๑๐) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ
ด้วยการเว้นการบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑
ด้วยการเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑
ด้วยการเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑
ด้วยการเว้นการย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๑
ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑
จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑
จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑
จิตชื่อว่า เมตตา เพราะรัก ชื่อว่า เจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อ วิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาท และ ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติฯเมตตาพรหมวิหารภาวนา


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 10:56:49
พระคาถาอิติปิโส   ๘   ทิศ
คาถายันต์เกราะเพ็ชร   สมเด็จลุน   แห่งนครจำปาศักดิ์
นโม   ๓   จบ
๑.   อิ   ระ   ชา   คะ   ตะ   ระ   สา
ชื่อ   กระทู้   ๗   แบก   ประจำอยู่ทิศบูรพา   ( ทิศตะวันออก )
๒.   ติ   หัง   จะ   โต   โร   ถิ   นัง
ชื่อ   ฝนแสนห่า   ประจำอยู่ทิศอาคเนย์   ( ทิศตะวันออกเฉียงใต้ )
๓.   ปิ   สัม   ระ   โล   ปุ   สัต   พุท
ชื่อ   นารายณ์เกลื่อนสมุทร   ประจำอยู่ทิศทักษิณ   ( ทิศใต้ )
๔.   โส   มา   ณะ   กะ   ริ   ถา   โธ
ชื่อ   นารายณ์ถอดจักร   ประจำอยู่ทิศหรดี   ( ทิศตะวันออกเฉียงใต้ )
๕.   ภะ   สัม   สัม   วิ   สา   เท   ภะ
ชื่อ   นารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ   ประจำอยู่ทิศประจิม   ( ทิศตะวันตก )
๖.   คะ   พุท   ปัน   ทู   ทัม   วะ   คะ
ชื่อ   นารายณ์พลิกแผ่นดิน   ประจำอยู่ทิศพายัพ   ( ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ )
๗.   วา   โธ   โน   อะ   มะ   มะ   วา
ชื่อ   ตวาดฟ้าป่าหิมพานต์   ประจำอยู่ทิศอุดร   ( ทิศเหนือ )
๘.   อะ   วิช   สุ   นุต   สา   นุ   ติ
ชื่อ   นารายณ์แปลงรูป   ประจำอยู่ทิศอีสาน   ( ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ )



อิติปิโส  ถอยหลัง
   ติ  วา  คะ  ภะ  โธ  พุท  นัง  สา  นุส  มะ  วะ  เท  ถา  สัต  ถิ  ระ  สะ  มะ  ทัม  สะ  ริ  ปุ  โร  ตะ  นุต  อะ  ทู  วิ  กะ  โล  โต  คะ  สุ  โน  ปัน  สัม ณะ  ระ  จะ  ชา  วิช  โธ  พุท  สัม  มา  สัม  หัง  ระ  อะ  วา  คะ  ภะ  โส  ติ  อิ




อิติปิโส  แปลงรูป
กะ  วิ  โล  ทู  โต  อะ  คะ  นุต
สุ  ตะ  โน  โร  ปัน  ปุ  สัม  ริ
ณะ  สะ  ระ  ทัม  จะ  มะ  ชา  สา
วิช  ระ  โธ  ถิ  พุท  สัต  สัม  ถา
มา  เท  สัม  วะ  หัง  มะ  ระ  นุส
อะ  สา  วา  นัง  คะ  พุท  ภะ
โธ  โส  ภะ  ปิ  คะ  ติ  วา  อิ  ติ

อิติปิโส  ตรึงไตรภพ
อิ  ติ  ติ  วา  ปิ  คะ  โส  ภะ
ภะ  โธ  คะ  พุท  วา  นัง  อะ  สา
ระ  นุส  หัง  มะ  สัม  วะ  มา  เท
สัม  ภา  พุท  สัต  โธ  ถิ  วิช  ระ
ชา  สา  จะ  มะ  ระ  ทัม  ณะ  สะ
สัม  ริ  ปัน  ปุ  โน  โร  สุ  ตะ
คะ  นุต  โต  อะ  โล  ทู  กะ  วิ
   
   พระพุทธมนต์บทนี้  เรียกอิติปิโสตรึงไตรภพ  ไตรภพคือมนุษย์โลก  เทวโลก  พรหมโลก  ถ้าต้องการให้คนในสามโลกนี้  เคารพนับถือ  เราให้เสกคาถานี่เป็นกิจวัตรประจำวัน  ทั้งเทวดา  และพระพรหมจะมากราบไหว้บูชาเรา  ก่อนจะไปสังคมใดให้เสกคาถานี้กี่จบก็ได้  จะเป็นที่เคารพนับถือ  กราบไหว้บูชาของคนในสังคมนั้น  เราจะพูดสนทนา  หรือสั่งเสียอะไรเขาจะเชื่อฟัง  คนหรือสัตว์มีทิฐิมานะกล้าแข็ง  ถ้าต้องการให้หายพยศ  ให้เสกคาถาบทนี้ก่อน  หรือจะเสกทำน้ำมนต์ให้อาบให้กินก็ได้


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 24 เมษายน 2553 11:04:20


(http://news.mcot.net/_images/MNewsImages_129651.jpg)

 (:88:) (:88:) (:88:)


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:22:16
บทขัดธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร
   
   อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง         สัมพุชฌิต์ะวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ            ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต            โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยัตถากขาตา อุโภ อันตา          ปะฏิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูส์ะวาริยะสัจเจสุ            วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ            สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง            ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ            สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:22:44
ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง
   
   เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ ตัต์ะระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
   ท์ะเวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
   เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญาะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
   กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี  ญาณะกะระณี  อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
   อะยะเมวะ อะริโย  อัฏฐังคิโก  มัคโค ฯ  เสยยะถีทัง ฯ  สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป  สัมามาวาจา   สัมมากัมมันโต  สัมมาอาชีโว  สัมมาวายาโม  สัมมาสะติ  สัมมาสะมาธิ ฯ
   อะยัง โข สา ภิกขะเว  มัชฌิมา  ปะฏิปะทา  ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี  ญาณะกะระณี  อุปะสะมายะ  อะภิญญายะ  สัมโพธายะ  นิพพานายะ  สังวัตตะติ ฯ
   อิทัง  โข  ปะนะ  ภิกขะเว  ทุกขัง  อะริยะสัจจัง  ชาติปิ  ทุกขา  ชะราปิ  ทุกขา มะระณัมปิ  ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ  ทุกขา อัปปิเยหิ   สัมปะโยโค  ทุกโข  ปิเยหิ  วิปปะโยโค  ทุกโข  ยัมปิจฉัง  นะ  ละภะติ  ตัมปิ  ทุกขัง  สังขิตเตนะ  ปัญจุปาทานักขันธา  ทุกขา ฯ
   อิทัง โข  ปะนะ  ภิกขะเว  ทุกขะสะมุทะโย  อะริยะสัจจัง ฯ  ยายังตัณหา โปโนพภะวิกา  นันทิราคะสะหะคะตา  ตัต์ะระ  ตัต์ะราภินันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา  ภะวะตัณหา  วิภะวะตัณหา ฯ
   อิทัง  โข  ปะนะ  ภิกขะเว  ทุกขะนิโรโธ  อะริยะสัจจัง ฯ  โย  ตัสสาเยวะ  ตัณหายะ  อะเสสะวิราคะนิโรโธ  จาโค  ปะฏินิสสสัคโค  มุตติ  อะนาละโย ฯ
   อิทัง โข  ปะนะ ภิกขะเว  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฏิปะทา   อะริยะสัจจัง ฯ
   อะยะเมวะ  อะริโย  อัฏฐังคิโก  มัคโค ฯ  เสยยะถีทัง ฯ  สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปโป  สัมมาวาจา  สัมมากัมมันโต  สัมมาอาชีโว  สัมมาวายาโม  สัมมาสะติ  สัมมาสะมาธิ  ฯ
   อิทัง  ทุกขัง  อะริยะสัจจันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ   จักขุง   อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขัง  อะริยะสัจจัง  ปะริญเญยยันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขัง  อะริยะสัจจัง  ปะริญญาตันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   อิทัง  ทุกขะสะมุทะโย  อะริยะสัจจันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อะทุปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:23:58
ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขะสะมุทะโย  อะริยะสัจจัง  ปะหาตัพพันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   ตัง โข  ปะนิทัง  ทุกขะสะมุทะโย  อะริยะสัจจัง  ปะหีนันติ  เม  ภิกขะเว ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   อิทัง  ทุกขะนิโรโธ  อะริยะสัจจันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขะนิโรโธ  อะริยะสัจจัง  สัจฉิกาตัพพันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขะนิโรโธ  อะริยะสัจจัง  สัจฉิกะตันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
   อิทัง  ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง  ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฏิปะทา  อะริยะสัจจัง  ภาวิตันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
   ยาวะกีวัญจะ  เม  ภิกขะเว  อิเมสุ  จะตูสุ  อะริยะสัจเจสุ  เอวันติปะริวัฏฏัง ท์ะวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ  สุวิสุทธัง  อะโหสิ ฯ
   เนวะ  ตาวาหัง  ภิกขะเว  สะเทวะเก  โลเก  สะมาระเก  สะพรัหมะเก   สัสสสะมะณะพราหมะณิยา  ปะชายะ  สะเทวะมะนุสสายะ  อะนุตตะรัง  สัมมาสัมโพธิง  อะภิสัมพุทโธ  ปัจจัญญาสิง ฯ
   ยะโต  จะ โข  เม ภิกขะเว  อิเมสุ  จะตูสุ  อะริยะสัจเจสุ  เอวันติปะริวัฏฏัง  ท์ะวาทะสาการัง  ยะถาภูตัง  ญาณะทัสสะนัง  สุวิสุทธัง  อะโหสิ ฯ
   อะถาหัง  ภิกขะเว  สะเทวะเก  โลเก  สะมาระเก  สะพรัหมะเก  สัสสะมะณะพราหมะณิยา  ปะชายะ  สะเทวะมะนสสายะ  อะนุตตะรัง  สัมมาสัมโพธิง  อะภิสัมพุทโธ  ปัจจัญญาสิง ฯ
   ญาณัญจะ  ปะนะ  เม ทัสสะนัง  อุทะปาทิ  อะกุปปา  เม  วิมุตติ  อะยะมันติมา  ชาติ  นัตถิทานิ  ปุนัพภะโวติ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:24:36
อิทะมะโวจะ  ภะคะวาฯ อัตตะมะนา  ปัญจะวัคคิยา  ภิกขู  ภะคะวะโต  ภาสิตัง  อะภินันทุง ฯ อิมัส์ะมิญจะ  ปะนะ  เวยยากะระณัส์ะมิง  ภัญญะมาเน  อายัส์ะมะโต  โกณฑัญญัสสะ  วิระชัง  วีตะมะลัง  ธัมมะจักขุง  อุทะปาทิ  ยังกิญจิ  สะมุทะยะธัมมัง  สัพพันตัง  นิโรธะธัมมันติ ฯ
   ปะวัตติเต  จะ  ภะคะวะตา  ธัมมะจักเก  ภุมมา  เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง  เตตัมภะคะวะตา  พาราณะสิยัง  อิสิปะตะเน  มิคะทาเย  อะนุตตะรัง  ธัมมะจักกัง  ปะวัตติตัง  อัปปะฏิวัตติยัง  สะมะเณนะ  วา พราหมะเณนะ  วา  เทเวนะ  วา  มาเรนะ  วา  พรัหมุนา  วา เกนะจิ  วา โลกัส์ะมินติ ฯ
   ภุมมานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   จาตุมมะหาราชิกา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  จาตุมมะหาราชิกานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   ตาวะติงสา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   ยามา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  ยามานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   ตุสิตา เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  ตุสิตานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   นิมมานะระตี  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  นิมมานะระตีนัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา  (เมื่อจะสวดย่อสวดมาถึงตรงนี้แล้วสวด  พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง แล้วลง  เอตัมภะคะวะตา  พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย ฯลฯ  เหมือนกันไปจนจบ)  พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ พรัหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง  สุต์ะวา
   พรัหมะปะโรหิตา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  พรัหมะปะโรหิตานัง  เทวานัง  สัททัง สุต์ะวา
   มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสาสาเวสุง ฯ  มะหาพรัหมานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  ปะริตตาภานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   อัปปะมาณาภา  เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  อัปปะมาณา  ภานัง  เทวานัง  สัททัง สุต์ะวา
   อาภัสสะรา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  อาภัสสะรานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   ปะริตตะสุภา  เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  ปะริตตะสุภานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   อัปปะมาณะสุภา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสสุง ฯ  อัปปะมาณะสุภานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   สุภะกิณหะกา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุภะกิณหะกานัง  เทวานัง  สัททัง สุต์ะวา
   เวหัปผะลา  เทวา  สัททะเมนุสสาเวสุง ฯ  เวหัปผะลานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   อะวิหา   เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  อะวิหานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   อะตัปปา  เทวา   สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  อะตัปปานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวะ
   สุทัสสา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  สุทัสสานัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   สุทัสสี  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  สุทัสสีนัง  เทวานัง  สัททัง  สุต์ะวา
   อะกะนิฏฐะกา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
   เอตัมภะคะวะตา  พาราณะสิยัง  อิสิปะตะเน  มิคะทาเย  อะนุตตะรัง  ธัมมะจักกัง  ปะวัตติตัง  อัปปะฏิวัตติยัง  สะมะเณนะ  วา  พราหมะเณนะ  วา  เทเวนะ  วา  มาเรนะ  วา พรัหมุนา  วา  เกนะจิ  วา  โลกัส์ะมินติ ฯ
   อิติหะ  เตนะ  ขะเณนะ  เตนะ  มุหุตเตนะ  ยาวะ  พรัหมะโลกา  สัทโท  อัพภุคคัจฉิ ฯ  อะยัญจะ  ทะสะสะหัสสี  โลกะธาตุ  สังกัมปิ  สัมปะกัมปิ  สัมปะเวธิ ฯ  อัปปะมาโณ  จะ  โอฬาโร  โอภาโส  โลเก  ปาตุระโหสิ  อะติกกัมเมวะ  เทวานัง  เทวานุภาวัง ฯ
   อะถะโข  ภะคะวา  อุทานัง  อุทาเนสิ  อัญญาสิ  วะตะ  โภ  โกณฑัญโญ  อัญญาสิ  วะตะ  โภ  โกณฑัญโญติ ฯ
   อิติหิทัง  อายัส์ะมะโต  โกรฑัญญัสสะ  อัญญาโกณฑัญโญต์ะเววะนามัง  อะโหสีติ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:25:15
คำแปลธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง
โดยคุณ Amine post

จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี หน้า 97 - 113ซึ่งค่อนข้างจะแปลละเอียดและคาดว่าจะเป็นบทสวดเต็ม มาให้ครับ .. ถ้าคัดลอกผิดไปบ้าง..ขออภัยด้วย..ผู้ใดพบเห็นกรุณาเสนอแก้ด้วยนะครับ ;
บทสวดธัมมจักกัปปวัฒนสูตร พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้
เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ
เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:25:50
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ
เสยยะถีทัง
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ
- สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )
- สัมมาสังกัปโป
ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )
- สัมมาวาจา
วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )
- สัมมากัมมันโต
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )
- สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )
- สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )
- สัมมาสะติ
การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )
- สัมมาสะมาธิ ฯ
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:26:28
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ
- ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์
- ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
- มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์
- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง
โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:27:01
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ
อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:27:47
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:28:35
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ
( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ
1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ
3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:29:05
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล
อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:29:41
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
[bตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ
อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)
อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:30:42
บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
   
   ยัสสานุภาวะโต ยักขา         เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต             รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ            ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง            ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

กะระณียะเมตตะสุตตัง
   กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ   ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ         สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ      อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ะริโย จะ นิปะโก จะ      อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะจะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ      เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ         สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ         ตะสา วาถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา         มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วาเย จะ อะทิฏฐา         เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา         สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ      นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ะยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา      นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง         อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ         มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
   เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์ะมิง   มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะติริยัญจะ         อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา         สะยาโน วา ยาวะตัสสะวิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ         พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา      ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง         นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:31:29
บทขัดอาฏานาฏิยะปะริตตัง

   อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ         สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ             สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ-            มะหิงสายะ จะ คุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวีโร            ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

อาฏานาฏิยะปะริตตัง

   วิปัสสิสสะ นะมัตถุ            จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ               สัพพะภูตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ               นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ               มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ            พราหมะณัสสะ วุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ               วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ               สัก์ะยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ            สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตา โลเก               ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา               มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง               ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง            มะหันตัง วีตะสาระทังฯ
(วิชชาจะระณะสัมปันนัง            พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ)
   นะโม เม สัพพะพุทธานัง         อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร               เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต            ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข            มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร               เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภีโต คุณะสัมปันโน               อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต               นาระโท วะระสาระถี
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร            สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค               ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก               ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก            ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ            วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา               เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห               โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน               โคตะโม สักะยะปุงคะโว
   เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา         อะเนกะสะตะโกฏะโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา            สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา               เวสารัชเชหุปาคะตา
สัเพ เต ปะฏิชานันติ                อาสะภัญฐานะมุตตะมัง
สีหะนาทัง นะทันเต เต               ปะริสาสุ วิสาระทา
พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ            โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
อุเปตา พุทธะธัมเมหิ               อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ท์ะวัตติงสะลักขะณูเปตา-            สีต์ะยานุพ์ะยัญชะนาธะรา
พ์ะยามัปปะภายะ สุปปะภา            สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
พุทธา สัพพัญญุโน เอเต            สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
มะหัปปะภา มะหาเตชา            มะหาปัญญา มะหัพพะลา
มะหาการุณิกา ธีรา               สัพเพสานัง สุขาวะหา
ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ            ตาณา เลณา จะ ปาณินัง
คะตี พันธู มะหัสสาสา               สะระณา จะ หิเตสิโน
สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ            สัพเพ เอเต ปะรายะนา
เตสาหัง สิระสา ปาเท               วันทามิ ปุริสุตตะเม
วะจะสา มะนะสา เจวะ            วันทาเมเต ตะถาคะเต
สะยะเน อาสะเน ฐาเน            คะมะเน จาปิ สัพพะทา
สะทา สุเขนะ รักขันตุ               พุทธา สันติกะรา ตุวัง
เตหิ ต์ะวัง รักขิโต สันโต             มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
สัพพะโรคะวินิมุตโต               สัพพะสันตาปะวัชชิโต
สัพพะเวระมะติกกันโต            นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:32:02
เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ            ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ            อาโรค์ะเยนะ สุเขนะ จะ ฯ
   ปุรัตถิมัส์ะมิง ทิสาภาเค         สันติ ภูตา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ            อาโรค์ะเยนะ สุเขนะ จะ
ทักขิณัส์ะมิง ทิสาภาเค            สันติ เทวา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ            อาโรค์ะเยนะ สุเขนะ จะ
ปัจฉิมัส์ะมิง ทิสาภาเค               สันติ นาคา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ            อาโรค์ะเยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัส์ะมิง ทิสาภาเค            สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ            อาโรค์ะเยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ               ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข               กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา            โลกะปาลา ยะสัสสิโน
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ            อาโรค์ะเยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา            เทวา นาคา มหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ            อาโรค์ะเยนะ สุเขนะ จะ
   นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง         พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ               โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง            ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ               โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง            สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ               โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
   ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก            วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ            ตัส์ะมา โสตถี ภะวันตุ เต
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก               วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ             ตัส์ะมา โสตถี ภะวันตุ เต
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก               วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ            ตัส์ะมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
   สักกัต์ะวา พุทธะระตะนัง         โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง               พุทธะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัทท์ะวา สัพเพ            ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัต์ะวา ธัมมะระตะนัง            โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
ปะริฬาหูปะสะมะนัง               ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัทท์ะวา สัพเพ            ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัต์ะวา สังฆะระตะนัง            โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง            สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัทท์ะวา สัพเพ             โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ
   สัพพีติโย วิวัชชันตุ            สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภุวัต์ะวันตะราโย            สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ               นิจจัง วุฆฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ            อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:32:51
พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต  พรหมรังสี )  วัดระฆังโฆสิตาราม

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง      ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ         เทวานังปิยะตังสุตตะวา
(  อิติปิ   โส   ภะคะวา   ยะมะราชาโน   ท้าวเวสสุวัณโณ
มะระณัง   สุขัง   อะระหัง   สุคะโต  นะโมพุทธายะ  )
     ๑.   ชะยาสะนากะตา  พุทธา      เชตวา  มารัง  สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง  ระสัง         เย  ปิวิงสุ  นะราสะภา
 ๒.   ตัณหังกะราทะโย  พุทธา      อัฎฐะวีสะติ  นายะกา
สัพเพ  ปะติฎฐิตา  มัยหัง      มัตถะเก  เต  มุนิสสะรา
 ๓.   สีเส  ปะติฎฐิตา  มัยหัง      พุทโธ  ธัมโม  ทะวิโลจะเน
สังโฆ  ปะติฎฐิโต  มัยหัง      อุเร  สัพพะคุณากะโร
 ๔.   หะทะเย  เม  อะนุรุทโธ      สารีปุตโต  จะ  ทักขิเณ
โกณฑัญโญ  ปิฎฐิภาคัสสมิง        โมคคัลลาโน  จะวามะเก
 ๕.   ทักขิเณ  สะวะเน  มัยหัง       อาสุง  อานันทะราหุโล
กัสสะโป  จะ  มะหานาโม       อุภาสุง  วามะโสตะเก
 ๖.   *เกเสนเต  ปิฎฐิภาคัสมิง       สุริโยวะ  ปะภังกะโร
นิสินโน  สิริสัมปันโน           โสภิโต  มุนิปุงคะโว
 ๗.   กุมาระกัสสะโป  เถโร           มะเหสี  จิตตะวาทะโก
โส  มัยหัง  วะทะเน  นิจจัง        ปะติฎฐาสิ  คุณากะโร
 ๘.   ปุณโณ  อังคุลิมาโล  จะ        อุปาลีนันทะสีวะลี
เถรา  ปัญจะ  อิเม  ชาตา        นะลาเฎ   ติละกา  มะมะ
 ๙.   **เสสาสีติ  มะหาเถรา           วิชิตา  ชินะสาวะกา
เอเตสีติ  มะหาเถรา           ชิตะวันโต  ชิโนระสา
***ชะลันตา  สีละเตเชนะ        อังคะมังเคสุ  สัณฐิตา
๑๐.   ระตะนัง  ปุระโต  อาสิ        ทักขิเณ  เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง  ปัจฉะโต  อาสิ        วาเม  อังคุลิมาละกัง
๑๑.   ขันธะโมระปะริตตัญจะ        อาฎานาฎิยะสุตตะกัง
อากาเส  ฉะทะนัง  อาสิ        เสสา  ปาการะสัณฐิตา
๑๒.   ชินานา  วะระสังยุตตา        สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา        พาหิรัชณัตตุปัททะวา
๑๓.   อะเสสา  วินะยัง  ยันตุ        อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต  เม  สะกิจเจนะ        สะทา  สัมพุทธะปัญชะเร
๑๔.   ชินะปัญชะระมัชณัมหิ         วิหะรันตัง  มะฮี****  ตะเล
   สะทา  ปาเลนตุมัง  สัพเพ      เต  มะหาปุริสาสะภา
๑๔.   อิจเจวะมันโต  สุคุตโต  สุรักโข      ชินานุภาเวนะ  ชิตุปัททะโว 
ธัมมานุภาเวนะ  ชิตาริสังโฆ      สังฆานุภาเวนะ  ชิตันตะราโย 
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต        จะรามิ  ชินะปัญชะเรติ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:33:57
พระคาถาชินบัญชร (ย่อ)     ชินะปัญชะระปะริตตัง  มัง  รักขะตุ  สัพพะทา
ขอพระชินบัญชรปริตร  จงรักษาข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อ
หมายเหตุ   อาราธนาพระสมเด็จไปกับตัว            ใช้บทที่    ๓
      สำหรับนักพูด  นักแสดง  ก่อนพูดก่อนแสดง      ใช้บทที่    ๗
      สำหรับเสกน้ำล้างหน้า  เสกแป้งเจิม         ใช้บทที่    ๘
      ถ้าต้องการแคล้วคลาด ปลอดภัยอันตราย      ใช้บทที่     ๙
      สำหรับป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ         ใช้บทที่   ๑๓
      อาราธนาขอให้พระคุ้มครอง         ใช้บทที่   ๑๔
      สงบใจก่อนศึกษาเล่าเรียน         ใช้บทที่    ๕
      เมื่อต้องแสดงตนต่อที่ชุมชน         ใช้บทที่    ๖
      ป้องกันอันตรายจาก อมนุษย์         ใช้บทที่     ๑๐,๑๑
หมายเหตุ    *     **     ***     ****
๖.     *   บางตำราใช้ เกสันเต  หรือ  เกสะโต  ก็มี
๙.     **   ฉบับสิงหลไม่มีวรรคนี้
        ***   บางตำราใช้  ชะวนตา
๑๔.   ****   มะหีตะเล  ออกเสียงเป็น  มะฮีตะเล


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 24 เมษายน 2553 22:34:33
คำแปลพระคาถาชินบัญชร
๑.พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์  ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาพาหนะแล้ว  เสวย อมตรส คือ  อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ  เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
๒.มี  ๒๘  พระองค์  คือ  พระผู้ทรงพระนามว่า  ตัณหังกร  เป็นอาทิ  พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
๓.ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐาน เหนือเศียรเกล้า    องค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้าประดิษฐ์ฐานอยู่บนศีรษะ  พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง  พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
๔.พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ  พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา  พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย  พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
๕.พระอานนท์กับพระราหูอยู่หูขวา  พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
๖.มุนีผู้ประเสริฐ  คือ  พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน  ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
๗.พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ  มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
๘.พระปุณณะ  พระอังคุลิมาล  พระอุบาลี  พระนันทะ  และพระสิวลี  พระเถระทั้งห้านี้  จงปรากฎเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
๙.ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ  ผู้มีชัยและเป็นพระโอรส  เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย  แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
๑๐.พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า  พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา  พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย  พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
๑๑.พระขันธปริตร  พระโมรปริตร  และพระอาฎานาฏิยสูตรเป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
๑๒.อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง  คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
๑๓.ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ  เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร แวด วง กรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย  คือโรคลมและโรคดี เป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
๑๔.ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น  จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้าผู้อยู่ในภาคพื้น  ท่ามกลางพระชินบัญชร  ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
๑๕.ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม  จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใด ๆ  ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า  ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม  ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์  ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ  และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:15:10
คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
นโม   ๓   จบ
อะหัง   วันทามิ   อะธะ   ปะติฏฐิตา   พุทธะธาตุโย   ตัสสานุภาเวนะ   สะทา   โสตถี   ภะวันตุ   เม.
   ข้าพเจ้า   ขอน้อบน้อมนมัสการกราบไหว้   พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   ที่ประดิษฐานอยู่   ณ   ที่นี้   ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผลบุญนี้   ขอให้ข้าพเจ้าประสพแต่ความสุขสวัสดีตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

คำอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ

   อะเนกะกัปเป   กุสะเล   จินิตตะวา   โลกานุกัมปายะ   มะเนกะทุกขัง   อุสสาหะยิตตะวา   จะ   สุจีระการัง   พุทธัตตะ   ภาวัง   สะกะลัง   อะคัญฉิ   เอวัญจะ   กัตตะวา   ภะคะวา   ทะยาลุ   ทุกขา   ปาโมเจกะ   ขิเล   จะอัมเห   ทัสเสถะ   โน   ปาฏิหิรัง   สุวิมหัง   เฉทายะ   กังขัง   สะกะลัง   ชะนัสสะ   กาเกนะ   รัญญา   กะถิตันตุ   ยัง   ยัง   ตัง   ตัง   อะขีลัง   วิตะถัง   ตะถัง   เจ   พุทธานะกะถา   วิตะถา   ตะถา   เจ   ทัสเสถะ   วิยหัง   นะยะนัสสะ   โนปิ   อัชชะตัคเต   ปาณเปตัง   พุทธัง   ธัมมัง   สะระณังคะตา   สะมิมะหันตา   ภินนะมุตตา   จะมัชฌิมา   ภินนะตัณฑุลา   ชุททะกา   สาสะปะมัตตา   เอวัง   ธาตุโย  สัพพัฏฐาเน  อาคัจฉันตุสีเสเม  ปัตตันตุ   ฯ


คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ   (ประดิษฐานในองค์พระปฐมเจดีย์)
   วันทามิ   พุทธัง   ปะฐะมัง   จะ   เจติยัง   ตัตถะ   ปะติฏฐัง   ปะระมัง   จะ   ธาตุกัง   ธัมมัง   วะรันตัง   ภะวะโต   จะ   สาสะนัง   สังฆัง   วิสุทธัง   อุชุกัง   จะ   โสภะณัง   อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง   นะมัสสะมาโน   ระตะนัตตะยัง   ยัง   ปุญญาภิสันทัง   วิปุลัง   อะลัตถัง   ตัสสานุภาเวนะ   หะตันตะราโย   ฯ
   ข้าพเจ้าขอกราบไหว้   พระพุทธเจ้า   องค์พระปฐมเจดีย์   พระบรมสารีริกธาตุ   ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในองค์พระปฐมเจดีย์นั้น
   ขอกราบไหว้พระธรรมอันประเสริฐสุด   ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า   ผู้ประเสริฐสุด
   ขอกราบไหว้พระสงฆ์ผู้งดงาม   ผู้บริสุทธิ์ยิ่ง   ผู้ประพฤติตรงต่อคำสอน ข้าพเจ้านมัสการอยู่ซึ่งพระรัตนตรัย   และองค์พระปฐมเจดีย์   อันเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุใด   ซึ่งควรนมัสการโดยส่วนเดียวเช่นนี้   ได้รับแล้วซึ่งกุศลผลบุญอันไพบูลย์   ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย   และผลบุญนั้น

คำไหว้พระธาตุรวม   หลวงพ่อเกษม  เขมโก   สุสานไตรลักษณ์   จ.ลำปาง
นโม   ๓   จบ
   วันทามิ   เจติยัง   สัพพัฏฐาเนสุ   ปติฏฐิตา   สรีระธาตุง   มหาโพธิง   พุทธะรูปัง   สกลัง   สทา   นาคะโลเก   เทวะโลเก   ตาวะติงเส   พรัหมะโลเก   ชัมพูทีเป   ลังกาทีเป   
   สรีระธาตุโย   เกสาธาตุโย   อรหันตา   ธาตุโย   เจติยัง   คันธะกุฏิ   จตุราสี   ติสะหัสสะ   ธัมมักขันธา   ปาทะเจติยัง   นะระเทเวหิ   ปูชิตา   อหังวันทามิ   ธาตุโย   อหังวันทามิ   ทูระโต   อหังวันทามิ   สัพพะโส


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:15:41
พระคาถาโสฬสมงคล
นโม   ๓   จบ
   โสฬะสะมังคะลัญเจวะ   นะวะโลกุตตะระธัมมะตา   จัตตาโรจะมะหาทีปา   ปัจจะพุทธามะหามุนี   ตรีปิฏะกะธัมมักขันต์   ฉะกามะวะจะราตะถา   ปัญจะทะสะภะเวสัจจัง   ทะสะมังสีละเมวะจะ   เตรัสสะธุตังคาจะ   ปาฏิหารัณจะทะวาทัสสะ   เอกะเมรู   จะ   สุราอัฏฐะ   ทะเวจันทังสุริยังสัคคา   สัตตะโพฌังคาเจวะ   จุททัสสะ   จักกะวัตติจะ   เอกาทะสะวิสะณุราชา   สัพเพเทวามังปะลายันตุ   สัพพะทา   เอเตนะ   มังคะละ   เตเชนะ   สัพพะโสตถี   ภะวันตุ   เม   ฯ
( หัวใจพระคาถา   โสฬสมงคล  ……….  ติ     ติ     อุ     นิ )

คาถาโพธิบาท
นโม   ๓   จบ
บูระพารัสสะหมิง   พระพุทธะคุณัง
บูระพารัสสะหมิง   พระธัมเมตัง
บูระพารัสสะหมิง   พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง   วิวัญชัยเย   สัพพะทุกข์   สัพพะโศก   สัพพะโรค   สัพพะภัย   สัพพะเคราะห์   เสนียดจัญไร   วิวัญชัยเย   สัพพะธะนัง   สัพพะลาภัง   ภะวันตุ   เม   รักขันตุ   สุรักขันตุ   ฯ
หมายเหตุ      เที่ยวต่อไปให้เปลี่ยนจาก
บูระพารัสสะหมิง         เป็น      อาคะเนรัสสะหมิง
ทักษิณรัสสะหมิง            หรดีรัสสะหมิง   
ปัจจิมรัสสะหมิง            พายัพรัสสะหมิง
อุดรรัสสะหมิง               อิสานรัสสะหมิง
นอกนั้นเหมือนกันหมด

คาถามงคลจักรวาลแปดทิศ
นโม   ๓   จบ
อิมัสสะมิงมงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ   ประสิทธิ   จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น   มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่วอนัตตา   ราชะ   เสมานาเขตเต   สะมันตา   สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ   พุทธะชาละปะริกเขตเต   รักขันตุ   สุรักขันตุ   ฯ
หมายเหตุ      เที่ยวต่อไปให้เปลี่ยนจาก
พุทธะชาละปะริกเขตเต      เป็น      ธัมมะชาละปะริกเขตเต
ปัจเจกะพุทธะชาละปะริกเขตเต         สังฆะชาละปะริกเขตเต
นอกนั้นเหมือนกันหมด

คำไหว้พระจุฬามณี ฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
        นะโม ข้าจะไหว้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์  เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์  ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
        นะโม ข้าจะไหว้พระธรรมเจ้า ของพระพุทธองค์  เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
        นะโม ข้าจะไหว้พระสังฆเจ้า ของพระพุทธองค์  เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโนติ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:16:14
พระปัจเจกพุทธเจ้า
•  พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ซึ่งบำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยกำไรแสนกัป ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เช่นเดียวกับพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นพระพุทธศาสนา โดยมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเหมือนอย่างสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็ยังทรงมีพระคุณต่อโลกอันประมาณมิได้
•  พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เองที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น และไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมที่เป็นกำลังทั้งหลาย
•  พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่มีบารมีแก่กล้าพอที่จะเข้าถึงธรรมอันประเสริฐถึงชั้นที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ และพระปัจเจกพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นเฉพาะในยุคที่ว่างพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในกาลที่ว่างพระพุทธศาสนานั้น บุคคลทั้งหลายย่อมปราศจากศีลธรรม ประกอบแต่กรรมอันเป็นอกุสล พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถสั่งสอนผู้ที่ไร้ศีลธรรมให้บรรลุถึงธรรมอันประเสริฐยิ่งปานนั้นได้ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงพระมหากรุณาได้เฉพาะผู้ที่ทรงโปรดได้เท่านั้น ไม่ใช่โปรดได้ทั่วไปทั้งหมด
•  พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทรงสงเคราะห์สัตว์โลกให้ตั้งอยู่ในทาน ศีล เมื่อสัตว์โลกเหล่านั้นละร่างกายไปแล้ว ก็ไปสู่สุคติภูมิ อันมีสวรรค์เป็นต้น ทรงสงเคราะห์บุคคลที่ตกทุกข์ได้ยาก แต่มีศรัทธาเต็มเปี่ยมให้ได้เป็นมหาเศรษฐี ด้วยการออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วทรงมารับบิณฑบาต กับบุคคลนั้น
•  ในกาลที่ว่างเว้นจากพระศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ไม่มีใครเสมอเหมือน สมดังคำพระบรมศาสดาได้ประทานไว้ ในปัจเจกพุทธาปทาน ความว่า
"...ในโลกทั้งปวงเว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย..."


