[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 18 ธันวาคม 2562 16:04:44



หัวข้อ: "เครื่องปั้นดินเผา" หัตถกรรมชาวมอญ นครสวรรค์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 ธันวาคม 2562 16:04:44

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31295147414008_2_320x200_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42482790226737__MG_7945_320x200_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45804562419652_3_320x200_.jpg)

ตามรอยภูมิปัญญา "เครื่องปั้นดินเผา" ชาวมอญ นครสวรรค์
บ้านมอญ ตำบลบ้านแก่ง  อำเภอเมืองนครสวรรค์  จังหวัดนครสวรรค์

เครื่องปั้นดินเผากับชาวมอญนครสวรรค์
เครื่องปั้นดินเผาเป็นเครื่องวัดอารยธรรมของมนุษย์ที่เห็นได้จากการที่มนุษย์ต้องการเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่สำคัญ จะขาดไม่ได้ บางชนิดต้องใช้เก็บถนอมรักษาสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น ใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร น้ำดื่ม หมักดองอาหาร เช่น ดองผัก ดองปลาร้า ปลาจ่อม หมักสุรา ฯลฯ จึงทำให้มนุษย์ต้องแสวงหา คิดค้นประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันและประโยชน์ในการประกอบอาชีพ โดยแลกเปลี่ยนตามความต้องการของกันและกันระหว่างครอบครัวและระดับชุมชนเรื่อยมา  ด้วยเหตุนี้ จึงพบว่ามนุษย์รู้จักผลิตเครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินธรรมดาเพื่อใช้สอยภายในครัวเรือนทั่วไป เช่น จาน ชาม หม้อ ไห ถ้วยชาม ครก คนโท ตุ่มน้ำ มานานนับพันปี  ในระยะแรกจะเป็นภาชนะที่ทำด้วยดินเผาอย่างง่ายๆ หยาบๆ จากการปั้นด้วยมือ นำไปเผาไฟให้มีความแกร่ง และคงทน  

การเผาเครื่องปั้นดินเผาในยุคโบราณนั้น ใช้กรรมวิธีเผาอย่างง่ายๆ ไม่มีเตา นั่นคือการกองภาชนะที่ปั้นกับลานดิน หรือขุดหลุมลงไปในดินเล็กน้อย เอาแกลบ ฟาง หญ้าแห้ง หรือฟืน สุมแล้วเผาจนสุก ภายหลังต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงได้มีการก่อเตาอิฐสามารถให้ความร้อนได้สูง เผาจนเครื่องปั้นดินเผาแกร่ง มีความคงทนถาวร กักน้ำไม่ให้ซึมได้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53563261404633__MG_7971_320x200_.JPG)

ชาวมอญนครสวรรค์
ห่างจากตัวจังหวัดนครสวรรค์ไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร มีหมู่บ้านมอญ ซึ่งตั้งชื่อหมู่บ้านตามความเป็นมา ว่า ในอดีตมีชาวมอญ ๔ ครอบครัว ได้อพยพครอบครัวจากอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  และเลือกที่จะตั้งถิ่นฐานบริเวณหมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแก่ง  อำเภอเมือง  จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำและดินอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งดินเหนียวซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างมากในการปั้นภาชนะ เครื่องใช้ต่างๆ และอิฐมอญ ซึ่งชาวมอญมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในการทำเครื่องปั้นดินเผา อันเป็นภูมิปัญญาที่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ

การอพยพมาสร้างบ้านเรือนของชาวมอญ ๔ ครอบครัว เมื่อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นๆ ได้กลายเป็นชุมชนชาวมอญขนาดใหญ่ จนเรียกกันติดปากว่า “บ้านมอญ”  ชาวมอญเหล่านี้ประกอบอาชีพหลักคือทำการเกษตร พอถึงช่วงฤดูแล้งว่างงานในไร่นา ก็จะทำงานหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยใช้วัสดุดินเหนียวในหมู่บ้าน ปั้นหม้อ หม้อ ไห ครก คนโท ตุ่มน้ำ ฯลฯ  จากวัตถุประสงค์เดิมที่ทำขึ้นเพื่อใช้สอยภายในหมู่บ้าน ก็เปลี่ยนแปลงไปทำการผลิตเพื่อการจำหน่าย เพิ่มพูนรายได้ให้แก่ครอบครัวจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้มีความสุขสบายขึ้น

