[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 19 มิถุนายน 2554 12:51:24



หัวข้อ: ความรู้เกี่ยวกับ โอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 19 มิถุนายน 2554 12:51:24
โอเมก้า ๓ และ โอเมก้า ๖   
 
(http://www.vcharkarn.com/uploads/160/160309.jpg)

ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
          จากกระแสกรดไขมันโอเมก้า ๓ ที่ถาโถมเข้ามาในตลาดผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ทำให้กรดไขมัน
โอเมก้า ๓ เป็นชื่อที่คุ้นหูและทุกคนต่างเห็นถึงความจำเป็น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่ากรดไขมันโอเมก้า ๖
ที่ต้องมีควบคู่กับกรดไขมันโอเมก้า ๓ นั้น ก็มีความสำคัญไม่ต่างกัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
เพราะอาจเสียสมดุลในร่างกายได้ ทั้งนี้ บางคนอาจกินตามกระแสว่ากรดไขมันโอเมก้า ๓ มีประโยชน์
ต่อร่างกายแต่ไม่ได้ศึกษาว่ามีความจำเป็นอย่างไร กินแล้วจะได้ประโยชน์หรือโทษอะไรบ้าง ดังนั้น
ก่อนที่จะกินโอเมก้า ๓ ควรทำความรู้จักก่อนเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพตัวท่านเอง

          “หมอชาวบ้าน” ได้รับความรู้เรื่องกรดไขมันโอเมก้า ๓ และ ๖ จาก ดร.สมเกียรติ โกศัลวัฒน์
หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีทางอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ดังนี้

โอเมก้า ๓
          โอเมก้า ๓ เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะหลายตำแหน่ง กรดไขมันโอเมก้า ๓
มีอยู่ ๓ ชนิดที่สำคัญคือ
๑. กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha linolenic acid : ALA)
๒. กรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenic acid : EPA)
๓. กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid : DHA) ซึ่งเป็นตัวที่ได้ยินค่อนข้างบ่อย
ในโฆษณา เพราะเป็นตัวหนึ่งที่ผู้ประกอบการนิยมเติมลงไปในผลิตภัณฑ์ กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก : ALA
เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่หลายตำแหน่ง โดยมีความสำคัญต่อร่างกายคือ เป็นกรดไขมันที่ร่างกายเรา
ไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก : ALA เป็นกรดไขมัน
ต้นตอที่ร่างกายนำไปสร้างเป็นกรดไขมันอีพีเอ : EPA และกรดไขมันดีเอชเอ : DHA ได้ หากเรากินอาหาร
ที่ไม่มีกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก : ALA เลย เราอาจจะขาดกรดไขมันโอเมก้า ๓ ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว
กรดไขมันโอเมก้า ๓ มีอยู่ในอาหารหลายชนิดด้วยกัน

แหล่งของกรดไขมันโอเมก้า ๓
          กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (ALA) ส่วนใหญ่จะได้จากอาหารที่เป็นไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง
หรือน้ำมันอีกหลายๆ ชนิด และน้ำมันรำข้าวซึ่งมีเล็กน้อย หรือในอาหารที่เป็นถั่วโดยตรงก็มีอยู่ในธรรมชาติ
ถั่วเมล็ดแห้งหลายชนิด และมาจากน้ำมันพวกอื่นๆ ในอาหาร รวมถึงพืชผักต่างๆ ด้วย
          ส่วนกรดไขมันอีพีเอ (EPA) และดีเอชเอ (DHA) จะได้จากสัตว์ โดยเฉพาะปลาทั้งปลาทะเล
และปลาน้ำจืด ทั้งอีพีเอและดีเอชเอจะมีมากน้อยแล้วแต่ชนิดของปลา โดยทั่วไปมีอยู่เล็กน้อย และขึ้นอยู่กับ
ปริมาณไขมันที่มีอยู่ในปลาด้วย เมื่อเราย่อยไขมันแล้วก็จะได้กรดไขมัน ซึ่งร่างกายเราจะนำมาย่อย
แล้วนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ

คนทั่วไปเมื่อพูดถึงกรดไขมันโอเมก้า ๓ แล้วมักคิดว่ามีอยู่แต่ในปลาทะเลน้ำลึกของต่างประเทศเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริง มีข้อมูลปริมาณกรดไขมันโอเมก้า ๓ และโอเมก้า ๖ ในปลาทะเลและปลาน้ำจืดไทย
เช่นเดียวกัน 


ข้อมูลสื่อ
File Name : 383-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 383
เดือน-ปี : 03/2554
คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก
นักเขียนหมอชาวบ้าน : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
นักเขียนหมอชาวบ้าน : นิชานันท์ นาไชย     
Tue, 01/03/2554 - 00:00 — thanyaporn