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:16:45
•  จึงได้มีพระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าปรากฎขึ้นในโลก บูชาภาวนาสืบกันมาถึงสมัยหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง เป็นที่สุด ปรากฎผลเลอเลิศ ทั้งในด้านพระกรรมฐาน และลาภผลมั่นคงไม่มีประมาณ ต่อเนื่องมาไม่ขาดสาย
•  ลำดับนี้ ขอฟังปัจเจกพุทธาปทาน พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อัน สำรวมแล้ว ได้ทูลถามพระตถาคต ผู้ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันว่า ทราบด้วยเกล้าฯ ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไรท่าน เหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นนักปราชญ์? ในกาลครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคสัพพัญญูผู้ประเสริฐ แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่าน พระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงไพเราะว่า
•  พระปัจเจกพุทธเจ้า สร้างบุญในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมในศาสนาของพระชินเจ้า ด้วยมุข คือ ความสังเวชนั้นแล
•  ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อมบรรลุปัจเจกโพธิญาณได้แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย
•  ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย
•  เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่านเหล่านั้น
•  ท่านทั้งหลาย จงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:17:21
•  ท่านทั้งปวงปรารถนานิพพานอันเป็นโอสถวิเศษ จงมีจิตผ่องใส ฟังถ้อยคำดี อันอ่อนหวานไพเราะของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้เอง คำพยากรณ์โดยสืบๆ กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุ ปราศจากราคะ และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุโพธิญาณด้วยประการใด
-พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะว่า ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัดในโลกอันกำหนัด ละธรรมเครื่อง เนิ่นช้า การแพ้และความดิ้นรน แล้ว จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ณ สถานที่ เกิดนั้นเอง ท่านวางอาญาในสรรพสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งในสัตว์ เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา หวังประโยชน์เกื้อกูล เที่ยวไปผู้เดียว เปรียบเหมือนนอแรด ฉะนั้น ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียน แม้ผู้หนึ่งในสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนาสหาย เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคล ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็น โทษอันเกิดแต่ความเสน่หา จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ผู้มีจิตพัวพัน ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย ย่อมทำตนให้เสื่อมประโยชน์ ท่านมองเห็นภัยนี้ ในความสนิทสนม จึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว กันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภริยา ดังหน่อไม้ไผ่ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเป็นวิญญูชนหวังความเสรี จึงเที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น เหมือนเนื้อที่ไม่ถูกผูกมัด เที่ยวหาเหยื่อ ในป่าตามความปรารถนา ฉะนั้น ต้องมีการปรึกษากันในท่ามกลางสหาย ทั้งในที่อยู่ ที่บำรุง ที่ไป ที่เที่ยว ท่านเล็งเห็นความไม่โลภ ความเสรี จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
ฉะนั้น การเล่น (เป็น) ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ส่วนความรักในบุตรเป็นกิเลสใหญ่ ท่านเกลียด ความวิปโยคเพราะของที่รัก จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเป็นผู้แผ่เมตตาไปในสี่ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมี ตามได้ เป็นผู้อดทนต่อมวลอันตรายได้ ไม่หวาดเสียว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน สงเคราะห์ได้ยาก ท่านเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรคนอื่น จึงเที่ยว ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:17:46
-ฉะนั้น ท่านปลงเครื่องปรากฏ (ละเพศ) คฤหัสถ์ กล้าหาญ ตัดกามอันเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เปรียบเหมือน ไม้ทองหลางมีใบขาดหมด เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้นเสียแล้ว พึงดีใจ มีสติเที่ยว ไปกับสหายนั้น ถ้าจะไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว ดังช้างมาตังคะ ละโขลง อยู่ในป่า ความจริง เราย่อมสรรเสริญสหายสมบัติ พึงส้องเสพสหายที่ ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านี้ ก็พึง คบหากับกรรมอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่องที่นายช่างทองทำสำเร็จสวยงาม กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น การเปล่งวาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับเพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็นภัยนี้ต่อไป จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร หวาน อร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่างๆ ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และภัยนี้ ท่านเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน แล้วเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเที่ยวไปผู้เดียว เช่นนอแรด เปรียบเหมือน ช้างละโขลงไว้แล้ว มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีสีกายดังดอกปทุมใหญ่โต อยู่ในป่านานเท่าที่ต้องการ
-ฉะนั้น ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุติอันเกิดเองนี้ มิใช่ ฐานะของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มีมรรคอัน ได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลอื่นไม่ต้องแนะนำ เที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีโมโหดุจน้ำฝาดอันกำกัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก ทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหาย ผู้ลามก ผู้มักชี้อนัตถะ ตั้งมั่นอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหาย ผู้ขวนขวาย ผู้ประมาทด้วยตน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:18:12
-ฉะนั้น กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ ท่านรู้ ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับ นอแรด ฉะนั้น ท่านไม่พอใจในการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่เพ็งเล็งอยู่ คลายยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์ เที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านละบุตร ภริยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก เผ่าพันธ์ และกามทั้งหลายตามที่ตั้งลง เที่ยวไปผู้เดียว เช่น กับนอแรด
-ฉะนั้น ในความเกี่ยวข้องนี้มีความสุขนิดหน่อย มีความ พอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า ความเกี่ยวข้องนี้ ดุจลูก ธนู พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาทำลายข่าย แล้วไม่กลับมา ดังไฟไหม้เชื้อ ลามไปแล้วไม่กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว รักษามนัส อันราคะไม่ชุ่มแล้ว อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงละเครื่องเพศคฤหัสถ์แล้ว ถึงความตัดถอน เหมือนไม้ทอง กวาวที่มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ พึงบรรเทาอุปกิเลสเสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษ อันเกิดแต่สิเนหาแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงทำสุข ทุกข์ โทมนัสและโสมนัสก่อนๆ ไว้เบื้องหลัง ได้อุเบกษา สมถะ ความหมดจดแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงปรารภ ความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน มีจิตไม่หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มี ความเพียรมั่น (ก้าวออก) เข้าถึงด้วยกำลัง เรี่ยวแรง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ไม่พึงละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติ ธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย เที่ยว ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ ประมาท เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณา แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:18:39
-ฉะนั้น ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดังสีหะ ไม่ขัดข้อง อยู่ในตัณหาและทิฏฐิ เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอกปทุม ไม่ติดน้ำ พึง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง เป็นราชาของเนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่ ครอบงำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงเจริญเมตตา วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติทุกเวลา ไม่พิโรธด้วย สัตว์โลกทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงละราคะ โทสะและโมหะ พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น ชีวิต พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ชนทั้งหลายมีเหตุ เป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากใน วันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามองประโยชน์ตน ไม่สะอาด พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม วิเศษ พึงรู้แจ้งธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์มรรคและโพชฌงค์ (พึงรู้แจ้ง องค์มรรคและโพชฌงค์) นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรด


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:19:02
•  พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนี้และโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชน เป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นดีของโลก โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น ชนเหล่านั้นต้องเที่ยวไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นคำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบการปฏิบัติตามนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอันโอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้นพระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อความอนุเคราะห์โลก อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความสังเวช การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:19:26
คำถามเกี่ยวกับพระปัจเจกพุทธเจ้า

•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างไร?
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาส ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวล ในความสั่งสม ปลงผมและหนวดแล้ว ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความ เป็นผู้ไม่มีกังวล เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างนี้
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อนสองอย่างไร?
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้เดียวเสพอาศัยเสนาสนะ คือ ป่าและป่าชัฏ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลม แต่ชนผู้สัญจรไปมา สมควรทำกรรม ลับแห่งมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่ง ผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐาน จงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสองอย่างนี้
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่าละตัณหาอย่างไร?
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เดียวไม่มีใครเป็นเพื่อนอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิต ไปอยู่ เริ่มตั้งความเพียรมาก กำจัดมารพร้อมทั้งเสนามารที่ไม่ปล่อยสัตว์ให้พ้นอำนาจ เป็นพวก พ้องของผู้ประมาท ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งตัณหาอันมีข่าย แล่นไป ซ่านไป ในอารมณ์ต่างๆ บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน ย่อม ไม่ล่วงพ้นสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้และมีความเป็น อย่างอื่น. ภิกษุผู้มีสติ รู้โทษนี้และตัณหาเป็นแดนเกิด แห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น เว้นรอบ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่าละตัณหาอย่างนี้
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียวอย่างไร?
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละราคะ เสียแล้ว ชื่อว่าผู้เดียวเพราะปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโทสะเสียแล้ว ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโมหะเสียแล้ว ชื่อว่าผู้เดียวเพราะไม่มี กิเลสโดยส่วนเดียว เพราะท่านละกิเลสเสียแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวเพราะ ปราศจากราคะโดยส่วนเดียวอย่างนี้


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:19:56
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะไปตามเอกายนมรรคอย่างไร?
(สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘)
ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่งความสิ้นไป แห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อมทรงทราบ ธรรมอันเป็นทางเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว. พุทธาทิบัณฑิต ข้ามก่อนแล้ว จักข้ามและข้ามอยู่ซึ่งโอฆะด้วยธรรมอันเป็น ทางนั้น ดังนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวเพราะไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะตรัสรู้ซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างไร?
(ญาณในมรรค ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญา เป็นเครื่องพิจารณา ปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้งสัมมาทิฏฐิ)
ท่านกล่าวว่า ปัญญาเครื่องตรัสรู้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตรัสรู้แล้ว ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยปัจเจกพุทธญาณ
-ตรัสรู้ว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
-ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็น ปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและ มรณะ
-ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะ ดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทาน ดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับชราและมรณะจึงดับ. ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ตรัสรู้ว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิด อาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับอาสวะ
-ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับ โทษและอุบายเป็น เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ... แห่งอุปาทานขันธ์ ๖ ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับ โทษและ อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งมหาภูตรูป ๔
-ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ตรัสรู้ ตามตรัสรู้ ตรัสรู้พร้อม ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ ควรตามตรัสรู้ ควรตรัสรู้พร้อม ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง ทั้งหมดนั้น ด้วยปัจเจกโพธิญาณ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียวเพราะตรัสรู้ ปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างนี้


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:20:21
คาถาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า
สัพเพ ปัจเจกะสัมพุทธา นิโรธะฌานะโกวิทา นิราละยา นิราสังกา อัปปะเมยยา มะเหสะโย  ทูเรปิ วิเนยเย ทิสสะวา สัมปัตตา ตังขะเณนะ เต สันทิฏฐิกะผะเล กัตตะวา สะทา สันติง กะโรนตุ โน

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งปวง ทรงปรีชาญาณในนิโรธสมาบัติและฌาณสมาบัติ
ทรงปราศจากความกำหนัดยินดี หมดความรังเกียจ ทรงคุณอันหาประมาณมิได้ ทรงแสวงหาคุณอันประเสริฐ ทรงมีมหาทานบารมีเป็นเลิศ
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ เห็นหมู่เวไนยสัตว์แม้ในที่ใกล้ไกล ก็ทรงพระเมตตาเสด็จไปช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้น  ให้ได้รับประโยชน์โดยพลัน โปรดประทานความสงบร่มเย็นทั้งทางโลกและทางธรรม แก่พวกข้าพระองค์ในกาลทุกเมื่อเถิด.


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:21:05
คำบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร  (  พระแก้วมรกต  )
นะโม   ๓   จบ
พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฎิมากะรัง  ปูเชมิ
ทุติยัมปิ  พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฎิมากะรัง  ปูเชมิ
ตะติยัมปิ  พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฎิมากะรัง  ปูเชมิ
   เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  มะหาเตโช  เจวะ  มะหาปัญโญ  จะ  มะหาโภโค  จะ  มะหายะโส  จะ  ภะวันตุ  เม  ฯ  นิพพานัสสะ  ปัจจะโย  โหตุ  ฯ
หรือ         วาละลุกัง  สังวาตังวา  ( ๓ จบ )


คำบูชาพระพุทธชินราช
นะโม   ๓   จบ
อิเมหิ  นานาสักกาเรหิ  อะภิปูชิเตหิ  ทีฆายุโก  โหมิ  อะโรโค  สุขิโต  สิทธิกิจจัง  สิทธิกัมมัง  ปิยัง  มะมะ  ปะสิทธิลาโภ  ชะโย  โหตุ  สัพพะทา  พุทธชินะราชา  อะภิปาเลตุ  มัง  นะโมพุทธายะ
หรือ      กาเยนะ  วาจายะวะ  เจตะสา  วา  เทวะนะคะเร  จักกิวังสัสสะ  ปัญจะมะมะหาราเชนะ  ชินะราชะ  พุทธะรูปัง  กะตัง  นะมามิหัง  ( ๓ จบ )
หรือ      กาเย   กายะ   เจตะสา   วาเทวะ   นะจะเรจักกิ   วัสสัจ   จะ   ปัญจามะ   มหาเชนะ   ชินราชพุทธะรูปัง   นะมามิหัง ฯ
      ทุติยัมปิ      กาเย   กายะ   เจตะสา   วาเทวะ   นะจะเรจักกิ   วัสสัจ   จะ   ปัญจามะ   มหาเชนะ   ชินราชพุทธะรูปัง   นะมามิหัง ฯ
      ตะติยัมปิ   กาเย   กายะ   เจตะสา   วาเทวะ   นะจะเรจักกิ   วัสสัจ   จะ   ปัญจามะ   มหาเชนะ   ชินราชพุทธะรูปัง   นะมามิหัง ฯ
หรือ      นะชาลิติ  ปะสิทธิลาภา  ปะสันนะจิตตา  สะทาโหติ  ปิยังมะมะ  สัพเพชะนะ  สัพเพธิสา  สะมาคะตา  กาละโภชนา  วิกาละโภชนา  อะคัจฉันติ  ปิยังมะมะ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:21:46
คำบูชาพระพุทธสิหิงค์
นะโม   ๓   จบ
( นำ )   หันทะ มะยัง พุทธะปะสังสา คาถาโย พุทธะสิหิงโค  นามะ  ภะณามะ  เส.
( รับ )      อิติ  ปะวะระสิหิงโค         อุตตะมะยะโสปิ  เตโช
      ยัตถะ  กัตถะ  จิตโตโส      สักกาโร  อุปาโท
      สะกาละพุทธะสาสะนัง      โชตะยันโตวะ  ทีโป
      สุระนะเรหิ  มะหิโต         ธะระมาโนวะ  พุทโธติ .
พุทธสิหิงคา         อุบัติมา  ณ  แดนใด
ประเสริฐ  ธ  เกริกไกร      ดุจกายพระศาสดา
เป็นที่เคารพน้อม      มนุษย์พร้อมทั้งเทวา
เปรียบเช่นชวาลา         ศาสนาที่ยืนยง
เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธ   สุวิสุทธิ์พระชนม์คง
แดนใดพระดำรง         พระศาสน์คงก็จำรูญ
ด้วยเดชสิทธิศักดิ์      ธ  พิทักษ์อนุกูล
พระศาสน์บ่มีสูญ         พระเพิ่มพูลมหิทธา
ข้า  ฯ  ของเคารพน้อม   วจีค้อมขึ้นบูชา
พิทักษ์  ธ  รักษา         พระศาสน์มาตลอดกาล
ปวงข้า  ฯ  จะประกาศ   พุทธศาสน์ให้ไพศาล
ขอพระอภิบาล            ชินมารนิรันดร์  เทอญ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:22:23
คำบูชาพระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชณ์บรมไตรโลกนาถ
วัดหน้าพระเมรุราชิการาม   จ.อยุธยา
นโม   ๓   จบ
พุทธนิมิตตัง   อหังวันทาขมามิหัง
พุทธนิมิตตัง   สหัสสะโภติเทวตานัง
พุทธนิมิตตัง   สาธุ   รูปานัง
อิติสุคะโต   อะระหังพุทโธ   นะโมพุทธายะ   ปฐวีคงคา   พระภูมะเทวา   ขมามิหัง

คำบูชาพระ หลวงพ่อเพชร
วัดท่าหลวง   จ.พิจิตร
นโม   ๓   จบ
กาเยนะ   วาจายะเจตะสา   วา   วะชิรัง   นามะ   ปะฏิมัง   อิทธิปาฏิหาริยะกะรัง   พุทธะรูปัง   อะหังวันทามิ   สัพพะโส   สะทา   โสตถี   ภะวันตุ   เม


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:23:02
คำบูชาพระพุทธโสธร
วัดโสธร ฯ   จ.ฉะเชิงเทรา
นโม   ๓   จบ
อิติ   อิติ   อิติ   โสธโร   นโม   พุทธา   ยะยะธา   พุทโมนะ
หรือ   คาถาพระพุทธเจ้า   ๕   พระองค์
นะ  ทรงฟ้า  โม  ทรงดิน  พุทธ  ทรงสินธุ์  ธา  ทรงสมุทร  ยะ  ทรงอากาศ   พุทธังแคล้วคลาด   ธัมมังแคล้วคลาด   สังฆังแคล้วคลาด  ศัตรูภัยพาลวินาศสันติ
   นะกาโร   กุกกุสันโธ   สิโรมัชเฌ   โมกาโร   โกนาคะมะโน   นานาจิตเต   พุทธกาโร   กัสสะโป   พุทโธ   จะ   ทะเวเนเต   ธา   กาโร   ศรีศากกะยะมุนี   โคตะโม   ยะกันเน   ยะกาโร   อะริยะ   เมตตรัยโย   ชิวหาทีเต   ปัญจะพุทธา   นะมามิหัง
   พุทธะบูชา   มะหาเตชะวันโต   ธัมมะบูชา   มะหาปัญโญ   สังฆะบูชา   มะหาโภคะวะโห   อะระหังพุทโธ   อิติปิโสภะคะวา   นะมามิหัง   ฯ

คำบูชาพระ หลวงพ่อบ้านแหลม
วัดเพชรสมุทร ฯ  จ.สมุทรสงคราม
นโม   ๓   จบ
   สะทา   วะชิระสะมุททะวะระวิหาเร   ปะติฎฐิตัง   นะระเทเวหิ   ปูชิตัง   ปัตตะหัตถัง   พุทธะรูปัง   อะหัง   วันทามิ   ทูระโต   ฯ

คาถาหลวงพ่อบ้านแหลม
นะ   มะ   ระ   อะ          นะ   เท   วะ   อะ

คำบูชาพระ หลวงพ่อโต บางพลีใหญ่ใน
วัดบางพลีใหญ่ใน   จ.สมุทรปราการ
นโม   ๓   จบ
อิมินาสักกาเรนะ      พุทธะมหานุภาโว
อิมินาสักกาเรนะ      ธัมมะมหานุภาโว
อิมินาสักกาเรนะ      สังฆะมหานุภาโว
อิเมยันตา   มหาเตชา   มหานุภาตะชาติกา   มหามังคะละ   สัมพุทตา   อันตราเยวินาสะกา   สัพพะถะสุขะ   สัมพุทตา   อเนกาคุณันตา   นานับปะโก   สัพพะทุกขัง   สัพพะภะยัง   สัพพะโรคัง   วินาสสันติ   สัพพะลำภัง   สัพพะสุขัง   ภะวันตุเม   ฯ

คำบูชาพระ หลวงพ่อวัดไร่ขิง
วัดไร่ขิง   จ.นครปฐม
นโม   ๓   จบ
   กาเยนะ   วาจายะ   วะ   เจตะสาวา   มะเหสักขายะ   เทวะตายะ   อะภิปาลิตัง   อิทธิปาฎิหาริกัง   มังคะละจินตารามะ   พุทธะปะฎิมากะรัง   ปูชามิหัง   ยาวะชีวัญจะ   สุกัมมิโก   สุขะปัตถิตายะ

คำบูชาพระ หลวงพ่อวัดเขาตะเครา   (หลวงพ่อทอง)
วัดเขาตะเครา   จ.เพชรบุรี
นโม   ๓   จบ
   กาเยนะวาจายะ   มะยะเจตะสา   มาระวิชะยัง   สุวัณณมานัง   มหาเตชัง   มหาลาภัง   พุทธปฎิมัง   เมตตาจิตตัง   นะมามิหัง   โอมะศรี   ศรี   ชัยยะ   ชัยยะ   สัพทุกขา   อุปัทวา   สัพพันตรายา   สัพพะโรคา   วินาสสันติ   สะทาโสตถี   ภะวันตุ “เม”
ถ้าให้ตัวเราว่า   “เม”           ถ้าให้คนอื่นว่า   “เต”


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:23:32
คำอาราธนาพระพุทธไพรีพินาศ
วัดบวรนิเวศ   กรุงเทพฯ
นโม   ๓   จบ
   นะมัสสะพระพุทธะไพรีพินาศายะ   มาราปะราชะยัง   นะมามิหัง   พุทธังวันทามิ   ธัมมังวันทามิ   สังฆังวันทามิ   สัพพะโส

คำบูชาพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ
นโม   ๓   จบ
อะโรคะยาปะระมาลาภา   พุทธัง   เป็นยา   ธัมมังรักษา   สังฆังหายโรค   หายด้วย   พุทโธอิติสุคะโตนะโมพุทธายะ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:23:58
คำบูชาพระเสด็จกลับ   
( หลวงปู่สุภา   กันตสีโล   วัดสารอด   ราษฎร์บูรณะ   กรุงเทพฯ )
อิโม   อะสัง   ปิทาวิสัง   พุโสพะยะโร   อายัตวา   พุปุสะทา   อะระนะพุภะมะหัง
หรือ
มะอะอุนะ   อะอุนะมะอุ   อุอะมะนะ   นะอะอุมะ
( ตามตำราหลวงปู่ศุข   วัดปากคลองมะขามเฒ่า   จ.ชัยนาท )


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:24:26
พระพุทธคุณ   คาถาพระร่วง   (วาจาสิทธิ์พระร่วง)
นโม   ๓   จบ
พุทธคุณนี้แปลใจความว่า   ด้วยสัจจะวาจา   ข้าพเจ้าขออธิษฐานให้เกิดอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์   มีฤทธิ์   มีเมตตา   มีปาฏิหาริย์   แล้วให้ภาวนาในใจ   ว่า
อิมัง   สัจจะวาจัง   อธิฏฐามิ   ทุติอิมัง   สัจจะวาจัง   อธิฏฐามิ   ตะติอิมัง   สัจจะวาจัง   อธิฏฐามิ   สังขาเร   ติวิเธ   โลเก   สัญฉันนาติ   อนิจจะโต   สัมมานิพพานะสัมปัตโต   สัมปันโนตัง   นะมามิหัง ฯ
หรือ
อิมัง   สัจจะวาจัง   อธิฏฐามิ   ทุติยัมปิอิมัง   สัจจะวาจัง   อธิฏฐามิ   ตะติยัมปิอิมัง   สัจจะวาจัง   อธิฏฐามิ     ( ๓   จบ )

คำบูชา พระไภสัชคุรุไวฑูรยประภาตถาคต    พระตถาคตผู้เป็นจอมแพทย์ทางยา
นโม   ๓   จบ
   นะโม   ภควเต   ไภสัชยาคุรุ   ไภฑูรยประภา   ราชัยยะ   ตถาคตยะ   อรยาเต   สัมมาสัมพุทธายะ   ตัทยธะ   โอม   ไภสัชเย   ไภสัชเย   ไภสัชยา   สมุทกเต   สวาหะ
ถ้าจะให้โรคภัยที่มีอยู่หายไป   ก็ให้รักษาศีล   ๕    ชำระร่างกายให้สะอาด   นั่งสมาธิต่อหน้าพระไภสัชคุรุ   สักการะด้วยธูปเทียน   ดอกไม้   แล้วสวดพระธารณี (คาถา) ข้างต้น ๑๐๘ จบ
หากปรารถนาความมั่งคั่ง   ตำแหน่งหน้าที่   ความมีอายุยืน   ฯลฯ   ก็ให้รักษาอุโบสถศีล   กินอาหารเจ   ชำระตกแต่งร่างกายให้สะอาด   กระทำทักษิณาต่อพระพุทธรูปพระองค์นั้น   แล้วนั่งทำสมาธิ   สวดพระธารณีข้างต้น   ผองภัยทั้งหลายจะสลายไป   ลาภยศจะเกิดมีตามความปรารถนา

คำบุชารอยพระพุทธบาท
นโม   ๓   จบ
อิมานิปะธีเปนะ   อะสุกะยะพรรมะทายะ   นาทิยาบุริเนทิตังมุนิโน   ปาทะวะรันตัง   อะภิปูเชมิ   ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:24:53
บทสวดประจำวันทั้ง  ๗  วัน 
มนต์ประจำวันเกิด

สำหรับผู้เกิดวันอาทิตย์
   อุเทตะยัญจักขุมา  เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ  ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง  ตัง  นะมัสสามิ  หะริสสะวัณณัง  ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ  คุตตา  วิหะเรมุ  ทิวะสัง
เย  พราหมะณา  เวทะคุ  สัพพะธัมเม
เต  เม  นะโม  เต  จะ  มัง  ปาละยันตุ
นะมัตถุ  พุทธานัง  นะมัตถุ  โพธิยา
นะโม  วิมุตตานัง  นะโม  วิมุตติยา
อิมัง  โส  ปะริตตัง  กัตวา  โมโร  จะระติ  เอสะนา ฯ
อะเปตะยัญจักขุมา  เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ  ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง  ตัง  นะมัสสามิ  หะริสสะวัณณัง  ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ  คุตตา  วิหะเรมุ  รัตติง
เย  พราหมะณา  เวทะคุ  สัพพะธัมเม
เต  เม  นะโม  เต  จะ  มัง  ปาละยันตุ
นะมัตถุ  พุทธานัง  นะมัตถุ  โพธิยา
นะโม  วิมุตตานัง  นะโม  วิมุตติยา
อิมัง  โส  ปะริตตัง  กัตวา  โมโร  วาสะมะกัปปะยีติ ฯ
สวดวันละ  ๖  จบ  (อาจารย์บางท่านแนะว่า)
   ผู้เกิดกลางวันควรสวด         อุเทตะยัญจักขุมา
   ผู้เกิดกลางคืนควรสวด         อะเปตะยัญจักขุมา
   หรือเช้าสวน   อุเท   เย็นสวด   อะเป    ก็ได้


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:25:42
สำหรับผู้เกิดวันจันทร์
      ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
   โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
   ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
   พุทธานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ
      ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
   โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
   ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
   ธัมมานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ
      ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
   โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโธ
   ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
   สังฆานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ
สวดวันละ  ๑๕  จบ

สำหรับผู้เกิดวันอังคาร
      ยัสสานุสสะระเณนาปิ      อันตะลิกเขปิ  ปาณิโน
   ปะติฐะมะธิคัจฉันติ         ภูมิยัง  วิยะ  สัพพะทา
   สัพพูปัททะวะชาลัมหา      ยักขะโจราทิสัมภะวา
   คะณะนา  นะ  จะ  มุตตานัง      ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
สวดวันละ  ๘  จบ


สำหรับผู้เกิดวันพุธ (กลางวัน)
      สัพพาสีวิสะชาตีนัง      ทิพพะมันตาคะทัง  วิยะ
   ยันนาเสติ  วิสัง  โฆรัง      เสสัญจาปิ  ปะริสสะยัง
   อาณักเขตตตัมหิ  สัพพัตถะ      สัพพะทา  สัพพะปาณินัง
   สัพพะโสปิ  นิวาเรติ         ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ
สวดวันละ  ๑๗  จบ

สำหรับผู้เกิดวันพุธ (กลางคืน)
      กินนุ  สันตะระมาโน      วะราหุ  สุริยัง  ปะมุญจะสิ
   สังวิคคะรูโป  อาคัมมะ      กินนุ  ภีโต  วะ  ติฏฐะสีติ
   สัตตะธา  เม  ผะเล  มุทธา      ชีวันโต  นะ  สุขัง  ละเภ
   พุทธะคาถาภิคีโตมหิ         โน  เจ  มุญเจยยะ  สุริยันติ.
      กินนุ  สันตะระมาโน      วะราหุ  จันทัง  ปะมุญจะสิ
   สังวิคคะรูโป  อาคัมมะ      กินนุ  ภีโต  วะ  ติฏฐะสีติ
   สัตตะธา  เม  ผะเล  มุทธา      ชีวันโต  นะ  สุขัง  ละเภ
   พุทธะคาถาภิคีโตมหิ         โน  เจ  มุญเจยยะ  สุริยันติ.
สวดวันละ  ๑๒  จบ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:26:44
สำหรับผู้เกิดวันพฤหัสบดี
      ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร      นิพพัตตัง  วัฏฏะชาติยัง
   ยัสสะ  เตเชนะ  ทาวัคคิ      มะหาสัตตัง  วิวัชชะยิ
   เถรัสสะ  สารีปุตตัสสะ      โลกะนาเถนะ  ภาสิตัง
   กัปปัฏฐายิ  มะหาเตชัง      ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ
สวดวันละ  ๑๙  จบ


สำหรับผู้เกิดวันศุกร์
      ยัสสานุภาวะโต  ยักขา   เนวะ  ทัสเสนติ  ภิงสะนัง
   ยัมหิ  เจวานุยุญชันโต         รัตตินทิวะมะตันทิโต
   สุขัง  สุปะติ  สุตโต  จะ      ปาปัง  กิญจิ  นะ  ปัสสะติ
   เอวะมาทิคุณูเปตัง         ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ
สวดวันละ  ๒๑  จบ
(อาจารย์บางท่านให้สวด)
      อัปปะสันเนหิ  นาถัสสะ   สาสะเน  สาธุสัมมะเต
   อะมะนุสเสติ  จัณเฑหิ      สะทา  กิพพิสะการิภิ
   ปะริสานัญจะตัสสันนะ      มะหิงสายะ  จะ  คุตติยา
   ยันเทเสสิ  มะหาวีโร         ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ
สวดวันละ  ๙  จบ

สำหรับผู้เกิดวันเสาร์
      ยะโตหัง  ภะคินิ  อะระยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ     สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตาฯ   เตนะ  สัจเจนะ  โสตถิ  เต  โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะฯ
สวดวันละ  ๑๐   จบ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:27:09
มนต์ประจำวันเกิด  ( อย่างย่อ )

วันอาทิตย์   คาถาพระนารายณ์แปลงรูป
อะ  วิ  สุ  นุส  สา  นุส  ติ  อะ   สวด  ๖  จบ
วันจันทร์   คาถากระทู้เจ็ดแบก
อิ  ระ  ชา  คะ  ตะ  ระ  สา  อิ   สวด  ๑๕  จบ
วันอังคาร   คาถาเรียกฝนแสนห่า
ติ  หัง  จะ  โต  โร  ถิ  นัง  ติ      สวด  ๘  จบ
วันพุธ      คาถาพระนารายณ์กลืนสมุทร
ปิ  สัม  ระ  โล  ปุ  รัต  พุท  ปิ   สวด  ๑๗  จบ
วันพฤหัส   คาถาพระนารายณ์คลายจักร
ภะ  สัม  สัม  วิ  สะ  เท  ภะ  ภะ   สวด  ๑๙  จบ
วันศุกร์      คาถาตรึงไตรภพ
วา  โธ  โน  อะ  มะ  มะ  วา  วา   สวด  ๒๑  จบ
วันเสาร์   คาถาพระนารายณ์พลิกแผ่นดิน
โส  มา  นะ  กะ  ริ  ถา  โธ  โส   สวด  ๑๐  จบ
   บทสวดประจำวันทั้ง  ๗  วันนี้  สวดบูชาได้ทุกคืน  ก่อนนอน  ทำให้แคล้วคลาด  โชคดี  มีอายุยืนนาน  ชนะศัตรูคู่อริทั้งปวง  แล


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:27:37
นมัสการพระอรหันต์   ๘   ทิศ
(นำ)   หันทะ   มะยัง   สะระภัญเญนะ พุทธะมังคะละคาถาโย   ภะณามะ   เส ฯ
(รับ)   สัมพุทโธ   ทิปะทัง   เสฏโฐ      นิสินโน   เจวะ   มัชฌิเม
   โกณฑัณโญ   ปุพพะภาเค   จะ      อาคะเณยเย   จะ   กัสสะโป
   สารีปุตโต   จะ   ทักขิเณ         หะระติเย   อุปาลี   จะ
   ปัจฉิเมปิ   จะ   อานันโท         พายัพเพ   จะ   คะวัมปะติ
   โมคคัลลาโน   จะ   อุตตะเร      อิสาเณปิ   จะ   ราหุโล
   อิเม   โข   มังคะลา   พุทธา      สัพเพ   อิธะ   ปะติฏฐิตา
   วันทิตา   เต   จะ   อัมมะเหหิ   สักกาเรหิ   จะ  ปูชิตา
   เอเตสัง   อานุภาเวนะ         สัพพะโสตถี   ภะวันตุ   โน   ฯ
   อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง   นะมัสสะมาโน   ระตะนัตตะยัง   ยัง   ปุญญาภิสันทัง   วิปุลัง   อะลัตถัง   ตัสสานุภาเวนะ   หะตันตะราโย   ฯ

คาถาพระโมคคัลลาน์ต่อกระดูก
   เถโร   โมคคัลลาโน   อันตะระธายิตตะวา   ภูมิสุขุมัง   ปะระมาโน   ภะคะวะโต   อิทธิยา   อัตตะโน   สะรีเรมังสังโลหิตัง
คาถาบทนี้   ใช้ภาวนาได้ทุกวัน  วันละ ๑๐๘ คาบ   กันสารพัดอันตรายทั้งปวง   ใช้เสกปูนทาเป่าพ่นสารพัด   ถ้าจะคัดเลือดให้ภาวนา   ๗   ที   คัดเลือดหยุดไหลแล


คำบูชาพระสารีบุตร
นโม   ๓   จบ
วิมุตตะจิตตัง   สารีปุตตะมหาปุริโสติ   วันทามิ   ฯ
( ให้ภาวนา  ๙  จบ  โดย  ๓  จบ  กราบ  ๑  ครั้ง )

คำบูชาพระมหาโมคคัลลาน์
นโม   ๓   จบ
อิมินา   สักกาเรนะ   โมคคัลลานัง   ปูเชมิ
ทุติยัมปิ   อิมินา   สักกาเรนะ   โมคคัลลานัง   ปูเชมิ
ตะติยัมปิ   อิมินา   สักกาเรนะ   โมคคัลลานัง   ปูเชมิ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:31:47
การบูชา   พระอุปคุต   หรือ   พระบัวเข็ม
การตั้งบูชา  นิยมการตั้งบูชาบนฐานรองรับ  อยู่กลางภาชนะใส่น้ำ  เป็นการจำลองคล้ายกับท่านจำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร   แล้วใช้ดอกมะลิลอยในน้ำบูชา    และต้องตั้งต่ำกว่าพระพุทธ   เนื่องจากเป็นพระอรหันต์   สาวกของพระพุทธเจ้า

