[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 06 มกราคม 2562 16:31:30



หัวข้อ: วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 มกราคม 2562 16:31:30
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91000043518013_4_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27717995271086_1_Copy_.jpeg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61049743327829_2_Copy_.jpeg)
ประชาชนเข้ากราบนมัสการขอพรหลวงพ่อหินทราย (แกะสลักจากหินทราย) สร้างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานในพระอุโบสถเก่าวัดมเหยงคณ์
ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วนของพระเศียร ซึ่งศรัทธากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก

วัดมเหยงคณ์
ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


วัดมเหยงคณ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เดิมเป็นพระอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่เคยรุ่งเรืองสำคัญยิ่งมาในอดีตสมัยอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างขึ้น ได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้งหลายสมัย และกลายเป็นวัดร้างไป เข้าใจว่านับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ รวมเวลาล่วงเลยมา ๒๐๐ กว่าปี  ถึงแม้ในปัจจุบันนี้จะเป็นวัดร้างที่สภาพโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังเหลืออยู่ได้ปรักหักพังไปมาก แต่ก็พอมีเค้าเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงศิลปะการก่อสร้างอันประณีตงดงามมโหฬารและระดับความสำคัญของพระอารามแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี

แนวความคิดทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับการสร้างวัดมเหยงคณ์ ได้แตกแยกออกเป็น ๒ แนวทาง คือ

• ตามพงศาวดารเหนือได้บันทึกไว้ว่า พระนางกัลยาณี มเหสีของพระเจ้าธรรมราชา (พ.ศ.๑๘๔๔-๑๘๕๓) กษัตริย์องค์ที่ ๘ ของอโยธยาเป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์ ซึ่งแสดงว่าวัดมเหยงคณ์สร้างในสมัยอโยธยาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาอย่างน้อย ๔๐ ปี

• ส่วนพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า ศักราช ๗๘๖ มะโรงศก (พ.ศ.๑๙๖๗) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า (เจ้าสามพระยา) กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์ ขณะที่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ กล่าวว่า ศักราช ๘๐๐ มะเมียศก (พ.ศ.๑๙๘๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า (เจ้าสามพระยา) เป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์

มีการวิเคราะห์กันว่า อาจเป็นไปได้หรือไม่ว่า วัดมเหยงคณ์นั้นสร้างแต่ครั้งอโยธยา แต่ชำรุดทรุดโทรมเมื่อเวลาผ่านไปกว่า ๑๐๐ ปี ถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงเห็นว่าเป็นวัดเก่าแก่ จึงบูรณะและสร้างเพิ่มเติมให้ใหญ่โตจากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว

วัดมเหยงคณ์ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัยกษัตริย์พระนามว่า พระภูมิมหาราช (พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ในปีฉลู เอกศก (สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ.๒๒๕๒) วัดมเหยงคณ์ได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงรุ่งเรืองมาตลอดจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ.๒๓๑๐


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79991825421651_10_Copy_.jpeg)
โบราณสถานวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39697586786415_5_Copy_.jpeg)
พระอุโบสถวัดมเหยงคณ์ ที่นับว่าเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17197818805773_6_Copy_.jpeg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14912886379493_7_Copy_.jpeg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41073425652252_8_Copy_.jpeg)
พระเจดีย์ฐานช้างล้อม - เจดีย์องค์ประธานของวัดมเหยงคณ์
เป็นเจดีย์ทรงระฆังอยู่บนฐานทักษิณมีช้างล้อมเป็นประธานของวัด   เจดีย์ช้างล้อมนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงสันนิษฐานว่าคงเอาแบบอย่างมาจากพระเจดีย์ชัยของพระเจ้าทุษฐคามินี มหาราชในลังกาทวีป ซึ่งทรงช้างชื่อกุณฑล ทำสงครามได้ชัยชนะ
ได้ครองราชสมบัติ มีโอกาสทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลังกาให้รุ่งเรืองยิ่งในสมัยพระองค์ เจดีย์ช้างล้อมลักษณะคล้ายกันนี้เคยพบมาแล้วที่เมือง
สุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร ...ข้อมูล - กรมศิลปากร


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21432371685902_9_Copy_.jpeg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48181655464900_26_Copy_.jpg)
ฉนวน (The Corridor)เป็นทางเดินที่มีกำแพงตั้งอยู่ทั้งสองข้างทางเดิน เชื่อมระหว่างซุ้มประตูทางเข้าและพระอุโบสถ
ลักษณะกำแพงเป็นกำแพงที่มีบัวประดับอยู่ด้านบนคล้านกำแพงแก้ว เป็นทางเดินสำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้้นสูงใช้เสด็จเข้าออก

