[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 18 มีนาคม 2562 14:10:49



หัวข้อ: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 มีนาคม 2562 14:10:49

รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27352392342355_12.jpg)
ภาพระบายด้วยสีน้ำ

นกกระเต็น

นกกระเต็น เป็นนกที่อยู่ในอันดับย่อย Alcedines ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) จัดเป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ ๑๓-๑๖ เซนติเมตร (ในชนิดที่ใหญ่อาจยาวได้ถึง ๔๑ เซนติเมตร

ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะทั่วไปคือ มีส่วนหัวโต คอสั้น จะงอยปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสดสะดุดตา เมื่อเวลาบินจะบินได้อย่างคล่องแคล่ว มักพบในแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ

เป็นนกที่หากินด้วยวิธีการพุ่งลงไปในน้ำด้วยความเร็วและแรง (มีการศึกษาพบว่าเร็วถึง ๑/๕๐ วินาที) และใช้จะงอยปากที่แข็งแรงแหลมคมจับปลาหรือสัตว์น้ำต่างๆ กินเป็นอาหาร ด้วยการจ้องมองจากบนกิ่งไม้ริมน้ำ ซึ่งสามารถอยู่นิ่งๆ แบบนั้นได้เป็นระยะเวลานาน โดยมักจะจับปลาในช่วงเช้าจนถึงสายๆ และอีกครั้งในช่วงบ่าย เมื่อเกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำ จะพยายามหันหลังให้ดวงอาทิตย์ เพื่อให้ปลาเมื่อมองขึ้นมาจะต้องมองย้อนแสง ทำให้สังเกตไม่เห็นตัวนก ในบางชนิดอาจจะบินอยู่กับที่กลางอากาศ ก่อนที่จะพุ่งลงไปจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้ว จะจับปลาฟาดกับกิ่งไม้เพื่อให้ปลาตาย ก่อนที่จะกลืนลงไปโดยเอาส่วนหัวลงไปก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่กินปลาย้อนเกล็ด ซึ่งอาจโดนเงี่ยงหรือเกล็ดทิ่มแทงทำให้นกได้รับบาดเจ็บได้

โดยปกติเป็นนกที่อยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ การทำรังวางไข่ นกกระเต็นมักใช้จะงอยปากขุดรูริมฝั่งน้ำ และหาหญ้ามารองเป็นพื้น วางไข่ครั้งละ ๔-๕ ฟอง บางชนิดอาจขุดรูไว้มากถึง ๒-๓ รู เพื่อหลอกสัตว์ผู้ล่า ขณะที่บางชนิดอาจจะใช้โพรงไม้หรือโพรงไม้เก่าของนกอื่นที่ทิ้งร้างไว้เป็นที่วางไข่ โดยมากจะวางไข่ในช่วงฤดูหนาว
.... ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26004881287614__._320x200_.jpg)
ภาพระบายด้วยสีไม้

นกฟินช์
(Finches)

นกฟินช์ (Finches) ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrura gouldiae นกรูปร่างเล็กๆ มีสีสันสวยงาม น่าเอ็นดู มีกิริยาปราดเปรียวว่องไว เแข็งแรง  ลี้ยงดูง่าย นกตระกูลนี้แยกพันธุ์ออกไปเป็นชนิดต่างๆ เท่าที่นักเลี้ยงทั่วไปได้สะสมกันเอาไว้นั้นมีเกือบ ๑๐๐ ชนิด ถิ่นกำเนิดแต่ดั้งเดิมของนกตระกูลนี้มีอยู่ในเขตร้อน อาทิเช่น แอฟริกา ออสเตรเลีย และในแถบเอเชีย ทั้งนี้ ชนิดที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดสัตว์เลี้ยงที่นับว่าคุ้นตาดีนั้นมีชื่อเรียกแยกเป็นชนิดและสี

สถานะการอนุรักษ์: เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์





หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 มีนาคม 2562 15:12:19
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46377845025724__320x200_.jpg)
ภาพวาดระบายด้วยสีไม้

นกกระจอกบ้าน

นกกระจอกบ้าน (Eurasian Tree Sparrow) เป็นนกเกาะคอนในวงศ์นกกระจอก เป็นนกขนาดเล็กมาก มีสีน้ำตาลเข้ม หัวค่อนข้างใหญ่ คอสั้น ปีกสั้น ปลายปีกมน  ปีกสีน้ำตาลมีแถบสีขาวแคบๆ สองแถบ ขาเป็นสีน้ำตาลอ่อน และปากอ้วนสั้น เป็นปากกรวย เป็นสีน้ำเงินจากปลายในฤดูร้อนและกลายเป็นเกือบดำในฤดูหนาว หางค่อนข้างสั้น ตัวยาว ๑๒.๕-๑๔ ซม. (๕–๕½ นิ้ว) ช่วงปีกกว้าง ๒๑ ซม. (๘.๒๕ นิ้ว) และหนัก ๒๔ กรัม (๐.๘๖ ออนซ์) ที่กระหม่อม หลังคอ แก้มสีขาวมีจุดดำบนแก้มแต่ละข้าง นกกระจอกทั้งสองเพศมีชุดขนคล้ายกัน นกวัยอ่อนมีสีขนจืดกว่านกที่โตเต็มที่ นกชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์เกือบทั้งทวีปยูเรเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้) และมันถูกนำไปสู่ที่อื่นๆ รวมถึง สหรัฐอเมริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Eurasian Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้ยูเรเชีย) หรือ German Sparrow (นกกระจอกเยอรมัน) เพื่อแยกความแตกต่างจากนกกระจอกต้นไม้อเมริกา (American Tree Sparrow) ซึ่งเป็นนกพื้นเมือง แม้ว่าจะมีหลายชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ แต่ลักษณะที่ปรากฏของนกแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตลอดแนวการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง

นกกระจอกนี้เป็นที่โดดเด่นในสกุลเพราะชุดขนไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ นกวัยอ่อนคล้ายนกโตเต็มวัยแต่มีสีทึมกว่า ด้วยรูปแบบแต้มบนใบหน้าทำให้มันง่ายที่จะจำแนก อีกทั้งมีขนาดเล็ก กระหม่อนไม่เป็นสีเทายิ่งทำให้มันแตกต่างจากนกกระจอกใหญ่ตัวผู้ นกกระจอกบ้านที่โตเต็มวัยและนกวัยอ่อนจะผลัดขนอย่างช้าๆ จนเสร็จสมบูรณ์ในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจะทำให้ดัชนีมวลร่างกายเพิ่มขึ้น แม้ไขมันที่สะสมจะลดลงก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของมวลกายเกิดขึ้นเพราะการเพิ่มขึ้นของเลือดเพื่อที่จะช่วยการงอกของขน และปริมาณความจุน้ำที่สูงขึ้นในร่างกาย

กระจอกบ้านไม่มีการร้องเพลงที่แท้จริง แต่การเปล่งเสียงของมันประกอบด้วย ชุดปลุกเร้าของเสียงร้อง ชิบ-ชิบ หรือ ชิชิบ-ชิชิบ โดยนกตัวผู้ที่ไม่มีคู่หรือกำลังเกี้ยวพาราสี เสียงร้องพยางค์เดียวอื่นๆ ถูกใช้ในการสื่อสารทางสังคม และเสียงร้องกระด้างขณะบิน แจ๊ก-แจ๊ก

นกกระจอกบ้านทำรังไม่เป็นระเบียบในโพรงธรรมชาติ รูในอาคาร หรือรังขนาดใหญ่ของนกสาลิกาปากดำหรือนกกระสาขาว นกจะวางไข่คราวหนึ่งห้าถึงหกฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวภายในสองอาทิตย์ นกกินเมล็ดพืชเป็นอาหารหลัก แต่บางครั้งจะกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร โดยเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกบ้านเหมือนกับนกขนาดเล็กทั่วไปซึ่งอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อจากปรสิต โรคภัยไข้เจ็บ และถูกล่าโดยนกล่าเหยื่อ ทำให้โดยทั่วไปมีช่วงชีวิตประมาณสองปี
..... ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41018949697414_P_20190317_125149_320x200_.jpg)
750



หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มีนาคม 2562 13:32:04

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15858814906742_ff_320x200_.jpg)
นกขุนแผนหัวแดง หรือคอแดง - ภาพวาดระบายสีน้ำ + สีอะคลิลิค

นกขุนแผนหัวแดง หรือคอแดง (ตัวผู้)
Red-headed Trogon

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Harpactes erythrocephalus
วงศ์ Family
สถานะการอนุรักษ์ :สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นนกประจำถิ่นพบได้บ่อยบางพื้นที่  
ตระกูล: วงศ์นกขุนแผน
ชั้น: สปีชีส์
ลักษณะ : ตัวผู้มีหัวสีแดงสดต่างจากนกขุนแผนชนิดอื่น ตัวโตสีแดงจัด ปากและหนังรอบตาสีฟ้าสด หลังและหางสีน้ำตาลแดง ท้องสีแดงอมชมพู ใต้หางมีลายบั้งสีดำสลับขาว มีแถบสีขาวคาดที่อก ปีกสีดำและมีลายเล็กๆ สีเทา
ตัวเมีย : หัวและอกช่วงบนสีน้ำตาลแดง แถบสีขาวที่อกยาวกว่าตัวผู้ ปีกมีลายสีเนื้อ
พฤติกรรม : ปราดเปรียว และชอบหลบซ่อน มักพบเกาะตัวตรงนิ่งไม่ค่อยเคลื่อนไหวบนเถาวัลย์หรือกิ่งไม้ คอยบินออกไปจับแมลงที่บินผ่านมา
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ จากที่ราบไปจนถึงระดับความสูง ๒,๐๐๐ เมตร นกประจำถิ่นพบได้ค่อนข้างบ่อย
เสียงร้อง : "ทตู๊ป ทตู๊ป ทตู๊ป" ๔-๕ ครั้ง เว้นระยะห่างกว่าชนิดอื่น


750


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 เมษายน 2562 12:01:47
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88204487371775__1_320x200_.jpg)
ภาพวาดระบายสีไม้

นกคาร์ดินัลแดง
Northern Cardinal

นกคาร์ดินัลแดง Northern Cardinal หรือนกบาทหลวง Cardinalidae สามารถพบเห็นได้ในหลายรัฐทางซีกตะวันออกของสหรัฐอเมริกา จุดเด่นก็คือ นกตัวผู้มีมีขนสีแดงสด ขนกระหม่อมชี้ตั้ง และมีขนสีดำที่หน้าจนถึงคอ มีแถบขนบริเวณใบหน้าเป็นแถบสีดำ เหมือนใส่หน้ากากหรือที่คาดตา ในขณะที่นกคาร์ดินัลตัวเมียจะมีสีสันที่ออกโทนน้ำตาลมากกว่า และแถบขนสีดำตรงตาจะไม่ชัดมากเท่าไหร่ จึงเป็นที่สังเกตได้ง่าย กินผลไม้จำพวกเบอร์รี่เป็นหลัก

นกคาร์ดินัล ตัวเต็มวัย จะมีขนาด ประมาณ ๗-๙ นิ้ว (จากหัวถึงหาง) ส่วนความกว้างของปีก ๑๒ นิ้ว สามารถมีอายุขัยเฉลี่ยถึงประมาณ ๑๕ ปี 



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24236593643824__2_320x200_.jpg)
ภาพวาดระบายสีไม้

นกขุนแผน
(Red-billed blue magpie)

นกขุนแผน หรือ นกสาลิกาดง (Red-billed blue magpie)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Urocissa erythrorhyncha

จัดเป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Corvidae อันเป็นวงศ์เดียวกับกา
นกขุนแผนเป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก กล่าวคือ โดยมีบริเวณหัวถึงลำคอสีดำ ขนบริเวณลำตัวมีสีฟ้าแกมม่วง ส่วนโคนปีกมีสีฟ้าแกมม่วง ด้านปลายปีกสีขาว มีหางสวยงามและยาวมาก มีสีฟ้าแกมม่วงส่วนบริเวณปลายหางมีสีขาว มีขนหางคู่บนยาวกว่าคู่อื่นๆ ปากสีแดง ขาสีแดงส้มและตาสีดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก จนยากที่จะแยกได้ออกจากการมองแค่ภายนอก

ความยาวจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ ๖๕-๖๘ เซนติเมตร และมีขนหางยาวมากราว ๓๗-๔๒ เซนติเมตร หรือ ๒ใน ๓ ของความยาวจากปากถึงปลายหาง ขนหางค่อนข้างแข็ง มี ๑๒ เส้น ซึ่งแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไป โดยมีขนหางคู่บนสุดยาวที่สุด ซึ่งยาวกว่าขนหางคู่ที่ ๕ อย่างเห็นได้ชัด ปลายขนหางแต่ละเส้นมีลักษณะมน ขนหางทุกเส้นมีสีฟ้าอมม่วง แต่ปลายขนหางแต่ละเส้นเป็นแถบสีขาว และเฉพาะปลายขนหางคู่ที่ ๑ ถึงคู่ที่ ๕ มีแถบสีดำถัดจากแถบสีขาวด้วย ปลายขนหางคู่ที่ ๖ ซึ่งเป็นคู่บนสุดโค้งลงมาเล็กน้อย

พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัยจนถึงจีน, พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้

มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ ตามป่าละเมาะ, ป่าโปร่ง มักส่งเสียงร้องขณะที่มันเริ่มออกหากิน บางเวลาอาจลงมาหากินตามพื้นดินหรือซอกก้อนหิน ซอกไม้ผุๆ อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น ด้วง, ปลวก, หนอน, หอยทาก, กิ้งก่า, จิ้งจก, จิ้งเหลน, งู รวมทั้งปาด, ตะขาบ และหนู แม้แต่ไข่นกและลูกนกชนิดอื่นในรัง รวมทั้งซากสัตว์ด้วย

ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะทำรังโดยนำกิ่งไม้เล็กมาขัดสานกันเป็นแอ่งตรงกลาง และรองพื้นด้วยรากไม้หรือใบไม้ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ ๓-๖ ฟอง อยู่สูงจากพื้น ๖-๘ เมตร มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕ แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพราะสีสันและหางที่สวยงาม
  ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19872978039913__3_320x200_.jpg)
ภาพวาดระบายสีไม้

นกขาบ หรือนกตะขาบทุ่ง
Indian roller, Blue jay

นกขาบ หรือนกตะขาบทุ่ง Indian roller, Blue jay


ชื่อวิทยาศาสตร์: Coracias benghalensis

นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางตอนใต้ของภาคใต้ พบได้ที่ความสูงมากว่าหรือประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทย พบในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าไผ่ ป่าฟื้นตัวที่ค่อนข้างทึบ มักพบที่ความสูงต่ำกว่า ๙๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่ระดับ ๑,๕๐๐ เมตรพบได้บ้างจนถึงหายาก พบที่เทือกเขาของภาคตะวันออก เทือกเขาที่กั้นภาคกลางตอนบนกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือด้านตะวันออก และผืนป่าตะวันตกตอนบน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน

นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็กๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง

ลักษณะ เป็นนกขนาดกลาง มีขนาดลำตัวประมาณ ๓๓ เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน รูปร่างไม่เพรียวลม ลำตัวตั้งตรง คอสั้น หัวโต ปากสีดำด้านยาวปานกลาง สันปากบนโค้ง จะงอยเป็นตะของุ้ม ปีกกว้างแต่ยาวและปลายปีกแหลม ปลายปีกมีขน ๑๑ เส้น ขนปลายปีกเส้นที่ ๑๑ สั้นกว่าขนเส้นอื่นๆ จึงเห็นได้ชัดเพียง ๑๐ เส้น ปลายหางเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือเว้าเล็กน้อย หลายชนิดมีหางแฉกลึก และบางชนิดมีหางแบบปลายแหมขึ้นอยู่กับชนิด ขาสั้น นิ้วเท้าสั้นและไม่แข็งแรง เล็บโค้ง นิ้วเท้าข้างละ ๔ นิ้ว นิ้วที่ ๒ และนิ้วที่ ๓ เชื่อมติดกันตรงโคนนิ้ว เรียกเท้าที่มีลักษณะดังกล่าวว่า Syndactyly foot ลักษณะนิ้วมีความคล้ายคลึงกับนกกะรางหัวขวาน ในวงศ์ Upupidae

สีสัน ปากสีดำด้าน ม่านตาสีน้าตาลแกมเขียว ตัวผู้มีคิ้วยาวสีขาวลายดำละเอียด ตัวเมียมีคิ้วสั้นกว่าตัวผู้เล็กน้อย ขนหางสีฟ้า ปลายหางสีน้ำเงินเข้ม ขนปีกมีหลายสีเหลื่อมกัน คือ ขนคลุมหัวปีกมีสีฟ้าอมเทา ขนกลางปีกและขนปลายปีกสีน้ำเงินที่โคนขนมีสีฟ้าสด คางและใต้คอสีม่วงแดงเข้มและมีขีดสีฟ้าเด่นชัด อกและท้องตอนบนสีน้ำตาลแกมม่วง ท้องตอนล่างจนถึงขนคลุมใต้โคนหางเป็นสีฟ้าสดแกมเขียว ใต้หางสีฟ้าสดและมีแถบสีน้ำเงินตอนปลายหาง ขาและนิ้วเท้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง เล็บสีดำ

นกวัยอ่อนหัวจะมีสีเขียวและหลังคอจะมีสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย หลังคอมีสีหม่นกว่า คอสีเนื้อแกมม่วง ท้องสีฟ้าอมเขียว ขนคลุมปีกสีน้ำตาล