"คนรามัญ" หรือ "ชาวมอญ" บ้านแก่ง ในวันนี้ยังคงมี "วิถีชีวิต" ดำรงอยู่ตามประเพณีของชนชาติในอดีต ที่ถือปฏิบัติสืบต่อมาอย่างเคร่งครัด และย่อมต้องมีผู้สืบสาน"วิถีที่มีเอกลักษณ์" สืบทอดต่อไป  แม้โลกยุคใหม่ทำให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในทุกๆ มิติของสังคม แต่เมื่อถึงเทศกาลหรืองานบุญประเพณีต่างๆ ชาวมอญตำบลบ้านแก่งก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ตนเองที่น่าสนใจ นั่นคือ สตรีสวมเสื้อแขนกระบอก (สามส่วน) นุ่งผ้าซิ่น กล้ามวยผม คล้องผ้าสไบ  ส่วนบุรุษชาวมอญ สวมเสื้อคอกลมแขนยาวหรือแขนสั้น มีการนำวัฒนธรรมเด่นๆ มาจัดแสดงให้คนทั่วไปที่สนใจได้ติดตาม อาทิ ประเพณีที่เกี่ยวกับวันสงกรานต์ซึ่งจะมีการก่อเจดีย์ทราย มีการประดับธงสีสันต่างๆสวยงาม มีการแสดงละเล่นพื้นบ้าน สาธิตพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาตามความเชื่อที่ยังมีการนับถือผี หรือแม้แต่ในเรื่องของตำรับอาหาร เป็นต้น



การอพยพของชาวมอญเข้ามาในไทย  
ในอดีต ชาวมอญเคยตั้งอาณาจักรของตนขึ้นในบริเวณที่เป็นพม่าตอนล่างปัจจุบัน ถูกพม่ากดขี่เบียดเบียน ได้ทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง แต่ถูกปราบปรามจนกระทั่งถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า โดยไม่มีโอกาสฟื้นตัวหรือตั้งอาณาจักรได้อีกจนกระทั่งปัจจุบัน

เมื่อไม่พอใจความเป็นอยู่ของตน ชาวมอญส่วนหนึ่ง (นอกเหนือจากการถูกกวดต้อนเข้ามาในฐานะเป็นเชลยสงคราม เช่นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จยกกองทัพไปตีหวงสาวดี เป็นต้น) จึงสมัครใจอพยพหลบหนีจากกองทัพพม่าเข้ามาพึ่งบุญบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย ได้แก่ การอพยพในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ.๒๒๐๕ คราวพม่าเกณฑ์มอญไปรบศึกฮ่อ  การอพยพในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  การอพยพในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และการอพยพกระเซ็นกระสายครั้งย่อยๆ เข้ามาเรื่อยๆ โดยไม่มีการบันทึก

จำนวนคนมอญที่อาศัยในประเทศไทย อาจประมาณการได้อย่างหยาบที่สุดโดยอาศัยจากที่มีการบันทึก โดย ดร.จอห์น ครอว์เฟิร์ด (Dr.John Crawfurd) ทูตข้าหลวงอังกฤษประจำอินเดียที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้กล่าวไว้ในบันทึกรายงาน (The Crawfurd Papers) ว่าประชากรทั้งหมดในราชอาณาจักรสยามมี ๕,๐๐๐,๐๐๐ คน จำนวนนี้เป็นคนมอญ ๔๒,๐๐๐ คน ส่วนเซอร์จอห์น บาวริง (Sir John Bowring) ราชทูตของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีคนมอญในประเทศไทยประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน  จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๖,๐๐๐,๐๐๐ คน

ชาวมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยได้รับการต้อนรับและเลี้ยงดูเป็นอย่างดี  ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ให้ประกอบอาชีพตามอัธยาศัยไม่ว่าจะเป็นการเกษตรกรรม การค้า หรือรับราชการ  

บริเวณที่จัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญ ส่วนมากจะอยู่ริมแม่น้ำ โดยเฉพาะบริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ไปจนถึงพระนครศรีอยุธยา  รองลงมาได้แก่ตามลำน้ำแม่กลอง ในอำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี  ในจังหวัดกาญจนบุรี  และที่พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ  นอกจากนี้ยังมีในจังหวัดลพบุรี ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ สุพรรณบุรี เพชรบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา นครสวรรค์ ปราจีนบุรี ฯลฯ  