ภายในวัดมเหยงคณ์ มีพระอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานสูง ๒ ชั้น ลดหลั่นกัน ขนาดพระอุโบสถกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๖ เมตร นับว่าเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังพระอุโบสถทางทิศตะวันตกพ้นเขตกำแพงแก้ว จะพบพระเจดีย์ฐานช้างล้อม ซึ่งเป็นเจดีย์องค์ประธานของวัดมเหยงคณ์ ตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างยาวด้านละ ๓๒ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ทิศ ที่ฐานทักษิณมีรูปช้างปูนปั้นยืนประดับอยู่ตามซุ้มรอบฐาน รวม ๘๐ เชือก องค์เจดีย์ประธานยอดเจดีย์หักตั้งแต่ใต้บัลลังก์ลงมา ฐานชั้นล่างของพระเจดีย์มีซุ้มพระพุทธรูปจตุรทิศยื่นออกมาเห็นชัดเจน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22129772851864_11_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37820680232511_12_Copy_.jpg)
พระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรํสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30433570924732_13_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36013447038001_27_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18632048078709_14_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38596691273980_15_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62862236094143_16_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44147652180658_21_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55114904956685_28_Copy_.jpg)
อุโบสถปราสาทพระบรมธาตุเจดีย์มหาวิหาร ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ท่านใดมีกุศลจิต ศรัทธาร่วมสร้างมหากุศลกับพระอาจารย์ฯ กรุณาติดต่อร่วมสร้างบุญได้ที่วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยาค่ะ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48825092241167_29_Copy_.jpg)

หลังจากสิ้นกรุงศรีอยุธยา วัดมเหยงคณ์ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง ไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๒๗ พระอธิการสุรศักดิ์ เขมรํสี ปัจจุบันเป็นพระภาวนาเขมคุณ วิ.  ได้จัดตั้งสำนักกรรมฐานขึ้นในบริเวณวัดมเหยงคณ์  โบราณสถานได้รับการดูแล ถากถางพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่ขึ้นปกคลุมโบราณสถานไว้ ปรับบริเวณพื้นที่ในฝ่ายพุทธาวาสและสังฆาวาสให้ร่มรื่น สะอาดน่าอยู่และสงบเงียบจากสิ่งรบกวน

กรมศิลปากรเองก็เข้ามาดำเนินการขุดแต่งและปฏิบัติงานตามโครงการบูรณะฟื้นฟูดินแดนกลุ่มอโยธยา ทำให้สภาพของวัดมเหยงคณ์ ที่เปรียบเสมือนทองคำจมดินอยู่ ได้รับการขัดสีฉวีวรรณให้สุกปลั่ง ปรากฏแก่สายตาของผู้มาพบเห็นได้ชื่นชมและประจักษ์ในคุณค่าของสถาปัตยกรรมไทยในพระอารามแห่งนี้ได้เต็มที่

ปัจจุบันนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดมเหยงคณ์เป็นโบราณวัตถุโบราณสถานของชาติ ตั้งแต่วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กรมศิลปากรได้เข้าไปบูรณะ และเนื้อที่นอกเขตโบราณสถานได้จัดเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐาน โดยมีประชาชนเข้าไปรับการอบรมเป็นจำนวนมาก ได้จัดให้มีกิจกรรมทางศาสนา ได้แก่
- จัดอบรมวิปัสสนากรรมฐาน
- จัดอบรมปฏิบัติธรรมพิเศษ
- จัดบวชเนกขัมมภาวนาประจำเดือน
- จัดบวชถือศีล ๘ ประจำวัน
- จัดบวชพระสงฆ์ประจำเดือน และ พระสงฆ์จำพรรษา

ปฏิปทาของวัดมเหยงคณ์
- สร้างสถานที่ให้สัปปายะ เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรม
- ตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมเพื่อให้ความรู้ทั้งพระสงฆ์และประชาชนทั่วไป
- เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พุทธศาสนาในชุมชน
- จัดบวชเนกขัมมภาวนา อบรมจริยธรรม การปฏิบัติธรรม แก่ประชาชนทั่วไป