คำบูชาพระอุปคุต
อุปะคุตโต   จะ   มะหาเถโร   สัมพุทเธนะ   วิยากะโต   มารัญจะ   มาระพะลัญจะ   โส   อิทานิ   มะหาเถโร   นะมัสสิตะวา   ปะติฎฐิโต   อะหัง   วันทามิ   อิทาเนวะ   อุปะคุตตัง   จะ   มาหาเถรัง   ยัง   ยัง   อุปัททะวัง   ชาตัง   วิธัง   เสติ   อะเสสะโต   มะหาลาภัง   ภะวันตุ (เม)   ฯ   
หรือ   (แบบย่อ)   อุปะคุตโต   จะ   มะหาเถโร   ยักขาเทวา   นะระปูชิโต   โสระโห   ปัจจะ   ยาทิมหิ   มะหาลาภัง   ภะวันตุเม   ฯ
(เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)

คำบูชาพระมหาอุปคุต
นโม   ๓   จบ
พระมหาอุปคุตโต   พระมหาอุปคุตตัง   จะมหาเถโร   สัพเพชะนา   พะหูชะนา   อิถีชะนา   มามังพุทธะจิตตัง   จะมหาลาโภ   พุทธะธัมโม   จะมหาลาภัง   พุทธะสังฆัง   จะมหาสัจจัง   สัพพะลาภัง   ภะวันตุเม   ฯ
อุปคุตตะ   จะมหาเถโร   สัพพะเสน่หาปุพชิโต   โสระโห   อุปะคุตะ   ปัจจะยา   ธิมะหิ   อุตตะโม   โหติ   สัพพะทุกขะ   สัพพะภะยะ   สัพพะโรคะ   พุทธา   ธัมมา   สังฆา   อานุภาเวนะ   วินาสสันติ   ฯ
(นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม   หรือ   พระธาตุอุปคุต)

คำบูชาขอลาภพระอุปคุต
มหาอุปคุตโต   จะมหาลาโภ     พุทโธลาภัง   สัพเพชะนา   พะหูชะนา   ราชาปุริโส   อิถีโยมานัง   นะโมโจรา   เมตตาจิตตัง   เอหิจิตติจิตตัง   ปิยังมะมะ   สะเทวะกัง   สะพรหมมะกัง   มะนุสสานัง   สัพพะลาภัง   ภะวันตุเม   ฯ
เอหิจิตติ   จิตตังพันธะนัง   อุปะคุตะ   จะมหาเถโร   พุทธะสาวะกะ   อานุภาเวนะ   มาระวิชะยะ   นิระภะยะ   เตชะปุญณะตา   จะเทวะตานัมปิ   มะนุสสานันปิ   เอหิจิตตัง  ปิยังมะมะ   อิมังกายะ   พันธะนัง   อะทิถามิ   ปะอัยยิสสุตัง   อุปัจสะอิ  ฯ
วิธีสวดขอลาภ
ให้จุดธูปเทียนบูชา    พร้อมกับดอกไม้หอม   เครื่องหอมน้ำหอมต่างๆ   เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์   ณ   ที่บูชาพระในร้านค้าขาย   หรืออาคารสำนักงาน   แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน   ลมพัดไปทางไหน   ของให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด   ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น   มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ   เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว   ให้สวด   นะโม   ๓   จบ   และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต   ๑   จบ   แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วย   คำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต   อีก   ๑   จบ   เสร็จแล้ว   เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า   และสินค้าในร้านค้า   หรือทำธุรกิจ   ก็ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงานและอุปกรณ์ต่างๆ   ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมด


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:32:28
คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร
นโม   ๓   จบ
มหาอุปคุตโต  มหาอุปคุตตัง   กายะพันทะนัง   อมยิสะ   พุทธังทะเถโร   ธัมมังทะเถโร  สังฆังทะเถโร  ปะอัยยะสุตัง  อุปัจสะอิ  อิมังกายะพันทะนัง  อะทิถามิ   ฯ
(คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร   มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มาก   เสกด้วยสายสิญจน์ทำเป็นมงคลสวมคอ   หากปลุกเสกครบ   ๑๐๘   ครั้งสามารถป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง   และป้องกันอุปัทวอันตรายต่างๆ   ถ้าเสก   ๓ - ๗   คาบ   ผูกคอหรือคล้องคอคนถูกผีเจ้าเข้าสิง   จะเจ็บปวดร้องครวญครางโหยหวยอย่างน่าเวทนา   ถ้าจะให้ผีที่สิงอยู่ออกไป   ให้ถอดหรือแก้ด้ายผูกคอออก   แล้วเอาด้ายนี้ตีปัดตามตัวคนที่ถูกผีสิงอยู่   ผีจะอยู่ไม่ได้จะเผ่นออก   และไม่กล้ากลับมารบกวนคนในบ้านอีก   และยังมีการปลุกเสกในทางพิชิตโรคาพาธได้วิเศษนัก)

คำบูชาพระบัวเข็ม
นโม   ๓   จบ
กิจจะมาคะอุปคุตโต  อะมะหาเถโร   สัมพุทเธวิยาคะโต   มาระรัญจะ   โสอิทานิ   จะมะหาเถโร   นะมัดปะสิทตะวาปะ   ถิติโกอหัง   วันทามิ   พาเนวะอุปคุตตัง   จะมะ   หาเถรัง   ยังยังอุปัทธะวังชาติ   วิทังเสนติ   อะเสสะโต   นโมพุทธายะ
พระบัวเข็มจะมะหาเถโร  สัพพะลาภังภะวันตุเม  อิติปิโสภะคะวา  พุทโธชัยโย   ธัมโมชัยโย   สังโฆชัยโย   เมตตา   ฉิมพาลีจะมะหา  เถโร  สัพพะลาภัง  ตะวันตุเม ฯ
ชัยยะตัง   ปัตถะพีตับภัง   สามินโท   โสราชาปูเชมิ   ฯ
หรือ
จิตติ   จิตติ   ริตติ   ริตติ   มิตติ   มิตติ   เอหิมะมะ  อุปปะคุตโต  จะมะหาเถโร นานาปาระมิ  สัมมะปัณโน   อิติปิโสภะคะวา   มะอะอุเมตตา   จะมะหาราชา   สัพพะสะเนหา  จะปูชิตา  สัพพะทุกขัง   มะหาลาภัง   สัพพะโกพัง   วินาสสันติ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:33:08
คำบูชาพระสีวลี   (พระฉิม)
อิมินา   สักกาเรนะ   สีวะลีเถรัง   อะภิปูชะยามิ
เมื่อบูชาแล้วกำหนดภาวนาในใจว่า
   สีวลี   จะ   มะหาเถโร   อินโท   พรัมมาจะ   ปูชิตัง   สัพพะลาภัง   ประสิทธิเม   เถรัสสะ   อานุภาเวนะ   สัพพะโสตถี   ภะวันตุเม   ฯ

คาถาพระฉิมพลี  (พระสีวลี)
   ฉิมพะลี   จะ   มหาเถโร   ยักขาเทวาภิปูชิโต   โสระโห   ปัจจะยาทิมหิ   อะหัง   วันทามิ   สัพพะทา
   ฉิมพะลี   จะ   มหาเถโร   เทวะตานะระปูชิโต   โสระโห   ปัจจะยาทิมหิ   มหาลาภัง   กะโรนตุ   เม   ลาเภนะ   อุตตะโม   โหติ   โส   ระโห   ปัจจะยาทิมหิ   มหาลาภัง   สะทา   โสตถิง   ภะวันตุ   เม   ฯ
   ราชะปุตโต   จะ   โย   เถโร   ฉิมพะลี   อิติรัสสุโต   ลาเภนะ   อุตตะโม   โหติ   ยัง   ยัง   ชะนะปะทัง   ยาตินิคะเม   ราชะธานิโย   สัพพัตถะ   ปูชิโต   โหติ   เถรัสสะ   ปาเท   วันทามิ   เถรัสสานุภาเวนะ   สัพพะลาโภ   ภะวันตุ   เม   ฯ
   ฉิมพะลีนันทะ   ฉิมพะลีเถรัสสะ   เอตถะตัง   คุณัง   สัพพะธะนัง   สุปะติฏฐิตัง   สาริกะธาตุ   พุทธะรูปัง   อะหัง   วันทามิ   สัพพะทา   ฯ

หัวใจพระสิวลี
นะ   ชาลีติ   ประสิทธิลาภา

หัวใจพระฉิมพลี
นะชาลิติ   ปะสิทธิลาภา   ปะสันนะจิตตา   สะทา   โหติ   ปิยัง   มะมะ   สัพเพชะนา   พะหูชะนา   สัพเพ   ทิสา   สะมาคะตา   กาละโภชนา   วิกาละโภชนา   อาคัจฉันติ   ปิยัง   มะมะ   ฯ

คำอธิฐานขอลาภจากพระสีวลี
(โดยหลวงพ่อเกษม   เขมโก   สุสานไตรลักษณ์   จังหวัดลำปาง)
นโม   ๓   จบ
สิวะ   ลีมะหา   เถรัง   วันทามิหัง   (  ๓   จบ  )
มะหาสิวะลี   เถโร  มะหาลาโภ   โหติ   มะหาสิวะลี  เถโร   ลาภัง   เม   เท  ถะ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:34:30
คำบูชาขอลาภพระสิวลี   (ประจำวัน)
วันอาทิตย์   ( ๖ จบ )
ฉิมพะลี   จะ   มหานามัง   สัพพะลาภัง   ภะวิสสะติ   เถรัสสานุภาเวนะ   สะทา   โหนติ   ปิยัง   มะมะ   ฯ
วันจันทร์   ( ๑๕ จบ )
   ยัง   ยัง   ปุริโสวา   อิตถีวา   ทูเรหิวา   สะมีเปหิวา   เถรัสสานุภาเวนะ   สะทา   โหนติ   ปิยัง   มะมะ   ฯ
วันอังคาร   ( ๘ จบ )
   ฉิมพะลี   จะ   มหาเถโร   โสระโห   ปัจจะยาทิมหิ   เชยยะลาโภ   มหาลาโภ   สัพพะลาภา   ภะวันตุ   สัพพะทา   ฯ
วันพุธ   ( ๑๗ จบ )
   ทิตติตถะภะเวราชา   ปิยาจะ   คะระตุเม   เย   สารัตติ   นิรันตะรัง   สัพพะสุขาวะหา   ฯ
วันพฤหัสบดี   ( ๑๙ จบ )
   ฉิมพะลี   จะ   มหาเถโร   ยักขาเทวาภิปูชิโต   โสระโห   ปัจจะยาทิมหิ   อะหัง   วันทามิ   สัพพะทา   ฯ
วันศุกร์   ( ๒๑ จบ )
   ฉิมพะลี   จะ   มหาเถโร   เทวะตานะระปูชิโต   โสระโห   ปัจจะยาทิมหิ   มหาลาภัง   กะโรนตุ   เม   ลาเภนะ  อุตตะโม   โหติ   สัพพะลาภะ   ภะวันตุ   สัพพะทา ฯ
วันเสาร์   ( ๑๐ จบ)
   ฉิมพะลี   จะ   มหานามัง   อินทาพรหมา   จะ   ปูชิตัง   สัพพะลาภัง   ปะสิทธิ   เม   เถรัสสานุภาเวนะ   สะทา   สุขี   ปิยัง   มะมะ   ฯ
หมายเหตุ   -ในวงเล็บหมายถึงการให้ภาวนาจำนวน………จบ
      -ถ้าจะขอลาภเป็นพิเศษ   ก็   สวดคำบูชาพระสิวลี   นำก่อน   หลังจากนั้นจึงสวด   คำบูชาขอลาภพระสิวลี   (ประจำวัน)   ที่จะขอลาภนั้น   ตามกำลังวัน

คำบูชาพระสิวลี
(ใช้สวดนำทุกวัน)
นะชาลีติประสิทธิลาภา   ปะสันนะจิตตา   สะทา   โหนติ   ปิยังมะมะ   สัพเพชะนา   พะหูชะนา   สัพเพทิศา   สะมาคะตา   กาละโภชะนา   วิกาละโภชนา   อาคัจฉันติ   ปิยังมะมะ
   ธัมมะจักกัง   ปะทัง   สุตวา   พุชฌิตะวา   อัตตังปะทัง   สันติ   อะระหาโลเก   โลกานัง  หิตะการะณาภันเต  คะวัมปะตินามะ  ตีสุ  โลเก  สุปากะโต  พรหมะปุตโต  มะหาเถโร  อะระโห  เชฏฐะโก  มุนิ  นัตถิ  เถโร  สะโม  อินทะคันธัพพา  อะสุรา  เทวาสักโก  พรหมาภิปูชิโต  นะโม  พุทธัสสะ  คะวัมปติสสะ  นะโม  ธัมมัสสะ  คะวัมปะติสสะ  นะโม  สังฆัสสะ  คะวัมปะติสสะ  สุกขาสุกขะ  วะรัง  ธัมมัง  ธัมมะจักกัง  ปะวะรัง   วะรัง  ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:36:13
คำบูชาพระสังกัจจายน์
   การบูชาพระสังกัจจายน์นิยมใช้ดอกบัวหรือดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม เช่น ดอกมะลิ   ดอกพุด   ดอกจำปี   ฯลฯ   นิยมใช้   ๓   ดอก   หรือ   ๗   ดอก   , และน้ำเย็นสะอาด   ๑   แก้ว    ในวันพระหรือวันเกิดของผู้เป็นเจ้าของพระควรถวายภัตตาหารในถาดเล็กๆ หรือ ถวายผลไม้ในวันนั้นๆ   ถ้าเป็นร้านค้าจะถวายทุกวันจะดีมาก

คำบูชาพระสังกัจจายน์
นโม   ๓   จบ
   กัจจานะจะมหาเถโร  พุทโธ  พุทธานัง  พุทธะตัง  พุทธัญจะ  พุทธะสุภา   สิตัง   พุทธะตังสะมะนุปปัตโต   พุทธะโชตัง   นะมามิหัง   ปิโยเทวะ   มะนุสสานัง   ปิโยพรหม   นะมุตตะโม   ปิโยนาคะ   สุปันนานัง   ปิยินทะริยัง   นะมามิหัง   สัพเพชะนา   พะหูชะนา   ปุริโสชะนา   อิถีชะนา   ราชาภาคินิ   จิตตัง   อาคัจฉาหิ   ปิยังมะมะ   ฯ

หรือ               นโม   ๓   จบ
ธัมมะจักกัง   ประทังสุตะวา   พุชฌิตะวา   อัตตังปะทัง   สันติเก   อะระหาโลเก   โลกานังหิตะการะณา   ภันตาตันเต   กัจจายะนะ   นามะ   ตีสุโลเกสุ   ปากะโต   พรหมะปุตโต   มะหาเถโร   อะระโห   เชฏฐโกมุนิ   นัตถิเถโร   สะโมอินทะคันธัพพา   อะสุราเทวะ   สักโก   พรหมาภิปูชิโต   นะโมพุทธัสสะ   กัจจายะนะมะหา   เถรัสสะ   นะโมธัมมัสสะ   กัจจายะนะหาเถรัสสะ   นะโมสังฆัสสะ   กัจจายะนะมะหาเถรัสสะ   สุขาสุขะวะรังธัมมัง   ธัมมะจักกัง   ปะวะรัง   นิฎฐิตัง   ฯ

คำบูชาขอลาภพระสังกัจจายน์
นโม   ๓   จบ
กัจจายะนะมะหาเถโร   เทวะตานะระปูชิโต   โสระโห   ปัจจะยาทิมหิ   มะหาลาภัง   ภะวันตุ   เม   ลาเภนะ   อุตะโมโหติ   โสระโหปัจจะยาทิมหิ   มะหาลาภัง   สัพพะลาภา   สะทาโสตถิ   ภะวันตุ   เม   ฯ

คำบูชาพระภควัม  ( ภควัมบดี  หรือ  พระปิตตา )
   ธัมมะจักกัง   ปะทังสุตตะวา   พุชฌิตตะวา   อัตตังปะทัง   สันติเก   อะระหาโลเก   โลกานัง   หิตะการะนา   ภันเตควันปิติ   นามะตี   สุโลเก   สุปากะโต   พรหมะปุตโต   มหาเถโร   อะระหะโต   เชฏฐะโก   มุนินัตถิ   เถโร   สะโมอินทะ   คันธัพพา   อะสุรา   เทวา   สักโก   พรหมาภิ   ปูชิโต   นะโมพุทธัสสะ   ควัมปะติสะ      นะโมธัมมัสสะ   ควัมปะติสะ   นะโมสังฆัสสะ   ควัมปะติสะ   สุขา   สุขะวะรัง   ธัมมัง   ธัมมะ   จักกัง   ปะวะรัง   นัฏฐิตัง   ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:38:37
วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร

จะเป็นภาพถ่ายหรือรูปหล่อของหลวงปู่ท่าน หรือพระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้ย่อมใช้ได้ทั้งสิ้น หลวงปู่ท่านโปรดผู้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ชอบอาหารมังสะวิรัติ ชอบฟังคำสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ชอบบูชาด้วยดอกมะลิสด น้ำฝน 1 แก้ว เทียนหนักหนึ่งบาท 1 คู่ ธูปหอม 5 ดอก (คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด) ) การปฏิบัติธรรมสังวรณ์ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยศีล 5 เป็นอย่างน้อย ย่อมเป็นสิ่งพึงพอใจของหลวงปู่และทั้งยังให้ความสุชความเจริญทั้งคดีโลกและคดีธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ

สำหรับพิมพ์อรหันต์ พิมพ์ปิดตา และพิมพ์มหากัจจายนะซึ่งเป็นองค์เดียวกันแต่ปางต่างกันหากจะอาราธนาอย่างพิศดารก็ย่อมกระทำได้ กล่าวคือพิมพ์อรหันต์ใหญ่ พิมพ์อรหันต์กลางและพิมพ์อรหันต์น้อย อยู่ในหมวดพระมหากัจจายนะรูปงามซึ่งเป็นรูปเดิมก่อนการอธิษฐานวรกายให้ต่อท้ายด้วยคาถาดังนี้

พิมพ์อรหันต์
อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
(เชยยะ อ่านว่า ไชยะ ; รูปะวะระ แปลว่า รูปงาม)
*** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม ***

สำหรับสำหรับพิมพ์พระปิดตาซึ่งเป็นปางอธิษฐานวรกายให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วยพระคาถาต่อไปนี้
พิมพ์พระภควัมปติ(ปิดตา)
ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
*** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***

สำหรับพิมพ์พุงพลุ้ยที่นิยมเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์ คำนี้ไม่มีศัพท์นี้ในภาษาบาลี ที่ถูกต้องคือ พระมหากัจจายนะ เถระเจ้าอัน
เป็นปางหลังจากที่นิมิตวรกายแล้ว ให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วย พระคาถาต่อไปนี้
อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
***โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***
จะเห็นว่าตัดเอาคำว่า รูปะวะระออกไปเพราะสิ้นความงดงามแล้ว

พระพิมพ์ของคณะพระเทพโลกอุดรนั้นทุกรูปแบบทุกพิมพ์ทรงมีอานุภาพครอบจักรวาล อาราธนาทำน้ำมนต์ประสิทธิ์ยิ่งนัก โดยให้นำเอาพระแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเรียบร้อยแล้ว บูชาด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียน แล้วอธิษฐานตามความมุ่งหมาย เสร็จแล้วให้รีบนำพระขึ้นเช็ดน้ำด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด ผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปบรรจุตลับ องค์พระจะไม่ละลายลบเลือนและไม่ควรแช่ในน้ำนานเกินควร จงทะนุถนอมให้จงดี เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว

สำหรับท่านที่มีพระอันเป็นทิพยสมบัติอันทรงคุณค่า โดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพชนหรือได้รับจากทางใดทางหนึ่งก็ตาม เสมือนมีแก้วสารพัดนึกอยู่กับตัว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในอิทธิวัตถุอื่นอีก

วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร

คำบูชาบรมครูพระโลกอุดร
นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯลฯ ( 3 จบ )
โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรา นุสาสะโก โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิฐะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสาริกะธาตุ วะชิรัญจา ปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง เวเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม

บทสวด แบบย่อหรืออาราธนาพระพิมพ์ (ได้ทุกทรงพิมพ์)
โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
หรือภาวนา ๓ จบ , ๗ จบ , ๙ จบ (เช้า-เย็น ตื่นนอนและก่อนนอน)
โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

หมายเหตุ : บทความที่นำมาเสนอนี้ได้รับการอนุญาตในการคัดลอกและเรียบเรียงเพื่อเผยแพรเป็นวิทยาทานจากท่าน อาจารย์ ประถม อาจสาครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นพระคุณและความกรุณาอย่างยิ่ง

ผมขอเสริมนะครับ ท่านสามารถอาราธนาเป็นภาษาไทย ได้นะครับ ถ้ายังจำบทสวดของท่านไม่ได้ครับ

ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย ผมมีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่านครับ

ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา

หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:39:23
คำบูชาหลวงปู่ทวด   วัดช้างไห้   จ.ปัตตานี
นโม   ๓   จบ
นะโม   โพธิสัตโต   อาคันติมายะ   อิติภะคะวา   ( ๓   จบ )
ให้บูชาท่านด้วยธูปแขก   ๙   ดอก   มะลิขาว   ๙   ดอก   แล้วจึงสวดขอบารมีต่าง ๆ

คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร   พระอาจารย์มั่น   ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส   จ.สกลนคร
นโม   ๓   จบ
ปัญจะ   มาเร   ชิโน   นาโถ   ปัตโต   สัมโพธิมุตตะมัง   จะตุสัจจัง   ปะกาเสติ   ธัมมะจักกัง   ปะวัตตะยิ   เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ   โหตุ   เม   ชะยะมังคะลัง   ฯ

สัพพสิทธิคาถา   พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต
วัดเทพศิรินทราวาส   กรุงเทพ ฯ
@ อะระหัง   สัมมา   สัมพุทโธ   อุตตะมัง   ธัมมะมัชฌะคา   มหาสังฆัง   ปะโพเธสิ   อิจเจตัง   ระตะนัตตะยัง   เอตัสสะอานุภาเวนะ   กะตะปุญญัสสะ   เจตะสา   สัพพะโรคะ   วินิมุตโต   สัพพะสันตา   ปะวัฑฒิโฒ   สัพพะเวระมะติก   กันโต   ยถาทีโป   จะนิพพุโต   นิพพุโต   จะตุวัง   ภะวะ   ชะยะสิทธิ   ธะนังลาภัง   โสตถิ   ภาคคะยัง   สุขัง   พะลัง   สิริอายุจะ   วัญโณจะ   โภคังวุฑฒี   จะยะ   สะวา   สะตะวัสสาจะ   อายุจะ   ชีวะสิทธี   ภะวันตุ   เต   
( สวดให้ตนเอง  เปลี่ยนจาก   เต   เป็น   เม )
   @ โส   อัทธะลัทโท   สุขิโต   วิรุฬโห   พุทธะสาสะเน   อะโรโค   สุขิโต   โหหิ   สะหะ   สัพเพหิ   ญาติภิ   สา   อัทธะลัทธา   สุขิตา   วิรุฬหา   พุทธะสาสะเน   อะโรคา   สุขิตา   โหหิ   สะหะ   สัพเพหิ   ญาติภิ   เต   อัทธะลัทธา   สุขิตา   วิรุฬหา   พุทธะสาสะเน   อะโรคา   สุขิตา   โหถะ   สะหะ   สัพเพหิ   ญาติภิ   ยะถาวาริวะหา   ปูรา   ปะริปูเรนติ   สาคะรัง   เอวะเมวะ   อิโตทินนัง   เปตานังอุปะกัปปะติ   อิจฉิตัง   ปัตถิตัง   ตุมหัง   ขิปปะเมวะ   สะมิชณะตุ   สัพเพ   ปูเรนตุ   สังกัปปา   จันโท   ปัณณาระโสยะถา   มะณีโชติระโสยะถา   สัพพีติโย   วิวัชชันตุ   สัพพะโรโค   วินัสสะตุ   มาเต   ภะวะ   วันตะรา   โย   สุขี   ทีฆายุโก   ภะวะ   อะภิวาทะนะสีลิสสะ   นิจจัง   วุฑฒาปะจายิโน   จัตตาโร   ธัมมา   วัฑฒันติ   อายุวัณโณ   สุขัง   พะลัง   ภะวะตุ   สัพพะมังคะลัง   รักขันตุ   สัพพะเทวะตา   สัพพะพุทธา   สัพพะธัมมา   สัพพะ   สังฆานุภาเวนะ   สทาโสตถิ   ภะวัน   ตุ   เต   
( สวดให้ตนเอง  เปลี่ยนจาก   เต   เป็น   เม )
พระเมตตา   พระมหาเสน่ห์   พระมหานิยม   อุดมลาภ   พระมหาลาภ   พระมหาอุด   อยู่ยงคงกระพันชาตรี   แคล้วคลาด   อุปัทอันตราย   หายตัวได้

@ สิทธะมัตถุ   สิทธะมัตถุ   สิทธะมัตถุ   อิทังพะลัง   เอตัสสมิง   ระตะนัตตะยัสสมิง   สัมปะสาทะนะ  เจตะโส
ผลแห่งจิตอันเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย   จงห่างไกลโรคาพาธ   ผ่านพ้นอุปสรรค   แคล้วคลาดอุปัทวันตราย   หายตัวได้   ศัตรูหมู่ร้ายเปลี่ยนแปลงกลับใจมาเคารพรักภักดี   กลับร้ายมาเป็นดี   กลับใจมาเป็นมิตรไม่คิดร้าย   กลับช่วยขวนขวายให้สำเร็จประโยชน์กิจ   ทั้งทิฎฐธรรมสัมปรายภพ   และปรมัตถ์ประโยชน์   ชาตินี้ชาติหน้า   และพ้นจากสังสารวัฏฏ์ชาติทุกข์   ประสพโชคดีมีความสุขความเจริญ   ก้าวหน้าทั้งทางโลกทางธรรม   พร้อมทั้งโลกสมบัติและโลกุตรสมบัติ   มนุษย์สมบัติ   สวรรค์สมบัติ   นิพพานสมบัติ   ประสพสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพูลผลชนมาสุขทุกประการ   เจริญยิ่งๆด้วย   อายุวรรณะ   สุขะ   พละ   ปฏิภาณ   ถึงพร้อมเต็มเปี่ยมบริบูรณ์   สมบูรณ์ด้วยอิฏฐารมภ์   ลาภ   ยศ   สรรเสริญ   สุข   สิริ   โภคะ   ธนะ   คุณสารสมบัติทุกประการ   ประสงค์ใดจงสำเร็จ   สมประสงค์   ทุกประการทั่วกัน   เทอญ ฯ   
(จาก   อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ   เจ้าคุณนรฯ   วันอังคารที่  ๒๒  กุมภาพันธ์  ๒๕๑๕ )


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:40:17
คำบูชาหลวงพ่อเงิน   วัดบางคลาน   จ.พิจิตร
นโม   ๓   จบ
อะกะ    อะธิ    อะธิ    อะกะ    ธิอะ    กะอะ
   วันทามิ  อาจาริยัญจะ  หิรัญญะ  นามะกัง  ถิรัง  สิทธิ  ทันตัง  มหาเตชัง  อิทธิ  มันตัง  วะสาทะรัง   ( สิทธิ  พุทธัง  กิจจัง  มะมะ  ผู้คนไหลมา  นะชาลี  ติ  สิทธิ  ธัมมัง    จิตตัง  มะมะ  ข้าวของไหลมา  นะชาลี  ติ  สิทธิ  สังฆัง  จิตตัง  มะมะ  เงินทองไหลมา  นะชาลี  ติ  ฉิมพลี  จะ  มหาลาภัง  ภะวันตุ  เม )


พระคาถาแก้วสารพัดนึก  พระราชสังวราภิมณฑ์ ( หลวงปู่โต๊ะ  อินทสุวณโณ )
วัดประดู่ฉิมพลี    กรุงเทพฯ
นโม   ๓   จบ
พุทธัง   ธัมมัง   สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ
นะโม  เม  สัพพะพุทธานัง  อุปปันนานัง  มะเหสินัง  ตัณหังกะโร  มะหาวีโร  เมธังกะโร  มะหายะโส  สะระณังกะโร  โลกะหิโต  ทีปังกะโร  ชุตินธะโร  โกณฑัญโญ  ชะนะปาโมกโข  มังคะโล  ปุริสาสะโภ  สุมะโน  สุมะโน  ธีโร  เรวะโต  ระติวัฑฒะโน  โสภิโต  คุณะสัมปันโน  อะโนมะทัสสี  ชะนุตตะโม  ปะทุโม  โลกะปัชโชโต  นาระโท  วะระ  สาระถี  ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ  อัปปะฏิปุคคะโล  สุชาโต  สัพพะโล กัคโค  ปิยะทัสสี  นะราสะโภ  อัตถะทัสสี  การุณิโก  ธัมมะทัสสี  ตะโมนุโท  สิทธัตโถ  อะสะโม  โลเก  ติสโส  จะ  วะทะตัง  วะโร  ปุสโส  จะ  วะระโท  พุทโธ  วิปัสสี  จะ  อะนูปะโม  สิขี  สัพพะหิโต  สัตถา  เวสสะภู   สุขะทายะโก  กะกุสันโธ  สัตถะวาโห  โกนาคะมะโน  ระณัญชะโห  กัสสะโป  สิริสัมปันโน  โคตะโม  สักยะปุงคะโว 
*   พุทโธ  สัพพัญญุตะญาโณ  มหาชนา  นุกัมปะโก  ธัมโม  โลกุตตะโร  วะโร  สังโฆ  มัคคะผะลัฏโฐ  จะ
**   อินทะสุวัณณะ  เถโร  จะ  อิจเจตัง  ระตะนัตตะยัง  เอตัสสะ  อานุภาเวนะ  สัพพะทุกขา  อุปัททะวา  อันตะรายา  จะ  นัสสันตุ  ปุญญะลาภะ  มะหาเตโช  สิทธิกิจจัง  สิทธิลาโภ  สัพพะโสตถี  ภะวันตุ  เม  ติ





หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:40:58
พระคาถาเมตตาหลวง  (หลวงปู่มั่น  ภูริทัตโต)
พระญาณสิทธาจารย์  วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม  ต.กลางดง  อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา
วิธีการสวด
ให้ไหว้พระ  อรหัง  สัมมาสัมพพุทโธ ,  นโม ๓ จบ ,  พุทธัง   ฯลฯ  เป็นคำเริ่มต้นก่อน

คำสวดให้เมตตาตน
อะหัง   สุขิโต   โหมิ,   นิททุกโข   โหมิ,   อะเวโร   โหมิ,   อัพพะยาปัชโฌ   โหมิ,   อะนีโฆ   โหมิ,   สุขี   อัตตานัง   ปริหะรามิ,


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:41:23
๑.คำสวดแผ่เมตตา (ย่อ)
๑.สัพเพ   สัตตา         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง 
               ปะริหะรันตุ
๒.สัพเพ  ปาณา         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ
๓.สัพเพ  ภูตา            อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ         
๔.สัพเพ  ปุคคะลา         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ
๕.สัพเพ  อัตตะภาวะปะริยาปันนา   อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ
๖.สัพพา  อิตถิโย         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ
๗.สัพเพ  ปุริสา         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ
๘.สัพเพ  อะริยา         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ
๙.สัพเพ  อะนะริยา         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ
๑๐.สัพเพ  เทวา         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ
๑๑.สัพเพ  มนุสสา         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ
๑๒.สัพเพ  วินิปาติกา         อะเวรา  อัพพะยาปัชณา  อะนีฆา  สุขี  อัตตานัง               ปะริหะรันตุ

๒.คำสวดแผ่กรุณา (ย่อ)
๑.สัพเพ  สัตตา         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ         
๒.สัพเพ  ปาณา         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ
๓.สัพเพ  ภูตา            สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ         
๔.สัพเพ  ปุคคะลา         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ   
๕.สัพเพ  อัตตะภาวะปะริยาปันนา   สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ
๖.สัพพา  อิตถิโย         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ
๗.สัพเพ  ปุริสา         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ
๘.สัพเพ  อะริยา         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ
๙.สัพเพ  อะนะริยา         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ
๑๐.สัพเพ  เทวา         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ
๑๑.สัพเพ  มนุสสา         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ
๑๒.สัพเพ  วินิปาติกา         สัพพะทุกขา  ปะมุญจันตุ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:41:57
๓.คำสวดแผ่มุทิตา (ย่อ)
๑.สัพเพ  สัตตา         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๒.สัพเพ  ปาณา         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๓.สัพเพ  ภูตา            ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๔.สัพเพ  ปุคคะลา         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๕.สัพเพ  อัตตะภาวะปะริยาปันนา   ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๖.สัพพา  อิตถิโย         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๗.สัพเพ  ปุริสา         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๘.สัพเพ  อะริยา         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๙.สัพเพ  อะนะริยา         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๑๐.สัพเพ  เทวา         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๑๑.สัพเพ  มนุสสา         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ
๑๒.สัพเพ  วินิปาติกา         ลัทธะสัมปัตติโต  มา  วิคัจฉันตุ

๔.คำสวดแผ่อุเบกขา (ย่อ)
๑.สัพเพ  สัตตา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๒.สัพเพ  ปาณา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๓.สัพเพ  ภูตา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๔.สัพเพ  ปุคคะลา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๕.สัพเพ  อัตตะภาวะปะริยาปันนา   กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๖.สัพพา  อิตถิโย         กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๗.สัพเพ  ปุริสา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๘.สัพเพ  อะริยา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๙.สัพเพ  อะนะริยา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๑๐.สัพเพ  เทวา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๑๑.สัพเพ  มนุสสา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

๑๒.สัพเพ  วินิปาติกา      กัมมัสสะกา  กัมมะทายาทา   กัมมะโยนี   กัมมะ พันธุ   กัมมะปะฏิสะระณา  ยัง,  กัมมัง ,  กะริสสันติ  กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา  ตัสสะ  ทายาทา  ภะวิสสันติ

อานิสงส์เมตตาพระท่านบอกไว้ว่า   สุขัง  สุปติ  หลับตื่นชื่นตา  เสวยสุขอนันต์  ไมฝันลามกร้ายกาจ  ปีศาจมนุษย์ชื่นชมหฤหรรษ์  เทวาทุกชั้นช่วยชูรักษา  หอก  ดาบ  ยาพิษ  ไฟลุก  เข้ามา  ครั้นถึงองค์พระโยคาย้อนกลับยับเป็นผง  ใจร้ายใจบาปสันดานชั่วหยาบ  ระงับดับลงด้วยพรหมวิหารา  องค์พระโยคาสุกใส  ใครเป็นพิศวง  เมื่อตายไปไม่หลงเหมือนคนสามานย์  ส่งผลถึงอัครฐานตราบเท่านิพพานแล


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:42:45
คำบูชาหลวงปู่ขาว  อนาลโย  วัดถ้ำกลองเพล  จ.อุดรธานี
นโม   ๓   จบ
พุทธะ   เมตตัง   จิตตัง   มะมะ   พุทธะ   พุทธา   นุภาเวนะ
ธัมมะ   เมตตัง   จิตตัง   มะมะ   ธัมมะ   ธัมมา   นุภาเวนะ
สังฆะ   เมตตัง   จิตตัง   มะมะ   สังฆะ   สังฆา   นุภาเวนะ

คำบูชาหลวงปู่แหวน  สุจิณโณ  วัดดอยแม่ปั๋ง  จ.เชียงใหม่
นโม   ๓   จบ
   พุทโธ   อะระหัง   ธัมโม  อะระหัง   สังโฆ  อะระหัง   อะระหัง   พุทโธ   อะระหัง   ธัมโม   อะระหัง   สังโฆ   ฯ

คำบูชาหลวงพ่อเกษม  เขมโก   สุสานไตรลักษณ์  จ.ลำปาง
นโม   ๓   จบ
   โอกาสะ   โอกาสะ   อาจะริโย   เม  นาโถ  โหตุ   อายัสสมา   เขมโก   ภิกขุ   เม   นาโถ   อาจะริยัง   วันทามิ   ฯ   
   หรือบทย่อ   สะมะณัง   วันทามิ   สัทธานัง   อนุโมทามิ   ฯ 


พระคาถาหลวงปู่สุก  (ไก่เถื่อน)
นโม   ๓   จบ
เวทาสากุ  กุสาทาเว  ทายะสาตะ  ตะสายะทา  สาสาทิกุ  กุทิสาสา  กุตุกุภู  ภูกุตะกุ

คำบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม  ธนบุรี    กทม.
นโม   ๓   จบ
โตเสนโต   วะระธัมเมนะ   โตสัฏฐาเน   สิเว   วะเร   โตสัง   อะกาสิ   ชันตูนัง   โตสะจิตตัง   นะมา   มิหัง ฯ

คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
นะโมพุทธายะ  นะมะพะทะ  จะภะกะสะ  มะอะอุ  อิสวาสุ  อาปามะจะปะ  ทิมะสังอังขุ  สังวิทาปุกะยะปะ  สะธะวิปิปะสะอุ  อะสังวิสุโลปุสะพุภะ  นะมะนะอะ  นอ กอ นะกะ กอ ออ นอ อะ นะอะกะอัง  อิติอะระหัง  พุทธังสะระณังคัจฉามิ  อิติอะระหังธัมมังสะระณังคัจฉามิ  อิติอะระหังสังฆังสะระณังคัจฉามิ  ตะติอุนิ  จิเจรุนิ  จิตตังเจตะสิกกัง  รูปังนิพพานัง  นามะรูปัง ทุกขัง  นะมะรูปังอนิจจัง  นามะรูปังอนัตตา  อะยังอัตตะภาโว  อะสุจิ  อะสุภัง  อะระหังหรินังหัคคะตา  สัมมาสัมพุทโธ  พุทธะสังมิ  มังคะลังโวเจติ  อิติอะระหัง  อะระหังพุทโธ  นะโมพุทธายะ

พุทธมังคลคาถาถือเป็นอีกหนึ่งบทคาถาของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต  คำว่าพุทธมังคลคาถานี้ คือการนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศซึ่งล้วนแต่เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น
คาถาบูชาพระสมเด็จ
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ
เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา
คาถาอารธนาพระสมเด็จ
โตเสนโต วะระธัมเมนะ
โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง
โตสะจิตตัง นะมามิหัง
คาถาสืบสร้างทางสวรรค์และนิพพาน
พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:43:34
คำไหว้บารมี   ๓๐   ทัศ
ครูบาเจ้าศรีวิชัย   จ.เชียงใหม่
   ๑.ทานะปาระมี   สัมปันโน   ทานะอุปะปาระมี   สัมปันโน   ทานะปาระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๒.สีละปาระมี   สัมปันโน   สีละอุปะปาระมี   สัมปันโน   สีละปะระมัตถะปาระมี      สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๓.เนกขัมมะปาระมี   สัมปันโน   เนกขัมมะอุปะปาระมี   สัมปันโน   เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๔.ปัญญาปาระมี   สัมปันโน   ปัญญาอุปะปาระมี   สัมปันโน   ปัญญาปะระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๕.วิริยะปาระมี   สัมปันโน   วิริยะอุปะปาระมี   สัมปันโน   วิริยะปาระมี   สัมปันโน   วิริยะอุปะปาระมี   สัมปันโน   วิริยะปะระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๖.ขันติปาระมี   สัมปันโน   ขันติอุปะปาระมี   สัมปันโน   ขันติปะระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๗.สัจจะปาระมี   สัมปันโน   สัจจะอุปะปาระมี   สัมปันโน   สัจจะปะระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๘.อธิษฐานะปาระมี   สัมปันโน   อธิษฐานะอุปะปาระมี   สัมปันโน   อธิษฐานะปะระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๙.เมตตาปาระมี   สัมปันโน   เมตตาอุปะปาระมี   สัมปันโน   เมตตาปะระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๑๐.อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อุเบกขาอุปะปาระมี   สัมปันโน   อุเบกขาปะระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   ๑๑.ทะสะปาระมี   สัมปันโน   ทะสะอุปะปาระมี   สัมปันโน   ทะสะปะระมัตถะปาระมี   สัมปันโน   เมตตา   ไมตรี   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขาปาระมี   สัมปันโน   อิติปิโส   ภะคะวา
   พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ,   ธัมมัง   สะระณัง   คัจฉามิ,   สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ   นะมามิหัง   ฯ


คาถาครูบาศรีวิชัย  ( ใช้ป้องกันภัย )
หลวงปู่โง่น  โสรโย  วัดพระพุทธบาทเขารวก  จ.พิจิตร
นะโมเมพุทธะวีรัตถุ   วิปปะมุตโตสิสัพพะธิ   สัพพาธะปะฏิโน   สะมิ   ตัสสะเม   สะระนังภะวะ

คาถาขอสิ่งของ   หลวงปู่บุดดา   ถาวโร  วัดกลางชูศรีเจริญ   จ.สิงห์บุรี
นโม   ๓   จบ
อุอาอา   เมตตาสังฆัง   ( ๓จบ หรือ ท่องบ่อยๆ )

คาถาหลวงพ่อโอภาสี   วัดโอภาสี   บางมด   กรุงเทพฯ
นโม   ๓   จบ
อิติสุคะโต   อะระหังพุทโธ   นะโมพุทธายะ   ปะฐะวีคงคา   พระภุมมะเทวา   ขะมามิหัง


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 09:44:08
คาถาค้าขายดี  (ของเก่า)
   พุทธัง  พะหุชะนานัง  เอหิจิตตัง  เอหิมะนุสสานัง  เอหิลาภัง  เอหิเมตตา  ชมภูทีเป  มะนุสสานัง  อิตถิโย  ปุริโส  จิตตัง  พันธังเอหิ
   พ่อค้าแม่ค้าพาณิชย์นิยมเสกเป่า  ๓  จบ  ๗  จบ  ทำน้ำมนต์ล้างหน้าและประพรมสินค้าขายของดีนักแล (อธิษฐาน และใส่บาตรทุกวันตามศรัทราจะบังเกิดโชคลาภ)

คาถาเจริญโภคทรัพย์
   นิจจัง  กาลัง  ปิยัง  โหติ  เทวะตาปิ  นิปัตเตยยัง  มะหาเตชัง  มะหาตะปัง  พะเล  เนเน  เตเช  ชะยะตุ  ชะยะมังคะลัง ฯ
   คาถานี้  ท่านให้ภาวนาทุกๆวัน  เจริญโภคทรัพย์  มีลาภ และมีตบะ  เดชะดีนักแลฯ

คาถามหาลาภ
หลวงพ่อปาน  วัดบางนมโค  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(นะโม  ๓  จบ)
   นะมามีมา  มะหาลาภา  อิติพุทธัสสะ  สุวัณณังวา  ระชะตัง  มะณีวา  ธะนังวา  พีชังวา  อัตถังวา  ปัตถังวา  เอหิ  เอหิ  อาคัจเฉยยะ  อิติมีมา  นะมามิหัง
   ใช้สวดภาวนาก่อนนอน  ๓  จบ  และตื่นนอนเช้า  ๓  จบ  เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ

คาถาเสริมทรัพย์
หลวงพ่อปาน  วัดบางนมโค  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(นะโม  ๓  จบ)
พุทธะ   มะอะอุ  นะโม  พุทธายะ  ( ว่า  ๑  จบ)
วิระทะโย  วิระโคนายัง  วิระหิงสา  วิระทาสี  วิระทาสา  วิระอิตถิโย  พุทธัสสะ  มาณีมามะ  พุทธัสสะ  สะวาโหม
   ใช้สวดภาวนาก่อนนอน  ๓  จบ  ตื่นนอนเช้า  ๓  จบ  เวลาใส่บาตร  จบขันข้าว  ๑  จบ  แล้วให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยและพระปัจเจกโพธิ  อย่าได้เว้น  นอกนั้นว่างเมื่อไหร่ท่องเมื่อนั้น  จะบังเกิดโภคทรัพย์มากมาย

คาถามหาอำนาจ
หลวงพ่อปาน  วัดบางนมโค  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
   เอวัง  ราชะสีโห  มะหานาทัง  สีหะนาทะกัง  สีหะนะเม  สีละเตเชนะ  นามะ  ราชะสีโห,  อิทธิฤทธิ์  พระพุทธัง  รักษา  สาระพัดศัตรู  อะปะราธะยัง,  อิทธิฤทธิ์  พระธัมมัง  รักษา  สาระพัดศัตรู  อะปะราธะยัง,  อิทธิฤทธิ์  พระสังฆัง  รักษา  สาระพัดศัตรู  อะปะราธะยัง
   ใช้เสกน้ำล้างหน้าทุกเช้า  จะมีอำนาจคนยำเกรง  ศัตรูพ่ายแพ้

คาถาอิทธิฤทธิ์
หลวงพ่อปาน  วัดบางนมโค  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พุทโธ  พุทธัง  นะกันตัง  อะระหัง  พุทโธ  นะโม  พุทธายะ
   เป็นคาถาป้องกันตัว  เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีศาสตราวุธร้ายแรงทุกชนิด  ทั้งมีด  ไม้  ปืน  หรือระเบิด  ให้ภาวนา  ดังนี้
อุทธัง  อัทโธ  นะโม  พุทธายะ

คาถาเงินล้าน
พระราชพรหมยาน  วัดท่าซุง
(นะโม  ๓  จบ)
   พรหมา  จะ  มหาเทวา  สัพเพยักขา  ปะรายันติ  พรหมา  จะมหาเทวา  อะภิลาภา  ภะวันตุ  เม  มหาปุญโญ  มหาลาโภ  ภะวันตุ  เม  มิเตพาหุหะติ  พุทธะมะอะอุ  นะโมพุทธายะ  วิระทะโย  วิระโคนายัง  วิระหิงสา  วิระทาสี  วิระทาสา  วิระอิตถิโย  พุทธัสสะ  มามีมามะ  พุทธัสสะ  สวาโหม  สัมปติจฉามิ
(ภายหลังให้เพิ่มบทต้นว่า   นาสังสิโม    บทต่อท้ายว่า  เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ )  (บูชา  ๙  จบ  ตัวคาถาต้องว่าหมด)


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:22:27
คำบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
นโม   ๓   จบ
นเรศวรมหาราชจุติ   สิทธิสังโฆ   นโมพุทธายะ   ( ๓   จบ )
อิติ  จิตตัง  เอหิ  เทวะตาหิ  จะมหาเตโช  นะระปูชิโต  โสระโส  ปัจจะยา  ทิปปะติ   นะเรโส  จะมหาราชา  เมตตา  จะกะโรติ   มหาลาภัง   จะ   ทาโสตถี   ภะวันตุเม  ฯ
คำแปล   ข้าพระพุทธเจ้า…………………………………………ขอน้อมกราบบูชารำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  พระองค์ผู้ทรงมหา   เดชานุภาพ   ทรงเป็นทรัพย์อันยิ่งใหญ่ของชาติไทย   เป็นที่รักและเคารพอย่างยิ่ง   ขอพระองค์ทรงแผ่พระเมตตาบารมี   คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติประทานพรให้ข้าพระพุทธเจ้าและ……………………………ให้มีความเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สิน   เงินทอง   มีลาภ   มีความสุขสวัสดิ์ชั่วนิรันดร์   เทอญ.
หรือ      นะมามิ   สิระสา   พิมพัง      พุทธะ   ญาณะ   นเรศวร   
สัพพะ   ทุกขะ   สะเมตารัง      สินติทัง   สุขะทัง   สะทาติ
คำถวายเครื่องสักการะ
สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ
อิเมหิ   ปานะโภชเนหิ   มหาราชานัง   ปูเชมิ ฯ
คำลา
ราชา   เสสังมังคลา   ยาจามิ
หมายเหตุ
-  ถวายน้ำชา  ,  น้ำธรรมดา  -  วันเสาร์  ถวายผลไม้  -  สักการะบูชาด้วยดอกมะลิ

คำบูชาสมเด็จพระเอกาทศรถ
นโม   ๓   จบ
โย   หิ   เสฏโฐ   ราชา   สิริปุญญานะมาสะโย   นะริสสะระมะหารัญโญ   กะนิฐโฐวะอะติปปิโย   อะยุชฌิยา   ธิโป   โหติ   เอกาทะสะระโฐติ   นามะโก   กะตัง   ปุญญะผะลัง   มัยหัง  ปุญญะ  ภาคา  ภะวันตุ  เม  ระตะนัตตะยา  นุภาเวนะ  สัพเพ  เม  นิสสันตุ  ปัทวา


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:23:08
คำบูชาสมเด็จพระพี่นางพระสุพรรณกัลยาณีเทวี หรือพระพี่นางสุพรรณกัลยา
นโม   ๓   จบ
   เอหิภูโต   มหาภูโต   สะมะนุสโส   สะเทวะโก   กะโรหิ   เทวะทิ   ตานังอาคัจเฉยะ   อาคัจฉาหิ   เอหิวิญญานะสุพรรณกัลละยา   เทวะทิตา   อาคัจเฉยยะ   อาคัจฉาหิ   มานิมามา        สวดบูชา   ๗   จบ
กำหนดลมหายใจ เข้า – ออก ระลึกนึกถึงท่าน   เมื่อลมหายใจละเอียดลงใช้ความรู้สึกอย่างแรงในขณะหายใจเข้า  ดึงเอาภาพลักษณ์ของ พระสุพรรณกัลยาณีเทวี ให้มาปรากฎ
หรือ
นะสุพรรณกัลยาณี  นะโมโพธิสัตว์โต  นะ  เมตตา  นะโมพุทธายะ  นะมะพะทะ
สวด   ๓ , ๕ , ๘ , ๙   จบ

พระคาถาบูชาดวงชะตา   พระนพรัต   วัดป่าแก้ว  อยุธยา
พระนพรัต   วัดป่าแก้ว  อยุธยา   ที่ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในคราวปราบศัตรูกู้บ้านเมือง
นโม   ๓   จบ
   นะโม   เม   สัพพะเทวานัง   สัพพะคะระหะ   จะ   เทวานัง   สุริยัญจะ   ปะมุญจะถะ   สะสิ   ภุมโม   จะ   เทวานัง   วุโธ   ลาภัง   ภะวิสสะติ   ชีโว   สุกะโร   จะ   มะหาลาภัง   โสโร   ราหูเกตุ   จะ   มะหาลาภัง   สัพพะ   ภะยัง   วินาสสันติ   สัพพะทุกขัง      วินาสสันติ   สัพพะโรคัง   วินาสสันติ   ลักขะณา   อะหัง   วันทามิ   สัพพะทา   สัพเพเทวา  มัง  ปาละยันตุ  สัพพะทา  เอเตนะ  มังคะละเตเชนะ  สัพพะโสตถี  ภะวันตุ  เม ฯ
   พุทธัง   พะหุชะนานัง   เอหิจิตตัง   เอหิมะนุสสานัง   เอหิลาภัง   เอหิเมตตา   ชมภูทีเป   มนุสสานัง   อิตถิโย   ปุริโส   จิตตัง   พันธังเอหิ   มะมะ

พระคาถานี้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์นัก  ถ้าใครได้ภาวนาด้วยความเชื่อมั่นเลื่อมใสได้บ่อย ๆ   จะมีอานิสงส์ได้รับผลทันตาหลายประการ   คือ
   ๑.จะได้รับชัยชนะต่อศัตรูคู่อริทุกอย่าง
   ๒.ทวยเทพเทวาซึ่งเป็นใหญ่ในจักรวาล   จะช่วยบันดาลความสุขให้   และปกป้องผองภัยสารพัดทุกอย่าง   และจะเป็นผู้มั่งมีด้วยลาภ   ผล   
   ๓.ถ้าต้องการร่ำรวย   ให้ท่องบ่อยๆ   เงินทองจะไหลมาเทมา


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:23:46
คำบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
นโม   ๓   จบ
อาราธนาดวงพระวิญญาณ
โอม   สิโน   ราชาเทวะ   ชะยะตุภะวัง   สัพพะศัตรู   วินาสสันติ
ถวายเครื่องสักการะ
โอม   สิโน   ราชาเทวะ   นะมามิหัง
พระคาถาให้โชคลาภ   ( นโม   ๓   จบ )
นะชาลิติ   มะหาลาโภ   ลาโภ   มหาโชค   มหาลาภ

การถวายเครื่องสักการะบูชา
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นดวงพระวิญญาณที่สถิตย์เป็นหนึ่งในสมเด็จพระสยามเทวาธิราชเจ้า   คอยปกป้องรักษาแผ่นดินไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์และมีชัยชนะเหนืออริราชศัตรู   ทรงโปรดสิ่งเหล่านี้……………………………
๑.ผู้มีความซื่อสัตย์ต่อ   ชาติ   ศาสนา   พระมหากษัตริย์   และราชบัลลังก์   ตลอดจนผู้ที่เป็นนักรบรั้วของชาติ
๒.พระกระยาหารที่ทรงเสวยนั้น   ส่วนใหญ่เป็นแบบไทยง่ายๆ   และอาหารแบบเดินทัพทั้งหลาย   เช่น   เครื่องของแห้งต่างๆ
๓.แต่บางแห่งเช่น   ที่วัดหนองนกไข่   ทรงนิมิตรแก่ท่านเจ้าอาวาส   ว่า   ทรงโปรดข้าวต้มผัดและไข่ต้ม   อันเป็นอาหารสำหรับเดินทัพ
๔.ผลไม้ไทยและจีน   เครื่องเซ่นไหว้แบบจีนเต็มชุด   เช่น   เป็ด   ไก่   หัวหมูบายศรี   และซาแซ   เป็นอาทิ   
๕.น้ำเปล่า   น้ำผลไม้   และน้ำหวานอื่นๆ   ไม่ทรงโปรดเสวยน้ำจัณฑ์
๖.ดอกไม้ที่ใช้บูชา   โปรดสีแดง   อันเป็นสีแห่งวันพระราชสมภพของพระองค์
๗.เครื่องถวายแก้บนโปรดดาบไทย   ครั้งละ   ๒   เล่ม   และปืนใหญ่จำลอง
   ๘.โปรดเสียงประทัด  และเสียงปืน
เมื่อจะขอพระบารมี   ต้องจุดธูป   ๑๖   ดอก   กลางแจ้ง   แล้วกราบขอพระราชทานพระบารมี   ตามที่ต้องการ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:24:27
คำบูชาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ( รัชกาลที่   ๕ )
พระปิยะมหาราช    ( วัดเบญจมบพิตร )
นโม   ๓   จบ
   พระสยามิน   ทะโร   วะโร   อัตตัง   พุทธะ   สังมิ   อิติ   อะระหัง   วะรัง   พุทโธ   นะโมพุทธายะ   ปิโยเทวา   มะนุสานัง   ปิโยนาคะ   สุปันนานัง   ปิโยพรหมานะ   มุตตะโม   ปินัน   ทริยัง   นะมามิหัง
( ธูป   ๙   ดอก   ห้ามบนบาน   ให้อธิฐานขอ )

คาถาหัวใจมงกุฏพระพุทธเจ้า
อิติปิโส   วิเสเสอิ   อิเสเส   พุทธนาเมอิ   อิเมนา   พุทธตังโสอิ   อิโสตัง   พุทธปิติอิ
(หลวงปู่เอี่ยม   ได้ถวายแด่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเสด็จประพาสยุโรบ)

คำสวดบูชาพระสยามเทวาธิราช
ระตะนัตตะยัปปะภาวาภิยาจะนะคาถา
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ( รัชกาลที่  ๔ )
นโม   ๓   จบ
อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  อุตตะมัง  ธัมมะมัชฌะคา  มะหาสังฆัง  ปะโพเธสิ  อิจเจตัง  ระตะนัตตะยัง  พุทโธ  ธัมโม  สังโฆ  จาติ  นานาโหนตัมปิ  วัตถุโต  อัญญะมัญญาวิโยคาวะ  เอกีภูตัมปะนัตถะโต  พุทโธ  ธัมมัสสะ  โพเธตา  ธัมโม  สังเฆนะ  ยาริโต  สังโฆ  จะ  สาวะโก  พุทธัสสะ  อิจเจกา  พัทธะเมวิทัง  วิสุทธัง  อุตตะมัง   เสฏฐัง  โลกัสมิง  ระตะนัตตะยัง  สังวัตตะติ  ปะสันนานัง  อัตตะโน  สุทธิกามินัง  สัมมา  ปะฏิปัชชันตานัง  ปะระมายะวิสุทธิยา  วิสุทธิ   สัพพะเกลเส
   ๑   หิ  โหติ  ทุกเขหิ  นิพพุติ  นิพพานัง  ปะระมัง  สุญญัง  นิพพานัง  ปะระมัง  สุขัง  เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  สุวัตถิ  โหตุ  สัพพะทา  ระตะนัตตะยานุภาเวนะ  ระตะนัตตะยะเตชะสา  อุปัททะวันตะรายา  จะอุปะสัคคา  จะ  สัพพะโส  มา  กะทาจิ  สัมผุสิงสุ  รัฏฐัง  สยามานะเมวิทัง  อาโรคิยะสุขัญเจวะ  ตะโต  ทีฆายุตาปิ  จะ  ตัพพัตถูนัญจะ
   ๒   สัมปัตโย  สุขัง  สัพพัตถะ  โสตถิ  จะ  ภะวันตุ  สัมปะวัตตันตุ  สยามานัง  รัฏฐะปาลินัง  เต  จะ  รัฏฐัญจะ  รักขันตุ  สยามะรัฏฐิกะเทวะตา  สยามานัง  รัฏฐะปาลีหิ  ธัมมามิเสหิ  ปูชิตา  สิทธะมัตถุ  สิทธะมัตถุ  สิทธะมัตถุ  อิทัง  ผะลัง  เอตัสมิง  ระตะนัตตะยัสมิง  สัมปะสา  ทะนะเจตะโส
หรือ
   สยามะเทวาธิราชา   เทวาติเทวา   มหิทธิกา   เทยยะรัฏฐัง   อะนุรักขันตุ   อาโรคะเยนะ   สุเขนะ   จะ   เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ   สุวัตถิ   โหตุ   สัพพะทา   สยามะเทวานุภาเวนะ   สยามะเทวะเตชะสา  ทุกขะโรคะภะยา   เวรา   โสกา   สัตตุ   จุปัททะวา   อะเนกา   อันตะรายาปิ   วินัสสันตุ   อะเสสะโต  ชะยะสิทธิ   ธะนัง   ลาภัง   โสตถิภาคะยัง   สุขัง   พะลัง   สิริ   อายุ   จะ   วัณโณ   จะ   โภคัง   วุฑฒิ   จะ  ยะสะวา   สะตะวัสสา   จะ  อายุ   จะ   ชีวะสิทธิ   ภะวันตุ   เม ฯ

คำบูชากรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
นโม   ๓   จบ
ชุมพรจุติ   อิทธิกะระณัง   สุโข   นะโมพุทธายะ   ทะ   อะระหัง   ทะ   จะพะกะสะ   มะอะอุ   พุทธะ   สังมิ   ธัมมะ   สัมมิ   สังฆะ   สัมมิ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:24:58
คาถาพญายม  ( พระยามัจจุราช )
นโม   ๓   จบ
ปะโตเมตัง   ปะระชีวินัง   สุขะโตจุติ   จิตะเมตะ   นิพพานัง   สุขะโตจุติ

คำบูชาท้าวเวสสุวรรณ
นโม   ๓   จบ
อิติปิ   โส   ภะคะวา   ยมมะราชาโน   ท้าวเวสสุวรรณโณ   มะระณัง   สุขัง   อะหัง   สุคะโต   นะโมพุทธายะ   ท้าวเวสสุวรรณโณ   จาตุมะหาราชิกา   ยักขะพันตาภัทภูริโต   เวสสะ   พุสะ   พุทธัง   อะระหังพุทโธ   ท้าวเวสสุวรรณโณ   นะโมพุทธายะ
หรือ
นะโมพุทธายะ   ภะคะวะโต   จะตุมหาราชา   สุขะโตจุติ   นะมัตถุมหาเวสสุวรรณโณ   มหาลาโภ   ภะวันตุเม

พระคาถาพญาครุฑกำลังแผ่นดิน   ( วัดสุทธาราม   สำเหร่   กรุงเทพฯ )
นโม   ๓   จบ
พุทโธอิติสุคะโตนะโมพุทธายะ   ข้าพเจ้าขอเชิญพญาครุฑกำลังแผ่นดิน   จงคุ้มครองข้าพเจ้า ………………………….   เจริญโชคมั่งมีศรีสุขลาภผลพูนทวีอยู่เย็นเป็นสุข   ขออำนาจพญาครุฑจงล้างอาถรรพณ์ขจัดทุกข์โศกโรคภัยเสนียดอัปมงคลให้หายสิ้นไป   ขออำนาจพญาครุฑกำลังแผ่นดินจงคุ้มครองข้าพเจ้าและครอบครัวของข้าพเจ้าให้เจริญร่ำรวยด้วยอำนาจของ   อุกากะสะ   มะ   อะ   อุ   พุทโธนะโมพุทธายะ   เทอญ ฯ

คำถวายเครื่องสังเวยพระภูมิ
นโม   ๓   จบ
   นะโม   เม   พระภูมิเทวานัง   ธูปะทีปะ   จะ   ปุปผัง   สักการะวันทะนัง   สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง   โภชะนานัง   สาลีนัง   สะปะริวารัง   อุทะกังวะรัง   อาคัจฉันตุ   ปะริภุญชันตุ   สัพพะทา   หิตายะ   สุขายะ   สันติเทวา   มะหิทธิกา   เตปิ   อัมเห   อะนุรักขันตุ   อาโรคะเยนะ   สุเขนะ   จะ

คำลาเครื่องสังเวยพระภูมิ
   อายันตุ   โภนโต   อิธะ   ทานะสีละ   เนกขัมมะปัญญา   สะหะ   วิริยะ   ขันตี   สัจจาธิฏฐานะ   เมตตุเปกขายุทธายะโว   ทิสสาวินะติ   อะเสสะโต

คำบูชาพระภูมิด้วยดอกไม้ธูปเทียนหรือพวงมาลัย
นโม   ๓   จบ
ภุมมัสสะมิง   ทิสาภาเค   สันติ   ภุมมา   มะหิทธิกา   เตปิ   อัมเห   อะนุรักขันตุ   อาโรคะเยนะ   สุเขนะ   จะ   ฯ
หมายเหตุ   มิง   อ่านว่า   หมิง
คำถวายเครื่องสังเวย พระภูมิ เจ้าที่
นโม   ๓   จบ
อิมัง   สูปะพะยัญชนะ   สัมปันนัง   สะอุทะกังวะรัง   ภุมมัสสะเทมิ   ฯ

คำลาเครื่องสังเวย พระภูมิ เจ้าที่
เสสัง   มังคะลัง   ยาจามิ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:26:02
คำถวายดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ
นโม   ๓   จบ
๑.อิมัง   มะยัง   ภันเต   ทีปะธูปะปุปผะวะรานัง   ระตะนัตตะยัสเสวะ   อะภิปูเชมิ   อัมหากัง   ระตะนัตตะยัสสะ   ปูชา   ทีฑะรัตตัง   หิตะสุขาวะหาโหตุ   อาสะวักขะยัปปัตติยา   
๒.อิมานิ   มะยัง   ภันเต   ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ   ระตะนัตตะยัสเสวะ   อะภิปูเชมะ   อัมหากัง   ระตะนัตตะยัสสะ   ปูชา   ทีฆะรัตตัง   หิตะสุขาวะหาโหตุ   อาสะวักขะยัปปัตติยา
หมายเหตุ      บุคคลคนเดียว   ใช้บทที่   ๑   ,   บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป   ใช้บทที่   ๒
คำแปล
   ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ   ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้   แก่พระรัตนตรัย   กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้   จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์และความสุข   แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย   สิ้นกาลนาน   จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน   เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส   เทอญ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:26:40
คำไหว้งานศพ
เวลาไปเยี่ยมศพ
อะวัสสัง   มะยา   มะริตัพพัง
เวลารดน้ำศพ
แบบที่ ๑   กายะกัมมัง  วะจีกัมมัง  มะโนกัมมัง   อะโหสิกัมมัง   สัมพะปาปัง   วินัสสะตุ
แบบที่ ๒   อิทัง   มะตะกะสะรีรัง   อุทะกัง   วิยะ   สิญจิตัง   อะโหสิกัมมัง
คำแปล   กายกรรม ๓   วจีกรรม ๔   มโนกรรม ๓   ขอให้อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า   ทั้งต่อหน้าและลับหลังด้วยเทอญ
คำถวายผ้าไตรอุทิศแก่ผู้ตาย
อิมานิ   มังยัง   ภันเต   ติจีวะรานิ   อัยยัสสะ   เทมะ   สาธุ   โน   ภันเต   อะยัง   ติจีวะระปูชาวิปาโก   อัมหากัง   มาตาปิตุอาทีนัง   ญาตีนัง   กาละกะตานัง   สังวัตตะตุ   อัมหากัง   มาตาปิตุอาทะโย   ญาตะกา   ทานะ   ปัตติง   ละภันตุ   อัมหากัง   เจตะสา   ฯ
คำแปล   ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ   ข้าพเจ้าทั้งหลาย   ขอถวายไตรจีวรนี้   แก่พระผู้เป็นเจ้า   ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ   อันว่าผลวิบากของการบูชาด้วยไตรจีวรนี้   จงเป็นไปเพื่อญาติทั้งหลาย   มีมารดาบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นต้น   จงได้ส่วนแห่งทานนี้   ตามความประสงค์   ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย   เทอญ   ฯ
คำภาวนาเวลาทอดผ้าหน้าศพ
นามะรูปัง   อะนิจจัง   นามะรูปัง   ทุกขัง   นามะรูปัง   อะนัตตา
คำภาวนาเวลาจุดเผาศพ
แบบที่   ๑   อะสุจิ   อะสุภัง   กัมมัฏฐานัง   ภาเวติ
แบบที่   ๒   จุติ  จุตัง   อะระหัง   จุติ
แบบที่   ๓   อะยัมปิ   โข   เม   กาโย   เอวัง   ภาวี   เอวัง   ธัมโม   เอวัง   อะนะตีโต
คำแปล   กายของเรานี้   ต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน   มีอย่างนี้เป็นธรรมดา   ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:27:16
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
มะยัง   อิมินา   ปะทีเปนะ   อะสุกายะ   นัมมะทายะ   นะทิยา   ปุลิเนฐิตัง   มุนิโน   ปาทะวะลัญชัง   อะภิปูเชมะ   อะยัง   ปะทีเปนะ   มุนิโน   ปาทะวะลัญชัสสะ   ปูชา   อัมหากัง   ทีฆะรัตตัง   หิตายะ   สุขายะ   สังวัตตะตุ
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย   ขอบูชา   ซึ่งรอยพระพุทธบาท   ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อ นัมมทานที โน้น   ด้วยประทีปนี้   กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้   ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์   และความสุข   แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน   เทอญ ฯ

คาถาบูชาพระเครื่องและพระกริ่งต่างๆ
พุทธะบูชา   ปะฏิหาโร   อักขะระยันตัง   อิติ   วิเสเส   ปะฏิรูปัง   อะภิปูชะยามิ
( บางเล่มใช้   อิอิ )

คำอาราธนาพระเครื่อง
นโม   ๓   จบ
พุทธัง   อาราธะนานัง   ธัมมัง   อาราธะนานัง   สังฆัง   อาราธะนานัง
พุทธัง   ประสิทธิเม   ธัมมัง   ประสิทธิเม   สังฆัง   ประสิทธิเม

คำไหว้พระจุฬามณี  ฯ
นโม   ๓   จบ
อิติปิ   โส   ภะคะวา   อะระหัง   สัมมาสัมพุทโธ ฯ   กุศลสัมปันโน  ฯ   ( ๓   จบ )

คำจบเงินทำบุญ
ทรัพย์ของข้าพเจ้า   ได้มาด้วยความบริสุทธิ์   ขอบูชาพระพุทธ   บูชาพระธรรม   บูชาพระสงฆ์   จิตใจจำนง   มุ่งตรงต่อพระนิพพาน   ขอให้ถึงเมืองแก้ว   ขอให้แคล้วบ่วงมาร   ขอให้พบพระศรีอาริย์   ในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้น   เทอญ

คำถวายพระพุทธรูป
อิมัง มะยัง ภันเต พุทธะรูปัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมัง พุทธรูปัง ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย พระพุทธรูปแด่พระภิกษุสงฆ์
ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งพระพุทธรูปนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ)
 
คำจบทาน
อิทัง เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ
(ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้สิ้นอาสวะกิเลส)
อิทัง เม ทานัง นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ
(ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้ ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ ขอให้ได้สวรรค์สมบัติ ขอให้ได้นิพพานสมบัติ จะนึกประสงค์สิ่งใด ขอจงสมความปรารถนา ทุกประการ อันว่าโรคภัยไข้เจ็บ ความยากจนค่นแค้น และคำว่า "ไม่มี" ขออย่าให้ข้าพเจ้าประสบพบเลย)


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:27:58
คำภาวนาก่อพระเจดีย์ทราย
อิมัง วาลุกัง เจติยัง อะธิฏฐามิ

คำอธิษฐานเวลาปิดทองลูกนิมิต
ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต อุโบสถ ทศพล เริ่มลูกต้น กลางโบสถ์ โชติตระการ เป็นนิมิต ลูกเอก เสกประสาท งามโอภาส มาศเฉลิม เสริมสัณฐาน เป็นนิมิต เตือนตา สาธุการ ท่ามกลางงาน บุญพิธี ผูกสีมา เกิดชาติหน้า อย่ารู้เข็ญ ได้เป็นใหญ่ รูปวิไล เป็นเสน่ห์ ดังเลขา ปิดนิมิต ลูกทิศ บูรพา ให้ก้าวหน้า เกียรติยศ ปรากฏไกล ปิดนิมิต ลูกทิศ อาคเนย์ ขอให้เท- วาประสิทธิ์ พิสมัย ปิดนิมิต ทิศทัก- ษิณศักดิชัย ให้สมใจ สมบัติ วัฒนา ปิดนิมิต ลูกทิศ หรดี ขอให้ชี- วิตมั่น ชันษา ปิดนิมิต ทิศประจิม อิ่มอุรา ปรารถนา ใดได้ ดั่งใจปอง ปิดนิมิต ทิศพายัพ ดับทุกข์โศก นิราศโรค นิราศภัย ร้ายทั้งผอง ปิดนิมิต ทิศอุดร กรประคอง ได้เงินทอง สมหมาย ทุกรายการ ปิดนิมิต ทิศอีสาน ประการท้าย ให้สมหมาย ได้สุข ทุกสถาน รวมเก้าลูก สุกใส ใจเบิกบาน กว่าจะถึง ซึ่งนิพพาน เมื่อนั้น เทอญ
-โดยธรรมสาธก-
คำถวายของใส่บาตร
อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิขูนัง นยาเทมิ สุทินัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพานะปัจจะ
(ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานอันนี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ)
หรืออาจกล่าวเป็นภาษาไทยเวลาจบขันข้าวใส่บาตรดังนี้
ข้าวของข้าพเจ้า ขาวดังดอกบัว ยกขึ้นเหนือหัว ถวายแด่พระสงฆ์ จิตใจจำนง ตรงต่อพระนิพพาน