พฤติกรรมและการขยายพันธุ์ ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว เหยื่อของนกตะขาบทุ่งได้แก่ ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงหางหนีบ ผีเสื้อกลางคืน บุ้ง ต่อ ด้วง แมลงปอและแมงมุม และสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวเล็กๆ เช่น กิ้งก่า จิ้งเหลน คางคก งู หนู หนูผีและลูกนก นกตะขาบทุ่งนับว่าเป็นนกล่าเหยื่อที่พิเศษกว่านกล่าเหยื่ออื่นๆ เช่น นกอีเสือ นกกระเต็น หรือนกแซงแซว เพราะมันสามารถล่าเหยื่อที่นกชนิดอื่นๆไม่กล้าแตะต้องเนื่องจากมีพิษได้ อย่างเช่น ตั๊กแตนหรือผีเสื้อกลางคืนที่มีสีเตือนภัย แมงป่อง ตะขาบหรืองูพิษเป็นต้น นกตะขาบทุ่งจะล่าเหยื่อตั้งแต่ตอนเช้าจนกระทั่งพลบค่ำ หรือแม้กระทั่งในเวลากลางคืน นกตะขาบทุ่งเป็นนกที่หวงถิ่นมาก ถ้าหากมีนกตัวอื่นบุกรุกเข้ามา มันจะบินขึ้นไปบนเหนือยอดไม้ แล้วบินม้วนตัวลงมายังผู้บุกรุกอย่างรวดเร็วเพื่อขับไล่ โดยใช้เวลาราว ๓๐ วินาที บางครั้งอาจบินผาดโผนพลิกแพลงราว ๔๘ วินาที และจะร้องเสียงดัง "ค๊าบ แค๊บ ค๊าบ" ไปเรื่อยๆ จนถึง ๑๒๐ ครั้ง และเพราะเหตุที่นกตะขาบทุ่งมีความสามารถในการบินม้วนตัวกลางอากาศได้ ชาวตะวันตกจึงเรียกมันว่า "Roller" ซึ่งแปลว่า "ลูกกลิ้ง" หรือ"ผู้กลิ้งม้วนตัว นกตะขาบทุ่งผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ทำรังบนต้นไม้บริเวณโพรงไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในบางครั้งจะแย่งรัง หรือโพรงเก่าของนกอื่นเพื่อวางไข่ ตัวเมียวางไข่ครั้งละ ๒-๕ ฟอง



750


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 04 มิถุนายน 2562 11:25:34

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70786280764473__320x200_.jpg)
นกหัวขวานสีน้ำเงิน
ภาพวาดระบายสีไม้

เจ้าตัวนี้ยังหาข้อมูลสายพันธุ์ไม่พบค่ะ เป็นนกที่มีลวดลายสวยสะดุดตา
น่ารักมาก


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65889449790120_od_320x200_.jpg)

นกกระจอกชวา

นกกระจอกชวา   อังกฤษ: Java sparrow, Java finch

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lonchura oryzivora

นกเกาะคอนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระติ๊ด (Estrildidae)

มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ ๑๓-๑๗ เซนติเมตร หัวและหางสีดำ วงรอบตาสีแดง แก้มสีขาว ลำตัวด้านบนเป็นสีเทา ลำตัวด้านล่างตั้งแต่ช่วงกลางท้องลงไปเป็นสีชมพูอ่อน ปากหนาสำหรับขบเมล็ดพืชสีชมพูอมแดง นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน

เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดในเกาะชวา, เกาะบาหลี และเกาะใกล้เคียงอื่นๆ ในประเทศอินโดนีเซีย อาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า, แหล่งเกษตรกรรม และที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัย อาหารหลักได้แก่เมล็ดข้าว, เมล็ดหญ้า, ผลไม้และแมลงเล็กๆ ต่างๆ โดยจะลงมาหากินตามพื้นดิน มีเสียงร้องว่า "ชิ๊บ" และหากร้องติดต่อกันจะร้องว่า "ชิ๊บๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ" ต่อเนื่องกัน

นกกระจอกชวาทำรังช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมตามโพรงบนต้นไม้, ชายคาบ้าน และรอยแตกตามอาคารต่าง ๆ รังเป็นรูปกลมทำจากรากหญ้า ใบหญ้า ลักษณะค่อนข้างรกรุงรัง วางไข่ครั้งละ ๔-๖ ฟอง ใช้เวลากกไข่ประมาณ ๑๓-๑๔ วัน

นกกระจอกชวา เป็นนกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงาม น่ารัก จึงนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนได้นกที่มีสีสันแตกต่างสวยงามออกไปจากสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในหลายพื้นที่ จากการถูกนำเข้าไป เพราะเป็นนกที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ หมู่เกาะแปซิฟิก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฮาวาย, เปอร์โตริโก และรัฐฟลอริด้า ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงในประเทศไทย โดยนกในประเทศไทยหลุดมาจากการนำเข้าที่สนามบินดอนเมืองราวปี พ.ศ.๒๕๐๐

นอกจากนี้แล้ว นกกระจอกชวายังได้ชื่อว่าเป็น "นกหมอดู" เนื่องจากมีผู้ที่เลี้ยงไว้เพื่อเสี่ยงทายดวงชะตาตามหลักโหราศาสตร์
...ข้อมูลจาก เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 31 กรกฎาคม 2562 16:10:22

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84884346773227_7_320x200_.jpg)
ภาพระบายสีไม้

นกติ๊ดหลังสีไพล
Japanese Tit

นกติ๊ดใหญ่ (Great Tit) เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจน หากไล่รายชื่อนกฉบับล่าสุดจะเห็นว่าไม่มีชื่อนกชนิดนี้ในเมืองไทยแล้ว เพราะ “นกติ๊ดใหญ่” จริงๆ แล้วประกอบไปด้วยอย่างน้อย ๓ ชนิด ประชากรทางเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ซึ่งไม่มีสีเหลืองที่ลำตัวถูกแยกออกมาเป็น Japanese Tit และ Cinereous Tit (ได้ชื่อว่า นกติ๊ดหลังสีไพล และนกติ๊ดหลังเทา ตามลำดับ) สองชนิดนี้เองที่พบได้ในเมืองไทย ส่วน Great Tit ของแท้กระจายตั้งแต่ยุโรปมาจนถึงไซบีเรีย ไม่พบในเขตร้อนของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก

นกติ๊ดหลังสีไพลมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างนกติ๊ดใหญ่ และนกติ๊ดหลังเทา คือมันมีหลังสีเขียวไพลเหมือนนกติ๊ดใหญ่ แต่มีลำตัวสีขาวนวลเหมือนนกติ๊ดหลังเทา ชนิดหลังนี้ในเมืองไทยเป็นนกที่มีถิ่นอาศัยจำกัดมากๆ พบตามป่าโปร่งระดับต่ำทางภาคอีสาน และป่าชายเลนทางภาคใต้ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ในขณะที่นกติ๊ดหลังสีไพล มักพบกระโดดหากินห้อยโหนตีลังกาได้อย่างคล่องแคล่วตามกิ่งไม้โล่งๆ พบง่ายบนดอยสูงหลายแห่ง

แปลจากภาษาอังกฤษ-หัวนมญี่ปุ่นหรือที่รู้จักกันในชื่อ Oriental tit คือนก passerine ที่มาแทนที่หัวนมใหญ่ที่คล้ายกันในญี่ปุ่นและ Russian Far East นอกเหนือจากแม่น้ำ Amur รวมถึงหมู่เกาะ Kuril จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้สายพันธุ์นี้ถูกจำแนกเป็นสายพันธุ์ย่อยของหัวนมที่ดี


นกติ๊ดหลังสีไพล Japanese Tit

ชื่อวิทยาศาสตร์/Scientific name : Parus minor

ลำดับ/Order : asseriformes

วงศ์/Family : นกติด Tits, chickadees : Paridae
 
สถานภาพในประเทศไทย/Seasonal status : นกประจำถิ่น/Resident
 
สถานภาพการอนุรักษ์/Conservation status : เป็นกังวลน้อยที่สุด/Least Concern
สถานภาพ/ Distribution : พบบ่อย หรือ พบเห็นทั่วไปในถิ่นอาศัยที่เหมาะสม/Common

...ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย (ภาษาอังกฤษ), เว็บไซต์ birdsofthailand.org & soclaimon.wordpress.com
750-26


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 ตุลาคม 2562 13:11:00

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12828976205653_c_320x200_.jpg)
ภาพระบายสีไม้

นกจับแมลงสีคล้ำหางแถบขาว 
Sun Conure

นกประจำถิ่นแห่งป่าดิบเชิงเขาที่พบได้ตั้งแต่ตีนเขาหิมาลัยทางตะวันออกสุดของอินเดียยาวไปจนถึงลาวใต้ เวียดนามและคาบสมุทรมลายู รวมทั้งเกาะสุมาตราและบอร์เนียว

อาจพูดได้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของแหล่งกระจายพันธุ์ และยังพบได้ถึงสองชนิดย่อย โดยชนิดย่อยหลัก (concretus) มีรายงานใน จ.ตรัง ละป่าดิบใกล้ชายแดนมาเลเซียในยะลาและนราธิวาส ส่วนชนิดย่อย cyaneus ที่พบในป่าตะวันตกและป่าแก่งกระจานเพศผู้มีลำตัวสีน้ำเงินจางกว่า เพศเมียซึ่งตัวสีน้ำตาลก็มีโทนสีอมเทามากกว่า โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าซึ่งจะไม่มีสีอมแดงเลย ชนิดย่อยที่ไม่พบในไทยคือ everetti ซึ่งเป็นนกเฉพาะถิ่นของบอร์เนียว คล้ายชนิดย่อยหลักแต่มีขนาดเล็ก สีสันของเพศผู้จืดชืดที่สุด นอกจากนี้เพศผู้ยังไม่มีขนสีขาวที่หาง เสียงร้องของทั้งชนิดย่อยที่พบในไทยนั้นต่างกันค่อนข้างชัดเจน เป็นไปได้ว่าจะถูกแยกชนิดในอนาคต


ขอขอบคุณข้อมูล oknation.nationtv.tv
750


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 พฤษภาคม 2563 18:59:54

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98021168758471_99123253_137112417939462_16383.jpg)
ภาพวาดระบายสีไม้

นกจับแมลงป่าโกงกาง
Mangrove Blue Flycatcher

ชื่อวิทยาศาสตร์ / Scientific name       Cyornis rufigastra
ลำดับ / Order     Passeriforme
วงศ์ / Family     นกจับแมลงและนกเขน Chats, Old World Flycatchers : Muscicapidae
สถานภาพในประเทศไทย /     นกประจำถิ่น / Resident
Seasonal status     .
สถานภาพการอนุรักษ์ /     ไม่น่ากังวลว่าจะสูญพันธุ์ / Least Concern
Conservation status     .
สถานภาพ / Distribution     พบเห็นยาก (เนื่องจากพฤติกรรม) หรือมีจำนวนน้อยมาก
.     ในถิ่นอาศัยที่เหมาะสม / Rare

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ birdsofthailand.org

750-24


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 กรกฎาคม 2563 16:10:33

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79383029788732__Copy_.jpg)
ภาพระบายสีไม้
ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ ความคมชัดน้อย

นกตะขาบทุ่งอกสีม่วง มีลำตัวยาวประมาณ ๓๘ เซนติเมตร หน้าผากและคิ้วสีขาว
กระหม่อมสีเขียวอ่อน มีแถบสีดำพาดผ่านดวงตา แก้มสีส้มแดง คางสีขาว คอและอก
สีม่วงแดงแซมด้วยสีขาว  ใต้ท้องสีน้ำเงินม่วง  ด้านหลังสีน้ำตาล ขนหางสีม่วงน้ำเงิน
ดวงตาสีน้ำตาลเข้ม จะงอยปากสีดำ ขาและตีนสีชมพูเหลือง   อาศัยตามทุ่งหญ้าและ
ดงไม้ อาหารหลักได้แก่ แมลง, กิ้งก่า และงู  รวมถึงตะขาบ, แมงป่อง, หอยทาก, นก
ขนาดเล็ก และสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กด้วย พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกาจนถึง
คาบสมุทรอาหรับ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิดย่อย  จัดเป็นนกที่มีสีสันสดใสและ
สวยงามมากชนิดหนึ่ง
...ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 มกราคม 2564 14:09:58

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79520879478918_133634168_1057515651430781_450.jpg)
ภาพระบายสีไม้

นกแก้วสุริยะ
Sun Conure

นกแก้วสุริยะ หรือ Sun Conure ชื่อวิทยาศาสตร์ Aratinga solstitialis แพร่กระจายพันธุ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล, ซูรินาเม และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเวเนซุเอลา พบอยู่อาศัยตามธรรมชาติ ป่าเปิด และป่าที่มีต้นปาล์มมากๆ พฤติกรรมทั่วไป อาศัยอยู่เป็นฝูงเล็กๆ ๔-๑๒ ตัว และอาจมากถึง ๓๐ ตัว ตามต้นไม้ที่มีผลดก

ทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีลักษณะเหมือนกัน ถ้าจะให้รู้ต้องคลำบริเวณตำแหน่งอวัยวะเพศ มีตุ่มๆ ตัวผู้

ขนลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีเหลืองสด แต่ที่ใบหน้าและส่วนท้องมีสีส้มสดใส ขนปีกสีเขียวเข้มปนน้ำเงิน ขนหางสีเขียวและมีสีเหลืองแซม ขนคลุมปีกมีสีเหลือง ขนคลุมใต้โคนหางสีเขียวขลิบเหลือง หนังบริเวณรอบตาสีขาวอมชมพู ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม จะงอยปากสีดำ ฝ่าเท้าสีเทา ความยาวลำตัว ๓๐ ซม. น้ำหนัก ๑๐๐-๑๒๐ กรัม

สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี เมื่อจับคู่แล้ว ออกไข่ได้หลายครอกต่อปี ครั้งละ ๔-๕ ฟอง กกไข่ ๒๓ วัน ฟักออกมาเป็นลูกประมาณ ๕๐ วัน เมื่อลูกโตพอออกมาจากรังเองได้ ควรปล่อยให้อยู่กับพ่อ-แม่ อีกสักระยะเพื่อซึมซับสัญชาตญาณ อายุเฉลี่ย ๑๕-๒๕ ปี

น.สพ.เกษตร สุเตชะ หน่วยสัตว์ชนิดพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ในการนำนกแก้วสุริยะมาเลี้ยง...ต้องเข้าใจในธรรมชาติ เป็นนกที่พูดไม่ได้ไม่เหมือนนกแก้วนกขุนทองในบ้านเรา แต่มักจะส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเกือบตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน โดยเฉพาะเวลาไม่พอใจ หรือต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด

แต่สามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ง่าย ชอบอยู่ติดคน กล้าแสดงออก ชอบอาบน้ำ กัดเจ็บพอควร บางครั้งชอบเอาแต่ใจตัวเอง ขี้อิจฉา ฉะนั้นควรมีของเล่น หรือกิ่งไม้ให้กัดแทะเพื่อระบายอารมณ์

เมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ จะมีพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะจะเปิดศึกการคัดเลือกจ่าฝูง เกิดการต่อสู้จิกกัดกัน จนกระทั่งรู้แพ้-ชนะ นกที่ชนะทุกตัวจะขึ้นเป็นจ่าฝูง และมักจะเกาะอยู่จุดเด่นที่สูงสุดของกรง.
...ข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 ธันวาคม 2564 18:17:36

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19560594856738_22_Copy_.jpg)
ภาพระบายสีไม้

นกหัวนมสีฟ้าเอเชีย
Cyanistes Caeruleus

"นกหัวนมสีฟ้าเอเชีย" (Cyanistes Caeruleus) เป็นที่จดจำได้ง่ายด้วยขนนกสีฟ้าและสีเหลืองและมีขนาดเล็ก

หัวนมสีฟ้าเอเชียมักจะมีถิ่นที่อยู่และไม่ใช่การอพยพย้ายถิ่นนกเป็นที่แพร่หลายและพันธุ์พื้นเมืองทั่วไปตลอดพอสมควรและ subarctic ยุโรปและตะวันตกพาลีอาร์คติในป่าเต็งรังหรือผสมกับสัดส่วนที่สูงของไม้โอ๊ค พวกมันมักจะทำรังในโพรงต้นไม้แม้ว่าพวกมันจะปรับตัวเข้ากับกล่องรังได้อย่างง่ายดายในกรณีที่จำเป็น คู่ต่อสู้หลักของพวกมันในการทำรังและในการค้นหาอาหารคือหัวนมขนาดใหญ่ที่มีขนาดใหญ่และธรรมดากว่า

หัวนมสีฟ้าของยูเรเชียชอบแมลงและแมงมุมเป็นอาหาร นอกฤดูผสมพันธุ์พวกมันยังกินเมล็ดพืชและอาหารจากพืชผักอื่นๆ นกเหล่านี้มีชื่อเสียงในด้านทักษะกายกรรมเนื่องจากสามารถเกาะตามกิ่งไม้ด้านนอกสุดและห้อยหัวลงเมื่อมองหาอาหาร
(ข้อมูลจาก wikipedia.org)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13356224157743_265225776_1283001285548882_876.jpg)


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 30 ธันวาคม 2564 15:19:38

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62409057592352_77_Copy_.jpg)
ภาพวาดระบายด้วยดินสอสีไม้

นกกางเขนยุโรป (Erithacus rubecula) หรือรู้จักกันในชื่อ โรบิน (robin)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Erithacus rubecula เป็นนกเดินเตาะแตะ ที่กินแมลงขนาดเล็ก ความยาวประมาณ ๑๒.๕-๑๔ เซนติเมตร (๔.๙ - ๕.๕ นิื้ว)  ตัวผู้และตัวเมียมีสีใกล้เคียงกัน หน้า ส่วนบน และอก มีสีส้ม-เทา และท้องสีขาว พบทั่วยุโรป ตะวันออกถึงไซบีเรียตะวันตก และใต้ สู่แอฟริกาเหนือ มักอยู่ประจำในพื้นที่  อายุขัย ๑๓ เดือน (ในสถานเพาะเลี้ยง) จำนวนไข่ในช่วงของการวางไข่ ๕-๖ ฟอง




หัวข้อ: Re: นกจาบคาหัวสีส้ม - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 มกราคม 2565 15:09:37

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34557485994365__Copy_.jpg)
ภาพระบายสีไม้

นกจาบคาหัวสีส้ม

นกจาบคาหัวสีส้ม เป็นนกประจำถิ่น พบได้บ่อยตามป่าโปร่งและชายป่าทั่วทุกภาค ทั้งในที่ราบและตามภูเขาสูง เช่นเดียวกับนกจาบคาอื่นๆ ที่หลายครอบครัวขุดรูทำรังใกล้กันเป็นกลุ่มในพื้นดินทราย พ่อแม่นกจาบคาหัวสีส้มแต่ละรังก็มักมีผู้ช่วยเลี้ยงลูก