อาชีพสำคัญของชาวมอญ ได้แก่การทำนา ทำสวน ปลูกพืชผักผลไม้ เช่นเดียวกับคนไทย  ยามว่างจากฤดูทำนาก็มีการทำงานฝีมือต่างๆ เช่น ปั้นเครื่องดินเผา ทอเสื่อ ทอผ้า สานตะกร้า กระบุง ไว้ใช้สอยตามความจำเป็น  บางแห่งมีการทำงานฝีมือกันจนเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน กลายเป็นอาชีพหลักของมอญแถบนั้นในเวลาต่อมา

ชาวมอญที่สามโคก ปากเกร็ด นครปฐม มีการทำวัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือนำดินเหนียว แกลบ น้ำ มาผสมกันแล้วปั้นด้วยมือทีละก้อน นำไปเผาในเตาจนสุก นำไปใช้สร้างบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร  วัสดุก่อสร้างนี้เรียกว่า “อิฐมอญ”  

ที่ได้ชื่อว่าอิฐมอญนี้เนื่องมาจากในระยะแรกชาวมอญเป็นผู้ผูกขาดการทำอิฐชนิดนี้นั่นเอง

ชาวมอญที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้น ทางราชการมิได้ถือว่าชาวมอญเป็นชาวต่างประเทศ อาจเป็นเพราะว่า ชาวมอญรูปร่างหน้าตาคล้ายคนไทย มีการผสมกลมกลืนเป็นไทย  ถ้าแยกส่วนที่เกี่ยวกับการนับถือผีออกไปแล้วก็นับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกันคนไทย มีวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อคล้ายคลึงกับคนไทย อยู่ในฐานะเป็นไพร่หลวง มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับพลเมืองไทย ต้องถูกเกณฑ์ให้เข้าเวรทำราชการตามกำหนดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาการ “เข้าเดือน” ต่อปี ชาวมอญจึงไม่แตกต่างจากไพร่ไทยคือปีละ ๖ เดือนในสมัยอยุธยา ในสมัยธนบุรีลดเวลาประจำการลงเหลือปีละ ๔ เดือน และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นลดลงอีกหนึ่งเดือน ไพร่หลวงต้องมาเข้าเวรปีละ ๓ เดือน  และมีข้อที่น่าสนใจ คือ ชาวมอญในสมัยโบราณนั้นยังมีหน้าที่เฉพาะอย่างด้วย ได้แก่ การไปสืบราชการความเคลื่อนไหวของพม่า เนื่องจากชาวมอญมีความคุ้นเคยกับสถานที่และชำนาญในเส้นทาง และยังมีญาติพี่น้องซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการสืบข่าวอีกด้วย


ยังมีต่อจ้ะ


หัวข้อ: Re: "เครื่องปั้นดินเผา" หัตถกรรมชาวมอญ นครสวรรค์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 31 ธันวาคม 2562 17:15:29
เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง การนำดินมาปั้นเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ นำไปเผา
ให้เนื้อดินมีความแข็งแกร่ง คงทนต่อการใช้งาน ผลงานสร้างสรรค์ขั้นแรกของมนุษย์
ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน  และมีเจตจำนงที่จะแสดงออกถึงความนึกคิด
และจิตใจของตนเองอยู่ด้วย การแสดงออกจะเริ่มต้นเมื่อนำดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปร่าง
ต่างๆ ตามปรารถนา สร้างตุ๊กตาและเครื่องเล่นให้กับลูกหลานของตนเอง สร้างภาชนะ
ไว้ใช้สอยต่างๆ เช่น โอ่งใส่น้ำ หม้อ ไห ครก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84185209208064_P_20191213_093722_320x200_.jpg)
เครื่องดินเผาในประเทศไทย เริ่มต้นจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ได้พบหม้อดินเผาเป็นแห่งแรกที่บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี  
มีอายุประมาณ ๖,๐๐๐ ปี ต่อมาคือสมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย
สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน และสมัยสุโขทัย


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75027970845500_1_320x200_.JPG)
เครื่องดินเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงฝีมือ และวิวัฒนาการที่มนุษย์พยายามจะปรับปรุงคุณภาพ
พัฒนารูปแบบเครื่องดินของตนให้เหมาะสมกับการใช้งาน และมีความงดงามกว่าที่เคยทำ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84638750635915_P_20191213_093258_320x200_.jpg)
กอง "ดินเหนียว" ได้จากแหล่งดินที่บ้านมอญ เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับทำเครื่องปั้น เมื่อขุดขึ้นมาแล้วต้องใช้แผ่นพลาสติกคลุมกันดินแห้ง
แหล่งดินบางพื้นที่ต้องขุดลึกจากผิวดิน ๑-๒ เมตร ซึ่งจะเป็นดินชั้นที่ ๓ เมื่อได้มาแล้วนำมาตากแห้ง แล้วตีดินให้ป่น หมักดินกับน้ำ  นำไป
ผสมวัตถุดิบอื่นๆ เช่น ทราย แล้วนำมานวดเพื่อใช้ขึ้นรูปปั้นต่อไป

