[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2562 15:17:52



หัวข้อ: กระต๊อบ - เรือนที่อยู่อาศัย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2562 15:17:52

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41544917556974_51467611_559011851281166_44297.jpg)
ครั้นถึงกระท่อมทับที่อยู่          . แลดูสมเพชเป็นหนักหนา
ไม่เคยเห็นเช่นนี้แต่เกิดมา     ก็โศกาทรุดนั่งอยู่นอกชาน

ที่มา นิทานพื้นบ้านเรื่อง 'สังข์ทอง'
ตอนหนึ่งบรรยายให้เห็นภาพนางรจนาเศร้าโศกเสียใจ เมื่อเห็นที่อยู่ที่พระสังข์สร้าง ว่าเป็นกระต๊อบ ทำจากแฝกและไม้ไผ่


กระต๊อบ

กระต๊อบ  เป็นคำชาวบ้านเรียกเรือนที่อยู่อาศัย สร้างด้วยวัสดุที่ไม่เป็นของคงทนถาวร มีขนาดเล็กกว่าเรือนประเภทอื่นๆ เป็นเรือนที่ไม่สวยงาม ไม่สู้มีราคา ทำขึ้นพอให้เป็นที่คุ้มแดดคุ้มฝนเท่านั้น

กระต๊อบ เป็นเรือนยกพื้นไม่สูง ตัวเรือนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักใช้ไม้ไผ่ทำเสา ตง คาน พื้น ส่วนของฝาและหลังคา มุงจากแฝก หรือหญ้าคา การคุมเรือนใช้หวาย ตอก หรือเถาย่านาง ผูกคุมเรือนเข้าด้วยกันทั้งหลัง ในเรือนมีพื้นลด ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่หุงหาอาหาร

พระยาอนุมานราชธน ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับคำว่ากระต๊อบและกระท่อมไว้ในหนังสือบันทึกความรู้ต่างๆ ดังนี้

“ข้าพระพุทธเจ้าได้ค้นหาคำว่า กระท่อม ในภาษาไทยต่างๆ ก็มีแต่คำว่าเถียง หรือเถียงนา แปลว่ากระท่อมกลางนา คำนี้ไม่ปรากฏในภาษาไทยสยาม  ส่วนภาษาไทยทางพายัพและอุดรมีคำว่า ตูบ แปลว่า กระท่อม เสียงยิ่งใกล้กับคำว่า กระต๊อบ  กะ คงจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้ถ่วงเสียงกับ กระท่อม   ในภาษาเขมรมีคำว่า ขตอม ซึ่งเป็นคงเป็นคำเดียวกับ กระท่อม ข้าพระพุทธเจ้าลองเทียบคำว่า ทับ กับ (กระ) ท่อม ดูก็คล้ายกับว่าเป็นคำเดียวกัน”

อาจกล่าวได้ว่ากระท่อม กับ กระต๊อบเป็นสิ่งปลูกสร้างประเภทเดียวกัน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56261337755454_51375053_559011787947839_14593.jpg)
ครั้นถึงจึงเที่ยวเกี่ยวแฝก          . ตัดไม้ไผ่มาอึงมี่
บ้างกล่อมเสาเกลาฟากมากมี     ปลูกกระท่อมลงที่ท้องนา

ที่มา นิทานพื้นบ้านเรื่อง 'สังข์ทอง'
ตอนหนึ่งบรรยายถึงการทำกระต๊อบของพระสังข์ ว่าทำจากแฝกและไม้ไผ่ ปลูกเสร็จอย่างรวดเร็ว


สังข์ทอง เป็นนิทานพื้นบ้าน ได้มาจากสุวัณสังขชาดก หนึ่งใน ชาดกพุทธประวัติ เดิมทีนั้นเป็นบทเล่นละครในมีมาแต่กรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตัดเรื่องสังข์ทองตอนปลาย (ตั้งแต่ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต) มาทรงพระราชนิพนธ์ให้ละครหลวงเล่น มีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา พระธิดาของท้าวสามล เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยม จึงมีการนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม ได้แก่ บทพระสังข์ได้นางรจนา เพื่อนำมาประยุกต์เป็นการแสดงชุด รจนาเสี่ยงพวงมาลัย