นกจาบคาหัวสีส้มเป็นนกจาบคาขนาดเล็กชนิดเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีขนหางคู่กลางยื่นยาวคล้ายเข็ม ถึงกระนั้นยามจำแนกชนิดก็ควรระวังนกจาบคาชนิดอื่นในวัยเด็กหรือขณะผลัดขนหางด้วย โดยเฉพาะนกจาบคาเล็ก (Little Green Bee-eater) ซึ่งวัยเด็กมีลำตัวโดยรวมสีเขียวและคอสีเหลืองเช่นกัน นกโตเต็มวัยมีกระหม่อมและหลังสีส้มเข้ม ที่คอมีแต้มสีดำ ปีก หางสีฟ้าอมขียว และมีตะโพกสีฟ้าอ่อน

นกจาบคาหัวสีส้ม
ชื่ออังกฤษ  Chestnut-headed Bee-eater, Bay-headed Bee-eater
ชื่อวิทยาศาสตร์ Merops leschenaulti (Vieillot, 1817)
วงศ์ (Family) Meropidae (วงศ์นกจาบคา)
อันดับ (Order) Coraciiformes (อันดับนกตะขาบ นกกะเต็น และนกจาบคา)
 ขอขอบคุณ "คมชัดลึก ดอท เน็ต" (ที่มาข้อมูล)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51543532808621_52565_Copy_.jpg)



750/24 - 550/14


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 23 มกราคม 2565 16:32:45
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75381357595324__1_Copy_.jpg)
ภาพระบายสีไม้

นกพญาปากกว้างอกเงิน

นกพญาปากกว้าง นกพญาปากกว้าง (Broadbills) Family Eurylaimidae พบทั่วโลกมี ๑๑ ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบเพียง ๗ ชนิด  นกพญาปากกว้างอกสีเงิน (Silver-breasted Broadbill) เป็นนกในวงศ์นกพญาปากกว้าง (Family Eurylaimidae) ขนาดใกล้เคียงนกปรอด ประมาณ ๑๖-๑๗ ซม. หัวและลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเหลือง ลำตัวด้านล่างสีเทาแกมขาว ตัวเมียจะมีแถบสีเงินแคบๆคาดที่หน้าอก

นกพญาปากกว้างอกสีเงิน อาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้งเกือบทั่วประเทศ นอกฤดูผสมพันธุ์จะอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีพื้นที่หากินกว้าง บางครั้งอาศัยอยู่ในป่าลึก

ฤดูผสมพันธุ์ ทำรัง วางไข่ของนกพญาปากกว้างอยู่ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนกันยายน โดยจะทำรังด้วยใบพืชยาวๆ ใบไผ่ รากไม้เล็กๆ โดยปกติแล้วนกพญาปากกว้างหางยาวไม่ใช่นกที่เราจะพบเห็นได้ง่ายนัก เพราะเป็นนกที่อาศัยหากินในป่าดงดิบ แต่ในช่วงทำรังจะเลือกหาสถานที่ที่คิดว่าที่ปลอดภัยสุด
... ขอขอบคุณเว็บไซต์ เชียงใหม่นิวส์ (ที่มาเรื่อง)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52580341903699_1_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58027114181054_2_Copy_.jpg)


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2565 16:23:54
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64108134971724_ppt504C.pptm_Copy_.jpg)

นกกินปลีคอสีทองแดง
Copper-throated sunbird

ลักษณะทั่วไป ขนาด ๑๔ ซม. ปากเรียวโค้งสีดำ เพศผู้ หัวสีเขียวเหลือบ มีแถบหนาสีดำจากโคนปากถึงหลัง ลำตัวด้านบน ขนคลุมไหล่และตะโพก สีเขียวเหลือบ ปีกและหางสีน้ำตาลดำ ลำตัวด้านล่าง คอและอกสีน้ำตาลม่วง เหลือบแสงได้หลายสี ท้องและก้นสีม่วง เพศเมีย หัวสีเทา วงรอบดวงตาสีขาว ไม่ต่อกัน ลำตัวด้านบน ขนคลุมหลัง ไหล่และปีกสีน้ำตาลเขียว หางสีน้ำเงิน ลำตัวด้านล่าง คอสีขาว อกและท้องสีเหลือง ถิ่นอาศัย ป่าชายเลน ป่าชายหาด ... ขอขอบคุณเว็บไซต์ คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ที่มาข้อมูล)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24435028557975_ppt504C.pptm_Copy_.jpg)

750-24
450-10


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2565 16:04:34
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83126061699456__1_Copy_.jpg)
ภาพวาดระบายสีไม้

นกพญาปากกว้างท้องแดง

นกปากกว้างสีแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbirhynchus macrorhynchos เป็นนกสายพันธุ์หนึ่งในตระกูลนกปากกว้างทั่วไป Eurylaimidae เป็นสายพันธุ์เดียวในสกุล Cymbirhynchus เป็นนกขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะ มีลำตัวสีน้ำตาลแดง ส่วนบนสีดำ สายรัดคอสีน้ำตาลแดง และแถบสีขาวที่ปีก นอกจากนี้ยังมีใบเรียกเก็บเงินขนาดใหญ่สองสีสีน้ำเงินและสีเหลือง
... ขอขอบคุณเว็บไซต์ วิกิพีเดีย (ที่มาข้อมูล)


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 14:16:32
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64890919625759_ppt40E5.pptm_Copy_.jpg)
ภาพวาดระบายดินสอสี

นกเค้าจุด

นกเค้าจุด (อังกฤษ: Spotted owlet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Athene brama) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย

มีลักษณะส่วนหัวกลมไม่มีขนชี้ขึ้นไปเหมือนหูอย่างนกเค้ากู่ (Otus lempiji) มีจุดสังเกตอยู่ที่ขนคิ้วสีขาวที่เห็นได้เด่นชัด หัวค่อนข้างแบน บริเวณหัวจนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วไป บริเวณตัวด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลก็มีจุด แต่จะมีขนาดใหญ่และกระจายมากกว่าบริเวณหัว บางทีใหญ่และเรียงตัวกันดูคล้ายบั้งมากกว่าจุด โดยเฉพาะด้านหลังคอที่จะเรียงตัวต่อกันคล้ายปลอกคอ ด้านล่างของลำตัวสีขาว แต่มีลายจุดสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน

โตเต็มที่มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ ๒๐ เซนติเมตร จัดว่าเป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ออกหากินในเวลากลางคืน โดยเริ่มออกจากรังตั้งแต่เวลาโพล้เพล้ เป็นนกที่บินได้เงียบมาก อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่างๆ รวมถึงแมลงปีกแข็ง, หนูขนาดเล็กหรือนกขนาดเล็กชนิดอื่นที่นอนหลับบนต้นไม้ เมื่อเห็นเหยื่อจะพุ่งตัวกางกรงเล็บอันแข็งแรงและแหลมคมออกจับเหยื่อ ถ้าเหยื่อตัวเล็กจะกินเลยทันที ถ้าตัวใหญ่ก็นำกลับมาที่รังก่อนแล้วใช้กรงเล็บจับเหยื่อขึ้นมาฉีกกินจนหมด นกเค้าจุดที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านอาจมีพฤติกรรมไล่จับแมลงที่มาเล่นไฟที่หลอดนีออน

มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อนุทวีปอินเดีย สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ที่พม่า, ไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง ๔๐๐ เมตร จนถึงทะเลทราย ทั้งยังปรับตัวให้อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ได้อีกด้วย โดยสามารถพบได้ตามที่ๆ มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นหรือตามสวนสาธารณะ เป็นนกที่ปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้ดีมากชนิดหนึ่งและไม่ค่อยกลัวมนุษย์ มีชนิดย่อยทั้งหมด ๔ ชนิด

ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน โดยรังวางไข่ของนกเค้าจุด จะใช้โพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ หรือรอยแตกรอยแยกในตึก, เจดีย์, ซอกหลังคาตามอาคารเป็นรัง อาจหาหญ้าหรือขนนกมารองพื้นรัง แต่ส่วนมากจะวางไข่กับพื้นเปล่าเลย วางไข่ครั้งละ ๓-๕ ฟอง ไข่มีลักษณะกลม ขนาด ๓๗x๒๗ มิลลิเมตร เปลือกไข่สีขาวเป็นมันเล็กน้อย นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ เช่นเดียวกับนกเค้าแมวชนิดอื่นๆ นกเค้าจุดจะกกไข่ทันทีตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกในรังจึงมีขนาดแตกต่างกันมาก เพราะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยงลูกนกประมาณ ๓๕-๔๐ วัน ลูกนกจะสามารถออกมานอกรังได้

ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อน โดยจะออกหากินในเวลากลางวัน ถ้าเหยื่อเป็นชิ้นเล็กๆ จะส่งให้ลูกทั้งตัว ถ้าขนาดใหญ่ก็จะฉีกเป็นชิ้นเล็กให้ ลูกนกที่โตพอสมควรแล้วจะยังคงอยู่กับพ่อแม่อีกนาน บางครั้งอาจพบนกเค้าจุด ๒-๓ ตัว อยู่บนต้นไม้เดียวกัน หรือเกาะกิ่งเบียดใกล้ชิดกันเสมอๆ โดยในตอนกลางวันจะเกาะกิ่งหลับอยู่บนต้นไม้ใบหนา หรือถ้ามีโพรงก็จะมุดเข้าไปหลบในโพรงเพื่อความปลอดภัย

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕ แต่ก็เป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51711506769061_55532_Copy_.jpg)

ขอขอบคุณ
- วิกิพีเดีย (ที่มาข้อมูล)
- เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาตัวอย่างภาพ)


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 มีนาคม 2565 16:14:44
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22790372785594__Copy_.jpg)
ภาพวาดระบายดินสอสี

นกแก้วมาคอว์

มาคอว์ (Macaw) เป็นสัตว์ปีกอยู่ในวงศ์ Psittacidae มาคอว์จัดเป็นนกในตระกูลปากขอที่มีขนาดใหญ่ นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากมีสีสันที่สวยงาม เชื่อง และสามารถพูดเลียนเสียงคนได้

มาคอว์ถือเป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกและทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันสวยงาม มีเสียงร้องที่ดังมากจะงอยปากจะใหญ่เป็นพิเศษ เหนือปากด้านบนจะมีสีขาวเส้นเล็กๆ คาดระหว่างปากกับหัว บนหัวมีขนสีเขียวสดและสีฟ้า ดวงตามีขนเป็นลายเส้นดำ ๔-๕ เส้น ขนบริเวณคอจนถึงหน้าอกเป็นสีเหลืองเข้มและขนหางมีสีแดงสด ขาสั้นใหญ่ แข็งแรง ขนที่ปีกบางทีก็เป็นสีฟ้าและสีเหลืองหรือสีเขียวเหลือง ขนาดของนกแก้วมาคอว์มีขนาดตั้งแต่ ๓๒-๓๕ นิ้ว

อาหารของมาคอว์คือ ผลไม้และเมล็ดธัญพืช ชอบอยู่กันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ในฤดูผสมพันธุ์จะจับคู่กันแบบคู่ใครคู่มัน และไปสร้างรังตามต้นไม้ใหญ่เพื่อวางไข่ วางไข่ครั้งละ ๓-๔ ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ ๓๐-๓๕ วัน ขนของลูกนกจะขึ้นหลังจาก ๓ สัปดาห์และขึ้นจนเต็มตัวและมีสีสันสวยงาม ลูกนกจะแข็งแรงเต็มที่เมื่ออายุสามเดือน ในระหว่างที่ยังเล็กต้องอาศัยอาหารจากแม่นกที่นำมาป้อน โดยจะใช้ปากจิกกินอาหารจากปากแม่ของมันจนกระทั่งลูกนกสามารถช่วยตนเองได้ และในที่สุดมันก็จะบินและหาอาหารเองโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่อีกต่อไป

มาคอว์จัดเป็นนกที่สามารถฝึกให้เชื่อง เป็นนกที่มีความจำดีและมีความพยาบาทรุนแรง ดุร้าย น่ากลัวมากเท่ากับความอ่อนโยนอ่อนน้อมน่ารักชวนให้ปราณีของมัน โดยอุปนิสัยแล้วมาคอว์เป็นนกที่ชอบสะอาด หากผู้เลี้ยงอาบน้ำให้มันเป็นประจำ มาคอว์จะมีความสุขมาก ดังนั้นผู้เลี้ยงควรใช้น้ำจากฝักบัวรดให้นกได้อาบน้ำบ่อยครั้ง ในฤดูฝนควรอาบน้ำให้ในกลางแจ้ง เพื่อให้นกได้อาบน้ำฝนบ้าง แล้วควรนำนกมาไว้ในที่มีแดดดอนๆ และอากาศบริสุทธิ์ มาคอว์เป็นนกที่ไม่ชอบอยู่โดดเดี่ยวเช่นเดียวกับนกแก้วชนิดอื่นๆ

มาคอว์ที่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจะสนิทสนมกับผู้เลี้ยง หากผู้เลี้ยงห่างเหินมาคอว์จะโศกเศร้าแสดงอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นคนที่เลี้ยงมาคอว์ควรจะให้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิด มาคอว์เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มาก มีปากที่แหลมคม ประสาทตาไวมาก มีความฉลาดและน่ารักในตัวของมันเอง เป็นนกที่เชื่องมาก หากเจ้าของเอาใจใส่มัน มันก็จะรักเราเหมือนที่เรารักมัน สามารถสอนให้เล่นจักรยาน สอนกิจกรรมต่างๆ ได้แต่ต้องหมั่นฝึกฝนจึงจะเป็น



ขอขอบคุณ
- วิกิพีเดีย (ที่มาข้อมูล)
- ภาพตัวอย่าง จาก Facebook


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71286523383524_58028_Copy_.jpg)


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 เมษายน 2565 16:31:07

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44287761838899__Copy_.jpg)
นกกระเต็นน้อยธรรมดา ภาพวาดระบายดินสอสี

นกกระเต็นน้อยธรรมดา

นกกระเต็นน้อยธรรมดา (Common kingfisher) ชื่อวิทยาศาสตร์: Alcedo atthis  เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) และมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กและน่ารัก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ ๑๖-๑๘ เซนติเมตร เมื่อเทียบกับนกกระเต็นชนิดอื่นๆ แต่จะแตกต่างกันที่ตัวเมียมีโคนปากล่างและอาจทั้งปากล่างเป็นสีส้มแดงขณะที่ตัวผู้มีปากสีดำสนิท

ลักษณะทั่วไป
นกกระเต็นน้อยธรรมดามีหัวและหน้าผากสีฟ้าอมเขียว สดใส มีจุดสีฟ้าอ่อนเล็กๆ เป็นแนวขวางถี่ๆ หลายแนว คอสีขาว อกสีน้ำตาลแดง แก้ม และขนคลุมหูสีน้ำตาลแดง ปีกสีฟ้าอมเขียว มีจุดสีฟ้าอ่อนตรงแนวปีก หลังและตะโพกสีฟ้าสดใสมากๆ ขาและนิ้วเท้าเล็กๆ สีแดงสดใส เป็นนกขนาดเล็ก ยาว ๑๖-๑๘ เซนติเมตร ปีกสั้นกว่า ๘ เซนติเมตร หางสั้น นกวัยเล็กมีอกสีหม่นออกขาวๆ เทาๆ มีปากล่างสีแดง ขาและเท้าสีดำ และจะค่อยๆ แดงขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น

ถิ่นที่อยู่อาศัย
รัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย, ยุโรป, อินเดีย, พม่า, แอฟริกา, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะโซโลมอน, หมู่เกาะซุนดา, เกาะนิวกินี และไทย สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค (แบ่งออกได้เป็น ๗ หรือ ๘ ชนิดย่อย ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ A. a. bengalensis) โดยมีการเก็บตัวอย่างต้นแบบแรกได้จากอียิปต์

อาศัยตามแหล่งน้ำ เช่น ลำคลองหนอง บึง บ่อ ทะเลสาบ และ ยังพบได้ตามทุ่งโล่ง ป่าชายเลน ชายหาด และป่าดงดิบแล้งใกล้ที่มีแหล่งน้ำ ลำธารที่น้ำไหลช้า ทั้งในที่โล่งและในป่าที่ไม่ทึบนัก ตามสวนสาธารณะในเมือง และนอกเมือง ป่าโกงกาง จากที่ราบถึงที่สูง ๑,๘๓๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล

ไข่ : พฤติกรรมการหากิน
มักพบอยู่โดดเดี่ยวไม่รวมฝูง หากินเวลากลางวัน โดยจะเกาะอยู่ตามกิ่งไม้แห้ง ตอไม้ ในแหล่งน้ำ เพื่อคอยจับปลาตัวเล็กๆ ลูกอ๊อด กบขนาดเล็ก กุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก ปลาตีน ตามแต่ที่จะจับได้บริเวณที่ไปอยู่อาศัย และแมลงในน้ำ เช่น แมลงปอ ตั๊กแตน เมื่อพบเหยื่อมันจะบินโฉบใช้ปากคาบเหยื่อ หรือบางครั้งลำตัวของมันจะจมลงไปในน้ำด้วย เมื่อได้เหยื่อมันจะกลับมาเกาะตรงที่เดิมแล้วจึงกลืนกิน หากเหยื่อเป็นปลามันจะหันทางด้านหัวปลาเข้าปาก หากยังไม่อิ่มก็จะคอยจ้องจับเหยื่อต่อไป นกกระเต็นน้อยธรรมดาจัดเป็นนกอพยพเข้ามาหากินในเขตประเทศไทย และยังไม่มีการรายงานพบการทำรังวางไข่ในประเทศไทย นกกระเต็นน้อยธรรมดาจัดเป็นนกอพยพที่พบได้บ่อยและมีปริมาณมากทั่วทุกภาค

การกระจายพันธุ์และแหล่งที่พบ
นกกระเต็นน้อยธรรมดาไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย แต่เป็นนกที่อพยพมาจากที่ที่มีอากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว นกกระเต็นน้อยธรรมดาแถบอกดำ จะพบตามลำธารในป่าภาคใต้ นกกระเต็นน้อยธรรมดาสร้อยคอสีน้ำตาล จะพบตามป่าที่ราบต่ำภาคใต้ และนกกระเต็นน้อยธรรมดาแดง จะพบทางภาคใต้และภาคตะวันออก ตามป่าชายเลน บางส่วนเป็นนกอพยพจะเริ่มพบในประเทศไทยได้ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายนไปจนถึงปลายฤดูหนาว และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายไทย


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26049374582038__2_Copy_.jpg)

ขอขอบคุณ
- วิกิพีเดีย (ที่มาข้อมูล)
- ภาพตัวอย่าง จาก naturephoto-cz.com


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 เมษายน 2565 16:02:56

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18010487531622__1_Copy_.jpg)
นกกระจาบ ในฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้มีศีรษะเป็นสีเหลืองสด แล้วสลายหลังฤดูผสมพันธุ์

นกกระจาบ


นกกระจาบธรรมดา หรือ นกกระจาบอกเรียบ (baya weaver), ชื่อวิทยาศาสตร์: Ploceus philippinus เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกจาบ (Ploceidae) ที่พบในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ อาศัยในทุ่งหญ้า ไร่นา ป่าละเมาะ ป่าทุติยภูมิ พื้นที่ริมน้ำ เป็นนกที่รู้จักกันดีจากรังที่ถักสานอย่างประณีตเป็นรูปน้ำเต้าคอยาว ด้วยใบไม้และหญ้า มักสร้างเป็นหมู่ ปกติพบในต้นไม้มีหนามหรือที่ใบของไม้วงศ์ปาล์มรวมทั้งมะพร้าวและตาล บ่อยครั้งสร้างใกล้น้ำหรือห้อยเหนือน้ำที่สัตว์ล่าเหยื่อเข้าถึงยาก นกอยู่กระจายอย่างกว้างขวาง พบอย่างสามัญภายในเขตที่อยู่ แต่อาจอพยพตามฤดูขึ้นอยู่กับฝนและอาหาร

ในประเทศไทยนกจาบธรรมดาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช ๒๕๓๕ ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง ห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก

นกจาบธรรมดาแบ่งเป็น ๕ ชนิดย่อยตามถิ่นที่อยู่และลักษณะที่ต่างกันเล็กน้อย ชนิดย่อยต้นแบบ คือ P. p. philippinus พบทั่วอนุทวีปอินเดีย และชนิดย่อย P. p. burmanicus พบทางทิศตะวันออกในเอเชียอาคเนย์ส่วนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียมีสีเข้มกว่าชนิดย่อยอื่น จัดเป็นชนิดย่อย P. p. travancoreensis

นกจาบธรรมดามีขนาดเท่านกกระจอก (จากหัวถึงโคนหาง ๑๕ ซม.) มีปากแข็งหนารูปกรวย มีหางสี่เหลี่ยมสั้น บินโฉบเหมือนนกแอ่น และบินตรงตามธรรมดา

มีสีขน ๒ ชุด นอกฤดูผสมพันธุ์ ทั้งตัวผู้ตัวเมียมีสีขนไม่ต่างกัน ซึ่งคล้ายกับสีขนของนกกระจอกใหญ่ตัวเมีย ส่วนบนเป็นแถบน้ำตาลอ่อนสลับลายน้ำตาลเข้ม มีลายจากขอบขนสีอ่อน ส่วนล่างเป็นสีน้ำตาลอ่อนออกขาว ไร้ลาย มีแถบคิ้วยาวสีเหลืองส้มอ่อน ปากสีเนื้อ ข้างแก้มเรียบไม่มีแถบสีเข้ม ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีสีเหลืองสดที่กระหม่อม หน้าผาก จนถึงท้ายทอย แก้มสีน้ำตาลเข้ม ปากออกน้ำตาลดำ ส่วนบนสีน้ำตาลเข้มสลับลายเหลืองจากขอบขน อกเหลือง ส่วนล่างสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเหลืองหม่น

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
เป็นนกที่ชอบอยู่เป็นฝูงหากิน เมล็ด พืช ทั้งบนไม้และบนพื้น บินต่อกันเป็นฝูง บ่อยครั้งเปลี่ยนทิศทางได้อย่างสลับซับซ้อน มักกินข้าวเปลือกและธัญพืชอื่นๆ ในไร่นาที่เก็บแล้ว และบางครั้งสร้างความเสียหายแก่พืชเพาะปลูกที่กำลังโตได้ บางครั้งจึงจัดเป็นสัตว์รังควาน นกจาบธรรมดานอนที่รังซึ่งทำจากหญ้า (กกและอ้อ) ใกล้น้ำ จึงต้องพึ่งหญ้าต่างๆ (เช่น Panicum maximum) ต้องพึ่งพืชเพาะปลูกเช่นข้าวทั้งเพื่อเป็นอาหาร (กินเมล็ดในระยะงอกและเมื่อเป็นเมล็ดในระยะต้นๆ) และเป็นวัสดุทำรัง ยังกินแมลง (เช่น ผีเสื้อ) และบางครั้งแม้แต่กินกบเล็กๆ จิ้งจก และมอลลัสกาโดยเฉพาะเพื่อเลี้ยงลูก การอพยพในแต่ฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณอาหาร มักร้องต่อๆ กันเป็นเสียงจิ๊ด จิ๊ด จิ๊ด โดยตัวผู้ที่ร้องประสานเสียงกันบางครั้งยุติเป็นเสียงลั่นดัง จี๊ เสียงร้องในนอกฤดูผสมพันธุ์จะเบากว่า

บางครั้งนกจาบธรรมดาลงมาที่พื้นเพื่ออาบฝุ่น การศึกษานกที่เลี้ยงพบว่ามีลำดับชั้นทางสังคม (pecking order) ในแต่ละตัว

การผสมพันธุ์
นกผสมพันธุ์ในฤดูมรสุม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่เริ่มการผสมพันธุ์รวมทั้งระยะเวลาช่วงกลางวันโดยจบลงเมื่อถึงปลายฤดูร้อน ปกติหลังฤดูผสมพันธุ์ นกซึ่งได้รับอิทธิพลทางการผสมพันธุ์จากแสงอาทิตย์เกิดภาวะดื้อแสง (photorefractoriness) คือไม่ตอบสนองทางการผสมพันธุ์ต่อแสงแม้วันก็ยังยาวอยู่ นกในเขตอบอุ่นหมดภาวะนี้ก็ต่อเมื่อได้อยู่ในช่วงวันที่สั้นๆ ๔-๖ เดือน แต่นกกระจาบธรรมดาหาเป็นเช่นนี้ไม่ เพราะภาวะนี้สามารถหมดไปได้เอง (spontaneous) ซึ่งเชื่อว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะทางนิเวศต่างๆ ได้ดีกว่า นกมักทำรังเป็นหมู่โดยปกติมากถึง ๒๐-๓๐ รังใกล้ๆ แหล่งอาหาร วัสดุทำรัง และน้ำ

นกรู้จักดีที่สุดเพราะตัวผู้ทำรังถักอย่างพิสดาร รังห้อยเช่นนี้มีรูปเป็นหลอดแก้วคอยาว (สำหรับกลั่นในห้องทดลอง) มีช่องรังอยู่ตรงกลาง โดยมีท่อต่อจากข้างช่องยาวเป็นแนวตั้งลงไปยังทางออกด้านล่าง รังถักด้วยเศษยาวๆ จากใบข้าว ใบหญ้าหยาบ และใบของไม้วงศ์ปาล์ม (เช่นต้นมะพร้าว) ใบอาจยาวระหว่าง ๒๐-๖๐ ซม. ตัวผู้อาจต้องบินไปหาวัสดุถึง ๕๐๐ ครั้งจนกว่าจะทำรังเสร็จ

นกใช้ปากที่แข็งแรงฉีกใบจากไม้วงศ์ปาล์มให้เป็นเศษยาว แล้วนำมาถักและผูกทำรัง บ่อยครั้งห้อยเหนือน้ำ บ่อยครั้งห้อยจากต้นอาเคเชียที่มีหนาม และบางครั้งจากสายโทรศัพท์ แม้นกชอบไม้หนาม แต่บางครั้งก็ใช้ต้นไม้ริมถนนในเขตเมือง รังมักอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นไม้ ซึ่งเชื่อว่าช่วยป้องกันมรสุมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ แต่นกที่ผสมพันธุ์ทีหลังก็มีโอกาสสร้างรังในทิศอื่นๆ ของต้นไม้มากกว่า

รังที่ทิ้งแล้ว หนูเล็กๆ (เช่น Mus booduga) และนกอื่นๆ (เช่น Lonchura) อาจเข้าไปอยู่

ตัวเมียในอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ
แม้รังโดยหลักสร้างเป็นหมู่ แต่ที่สร้างเดี่ยวๆ ก็มีอยู่ รังบ่อยครั้งสร้างมาจากใบของต้นอาเคเชียหรือไม้วงศ์ปาลม์ และห้อยอยู่เหนือน้ำโล่ง นกตัวผู้อายุน้อยๆ อาจลองสร้างรังตามหญ้า  ในพม่า นกบ่อยครั้งสร้างรังใต้ชายคาตึกและบ้าน

ตัวผู้ใช้เวลาประมาณ ๑๘ วันเพื่อสร้างรังให้เสร็จ โดยรังระยะ "หมวก" เสร็จในประมาณ ๘ วัน รังสร้างเสร็จเป็นบางส่วนก่อนตัวผู้เริ่มแสดงให้ตัวเมียที่บินผ่านโดยกระพือปีกร้องเมื่อเกาะอยู่ที่รัง ตัวเมียตรวจดูรังแล้วแสดงการยอมรับกับตัวผู้เมื่อจับคู่แล้ว ตัวผู้สร้างรังให้เสร็จโดยเพิ่มปล่องทางเข้า ตัวผู้สร้างรังเองเกือบทั้งหมด แม้คู่ตัวเมียอาจช่วยแต่งบ้าง โดยเฉพาะข้างใน ตัวเมียอาจเปลี่ยนรังข้างในหรือเติมก้อนโคลน

งานศึกษาหนึ่งพบว่า ที่ตั้งสำคัญกว่าโครงสร้างของรังเมื่อตัวเมียเลือกรังและคู่ เพราะชอบรังที่อยู่บนไม้สูงกว่า อยู่เหนือพื้นแห้ง และอยู่บนสาขาไม้เล็กๆ

ทั้งตัวผู้ตัวเมียไม่ได้จับคู่เดียวตลอดชีวิต ตัวผู้อาจสร้างรังเป็นบางส่วนหลายรังแล้วเริ่มเกี้ยวตัวเมีย โดยทำรังให้เสร็จก็ต่อเมื่อหาคู่ได้ ตัวเมียวางไข่สีขาว ๒-๔ ใบแล้วฟักเป็นเวลา ๑๔-๑๗ วัน ตัวผู้บางครั้งช่วยเลี้ยงลูก ลูกนกออกจากรังหลังจากประมาณ ๑๗ วัน

หลังจากผสมพันธุ์กับตัวเมีย ตัวผู้ปกติเกี้ยวตัวเมียอื่นๆ ที่รังซึ่งสร้างไว้ส่วนหนึ่งในที่อื่นๆ การออกไข่ให้นกตัวอื่น (พันธุ์เดียวกัน) ฟักแล้วเลี้ยงก็มีด้วยเหมือนกัน

ลูกนกออกจากรังเมื่อยังมีขนลูกนก เปลี่ยนเมื่อสลัดขนหลังจากนั้นเมื่ออายุ ๔-๖ เดือน แล้วไปหาที่อยู่ใหม่ไม่ไกลจากรังเก่าโดยพบไกลจนถึง ๒ กิโลเมตร ตัวเมียพร้อมผสมพันธุ์ในปีถัดมา แต่ตัวผู้จะใช้เพียงครึ่งปี นกมักสลัดขนก่อนผสมพันธุ์ นกโตแล้วยังสลัดขนเป็นครั้งที่สองหลังผสมพันธุ์ ดังนั้นจึงสลัดขนสองครั้งต่อปี งานศึกษาทางมิญชเคมี (hi) พบเมทาบอลิซึมของลิพิดที่สูงขึ้นที่ยอดหัวตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์สันนิษฐานว่า ลิพิดมีส่วนในการขนส่งสารสีแคโรทีนอยด์สีเหลืองไปที่ยอดศีรษะ แล้วสลายหลังฤดูผสมพันธุ์

เพราะรังห้อยจากไม้มีหนามและเหนือน้ำ จึงกันสัตว์ล่าเหยื่อหลายอย่างได้ แต่การถูกกาล่าก็เป็นเรื่องปกติ ไข่ทั้งหมดอาจถูกกินโดยกิ้งก่าเช่นกิ้งก่าสวน หรือโดยสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู Vandeleuria oleracea ซึ่งอาจยึดรังเลยก็ได้ นกกระติ๊ด เช่น Euodice malabarica ก็อาจยึดรัง

อินเดียมีความเชื่อพื้นบ้านว่า นกติดหิ่งห้อยกับโคลนที่ฝารังเพื่อทำแสงไฟในช่วงกลางคืน แม้ดินเหนียวก็พบในรังนกด้วยเหมือนกัน ตัวผู้อาจเติมก้อนโคลนและมูลสัตว์ในช่องรังก่อนจับคู่กับตัวเมีย ซึ่งอาจช่วยต้านลม

ในกาลก่อน เคยฝึกนกให้เล่นแสดง มันสามารถคาบวัตถุขึ้นได้ตามคำสั่ง อาจฝึกให้ยิงปืนใหญ่เด็กเล่น ร้อยลูกปัด เก็บเหรียญหรือวัตถุอื่นๆ ตามนักสัตววิทยาชาวอังกฤษผู้หนึ่ง (Edward Blyth 1810-1873) "แท้จริงแล้ว นกกระจาบธรรมดาที่ฝึกแล้วความสามารถที่มหัศจรรย์มาก และต้องเห็นจึงเชื่อ สันนิษฐานว่านักแสดงได้นำนกไปทั่วประเทศ (อินเดีย) และการเล่นปกติอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อมีสตรีและได้สัญญาณจากเจ้าของ นกจะคาบของหวานไว้ในปาก แล้ววางใส่ปากของผู้หญิง และทำอย่างนี้สำหรับสตรีทุกๆ คน โดยทำตามสัญญาณตาและทีท่าของเจ้าของ แล้วนำปืนใหญ่จำลองออกมา ซึ่งนกบรรจุด้วยดินปืนหยาบๆ ..." นักธรรมชาตินิยมชาวอังกฤษผู้หนึ่ง (Robert Tytler 1818-1872) ได้เห็นการแสดงที่นกหมุนไม้เล็กๆ ติดไฟที่ข้างทั้งสองเหนือหัวตนเอง

นกนักเล่นแสดงได้บันทึกไว้ตั้งแต่สมัยของจักรพรรดิอักบัร (๑๕๔๒-๑๖๐๕) แห่งจักรวรรดิโมกุลแล้ว คือ

นกกระจาบธรรมดาเหมือนกับนกกระจอกป่าแต่สีเหลือง ฉลาดมาก เชื่อฟัง และเชื่อง มันนำเหรียญจากมือไปให้เจ้าของ มาจากที่ไกลๆ เมื่อเรียก รังของมันสร้างอย่างแยบยลเทียบได้กับช่างฝีมือ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54188345703813__2_Copy_.jpg)

ขอขอบคุณ
- วิกิพีเดีย (ที่มาข้อมูล/ต้นแบบภาพ)
750/22 - 450-12


หัวข้อ: Re: นกจาบคาหัวเขียว - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 พฤษภาคม 2565 13:43:28
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45619208117326__Copy_.jpg)

นกจาบคาหัวเขียว

นกจาบคาหัวเขียว (Blue-tailed bee-eater) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Merops philippinus เป็นนกในตระกูล Meropidae จัดเป็นนกอพยพชนิดหนึ่ง มีแหล่งผสมพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางครั้งอาจถูกจัดให้อยู่ในสปีชีส์เดียวกับนกจาบคาแก้มฟ้า (Merops persicus) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕ จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก

นกชนิดนี้มีรูปร่างเพรียว มีสีสันสวยงาม โดยจะมีสีเขียวเด่นเป็นพิเศษ บริเวณใบหน้ามีแต้มสีฟ้าเล็กๆ และมีแถบยาวสีดำอยู่ตรงดวงตา ขนที่คอเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาล หางเป็นสีห้า และจะงอยปากสีดำ สามารถเจริญเติบโตได้ยาว ๒๓-๒๖ เซนติเมตร โดยรวมความยาวของขนหางตรงกลางสองเส้นที่ยาวกว่าบริเวณอื่นด้วย

นกจาบคาหัวเขียวมีแหล่งผสมพันธุ์ในพื้นที่ชนบทกึ่งเขตร้อน อย่างเช่นในไร่ สวน นาข้าว หรือสวนสาธารณะ มักพบได้บ่อยครั้งบริเวณใกล้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กินแมลงชนิดต่างๆ เป็นอาหารเหมือนนกจาบคาชนิดอื่น โดยเฉพาะผึ้ง ต่อ และแตน โดยจะโผลบินพุ่งออกจากที่พักเกาะไปจับเหยื่อกลางอากาศ เหยื่อจะถูกจับกลับไปที่พักเกาะ แล้วใช้จะงอยปากจิกเหยื่อจนตายและเปลือกแข็งที่ห่อหุ้มร่างกายแตกออก สำหรับนกจาบคาชนิดนี้ พบว่าเหยื่อที่ล่ามีทั้งผึ้งและแมลงปอในปริมาณที่มากพอๆ กัน

นกจาบคาหัวเขียวชอบสร้างรังอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ตามริมฝั่งแหล่งน้ำที่เป็นทรายหรือพื้นที่ราบเปิดโล่ง รังมีลักษณะเป็นเหมือนอุโมงค์ค่อนข้างยาว นกชนิดนี้จะวางไข่ทรงกลมสีขาวครั้งละ ๕-๗ ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเฝ้าดูแลไข่ด้วยกัน นอกจากนี้ เวลาออกหากินหรือพักเกาะตามที่สูง ก็มักจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเช่นกัน


ขอขอบคุณ
- วิกิพีเดีย (ที่มาข้อมูล)
- Facebook (ต้นแบบภาพ)
750/22 - 450-12


หัวข้อ: Re: นกบลูเจย์ - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 พฤษภาคม 2565 14:48:43
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70495055822862__Copy_.jpg)

นกบลูเจย์

สีฟ้า jay (Cyanocitta cristata) เป็นนกในครอบครัวอีกาพื้นเมืองภาคตะวันออกของทวีปอเมริกา มันอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกและตอนกลางของสหรัฐอเมริกา  นิวฟันด์แลนด์ แคนาดา ประชากรทางทิศตะวันออกอาจมีการอพยพ

นกบลูเจย์มีขนาด ๒๒-๓๐ ซม. (๙-๑๒ นิ้ว) หนัก ๗๐-๑๐๐ กรัม โดยมีปีกกว้าง ๓๔-๔๓ ซม. มีหงอนเด่นชัดบนหัว มงกุฎขนนก ซึ่งอาจยกขึ้นหรือลดลงตามอารมณ์ของนก เมื่อตื่นเต้นหรือก้าวร้าว หงอนจะยกขึ้นเต็มที่ เมื่อตกใจ หงอนจะสะบัดออกด้านนอกเหมือนพู่กัน เมื่อนกกินอาหารท่ามกลางนกอื่นๆ หรือพักผ่อน หงอนจะแบนบนหัว

มีขนเป็นสีน้ำเงินลาเวนเดอร์ถึงกลางสีน้ำเงินที่ยอด หลัง ปีก และหาง และหน้าเป็นสีขาว ด้านล่างเป็นสีขาวนวล คอปกมีสีดำยาวไปถึงด้านข้างของศีรษะ ปีกและหางสีดำ สีฟ้า และสีขาว ตาเป็นสีดำทั้งหมด ตัวผู้และตัวเมียเกือบจะเหมือนกัน แต่ตัวผู้จะใหญ่กว่าเล็กน้อย มีขนสีดำที่ต้นคอ ใบหน้า และลำคอของมันแตกต่างกันไป เชื่อกันว่าจะช่วยในการรับรู้

นกบลูเจย์กินเมล็ดพืชและถั่วเป็นหลัก เช่นลูกโอ๊คซึ่งอาจซ่อนกินในภายหลัง ผลไม้อ่อน สัตว์ขาปล้อง และบางครั้งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก โดยปกติแล้วจะเก็บอาหารจากต้นไม้ ไม้พุ่ม และพื้นดิน และบางครั้งเหยี่ยวแมลงจากอากาศ

มันสร้างรังเปิดบนกิ่งก้านของต้นไม้ ไข่สองถึงเจ็ดฟองซึ่งมีสีน้ำเงินหรือสีน้ำตาลอ่อนมีจุดสีน้ำตาล หลังจากฟักออกจากไข่ พวกเขาอาจอยู่กับพ่อแม่ได้หนึ่งถึงสองเดือน


ที่มา : hmong.in.th/wiki/Blue_jay

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91102043415109_66445_Copy_.jpg)


หัวข้อ: Re: ไก่ฟ้าสีทอง - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 มิถุนายน 2565 15:47:40
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12991424277424__Copy_.jpg)

ไก่ฟ้าสีทอง

ไก่ฟ้าสีทอง (Golden pheasant, Red golden pheasant) ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysolophus pictus เป็นสัตว์ป่าประเภทไก่ฟ้าที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ได้รับความนิยมอย่างมาก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนภูเขาสูง พบมากทางภาคกลางและภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงบางส่วนในปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา มีความสวยงามและทนทานต่ออากาศหนาวได้เป็นอย่างดี

ไก่ฟ้าสีทอง ตัวผู้จะมีหลายสี (๕ สี) แต่ถ้าเป็นสีทองส่วนของอกจะมีสีแดง ส่วนหลังมีสีเหลืองและปีกมีสีน้ำเงิน นัยน์ตาจะเป็นวงแหวนนสีน้ำเงิน สำหรับตัวเมียจะมีสีน้ำตาลพื้นธรรมดา นัยน์ตาไม่มีวงแหวน เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักตัวประมาณ ๕๐๐-๗๐๐ กรัม มีรูปร่างป้อม และไม่มีหงอน

ไก่ฟ้าสีทอง สามารถแยกแยะเพศออกได้เมื่อมีอายุ ๓ เดือน ดูความแตกต่างที่วงแหวนของดวงตา ส่วนสีขนจะค่อยๆ ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งตัวเต็มวัย เฉลี่ยประมาณ ๑.๕-๒ ปี จึงจะมีสีเหมือนกับไก่ตัวเต็มวัย โตเต็มวัยเมื่อมีอายุได้ ๒ ปี ออกลูกในช่วงฤดูร้อนเพียงปีละครั้ง ช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ออกไข่ครั้งละ ๕-๖ ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ ๒๑-๒๓ วัน

ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นฟาร์มอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างเสรี เนื่องจากไม่จัดว่าเป็นสัตว์ที่จะจัดอยู่ในสถานะคุ้มครองตามกฎหมายแต่ประการใด โดยการเลี้ยงในแบบฟาร์ม สามารถทำให้ไก่ออกไข่ได้ตลอดทั้งปี เฉลี่ยแล้วปีละถึง ๒๐-๓๐ ฟอง มีอายุขัยในที่เลี้ยงประมาณ ๑๕ ปี โดยมีราคาขายในฐานะสัตว์เลี้ยงสวยงามถึงราคาคู่ละ ๖,๐๐-๗,๐๐๐ บาท (อายุ ๑.๕ ปีขึ้นไป) ทั้งนี้ราคาจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับอายุของไก่ที่ขายและสายพันธุ์ โดยราคาสูงอาจไปถึงคู่ละ ๔๐๐,๐๐๐-๕๐๐-๐๐๐ บาท ในอดีตราว ๒๐ ปีก่อน (นับจาก พ.ศ.๒๕๕๕) ไก่ฟ้าสีทองมีราคาขายเพียงคู่ละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท เท่านั้น
...วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี-ที่มาข้อมูล

750/15


หัวข้อ: Re: นกสีชมพูสวน - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 มิถุนายน 2565 16:10:15
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39909725636243__Copy_.jpg)

นกสีชมพูสวน

นกสีชมพูสวน / Scarlet-backed Flowerpecker (Dicaeum cruentatum)

นกสีชมพูสวน เป็นนกขนาดเล็ก ความยาว (ปลายปากถึงหาง) ประมาณ ๙ เซนติเมตร มีเสียงร้องแหลมสูง และสั้น บางครั้งฟังเหมือนเสียงร้องคำว่า ดิ๊กๆ ตามลำตัวมีสามสี ถ้าเป็นตัวผู้จะสังเกตได้ง่าย จากสีที่กลางหลัง เพราะเป็นแถบยาวสีแดง ส่วนด้านท้องจะเป็นสีขาว และข้างๆ เป็นสีดำ - น้ำตาล ส่วนตัวเมียมีสีอ่อนกว่า และแถบสีแดงด้านหลังจะสั้นกว่า มีอยู่บริเวณโคนหางเท่านั้น นกชนิดนี้มีลักษณะป้อม และหางสั้น วัยเด็ก (Juvenile) ยังไม่มีสีแดงที่ด้านหลัง และสีอ่อนกว่าวัยโตสามารถพบเห็นได้ง่ายในประเทศไทย

ลักษณะ
นกสีชมพูสวนเป็นนกขนาดเล็กหางสั้น ยาว ๙ ซม. หนัก ๗-๘ กรัม สองเพศมีลักษณะต่างกัน ตัวผู้มีหน้า ปีก และหางสีน้ำเงินเข้ม มีแถบกว้างสีแดงสดจากกระหม่อมถึงหางส่วนบน ตัวเมียส่วนใหญ่มีสีเขียวมะกอก หางสีดำ และมีสีแดงบริเวณโคนหางและตะโพก ทั้งสองเพศมีด้านล่างสีครีม ตาและขาสีดำ ปากโค้งสีเทาเข้ม นกวัยอ่อนมีสีคล้ายตัวเมียแต่มีปากสีส้มและไม่มีสีแดงที่ตะโพก

นกจิ๋วชนิดนี้ เป็นกลุ่ม “นกกาฝาก (Floverpecker)” เพราะมีอุปนิสัยที่มักกินน้ำหวานและผลไม้จากต้นไม้ตระกูลกาฝาก–พืชเบียน (parasite) ขึ้นเกาะบนกิ่งของต้นไม้ชนิดอื่น อาศัยดูดอาหารจากต้นที่มันเกาะ เมื่อนกกินผลกาฝากจนอิ่มแล้ว มันจะถ่ายเมล็ดกาฝากที่มียางเหนียวหนืดราวกับกาวน้ำออกมา นกกาฝากจึงต้อง “เช็ดก้น” กับกิ่งไม้ให้อุจจาระหลุดจากก้น เมล็ดในมูลนกจะงอกและโตเป็นกาฝากต้นใหม่ต่อไป

ชื่อนกในภาษาอังกฤษเรียกตามแถบสีแดงสดตลอดแนวกลางหลังของนกตัวผู้ ตัดกับลำตัวสีดำขลับที่เมื่อต้องแสงจะเหลือบสีน้ำเงิน ส่วนนกตัวเมียลำตัวสีน้ำตาล มีสีแดงแค่เพียงบริเวณตะโพกเท่านั้น ลำตัวด้านล่างของทั้งสองเพศสีขาว นกวัยเด็กมีลำตัวสีน้ำตาลเหมือนตัวเมีย แต่มีโคนปากสีส้ม นกตัวผู้วัยเด็กมีขนสีแดงแซมตามกระหม่อมและหลัง

“เจ้าเล็กบินเร็ว” ชนิดนี้ ปรับตัวอยู่อาศัยตามสวนและในเมืองได้ดี พบได้ง่ายมากทั่วทุกภาค ตามต้นตะขบบ้านที่ออกผลหรือตามต้นกาฝากที่ขึ้นอยู่ตามต้นไม้ใหญ่



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95989538398053_283899560_1398623387320004_920.jpg)
ข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างภาพ : เว็บไซท์ ชมรมอนุรักษ์นก
750/15
450/15


หัวข้อ: Re: นกโพระดก - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 มิถุนายน 2565 15:54:03
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39381368375486__Copy_.jpg)

นกโพระดก

นกโพระดก เป็นนกขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ Megalaimidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Ramphastidae หรือนกทูแคน พบในอเมริกาใต้ โดยจัดให้เป็นวงศ์ย่อย Megalaiminae) จัดอยู่ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) มีลักษณะจะงอยปากหนาใหญ่ และมีขนที่โคนปาก ร้องเสียงดัง ได้ยินไปไกล ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม มีทั้งหมด ๒๖ ชนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ทิเบต จนถึงอินโดนีเซีย พบมากในคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา

ทำรังในโพรงไม้ ด้วยการเจาะไม้ให้เป็นรูเหมือนกับนกหัวขวาน ซึ่งเป็นนกในอันดับเดียวกัน แต่โพรงของนกโพระดกจะมีขนาดพอดีตัวทำให้การเข้าออกรังบางทีทำได้ไม่คล่องเท่านกหัวขวาน วางไข่ครั้งละ ๒-๔ ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ ๑๓-๑๕ วัน เป็นนกที่กินผลไม้เช่น ลูกโพ, ลูกมะเดื่อฝรั่ง และแมลง เป็นอาหาร

สำหรับนกในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด ๑๕ ชนิด ได้แก่ ๑.นกโพระดกหนวดแดง   ๒.นกตั้งล้อ  ๓.นกโพระดกธรรมดา  ๔.นกโพระดกหูเขียว  ๕.นกโพระดกเคราเหลือง  ๖.นกโพระดกหลากสี  ๗.นกโพระดกคางแดง  ๘.นกโพระดกคางเหลือง  ๙.นกโพระดกคิ้วดำ  ๑๐.นกโพระดกคอสีฟ้า  ๑๑.นกโพระดกคอสีฟ้าเคราดำ  ๑๒.นกโพระดกหัวเหลือง  ๑๓.นกโพระดกหน้าผากดำ  ๑๔.นกตีทอง  ๑๕.นกจอกป่าหัวโต



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60142537992861_289000250_1405411363307873_354.jpg)

ข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างภาพ : Fb.
750/20
450/15


หัวข้อ: Re: นกกระจิบหญ้าอกเทา - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 30 มิถุนายน 2565 13:49:36
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12229708996083__Copy_.jpg)

นกกระจิบหญ้าอกเทา

นกกระจิบหญ้าอกเทา (GREY-BREASTED PRINIA) D PRINIA) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prinia hodgsonii

ลักษณะ : คล้ายนกกระจิบหญ้าสีข้างแดง แต่คิ้วขาวเฉพาะหัวตา ปากบางกว่า ปีกสีน้ำตาลแกมแดงน้อยกว่า คอขาว อกเทาจางๆ

ตัวผู้ชุดขมผสมพันธุ์ : หัวเทาเข้ม ไม่มีคิ้วขาว สีเทาที่อกเข้มขึ้น

ขนาด : ๑๐-๑๒ เซนติเมตร

เสียงร้อง : “ทิ-สวี-ทิ-สวี” หรือ “ที-ชิ ทิ-ชู”

ถิ่นอาศัย : ทุ่งหญ้า ริมชายป่า พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่เปิดโล่งต่างๆ ที่ราบถึงที่ราบสูง ๑,๖๗๕ เมตร นกประจำถิ่น พบบ่อย


ที่มาตัวอย่างภาพ : FB. - pajon501
750-20


หัวข้อ: Re: นกกระติ๊ดสีอิฐ - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 กรกฎาคม 2565 14:38:51
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92776334989402__Copy_.jpg)

นกกระติ๊ดสีอิฐ

นกกระติ๊ดสีอิฐ (นกปากตะกั่ว)  ชื่อสามัญ Chestnut Munia ชื่อวิทยาศาสตร์ Lonchura วงศ์ Estrilidae

ลักษณะทั่วไป ขนาดตัวประมาณ ๕ นิ้ว ตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวและคอดำ ปากสีเทา ส่วนลูกนกจะมีสีน้ำตาล ส่วนใต้ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน เวลาบินตีปีกเร็วคล้ายแมลงตัวใหญ่ๆ เป็นนกไม่อยู่นิ่ง วางไข่คราวละ ๔-๘ ฟอง สีขาว ขนาดประมาณ ๑๖ x ๑๑ มม.

รัง มีลักษณะคล้ายลูกรักบี้ มีทางเข้าด้านข้าง สร้างขึ้นด้วยหญ้าเส้นบางๆ คลุมไว้ด้วยหญ้าเส้นหยาบๆวางอยู่ตามกอหญ้า

ถิ่นที่อยู่อาศัย ส่วนมากพบนกชนิดนี้อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย พบตามทุ่งนา พงหญ้า กินเมล็ดพืช อยู่กันเป็นฝูง เวลาเกาะตามต้นหญ้าและใบหญ้า จะเกาะเรียงกันลงมา


ขอขอบคุณ
- http://neethai.blogspot.com/ (ที่มาข้อมูล)
- เพจชมรมนักดูนก (ที่มาตัวอย่างภาพ)

750/16


หัวข้อ: Re: นกจับแมลงจุกดำ - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 กรกฎาคม 2565 16:07:09

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79839772731065__Copy_.jpg)

นกจับแมลงจุกดำ

นกจับแมลงจุกดำ (Black-naped Monarch) เป็นนกที่สีสดสวย  มีหางยาว บางครั้งมันก็แพนหางออกเล็กน้อยคล้ายกับนกอีแพรด (Fantail)และมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการเกาะกิ่งไม้ในแนวนอน อีกทั้งยังมีปากกว้างและแบน มีขนแข็งๆ ที่มุมปาก แต่มันไม่เกาะเป็นแนวตั้งเหมือนญาติใกล้ชิดของมันอย่างนกแซวสวรรค์ (Paradise-Flycatcher

ขนาด: ประมาณ ๑๗ เซนติเมตร เสียงร้อง : “วิด-วิด-วิด” ๕-๗ พยางค์ เสียงเตือนภัย แหบ “แอ่ช-แอ่ช”

ตัวผู้มีลำตัวเป็นสีฟ้า ใต้ท้องเป็นสีขาว มีกระจุกขนและแถบคาดคอเป็นสีดำ

ตัวเมียมีหัวเป็นสีฟ้าทึมกว่า มีหลังและหางเป็นสีน้ำตาล เฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่จะมีจุกที่หัวและ“สร้อยคอ”สีดำตามหลักทั่วไปที่สัตว์ตัวผู้มีสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย ทั้งสองเพศมีแถบสีดำที่มุมปาก นอกจากขนที่เป็นสีฟ้าสวยงามแล้ว จะงอยปากและขาของนกชนิดนี้ก็เป็นสีฟ้าด้วย แถมผิวด้านในปากของนกชนิดนี้ยังอุตริเป็นสีเหลืองสดอีกต่างหาก เช่นเดียวกับนกอื่นๆ ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันอย่างนกแซวสวรรค์

นกอีแพรด และนกแซงแซว (Drongo) นกจับแมลงจุกดำทำรังเป็นรูปทรงถ้วยที่สร้างจากเปลือกไม้และเส้นใยของพืช ยึดติดไว้ตามง่ามไม้ด้วยใยแมงมุม รังมีพืชขนาดเล็กและเปลือกไข่แมงมุมประดับอยู่รอบๆ ทำให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมจนสังเกตเห็นได้ยาก ในช่วงทำรังวางไข่และเลี้ยงลูก มันจะป้องกันอาณาเขตจากสัตว์นักล่าและนกชนิดเดียวกันด้วยการขับไล่อย่างก้าวร้าว

นกจับแมลงจุกดำเป็นนกที่มีทั้งประชากรที่เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพ พบได้ง่ายในแหล่งอาศัยทุกประเภทที่มีไม้ยืนต้นขึ้นไม่น้อยจนเกินไป ส่วนนกประจำถิ่นพบเฉพาะในป่าที่มีระดับความสูงไม่เกิน ๑,๕๒๐ เมตรจากน้ำทะเล มักส่งเสียงหวีดร้องดังให้ได้ยินเสียงก่อนเห็นตัว เป็นขาประจำที่แทบจะขาดไม่ได้ใน bird wave รวมนกหลากชนิดซึ่งเป็นความตื่นเต้นของการดูนกป่าโดยแท้

นกจับแมลงจุกดำมีถิ่นแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศอินเดีย ไต้หวัน ทั่วทั้งทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย แต่ในประเทศไทยก็สามารถพบนกชนิดแพร่กระจายอยู่มากมาย ตามอุทยาทหรือที่ต่างๆ เนื่องจากพวกมันได้อพยพกันมานั้นเอง

อุปนิสัย : หากินเดี่ยวๆ ชอบหลบซ่อนตัวและหากินแมลงอยู่ในระดับกลางและระดับล่างของ ต้นไม้ที่มีใบร่มครึ้ม กระโดดหากินไปตามกิ่งไม้ ไม่ชอบบินไกลๆ

การผสมพันธ์ุ : เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่นกจับแมลงจุกดำจับคู่ ทำรัง วางไข่ โดยจะสร้างรังจากวัสดุจำพวกหญ้าใบยาวเปลือกไม้เส้นใยมอสนำมาพันและยึดเข้าด้วยกันด้วยใยแมงมุม ทำเป็นรูปถ้วยทรงกรวย มักพรางตาศัตรูด้วยการใช้มอส ไลเคนส์ ต้นกล้วยไม้เล็กๆ หรือ พืชเถา จำพวกกระดุมพระอินทร์ สายสะพายพระอินทร์ เป็นต้นที่ยังมีชีวิตมาติดข้างรัง ทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติรอบด้าน

นกทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง และเลี้ยงลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ ๑๒ วัน ลูกนกจะยังคงอยู่ในรังประมาณ ๗-๑๐ วัน จึงทิ้งรังแต่ยังคงหากินร่วมกับพ่อแม่ระยะหนึ่งจึงจะแยกตัวออกไปหากินเอง


ขอขอบคุณ
- เพจ Kanashii (ที่มาข้อมูล)
- เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาตัวอย่างภาพ)

750/16


หัวข้อ: Re: นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 15:32:31

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72795321378442_331704667_746718623592005_6805.jpg)
ภาพระบายสีไม้

นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน (Blue–eared Kingfisher)

นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน (Blue–eared Kingfisher)
เป็นนกเล็กที่มีสีสันสวยงามและหาชมได้ยากมากชนิดหนึ่งในประเทศไทย  
นกน้อยนี้หากินเก่งมาก จับปลาได้อย่างว่องไวดุจสาบฟ้าแลบ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86751460739307_331275275_1332563010921212_843.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/34439436636037_331386996_855542062204048_8566.jpg)




750


หัวข้อ: Re: นกกินปลีอกเหลือง : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 เมษายน 2566 19:18:25
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95569091745548_55_Copy_.jpg)

นกกินปลีอกเหลือง

ก่อนอื่นต้องเท้าความกันสักนิดว่า นกกินปลี (Sunbirds) และ Hummingbirds นั้นเป็นนกคนละกลุ่มกันโดยสิ้นเชิง แต่มีหน้าตาที่ดูเผินๆ คล้ายกัน เพราะต่างก็เป็นนกขนาดเล็กที่วิวัฒน์มาให้มีปากยาว เหมาะสำหรับการจิ้มเข้าไปในช่อดอกไม้เพื่อใช้ลิ้นเลียกินน้ำหวานเหมือนกัน ถึงกระนั้นนกกินปลีบางชนิดก็อาจมีปากค่อนข้างสั้นและหนา ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของอาหารหลัก แต่เจ้ากินปลีอกเหลืองนับว่าเป็นชนิดที่มีปากเรียวยาว ดูคล้ายพวก hummingbirds มาก

นกกินปลีอกเหลืองเป็นหนึ่งในนกกินปลีที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางที่สุด พบได้ตั้งแต่จีนตอนใต้ไปจนถึงออสเตรเลีย (ที่ซึ่งมีนกกินปลีเพียงชนิดเดียวอาศัยอยู่) เพศเมียไม่มีสีน้ำเงินเข้มที่คอเหมือนเพศผู้ และมีแถบคิ้วสีเหลือง แต่เพศผู้ในชุดขนหลังจับคู่ผสมพันธุ์ (eclipse plumage) มีเพียงแถบสีน้ำเงินแคบๆ ที่คอเท่านั้น ขณะเกี้ยวพาราสีจะเห็นกระจุกขนสีแดงที่บริเวณรักแร้ของเพศผู้

นกกินปลีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่า มีเพียงนกกินปลีอกเหลืองและอีกไม่กี่ชนิดที่พบได้ตามบ้านคนที่ห่างไกลป่า ในแถบภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคอีสาน จะสามารถพบนกกินปลีดำม่วง (Purple Sunbird) ที่เพศเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ต่างกันเพียงแค่นกกินปลีดำม่วงมีสีเหลืองที่ก้นจางกว่า ส่วนตามที่ราบลุ่มภาคกลาง และภาคใต้ก็มี นกกินปลีคอสีน้ำตาล (Brown-throated Sunbird) ซึ่งตัวใหญ่และปากสั้นกว่าด้วย


เว็บไซท์ "คมชัดลึก" (ที่มาข้อมูล)

750


หัวข้อ: Re: นกแต้วแล้วธรรมดา (นกกอหลอ) : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 เมษายน 2566 16:29:26
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69644852851827_555_Copy_.jpg)


นกแต้วแล้วธรรมดา (นกกอหลอ)
Blue-winged Pitta (Pitta moluccensis)

ชื่อภาษาไทย / นกแต้วแล้วธรรมดา (นกกอหลอ)
ชื่อภาษาอังกฤษ / Blue-winged Pitta
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ / Pitta moluccensis

ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ต่างกันที่ขนาดตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ตัวเต็มวัยมีหัวสีดำ เหนือตามีลายพาดขนาดกว้างสีน้ำตาล ลำตัวด้านบนสีเขียว ขนคลุมขนปีกด้านบนตะโพกและขนคลุมโคนหางด้านบนเป็นสีน้ำเงินสด ลำตัวด้านล่างเป็นสีเนื้อถึงน้ำตาลแดง คอหอยสีขาว ตรงกลางท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีแดง ตัวไม่เต็มวัยด้านบนลำตัวสีน้ำเงิน ด้านล่างลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่ไม่มีสีแดงที่ท้องและขนคลุมโคนหางด้านล่าง

ถิ่นอาศัย : พบในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบที่ค่อนข้างโปร่ง ป่าไผ่ ป่าฟื้นตัว ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนถึงระดับความสูง ๘๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล อาจพบระหว่างอพยพได้ในสวนและป่าโกงกาง ในประเทศไทยพบได้ที่ภาคเหนือและภาคใต้ทั้งหมด เทือกเขาของภาคตะวันออกและเทือกเขาที่กั้นภาคกลางตอนบนกับภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ในประเทศไทยพบในป่าเบญจพรรณและขอบป่าฟื้นตัว

อาหาร : ไส้ดือน ตัวหนอน แมลง และสัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ตามผิวดิน หรือใต้ดิน หรือใต้ใบไม้

พฤติกรรม : พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ปกติหากินตามพื้นดิน แต่จะเกาะหลับนอนตามกิ่งก้านของต้นไม้ ซึ่งสูงจากพื้นดินไม่มากนัก มักกระโดดลักษณะคล้ายกับพวกนกกะรางในช่วงตอนหากิน ใช้ปากจิกและพลิกใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน หรือใช้ปากขุดดินเพื่อหาอาหาร หากมีสิ่งรบกวนจะตกใจบินหนี บางครั้งก็ใช้วิธีบินซุกตามพุ่มไม้ที่รกทึบ ในขณะที่เกาะตามกิ่งไม้จะส่งเสียงร้องดัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ โดยเสียงร้องจะออกเป็นเสียง "แต้ว-แล้ว" หรือชาวบ้านทางใต้ฟังเป็นเเสียง "กอ-หลอ"

สถานภาพปัจจุบัน : สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน หรือระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ซึ่งในช่วงนี้จะได้ยินเสียงร้องของนกประจำ รังเป็นรูปทรงกลม หรือกลมรี ขนาดกว้างประมาณ ๑๕ ซม. ยาว ๒๐ ซม. มีทางเข้าออกอยู่ทางด้านหน้า วางรังตามพื้นดินบริเวณโคนของต้นไม้ หรือตามกอพืชต่างๆ บางครั้งก็วางรังตามง่สมของต้นไม้ ที่สูงจากพื้นดิน ๑.๐-๒.๐ เมตร ในแต่ละรังมีไข่ ๔-๖ ฟอง ไข่สีขาว มีลายจุดหรือลายขีดสีม่วงเข้มห่างๆ ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ช่วยกันฟักไข่ โดยใช้ระยะเวลา ๑๔-๑๕ วัน และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน

ขนาดและน้ำหนัก : มีความยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
... องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (ที่มาข้อมูล)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/43299364919463_342522872_600319301819016_5845.jpg)
750


หัวข้อ: Re: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 พฤษภาคม 2566 17:46:24
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81973227734367_77_Copy_.jpg)
                        นกพญาปากกว้างหางยาว


พญาปากกว้างหางยาว            ชื่อสามัญ : Long-tailed Broadbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Psarisomus dalhousiae
ลักษณะ : หัวดำคล้ายใส่หมวกกันน็อค มีหางสีฟ้ายาวกว่านกพญาปากกว้างชนิดอื่น และสีสันสดใสมาก ปากและขาสีเหลืองอมเขียว
             กระหม่อมและท้ายทอยสีดำ กลางกระหม่อมมีแถบสีฟ้า และมีแถบสีเหลืองตรงข้างกระหม่อม  หน้าและคอสีเหลืองสด
             ลำตัวสีเขียว ปีกสีดำและมีแถบสีฟ้า ปีกมีแถบกลมสีขาวเห็นชัดขณะบิน
พฤติกรรม : มักพบบริเวณกลางลำต้น ขณะเกาะชอบขยับหางและส่งเสียงดัง
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ จากที่ราบไปจนถึงยอดสูง ๒,๐๐๐ เมตร นกประจำถิ่นพบค่อนข้างบ่อย บางครั้งรวมกันเป็นฝูงใหญ่หลายสิบตัว


"ดูนกและสัตว์ป่าเมืองไทย" (ที่มาข้อมูล)
750/28


หัวข้อ: Re: นกแต้วแล้วนางฟ้า : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 พฤษภาคม 2566 16:37:38
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95147834221522__Copy_.jpg)
                        นกแต้วแล้วนางฟ้า


นกแต้วแล้วนางฟ้า                   ลักษณะทั่วไป ขนาด ๑๖-๑๙ ซม. คล้ายกับนกแต้วแล้วธรรมดา ปากแหลมสีดำ หัวสีน้ำตาล คิ้วแคบสีน้ำตาลอ่อนพาดจากโคนปากบนถึงท้ายทอย หน้าสีดำ ลำตัวด้านบน ขนคลุมหลังและไหล่สีเขียว ขนคลุมปีกแถวบนสีฟ้า ลำตัวด้านล่าง คางสีขาวเชื่อมต่อขึ้นไปเป็นวงรอบคอ ท้องช่วงบนสีน้ำตาลอ่อน กลางท้องช่วงล่างถึงก้นสีแดง แข้งและตีนสีชมพูอ่อน ขณะบินมองเห็นแถบ สีขาวที่กลางขนปีกมีขนาดเล็กกว่านกแต้วแล้วธรรมดา ถิ่นอาศัย ป่าละเมาะ ป่าโปร่งบนเกาะในทะเล

* สถานภาพการถูกคุกคามของ “นกแต้วแล้วนางฟ้า” อ้างอิงตาม IUCN Red list เนื่องจากไม่มีรายชื่ออยู่ในหนังสือ สรุปชนิดพันธุ์ ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย : สัตว์มีกระดูกสันหลัง สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒๕๖๐ *


ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ คลังความรู้ทางทะเลและชายฝั่ง

750-26


หัวข้อ: Re: นกแต้วแล้วลาย (เพศเมีย) : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 พฤษภาคม 2566 15:29:40
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48059113447864__Copy_.jpg)
                                  นกแต้วแล้วลาย (เพศเมีย)


แต้วแล้วลาย (เพศเมีย)                                     “นกแต้วแล้วลาย” เป็นนกประจำถิ่น พบได้เฉพาะในป่าดงดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย และกระจายเป็นหย่อมๆ ในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย นกแต้วแล้วลาย ขนาด ๒๑-๒๔ เซนติเมตร เป็นนกแต้วแล้วขนาดกลาง ตัวผู้และตัวเมียต่างกัน แต่สวยงามกันคนละแบบ คิ้วสีเหลืองสดขับเน้นปลายคิ้วด้วยสีแดงชาด กระหม่อมคาดแถบดำ คอขาวแบบปุยหิมะ ใบหน้าเข้มดุดันด้วยแถบดำคาดตาด สีข้างลาย และปีกสีน้ำตาล คาดด้วยแถบขาวยาวตลอดแนวโดดเด่น และหางสีฟ้า ตัวผู้ต่างจากตัวเมียที่อก และท้องเป็นสีน้ำเงินเข้ม ไม่มีลาย ลูกนกคล้ายตัวเมีย แต่สีจืดชืดกว่ามาก

การสร้างรังจะสร้างเหนือพื้นดิน ซึ่งอาจจะสูงถึง 3 เมตรจากพื้น รังซุกตามง่ามไม้กลุ่มปาล์ม เช่น หวาย นกใช้รากไม้ และกิ่งไม้แห้งขัดสานเป็นโครง แล้วบุด้วยใบไม้แห้ง ตัวเมียวางไข่ ๓-๔ ใบ ซึ่งหากอยากจะเห็น “นกแต้วแล้วลาย” อัญมณีเม็ดงามตัวนี้ สามารถลองไปเดินดูนกตามเส้นทางในเขตอุทยานแห่งชาติศรีพังงา จ.พังงา  

ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ ผู้จัดการออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53665207864509_347242785_1174954943188269_484.jpg)
750-26


หัวข้อ: Re: นกแต้วแล้วอกเขียว : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 พฤษภาคม 2566 14:00:12
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86092322361138__Copy_.jpg)
                        นกแต้วแล้วอกเขียว


นกแต้วแล้วอกเขียว                                    นกแต้วแล้วอกเขียว (Hooded Pitta) Pitta Sordida เป็นนกในตระกูล Pittidae พบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาศัยอยู่ในป่าหลายประเภทตลอดจนในพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่เพาะปลูกอื่นๆ เป็นนกสีเขียวมีหัวสีดำและมงกุฎเกาลัด ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกันมาก มีหน้าผาก กระหม่อม ท้ายทอยเป็นสีน้ำตาลเข้ม หน้าจนถึงคอเป็นสีดำ ปากหนาสีดำ ลำตัวเป็นสีเขียวกลมกลืนกับสภาพป่า ขนคลุมท้องดำต่อด้วยสีแดงถึงก้น ขนคลุมโคนหางด้านบนและตะโพกสีฟ้าสดใสเป็นมัน ขนหางสั้น ขาและนิ้วเท้ายาว นกชนิดนี้เป็นนกที่หวงอาณาเขตมาก ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือไม่ นอกฤดูผสมพันธุ์ เราจะพบนกแต้วแล้วอกเขียวหากินอยู่ตัวเดียว มันหากินบนพื้น อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่แมลงและตัวอ่อนของพวกมัน และยังกินผลเบอร์รี่อีกด้วย


ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ คลังความรู้ทางทะเลและชายฝั่ง

750-26


หัวข้อ: Re: นกกินแมลงคอดำ : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤษภาคม 2566 15:50:10
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38458295207884__Copy_.jpg)
                        นกกินแมลงคอดำ


นกกินแมลงคอดำ
                                   
นกกินแมลงคอดำ (Black-throated.jpg)
วงศ์ : Timaliidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stachyris nigricollis (Temminck) 1836.
ชื่อสามัญ  :Black-throated Babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Black-throated Tree Babbler, Blacknecked Tree Babbler

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stachyris nigricollis ชื่อ ชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ nig, -el, =er, -ra, -resc, -ri, -ro หรือ niger แปลว่าสีดe และ coll, -i หรือ collis แปลว่าคอ ความหมายคือ “คอสีดำ” พบครั้งแรกที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี ๒ ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ ๑ ชนิดย่อยคือ Stachyris nigricollis nigricollis (Temminck) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด

กระจายพันธุ์ : ในไทย มาเลเซีย เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (๑๕ ซม.) ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมแดงเข้ม หัวและลำตัวด้านล่างสีเทา คิ้วและแก้มสีขาว คอหอยและอกตอนบน สีดำ อกมีสร้อยคอสีขาว

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้นและป่าพรุในระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง ๔๕๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกกินแมลงในสกุลเดียวกัน

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในฤดูฝนระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ทำรังเป็นรูปโดมอยู่ตามพื้นดิน รังมีไข่ ๒ ฟอง

ไข่ : ไข่สีขาว มีขนาด ๑๓.๗-๑๔.๒x๒๑.๓ ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น

สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก จนกระทั่งพบบ่อยและปริมาณปานกลางในบางท้องที่ พบเฉพาะในบางแห่งทางภาคใต้

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ คลังความรู้ทางทะเลและชายฝั่ง
750-26


หัวข้อ: Re: เป็ดปากแดง - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 กรกฎาคม 2566 16:53:05
.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94764274648494_duk_Copy_.jpg)

                        เป็ดปากแดง

เป็ดปากแดง - Red-crested Pochard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Netty