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:28:34
คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะ ทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ทุติยัมปิ ...(อารธนาศีลห้า)
ตะติยัมปิ ...
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และเมื่อรับแล้ว ขอจงกรานใช้กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
คำถวายผ้าป่า
อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆารัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิษุสงฆ์ ขอพระภิษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
อิมานิ มะยัง ภันเต
วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนกับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
คำถวายผ้าไตร
อิมานิ มะยัง ภันเต
ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์
ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
คำถวายหนังสือธรรมะ
อิมานิ มะยัง ภันเต ธัมมะโปตถะกานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ธัมมะโปตถะกานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ
(ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายหนังสือธรรมะกับทั้งของบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับหนังสือธรรมะกับทั้งของบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อมรรคผล นิพพาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ สิ้นกาลนานเทอญ)


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:29:06
คำถวายข้าวสาร
อิมานิ มะยัง ภันเต ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)
คำถวายยาพระสงฆ์
อิมานิ มะยัง ภันเต คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ
อิมานิ คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญจะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายยาบำบัดความป่วยไข้ กับทั้งเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับยาบำบัดความป่วยไข้ และเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ญาติทั้งหลาย มีมารดาและบิดาเป็นต้นด้วย สิ้นกาลนานเทอญ)
คำถวายเสนาสนะ สร้างกุฏิ วิหารให้สงฆ์
อิมานิ มะยัง ภันเต เสนาสะนานิ อาคะตานาคะตัสสะ จาตุททิสัสสะ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ เสนาสะนานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)


คาถาอาวุธ
นโม   ๓   จบ
   สักกัสสะ   วะชิราวุธัง   ยะมัสสะ   นัยนาวุธัง   อาฬะวะกัสสะ   ทุสาวุธัง   เวสสุวัณณัสสะ   คะธาวุธัง   จัตตาโร   วา   อาวุธานัง   เอเตสัง   อานุภาเวนะ   สัพเพ   ยักขา   ปะลายันติ
( คาถานี้   ใช้เสกมือหรือเสกศัสตราอาวุธก็ได้   เมื่อเวลาจะประจัญบานกันศัตรู   หรือใช้เสกต้นข่าต้นไพลขับไล่   ตีผี   ให้หนีกระเจิง   ดีนักแล )


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:29:53
บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง   สุขิโต   โหมิ         ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง   นิททุกโข   โหมิ      ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง   อะเวโร   โหมิ      ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหังอัพยาปัชโณ   โหมิ      ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี   อัตตานัง   ปะริหะรามิ   ขอให้ข้าพเจ้าจงมีสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ   รักษา กาย วาจา ใจ   ให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
หรือ
   อะหัง   สุขิโต   โหมิ,   นิทุกโข   โหมิ,   อะเวโร   โหมิ,   อัพยาปัชโฌ   โหมิ,   อะนีโฆ   โหมิ,   อะโรโค   โหมิ,   สุขี   อัตตานัง   ปะริหะรามิ.
   ขอให้ตัวของเราเอง   จงมีความสุข   ปราศจากทุกข์   ไม่มีเวร   ไม่มีภัย   ไม่มีความเบียดเบียน   ไม่มีความเดือดร้อน   ไม่มีความลำบาก   ปราศจากโรคภัย   รักษาตนอยู่เถิด

คำแผ่เมตตา
สัพเพ   สัตตา      สัตว์ทั้งหลาย   ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อะเวรา         จงเป็นสุข ๆ เถิด   อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
สัพเพ   สัตตา      สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อัพพะยา   ปัชณา      จงเป็นสุข ๆ   เถิด   อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
สัพเพ   สัตตา      สัตว์ทั้งหลาย   ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อะนีฆา         จงเป็นสุข ๆ   เถิด   อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สัพเพ   สัตตา      สัตว์ทั้งหลาย   ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ   จงมีความสุขกายสุขใจ   รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ   ท่านทั้งหลาย   ที่ท่านได้ทุกข์ขอให้ท่านมีความสุข   ท่านทั้งหลายที่ท่านได้สุข   ขอให้สุขยิ่ง ๆ   ขึ้นไป
สัพเพ   สัตตา      สัตว์ทั้งหลายที่เกิดเป็นชะลาพุชะ   ที่เกิดเป็นอัณฑะชะ   ที่เกิดเป็นสังเสทะชะ   ที่เกิดเป็นโอปปาติกะ   จงมารับกุศลผลบุญให้ถ้วนทั่วทุกตัวสัตว์


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:30:25
บทแผ่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เมตตา
สัพเพ   สัตตา   สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง   ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย  ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
อะเวรา   โหนตุ   จงเป็นสุข   เป็นสุขเถิด   อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชณา โหนตุ   จงเป็นสุข   เป็นสุขเถิด   อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา   โหนตุ   จงเป็นสุข   เป็นสุขเถิด   อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ   จงมีความสุขกาย   สุขใจ   รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้ง   สิ้นเทอญ

กรุณา
สัพเพ   สัตตา   สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ   จงพ้นจากทุกข์เถิด

มุทิตา
สัพเพ   สัตตา   สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ   จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด

อุเบกขา
สัพเพ   สัตตา   สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
กัมมัสสะกา   เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาทา   เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ   เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ   เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระณา   เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย
ยัง   กัมมัง   กะริสสันติ   กระทำกรรมอันใดไว้
กัลละยาณัง  วา  ปาปะกัง  วา   ดีหรือชั่ว
ตัสสะ   ทายาทา   ภะวิสสันติ   จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
      สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้   จงอย่าได้มีเวรเบียดเบียนกันและกัน   
จงอย่าได้มีความลำบากเจ็บไข้เลย   จงเป็นผู้มีสุขพ้นทุกข์ภัยทั้งสิ้น   กับขอจงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญอันเราได้กระทำแล้วทุกเมื่อเทอญ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:31:28
คำแผ่เมตตา   ( หลวงปู่ชา   วัดหนองป่าพง   อุบลราชธานี )
( หันทะ   มะยัง   เมตตาผะระนัง   กะโรมะ   เส )
อะหัง   สุขิโต   โหมิ   ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ถึงสุข
นิททุกโข   โหมิ   จงเป็นผู้ไร้ทุกข์
อะเวโร   โหมิ   จงเป็นผู้ไม่มีเวร
อัพะยาปัชโฌ   โหมิ   จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
อะนีโฆ   โหมิ   จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์
สุขี   อัตตานังปะริหะรามิ   จงรักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
สัพเพ  สัตตา  สุขิตา โหนตุ   ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง   จงเป็นผู้ถึงความสุข
สัพเพ  สัตตา  อะเวรา  โหนตุ   ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
สัพเพ สัตตา อัพะยาปัชณา    ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกัน
โหตุ   และกัน
สัพเพ  สัตตา  อะนีฆา  โหนตุ   ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีทุกข์
สัพเพ สัตตา สุขี  อัตตานัง   ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงรักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
ปะริหะรันตุ   
สัพเพ  สัตตา  สัพพะทุกขา    ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงพ้นจากทุกข์ทั้งมวล
ปะมุญจันตุ
สัพเพ สัตตา ลัทธะสัมปัตติโต   ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงอย่าได้พรากจากสมบัติอัน
มา   วิคัจฉันตุ   ตนได้แล้ว
สัพเพ  สัตตา กัมมัสสะกา   สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นของๆตน   มีกรรม
กัมมะทายาทา  กัมมะโยนิ   เป็นผู้ให้ผล   มีกรรมเป็นแดนเกิด   มีกรรมเป็นผู้ติด
กัมมะพันธุ  กัมมะปะฏิสะระณา   ตาม   มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง  กัมมัง  กะริสสันติ,   จักทำกรรมอันใดไว้   เป็นบุญหรือเป็นบาป   จักต้อง
กัลยาณัง วา  ปาปะกัง วา,   เป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้นๆสืบไป
ตัสสะ   ทายาทา   ภะวิสสันติ

คำแผ่เมตตา
( พระอาจารย์สมชาติ  ธมมะโชโต ศูนย์ปฏิบัติแสงส่องชีวิต  สี่แยกหินกอง  จ.สระบุรี )
   อิทังโน   ปุญญะภาคัง   สัพพะสัตตานัง   เทมะ,   ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล   ที่ได้บำเพ็ญมาแล้วในวันนี้ให้แก่   บิดา   มารดา   อุปัชฌาย์ครูอาจารย์   ท่านผู้มีพระคุณ   ท่านผู้มีบุญคุญ   ตลอดถึงเจ้ากรรมนายเวร   เทพบุตร   เทพธิดา   ทุกๆพระองค์   ภูตผีปีศาจทั้งหลาย   สรรพสัตว์ทั้งหลาย
สัพเพ   สัตตา,         อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง   ที่เป็นเพื่อนทุกข์   เกิด แก่ เจ็บ  ตาย   ด้วยกันหมดทั้งสิ้น   
อะเวรา   โหนตุ,      จงเป็นสุข   เป็นสุขเถิด   อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชณา   โหนตุ,   จงเป็นสุข   เป็นสุขเถิด   อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา   โหนตุ,      จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ,   จงมีความสุขกาย   สุขใจ   รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นนี้   เทอญ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:32:01
บทกรวดน้ำ   ( บทแผ่ส่วนกุศล )
   อิมินาปุญญะกัมเมนะ       ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้า........................................ได้กระทำในครั้งนี้   ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่   คุณบิดา   มารดา   และทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน   ผู้มีพระคุณ   ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์   เจ้ากรรมนายเวร   ปู่   ย่า   ตา   ยาย   พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ ( สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว )   ตัวของข้าพเจ้าเอง   เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย   เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่   เจ้ากรุงพาลี   แม่พระธรณี   แม่พระคงคา   พระเพลิง   พระพาย   แม่พระโพสพ   พระภูมิ-เจ้าที่   พระพิรุณ   พยายมราช   นายนิริยบาล   ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่   ศิริพุทธอำมาตย์   ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุด   พรหมาเบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก   โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล   คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้งอินทร์   พรหม   ยม   ยักษ์   คนธรรพ์   นาคา   ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์   ขอให้พ้นจากทุกข์   ท่านทั้งหลายที่ท่านได้สุข   ขอให้สุขยิ่งๆขึ้นไป   ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศไปให้นี้   จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันและอนาคตเบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ
พุทธังอนันตัง   ธัมมังจัรวาลัง   สังฆังนิพพานัง   ปัจจโยโหนตุ

หรือ
อิทัง   เม   มาตาปิตุนัง   โหตุ   สุขิตา   โหนตุ   มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้   จงสำเร็จแก่   มารดาบิดา   ของข้าพเจ้า   ขอให้   มารดาบิดา   ของข้าพเจ้า   จงมีความสุข
อิทัง   เม   ญาตินัง   โหตุ   สุขิตา   โหนตุ   ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้   จงสำเร็จแก่   ญาติทั้งหลาย   ของข้าพเจ้า   ขอให้   ญาติทั้งหลาย   ของข้าพเจ้า   จงมีความสุข
อิทัง   เม   ครุปัชฌายาจริยานัง   โหตุ   สุขิตา   โหนตุ   ครุปัชฌายาจริยา
   ขอส่วนบุญนี้   จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า   ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า   จงมีความสุข
อิทัง   เทวะตานัง   โหตุ   สุขิตา   โหนตุ   เทวะตาโย
ขอส่วนบุญนี้  จงสำเร็จแก่  เทวดาทั้งหลาย  ขอให้  เทวดาทั้งหลาย  จงมีความสุข
อิทัง   เปตานัง   โหตุ   สุขิตา   โหนตุ   เปตะโย
ขอส่วนบุญนี้  จงสำเร็จแก่  เปรตทั้งหลาย  ขอให้  เปรตทั้งหลาย  จงมีความสุข
อิทัง   สัพพะเวรีนัง   โหตุ   สุขิตา   โหนตุ   สัพเพเวรี
   ขอส่วนบุญนี้   จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย   ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย   จงมีความสุข
อิทัง   สัพพะสัตตานัง   โหตุ   สุขิตา   โหนตุ   สัพเพสัตตา
ขอส่วนบุญนี้   จงสำเร็จแก่   สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง   ขอให้   สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง   จงมีความสุข


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:32:34
กรวดน้ำอิมินา   อุททิสสนาธิฏฐานคาถา
( หันทะ   มะยัง   อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย   ภะณามะ   เส )
อิมินา   ปุญญะกัมเมนะ   ด้วยบุญนี้อุทิศให้
อุปัชฌายา   คุณุตตะรา   อุปัชฌาย์ผู้เลิศคุณ
อาจะริยูปะการาจะ   และอาจารย์ผู้เกื้อหนุน
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา   ทั้งพ่อแม่และปวงญาติ
สุริโย   จันทิมา   ราชา   สูรย์จันทร์และราชา
คุณะวันตา  นะราปิ  จะ   ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ
พรัหมะมารา  จะ  อินทา  จะ   พรหมมารและอินทราช
โลกะปาลา   จะ   เทวะตา   ทั้งทวยเทพและโลกบาล
ยะโม  มิตตา  มะนุสสา  จะ   ยมราชมนุษย์มิตร
มัชฌัตตา   เวริกาปิ   จะ   ผู้เป็นกลางผู้จ้องผลาญ
สัพเพ  สัตตา  สุขี  โหนตุ   ขอให้เป็นสุขศานติ์   ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ   ปะกะตานิ   เม   บุญผองที่ข้าทำ   จงช่วยอำนวยศุภผล
สุขัง   จะ   ติวิธัง   เทนตุ   ให้สุขสามอย่างล้น
ขิปปัง   ปาเปถะ   โวมะตัง   ให้ลุถึงนิพพานพลัน
อิมินา   ปุญญะกัมเมนะ   ด้วยบุญนี้ที่เราทำ
อิมินา   อุททิเสนะ   จะ   และอุทิศให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง   สุละเภ   เจวะ   เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง   ตัวตัณหาอุปาทาน
เย   สันตาเน   หินา  ธัมมา   สิ่งชั่วในดวงใจ
ยาวะ   นิพพานะโต  มะมัง   กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ   สัพพะทา   เยวะ   มลายสิ้นจากสันดาน
ยัตถะ  ชาโต  ภะเว  ภะเว   ทุกทุกภพที่เราเกิด
อุชุจิตตัง   สะติปัญญา   มีจิตตรงและสติ   ทั้งปัญญาอันประเสริฐ
สัลเลโข   วิริยัมหินา   พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา   ละภันตุ   โนกาสัง   โอกาสอย่าพึงมี   แก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ   วิริเยสุ   เม   เป็นช่องประทุษร้าย   ทำลายล้างความเพียรจม
พุทธาธิปะวะโร   นาโถ   พระพุทธผู้บวรนาถ
ธัมโม   นาโถ   วะรุตตะโม   พระธรรมที่พึ่งอุดม
นาโถ   ปัจเจกะพุทโธ   จะ   พระปัจเจกะพุทธสม
สังโฆ   นาโถตตะโร   มะมัง   ทบพระสงฆ์ที่พึ่งผยอง
เตโสตตะมานุภาเวนะ   ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง   ละภันตุ   มา   ขอหมู่มารอย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ,   ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
มาโรกาสัง   ละภันตุ   มา.   อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:33:07
คำกรวดน้ำ   ( ของเก่า )
จากหนังสือกิตติคุณหลวงพ่อเดิม  พุทธสโร   ( พระครูนิวาสธรรมขันธ์ )
วัดหนองโพ   อ.ตาคลี   จ.นครสวรรค์
   อิมินา   ปุญญะกัมเมนะ   อุปัชฌายา   คุณุตตะรา   อาจะริยูปะการา   จะ   มาตา   ปิตา   จะ   ญาตะกา   ( ปิยา   มะมัง )   สุริโย   จันทิมา   ราชา   คุณะวันตา   นะราปิจะ   พรหมะมารา   จะ   อินทา   จะตุโลกะปาลา   จะ   เทวะตา   ยะโม   มิตตา   มะนุสสา   จะ   มัชฌัตตา   เวริกาปิ   จะ   สัพเพ   สัตตา   สุขี   โหนตุ   ปุญญานิ   ปะกะตานิ   เม   สุขัง   จะ   ติวิธัง   เทนตุ   ขิปปัง   ปาเปถะ   โวมะตัง   ฯ
   อิมินา   ปุญญะกัมเมนะ   อิมินา   อุททิเสนะ   จะ   ขิปปาหัง   สุละเภ   เจวะ   ตัณหุปาทานะเฉทะนัง   เย   สันตาเน   ฮีนา   ธัมมา   ยาวะ   นิพพานะโต   มะมัง   นัสสันตุ   สัพพะทา   เยวะ   ยัตถะ   ชาโต   ภะเว   ภะเว   อุชุจิตตัง   สะติปัญญา   สัลเลโข   วิริยัมหินา   มารา   ละภันตุ   โนกาสัง   กาตุญจะ   วิริเยสุ   เม   ฯ
   พุทธา   ทีปะวะโร   นาโถ   ธัมโม   นาโถ   วะรุตตะโม   นาโถ   ปัจเจกะพุทโธ   จะ   สังโฆ   นาโถตตะโร   มะมัง   เตโสตตะมานุภาเวนะ   มาโรกาสัง   ละภันตุ   มา   ฯ
คำแปล
   ด้วยการทำบุญนี้  ขอให้พระอุปัชฌาย์ผู้มีพระคุณสูงสุด  ขอให้อาจารย์ผู้มีอุปการะ  ขอให้มารดาบิดาและญาติทั้งหลาย ( ผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า )  ขอให้พระอาทิตย์  พระจันทร์  พระราชา  อีกทั้งท่านผู้มีพระคุณ  ขอให้พระพรหมและหมู่มาร   ทั้งพระอินทร์และท้าวโลกบาลทั้งสี่  กับเทวดาทั้งหลายด้วย  ขอให้พระยม  และมนุษย์ทั้งหลาย  ที่รักใคร่เป็นมิตรสหาย  ที่เป็นกลางๆ  รวมทั้งพวกที่มีเวรต่อกันด้วย  ขอให้บรรดาสัตว์ทั้งหลาย  จงมีความสุขทั่วกัน  และขอบุญทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้  จงอำนวยความสุขทั้งสามประการ  ขอให้ท่านทั้งหลายจงบรรลุอมตะนิพพานโดยเร็วเถิด
   ด้วยการทำบุญนี้  และด้วยการอุทิศส่วนกุศลนี้  ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรลุพระนิพพานซึ่งตัดขาด ( กิเลส ) ตัณหาและอุปาทาน  โดยเร็วและโดยง่ายเถิด  กว่าจะลุถึงนิพพาน  บรรดาสิ่งเลวร้ายทั้งปลายเหล่าใดที่มีอยู่ในสันดานของข้าพเจ้า  ขอให้บรรดาสิ่งเลวร้ายทั้งหลายเหล่านั้น  จงสูญสิ้นไปทุกๆขณะด้วยเถิด  ข้าพเจ้าไปเกิดในภพใดใด   ขอให้จิตใจซื่อตรง  มีสติปัญญา  มีความเพียรขัดเกลากิเลส  และขอให้ศัตรูหมู่มารทั้งหลาย  จงอย่าได้มีโอกาสทำการรบกวนในเวลาข้าพเจ้าทำความเพียรเลย
   พระพุทธเจ้า  ทรงเป็นนาถะที่พึ่งอันประเสริฐ  พระธรรมเป็นที่พึ่งอันสูงสุด   พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เป็นที่พึ่งด้วย  พระสงฆ์ก็เป็นที่พึ่งอันสูงสุด  ของข้าพเจ้า  ด้วยอานุภาพอันเยี่ยมยอด  ของพระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระปัจเจกพุทธเจ้า  และพระสงฆ์ทั้งหลาย  เหล่านั้น  ขออย่าให้มารทั้งหลายได้มีโอกาสเลย.


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:34:04
คำอธิฐานขอบารมี
ข้าพเจ้าขอเดชะพลานิสงค์   เมื่อจะปลงชีวิตขอให้คิดได้
ขออย่าได้มีมารมาผจญดลใจ   เทพไทจงเห็นเป็นพยาน
ขอให้ข้าพเจ้าได้ขจัดตัดกิเลส   ขอข้ามเขตแว่นแคว้นแดนสงสาร
ขอให้ได้สำเร็จประโยชน์โพธิญาณ   เข้านิพพานพ้นทุกข์สุขสบาย
ขอให้สมมาตรปรารถนาอย่าช้านัก  การสิ่งใดรักชอบให้สมอารมณ์หมาย
ขอให้พบพระทุกชาติอย่าคลาดคลาย   ขออย่าให้ตายกลางอายุปัจจุบัน
ตั้งแต่ชาตินี้จนชาติหน้า      ขออย่าข้องขัดทรัพย์สินทุกสิ่งสรรพ
การสิ่งใดบาปหยาบช้าทุกสิ่งอัน   การสิ่งนั้นขออย่าได้พบประสพเลย
นิพพานะ   ปัจจะโย   โหตุ
( อธิฐานทุกครั้ง   หลังไหว้พระสวดมนต์แล้ว )

เมื่อเจ้ามา   มีอะไร   มาด้วยเจ้า   เจ้าจะเอา   แต่สุข   สนุกไฉน
เจ้ามามือเปล่า   เจ้าจะ   เอาอะไร   เจ้าก็ไป   มือเปล่า   เหมือนเจ้ามา
ยศและลาภ   หาบไป   ไม่ได้แน่   มีเพียงแต่   ต้นทุน   บุญกุศล
ทรัพย์สมบัติ   ทิ้งไว้   ให้ปวงชน   แม้ร่างตน   เขาก็เอา   ไปเผาไฟ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:35:15
ไหว้ 5 ครั้ง

ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )

วัดเทพศิรินทราวาส

คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html (http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html)

ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:35:46
ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ
อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ
หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ
หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ
หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ
นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:36:18
ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ
ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา
เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน
แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน
ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา
ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา
ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู
กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู
อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา
คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา
แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน
เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์
เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ
สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน
แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา
นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา
ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ


ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ
ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี
กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน
ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น
เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์
รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม
เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม
สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง
คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง
เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ

(บทประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:36:42
ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)

ต่อไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:37:09
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7 (http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7)



สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย

เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

"ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา

พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน
ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

ความคิดเห็นส่วนตัวผม
ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอกกับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ

http://board.palungjit.com/f4/ (http://board.palungjit.com/f4/)ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร-91379.html 


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:38:16
ขอเพิ่มเติมเรื่องราว ไหว้ 5 ครั้ง
http://www.saktalingchan.com/index.p...icle&Id=262016 (http://www.saktalingchan.com/index.p...icle&Id=262016)

เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร

วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

1. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงนี้ เมื่อพระคุณท่านมีอายุเพียง 27 ปี มีพรรษา 7 ยั่งยืนตลอดมาเป็นเวลาช้านานถึง 53 ปีฯ
2. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ นั้นมีอายุเพียง 56 ปี เท่านั้น ฯ
3. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธรรมเนียมการเทศนาธรรมในวันอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก เริ่มเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ติดต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลา 45 ปี ล่วงแล้ว ฯ
4. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ แลบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบต่อมาเป็นเวลา 5 ปี ( ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2481 ) ฯ
5. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถาติดต่อกันถึง 4 รัชกาล คือตั้งแต่รัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเวลาถึง 25 ปี ฯ
6. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มีสัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก มากที่สุดถึง 6,666 องค์ ฯ
7. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นกำเนิดตำราไหว้ 5 ครั้งให้ศิษยานุศิษย์ปฏิบัติตาม หากผู้ใดไหว้ครบ 1 ปี เป็นกำหนด ผู้นั้นจักได้รับรูปที่ระลึกจากองค์ท่านด้านหน้าเป็นรูปองค์ท่าน ด้านหลังเป็นรูปยันต์ภควัม จากกรึกนามองค์ท่านเป็นอักษรย่อ โดยลำดับแห่งราชทินนามนั้น ๆ กระทั่งครั้งสุดท้ายได้จารึก 3 อักษรว่า พ.ฆ.อ. ซึ่งย่อจากราชทินนามว่า พุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระราชาคณะ ฯ
8. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ ท่านเจ้าคุณพระโศภณศีลคุณ ( หลวงปู่หลุย พาหิยเถร ) ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 23 ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 67 ( เกิด 9 สิงหาคม 2426 ) ยังเดินลงโบสถ์ลงสวดมนต์ทำวัตรได้เป็นประจำทุก ๆ วัน เป็นพระเถราจารย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือยิ่งของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ
9. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่ประพฤติปฏิบัติยอดเยี่ยม และเป็นพระเถระองค์สำคัญที่มีเกียรติคุณโด่งดังในปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ธมมฺวิตกฺโก ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 1740 ฯ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:38:51
ไหว้ 5 ครั้ง

ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

วัดเทพศิรินทราวาส


ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาใด ตามแต่เหมาะ ต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวกัน ถ้ามีดอกไม้ ธูปเทียน ก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประนมมือว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ อิติปิ โส ภควา อรห° สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสาน° พุทฺโธ ภควาติ ฯ หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม ของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ สฺวากฺขาโต ภควตา ธฺมโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺ จตฺต° เวทิตพฺโพ วิญฺญหีติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ ครั้งที่ 3ว่าสังฆคุณ คือ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ยทิทฺ จฺตตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสฺงโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนฺยโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรฺ ปุญฺญกฺเขตตฺ โลกสฺสาติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ พุทฺธ° สรณ° คจฺฉามิ ธมฺม° สรณ° คจฺฉามิ สงฺฆ° สรณ° คจฺฉามิ ฯ ทุติยมฺปิ พุทฺธ° สรณ° คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ ธมฺม° สรณ° คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ สงฺฆ° สรณ° คจฺฉามิ ฯ ตติยมฺปิ พุทฺธ° สรณ° คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺม° สรณ° คจฺฉามิ ตติยมฺปิ สงฺฆ° สรณ° คจฺฉามิ ฯ ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผู้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์ และครูบาอาจารย์เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ
ต่อนี้ไปไม่ต้องประนมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่องและร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณ มีบิดามารดาเป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ ทั้งเทพดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้หนี้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยอมือไม่ขึ้นก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้ เป็นเครื่องหยุดตนให้เป็นคนดีไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดีไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอจนตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มชั้นของตน ฯ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ

ปัจฉิมโอวาท
ของ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรมหาเถระ
วัดเทพศิรินทราวาส

ไม่ตายควาวนี้ ก็ตายคราวหน้า อย่างเศร้าโศก เสียทีที่ศึกษาปฏิบัติมา ร้องให้เศร้าโศก ก็ร้องไห้เสร้าโศกสังขารที่
เกิดแก่เจ็บตายนั้นเอง ที่ไม่ร้องไห้เศร้าโศกนั้นมิใช่จะเป็นคนใจไม้ใส้ระกำอะไร

ธรรมของพระก็คือ
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ย่นลงก็ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา แล้วปรินิพพาน
ไม่ต้องเกิดมาแก่ มาเจ็บ มาตายอีก

(มีบัญชาให้บันทึกไว้เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๙๔) 


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:39:28
วิธีการไหว้   ๕   ครั้ง   ( มนต์พิธี )
   คนเราทุกคน   ในวันหนึ่งๆ   จะต้องไหว้ให้ได้   ๕   ครั้ง   เป็นอย่างน้อยคือ   ในเวลาค่ำใกล้จะนอน   ตั้งใจระลึกถึงพระรัตนตรัยอันเป็นสรณะอันสูงสุดและท่านผู้มีพระคุณแก่ตน   คือ   มารดาบิดา   และครูอาจารย์   โดยประนมมือ
   ๑.   นมัสการพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า
อะระหัง  สัมมา  สัมพุทโธ  ภะคะวา  พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ   กราบลงหนหนึ่ง
   ๒.   ไหว้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า   ว่า
สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  ธัมมัง  นะมัสสามิ   กราบลงหนหนึ่ง
   ๓.   ไหว้พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า   ว่า
สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สังฆัง  นะมามิ   กราบลงหนหนึ่ง
   ๔.   ไหว้คุณมารดาบิดา   ว่า
มัยหัง  มาตาปิตูนังวะปาเท  วันทามิ  สาทะรัง   กราบลงหนหนึ่ง
   ๕.   ไหว้ครูอาจารย์   ว่า
ปัญญาวุฑฒิกะเร  เต  เต  ทินโน  วาเท  นะมามิหัง  กราบลงหนหนึ่ง
   ต่อจากนั้น   พึงตั้งใจแผ่เมตตาจิตไปในเพื่อนมนุษย์   และสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง   ว่า   ขอท่านทั้งหลายอย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย   อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย   อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย   จงมีความสุขกายสุขใจ   รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันหมดทั้งสิ้น   เทอญ.


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:43:19
การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา หรือ หิ้งพระในบ้าน

ทิศที่   ๑   ( ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ )
ตั้งพระหันหน้าไปทางทิศอีสาน   เป็นเศรษฐีทิศ   จะคิดทำอะไรก็เจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง ฯ
ทิศที่   ๒   ( ทิศตะวันออก )
ตั้งพระหันหน้าไปทางทิศบูรพา   ราชาทิศ   รับราชการหรือทำงานใดๆ   จะได้เป็นเจ้าคนนายคน ฯ
ทิศที่   ๓   ( ทิศตะวันออกเฉียงใต้ )
ตั้งพระหันหน้าไปทางทิศอาคเนย์   ทิศปฐม   พอทำพอกินลาภผลได้บ้างไม่ได้บ้าง
ทิศที่   ๔   ( ทิศใต้ )
ตั้งพระหันหน้าไปทางทิศทักษิณ   ทิศจัณฑาล   หากินต้องเหนื่อยยาก   ผลได้ไม่คุ้มค่า
ทิศที่   ๕   ( ทิศตะวันตกเฉียงใต้ )
ตั้งพระหันหน้าไปทางทิศหรดี   ทิศวิปฏิสาร   มักเดือดร้อน   เกิดความยุ่งยากภายในครอบครัว   และ   เพื่อนบ้าน
ทิศที่   ๖   ( ทิศตะวันตก )
ตั้งพระหันหน้าไปทางทิศประจิม   ทิศกาลกิณี   ทำสิ่งใดมักมีแต่อุปสรรค์   ขัดข้องหาผลสำเร็จไม่ได้
ทิศที่   ๗   ( ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ )
ตั้งพระหันหน้าไปทางทิศพายัพ   ทิศอุทัจจะ   ทำงานใดมักรวนเรหาความแน่นอนไม่ได้   มักจะพบแต่คนไม่จริงใจ
ทิศที่   ๘   ( ทิศเหนือ )
ตั้งพระหันหน้าไปทางทิศอุดร   ทิศมัชฌิมาปฏิปทา   ไม่ดี – ไม่ชั่ว   ปานกลาง
เท็จ-จริงประการใดไม่ทราบ   ท่านผู้รู้กล่าวไว้ดังนี้แล


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:43:59
พระพุทธเจ้าตรัสรู้   “…อะไร…”
ท.อมรเวช   ผู้เรียบเรียง…..จากคัมภีร์พระไตรปิฎก
   พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้   “ ธรรม ”   ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดได้ประกาศ      “ ธรรม ”   เหมือนที่พระองค์ได้ตรัสรู้มาก่อน   พระองค์ทรงค้นพบ   “ ธรรม ”   ขณะที่เป็นนักบวชและทรง   ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง…เป็นพระพุทธเจ้า   หลังจากที่ได้ทรงไตร่ตรองเหตุและผลตามความเป็นจริงของธรรมชาติ   จนแน่พระทัยว่า   “ ธรรม ”   ที่พระองค์ค้นพบนั้นเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ต่อมวลมนุษยชาติและสัตว์โลก     “ ธรรม ”      นั้นคือ   “ อริยสัจ  ๔ ”   แปลความหมายได้ว่า   “ ความจริงอันประเสร็จ   ๔   ประการ ”
ประการที่   ๑   เรื่อง   ทุกข์
คือ   ความไม่สบายกาย   ความไม่สบายใจ   ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ดังใจก็เป็นทุกข์   ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์   การประสพกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์   ความเกิด   แก่   เจ็บ   ตาย   ก็ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น   
ประการที่   ๒   เรื่อง   สมุทัย
คือ   ต้นเหตุที่ทำให้ใจและกายเกิดความทุกข์   เป็นตัว   “ ตัณหา ”   ที่ทำให้มีการเกิดในภพใหม่   ได้แก่   ความอยากได้   อยากมี   อยากเป็น   ความโลภ   ความโกรธ   ความหลง   รูป   รส   กลิ่น   เสียง   สัมผัส   ลาภสักการะ   ยศ   สรรเสริญ   สุข   ริษยา   อาฆาต   แค้น   ความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่   “ กามตัณหา   ภวตัณหา   วิภวตัณหา ”
ประการที่   ๓   เรื่อง   นิโรธ
คือ   การดับทุกข์และดับต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์    โดย    “ สำรอก ”    ไม่ให้เหลือแห่ง   “ ตัณหา ”   นั้น   ด้วยการพยายามหักห้ามใจตนเองให้   ลด   ละ   เลิก   ความอยากได้   อยากมี   อยากเป็น   ความโลภ   ความโกรธ   ความหลง   รูป   รส   กลิ่น   เสียง   สัมผัส   ลาภสักการะ   ยศ   สรรเสริญ   สุข   ริษยา   อาฆาต   แค้น   ให้ลดไป   ทีละเล็ก…ทีละน้อย   ไปจนที่สุดไม่เหลือ   “ ความอยาก ”   ใดๆไว้ในใจจึงดับทุกข์ดับตัณหาได้สนิทไม่มีการเกิดในภพใหม่อีกต่อไป   ทุกข์มาก…สุขน้อย…ทุกข์น้อย…สุขมาก…ไม่มีทุกข์…ไม่มีสุขทางโลก   มีแต่สุขทางธรรม   คือ   “ นิพพาน ”