https://www.facebook.com


หัวข้อ: Re: "เถียงนา" (กระต๊อบ) ที่อยู่อาศัยชั่วคราวในทุ่งนา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 19:39:49
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47860139194461_315533410_1516351298880545_505.jpg)
เถียงนา : ภาพถ่ายจาก อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90530968954165_316003720_1516351672213841_375.jpg)
เถียงนา : ภาพถ่ายจาก อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เถียง หมายถึง โรงเรือนที่ปลูกสร้างที่มีขนาดเล็ก ไว้สำหรับพักอาศัยในลักษณะชั่วคราว
ถ้าปลูกสร้างอยู่ในพื้นที่นาเรียก เถียงนา ส่วนถ้าปลูกสร้างไว้ที่ป่าเรียก เถียงไร่ หรือ เถียงไฮ่


เถียงนา


จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่ยังเดินทางไปมาลำบาก โดยเฉพาะเส้นทางรถยนต์ยังถือว่ายากสำหรับคนที่ไม่ชอบการขึ้นลงภูเขาที่คดเคี้ยวสูงชัน การเดินทางที่ไม่ง่ายทำให้ประชาชนในพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังดำรงชีวิตตามแบบวิถีดั้งเดิมมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ

การที่ชาวบ้านยังดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ทั้งในเรื่องของการสร้างบ้านเรือน อาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรม ฯลฯ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก และที่จะนำมากล่าวในที่นี้นั่นก็คือการนำเอา "ใบตองตึง" วัสดุจากธรรมชาติมาใช้มุงหลังคาที่อยู่อาศัยหรือหลังคากระท่อมในไร่นา


หลังคาตองตึง
หลังคาตองตึง ทำมาจากใบต้นตองตึง คือต้นพลวงในภาษากลาง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ ๒๐-๓๐ เมตร เป็นพันธุ์ไม้หลักของป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเต็งรัง หรือป่าแดง ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๖๐๐ เมตร

หลังคาตองตึงใช้แพร่หลายในจังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะปัจจุบันยังพบเรือนตามชนบทของจังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่อนสอน กระบวนการทำหลังคาตองตึงเกิดขึ้นในหน้าแล้งประมาณเดือนธันวาคม – มีนาคม เป็นช่วงที่ใบตองตึงกำลังร่วงเพื่อผลัดเปลี่ยนใบใหม่ โดยตอนเช้าจะเริ่มเข้าป่าเพื่อไปเก็บใบตองตึงแห้งที่ร่วง ซึ่งในช่วงเช้าของฤดูหนาวหมอกและไอน้ำช่วยให้ใบตองตึงที่แห้งอ่อนตัวลง ใบนั้นมีความเหนียวไม่กรอบ

การคัดเลือกใบไม้ที่ร่วงจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะในป่ามีพันธุ์ไม้หลากหลาย โดยเฉพาะรูปทรงของใบสัก ใบเหียง ใบตองตึง มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ใบตองตึงที่นำมาใช้ได้ต้องมีขนาดใบค่อนข้างใหญ่ ความกว้างของใบประมาณ ๒๐ เซนติเมตรขึ้นไป ก้านใบแข็ง รูปใบสมบูรณ์ ก่อนที่จะเย็บตองตึง นำใบตองตึงที่เก็บมาฉีดน้ำให้ทั่ว พักไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง ถึงหนึงชั่วโมง จากนั้นนำมาเย็บติดกับก้านไม้ไผ่ความยาวประมาณ ๒-๓ เมตร ด้วยตอกเส้นที่ทำมาจากไม้ไผ่

การติดตั้งหลังคาตองตึงใช้วิธีการมัดด้วยตอก ยึดแกนไม้ไผ่ของตับหลังคาเข้ากับไม้ก้านฝ้า

ข้อดีของหลังคาใบตองตึง คือมีน้ำหนักเบา เป็นหลังคาที่ระบายอากาศได้ดี ภายในตัวเรือนเย็นสบาย มีอายุการใช้งาน ๓-๕ ปี หากทำกันเองในครัวเรือนก็จะไม่มีค่าใช้จ่าย ปัจจุบันพบเรือนที่ยังมุงหลังคาตองตึงที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน