[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ใต้เงาไม้ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 25 กันยายน 2561 17:18:10



หัวข้อ: กถาสริตสาคร วรรณกรรมภาษาสันสกฤตที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่มหนึ่งของอินเดีย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 กันยายน 2561 17:18:10

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32732339037789__3585_3606_3634_1_.jpg)
กถาสริตสาคร

กถาสริตสาคร เป็นวรรณกรรมภาษาสันสกฤตที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่มหนึ่งของอินเดีย เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ แต่งโดยนักปราชญ์ชาวกัศมีร์ ชื่อ โสมเทวะ

คำว่า “กถาสริตสาคร” หมายถึง "มหาสมุทรแห่งสายน้ำของเรื่องเล่าต่างๆ"  เป็นที่รวมกระแสนิยาย” หรือ “ทะเลนิยาย” เนื่องมาจากวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นที่รวบรวมนิยาย นิทาน และตำนานต่างๆ ของอินเดีย มีผู้แปลวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นภาษาอังกฤษ  เสฐียรโกเศศได้แปลเป็นภาษาไทย เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ และแปลเฉพาะเล่มที่ ๑ และเล่มที่ ๒ ซึ่งชื่อว่า กถาบิฐและกถามุข  ผู้แปลได้ชี้แจงไว้ในคำนำว่า ที่แปลเรื่องนี้เพราะต้องการให้เด็กไทยมีหนังสืออ่านที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ได้ชี้แจงเกี่ยวกับผู้แต่งและอายุของวรรณกรรมว่า สันนิษฐานจากความท้ายเล่มกถาบิฐว่าผู้แต่งชื่อ คุณาฒัย ส่วนอายุการแต่งยังกำหนดไม่ได้แน่นอน ของเดิมแต่งเป็นร้อยแก้ว ชื่อว่า พฤหัตกถา ต่อมาราว ค.ศ.๑๐๘๘ ท่านมหากวีศรีโสมเทวภัฎฎ์ซึ่งเป็นบุตรของท่านรามภัฎฎ์ ชาวกัศมีระ  เกิดในรัชสมัยพระเจ้าอนันตราช ได้ร้อยกรองเป็นกาพย์ขึ้นใหม่ ย่อความที่ยาวให้กะทัดรัดและเรียบร้อยขึ้น และตั้งชื่อว่า กถาสริตสาคร เป็นหนังสือขนาดใหญ่ มีจำนวน ๑๘ ลัมพก์ (เล่ม ) แบ่งออกเป็น ๑๒๔ ตรังค์ (บท)

นิทานเรื่องหลักนั้นเป็นการเล่าเรื่องผจญภัยของเจ้าชายนรวหนทัตตะ โอรสของพระเจ้าอุทยนะในตำนาน มีการแต่งนิทานจำนวนมากประกอบกับเนื้อเรื่องหลัก ทำให้กลายเป็นแหล่งรวมนิทานอินเดียที่ยาวที่สุด ลักษณะการเล่านิทานในกถาสริตสาครนั้น (หรือในเนื้อหาหลักของพฤหัตกถา) คล้ายกับการเล่าเรื่องปัญจตันตระ นั่นคือ เป็นเรื่องที่ผูกโยงมาจากท้องถิ่นต่างๆ มากมายในโลกนี้

ชื่อหนังสือที่รวมเป็น กถาสริตสาคร มี ๑๘ เล่ม ๑๒๔ บท มีบทร้อยกรองมากกว่า ๒๑,๐๐๐ บท มีดังนี้


เล่มที่  ๑ กถาบิฐ    เล่มที่  ๒ กถามุข
เล่มที่  ๓ ลาวานะกะ    เล่มที่  ๔ นระวาหนะ
เล่มที่  ๕ จาตุรทาริกา          เล่มที่  ๖ มทนะมัญจุกา
เล่มที่  ๗ อลังการวดี    เล่มที่  ๘ สูรยะประภาภิธาน
เล่มที่  ๙ อลังการวดี    เล่มที่ ๑๐ ศักดิยศ
เล่มที่ ๑๑ เวลาภิธาน    เล่มที่ ๑๒ ศะศางกวดี
เล่มที่ ๑๓ มทิราวดี    เล่มที่ ๑๔ ปัญจาภิธาน
เล่มที่ ๑๕ มหาภิเษก    เล่มที่ ๑๖ สุรตมัญชรี
เล่มที่ ๑๗ ปัทมาวดี    เล่มที่ ๑๘ วิษมศีล

เล่มแรกคือ กถาบิฐ กล่าวถึงที่มาของเรื่องว่า พระศิวะ เป็นผู้เล่าเรื่องต่างๆ ให้พระอุมาฟังตามคำขอร้องของพระอุมา เล่มต่อๆ ไป เป็นตัวนิยาย ประวัติ นิทานและตำนานต่างๆ หลายอย่างหลายชนิดแทรกซับซ้อนกันหลายชั้นหลายเชิงแบบ อาหรับราตรี บางเรื่องมีส่วนคล้ายคลึงกับเรื่องพระเจ้าอุเทนและเพชรมงกุฎ บางเรื่องคล้ายคลึงกับนิยายอาหรับ บางเรื่องคล้ายคลึงกับนิยายอิหร่าน และบางเรื่องคล้ายคลึงกับนิยายยุโรป นับเป็นวรรณกรรมที่อ่านเพลินมีรสชาติเรื่องหนึ่ง ฉบับภาษาไทยมีศัพท์ที่เข้าใจยากบ้าง เพราะผู้แปลได้ลงศัพท์ภาษาสันสกฤตไว้ แต่ก็ได้ทำอธิบายไว้ในเชิงอรรถ