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:44:40
ประการที่   ๔   เรื่อง   มรรค
คือ   ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์   ที่ใช้สำหรับปฏิบัติตนเพื่อเป็นการ   ลด   ละ   เลิก   จากต้นเหตุของการเกิดทุกข์กาย   และ    ทุกข์ใจ   เรียกว่า  “ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ”  คือ   “ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์   ๘ ”   แปลความหมายได้ว่า   “ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐ   ๘   ประการ ”   คือ   วาจาชอบ   การงานชอบ   เลี้ยงชีพชอบ   ความเห็นชอบ   ความดำริชอบ   เพียรชอบ   ระลึกชอบ   ตั้งใจชอบ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์   ๘   ดังกล่าว   ย่อลงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในทางปฏิบัติตนเพื่อให้ชีวิตได้พบความสุข  และถึงความสุขอันแท้จริง  คือ   ศีล  สมาธิ  ปัญญา
ศีล      คือ   การละเว้นไม่กระทำความชั่วประพฤติแต่ความดี   ด้วยการทำบุญ   ทำทาน   ไม่เบียดเบียน   ให้ความรักและมีใจเมตตาต่อผู้อื่น   มีศีล ๕   อยู่ประจำใจเป็นเบื้องต้น   คือ   ไม่ฆ่าสัตว์   ไม่ลักทรัพย์   ไม่เป็นชู้กับสามี-ภรรยาผู้อื่น   ไม่พูดเท็จ   ไม่ดื่มสุราและของมึนเมาต่างๆ   “ ศีลเป็นฐาน…บาท ”
ปัญญา      คือ   การใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะธรรม   ให้เห็นตามความเป็นจริงของโลกว่า     มวลสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน---อนิจจัง     ทุกสิ่งเมื่อไม่แน่นอนย่อมมีทุกข์เป็นส่วนประกอบ---ทุกขัง   ทุกสิ่งเมื่อไม่แน่นอนย่อมไม่มีตัวตนถาวรเป็นของตัวเอง---อนัตตา   มวลสรรพสิ่งทั้งหลายมีการเกิดขึ้น   ตั้งอยู่   และล้วนดับไปตามกาลเวลา   วิปัสสนากรรมฐาน
   ใช้ปัญญาพิจารณาจนจิตเริ่มรู้เท่าทันตามความเป็นจริงของธรรมชาติ   และไม่ไปยึดติดกับสิ่งที่ไม่เป็นจริงนั้นๆ   อีกต่อไป   วิปัสสนาญาณ   และขั้นดับกิเลสตัณหาได้สนิท   อาสวักขยญาณ
สมาธิ      คือ   ความสงบหรือความนิ่งของจิตที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง   ด้วยการภาวนา   หรือ   การทำจิตให้ว่างๆ   ด้วยการเพ่งดูวัตถุ   “ กสิณ ”   เมื่อจิตสงบ จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน   “ “ สมถกรรมฐาน ”   เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านจิตจะเริ่มคลายจากเรื่องต่างๆ   ที่จิตเคยไปยึดติดอยู่   เมื่อกระทำให้จิตสงบบ่อยๆครั้ง   มีเจตนาในทางที่ดี   คือ   มีศีล และ เมตตา เป็นฐานอยู่ประจำใจ   จิตจะเริ่ม   ลด   ละ   เลิก   เริ่มลืมเรื่องที่ไม่ดีเรื่องที่เป็นทุกข์ต่างๆ   ที่จิตเริ่มไม่ต้องการแต่ละเรื่องที่จิตเคยยึดติดอยู่ค่อยๆหมดไปในที่สุด
ผลของสมาธิ      จำแนกออกได้เป็น   ๓   ข้อ
ข้อ   ๑   ใช้ระงับจิตไม่ให้คิดมาก   ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปยึดติดกับสิ่งที่ไม่ดี   คือ   สิ่งที่ผิดศีล   สิ่งที่ผิดคุณธรรม และ มีสติระลึกรู้เท่าทันเหตุการณ์ว่า ขณะนี้กำลังทำอะไร   ตลอดเวลาในขณะที่ตื่นอยู่คือ   การมีสติตั้งมั่นในความไม่ประมาท
ข้อ   ๒   เมื่อจิตสงบอยู่ที่ระดับหนึ่ง   จะเริ่มเกิดปัญญา   ทำให้สามารถพิจารณาได้ตามความเป็นจริงต่อมวลสรรพสิ่งของธรรมชาติที่อยู่รอบตัว   หรือที่อยู่ไกลตัว   และจะช่วยทำให้   การเชื่อเรื่องหรือสิ่งต่างๆเป็นไปตามเหตุและผลมากขึ้น   เป็นลำดับ   และจะช่วยลดความเชื่อแบบ   “ งมงาย ”   ไม่มีเหตุผลลง   เป็นลำดับ   ลำดับ
ข้อ   ๓   จิตเป็นรูปของกระแสพลังงาน   ปกติจิตจะแผ่ซ่านไปทั่ว   เมื่อทำให้จิตสงบ   กระแสพลังงานของจิตจะเริ่มรวมตัวกันเล็กลงเข้าหาศูนย์กลางของจิต   ยิ่งจิตสงบมากขึ้นกระแสพลังงานของจิตจะยิ่งรวมตัวกันเข้าหาศูนย์กลางของจิตเล็กลง   เข้าไปเรื่อยๆ   เมื่อกระแสพลังงานจิตรวมตัวกันเล็กลงมากเท่าใด   ก็จะเกิดพลังงานของจิตมากขึ้นเป็นทวีคูณ   พลังงานของจิตที่เกิดจากการรวมกระแสจิตที่มีความสงบมากๆ   จนเข้าใกล้   จวนจะถึง   และถึงขั้น   ณาน   คือ   มีอารมภ์เป็นหนึ่ง   จะทำให้จิตเกิด   “ ญาณ ”   คือการหยั่งรู้เรื่องต่างๆ   ด้วยจิต   และ   “ อภิญญา ”   คือ   การรู้เรื่องต่างๆ   ได้ชัดเจนแน่นอนยิ่งกว่าญาณ   ซึ่งเป็นผลให้นำมาใช้เป็นเครื่องมือพิเศษทางจิตที่รู้ได้เฉพาะตน   สำหรับตรวจสอบความเป็นจริงต่างๆ   ของธรรมชาติอัน   มหัศจรรย์   เร้นลับ   พิสดาร

รู้จัก…..ปริยัติ          รู้จริง…..ปฏิบัติ          รู้แจ้ง…..ปฏิเวธ
ยังกิญจิ   สะมุทะยะธัมมัง   สัพพันตัง   นิโรธะธัมมันติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง   มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล   ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 25 เมษายน 2553 21:45:38
พระราชดำรัส   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
   “   ….. ท่านทั้งหลายควรจะได้ข้อคิดสำคัญประการหนึ่งว่า   วิถีชีวิตของบุคคลนั้นย่อมมีทั้งภัย   ทั้งอุปสรรค   ทั้งเคราะห์ร้าย   ผ่านเข้ามาเนืองๆ   ยากที่จะหลีกเลี่ยง   ไม่มีผู้ใดจะอยู่เป็นปกติสุขอย่างเดียวได้   ทุกคนจึงจำเป็นต้องเตรียมกายเตรียมใจให้พร้อมทุกเวลาที่จะเผชิญ   จะต่อสู้แก้ไขความไม่ปกติเดือดร้อนต่างๆ   ด้วยเหตุผล   หลักวิชา   ความถูกต้อง   ความรอบคอบ   อดทน   และด้วยสามัคคีธรรม   ”

“  อย่าท้อถอยหรือน้อยใจ      ถ้างานไม่สัมฤทธิ์ผล
จงสุขุมและอดทน         พิจารณาคนด้วยปัญญา  ”


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:47:57
ทำบุญเพื่ออะไร   ขวัญใจ   ชนะโชติ  ผู้เขียน    คอลัมภ์กรรมกำหนด
บุญเสมอ   แดงสังวาลย์   หนังสือพิมพ์ข่าวสด
จากธรรมบรรยายของพระธรรมปิฎก   ที่ รัฐนิว   เจอร์ซี่   สหรัฐอเมริกา   เมื่อเดือนพฤษภาคม   2537   ในหัวข้อเรื่อง   ทำบุญเพื่ออะไร?   ดังนี้
“ ในการถวายกำลังแก่พระสงฆ์   ที่เรียกว่า   “ทำบุญ”   นี้   ใจควรมุ่งไปที่พระศาสนา   คือจุดรวมใจ   หรือเป้าหมายของเราควรอยู่ที่พระศาสนา   หมายความว่า   เราถวายทานแก่พระสงฆ์ก็เพื่อให้ท่านมีกำลัง   ท่านจะได้ทำงานพระศาสนาต่อไป
   งานพระศาสนา   หรือศาสนกิจ   โดยทั่วไปมี   ๓   ประการคือ
๑. การเล่าเรียน   ศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๒. การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๓. การนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปเผยแพร่ให้ประชาชนรู้และปฏิบัติตาม
   การที่พระสงฆ์จะทำกิจทั้ง   ๓   ประการนี้ท่านควรที่จะไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องของวัตถุ  หรือเรื่องของปัจจัยสี่  เมื่อพระสงฆ์ไม่กังวลในเรื่องดังกล่าว  ก็ย่อมตั้งใจทำหน้าทื่คือ  ศึกษา  ปฏิบัติ  และนำไปเผยแพร่ได้เต็มที่  ซึ่งจะทำให้พระศาสนาดำรงอยู่ได้ 
   สรุปว่า   การทำบุญอุปถัมภ์พระสงฆ์   บำรุงพระศาสนา   เพื่อให้พระศาสนาดำรงอยู่ยั่งยืนมั่นคง   เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์   ได้มีชีวิตที่ดีงาม   มีสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป…..”
   หากท่านผู้อ่านท่านใดจะทำบุญเพียงเพื่อความสบายใจก็ไม่มีอะไรเสียหายการได้พบได้สนทนาและฟังธรรมจากสมณะ   ย่อมบังเกิดปีติ   เป็นความสุขกายสุขใจ   เพราะความเป็นศัตรูไม่มีในใจของสมณะ   ดังพุทธสุภาษิตกล่าวไว้ว่า   สมณีธ   อรณา   โลเก – สมณะไม่เป็นศัตรูแก่ใครในโลก


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:48:23
ทุกนาทีมีค่ามหาศาล         เวลาผ่านล่วงลับมิกลับหลัง
วันเวลาทอนชีวิตอนิจจัง         อย่านอนนิ่งนิ่งเฉยเลยผ่านไป
ควรคำนึงถึงเวลาค่าชีวิต         อย่าหลงผิดปล่อยเวลาพาไถล
ค่าของคนร่นน้อยถอยตามวัย         มีสิ่งใดเป็นประโยชน์โปรดรีบทำ
สำนักกิจการนักศึกษา   สถาบันราชฎัชฉะเชิงเทรา
( คัดลอกเมื่อ   11  กรกฎาคม   2541 )


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:48:58
ใช้ธูปเท่าไร  ไหว้พระไหว้เจ้า            (ผู้เขียน  ซินแสน้อย)               
ธูป  1  ดอก     นิยมใช้ไหว้ศพ  เจ้าที่  เจ้าทาง  ภูมิ  ผี  ต่างๆ  กล่าวคือวิญญาณธรรมดาที่ยังไม่ได้ขึ้นเป็นชั้นเทพ
ธูป  2  ดอก     ไม่ปรากฏนิยมใช้
ธูป  3  ดอก     นิยมไหว้พระพุทธ อันมีความหมายถึง  พระรัตนตรัย หรือแม้แต่การไหว้เทพก็มีผู้ไหว้ 3 ดอก เช่นกัน  อันมีความหมายถึงพระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม
ธูป  4  ดอก     ไม่ปรากฏนิยมใช้
ธูป  5  ดอก     มีผู้นิยมใช้ไหว้ตี่จูเอี้ย  โดยปักที่กระถางธูป 3 ดอกและข้างประตู ข้างละ 1 ดอก นอกจากนี้ก็มีผู้นิยมไหว้พระรูปรัชการที่ ๕ คงมีคติมาจากรัชการที่ ๕ ก็ใช้ 5 ดอก  การไหว้ท้าวจตุโลกบาลก็นิยมใช้ธูป  5  ดอก เพราะหมายถึงทิศใหญ่ทั้ง 5  อันมี  ตะวันตก  ตะวันออก  เหนือ  ใต้  และทิศกลาง  ตามความเชื่อของชาวจีน  รวมทั้งเทพอื่นๆ ก็เห็นมีปรากฏ
ธูป  6  ดอก  ไม่นิยมใช้
ธูป  7  ดอก  นิยมไหว้พระภูมิไชยศรี  นอกจากนี้ก็มีผู้ที่เคารพบูชาพระอาทิตย์ก็นิยมไหว้ ซึ่งความหมายของธูป  7  ดอก  ก็หมายถึงความคุ้มครองวันทั้ง 7 ในหนึ่งสัปดาห์
ธูป  8  ดอก  ชาวฮินดูนิยมใช้ธูป  8  ดอก  ในการไหว้เทพแทบจะทุกองค์ ที่เป็นเทพชั้นสูง  อันได้แก่  พระศิวะ  พระนารายณ์  พระพรหม  พระแม่อุมา  พระลักษมี  พระสุรัสวดี  พระพิฆเนศ  พระขันธกุมาร  ร่วมไปถึง  พระราม  พระกฤษณะ  ด้วยจะพบว่า  กล่องธูปที่ใช้บรรจุธูปหอมของอินเดียกล่องหนึ่งจะมีธูป  8  ดอก  ให้บูชาครั้งละ  1  กล่องเล็ก นอกจากนี้ก็มีความเชื่อว่า การไหว้พระราหู  ก็นิยมใช้ธูป  8  ดอกเช่นกัน
ธูป  9  ดอก  นับเป็นจำนวนธูปที่นิยม  ใช้ในการไหว้ทั้งพระทั้งเทพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย  ด้วยคนไทยถือว่าเลข 9   เป็นเลขมงคล  หมายถึงความเจริญก้าวหน้า  หากแต่ในประเทศอื่นเขาไม่ได้นิยมเช่นคนไทย
ธูป  10  ดอก  สำหรับชาวจีนดั้งเดิมแล้วนิยมใช้เลขนี้ในการจุดธูปเช่นเดียวกันคนไทยนิยมเลข  9  เลขสิบนับเป็นเลขเต็ม  และความหมายของสิบ (ภาษาจีนคือจั๊บ)นั้นหากจะประดุจนิ้วมือก็หมายถึงการจับได้เต็มไม้เต็มมือ  ได้อะไรที่เต็มมือ  ได้อะไรที่เต็มสิบก็คือความสมบูรณ์เต็มที่
ธูป  11  ดอก  ไม่ปรากฏความนิยม
ธูป  12  ดอก  ชาวจีนนิยมไหว้เจ้าแม่กวนอิม    บางคนใช้  13   ดอก   แต่จะไหว้เฉพาะในช่วงเดือน   12  เท่านั้น
ธูป  14,  15  ดอก  ไม่ปรากฏความนิยม
ธูป  16   ดอก  นิยมใช้ในพิธีบวงสรวงบูชาเทพ บูชาครู  หรือพิธีกลางแจ้ง  ที่มีการอัญเชิญเทวดาที่สำคัญต่างๆ  16 ดอก  หมายถึง สวรรค์ 16 ชั้น
   นอกจากนี้ที่ได้สืบเสาะมาก็มี      31   ดอก      และ      32   ดอก
ที่นิยมใช้ในการบวงสรวง  เช่นเดียวกันกับ   16   ดอก 
โดย ธูป  31  ดอก  หมายถึงการเชิญเทพทั้ง  16  ชั้นฟ้า   15  ชั้นดิน  ต้องเป็นการบวงสรวงเครื่องบัดพลีใหญ่
หรือ  ธูป  32  ดอก  หมายถึง  16  ชั้นฟ้า  15  ชั้นดิน และบนโลกมนุษย์ อีก 1  จะนิยมใช้ในการบวงสรวงใหญ่เท่านั้น  เพราะเครื่องบวงสรวงต้องมากเพียงพอกับการอัญเชิญด้วย
   เจ้าคุณอมร     วัดบวรนิเวศ       กรุงเทพฯ        ท่านให้ข้อคิดที่น่าสนใจมากคือ  จำนวนเท่าไร  มันอยู่ที่ใจ  มนุษย์ตั้งกันขึ้นมาเอง  ตามความพอใจ  ซึ่งที่จริงแล้วหากใจเป็นสมาธิศรัทธาจริง    มือเปล่า   ใจเปล่า   ก็ศักดิ์สิทธิ์ ได้
   ผู้เขียนเองก็มีความเห็นตรงกันเพราะเวลาเราฟังเทศน์  ฟังธรรม  หรือจบมือขึ้น  สาธุ  อนุโมทนากุศลนั้น  ท่านเชื่อไหมว่า   อานิสงส์แรงนักแล   แค่เอามือเปล่าจบขึ้นเหนือหัวตั้งจิตให้มั่น กล่าวคำว่า   สาธุ   


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:49:34
*****  คนเราทุกวันนี้  ดีแต่ส่องกระจกด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว   
   ให้เอากระจกหกด้าน   มาส่องเสียบ้าง   แล้วจะเห็นเอง
    สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต  พรหมรังสี)        *****


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:50:05
รู้ง่าย – ทำยาก      ธนะภูมิ   ผู้เขียน   คอลัมภ์กรรมกำหนด
บุญเสมอ   แดงสังวาลย์   หนังสือพิมพ์ข่าวสด
   พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่   พรหมปัญโญ   วัดสะแก   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่เปี่ยมล้นด้วยความเมตตาต่อบรรดาศิษย์อย่างยิ่ง   แม้อายุสังขารท่านจะร่วงโรยเพียงใด   ท่านก็ยังเมตตาอบรมสั่งสอนศิษย์    ตลอดจนผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลายที่มากราบนมัสการ   จวบจนกระทั่งท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจ   ท่านก็ยิ่งให้ความเมตตาแก่ศิษย์โดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย    ในยามดึกที่ควรจะได้พักผ่อน     ท่านก็ยังแสดงธรรมแก่ผู้มากราบนมัสการตลอดมา      ธรรมโอวาท ที่ท่านให้เป็นคติเตือนใจแก่ศิษย์ทั้งหลายคือ…….เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว   ให้รีบพากันปฏิบัติ
   หลังจากท่านมรณภาพ   คณะศิษยานุศิษย์ได้รวบรวมคำสอนของท่านมาจัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อเป็นเครื่องบูชาพระคุณ   คำสั่งสอนของหลวงปู่ฟังง่าย   เข้าใจง่าย   แม้บางครั้งจะมีผู้นำเรื่องไม่น่าถาม   มาเรียนถาม   ท่านก็ได้เมตตาตอบจนกระจ่างแจ้ง   ให้ผู้ถามหมดข้อสงสัย   ดังได้คัดลอกมาฝากท่านผู้อ่าน   ดังนี้
ผู้ถาม
หลวงปู่ครับ   การจุดธูปเทียนบูชาพระในพิธีกรรมต่างๆ   มักจะไม่เหมือนกัน   ที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น   ควรจุดธูปกี่ดอก
หลวงปู่
จุดกี่ดอกก็ได้   ส่วนใหญ่มักจุด   ๓   ดอก   บูชาคุณพระพุทธ   พระธรรม   พระสงฆ์   กี่ดอกก็มีความหมายทั้งสิ้น
ผู้ถาม
ถ้าเช่นนั้นจุดดอกเดียว   ก็ถือว่าไหว้ผี   ไหว้ศพใช่ไหมครับ
หลวงปู่
จุด   ๑   ดอก   หมายถึง   จิตหนึ่ง
จุด   ๒   ดอก   หมายถึง   กายกับจิต   หรือ   โลกกับธรรม
จุด   ๓   ดอก   หมายถึง   พระรัตนตรัย   คือ   อนิจจัง   ทุกขัง   อนัตตา
จุด   ๔   ดอก   หมายถึง   อริยสัจ ๔
จุด   ๕   ดอก   หมายถึง   พระเจ้า   ๕   พระองค์   นะโมพุทธายะ
จุด   ๖   ดอก   หมายถึง   สิริ   ๖   ประการ
จุด   ๗   ดอก   หมายถึง   โพชฌงค์   ๗
จุด   ๘   ดอก   หมายถึง   มรรค   ๘
จุด   ๙   ดอก   หมายถึง   นวโลกุตรธรรม
จุด  ๑๐   ดอก   หมายถึง   บารมี   ๑๐   ประการ
ผู้ถาม
ถ้าจุด   ๑๑   ดอกล่ะครับหลวงปู่   หมายถึง
หลวงปู่
ก็บารมี   ๑๐   ประการ   กับจิต   ๑
ผู้ถาม
ถ้าไม่มีธูปเทียน
หลวงปู่
ก็ใช้วิธีจิตใจบูชา   ไม่เห็นต้องมีอะไร   พุทธัง   ธัมมัง   สังฆัง   ชีวิตังเม   ปูเชมิ   -   ทุกอย่างอยู่ที่ใจ
   
มีเรื่องเล่ากันว่า   โยมท่านหนึ่งไปกราบนมัสการพระเถระผู้ใหญ่องค์หนึ่งเป็นประจำ   วันหนึ่งได้ถามปัญหาธรรมว่า   หลักของพระพุทธศาสนาคืออะไร   พระเถระตอบว่า   ละความชั่ว   ทำความดี   ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว   โยมท่านนั้นได้ฟังแล้วก็พูดว่า   อย่างนี้เด็ก   ๗   ขวบก็รู้   พระเถระองค์นั้นยิ้มเล็กน้อยก่อนตอบว่า   จริงของโยม   เด็ก   ๗   ขวบก็รู้   แต่ผู้ใหญ่อายุ  ๘๐   ก็ยังปฏิบัติไม่ได้   ซึ้งไหมละท่าน   นึกถึงพุทธพจน์ที่ว่า   
สากัจฉาย   ปุญญ   เวทิตพพา   ปัญญารู้ได้ด้วยการสนธนา


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:52:06
วิธีสะเดาะเคราะห์    อิ่มบุญ   บางเขน   ผู้เขียน   คอลัมภ์กรรมกำหนด
บุญเสมอ   แดงสังวาลย์   หนังสือพิมพ์ข่าวสด
หมอดูไม่ว่าชาติไหน   ย่อมต้องอาศัยประสบการณ์   และใช้ข้อมูลจากหลายๆพันคน   มาตั้งเป็นทฤษฎีเหมือนเป็นสูตรสำเร็จ   ว่าไปแล้วก็เหมือนหลักเศรษฐศาสตร์   มีการคำนานหาความเป็นไปได้   และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง   ซึ่งจะให้ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์คงเป็นไปไม่ได้
   ตามหลักโหราศาสตร์   มีการดึงเอาดวงดาวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย   เช่น   ดาวพระศุกร์   ซึ่งถือว่าเป็นดาวดี   เมื่อเวลาโคจรมาเสวยอายุท่านผู้ใด   ผู้นั้นย่อมมีชะตาชีวิตที่ดี   ขณะเดียวกันก็มีตัวแปรซึ่งมีผลต่อดาวพระศุกร์   คือ   ดาวพระเคราะห์ดวงอื่นๆ   เช่นดาวพระเสาร์   ถ้ามีดาวพระเสาร์เข้ามาแทรก   ก็จะมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น   ตำนานของกรีกโบราณ   ถือว่าดาวทั้งสองดวงเป็นเทพเจ้าไม่ถูกกัน
   เราเชื่อกันว่าการสะเดาะเคราะห์   เป็นการที่จะบรรเทาสิ่งเลวร้ายให้เบาบางลง   หรือหมดไปเลย   เช่นการรดน้ำมนต์   การทำสังฆทาน   การปล่อยนกปล่อยปลา   ฯลฯ
   แต่พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่อง   “ กรรม ”   หรือ   “ การกระทำ ”   ไม่ว่าการทำดีหรือทำชั่ว   ย่อมบังเกิดผลของกรรมตามมาเสมอ   ผลของกรรมดีหรือการทำดี   คือความสบายใจ   เมื่อใจสบายก็เกิดบุญ
   วิธีปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา   เพื่อความสบายใจคลายทุกข์   คือ
๑. การถวายทาน   เป็นการลดความเห็นแก่ตัว   เช่น   การทำบุญตักบาตร   จิตใจที่วุ่นวาย   เป็นทุกข์   ก็จะเกิดความสุข
๒. การรักษาศีล   เพื่อเป็นการป้องกันจิต   ไม่ให้สร้างกรรมที่ไม่ดี   เพียงศีล   ๕   ข้อ   ก็เพียงพอแล้ว   ท่านจะได้อานิสงส์ของศีลตามที่พระเทศน์ไว้ว่า   …สีเลนะ   สุคติง   ยันติ   (-   ศีลทำให้เกิดความสุข)   สีเลนะ   โภคะสัมปทา   (-   ศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์   อริยทรัพย์)    สีเลนะ   นิพพุติงยันติ   ตัสมา   สีลัง   วิโสทะเย   (-   ศีลทำให้พ้นทุกข์ได้)
๓. การปฏิบัติภาวนา  คือทำใจให้สงบ   โดยอาศัยคำภาวนาต่างๆ   เพื่อจิตใจสงบเยือกเย็น   ความทุกข์จะได้ไม่กัดกินใจ   มีกำลังใจที่จะต่อสู้อุปสรรคในเบื้องหน้าต่อไป
   เป็นการสะเดาะเคราะห์ให้กับตัวเองแล้ว   ยังเป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตนเองอีกด้วย     
ธมโม   หเว   รักขติ   ธมมจารี   ธรรมนั่นแหละ   รักษาผู้ประพฤตธรรม


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:52:42
ทีใครทีมัน
น้ำ      ฝนเทจากฟ้า      คึกคะนอง
มา      มากมายก่ายกอง   ท่วมท้น
ปลา      แหวกว่ายหมายปอง   ฮุบเหยื่อ
กินมด      อิ่มเหลือล้น      สนุกลิ้นกินเพลิน ฯ
น้ำ      ขาดเขินขอดแห้ง   ติดดิน
ลด      เรื่อยถึงธรณิน   ภพพื้น
มด      ได้ทีรุมกิน      สับเปลี่ยน  กันนา
กินปลา      ตายน้ำตื้น      ชำระแค้นสะสาง ฯ
ลายวลี   คำวิไล   ผู้ประพันธ์


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:53:11
ศาสนกิจ
   ผู้เขียน  สมบูรณ์  จอจันทร์   บทความ  ชาวพุทธควรรู้   นิตยสารโลกลี้ลับ
ผู้พิมพ์   sithiphong
   พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา   ซึ่งนิยมใช้กันปฏิบัติกันในปัจจุบันนี้   ส่วนมากเจือด้วยลัทธิพราหมณ์  คือ   พุทธ กับ  พราหมณ์   ปะปนคละกันไป   จะแยกออกจาก
กันได้ยาก   เนื่องจากพุทธศาสนิกชนนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายร้อยปีแล้ว   ถึงแม้จะมีลัทธิพราหมณ์แทรกอยู่ก็ตาม   เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง   หรือวัฒนธรรมศีลธรรมแล้ว   ก็เป็นอันใช้ได้ตลอดมา
   ศาสนกิจของชาวพุทธ   หมายถึง   การปฏิบัติตนเกี่ยวกับระเบียบประเพณีทางพุทธศาสนา   ที่นิยมปฏิบัติกันเป็นประจำ  
   ระเบียบประเพณีนี้  เราเป็นชาวพุทธควรจะรู้และจดจำไว้ปฏิบัติสืบต่อไป  เมื่อได้ไปพบงานศาสนกิจที่จำเป็น   จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบประเพณีของชาวพุทธ  เพื่อยึดเป็นหลักปฏิบัติต่อไป

การนิมนต์พระ
ผู้ประสงค์จะทำบุญควรนิมนต์พระไว้ก่อนวันงาน   ยิ่งเนิ่นๆ ได้เป็นดี   เผื่อพระจะไม่ว่าง   ถ้านิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยจะดีมาก
งานพิธีเกี่ยวกับฤกษ์   ต้องบอกเวลาฤกษ์ให้พระท่านทราบ   จะได้ไม่ขลุกขลักเรื่องเวลา   ซึ่งทำให้เสียฤกษ์ได้  อาจทำให้เจ้าภาพเองต้องเสียใจหรือกังวลใจภายหลังอย่างใดอย่างหนึ่งได้
การนิมนต์พระ   ห้ามระบุชื่อภัตตาหารที่จะถวายพระเป็นอันขาด  เพราะผิดวินัย
ทานที่จะให้มี   ๒   อย่าง
๑.   บุคลิกทาน        ให้เจาะจงผู้รับ
๒.   สังฆทาน           ให้โดยไม่เจาะจงผู้รับ

การจัดอาสนะ
         อาสนะสำหรับพระที่นั่งนั้น   จะใช้เสื่อ   พรม   หรือผ้าขาวอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้   แล้วแต่จะสะดวก    แต่ต้องจัดให้สูงกว่าฆารวาส     ที่พระสงฆ์นั่งต้องอยู่ด้านซ้ายของพระพุทธรูปเสมอไป
นอกจากอาสนะแล้ว   ยังมีพานหมาก   พลู   บุหรี่   ขันน้ำ   กระโถน   (ปัจจุบันไม่นิยมหมาก   พลู   บุหรี่)
   ที่เห็นมาส่วนมากแล้วจะเป็นลูกอมต่างๆ   ถวายแทนหมาก   พลู   บุหรี่   ของเหล่านี้ ควรตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์   ส่วนกระโถนพระท่านจะยกไว้ข้างหลังเอง   ไม่ต้องประเคน


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:53:46
การจัดโต๊ะบูชา
   โต๊ะบูชานั้น   ใช้โต๊ะหมู่  ๕   หมู่  ๗   หรือหมู่  ๙  ถ้าไม่มีโต๊ะหมู่จะใช้โต๊ะอย่างอื่นที่เหมาะสมแทนก็ได้
   เมื่อไม่สามารถจะหาโต๊ะหมู่และเครื่องตั้งบูชาได้ครบ   ก็พึงจัดหาเท่าที่หาได้ คือ     พระพุทธรูป  ๑  องค์   ตั้งไว้ที่โต๊ะตัวสูง   ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ   ถ้าสถานที่ไม่อำนวย   ก็ให้ตั้งผินหน้าไปทางที่เหมาะสม
   การที่นิยมตั้งพระพุทธรูปผินหน้าไปทางทิศตะวันออกนั้น   นิยมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้  เพราะพระองค์ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก   รวมไปถึงตั้งหิ้งพระบูชาที่บ้าน   หรือตามสถานที่ราชการทั่วไป  ก็นิยมปฏิบัติตามในทิศดังกล่าวนี้   ถือกันว่าผินหน้าไปทางทิศอื่นหรือทิศตรงกันข้าม จะไม่เป็นมงคลทำนองนี้

ด้ายสายสิญจน์
   ด้ายสายสิญจน์ไม่ควรใช้ด้ายหลอด   ควรใช้ด้ายดิบจับเก้าเส้น   จึงจะน่าดูและถูกต้อง   และด้ายสายสิญจน์ควรใช้เฉพาะงานมงคล
   บ้านที่ทำงานมงคล   จะต้องโยงด้ายสายสิญจน์ไว้บริเวณรอบบ้าน   ควรจัดหาด้ายสายสิญจน์ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง   อย่ายืมของผู้อื่น   การยืมของผู้อื่นมาโยงไว้รอบบ้านตน   พองานเสร็จไม่รื้อออกส่งเขาน่ากระไรอยู่

วิธีโยงด้ายสายสิญจน์
   ให้ตั้งต้นที่พระพุทธรูป   เวียนมาทางขวามือ   (แบบเลข ๑  ไทย)   โยงออกไปรอบบ้านหรือรั้วบ้านแล้ววนกลับเข้ามาตรงเสาเรือนเข้าสู่ที่บูชา   แล้ววงรอบฐานพระพุทธรูป   โยงรอบบาตรหรือขันน้ำมนต์กลุ่มด้ายสายสิญจน์ที่เหลือวางไว้บนพาน   ตั้งไว้ในที่อันควร
   เวลาวางด้ายสายสิญจน์   พึงพยายามสำรวมจิตรำลึกถึง          คุณพระพุทธ     คุณพระธรรม     คุณพระสงฆ์          ขออำนาจช่วยปกปักรักษาปัดเป่าสรรพภยันตราย   และให้เกิดความสุข  ความเจริญด้วย   ลาภ   ยศ   สรรเสริญ   สุข   ตลอดกาล

อย่าข้ามด้ายสายสิญจน์
   สายสิญจน์ที่โยงมาจากพระพุทธรูปแล้วถือว่าเป็นของสูง     ไม่ควรเดินข้ามหรือยกสิ่งหนึ่งสิ่งใดข้าม   ถ้าข้ามถือว่าเป็นการดูถูกพระพุทธเจ้า   คือ   เท่ากับเดินข้ามหรือยกข้ามพระเศียรของพระองค์

บาตรน้ำมนต์
   บาตรน้ำมนต์ใช้บาตรดินหรือขันสัมฤทธิ์   ถ้าไม่มีจะใช้ขันทองเหลืองก็ได้แล้วแต่จะหาได้ใส่น้ำพอควร   และของใส่บาตรน้ำมนต์ตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าในพิธี   แต่อย่าให้ห่างนัก   เพราะพระจะจับเทียนไม่ถึงเวลาทำน้ำมนต์   และขันน้ำมนต์ต้อง ประเคนพระด้วย

เทียนสำหรับทำน้ำมนต์
เทียนที่จะทำน้ำมนต์   ควรใช้เทียนขี้ผึ้งแท้อย่างดี   หนัก   ๑   บาท   ติดไว้ที่ปากบาตรหรือที่ปากขันที่จะทำน้ำมนต์   เพื่อสะดวกแก่พระท่านเวลาจะจับทำน้ำมนต์

ของใส่บาตรน้ำมนต์
   สิ่งของที่นำมาใส่บาตรน้ำมนต์   คือ    ๑.  ผิวมะกรูด      ๒.   ฝักส้มป่อย

ของที่ใช้มัดประพรมน้ำมนต์
   ๑.    ใบมะตูม            ๒.    ใบสันพร้าหอม
   ๓.    ใบเงิน            ๔.    ใบทอง
   ๕.    ใบนาก            ๖.    หญ้าแพรก
   ๗.    แฝก            ๘.    หญ้าคา
   ใน  ๘  อย่างนี้  ถ้าหาได้ครบเป็นการดียิ่ง  ถ้าหาไม่ได้หรือไม่ครบก็ใช้เท่าที่หาได้


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:54:11
การจุดธูปเทียนที่บูชา
   คนจุดธูปเทียนกับคนอาราธนาศีลต้องเป็นคนละคนกัน   ไม่ใช่คนคนเดียวกันกับที่จุดธูปเทียนแล้วมาอาราธนาศีล   พึงปฏิบัติดังนี้
   ผู้ถือเทียนชนวนให้เชิญผู้เป็นประธานในพิธีมาจุดธูปเทียน   เมื่อถึงที่บูชาแล้ว   ผู้ถือเทียนชนวนพึงยืนหรือนั่งอยู่ทางด้านขวามือของผู้จุด   หรือแล้วแต่สถานที่
การส่งเทียนชนวน
   เมื่อส่งเทียนชนวนแล้วต้องรอรับเทียนก่อน   อย่าเพิ่งกลับ   ในเมื่อจุดธูปเทียนยังไม่เสร็จ     และเวลากลับอย่าเดินผ่านหน้าผู้จุดธูปเทียน   เว้นแต่สถานที่จำกัด   เดินทางอื่นไม่ได้

ผู้จุดเทียน
   ผู้จุดเทียนเมื่อจุดเสร็จแล้วพึงกราบพระ   ๓   ครั้ง   ตรงที่จัดไว้สำหรับกราบ   และควรกราบด้วยแบบเบญจางคประดิษฐ์ ทั้ง    ๕     คือ    ๑.  เข่าทั้งสองจรดพื้นดิน   ๒.  ฝ่ามือทั้งสองราบอยู่ที่พื้น      ๓.  หน้าผากจรดพื้นเวลากราบลง       รวมเป็น  ๕        ( เข่า  ๒  ฝ่ามือ  ๒   หน้าผาก  ๑)   และ เวลากราบระวังอย่าให้ส่วนตะโพกสูงโด่งขึ้น   ดูน่าเกลียดและไม่ทอดตัวลงไปเหมือนจะนอน   กราบให้เป็นจังหวะพอดูงาม   อย่าให้ช้าหรือเร็วเกินไป   เมื่อกราบเสร็จแล้วพึงกลับมานั่งที่เดิม