ที่มาข้อมูล :
- หนังสือคู่มือชาวพุทธ เล่ม ๑ ทำวัตรสวดมนต์แปล บทสวดมนต์พิเศษ วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
- http://www.watmaheyong.org (http://www.watmaheyong.org)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52571425711115_24_Copy_.jpg)
พระอุโบสถวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71755800934301_18_Copy_.jpg)
ภายในพระอุโบสถวัดมเหยงคณ์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69249196226398_19_Copy_.jpg)
ภายในพระอุโบสถวัดมเหยงคณ์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77279767683810_20_Copy_.jpg)
ภายในพระอุโบสถวัดมเหยงคณ์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27416007551881_25_Copy_.JPG)
สมเด็จพระสัพพัญญูบรมปฐมเทศนา (พระพุทธรูปหินทรายแกะสลัก หน้าตัก ๙๙ นิ้ว)
ประดิษฐาน ณ ถ้ำอมตธรรม วัดมเหยงคณ์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20242400632964_23_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83803739233149_22_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65950426997409_P_20170429_083632_1_Copy_.jpg)
ผู้โพสท์มักหาเวลาจากงานประจำ ปลีกตัวไปปฏิบัติธรรมที่วัดมเหยงคณ์อยู่เป็นประจำ
๗ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ตามแต่โอกาสอันควร ปี ๒๕๖๒ ก็ไปมาแล้ว ๑ ครั้ง
และตั้งใจจะไปอีกในเดือนกุมภาพันธ์ที่ถึงนี้ค่ะ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68600265888704_1545557726554_Copy_.jpg)
และชอบจะพาตัวเองไปพักที่เรือนไม้เก่าแก่ข้างโบสถ์  ไม่ชอบไปพักอาคารที่สะดวกสบายที่ทางวัดจัดไว้ให้ผู้มาปฏิบัติธรรมเข้าพักอาศัย


หัวข้อ: Re: วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 16:35:59

ภาพบรรยากาศการเวียนเทียน ณ โบราณสถาน อุโบสถหลังเก่า
วัดมเหยงคณ์ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๒


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82605977604786_1_320x200_.jpg)
พระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ แสดงธรรมแก่พุทธบริษัทก่อนการเวียนเทียน
ณ โบราณสถานพระอุโบสถหลังเก่า ในค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวง วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๒

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39684145939018_2_320x200_.jpg)
อุบาสก-อุบาสิกา ในอิริยาบถสงบสำรวม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32199864503410_9_320x200_.jpg)
โดยรอบโบราณสถาน (พระอุโบสถ เจดีย์สถาน) มีการจุดประทีปในภาชนะดินเผาหล่อน้ำมัน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13382946617073_10_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96745649601022_3_320x200_.jpg)
แสงไฟจากการจุดประทีปสว่างไสวสวยงาม เป็นบรรยากาศที่หาชมได้ยากมากในสมัยปัจจุบัน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34835011801785_5_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47572175703114_6_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97060252436333_7_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96261153287357_8_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13046526122424_4_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79032635564605_11_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93936136447721_12_320x200_.jpg)



ความเป็นมา ของ วันมาฆบูชา
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วันมาฆบูชาเป็นวันบูชาสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเริ่มทำพิธีบูชานี้ขึ้นตั้งแต่เมื่อทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ ๓ ตามที่มีกล่าวไว้ในตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า “ถึงวันเพ็ญเดือน ๓ ที่กำหนดว่าเป็นวันที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสาวกสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์ ล้วนเป็นพระอรหันต์เอหิภิกขุ มาถึงโดยลำพังมิได้รับเรียกร้อง ซึ่งเรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต ทรงทำมาฆบูชา มีเทศนาด้วยเรื่องนั้น” ส่วนการทำมาฆบูชาทางราชการและประชาชนทั่วไปน่าจะมีมาตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ และในปลายรัชกาลน่าจะได้มีการทำมาฆบูชากันทั่วไปแล้ว จึงได้มีประกาศว่าด้วยวันธรรมสวนะแห่งปีระกา ตรีศก จ.ศ.๑๒๒๓ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๐๔ ตอนท้ายว่า “อนึ่ง ถ้าจะทำพิธีมาฆบูชา ตามนิยมซึ่งมีกำหนดในคัมภีร์อรรถกถาว่าเป็นวันที่ชุมนุมพระสาวก ๑,๒๕๐ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้น ให้ทำในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ทั้งสองวันเป็นอันถูกต้องแล้ว อย่าได้สงสัยเลย ถ้าไม่เชื่อก็ให้พิเคราะห์ดูพระจันทร์ในอากาศนั้นเทอญ”  คำบูชาเป็นภาษาบาลี ในวันมาฆบูชาที่ใช้กันทั่วไปในบัดนี้ก็เข้าใจว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ในบัดนี้ เรื่องมาฆบูชาได้เป็นที่ทราบกันโดยมากแล้ว แต่เมื่อวันมาฆบูชาเวียนมาถึงเข้าก็ควรจะกล่าวฟังกันอีก

