[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 05 ตุลาคม 2561 13:07:21



หัวข้อ: สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 9
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 05 ตุลาคม 2561 13:07:21
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22577459737658_view_resizing_images_4_.jpg)

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา) สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 9
 วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สา ปุสสเทโว) สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2436 ถึงปี พ.ศ.2442 รวม 6 พรรษา

เป็นสามเณรเปรียญ 9 ประโยค องค์แรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เข้าสอบบาลียุคปากเปล่า และแปลบาลี 9 ประโยค รวดเดียวกันได้ถึง 2 ครั้ง เป็นความสามารถอันยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน

พื้นเพเดิมเป็นชาว ต.บางไผ่ จ.นนทบุรี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 8 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1175 ตรงกับวันที่ 19 ส.ค.2356 ในรัชกาลที่ 2 โยมบิดาชื่อ จันท์ โยมมารดาชื่อ สุข มีพี่น้องชายหญิงรวม 5 คน

บิดาเป็นชาว ต.เชิงกราน จ.ราชบุรี เคยบวชเรียนจนเป็นผู้ชำนาญในการเทศน์มิลินท์และมาลัย และยังเป็นผู้มีความรู้ทั้งหนังสือและปริยัติธรรม ถึงขั้นเป็นอาจารย์บอกหนังสืออยู่ในพระราชวังบวรด้วย การศึกษาขั้นต้นจึงได้รับการถ่ายทอดจากบิดา ส่งให้มีอุปนิสัยน้อมนำไปในทางธรรมแต่เยาว์วัย

บรรพชาที่วัดใหม่ บางขุนเทียน แล้วย้ายมาอยู่ วัดสังเวชวิศยาราม เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม โดยเข้าไปเรียนในพระราชวังบวรกับอาจารย์อ่อน (ฆราวาส) และบิดา

เมื่ออายุ 14 ปี เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรก ได้เพียง 2 ประโยค จึงยังไม่ได้เป็นเปรียญ แต่เรียกกันว่า "เปรียญวังหน้า"

ต่อมาถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงผนวชประทับอยู่ ณ วัดราชาธิวาส เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อเป็นเวลา 4 ปี

อายุ 18 ปี เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้แปลได้หมดรวดเดียว 9 ประโยค เป็นเปรียญเอกแต่ยังเป็นสามเณร

ครั้นถึงปี พ.ศ.2376 มีอายุครบ 20 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดราชาธิวาส มีพระนามฉายาว่า "ปุสโส" ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์คือใคร

ปี พ.ศ.2379 รัชกาลที่ 3 ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ให้เสด็จฯ มาทรงครองวัดบวรนิเวศ ท่านก็ตามเสด็จมาอยู่ด้วย

ครั้น พ.ศ.2382 ขณะมีพระชันษาเพียง 26 ปี ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระอมรโมลี"

อย่างไรก็ตาม ลาสิกขาออกไปครองชีวิตฆราวาสอยู่ระยะหนึ่ง

กระทั่ง พ.ศ.2394 ปีแรกแห่งรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้อุปสมบทใหม่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก โสภิโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

การอุปสมบทครั้งนี้ พระชันษา 38 ปี และได้นามฉายาว่า "ปุสสเทโว" เข้าแปลพระปริยัติธรรมรวดเดียว 9 ประโยคอีกครั้ง

ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้กล่าวขวัญถึงพระองค์ด้วยสมญานามอันแสดงถึงคุณลักษณะพิเศษนี้ ว่า "สังฆราชสา 18 ประโยค" ในกาลต่อมา

รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระสาสนโสภณ" รูปแรก

ครั้น พ.ศ.2408 เมื่อการสร้างวัดราชประดิษฐ์เสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้อาราธนาท่านมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรก

สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาเลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ "พระธรรมวโรดม" และสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ

ตำแหน่งที่ "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ"

ครั้นวันที่ 29 พ.ย.2436 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระสังฆราช (สา) ทรงเป็นที่เคารพและสนิทคุ้นเคยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอันมาก

พระกรณียกิจในด้านต่างๆ ด้านการศึกษา ทรงเป็นหลักเป็นประธานในการสอบพระปริยัติธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ชำนาญในพระไตรปิฎกและมคธภาษาเป็นอย่างยิ่ง

ทรงวางเป็นแบบแผนธรรมเนียมทางการพระศาสนาขึ้นหลายอย่าง ที่สำคัญคือได้ทรงจัดแบบพิธีสวดนพเคราะห์แบบใหม่เรียกว่า "สวดนวคหายุสธรรม" ซึ่งแบบแพร่หลายสืบมา เป็นพระปริตรอย่างหนึ่งที่ยังนิยมสวดกันอยู่

ทรงรวบรวมและจัดระเบียบการสวดการใช้หนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง พร้อมทั้งนิพนธ์บทขัดตำนาน (เป็นคาถาภาษามคธ) สำหรับปาฐะและพระสูตรนั้นๆ จนตลอดเล่ม ปัจจุบันก็ยังใช้เป็นแบบสำหรับสาธยายในวัดทั่วไป

พระนิพนธ์ ส่วนใหญ่เป็นงานแปลพระสูตร หนังสือเทศนา และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ โดยเฉพาะพระนิพนธ์เทศนา มีอยู่เป็นอันมากที่ใช้เป็นแบบอย่างกันมาถึงยุคนี้

ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ พระองค์ประชวรด้วยพระโรคบิดประกอบกับพระโรคชรา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2442

นับพระชันษาได้ 87 ปี ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนาน 7 ปี ทรงครองวัดราชประดิษฐ์ 34 ปี


อริยะโลกที่ 6