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:54:42
อาราธนาศีล
   เมื่อจุดธูปเทียนและมานั่งที่เดิมแล้ว   ผู้มีหน้าที่อาราธนาศีลเริ่มอาราธนาทันที   เมื่อพระให้ศีลจบ   ก็ให้อาราธนาพระปริตรต่อไป
จุดเทียนบาตรน้ำมนต์
ตอนพระกำลังสวดมนต์   ให้ผู้ที่เป็นประธานนั่งอยู่ใกล้ๆ บาตรน้ำมนต์   พอพระสวดถึงบท   “  อะเสวะนา  จะพาลานัง…….”   ผู้เป็นประธานก็จุดเทียนที่บาตรน้ำมนต์อีกครั้งหนึ่ง   แต่ผู้เชิญเทียนชนวนต้องเตรียมไว้   และเข้าใจว่าเวลาไหนจะทำอะไร    เมื่อจุดเทียนแล้วก็ยกบาตรน้ำมนต์ถวายพระ (ตอนนี้พระท่านพักไว้ก่อนฉันภัตตาหาร)
(  หมายเหตุ      ในปัจจุบันนี้ ผู้พิมพ์พบว่า โดยส่วนใหญ่แล้วการจุดเทียนน้ำมนต์นี้  พระท่านจะเป็นผู้ที่จุดเทียนชนวนเอง   บาตรน้ำมนต์กับเทียนชนวน จะต้องถวายพระก่อนที่จะเริ่มการจุดธูปเทียน)

การประเคนอาหาร
การประเคนอาหารที่ถูกต้อง   ต้องประกอบด้วยองค์   ๕   คือ
๑.   ของที่จะประเคนนั้น   ไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป   หนักพอยกประเคนได้คนเดียว
๒.   ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาส  คือ   ห่างกันไม่เกิน  ๑   ศอก
๓.   น้อมเข้าไปประเคนด้วยคารวะ
๔.   กิริยาที่น้อมเข้าไปนั้น   ด้วยกายก็ดี  ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้   เช่น   ผ้าเช็ดหน้า  เป็นต้น
๕.   ภิกษุรับด้วยกายก็ได้   ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
อนึ่ง     อาหารที่ประเคนพระแล้ว   ห้ามจับต้องเป็นอันขาด   ถ้าจะเติมหรือเปลี่ยนใหม่ต้องประเคนใหม่ทุกครั้ง

ถวายเครื่องไทยทาน
เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว   เข้านั่งประจำที่เรียบร้อยแล้ว   พึงถวายเครื่องไทยทาน   มีดอกไม้   ธูปเทียน   เป็นต้น   ถ้ามีปัจจัยพึงให้เขียนใบปวารณาถวายพร้อมกับเครื่องไทยทาน   ส่วนปัจจัยมอบให้กับศิษย์พระท่านไป
(   หมายเหตุ     ส่วนใหญ่แล้ว  ปัจจัยจะมอบพร้อมกับเครื่องไทยทาน  ไม่ต้องมอบให้กับศิษย์พระ   โดยไม่ต้องเขียนใบปวารณา         -  ผู้พิมพ์   )

ประพรมน้ำมนต์
   ตอนนี้ผู้ถือเทียนชนวนหรือคนใดคนหนึ่งก็ได้ช่วยกันยกบาตรน้ำมนต์ให้พระท่าน   ประพรมไปรอบๆ   บุคคลที่อยู่ในพิธี   บ้าน หรือสถานที่ทำการมงคลนั้น   เวลาพระกำลังประพรมน้ำมนต์   พวกฆารวาสควรก้มหน้าประนมมือรับน้ำมนต์จากพระท่าน
   การพรมน้ำมนต์ นี้   ถ้าเป็นสถานที่ราชการ   มีบริเวณกว้าง   จะให้พระท่านนั่งประพรมอยู่บนอาสนะ   ให้ฆารวาสเดินแถวก้มหลังผ่านหน้าท่าน   แล้วพระก็ประพรมน้ำมนต์ไปเรื่อย ๆ    จนกว่าจะหมดคนสุดท้าย     แบบนี้ก็ใช้ได้    เพื่อความสะดวกแก่พระสงฆ์ท่านไม่ต้องลำบากเดินไปเดินมา


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:55:13
เวลากรวดน้ำ
   เวลากรวดน้ำ   เมื่อพระสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าเริ่มว่า      ยะถา   วาริวะหา   ปูรา ……   ฆารวาสก็เริ่มกรวดน้ำ   พอถึง     สัพพีตีโย   วิวัชชันตุ……   พึงประนมมือรับพรพระต่อไป   ถ้าเป็นงานส่วนบุคคลมีเจ้าภาพก็ให้  เจ้าภาพ กรวดน้ำ
   เวลากรวดน้ำ   อย่าเอามือหรือนิ้วมือ รองน้ำที่เทออกจากขวดหรือที่กรวด   ดูไม่เหมาะสม   ถ้าผู้รับจะดื่มน้ำที่เรากรวดไปนั้นจะรู้สึกอย่างไร   และผู้กรวดน้ำพึงสำรวมจิตอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ตนประสงค์จะอุทิศ
   เมื่อกรวดน้ำเสร็จแล้วอย่าเอาน้ำเทลงกระโถนหรือในที่สกปรก   ให้ เท รด หญ้า หรือต้นไม้ใหญ่นอกชายคา   ถ้าเป็นวัดพึง เท รด โคนต้นโพธิ์ เหมาะที่สุด

เวลาพระสงฆ์จะกลับวัด
   เมื่อเสร็จพิธีในงานเรียบร้อยแล้ว   พระท่านก็จะกลับวัด   ตอนเวลาพระท่านลุกขึ้นและเดินออกมาจากอาสนะ   ถ้ามีผู้คนมากก็ต้องหลีกทางให้พระท่าน พร้อมกับประนมมือไหว้   ท่านออกจากบ้านไปแล้วก็ช่วยเก็บข้าวของเครื่องไทยทานไปส่งพระท่านด้วย   (  เก็บใส่รถที่รับส่ง )
   ถ้านิมนต์พระที่วัดใกล้บ้านก็ไม่จำเป็นต้องใช้รถรับส่งท่าน   แต่ต้องช่วยนำของที่ถวายท่านไปส่งถึงวัดด้วย   ( ถ้าไม่มีลูกศิษย์มาด้วย )   และคนที่เป็นเจ้าภาพต้องไปส่งพระท่านถึงประตูบ้านด้วย   ตอนพระจะมาก็เช่นเดียวกัน ต้องมีคนคอยรับพระท่านตรงประตูบ้านหรือหัวบันไดด้วย   จึงดูเหมาะสมเรียบร้อยน่าดู

เครื่องใช้ในงาน
   เครื่องใช้ในงาน   เช่น   ถ้วย   จาน   เหยือก   แก้วน้ำ   กระโถน   เสื่อ   พรม   ฯลฯ   เมื่อเสร็จงานแล้วก็ให้รีบส่งคืนวัด   เผื่องานอื่นเขาจะมาขอยืมบ้าง   บางวัดมีของใช้น้อย   และไม่ควรใช้ของในบ้านปนด้วย   บางทีเวลาจะส่งคืนวัด  ของมักจะปนเปกัน   ไม่รู้ว่าเป็นของบ้านหรือของวัด   หากจะยืมที่วัดก็ให้ใช้ของวัดอย่างเดียว   จะได้เก็บรวบรวมส่งได้สะดวก   เมื่อของใช้แตกเสียหายก็ต้องซื้อแทน
   (  หมายเหตุ    ผู้พิมพ์เห็นว่า หากของวัดที่ยืมมาไม่เพียงพอแล้ว  ก็ควรที่จะใช้ของบ้าน  เพียงแต่จะต้องบันทึกไว้ว่า   ของวัดที่ยืมมามีอะไรบ้าง  เมื่อเวลาที่จะส่งคืนวัด   จะตรวจสอบได้ว่า   คืนไปครบแล้วหรือยัง  )


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:56:20
ยาวกาลิก
   ของที่ได้บริโภคเป็นอาหาร  จัดเป็นยาวกาลิก   เช่น   ข้าวสุก   ขนมสด   ขนม-แห้ง   ปลา   เนื้อ   นมสด   น้ำส้ม   และของเคี้ยว   ผลไม้มีมัน   เป็นต้น
   ยาวกาลิก        นั้น   ภิกษุจะรับประเคนตั้งแต่เที่ยงไปแล้วไม่ควร  ถ้าจะรับประเคนตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น   จนถึงเวลาก่อนเที่ยงได้   และจะฉันได้ภายในเวลาก่อนเที่ยงของวันรับประเคนนั้น   ถ้าจะเก็บไว้ฉันวันรุ่งขึ้นไม่ควรรับประเคน   ทายกผู้จะถวายเสบียง   เช่น   ข้าวสาร   ปลาแห้ง   ผลไม้   เป็นต้น   ไม่ควรประเคน   ควรมอบให้ศิษย์ของพระไป   หรือเที่ยงแล้ว อย่าประเคนของที่จัดเข้าในยาวกาลิก

ยามกาลิก
   ได้แก่   ปานะ   คือน้ำสำหรับดื่มที่คั้นออกจากผลไม้   เรียกว่า   ยามกาลิก   กล่าวในบาลี มี   ๘   อย่าง   คือ
   ๑.อัมพปานะ(น้ำมะม่วง)      ๒.ชัมพุปานะ(น้ำชมพู่  หรือ น้ำหว้า)
   ๓.โจจปานะ(น้ำกล้วยมีเมล็ด)      ๔.โมจปานะ(น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด)
   ๕.มธุกปานะ(น้ำมะซาง)      ๖.มุททิปานะ(น้ำลูกจันทร์  หรือ  น้ำองุ่น)
   ๗.สาลุกปานะ(น้ำมะปราง  หรือ  น้ำลิ้นจี่)
   น้ำปานะทั้ง    ๘    อย่างนี้    ถ้าไม่ได้ทำสุกด้วยไฟ  ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง

สัตตาหกาลิก
   เภสัช   ๕   อย่าง    คือ    เนยใส    เนยข้น    น้ำมัน    น้ำผึ้ง    น้ำอ้อย      จัดเป็นสัตตาหกาลิก   ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้  ๗  วัน  น้ำตาลทราย   น้ำตาลปึก     น้ำตาลปี๊บ     สงเคราะห์เข้าในกาลิกนี้
ยาวชีวิก
ของที่ ประเคนเป็นยา นอกจากกาลิกทั้ง ๓ อย่างนี้  จัดเป็นยาวชีวิกกล่าวไว้ในบาลีดังนี้
   ๑.รากไม้   เช่น   ขมิ้น   ว่านน้ำ   ว่านเปราะ   อุตระพิษ   ข่า   แผก   แห้วหมู
   ๒.น้ำฝาด   เช่น   น้ำฝาดสะเดา   น้ำฝาดมูกมัน   น้ำฝาดกระดอม   หรือมูลกา   น้ำฝาดบรเพ็ด    หรือพญามือเหล็ก   น้ำฝาดกระถินพิมาน
   ๓.ใบไม้   เช่น   ใบสะเดา   ใบมูกมัน   ใบกระดอม   หรือมูลกา   ใบกะเพรา  หรือแมงลัก   ใบฝ้าย
   ๔.ผลไม้   เช่น   ลูกพิลังกาสา   ดีปลี   พริก   สมอพิเภก   มะขามป้อม   ผลโกฎฐ์
   ๕.ยางไม้   เช่น   ยางไม้ที่ไหลออกจากต้นหิงคุ และกำยาน   เป็นต้น
   ๖.เกลือ
ของตั้งแต่ข้อ   ๑   ถึงข้อ   ๖   นี้   ถ้ารับประเคนโดยตั้งใจให้เป็นยาแก้โรค   จัดเป็นยาวชีวิก   ถ้ามุ่งเป็นอาหาร   ไม่จัดเป็นยาวชีวิก

กาลิกระคนกัน
        กาลิกบางอย่าง   ระคนกับกาลิกอย่างอื่น   มีกำหนดให้ใช้ได้ชั่วคราวของกาลิกที่มีอายุสั้น   เช่น   ยาผง  เป็นยาวชีวิก   เอาคลุกกับน้ำผึ้งเป็นกระสาย   น้ำผึ้งที่มีอายุการประเคน   ๗    วัน   ยาผงนั้นก็พลอยมีอายุ   ๗   วันไปด้วย   อบเชยเป็นยาวชีวิก   ปรุงกับข้าวสุกที่หุงด้วยกะทิ   อบเชยกลายเป็นยาวกาลิกไปด้วย
   สุดท้ายนี้   ขอให้ผู้ที่ยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับงานศาสนกิจ   ก็ควรอ่านหรือจดจำไว้   เผื่อที่บ้านมีงานและหาคนที่รู้ไม่ได้หรือหายาก   ก็จะได้รู้และจัดได้ถูกต้องตามระเบียบหรือประเพณี   ถ้าเราทำอะไรไม่ถูกก็จะทำให้ผู้ที่มาร่วมงานของเราตำหนิเอาได้


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:56:59
ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ   เรื่องการประกอบพิธีศพ
พระธรรมวโรดม  ( บุญมา  คุณสมปนโน  ปธ.  ๙ )   ผู้เขียน
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  กรุงเทพฯ
( จากหนังสือพุทธคุณ  ฉบับที่ ๕๕  วันที่ ๑๐ มิถุนายน - ๑๐ กรกฎาคม  ๒๕๔๓ )

ระเบียบปฏิบัติการจัดพิธีศพ
วิธีปฏิบัติเบื้องต้นเกี่ยวกับศพ
   คนตายโรคธรรมดา  ผู้เกี่ยวกับศพนิยมใช้ผ้าคลุมศพตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า  ถ้าศพอยู่ภายในห้องก็ปิดประตูเสีย  ถ้าศพอยู่ห้องโถงนิยมกางมุ้งครอบไว้
   คนตายด้วยโรคติดต่ออันตราย  หรือตายด้วยอุบัติเหตุ  หรือถูกฆาตกรรมนิยมไม่แตะต้อง  หรือเคลื่อนย้ายศพ  เพื่อเปิดโอกาสให้แพทย์หรือตำรวจได้ทำการตรวจโรค  หรือชันสูตรศพก่อน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย

วิธีปฏิบัติการแจ้งขอมรณบัตร
   ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์  พ.ศ. ๒๔๙๙  มาตรา  ๑๔  เมื่อมีคนตาย  ให้แจ้งดังต่อไปนี้
   ก.  คนตายในบ้าน  ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายใน  ๒๔  ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย      ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน  ให้ผู้พบศพแจ้งความในวรรคก่อน  นับแต่เวลาพบศพ
   ข. คนตายนอกบ้าน  ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตาย  หรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตาย  หรือพบศพ  แล้วแต่กรณี  หรือแห่งท้องที่ที่จะเพิ่งแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน  ๒๔  ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย  หรือพบศพ  ในกรณีเช่นนี้  จะแจ้งต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่สะดวกกว่าก็ได้  ฯลฯ

ตามพระราชบัญญัตินี้  นิยมปฏิบัติดังนี้
   ๑. เมื่อมีคนตายในบ้าน  เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้านต้องไปแจ้งการตาย  ขอมรณบัตรต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง  คือในเขตเทศบาลแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น  นอกเขตเทศบาลแจ้งต่อนายทะเบียนตำบล  คือกำนัน  และต้องแจ้งภายใน  ๒๔  ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย
   ๒. คนตายนอกบ้าน  บุคคลที่ไปกับผู้ตาย  หรือผู้พบศพต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตาย  หรือจะแจ้งแก่พนักงานฝ่ายปกครอง  หรือตำรวจท้องที่นั้นก็ได้  และต้องแจ้งภายใน  ๒๔  ชั่วโมงหรือนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพเป็นต้นไป


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:57:28
การขอพระราชทานน้ำอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติยศ
   ผู้ถึงแก่กรรมมีสิทธิขอรับพระราชทานน้ำอาบศพ  เครื่องประกอบเกียรติศพ  และขอพระราชทานเพลิงศพ   ดังต่อไปนี้
๑.   พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ตั้งแต่พระครูฐานานุกรมขึ้นไป
๒.   พระบรมวงศานุวงศ์  ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
๓.   ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์รองเสวกตรี  หรือรองอำมาตย์ตรีขึ้นไป
๔.   ข้าราชการพลเรือนชั้นตรีขึ้นไป
๕.  ข้าราชการฝ่ายพลทหาร  และตำรวจ  ยศชั้นร้อยตรี  เรือตรี  ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
๖.   สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่ได้รับพระราชทานยศ  ตั้งแต่ชั้นนายหมวดขึ้นไป
๗.   ผู้ที่ได้รับพระราชทานราชอิสริยาภรณ์  ตั้งแต่ชั้นเบญมาภรณ์มงกุฏไทย  หรือ  ตติยจุลจอมเกล้า  หรือ  จตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไป
๘.   ผู้ได้รับพระราชทานราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน
๙.   พนักงานเทศบาลตรีขึ้นไป
๑๐.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  สมาชิกสภาเทศบาล  ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
๑๑.  รัฐมนตรี  ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
๑๒.  ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  เป็นกรณีพิเศษ
   ๑๒.๑ ผู้ที่เคยเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  สมาชิกสภาจังหวัด  สมาชิกสภาเทศบาล  หรือ  รัฐมนตรีถึงแก่กรรมเมื่อพ้นตำแหน่งแล้ว  หากได้รับพระราชทานราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวแล้ว  ก็มีสิทธิ์ขอพระราชทานน้ำอาบศพ  เครื่องประกอบเกียรติศพ  และขอพระราชทานเพลิงศพได้
   ๑๒.๒ ในการที่จะขอพระราชทานนี้  มีข้อแม้ว่า  ผู้ถึงแก่กรรมนั้น  จะต้องถึงแก่กรรมโดยไม่ใช่อัตวินิบาตกรรม  ( คือการฆ่าตัวตาย )

วิธีขอพระราชทานน้ำอาบศพ  และเครื่องประกอบเกียรติศพ
   ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถึงแก่กรรมนั้น  ประสงค์จะขอพระราชทานน้ำอาบศพ  และเครื่องประกอบเกียรติศพ  จะต้องปฏิบัติดังนี้
   ๑. จัดดอกไม้ธูปเทียน  ( คือ ดอกไม้ 1 กระทง  ธูปไม้ระกำ 1 ดอก  เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่ม )  วางบนพานพร้อมกับหนังสือกราบถวายบังคมลาตาย  และใบมรณบัตร  นำไปยังแผนกพระราชพิธี  สำนักพระราชวัง  ในพระบรมมหาราชวัง  โดยนำพานเครื่องสักการะพร้อมกับหนังสือกราบถวายบังคมลาตายนี้  วางไว้ที่ข้างหน้าพระบรมฉายาทิศลักษณ์  ( คือ พระบรมรูปของในหลวงรัชกาลปัจจุบัน )  แล้วถวายความเคารพพระบรมฉายาสาทิศลักษณ์
   ๒. เจ้าหน้าที่แผนกพระราชพิธีจะสอบถามรายละเอียดต่างๆ  แล้ว ให้กรอกข้อความลงในแบบพิมพ์เป็นอันเสร็จพิธีขอพระราชทานเพียงนี้
   ๓. หนังสือขอพระราชทานถวายบังคมลาตายนี้  ไม่ต้องลงนาม


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:58:15
แบบหนังสือขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาตาย

                  วันที่ ... เดือน .................... พ.ศ. ....
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
   ดอกไม้ธูปเทียนของข้าพระพุทธเจ้า ..................................... ( ชื่อผู้ถึงแก่กรรม )
.................... เครื่องอิสริยาภรณ์  อายุ .... ปี ข้าราชการ ...........................ชั้น.............
สังกัด .......................................................................
   ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาตาย...........................................................
ด้วยโรค.................ที่.....................................อำเภอ....................จังหวัด .....................
เมื่อวันที่ ..... เดือน .................... พ.ศ. ....   เวลา .................
   ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ขอเดชะ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:58:39
การกำหนดการรับพระราชทานน้ำอาบศพ
......................................................... ( ใส่นามผู้ตายพร้อมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ )
   ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรค ................................... เมื่อวันที่..... เดือน ............... พ.ศ..... เวลา ........ น.
   กำหนดการรับพระราชทานน้ำอาบศพ  วันที่..... เดือน ............... พ.ศ..... เวลา ........ น.  ณ ............................................................
......................................... ( เจ้าภาพ )


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:59:10
การพิมพ์การ์ดกำหนดการรดน้ำศพ
   ถ้าผู้ตายเป็นผู้ใหญ่  หรือเป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฎในสังคม  นิยมพิมพ์การ์ดและลงประกาศแจ้งความทางสื่อสารมวลชน  ซึ่งมีข้อความเพียงสั้นๆ  ดังนี้
หมายเหตุ     คำว่า  “ ได้ถึงแก่กรรม ”  นั้น  นิยมเปลี่ยนไปตามฐานะของผู้ตาย  คือ
   - ได้ถึงแก่อสัญกรรม     - ได้สิ้นชีพตักษัย     - ได้สิ้นพระชนม์  เป็นต้น

ระเบียบปฏิบัติการจัดสถานที่รดน้ำศพ
สถานที่สมควรจัดเป็นที่รดน้ำศพ
   #    การจัดสถานที่รดน้ำศพนั้น  ถ้าศพนั้นเป็นศพของท่านผู้ใหญ่แห่งตระกูล  และบ้านนั้นเป็นบ้านใหญ่โต  มีบริเวรกว้างขวางเพียงพอแก่การตั้งศพบำเพ็ญกุศลได้  ก็นิยมจัดสถานที่รดน้ำศพและตั้งศพที่บ้านเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว  ทั้งเป็นการแสดงความเคารพ  ความจงรักภักดีต่อท่าน  เมื่อยังมีชีวิตอยู่  ลูกหลานเคยมีความจงรักภักดี  มีความเคารพนับถืออย่างไรแม้เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วก็ยังมีความจงรักภักดี  ความเคารพนับถือเป็นอย่างดีไม่เปลี่ยนแปลง  มิใช่ว่าเมื่อท่านสิ้นบุญแล้วพวกลูกหลานก็รีบหาทางเสือกไสไล่ส่งศพของท่านให้ออกไปพ้นเสียจากบ้านเรือนที่ท่านเคยอยู่อาศัย
   #   ถ้าที่บ้านเรือนนั้นไม่ใหญ่โต  ไม่กว้างขวางมีความขัดข้องไม่เหมาะสม  เพราะสถานที่ไม่อำนวย  ก็นิยมนำศพของท่านไปตั้งรดน้ำ  และตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดใดวัดหนึ่งซึ่งอยู่ไกล้บ้าน  หรือวัดที่เหมาะสมแก่ฐานะของท่าน  โดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่แผนกฌาปนสถานของวัด  จะให้เขานำรถวอ  มารับศพที่ไหน  เมื่อไร  เป็นต้น  พร้อมทั้งมอบให้เขาจัดการโดยตลอดรายการ
   #   ถ้าจะจัดสถานที่รดน้ำศพและตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้าน  จะต้องคำนึงถึงสถานที่จะใช้ตั้งศพรดน้ำนั้นว่า  โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย  และเตียงประดิษฐานศพ  จะตั้งที่ไหนจึงจะเหมาะสม  วงศาคณาญาติสนิทมิตรสหายและท่านที่เคารพนับถือทั้งหลายที่มาเคารพศพจะเข้าทางไหน  จะออกทางไหน  สถานที่กว้างขวางเพียงพอหรือไม่  เมื่อพิจารณาโดยถ่องแท้แล้วเห็นว่าไม่ขัดข้องเหมาะสมโดยประการทั้งปวง  พึงจัดสถานที่นั้น  ดังนี้


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 20:59:41
สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
   #   สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น  นิยมตั้งอยู่ด้านศีรษะของศพ  และนิยมตั้งพระพุทธรูปหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  ถ้าสถานที่ไม่อำนวยก็นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ทิศใดทิศหนึ่ง  แต่ไม่นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
   #   โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น  นิยมจัดตั้งไว้  ณ  ที่สูงกว่าเตียงประดิษฐานศพพอสมควร  ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ  ๕  ประการ
   ๑. พระพุทธรูป  ๑  องค์  ( นิยมนำพระพุทธรูปบูชาพระประจำตัวของผู้ตายมาตั้งบูชา  ถ้ามี )
   ๒. กระถางธูป  1  ลูก  พร้อมทั้งธูป  ๓  ดอก
   ๓. เชิงเทียน  1  คู่  ( เป็นอย่างน้อย )  พร้อมทั้งเทียน  ๒  เล่ม
   ๔. แจกัน  ๑  คู่  ( เป็นอย่างน้อย )  พร้อมทั้งดอกไม้
   ๕. โต๊ะรอง  ๑  หมู่  นิยมใช้โต๊ะหมู่บูชามีขนาดใหญ่พอสมควร
   #   นอกจากนี้  นิยมจัดพานดอกไม้ตั้งประดับไว้ด้วย  จำนวนพานดอกไม้ตามความเหมาะสมแก่โต๊ะหมู่บูชานั้น  และเครื่องสักการะบูชาที่โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น  นิยมจัดให้ประณีตที่สุด  ดีที่สุด  เท่าที่สามารถจะหาสิ่งของมาจัดทำได้

วิธีการอาบน้ำศพ
   การอาบน้ำศพนี้  ถือกันว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัวระหว่างญาติสนิท  ไม่นิยมเชิญคนภายนอก  เป็นการอาบชำระร่างกายศพจริงๆ  โดยอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นก่อนแล้วล้างด้วยน้ำเย็น  ฟอกสบู่ขัดถูร่างกายศพให้สะอาด
   เมื่ออาบน้ำศพเสร็จแล้ว  ก็เอาน้ำขมิ้นทาตามร่างกายตลอดถึงฝ่ามือฝ่าเท้า  และประพรมด้วยน้ำหอม  เอาผ้าขาวซับรอยหน้า  ฝ่ามือทั้งสองและฝ่าเท้าทั้งสอง  แล้วมอบให้แก่ลูกหลานของผู้ตายเก็บไว้สักการะบูชา
   เมื่ออาบน้ำชำระร่างกายศพเรียบร้อยแล้ว  ก็แต่งตัวศพตามฐานะของผู้ตาย  เช่น  เป็นข้าราชการ  ก็แต่งเครื่องแบบเป็นต้น  เครื่องแต่งตัวนั้น  นิยมใช้เสื้อผ้าที่สะอาดและใหม่ที่สุดเท่าที่มีอยู่แล้ว
   เมื่อแต่งตัวศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว  จึงอัญเชิญศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอรับการรดน้ำต่อไป


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:00:37
สถานที่ตั้งเตียงประดิษฐานศพสำหรับรดน้ำ
   เตียงประดิษฐานศพสำหรับรดน้ำนั้น  นิยมจัดตั้ง  ณ  สถานที่กว้างๆ  กลางสถานที่นั้น  เพื่อความสะดวกแก่ผู้มาแสดงความเคารพ
   นิยมตั้งเตียงประดิษฐานไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย  โดยตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยไว้ด้านบนศีรษะของศพ
   นิยมตั้งเตียงหันด้านขวามือของศพ  หรือด้านปลายเท้าของศพให้อยู่ทางผู้ที่มาแสดงความเคารพศพ
   ห้ามมิให้ผู้ใดเดินผ่านทางด้านศีรษะของศพ  เพราะถือกันว่าเป็นกิริยาอาการที่แสดงความไม่เคารพต่อศพนั้น
   นิยมจัดร่างศพให้นอนหงายเหยียดยาว  จัดมือขวาให้เหยียดยาวห่างจากตัวเล็กน้อย  โดยจัดมือขวาให้วางหงายแบเหยียดออกคอยรับการรดน้ำ  และเพื่อเป็นการแสดงปริศนาธรรมแก่ผู้มารดน้ำศพทั้งหลาย  ให้เห็นความจริงของชีวิต  คล้ายกับศพนั้นจะพูดว่า  “ นี่แน่ท่านทั้งหลาย  จงดูนะ  ฉันไปมือเปล่านะ  ฉันไม่ได้นำเอาสมบัติอะไร  ( ของมนุษย์ )  ติดมือไปเลยแม้แต่น้อย  และตัวท่านเองก็จักต้องเป็นเช่นเดียวกับฉันนี้เหมือนกัน ”
   นิยมมีผ้าห่มคลุมตลอดร่างศพนั้น  โดยเปิดหน้าและมือขวาไว้เท่านั้น  ผ้าที่ใช้คลุมศพนั้นนิยมใช้ผ้าใหม่ๆ  และโดยมากมักใช้ผ้าแพรห่มนอน
   นิยมจัดเตรียมขันโตก  คือขันพานรองขนาดใหญ่  ตั้งไว้คอยรองรับน้ำที่รดศพนั้น  พร้อมทั้งจัดเตรียมน้ำอบ  น้ำหอมผสมน้ำ  และมีภาชนะเล็กๆ  ไว้สำหรับตักให้แก่ผู้มารดน้ำศพด้วย  พร้อมกับมีบุคคลผู้ใกล้ชิดกับผู้ตาย  หรือลูกหลานคนใดคนหนึ่ง  คอยส่งภาชนะสำหรับรดน้ำให้แก่ผู้มารดน้ำศพที่มิได้เตรียมเครื่องรดน้ำมาด้วย

วิธีการรดน้ำศพ
   ก่อนจะเริ่มพิธีรดน้ำศพนั้น  นิยมให้เจ้าภาพศพจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยก่อน  แล้วจึงเริ่มพิธีรดน้ำศพต่อไป
   นิยมให้พวกลูกหลานวงศาคณาญาติผู้ใกล้ชิดทำการรดน้ำศพเสียก่อนถึงเวลาเชิญ  เพื่อไม่ให้เกิดความคับคั่ง  ไม่เสียเวลารอคอยของท่านผู้มาแสดงความเคารพ
   นิยมมีลูกหลาน  หรือญาติฝ่ายเจ้าภาพ  คอยรับรองแขก  และเชิญเข้ารดน้ำศพ  พร้อมทั้งแนะนำเข้าไปรดน้ำและทางออก  เพื่อความสะดวกไม่คับคั่งกัน
   เมื่อผู้มีเกียรติมาแสดงความเคารพศพหมดแล้ว  นิยมเชิญท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดอยู่ในนั้นเป็นผู้แทนรดน้ำศพด้วยน้ำพระราชทาน  หรือเป็นผู้รดน้ำศพเป็นท่านสุดท้าย
   เมื่อท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ที่นั่น  ได้รดน้ำพระราชทานศพแล้วหรือได้รดน้ำศพแล้ว  ถือกันว่าเป็นเสร็จพิธีรดน้ำศพ  ไม่นิยมให้ผู้ใดผู้หนึ่งรดน้ำศพอีกต่อไป

วิธีการจัดศพลงหีบ
   การจัดศพลงหีบนั้น  นิยมมอบให้เป็นหน้าที่ของสัปเหร่อทำพิธีกรรมต่างๆ  ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ
   ฝ่ายเจ้าภาพนิยมติดต่อสอบถามตกลงกันไว้เรียบร้อยก่อนแล้วเพียงแต่คอยให้ความสะดวกแก่พวกสัปเหร่อเท่านั้น


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:01:19
คำแนะนำการกราบไหว้พระ
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   ในเวลานั่งสวดสรรเสริญพระคุณพระรัตนตรัยนั้น  เป็นการสวดเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า  พระธรรมเจ้า  พระสงฆ์เจ้า  เพราะพระคุณของพระรัตนตรัยนี้  เราจะพรรณนาสักเท่าใดก็ไม่มีหมด
   การไหว้พระพุทธ  ก็เพราะพระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดาผู้มีปรีชา  มีพระปัญญาเลิศ  พระองค์เป็นผู้เล็งรู้ความจริงของโลกทุกอย่าง  พระองค์เป็นผู้ปราศจากความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  พระองค์เป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา  พระกรุณา  เราจึงพากันระลึกถึงพระคุณท่าน
   การไหว้พระธรรม  เพราะพระธรรมเป็นคำสั่งสอนอันดีเลิศ  คุณของพระธรรมคือความสงบ  ทำให้ใจผ่องแผ้วบริสุทธิ์
   การไหว้พระสงฆ์  เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ปฎิบัติดี  ปฎิบัติชอบ  และเป็นผู้ปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  เป็นผู้นำศาสนามา
   การกราบไหว้ต้องตั้งใจด้วยความเคารพจริงๆ  นิยมกราบด้วย  เบญจางคประดิษฐ์  เบญจางคประดิษฐ์นั้น  ได้แก่  การกราบไหว้  โดยนั่งคุกเข่าทั้งสองลงห่างกันประมาณ  1  ฟุต  ประนมมือเสมออก  แล้วก้มลงยื่นฝ่ามือทั้งสองลงพื้น  ให้ข้อศอกทั้งสองข้างเสมอหัวเข่า  อย่าให้กางออกไปนอกหัวเข่า  และให้ชิดหัวเข่า  ฝ่ามือทั้งสองให้นิ้วมิดชิดกัน  อย่ากางนิ้ว  ฝ่ามือห่างกันประมาณ  4 - 5  นิ้วฟุต  เว้นช่องให้หน้าผากก้มลงถึงพื้น  แล้วเงยขึ้นตั้งต้นเหมือนเดิม  กราบไหว้นี้มีองค์ 5  คือ  หัวเข่า 2  ฝ่ามือ 2  กับหน้าผาก 1  จะให้เรียบร้อยตามแบบต้องดูตัวอย่าง  และทำจนตัวเวลากราบไหว้แบบนี้ร่างกายเป็นไปเอง  ไม่ต้องตั้งใจและเกร็งตัวเวลาทำ
   การสวดสรรเสริญและระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า  เป็นการอบรมหน่วงเหนี่ยวคุณงามความดีอันพระองค์ทรงสั่งสอนนั้น  มาล้างดวงใจที่ซ่านให้สงบ  ที่ขุ่นมัวให้ผ่องแผ้ว
   การทำวัตรค่ำก็เหมือนกัน  ทิ้งการสรรเสริญและระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเสียไม่ได้  การทำวัตรค่ำมีการหมอบกราบแล้วกล่าววาจาว่า “ กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ”  เป็นคำกล่าวเพื่อขอขมาต่อพระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์  ในการที่หากว่าเราได้ล่วงละเมิดไปในวันหนึ่งๆ  คนเราถ้าได้ทำอะไรล่วงเกินละเมิดไป  ถ้าได้ขอขมาลาโทษเสีย  ก็เป็นการให้อภัยได้
   การไหว้พระสวดมนต์เป็นอุบายฝึกจิตให้สงบ  ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า  ใช่ไปออกเสียงเป็นภาษามคธ แล้วจะได้บุญ  ในขณะที่ออกเสียงก็ต้องสำรวมให้อยู่ในวงของบทที่ว่านั้นด้วย  นี่แหละ!  อุบายฝึกจิตให้เกิดสมาธิ  ยิ่งแปลรู้เรื่องชวนให้ใจเลื่อมใส  เกิดความพอใจในการสวด
   ทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ได้แปลไว้แล้ว  ต้องการทราบเรื่องหาดูได้  ฉะนั้น  จึงควรอุตสาหะในการทำวัตรเช้า  เย็น  อย่าเกียจคร้าน  จะได้พอกพูนบุญกุศลให้เจริญยิ่งๆขึ้นในสันดาน