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ ๕๖ เซนติเมตร ตัวผู้ขอบปีกสีขาว ส่วนตัวเมียขอบปีกสีน้ำตาล ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปากสีแดงและมีหัวกลมใหญ่สีส้มถึงน้ำตาลแดง กระหม่อมสีน้ำตาลเหลือง คอสีดำ ลำตัวด้านล่างสีดำ สีข้างสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ สีสันทั่วไปคล้ายตัวเมียแต่ปากยังคงเป็นสีแดง ส่วนตัวเมียหัวครึ่งบนตั้งแต่บริเวณใต้ตาขึ้นไปถึงกระหม่อมมีสีน้ำตาลเข้ม ตัดกับสีขาวของแก้มและคอหอย ปากสีเทามีแถบสีแดงใกล้ปลายปาก ปลายปากสีดำ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ส่วนลำตัวด้านล่างสีจางกว่าด้านบนเล็กน้อย
 
ถิ่นอาศัย, อาหาร : อาหารได้แก่ สาหร่าย ต้นอ่อนของหญ้า กก และพืชน้ำอื่น นอกจากนี้ยังกินเมล็ดหญ้า เมล็ดข้าว แมลง และสัตว์น้ำ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์  : อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ เช่น บึง หนอง ทะเลสาบ เป็นต้น พบอยู่เป็นฝูง จะอยู่รวมฝูงกับนกเป็ดน้ำอื่น ปกติเป็ดปากแดงหากินด้วยการว่ายบนผิวน้ำในแหล่งน้ำลึก ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลึกมากมันจะว่ายอยู่เฉพาะบริเวณขอบ ปกติเป็ดปากแดงจะตกใจง่าย เมื่อมีสิ่งรบกวนหรือได้ยินเสียงผิดปกติมันจะบินขึ้นเหนือน้ำทันที (ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย)

สถานภาพปัจจุบัน : เป็ดปากแดงเป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะภาคกลางบางแห่งเท่านั้น จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕

สถานที่ชม : สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา



ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ dooasia.com/
750-28


หัวข้อ: Re: นกจาบคาหัวสีส้ม - รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 สิงหาคม 2566 18:48:00
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93043546751141_222_Copy_.jpg)
นกจาบคาหัวสีส้ม - ภาพวาด ระบายสีไม้

นกจาบคาหัวสีส้ม

นกจาบคาหัวสีส้ม เป็นนกประจำถิ่น พบได้บ่อยตามป่าโปร่งและชายป่าทั่วทุกภาค ทั้งในที่ราบและตามภูเขาสูง เช่นเดียวกับนกจาบคาอื่นๆ ที่หลายครอบครัวขุดรูทำรังใกล้กันเป็นกลุ่มในพื้นดินทราย พ่อแม่นกจาบคาหัวสีส้มแต่ละรังก็มักมีผู้ช่วยเลี้ยงลูก

นกจาบคาหัวสีส้มเป็นนกจาบคาขนาดเล็กชนิดเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีขนหางคู่กลางยื่นยาวคล้ายเข็ม ถึงกระนั้นยามจำแนกชนิดก็ควรระวังนกจาบคาชนิดอื่นในวัยเด็กหรือขณะผลัดขนหางด้วย โดยเฉพาะนกจาบคาเล็ก (Little Green Bee-eater) ซึ่งวัยเด็กมีลำตัวโดยรวมสีเขียวและคอสีเหลืองเช่นกัน นกโตเต็มวัยมีกระหม่อมและหลังสีส้มเข้ม ที่คอมีแต้มสีดำ ปีก หางสีฟ้าอมขียว และมีตะโพกสีฟ้าอ่อน

นกจาบคาหัวสีส้ม
ชื่ออังกฤษ  Chestnut-headed Bee-eater, Bay-headed Bee-eater
ชื่อวิทยาศาสตร์ Merops leschenaulti (Vieillot, 1817)
วงศ์ (Family) Meropidae (วงศ์นกจาบคา)
อันดับ (Order) Coraciiformes (อันดับนกตะขาบ นกกะเต็น และนกจาบคา)
 ขอขอบคุณ "คมชัดลึก ดอท เน็ต" (ที่มาข้อมูล)





(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58259253576397_366031819_1686080725240934_780.jpg)
750/35 - 450/14

ขอขอบคุณ Fb.ชมรมนักดูนก (ภาพถ่ายต้นแบบของการวาด/ระบายสี)


หัวข้อ: Re: นกกินปลีคอสีม่วง : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 พฤศจิกายน 2566 18:27:30
1

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70626947780450__Copy_.png)

                        นกกินปลีคอสีม่วง
 
นกกินปลีคอสีม่วง
ชื่ออังกฤษ : Van Hasselt’s Sunbird
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leptocoma brasiliana (Gmelin, 1788
วงศ์ : (Family) Nectariniidae (วงศ์นกกินปลีและนกปลีกล้วย) 
อันดับ : (Order) Passeriformes (อันดับนกเกาะคอน)


นกกินปลีคอสีม่วง มีถิ่นกำเนิดในเขตสัตวภูมิศาสตร์ซุนดา (Sunda zoogeographic subregion) ถิ่นฐานหลักของพวกมันได้แก่ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และบางส่วนของอินโดนีเซีย เหตุที่พบทางภาคตะวันออกของไทยด้วย น่าจะเป็นเพราะมันอยู่อาศัยมาตั้งแต่ราวๆ ยุคน้ำแข็ง ซึ่งระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปัจจุบันมาก และเกาะต่างๆ ในเขตซุนดาถูกเชื่อมเป็นผืนเดียวกัน แหล่งอาศัยในไทยที่อยู่บนเส้นรุ้งเหนือเขาใหญ่ของนกชนิดนี้เห็นจะมีเพียงบริเวณริมแม่น้ำโขงทางอีสานตะวันออก
 
หลายคนอาจไม่คุ้นกับชื่อ Van Hasselt’s Sunbird และรู้จักมันในชื่อเดิมว่า Purple-throated Sunbird ซึ่งนักปักษีวิทยาหลายสำนักเห็นด้วยกับการแยกเป็นคนละชนิด พบได้เฉพาะในฟิลิปปินส์เท่านั้น คณะกรรมการพิจารณาข้อมูลนกไทยเองก็ใช้ตามข้อมูลนี้เช่นกัน Purple-throated Sunbird ของแท้จึงไม่ใช่นกไทยอีกต่อไป “นกกินปลีคอสีม่วง” ในเขตซุนดาบัดนี้ถูกเปลี่ยนไปใช้ชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักธรรมชาติวิทยาชาวดัทช์นามว่า Johan Coenraad van Hasselt
 
เพศผู้ของสองชนิดมีสีสันต่างกันชัดเจน ชนิดในฟิลิปปินส์มีลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดง ไม่เป็นสีดำเหมือนในไทย อกและท้องสีแดงสด แต่บริเวณใต้ท้องและขนคลุมโคนหางจะเป็นสีนวลไปจนถึงเหลือง ในขณะที่นกกินปลีคอสีม่วงของเรานั้นจะมีก้นสีเทาเข้มเกือบดำ ทั้งสองชนิดมีกระหม่อมสีเขียวเหลือบ และคอสีม่วงสะท้อนแสง แม้จะเป็นนกตัวเล็กที่มีสีสันบาดตา แต่หากมันไปเกาะในจุดที่แสงแดดไม่ตกกระทบ ดูเผินๆ ก็อาจเห็นเป็นเพียงนกตัวดำๆ ตัวหนึ่ง มักหากินน้ำหวานดอกไม้ตามเรือนยอด พบได้ในป่าหลายประเภท เพศเมียมีลำตัวสีเขียวไพล มีรอยตัดจางๆ ระหว่างคอสีตุ่นๆ และอกสีเหลืองนวล จำแนกจากเพศเมียของชนิดอื่นๆ ได้ยาก หากไม่คุ้นเคย


 
ขอขอบคุณ
     - "นกป่าสัปดาห์ละตัว : นกกินปลีคอสีม่วง"  เว็บไซต์ คม ชัด ลึก (ที่มาข้อมูล)
     - PHOTO BY CHUKEAT CHANTHABURI BIRDS  (ภาพถ่ายต้นแบบของการวาด/ระบายสี)

 
750/30
 


หัวข้อ: Re: กระเต็นจิ๋วสีฟ้า : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 ธันวาคม 2566 17:40:33


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41017441575725_11_Copy_.jpg)

                               กระเต็นจิ๋วสีฟ้า


นกกระเต็น หรือ นกกะเต็น เป็นนกที่อยู่ในอันดับย่อย Alcedines ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) จัดเป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ ๑๓-๑๖ เซนติเมตร (ในชนิดที่ใหญ่อาจยาวได้ถึง ๔๑ เซนติเมตร) ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะทั่วไปคือ มีส่วนหัวโต คอสั้น จะงอยปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสดสะดุดตา เมื่อเวลาบินจะบินได้อย่างคล่องแคล่ว มักพบในแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ

เป็นนกที่หากินด้วยวิธีการพุ่งลงไปในน้ำด้วยความเร็วและแรง (มีการศึกษาพบว่าเร็วถึง ๑/๕๐ วินาที) และใช้จะงอยปากที่แข็งแรงแหลมคมจับปลาหรือสัตว์น้ำต่างๆ กินเป็นอาหาร ด้วยการจ้องมองจากบนกิ่งไม้ริมน้ำ ซึ่งสามารถอยู่นิ่งๆ แบบนั้นได้เป็นระยะเวลานาน โดยมักจะจับปลาในช่วงเช้าจนถึงสายๆ และอีกครั้งในช่วงบ่าย เมื่อเกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำ จะพยายามหันหลังให้ดวงอาทิตย์ เพื่อให้ปลาเมื่อมองขึ้นมาจะต้องมองย้อนแสง ทำให้สังเกตไม่เห็นตัวนก ในบางชนิดอาจจะบินอยู่กับที่กลางอากาศ ก่อนที่จะพุ่งลงไปจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้ว จะจับปลาฟาดกับกิ่งไม้เพื่อให้ปลาตาย ก่อนที่จะกลืนลงไปโดยเอาส่วนหัวลงไปก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่กินปลาย้อนเกล็ด ซึ่งอาจโดนเงี่ยงหรือเกล็ดทิ่มแทงทำให้นกได้รับบาดเจ็บได้

โดยปกติเป็นนกที่อยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ การทำรังวางไข่ นกกระเต็นมักใช้จะงอยปากขุดรูริมฝั่งน้ำ และหาหญ้ามารองเป็นพื้น วางไข่ครั้งละ ๔-๕ ฟอง บางชนิดอาจขุดรูไว้มากถึง ๒-๓ รู เพื่อหลอกสัตว์ผู้ล่า ขณะที่บางชนิดอาจจะใช้โพรงไม้หรือโพรงไม้เก่าของนกอื่นที่ทิ้งร้างไว้เป็นที่วางไข่ โดยมากจะวางไข่ในช่วงฤดูหนาว



ขอขอบคุณ :
        - เจ้าของภาพถ่าย "เต็นสีฟ้า" ต้นแบบของการวาด/ระบายสี
        - วิกิพีเดียสารานุกรมฯ (ที่มาข้อมูล) 
750/28


หัวข้อ: Re: นกขมิ้น : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 ธันวาคม 2566 16:10:25

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69465507566928__Copy_.jpg)

นกขมิ้น

นกขมิ้น (Oriole, Old world oriole) เป็นวงศ์ของนกที่มีสายวิวัฒนาการอยู่ระหว่างวงศ์นกแซงแซว (Dicruridae) และวงศ์นกกา (Corvidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Oriolidae แต่มีรูปร่างลักษณะและอุปนิสัยแตกต่างจากนกทั้งสองวงศ์นี้มาก คือ นกกาและนกแซงแซวส่วนใหญ่จะมีลำตัวเพรียว หางยาว หรือค่อนข้างยาว นิสัยค่อนข้างก้าวร้าวไม่กลัวคน แต่นกขมิ้นซึ่งเป็นนกที่มีลำตัวขนาดกลางถึงขนาดเล็ก มีความยาวตัวประมาณ ๒๐-๒๗ เซนติเมตร ขนาดเท่านกเอื้ยง หางสั้น สีตัวส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง มีบางชนิดเป็นสีอื่นบ้าง จะงอยปากแข็งแรงและงุ้มลง ปีกยาวแหลม นกตัวผู้มีสีสดใสสวยงามกว่านกตัวเมีย ลูกนกมีลายขีดสีดำกระจายอยู่ทั่วบริเวณท้อง

นกขมิ้นเป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในป่าบก, ป่าชายเลน และตามสวนผลไม้ ส่วนใหญ่หากินอยู่ตามเรือนยอดหรือพุ่มใบของต้นไม้ รวมอยู่ กับนกชนิดอื่นๆ เช่น นกแซงแซว, นกพญาไฟ และนกไต่ไม้ พบหากินเงียบๆ อยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบลงมาหากินตามพื้นล่าง กินผลไม้, แมลง และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร บินได้เร็วและทนนาน ชอบทำรังอยู่ตามง่ามไม้บนต้นไม้สูง รังอยู่สูงประมาณ ๔-๑๐ เมตร สร้างรังเป็นรูปถ้วย ก้นลึก ทำด้วยต้นหญ้าหรือเส้นใยพืชร้อยถักอย่างประณีต วางไข่ครั้งละ ๒-๔ ฟอง ทั้งพ่อและแม่นกจะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูก นกขมิ้นชอบสร้างรังใกล้ๆ รังของนกแซงแซวเพื่อให้นกแซงแซวช่วยป้องกันไข่และลูกนกจากศัตรู เนื่องจากนกแซงแซวจะป้องกันไข่และลูกนกของตัวเองจากศัตรู ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไข่ และลูกนกขมิ้นด้วย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89638938589228_409201003_1750939908755015_434.jpg)

ขอขอบคุณ :
        - เจ้าของภาพถ่าย "ขมิ้น" ต้นแบบของการวาด/ระบายสี
        - วิกิพีเดียสารานุกรมฯ (ที่มาข้อมูล)
750/28


หัวข้อ: Re: นกขุนแผนตะโพกแดง : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 ธันวาคม 2566 16:57:22
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/34959240713053__Copy_.jpg)

นกขุนแผนตะโพกแดง

นกขุนแผนตะโพกแดง (Scarlet-rumped Trogon) เป็นขนาดเล็กสายพันธุ์หนึ่งในตระกูล (Trogonidae) ที่ผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม  อาศัยอยู่ตามธรรมชาติคือป่าที่ราบลุ่มกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น หนองน้ำกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อน และป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น พบในบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ และในไทยพบได้เฉพาะในป่าดิบที่ราบต่ำทางภาคใต้ หาอาหารในพุ่มไม้ระดับกลางและระดับสูงเป็นหลัก พบเห็นตัวได้ไม่ง่ายเลยในธรรมชาติ เพราะมักเกาะหลบอยู่บนยอดไม้สูงและมีนิสัยเกาะนิ่งไม่กระดุกกระดิกเป็นเวลานาน เพศผู้มีหัวสีดำตัดกับท้องสีแดงสด ส่วนเพศเมียมีหัวเป็นสีน้ำตาล และมีสีสันบนลำตัวซีดกว่าเล็กน้อย

750-28


หัวข้อ: Re: นกกระจาบธรรมดา : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 ธันวาคม 2566 16:54:41

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/50600709145267__Copy_.jpg)

นกกระจาบธรรมดา
สัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช ๒๕๓๕

นกกระจาบธรรมดา หรือ นกกระจาบอกเรียบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Ploceus philippinus

เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกกระจาบ ที่พบในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ อาศัยในทุ่งหญ้าและพื้นที่เกษตรกรรม ไร่นา ป่าละเมาะ ป่าทุติยภูมิ พื้นที่ริมน้ำ เป็นนกที่รู้จักกันดีจากรังที่ถักสานอย่างประณีตเป็นรูปน้ำเต้าคอยาวด้วยใบไม้และหญ้า ทางเข้ารังย้อยเป็นงวงยาวลงมา มักสร้างเป็นหมู่

ตัวผู้ชุดขนผสมพันธุ์ ปากสีดำทรงกรวยยาว บริเวณหน้าและคอสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ อกสีน้ำตาลข้างอกอาจมีลายขีดสีเข้มแต่ไม่เยอะเท่ากระจาบอกลาย กระหม่อมสีเหลืองสด ท้อง และขนคลุมโคนหางด้านล่างสีน้ำตาลอ่อน แข้งและตีนสีชมพูอ่อน ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม มีลายขอบขนสีน้ำตาลอ่อน ตัวผู้ และตัวเมียชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์ ปากสีเนื้อทรงกรวยยาว คิ้ว วงรอบหน้าและลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลมีลายขีดสีเข้มบริเวณหลัง ปีกดำขอบขนแต่ละเส้นสีจาง ตะโพกสีน้ำตาล หางสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มักหากินรวมกันเป็นฝูงปะปนกับนกกระจาบและนกกระจอกชนิดอื่นๆ

ปกติพบในต้นไม้มีหนามหรือที่ใบของไม้วงศ์ปาล์มรวมทั้งมะพร้าวและตาล บ่อยครั้งสร้างใกล้น้ำหรือห้อยเหนือน้ำที่สัตว์ล่าเหยื่อเข้าถึงยาก นกอยู่กระจายอย่างกว้างขวาง พบอย่างสามัญภายในเขตที่อยู่ แต่อาจอพยพตามฤดูขึ้นอยู่กับฝนและอาหาร ในประเทศไทยนกกระจาบธรรมดาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช ๒๕๓๕ ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง ห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39428353847728_410252435_1753321601850179_790.jpg)
750/28
ขอขอบคุณ เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี


หัวข้อ: Re: นกจับแมลงหน้าผากขาว : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 มกราคม 2567 11:47:43
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12479410030775__Copy_.jpg)

นกจับแมลงหน้าผากขาว

นกจับแมลงหน้าผากขาว (Snowy-browed Flycatcher) ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficedula hyperythra เป็นนกสายพันธุ์หนึ่งในวงศ์ Muscicapidae พบในบังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ เนปาล ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมันคือป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อน และป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น