เรื่องที่เป็นเหตุปรารภให้ทำมาฆบูชาได้เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลตอนต้น (ตามที่มีเล่าไว้ในพระสูตรและอรรถกถาบางแห่งรวมความโดยย่อว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมแล้ว ทีแรกได้ทรงพิจารณาเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นของลุ่มลึกยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ ถ้าจะทรงแสดงพระธรรมสั่งสอนและคนทั้งหลายไม่เข้าใจ ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร จะทรงเหน็ดเหนื่อยเปล่า จึงมีพระหทัยน้อมไปในทางจะไม่ทรงแสดงพระธรรม แต่อาศัยพระมหากรุณาตามที่ท่านแสดงว่ามีพระพรหมมากราบทูลอาราธนา (ดังที่ได้ผูกเป็นคำอาราธนาพระแสดงธรรมในบัดนี้ว่า พฺรหฺมา จ โลกา เป็นต้น) ได้ทรงพิจารณาดูหมู่สัตว์โลก ทรงเห็นว่าผู้ที่มีกิเลสธุลีในจักษุน้อยอาจจะรู้ธรรมที่ทรงแสดงได้ก็มีอยู่ จึงตกลงพระหทัยว่าจะทรงแสดงพระธรรมสั่งสอน และทรงอธิษฐานคือทรงตั้งพระทัยว่า จะทรงดำรงพระชนมายุอยู่ต่อไปเพื่อประกาศพระธรรม ประดิษฐานพระพุทธศาสนาและพุทธบริษัทให้ตั้งหยั่งรากลงมั่นคงในโลก จะยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ตราบเท่าที่พระพุทธศาสนาและพุทธบริษัทยังไม่ประดิษฐานหยั่งรากลงมั่นคง ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จจาริกไปแสดงพระธรรมสั่งสอนตั้งต้นแต่พระปัญจวัคคีย์ที่อิสิปตนมิคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อวันอาสาฬหปุณณมี (คือวันจันทร์เพ็ญหน้าวันเข้าพรรษาต้น) ทรงจำพรรษาแรก ณ ที่นั้น ทรงได้พระสาวกเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ออกพรรรษาแล้วทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาในทิศต่างๆ แยกย้ายกันไป ส่วนพระองค์เองเสด็จตรงไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงแสดงธรรมโปรดและได้พระสาวกตามเสด็จมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใกล้กรุงราชคฤห์ ได้ประทับพักที่ลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จออกมาเฝ้า และถวายพระเวฬุวันซึ่งอยู่ภายนอกพระนครทางด้านเหนือให้เป็นวัดที่ประทับ พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกได้เสด็จไปประทับ ณ พระเวฬุวันพระอารามหลวงนั้น แต่บางคราว ก็เสด็จขึ้นไปประทับบนเขาคิชฌกูฏ ทรงได้พระอัครสาวกทั้ง ๒ คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะที่กรุงราชคฤห์นี้ และได้มีเหตุการณ์ที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต ความประชุมแห่งองค์ ๔” ขึ้นที่พระเวฬุวันในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (ซึ่งโดยปกติตรงกับวันเพ็ญกลางเดือน ๓ ของไทยเรา)  วันนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ปริพพาชกผู้หนึ่งบนเขาคิชฌกูฏ  พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดฟังอยู่ด้วย ท่านฟังจบแล้วก็มีจิตพ้นจากอาสวะ (ส่วนพระโมคคัลลานะได้มีจิตพ้นจากอาสวะก่อนนั้นแล้ว)  พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเขาคิชฌกูฏไปสู่พระเวฬุวัน ขณะนั้นเป็นเวลาตะวันบ่าย ได้มีพระภิกษุจำนวนรวมกันถึง ๑,๒๕๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์เอหิภิกขุมาเข้าเฝ้าพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย กล่าวได้ว่าเป็น “จาตุรงคสันนิบาต ความประชุมแห่งองค์ ๔” คือ

๑. ภิกษุ จำนวน ๑,๒๕๐ ซึ่งมาประชุมกัน ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว
๒. ล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือ เป็นภิกษุซึ่งได้รับอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าเองด้วย วิธีที่ตรัสเรียกว่าจงเป็นภิกษุมาเถิด อันเรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา
๓. ล้วนมิได้มีการนัดหมายกัน ต่างมาสู่สำนักพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าในพระเวฬุวัน
๔. ในวันอุโบสถมาฆปุณณมี คือวันจันทร์เพ็ญเดือนมาฆะ
(พระพุทธเจ้าจึงทรงทำอุโบสถอันบริสุทธิ์ ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในสังฆสันนิบาตนั้น)

นึกดูว่าเวลานั้นเป็นสมัยต้นพุทธกาล พระบรมศาสดาเพิ่งจะประกาศพระพุทธศาสนาได้ไม่นาน แต่ก็ได้พระสาวกผู้สำเร็จกิจเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้วจำนวนมากถึงเท่านั้น เมื่อมานั่งประชุมเฝ้าอยู่พร้อมหน้ากันทั้งหมด โดยมิได้มีรับสั่งเรียกหรือนัดหมายกันเอง ในวันและเวลาที่เหมาะดังนั้น อันเรียกได้ว่าจาตุรงคสันนิบาต พระบรมศาสดาเองก็ได้ทอดพระเนตรเห็นผลงานของพระองค์ที่ได้ทรงทำมาแล้ว ถ้าคิดอย่างจิตใจคนสามัญก็เป็นที่น่าปลาบปลื้มใจเพียงไร แต่พระบรมศาสดามิได้ทรงเพลิดเพลินอยู่กับผลที่ทรงได้รับทั้งปวง ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะพึงเกิดขึ้นจากพระสาวกเหล่านั้นต่อไปเป็นอันมาก และขณะนั้นทรงมีบุคคลเป็นเครื่องมือในการประกาศพระศาสนาพรั่งพร้อมแล้ว พระอัครสาวกขวาซ้ายก็ทรงมีแล้ว แต่ยังมิได้ทรงวางหลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสังเขปที่พึงใช้สั่งสอนได้ทั่วๆ ไป จึงทรงใช้โอกาสนั้นทรงทำปาริสุทธุโบสถ คือทรงทำอุโบสถที่บริสุทธิ์ร่วมกับพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วทั้งหมด ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ คือ พระโอวาททั้งปวงถือเป็นหลักเป็นประธาน ชี้ว่าอะไรเป็นพุทธวาทะ อะไรเป็นพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกทั้งปวงถือเป็นหลักในการประกาศพระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทางเดียวกันว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกขา เป็นต้น

อะไรเป็นพุทธวาทะ (วาทะของพระพฺทธะ) ๑ ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง  ๒ นิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง  ๓ บรรชิตคือนักบวชผู้ยังทำร้ายว่าร้ายผู้อื่นอยู่หาชื่อว่าสมณะไม่ พระพุทธะทั้งหลายกล่าวอย่างนี้

อะไรเป็นพุทธศาสนา (คำสอนของพระพุทธ)  ๑ การไม่ทำบาปทั้งปวง  ๒ การทำกุศลให้ถึงพร้อม  ๓ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (ต่อจากนี้มีขยายความออกไปอีกเล็กน้อย แต่ก็รวมอยู่ใน ๓ ข้อนั้น) นี้เป็นคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย

ใจความของพระโอวาทปาติโมกข์มีเพียงเท่านี้ ดูสั้นเหลือเกินแต่ก็รวมสิ่งสำคัญในพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมด ตั้งต้นแต่ระบุบรมตบะ คือ ติติกขา ขันติและบรมธรรม คือ นิพพานตลอดถึงลักษณะของสมณะที่ตรัสในทางปฏิเสธ แต่ก็มีความหมายในทางตรงกันข้ามและโยงความถึงตอนต้นด้วยว่า ที่จะเป็นบรรพชิตเป็นสมณะเต็มที่จำต้องมีธรรมสองข้อข้างต้นนั้น และได้แสดงพระพุทธศาสนาว่าคือการไม่ทำบาป การทำกุสลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องใส พระพุทธะทั้งหลายสอนดังนี้ หรือ คำสอนของท่านว่าดังนี้ พระสาวกทั้งหลายจะไปสอนโดยปริยายคือทางใดทางหนึ่งก็ตามแต่ก็ย่อมรวมอยู่ในหลักดังกล่าว  พระโอวาทนี้ตรัสแก่พระอรหันต์ทั้งนั้นมิใช่เพื่อจะโปรดท่านทั้งปวงนั้น แต่เพื่อประกาศข้อที่เป็นหลักเป็นประธานสมดังที่เรียกว่าโอวาทปาติโมกข์ พระอาจารย์แสดงว่าในวันอุโบสถต่อมาทุกวันอุโบสถ พระพุทธเจ้าทรงทำอุโบสถร่วมด้วยพระสงฆ์ ทรงแสดงพระปาติโมกข์ที่เป็นพระโอวาทนี้ด้วยพระองค์เองจนถึงทรงพระอนุญาตให้สงฆ์สวดพระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นเป็นปาติโมกข์ในวันอุโบสถ จึงทรงหยุดทำปาติโมกข์ร่วมด้วยสงฆ์ ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำปาติโมกข์ตามลำพัง ดังที่ได้ทำสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้.