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:01:45
คำแนะนำการรับประเคนที่ถูกต้อง
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   ต่อไปนี้จะว่าด้วยเรื่อง  “ การประเคน ”  ผู้ที่บวชเป็นภิกษุเสร็จ  การที่ต้องปฎิบัติตามพระวินัยก็มาถึงทันที  การประเคนมีบัญญัติไว้ในสิกขาบทที่ ๑๐  แห่งโภชนวรรคว่า  ภิกษุกลืนกินอาหารที่ยังไม่มีผู้ให้ ( ประเคน ) ต้องอาบัติปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่น้ำกันไม้สีพัน  หมายถึงน้ำเปล่าที่ไม่มีอะไรเจือปน  ถ้ามีอามิสเจือ  เช่น  น้ำส้ม  น้ำชา  น้ำยาอุทัย  ต้องประเคน  ไม้สีพันเป็นก้านไม้อ่อนๆ  หรือเปลือกไม้  เช่น  ก้านโสม  เปลือกข่อย  แต่ก่อนยังไม่มีแปรงสีพัน  พระก็เอาก้านไม้อ่อนๆ  หรือเปลือกไม้ดังกล่าวมาเคี้ยวให้แหลก  แล้วใช้สีพันแทนแปรงและยาสีฟันไปในตัว  ได้ยินว่าทำให้ฟันสะอาดและได้รับการบริหารฟันเป็นอย่างดีมีคุณ  สีเสร็จแล้วก็คลายทิ้ง  ไม่ได้กินเหมือนอาหาร  แต่ยาสีฟันอย่างปัจจุบันนี้ที่เป็นหลอดหรือเป็นห่อต้องประเคน  เข้าในลักษณะเภสัชอย่างหนึ่ง  เพราะเป็นยาเครื่องรักษาฟัน
   คำว่า  “ ประเคน ”  เป็นภาษาเขมร  แปลว่า  “ ให้ ”  แต่คำว่าประเคนนี้  การใช้ของเราเป็นที่เข้าใจและใช้กันเฉพาะในวงการพระ  ไปใช้ในพวกคฤหัสถ์ด้วยไม่เคยมี  ข้อบังคับเฉพาะที่ต้องให้ด้วยมือรับด้วยมือ  หรือเรียกกันว่าประเคนนั้น  จำกัดเฉพาะประเภทอาหารและหมากพลูบุหรี่  อย่างอื่น  เช่น  ผ้า  จาน  ช้อนส้อม  เป็นต้น  ไม่ต้องประเคน  เพราะไม่ใช่อาหารที่เกี่ยวกับการกลืนกินให้ล่วงลำคอ  เข้าให้ด้วยวาจา  ว่านิมนต์หยิบเอาใช้ได้  เช่นนี้ภิกษุหยิบเอาใช้ได้ไม่ต้องประเคน  แต่มีข้อยกเว้นว่า  เนื้อดิบ  ปลาดิบ  รับประเคนไม่ได้
   การรับบิณฑบาตต้องรับเมื่อได้อรุณแล้ว  ถ้าอรุณยังไม่ได้เป็นอาบัติปาจิตตีย์  ที่เป็นเช่นนี้ถือว่าเมื่อเวลายังไม่ได้อรุณ  ยังไม่เป็นวันใหม่  การบิณฑบาตเป็นการรับอาหารไว้ค้างคืน  จึงเป็นอาบัติ


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:02:28
การประเคนต้องประกอบด้วยองค์  ๕  จึงจะถือว่าเป็นการประเคนที่ถูกต้อง
   ๑.  น้ำหนักสิ่งของที่ถวาย  ต้องพอแก่กำลังของผู้ถวาย  ถ้าเป็นสิ่งของมีน้ำหนักเกินไป  เช่นต้องใช้คน  ๒-๓  คนยก  เช่นนี้รับประเคนไม่ขึ้น  แต่ถ้าเป็นสตรีอ่อนแอจะให้บุรุษช่วยยกบ้างก็ได้  เคยพบตัวอย่างคือการประเคนอาหารเวลาทำบุญเลี้ยงพระ  วางอาหารบนโต๊ะใหญ่ๆ  จนยกไม่ได้หรือยกไม่ไหว  หรือบางทีวางไว้บนผ้าขาวที่เรียกว่าผ้าปูโต๊ะเสร็จแล้ว  มีคนจับมุมโต๊ะหรือที่มุมชายผ้า  ให้พระจับโต๊ะหรือผ้า  ถือว่าเป็นการประเคนให้พระ  เช่นนี้ไม่ถูก  ประเคนไม่ขึ้นใข้ไม่ได้  ยังมีวิธีประเคนอีกอย่างหนึ่ง  คือให้พระรับประเคนเสียจานหนึ่ง  ถ้วยหนึ่ง  หรือชามหนึ่ง  แล้วจับจาน  ถ้วย  หรือชามอื่นๆ  ที่ใส่อาหารเลื่อนเอามาให้ติดกันไปกับภาชนะที่พระจับ  ถือว่าเป็นการประเคนแล้ว  เช่นนี้ไม่ถูก  เพราะการประเคนไม่ใช่กระแสไฟฟ้าจะแล่นไปถึงกันได้  เป็นความเข้าใจผิดหรือมักง่ายของคนประเคน เพราะการยกของนั้นไม่เป็นกิจจะลักษณะ
   ๒.  ผู้ให้กับผู้รับต้องอยู่ในหัตถบาส  คำว่า  หัตถบาส  แปลตามศัพท์ว่า  บ่วงมือ  ดูจะใช้เป็นการวัดขนาดยาว  คือระหว่างผู้ให้กับผู้รับห่างกัน  ถ้าคะเนตั้งแต่หัวไหล่แขนขวาถึงหัวไหล่แขนซ้าย  โดยเอามือประสานกัน  นับแต่หัวไหล่มือขวาถึงหัวไหล่มือซ้ายกางออกตามด้านตรง  ก็คงจะได้ราวสองศอกคืบ  ฉะนั้นท่านจึงกำหนดเป็นมาตราไว้ในระยะสองศอกคืบ  ถ้ากะให้พอเหมาะแล้ว  ผู้ถวายนั่งกินเนื้อที่เสีย  ๑  ศอก  เหลือนับระยะห่างกับผู้ถวาย  ๑  ศอกกับ  ๑  คืบ  ผู้ถวายเข้ามาอยู่ในระยะนี้พอเหมาะ  ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป  ถือว่าเป็นการสมควร  ระยะดังกล่าวนี้คิดตามมาตราช่างไม้  ยังเหลือระยะห่างจากผู้รับกับผู้ถวายอีก  ๗๕  เซนติเมตร
   ๓.  อาการที่ให้ของต้องน้อมลงและยกให้ปรากฏ  คือ  หมายความว่าของที่ให้นั้น  ต้องถูกน้อมลงและยกให้ปรากฏ  ให้เป็นกิจจะลักษณะในเชิงยกให้  ไม่ใช่จับเสือกๆ  ส่งๆ  ให้  การถือของจะถือจับสองมือ  หรือมือเดียวก็ได้  เคยพบในหนังสือธรรมบท  นิยมจับสองมือยกให้  การยกของอย่ายกให้สูงเกินไปนัก  ต้องยกให้พอเหมาะแลดูงาม  เคยพบตัวอย่าง  เช่นในเวลาถวายของพระสวดแจงหรือถวายเครื่องดื่ม  น้ำชาแก่พระมากๆ  ผู้ประเคนมักจะยกถาดหรือสิ่งของไปตรงหน้าพระแล้วส่งให้เฉยๆ  บางทีพูดว่านิมนต์ขอรับ  เช่นนี้พระจะรับไปยังไม่ได้  เพราะเข้ายังมิได้น้อมของให้  ต้องให้เขาน้อมหรือยกของเฉพาะอันหนึ่งให้เป็นกิจจะลักษณะ  เช่น  เขายกเครื่องดื่มที่ใส่แก้วไปส่งให้ทั้งถาด  พระต้องจับถาดแล้วหยิบเอาแก้วหนึ่งหรือให้เขาวางถาดลงหยิบเอามาให้เฉพาะแก้วหนึ่ง  จึงจะได้  การประเคนของให้พระแบบมักง่ายของคนให้  และพระก็มักง่ายรับเช่นกัน  ไม่ถูกไม่ดีทั้งนั้น
   ๔.  ผู้ประเคน  เป็นสตรีก็ได้เป็นบุรุธก็ได้  ประเคนให้ด้วยกายก็ได้  ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้  ถ้าเป็นสตรีประเคนให้  พระรับด้วยของเนื่องด้วยกาย  เช่น  ผ้า  บาตร  ปิ่นโต  เป็นต้น  ส่วนบุรุธเอามือรับได้ทีเดียว
   ๕.  การรับ  รับด้วยตนเอง  หรือของเนื่องด้วยตน  หมายความว่าเราจะรับด้วยมือเราก็ได้  สตรีประเคนบังคับว่าต้องรับด้วยผ้า  จะรับด้วยมือไม่ได้  ผ้าที่จะใช้รับ  ใช้ผ้ากราบเป็นดีที่สุด  เพราะสะอาดดี  แต่ถ้าจำเป็นใช้ผ้าเช็ดหน้า  หรือแม้ที่สุดชายจีวรก็ได้  การจับผ้ากราบต้องหงายมือ  วางผ้าทางด้านหน้าที่ถูกพับไปข้างหน้า  ปล่อยชายทบเข้ามาหาตัว  จับผ้าจะจับมือเดียวหรือสองมือก็ได้  แต่ต้องให้เรียบร้อย  แต่การจับสองมือน่าดูกว่า  บุรุธต้องรับด้วยมือ
   การประเคนต้องประกอบด้วยองค์  ๕  ดังกล่าวมา  จึงจะถือว่าเป็นการประเคนที่ถูกต้อง  การประเคนให้ซึ่งหมายในที่นี้จำเพาะอย่างยิ่งคืออาหาร  การชักบังสกุลไม่ใช่การประเคน  จึงใช้ของที่ไม่จัดเข้าในประเภทอาหารเช่นผ้าเท่านั้น  บางคราวเคยเห็นใช้ซองปวารณาก็มี  ไม่ตรงความหมายของคำว่าบังสกุล  เพราะคำนี้หมายถึงผ้าเท่านั้น
   สมมติว่ามีคนเอาใบชาไปวางให้พระชักบังสกุล  พระจะชักบังสกุลได้หรือไม่  ชักบังสกุลไม่ได้เพราะชาจัดเข้าในประเภทอาหาร  จึงชักบังสกุลไม่ได้  เพราะยังไม่มีการยกขึ้นน้อมประเคนตามที่กล่าวมาแล้ว  ของที่เขายังไม่ประเคนเช่นนี้  พระไปยกจับขึ้นเองเป็นอาบัติทุกกฎ  ดังนั้น  ต้องจำเวลาเข้าบ้าน  ถ้าที่คับแคบจะเดินไม่พ้น  อย่าไปจับของที่จะต้องประเคน  เช่นพานหมากเสียเองเป็นอาบัติ
   พูดง่ายๆ  ให้เข้าใจ  คำว่า  “ อาหาร ”  หมายถึงของที่พึงกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปได้  ไม่ใช่หมายแต่ข้าวปลา  ขนม  หรือผลไม้เป็นต้นเท่านั้น  ของกินอย่าไปยกขึ้นก่อนประเคนไม่ได้


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:02:53
คำแนะนำ  “ การปลงอาบัติสงฆ์ ”
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   ต่อไปจะว่าด้วยเรื่อง  “ ปลงอาบัติ ”  คำว่าอาบัติ  แปลว่า  ล่วงละเมิด  หมายความว่า  ภิกษุทำความผิดละเมิดต่อวินัยบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นโทษ  เรียกว่าต้องอาบัติ  อาบัติมีลักษณะต่างๆกัน  คือ  หนัก  และ  เบา  โดยลำดับ
   ๑.  ปาราชิก     มี  ๔  อย่าง  คือ   -เสพเมถุน   -ลักของเขาราคาตั้งแต่ห้ามาสกขึ้นไป   -ฆ่ามนุษย์นอกครรภ์ในครรภ์   -อวดธรรมอันสูงถึงฌานสมาบัติ  เมื่อภิกษุต้องแล้ว   แก้ไขไม่ได้  มีอันต้องสึกโดยส่วนเดียว  แม้สึกแล้วไปบวชใหม่ก็บวชไม่ขึ้น
   ๒.  สังฆาทิเสส   มี  ๑๓  อย่าง  ยกขึ้นพูดเฉพาะที่ภิกษุอาจต้องเข้าง่ายๆ  เช่น  ตั้งใจหรือแกล้งให้น้ำอสุจิเคลื่อน  จับต้องกายหญิงด้วยราคะกำหนัด  ไม่มีเจตนาบังเอิญไปถูกการหญิงเข้าไม่เป็นอาบัติ  พูดเกี้ยวหญิงกระทบถึงเมถุนธรรม  นอกจากนี้มีอยู่แล้วในหนังสือนวโกวาท  สังฆาทิเสสต้องเข้าแล้ว  จะปลงกันอย่างปกติไม่ได้  ต้องอยู่กรรม  เมื่อต้องเข้าแล้วต้องแจ้งให้ภิกษอื่นทราบทันที  เมื่อมีโอกาสจึงไปอยู่กรรม  ถ้าแจ้งช้าไปกี่วันต้องอยู่กรรมเป็นพิเศษเท่าจำนวนวันที่ไม่แจ้ง
   ๓.  ถุลลัจจัย   ปาจิตตีย์   ปาฎิเทสนียะ  ทุกกฎ  ทุพภาษิต  ทั้งห้าอย่างนี้  ต้องเข้าแล้ว  ให้ปลงอาบัติกับภิกษุด้วยกัน  ก็เป็นอันพ้น  ส่วนอาบัติ  ปาจิตตีย์ที่เป็นนิสสัคคีย์ด้วย  ต้องทำพิธีเสียสละก่อน  จึงปลงอาบัติตก  เช่น  ผ้าไตร  จีวร  ครองเป็นนิสสัคคีย์  ถ้ายังไม่ได้สละ  เอาผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ไปใช้  ต้องอาบัติทุกกฎทุกครั้งที่ใช้
   การปลงอาบัติ  เป็นการแสดงความชั่วที่พระได้ละเมิดวินัยมานั่นเอง  พระถ้าทำอะไรผิดต้องแจ้งให้เพื่อนภิกษุทราบและรับว่าจะสังวรต่อไป
   การปลง  คือ  พระที่ต้องอาบัติแจ้งแก่ภิกษุ  แล้วภิกษุนั้นถามว่า  เธอเห็นหรือ  พระรูปนั้นรับว่าเห็น  ภิกษุนั้นก็เตือนว่า  อย่าทำต่อไป  อันนี้เป็นการเปิดเผยความชั่ว  คนเราถ้าทำอะไรอันเป็นความชั่วแล้วสารภาพเสีย  ย่อมถือว่าเป็นผู้ซื่อตรง
   การปลงอาบัติไม่มีเงื่อนไขว่า  จะต้องปลงกะภิกษุกี่รูป  จะปลงกะสงฆ์กะคณะคือพระ  ๒-๓  รูปก็ได้  หรือจะปลงกันตัวต่อตัวก็ได้  แต่การที่จะปลงต่อสงฆ์มักเป็นเรื่องที่ภิกษุละเมิดวินัยอันมีความไม่สมควรมาก  ตามธรรมดาก็ปลงกันตัวต่อตัว  ผู้ที่ปลงอาบัติต้องเป็นภิกษุด้วยกัน  คนอื่นห้าม  ภิกษุที่รับปลงอาบัติแล้ว  ก็ต้องไม่เปิดเผยแก่คนอื่น  นอกจากในหมู่ภิกษุด้วยกัน  หากไปเปิดเผยแก่คนที่ต้องห้าม  เป็นอาบัติอีกต่อหนึ่ง
   ในกรณีที่ภิกษุหลายรูปต้องอาบัติในเรื่องเดียวกัน  ดังเช่นที่กล่าวถึงมาแล้วเรื่องทำอุโบสถ  ภิกษุในวัดไม่ทำอุโบสถสวดปาฎิโมกข์ทั้งวัด  ถูกปรับอาบัติหมดทุกรูปเหมือนกัน  ในวัตถุอันเดียวคือไม่ทำอุโบสถ  เช่นนี้  ท่านห้ามไม่ให้ปลงในพวกเดียวกัน  อาบัติอย่างนี้เรียกว่า  “ สภาคาบัติ ”  แปลว่า  อาบัติมีส่วนคือความผิดเหมือนกันต้องปลงในสำนักภิกษุอื่นผู้ไม่ต้องอาบัติเช่นนั้น  ครั้นแล้วจึงให้ภิกษุรูปอื่นที่ต้องสภาคาบัติแสดง  คือปลงในสำนักของภิกษุนั้นอีกต่อหนึ่ง  ที่แรกห้ามไม่ให้ปลงในพวกเดียวกัน  คงถือว่าเป็นกรณีที่คนมากทำผิดร่วมกัน  ถ้าปล่อยให้ปลงง่ายนักจะเคยตัว


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:03:17
องค์คุณ  ๕  เครื่องวัดพระธรรมวินัย
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๘  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   การปฎิบัติพระธรรมวินัยนั้นต้องมีธรรมเป็นกำลังอยู่บ้าง  ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดความอึดอัดใจเบื่อหน่าย  เห็นเป็นการขัดต่อความสะดวกสบายของตน  ซึ่งเคยมาแต่คราวเป็นคฤหัสถ์  ถ้ามีธรรมเป็นกำลังอยู่บ้างจะช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียด  อึดอัดใจลงได้บ้าง
   ข้อสำคัญในการปฎิบัติในพระวินัยของพระบวชใหม่นั้น  ขั้นต้นควรตั้งใจถือศีล  ๒  อย่างก่อน  คือรู้ว่าเป็นอาบัติไม่ทำอย่างหนึ่ง  ก็พอรักษาตัวได้กว่าจะรู้ในข้อที่ทรงห้ามและข้อที่ทรงอนุญาตดีแล้ว  ผู้บวชแล้วถือวินัยอย่างเดียวไม่ได้  อึดอัดใจเหมือนมัดมือมัดเท้า  ต้องถือธรรมด้วยกลมเกลียวกันไป  จะได้ช่วยทำใจให้ดี  เมื่อใจดีแล้ว  แต่นั้นกายวาจาก็ดี   พระวินัยนั้นสอนให้ปฎิบัติดี   ทางกายวาจา  ทางใจ  เป็นหน้าที่ของธรรมปฎิบัติ
   มีธรรมอยู่หมวดหนึ่งซึ่งช่วยในการปฎิบัติพระธรรมวินัยได้ดี  มี  ๕  อย่าง  เป็นเครื่องวัดการปฎิบัติพระวินัย  ถ้าคุณ  ๕  บกพร่องมากนัก  ก็แสดงว่าการปฎิบัติพระวินัยของผู้นั้นย่อหย่อนมาก  ถ้าองค์คุณเหล่านี้มีบริบูรณ์ดี  ก็แสดงว่าผู้นั้นปฎิบัติในพระวินัยสมบูรณ์ดี


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:04:05
องค์ธรรมเครื่องประกอบ  ได้แก่
   “ อัปปิจฉตา ”   ความเป็นผู้มักน้อย  เช่น ภิกษุมีปัจจัยลาภมาก  ก็แบ่งปันให้ผู้อื่นกินใช้บ้าง  เอาไว้แต่พอกินพอใช้  ไม่มักมากอยากใหญ่  ความมักมากเมื่อสะกดไว้ไม่อยู่  จะกลายเป็นปาปิจโฉ  ความอยากลามก  โดยอยากได้  อยากดี  อยากรวย  อยากเด่น  อยากดัง  ในทางที่ผิดวินัย  ทำให้สมณวิสัยผุกร่อน  เพราะอิจฉาปะกะโต  ความอยากครอบงำ  จิตใจก็มืดและเต็มไปด้วยความอยากอันลามก  เพียงเพื่อประสงค์ลาภสักการะเป็นต้น  ออกวิธีตลกลวงโลกด้วยความเป็นผู้วิเศษต่างๆ  เหมือนลูกโป่งเต็มไปด้วยลม  เมื่อมีมากเกินขนาด  อำนาจแห่งความอยากย่อมทำให้ถึงความพินาศแห่งสมณเพศ  ดุจลูกโป่งต้องแตกโพละ  ฉะนั้น
   “ สันตุฏฐิตา ”  ความเป็นผู้สันโดษ  ก็คือความยินดีพอใจตามที่มีที่เป็นได้  ถ้าเป็นพระก็คือเรื่องปัจจัยสี่  จะมีจะได้อย่างไร  มากน้อยเท่าไร  ก็ยินดีพอใจเท่านั้น  ไม่ทะเยอทะยานแสวงหาในทางที่ผิดวินัย  ถ้าในทางที่วินัยห้ามแล้ว  แม้จะทำให้ได้มี  จะดีจะมากสักเพียงใรก็ไม่ยินดี  ความไม่สันโดษ  เป็นเหตุให้พระประพฤติผิดวินัยได้ต่างๆ  ตั้งแต่ที่มีโทษอย่างเบาจนถึงที่มีโทษอย่างหนักได้  ในวินัยบัญญัติปรากฎว่า  พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้หลายข้อ  เพราะความไม่สันโดษของพระ
   “ หิริมตา ”  ความเป็นผู้ละอาย  เป็นดุจเกราะที่หุ้มกำบังมิให้สมณภาพต้องเป็นอันตรายเพราะศีลวิบัติ  เสียความเป็นสมณะ  ท่านว่าหิริ  ความละอายเป็นสมุฏฐานที่ตั้งแห่งศีล  ศีลจะอยู่ก็เพราะความละอาย  ศีลจะไปก็เพราะความไม่ละอาย  ลงได้ไม่ละอายเสียอย่าง  ความชั่วอะไรก็ทำได้  ศีลเล็กศีลใหญ่ถูกย่ำยีได้ราบเป็นหน้ากลอง  เหมือนรถบดถนน  ก้อนอิฐก้อนหินใหญ่น้อยก็ถูกบดราบไปฉะนั้น  พระเถระแต่ปางก่อนมีพระมหากัสสปเถระเป็นต้น  เมื่อสิ้นเสร็จการสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว  ได้ประกาศในที่ประชุมว่า  ในอนาคตภิกษุลัชชี(ผู้มีความละอาย)  จักรักษาพระธรรมวินัย  ภิกษุอลัชชี(ผู้ไม่มีความละอาย)  จักทำลายพระธรรมวินัย  ข้อนี้จะมีจริงหรือไม่  มีตัวอย่างให้ดูได้แม้ในปัจจุบันนี้แล้ว


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:04:28
“ กุกกุจจปกตตา ”  ความเป็นผู้มักรังเกียจสงสัย  การรักษาพระธรรมวินัยเป็นของยาก  เหมือนประคองน้ำบนใบบัว  เงื่อนไข  ข้อแม้  ในวินัยเล่าก็มีมากสลับซับซ้อน  สุขุม  ละเอียดอ่อน  จะควรไม่ควรอย่างไร  ต้องระวังใส่ใจมักง่ายไม่ได้  ความรังเกียจสงสัยในที่นี้  มิได้หมายถึงรังเกียจคนหรือปัจจัย  แต่รังเกียจสงสัยในการปฎิบัติตามพระวินัยว่าจะผิดหรือไม่  เมื่อไม่แน่ใจให้สอบถามผู้รู้ก่อน  อย่าเพิ่งทำลง  เช่น  รับประเคนน้ำชาไว้แล้ว  ภายหลังสงสัยว่าจะมีใครมาจับต้องหรือเปล่า  ท่านให้ประเคนเสียใหม่  ถ้าสงสัยแล้วขีนทำลงไป  ถึงไม่ผิดวินัยจริง  ก็ถูกปรับอาบัติฐานสงสัยแล้วขืนทำ  คุณข้อนี้จึงช่วยให้การปฎิบัติวินัยรอบคอบดีขึ้น  ไม่มักง่ายตามใจตัวหรือความเคยตัว  พระบวชใหม่ยังไม่รู้วินัยทั่วถึง  เมื่อมีคุณข้อนี้จะช่วยให้รักษาวินัยรอบคอบดี  อย่าตีความหมายพระวินัยเข้าข้างตัว  ด้วยมุ่งมั่นความสะดวกสบายของตัว  จะกลายเป็นพระชั่วไปเสียง่ายๆ
   “ สิกขากามตา ”  ความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา  หมายความว่า  สนใจในการหาความรู้ในพระวินัยอยู่เนืองนิตย์พร้อมกับการปฎิบัติตามไปด้วย  คำว่า  ศึกษาในที่นี้  จึงต้องรวมถึงการเรียนให้มีความรู้ด้วยและประพฤติตามด้วย
   เพราะฉะนั้น  พระใหม่ที่บวชเข้ามาด้วยศรัทธา  พึงปลูกความยินดีเต็มใจที่จะรับปฎิบัติตามพระวินัยดุจรับพวงมาลัยทองคำที่เขามอบให้ฉะนั้นเถิด  อย่าได้อิดหนาระอาใจ  การที่สามารถรักษาพระวินัยได้ดี  เป็นเครื่องแสดงคุณธรรมในใจของตน  คือ  ขันติ  ความอดทน  วิริยะความเป็นผู้กล้า  เสียสละความที่เคยสุขสะดวกสบายของตนมาแต่ก่อน  อุทิศแรงกาย  แรงใจ  อุตสาหะ  ปฎิบัติตามไม่ท้อถอยไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นชายชาวพุทธ  ได้มีโอกาศบรรพชาอุปสมบท


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:05:00
คำแนะนำ   “ โคจร  -  อรุณ  -  พินทุ ”
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่ 10 กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   คำว่า “ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาฎิโมกข์ ”  นั้น  หมายความสำรวมเพียงในสิกขาบทที่มาในพระปาฎิโมกข์คือ  ศีล  ๒๒๗  ข้อ  แคบเข้ามา  มรรยาทหมายถึงกิริยาวาจาที่เรียบร้อยตามสมณวิสัย  แต่ไม่ได้ตั้งใจไว้เป็นวินัย  เพราะบางอย่างไม่ผิดวินัย  แต่ผิดมารยาทสังคมก็มีโทษต้องติเตียน  พระนั้นไม่ใช่แต่อยู่ในวินัยแต่อย่างเดียว  ยังต้องอยู่ในมารยาทดีงามด้วย  โคจรหมายถึงสถานที่ควรไปไม่ควรไป
   สถานที่ไม่ควรไปเรียก  อโคจร  มีทั้งที่เป็นสถานที่เช่น  ร้านสุรา  สถานที่ที่มีบุคคลพลุกพล่าน  เช่น  ตลาดนัดสวนจตุจักร  พระจะไปเดินเบียดเสียดกับเขาไม่ควร  ยังมีสถานเป็นอโคจรอื่นๆอีก  ส่วนบุคคลนั้น  คือสำนักหญิงเพศยา  หญิงม่าย  สาวเทื้อ ( สาวแก่ )  ภิกษุณี ( เวลานี้ไม่มี สำนักนางชีโดยอนุโลม )  บัณเฑาะก์ ( คือกระเทย )  ท่านห้ามไม่ให้ไปคลุกคลี  ไปเป็นกิจจะลักษณะเช่น  เขาทำบุญนิมนต์ไปสวดไปฉันได้  ในปัจจุบันเกิดมีการแปลงเพศผู้ชายทำให้เป็นผู้หญิงก็ได้  บุคคลประเภทนี้ท่านก็ห้ามมิให้ไปคลุกคลีเช่นกัน  ไม่ระวังเรื่องโคจรย่อมทำให้คนอื่นพบเห็นติเตียนได้  ภิกษุที่ชื่อว่ารักษาตัวดีต้องถึงพร้อมด้วย  ศีล  อาจาระ  โคจร  อย่างนี้  ท่านว่าเป็นศรีสง่าของพระศาสนา  เหมือนเครื่องประดับอันมีค่า  ควรแก่การยกย่องนับถือบูชา
   คำว่า  “ อรุณ ”  เป็นชื่อเรียกแสงอาทิตย์แรกขึ้นสีแดงเรื่อๆ  อรุณมีความเกี่ยวข้องกับวินัยหลายข้อ  เช่น  การรักษาผ้าไตรจีวรครอง  มิให้ล่วงราตรี  รักษาอดิเรกจีวรมิให้ล่วง  ๑๐  วัน  การนอนร่วมกับอนุสัมปันเกิน  ๓  คืน  การรักษาเขตจำพรรษา  การเก็บอดิเรกบาตรมิให้เกิน  ๑๐  วัน  และยังมีอีกหลายสิกขาบทที่เกี่ยวแก่การนับราตรี  ถือเอาสำคัญตอนอรุณขึ้น


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:05:29
อรุณนั้นมี  ๔  คือ 
๑.ที่แรกสีขาวเหมือนสีเงินยวง  สียังสลัวชื่อ เสตารุณ 
๒.ต่อมาสีแดงเจือสีเหลืองทองคำ  ค่อยชัดขึ้นชื่อ ตัมพารุณ
๓.ต่อมาสีทองคำขาว  สีผ่อง  ค่อยหายสลัวชื่อ โอทาตารุณ
๔.สว่างกระจ่างแจ้งเห็นหน้ากันชัดเจน  จนเห็นรอยยิ้มบนใบหน้าได้แม้อยู่ห่างกัน  ๑๒  ศอกชื่อ นันทมุขี
   จึงชื่อว่าเป็นวันใหม่  การปลงกรรมก็ดี  สำหรับผู้อยู่ปริวาสกรรม  การฉันอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งตามวิกาลโภชนสิกขาบทก็ดี  ให้อรุณที่  ๔  ขึ้นเสียก่อนไม่เช่นนั้นยังไม่พ้นวันเก่า  ต่อถึงข้อที่สี่เห็นหน้ากันปรากฎตามกำหนดใกล้ไกลชั่ว  ๑๒  ศอก  เป็นกาลเข้าเขตวันใหม่อย่างภิกษุผู้รักษาผ้าครอง  ต้องให้อรุณดังกล่าวขึ้นเสียก่อน  จึงเปลื้องผ้าให้พ้นกายออกไปนอกเขตรักษาได้  ภิกษุที่อยู่ในอุโบสถที่ผูกสีมาแล้ว  ถือเอาสีมานั้นเป็นเขตอยู่ปราศจากไตรจีวรได้  แม้จะห่างตัวก็ไม่เป็นไร  เพราะสงฆ์สมมติพื้นที่สีมาเป็นแดนจีวราวิปลาส  คือไม่ถือว่าเป็นแดนอยู่ปราศจากไตรจีวรเหมือน
   นอกจากนี้  พระที่จะออกไปบิณฑบาตนอกวัด  ต้องสังเกตุอรุณให้ดีคอยจนได้อรุณ  ดังกล่าวจึงออกไปจากเขตจำพรรษา  มิฉะนั้น  พรรษาขาด  ถูกปรับอาบัติทุกกฎ  ถ้ารับบาตในเวลานี้  คือยังไม่ได้อรุณตามนี้  ถูกปรับอาบัติปาจิตตีย์  เพราะยังเป็นวิกาลอยู่ในวันเก่า  เป็นการรับไว้ค้างคืน  พระที่ออกไปรับบิณฑบาตดึกๆ  ต้องระวัง  แต่การกำหนดอรุณนี้  ไม่สะดวกเสมอไป  บางวันอากาศมืดครึ้มใช้านาฬิกาดี


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:05:54
ต่อไปเป็นเรื่องการพินทุ  อธิษฐาน  เกี่ยวกับเรื่องผ้า  เพราะสมัยนี้พระมักจะได้ผ้าบ่อย  พระใหม่ก็อาจได้  จึงควรรู้  จะได้ป้องกันตนให้พ้นอาบัติโทษ
   คำว่า  “ พินทุ ”  แปลว่า  หยดน้ำเป็นเม็ดกลมๆ  ขนาดเท่าถั่วเขียว  ไม่มีอากาศอยู่กลาง  ถ้ามีหยดน้ำเช่นนี้มีแวว  พิธีทำพินทุท่านทำให้เฉพาะผ้าสังฆาฎิ  อุตตราสงค์ ( จีวร )  อันตรวาสก ( สบง )  ซึ่งเป็นผ้ามีขอบ  เรียกผ้าอนุวาด  คือขอบชายผ้าที่มีผ้าประกบ  การพินทุต้องทำนอกขอบผ้านั้น  บัดนี้นิยมทำตรงมุมที่พ้นขอบผ้านั้นออกมา  จะทำบนพื้นผ้าสี่เหลี่ยมที่เขาเย็บไว้ทำรังดุมไม่ได้  พื้นที่นอกจากนั้นตามที่กล่าวมาแล้ว  จะทำที่ไหนก็ได้  ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทำตรงมุมผ้า
   สิ่งที่ใช้ทำพินทุตามวินัยบัญญัติ  คือสีดำ  สีตม  และสีเขียว  สีอื่นไม่นิยมใช้จำใช้ดินสอดำ  หรือปากกาหมึกดำ  ก็ได้  ดินสอดำดีกว่าหมด  เหตุที่ต้องทำพินทุ  ก็เพราะพระถูกโจรลักผ้าจีวรไปแล้ว  ภายหลังเจ้าหน้าที่จับผู้ร้ายได้พร้อมของกลาง  จึงให้ภิกษุเจ้าของผ้าที่หายไป  ดูของๆตน  แต่ภิกษุต่างจำผ้าของตนไม่ค่อยได้  ปะปนสับสนกัน  พระพุทธองค์ทรงทราบจึงทรงบัญญัติเป็นวินัย  ให้ภิกษุทำเครื่องหมายที่เครื่องนุ่งห่มของตน  คือพินทุเสีย  ถามว่าทำไมจึงไม่ให้เขียนชื่อของตนแทนพินทุ  คงเป็นด้วยสมัยนั้นหาพระที่รู้หนังสือยาก  จึงทรงให้กระทำเพียงเครื่องหมาย  ถ้าจะแบบแกงไดคือ  ตีนกาขีดกากบาทก็คงได้
   นอกจากนี้  การทำพินทุ  มีความประสงอีกอย่างหนึ่งเป็นการทำให้เสียสี  คือขาดความงาม  ต่อไปขโมยจะได้ไม่เอา  แม้การที่ทำจีวรเย็บเป็นกระทงเหมือนคันนาตัดผ้าออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย  ก็มุ่งมิให้เป็นที่โจรปราถนา  แต่เวลานี้ก็ไม่แน่  เพราะจีวรใหม่ขายได้ราคา


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:09:27
สำหรับ บทสวดมนต์ รวมรวมโดย sithiphong

สิ้นสุดแต่เพียงเท่านี้

ทั้งหมดที่ผมได้โพสลงในกระทู้บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong     ในหมวดห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม   เว็บ http://www.sookjai.com/index.php?action=forum (http://www.sookjai.com/index.php?action=forum)

ผมเองได้พิมพ์และทำเป็นรูปเล่ม ทำเป็นหนังสือสวดมนต์ส่วนตัว  แต่ต่อมาผมก็ได้นำมาลงในหลายเว็บ  เพื่อเป็นธรรมทานครับ

หากท่านใดมีบทสวดมนต์อื่นๆ  นำมาลงเพิ่มเติมได้อีกครับ

ขอบคุณครับ

.


หัวข้อ: Re: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
เริ่มหัวข้อโดย: somchailove3 ที่ 31 สิงหาคม 2555 00:44:09
ขอบคุณมากๆครับ