ลักษณะนกจับแมลงหน้าผากขาวเพศผู้ : หัวและลำตัวด้านบนสีน้ำเงินอมเทา มีคิ้วสั้นๆ สีขาว ไปจดกันตรงหน้าผาก คอ อก และท้องสีน้ำตาลแดงอมส้ม ขอบโคนหางและโคนหางด้านล่างมีสีขาว ขาสีเนื้อ

ลักษณะนกจับแมลงหน้าผากขาวเพศเมีย : ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเขียวไพลทึมๆ ปีกมีสีน้ำตาลแดงแซมด้วยสีเนื้อ หน้าผาก หัวตา และวงรอบตาสีเนื้อ

พฤติกรรม : ชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้หรือพุ่มไม้ต่ำๆ ใกล้พ้นดิน และออกไปโฉบจับแมลงที่ผ่านมา

อาศัยอยู่ตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง ๘๐๐ เมตรขึ้นไป มักหากินในระดับพุ่มไม้ หรือตามไม้พื้นล่างที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย หรือพบบ่อยบางพื้นที่สามารถพบนกชนิดนี้ได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และภูเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติแม่วงศ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53898226511147_414997219_1762266827622323_522.jpg)

ขอขอบคุณ เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี


หัวข้อ: Re: นกฟินซ์ม้าลาย (Zebra Finch) : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 มกราคม 2567 17:01:36
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41379141228066__Copy_.jpg)

นกฟินซ์ม้าลาย (Zebra Finch)

นกตัวเล็กๆ ที่เราอาจเคยพบเห็นเป็นรูปตุ๊กตานกตัวสีขาวปากแดงตัวเล็กๆ ที่คนชอบตั้งโชว์กันบ่อยตา เจ้านกน่ารักที่พูดถึงนี้ เป็นนกข้ามฟ้าข้ามฝั่งมาจากดินแดนแห่งสายพันธุ์นกในประเทศออสเตรเลีย  ที่เรียกกันในนาม นกซีบร้า  หรือ นกม้าลาย นั่นเอง

นกซีบร้า เป็นหนึ่งในนกฟินซ์ อยู่ในสกุล Taeniopygia คำว่านกฟินซ์เป็นชื่อเรียกแทนเหล่านกตัวเล็กๆ ที่อาศัยเมล็ดพืชหรือแมลงเป็นอาหาร เนื่องจากเป็นนกที่มีจงอยปากที่แข็งแรง และสามารถบีบหรือเจาะพวกเมล็ดพืชเล็กๆ ที่มีความแข็งได้อย่างง่ายดาย

นกชนิดนี้เป็นนกพื้นเพจากประเทศออสเตรเลีย โดยเฉพาะในแถบตอนกลางของประเทศ รวมไปถึงสามารถพบได้ในประเทศที่ใกล้กันอย่างบางเกาะของอินโดนีเซีย หรือในหมู่เกาะติมอร์  จัดเป็นนกเล็กๆ ที่มีความน่ารัก เพราะขนาดของลำตัวที่มีความยาวเพียงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร และเป็นนกที่เลี้ยงง่ายมาก รวมทั้งไม่ก่อความรำคาญให้แก่ผู้เลี้ยงจากเสียงรบกวนแบบจำพวกนกปากขอ   สีสันของนกชนิดนี้ ถ้าเป็นนกดั้งเดิม เพศผู้จะมีจงอยปากสีอมส้ม และกลายเป็นแดงสดเมื่อเวลาโตเต็มที่ ส่วนเพศเมียจะเป็นสีส้ม ในเพศผู้จะมีสัญลักษณ์แถบสีส้มเป็นวงกลมอยู่บริเวณสองข้างแก้ม และบริเวณหน้าและบริเวณตะโพกและหางจะมีเส้นสีดำพาดเป็นแนวขวางคล้ายลายของม้าลาย บริเวณข้างลำตัวของผู้จะมีสีน้ำตาลอมแดงและมีจุดสีขาวกระจาย สวยงามน่ารัก  และดวงตาเมื่อโตเต็มวัยจะมีสีแดงกล่ำ  ส่วนในเพศเมียจะไม่มีที่กล่าวมา


ขอขอบคุณ
       - เว็บไซต์ blogspot.com (ที่มาข้อมูล)
       - เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58683629954854_420160761_1773518073163865_793.jpg)
800/30/


หัวข้อ: Re: นกอีเสือหลังแดง : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 มกราคม 2567 18:10:50

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67532363575365_10_Copy_.jpg)

นกอีเสือหลังแดง

นกอีเสือหัวแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Lanius collurioides ชื่อสามัญ: Burmese Shrike

ลำตัวค่อนข้างสั้น ตัวผู้ แถบคาดตาดำ หัวและท้ายทอยสีเทา ลำตัวด้านล่างสีขาว หัวไหล่ หลัง ตะโพกสีน้ำตาลแดง ขนคลุมปีกและขนปีกสีน้ำตาล ขอบสีน้ำตาลแดง หางสีน้ำตาลเข้ม ปลายหางและขอบหางขาว มีจุดสีขาวบริเวณโคนขนปลายปีก ตัวเมีย หัวตาสีขาว นกวัยอ่อน หัวสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีเข้มกระจายทั่วกระหม่อมและท้ายทอย หลังและสีข้างมีลายเกล็ด หางสีน้ำตาลแดง พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ชายป่า รวมถึงทุ่งโล่ง นกประจำถิ่นและนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อย

ตัวเมีย : สีจางกว่าตัวผู้ หัวตาขาว

นกวัยอ่อน : คล้ายตัวเมีย แต่มีแต่มีลายเกล็ดทั้งด้านบนและล่าง จุดขาวที่ปีกเล็กมากหรืออาจมองไม่เห็น

ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง : ชายป่าติดกับพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ ตั้งแต่ที่ราบถึงความสูง ๑,๘๐๐ เมตร พบบ่อยบางพื้นที่ เช่น ชายป่าเต็งรังเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่และอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก และมีรายงานการขยายพันธุ์ในที่สูง ๙๐๐ เมตรขึ้นไป

นกอีเสือเป็นนกที่ล่าสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร หางยาว มีปากที่หนาและปลายงุ้มเหมือนตะขอ เอกลักษณ์ของพวกมันคือแถบคาดตาสีดำเหมือนหน้ากากโจร (bandit-mask) นอกจากนกอีเสือสีน้ำตาลแล้วแทบทุกปีตามสวนสาธารณะในเมืองกรุงเทพและปริมณฑลจะมีรายงานการพบ นกอีเสือหลังแดง (Burmese Shrike) และ นกอีเสือหลังเทา (Grey-backed Shrike) ทั้งสองชนิดล้วนเจอตัวทางภาคเหนือได้ง่ายกว่า นกที่พบในภาคกลางตอนล่างส่วนใหญ่น่าจะเป็นเพียงนกอพยพพลัดหลงเท่านั้น โดยเฉพาะชนิดหลังที่ปกติจะอาศัยอยู่บนที่สูง

ถึงแม้โดยรวมทั้งสองชนิดจะไม่ใช่นกที่พบยาก แต่การพบใน กทม. หรือจังหวัดใกล้เคียงนับว่าอยู่นอกพื้นที่ที่มีการพบเห็นตามปกติ ควรค่าแก่การรายงานเป็นข้อมูลให้ทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) รวบรวมและเผยแพร่ ปีนี้มีรายงานการพบนกอีเสือหลังแดงเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นในภาคกลางตอนล่าง (ที่สวนลุมพินี ใจกลาง กทม.นี่เอง) ส่วนนกอีเสือหลังเทาที่จะพบได้บ้างนั้นปีนี้ไม่มีรายงานเลย

เรามักสังเกตนกอีเสือหลังแดงขณะเกาะสายไฟฟ้าหรือกิ่งไม้โล่งๆได้จากลำตัวด้านล่างสีขาวโพลนตัดกับด้านบนสีเข้ม มันมีหลังสีน้ำตาลแดงสมชื่อ กระหม่อมสีเทาเข้ม มีแต้มสีขาวที่ปีก เพศเมียมีบริเวณหัวตาสีขาว กระหม่อมและหลังสีอ่อนกว่าตัวผู้ บริเวณสีข้างมีสีน้ำตาลแดง ไม่ขาวสะอาดเหมือนเพศผู้

นกอีเสือหลังแดงทำรังวางไข่ตามป่าโปร่งและชายป่า โดยเฉพาะป่าผลัดใบและป่าสน ในระดับความสูงอย่างน้อย ๖๐๐  เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่พอเข้าสู่ฤดูหนาวนกบางส่วนจะอพยพกระจายลงมาอยู่ในที่ราบ พบได้ตามทุ่งโล่งและสวนสาธารณะ มีรายงานทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มักหากินตามทุ่งที่มีไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นประปราย ไม่ค่อยพบในที่โล่งมากเท่านกอีเสือสีน้ำตาลและ นกอีเสือหัวดำ (Long-tailed Shrike)

มองเผินๆ นกอีเสือหลังแดงมีสีสันละม้ายคล้ายนกอีเสือหัวดำชนิดย่อย schach ซึ่งมีกระหม่อมสีเทาเหมือนกัน ต่างจากชนิดย่อยประจำถิ่นที่มีกระหม่อมสีดำสนิท มันเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ที่หายากในประเทศไทย จำแนกได้จากสีเทาที่เลยไปจนถึงบริเวณหลังมากกว่านกอีเสือหลังแดงและมีขนาดตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย



ขอขอบคุณ เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี
800/30


หัวข้อ: Re: นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก ซ รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 มกราคม 2567 16:30:02
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17514176004462_7_Copy_.jpg)

นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก

นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
       วงศ์ : Nectariniidae  
       ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arachnothera chrysogenys (Temminck) 1826.
       ชื่อสามัญ : Yellow-eared Spiderhunter
       ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Lesser Yellow-eared Spiderhunter


มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arachnothera chrysogenys ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ chrys, -o, =us หรือ khrusos แปลว่าสีทอง และ geny, -o, =us หรือ genus แปลว่าแก้ม ความหมายคือ “นกที่มีแก้มสีเหลืองทอง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี ๒ ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ ๑ ชนิดย่อยคือ Arachnothera chrysogenys chrysogenys (Temminck) ที่มาและความหมายของชื่อ ชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะ ซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (๑๘ ซม.) ตัวเต็มวัยมีกระจุกขนบริเวณหูและวงรอบเบ้าตาสีเหลือง คอหอยและอกสีเขียวอ่อนแกมเทามีลายขีดเล็กน้อย ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลือง หาง ด้านล่างสีเขียวอ่อนแกมเทา ไม่มีสีขาว อกไม่มีพุ่มขน ปีกสั้นกว่า ๙๘ มม. ตัวไม่เต็มวัยสีจางกว่า สีเหลือง บริเวณหูมีขนาดเล็กจนเกือบไม่เห็น

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้น ป่าดง ดิบแล้ง และชายป่า ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง ๑,๘๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่าง จากนกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่

การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ช่วงฤดูร้อนระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ทำรังใต้ ใบไม้ในลักษณะเดียวกันกับนกปลีกล้วยชนิดอื่น รัง อยู่สูงจากพื้นดิน ๑.๕-๑๒ เมตร รังมีไข่ ๒ ฟอง

ไข่ :ไข่ สีเทาแกมขาว มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองและสีน้ำตาลเทา ยังไม่ทราบชีววิทยาคารสืบพันธุ์ด้านอื่น

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบทางภาคตะวันตกตอนใต้และภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง



ขอขอบคุณ
       - เว็บไซต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี (ที่มาข้อมูล)
       - เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39790063558353_421685169_1776077046241301_481.jpg)


หัวข้อ: Re: นกอีเสือหัวดำ : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 มกราคม 2567 12:00:07
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99751543874541__Copy_.jpg)

นกอีเสือหัวดำ

นกอีเสือหัวดำ (Long-tailed Shrike)

ชื่อภาษาอังกฤษ : Long-tailed Shrike

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lanius schach

สถานภาพ : นกประจำถิ่น

ขนาด : มีขนาด ๒๕ เซ็นติเมตร

ถิ่นที่อยู่ : เป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ในที่โล่ง ทุ่งนา ป่าละเมาะ หรือ แม้แต่ตามสายไฟฟ้าข้างถนน พบได้จากที่ราบ ขึ้นไปถึงที่สูงระดับกว่า ๒,๐๐๐ เมตร

เพศ : ตัวผู้ กับ ตัวเมีย มีลักษณะคล้ายกัน

อาหาร : สัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ เขียด นกขนาดเล็ก และแมลง ต่างๆ

พฤติกรรม : เป็นนกที่มีพฤติกรรมแปลก คือชอบจับเหยื่อเสียบไว้กับหนามแหลม แล้วจึงลงมือจิกกิน หรือ เสียบเหยื่อไว้กับหนามจนเหยื่อเริ่มเน่าแล้วจึงจิกกิน

เสียงร้อง : เป็นนกที่ร้องเลียนเสียงนกชนิดอื่นได้ แต่เลียนเสียงได้ไม่ดี ส่วนมากมักส่งเสียงร้อง (call) เป็นเสียงแหบๆ ๑ พยางค์ สั้นๆ ห้วนๆ

ชนิดย่อย ในประเทศไทย พบ ๒ ชนิดย่อย คือ longicaudatus (ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคอีสานตอนใต้) หน้าและกระหม่อมสีดำ หลังสีน้ำตาลอมส้ม หัวไหล่และขนปีกสีดำ โคนขนปลายปีกมีจุดขาว ตะโพกสีน้ำตาลอมส้ม คอและอกสีขาว สีข้างสีส้ม หางสีดำ หางยาวกว่าชนิดย่อยอื่นๆ ชนิดย่อย tricolor (ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน) คล้ายชนิดย่อย longicaudatus แต่หลังตอนบนสีน้ำตาลอมเทา หางสั้นกว่า ชนิดย่อย schach (เคยมีรายงานทางภาคเหนือ) กระหม่อมและหลังตอนบนสีเทาเข้ม ชนิดย่อย bentet (ภาคใต้ตอนล่าง) ท้ายทอย หลัง สีเทาจางกว่าชนิดย่อยอื่น จุดสีขาวที่ปีกขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับชนิดย่อยอื่น นกประจำถิ่นและนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อย ชนิดย่อย longicaudatus พบไม่บ่อยและมีจำนวนประชากรลดลงอย่างมากในภาคกลาง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49110567445556_421723100_1777820582733614_437.jpg)

ขอขอบคุณ
       - เว็บไซต์ (ที่มาข้อมูล) www.bloggang.com / https://ebird.org/
       - เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี

800/30


หัวข้อ: Re: สุลาเวสี พิตต้า : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 11:21:56
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59582357936435_430044953_1796316330884039_357.jpg)

สุลาเวสี พิตต้า



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89489241275522_5555_Copy_.jpg)
ภาพจาก เว็บไซต์ .oknation.net
800


หัวข้อ: Re: นกแต้วแล้วลาย : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 03 มีนาคม 2567 13:23:26
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30299454927444_430102250_1799122617270077_831.jpg)
นกแต้วแล้วลาย : ภาพวาดระบายด้วยสีชอล์คน้ำมัน

นกแต้วแล้วลาย

นกแต้วแล้วลาย นกขี้อายที่มีสีสันสวยงาม เป็นหนึ่งในนกแต้วแล้วชนิดหนึ่ง ที่มีสีสันสวยที่สุดชนิดในบรรดานกแต้วแล้วทั่วโลกก็ว่าได้ นกแต้วแล้วลายเป็นนกประจำถิ่น พบเฉพาะป่าดงดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย และกระจายเป็นหย่อมๆ ในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย นกแต้วแล้วลาย ขนาด ๒๑-๒๔ เซนติเมตร เป็นนกแต้วแล้วขนาดกลาง ตัวผู้และตัวเมียต่างกัน แต่งามกันคนละแบบ คิ้วสีเหลืองสดขับเน้นปลายคิ้วด้วยสีแดงชาด กระหม่อมคาดแถบดำ คอขาวแบบปุยหิมะ ใบหน้าเข้มดุดันด้วยแถบดำคาดตาด สีข้างลาย และปีกสีน้ำตาลคาดด้วยแถบขาวยาวตลอดแนวโดดเด่นและหางสีฟ้า เพศเมียมีท้องสีอ่อนกว่า มีลายขวางสีดำทั่วท้อง หาอาหารอย่างเงียบเชียบตามพื้นป่าในป่าดิบที่ราบ มักได้ยินเสียงร้องคล้ายเสียงครางในลำคอดัง “กรือออ”

สำหรับนกแต้วแล้วลายตัวผู้ต่างจากตัวเมียที่อกและท้องเป็นสีน้ำเงินเข้มไม่มีลาย ลูกนกคล้ายตัวเมียแต่สีจืดชืดกว่ามาก ส่วนการสร้างรังจะสร้างเหนือพื้นดินซึ่งอาจจะสูงถึง ๓ เมตรจากพื้น รังซุกตามง่ามไม้กลุ่มปาล์ม เช่น หวาย นกใช้รากไม้และกิ่งไม้แห้งขัดสานเป็นโครงแล้วบุด้วยใบไม้แห้ง โดยที่ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละวางไข่ ๓-๔ ฟอง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28285749504963_429803398_1799122693936736_118.jpg)

800-30


หัวข้อ: Re: นกปีกลายตาขาว : รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 เมษายน 2567 14:38:35
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59350733665956_111_Copy_.jpg)
ภาพวาดระบายสีไม้

นกปีกลายตาขาว

นกปีกลายเพียงชนิดเดียวที่พบได้ในประเทศไทย เป็นนกกินแมลงที่อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาสูง
ทางภาคเหนือ มักหากินเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ มีวงรอบตาสีขาวเด่น ปีกและหางมีลายขวางถี่
สีดำตามชื่อ ใบหน้าเรียบไม่มีลาย ท้องสีอ่อน อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาและพื้นที่ชายป่า มักพบ
เป็นคู่หรือฝูงขนาดเล็ก ที่หากินตามพุ่มไม้รกทึบ มักออกมาเกาะในที่โล่งเป็นระยะๆ
และส่งเสียงร้องแหลมขึ้นจมูกเรียบๆ ติดต่อกัน


800-16