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28019957203004_P_20191213_134233_320x200_.jpg)
ทรายสำหรับผสมดินเหนียว เพื่อให้อากาศแทรกในเนื้อดิน ทำให้เนื้อดินมีฟองอากาศ โปร่ง ทนไฟ และผิวสวยงาม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35347523581650_P_20191213_134306_320x200_.jpg)
ทรายที่ร่อนด้วยตะแกรงร่อนหรือเครื่องเมื่อ แยกเอาสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการออก

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16930251651339_P_20191213_134322_320x200_.jpg)
เมื่อมีวัตถุดิบต่างๆ แล้ว ต้องนำดินเหนียวมาเก็บสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ต้องการ เช่น กรวด เศษไม้ ฯลฯ ออกจากดินให้สะอาด
หมักดินที่ผสมแล้ว โดยใส่น้ำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อให้เนื้อดินมีความเหนียว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30263599794771__MG_7987_320x200_.JPG)
บดให้ละเอียด แล้วผสมวัสดุอื่นตามส่วนที่ต้องการ จากนั้นนวดให้เข้ากัน ขั้นนี้เรียกว่า การเตรียมดิน ดินอัดที่มีส่วนผสมของทราย น้ำ
ผสมจนเป็นเนื้อเดียวกัน ไล่ฟองอากาศและน้ำออกจากดินโดยใช้เครื่องรีดดิน ออกจากเครื่องรีดดินเป็นรูปทรงกระบอก
ซึ่งจะมีความเหนียวและชื้นพอเหมาะที่จะนำไปขึ้นรูปต่อไป


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13364936742517_P_20191213_091747_320x200_.jpg)
ช่างปั้นดินที่บ้านมอญ เริ่มงานปั้นเมื่ออายุ ๑๘ ปี ปัจจุบันอายุ ๔๓ ปี เป็นชาวจังหวัดสุรินทร์โดยกำเนิด
ผู้โพสท์ไปยืนชมการปั้นสังเกตเห็นว่าใช้เวลาประมาณหนึ่งนาทีปั้นกระถางได้ 1 ใบ ค่าแรงใบละ ๙ บาท วันหนึ่งๆ
สามารถทำรายได้ถึงวันละ ๑,๕๐๐ บาท


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70748511329293_P_20191213_135003_320x200_.jpg)
ดินรูปทรงกระบอก โดยใช้เครื่องรีดดิน ออกจากเครื่องรีด ซึ่งจะมีความเหนียวและชื้นพอเหมาะที่จะนำไปขึ้นรูปต่อไป

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56650460635622__MG_7923_320x200_.JPG)
ปั้นภาชนะดินเผาด้วยแป้นหมุน  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86928910596503__MG_7924_320x200_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16079153493046_P_20191213_091606_320x200_.jpg)
ไม้ที่ทอดขนาน ยึดติดไม้หลัก คือสิ่งที่ช่วยจับระดับความสูงของงานปั้น ให้ชิ้นงานมีความสูงเท่ากัน
 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11922319440377_P_20191213_134804_320x200_.jpg)
ช่างปั้นใช้ปลายเท้าช่วยหมุนแป้นหมุน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62763981065816_P_20191213_091713_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86474162215987_P_20191213_092429_320x200_.jpg)
ภาชนะดินเผาที่ปั้นแล้ว นำไปผึ่งลมพอหมาดๆ จึงนำไปเขียนหรือวาดลวดลายต่างๆ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56846542283892__MG_7953_320x200_.JPG)

โปรดติดตามตอนต่อไป


หัวข้อ: Re: "เครื่องปั้นดินเผา" หัตถกรรมชาวมอญ นครสวรรค์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 มกราคม 2563 19:20:06

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29876042033235_P_20191213_094216_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65215421509411_P_20191213_093951_320x200_.jpg)

ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

• ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
๑. นำดินเหนียวมากองไว้เตรียมใช้งาน เรียกว่า กองดิน
๒.ซอยดินเหนียว แล้วนำไปพรมน้ำหมักค้างคืน โดยใช้ใบตองแห้งคลุมให้ดินชุ่มน้ำพอเหมาะ
๓. ปั้นดินที่หมักเป็นก้อนยาวประมาณ ๑ ศอก นำไปวางไว้ในลานวงกลมแล้วใช้ควายย่ำให้ทั่ว เรียกว่า นวดดิน ปัจจุบันพัฒนามาใช้เครื่องนวดแทนควาย
๔. นำดินที่นวดแล้วมาตั้งเป็นกองใหญ่ แล้วเหยียบให้แบนลง ถ้าพบเศษวัสดุให้หยิบออกไป แล้วนำผ้ามาคลุมดินไว้เพื่อรอการนำดินมาใช้ในการปั้นต่อไป
๕. นำดินมาปั้นเป็นแท่งกลมยาวเพื่อขึ้นรูป โดยขึ้นรูปบนแป้นหมุน เรียกว่า ก่อพิมพ์ เป็นการปั้นครึ่งล่างของภาชนะที่จะปั้น
๖. นำครึ่งล่างที่ปั้นเสร็จแล้วไปผึ่งให้หมาดๆ แล้วนำมาปั้นต่อให้เสร็จตามรูปแบบที่ต้องการ
๗. นำมาผึ่งให้หมาดๆ แล้วนำไปขัดผิวให้เรียบและมัน โดยใช้ลูกสะบ้าขัด แล้วนำไปตากให้แห้ง
๘. นำภาชนะที่ปั้นเรียบร้อยแล้วและแห้งดีแล้วไปเข้าเตาเผา ซึ่งเป็นเตาก่อด้วยอิฐ
๙. ในการเผาจะใช้เวลาประมาณ ๒ คืน ๓ วัน และต้องคอยใส่ฟืนในเตาเผาตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ได้ความร้อนสม่ำเสมอและทำให้ดินสุกได้ทั่วถึง
๑๐. เมื่อเผาได้ตามเวลาที่กำหนด ต้องงดเติมเชื้อเพลิง แล้วปล่อยเครื่องปั้นดินเผาทิ้งไว้ในเตาเผา ๒ คืน โดยค่อยๆ เปิดช่องว่างเพื่อค่อยๆ ระบายความร้อน เรียกว่า แย้มเตา
๑๑. นำภาชนะที่เผาเรียบร้อยแล้วออกจากเตา คัดเลือกชิ้นที่มีสภาพดีนำไปจำหน่ายต่อไป


ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมดิน และการนวดดิน
การเตรียมดิน เมื่อขุดดินมาแล้ว ต้องทำการหมักดินก่อนประมาณ ๖-๗ วัน การหมักดินทำโดยการพรมน้ำตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ดินแห้ง เมื่อพรมน้ำแล้วใช้ผ้ายางคลุมเพื่อกันความชื้นระเหย

การนวดดิน นำดินที่หมักมานวด โดยผสมดินเหนียว ๓ ส่วนต่อทราย ๑ ส่วน เข้าเครื่องนวด จะนวด ๒ ครั้ง เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดี


ขั้นตอนที่ ๒ การขึ้นรูป
นำดินที่ตีไว้แล้ว มาตัดตามขนาดรูปแบบของผลิตภัณฑ์ และนำไปขึ้นรูปตามที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้ว นำมาพักไว้พอหมาดๆ ประมาณ ๑-๒ วัน

ขั้นตอนที่ ๓ การเขียนลาย
การเขียนลาย ให้นำผลิตภัณฑ์ที่พักไว้หมาดๆ มาเขียนลายหรือทาสีตามที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ ๔ การเข้าเตาเผา
เมื่อเขียนลายเสร็จแล้ว นำผลิตภัณฑ์พักไว้ให้แห้ง ใช้เวลาประมาณ ๗ วัน แล้วนำเข้าเตา โดยเรียงในเตาเป็นชั้นๆ และปิดหน้าเตาเมื่อเรียงเสร็จ

ขั้นตอนที่ ๕ การเผา
เมื่อนำผลิตภัณฑ์เข้าเตาเสร็จ มีการใส่ไฟประมาณ ๒ คืน ๓ วัน ใส่ไปถึงอุณหภูมิสูงสุดประมาณ ๘๐๐ องศาเซลเซียส


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86002756862176__MG_7951_320x200_.JPG)

เตาอุโมงค์ เป็นเตาที่ชาวบ้านคุ้นเคยกันมาช้านาน ต้องใช้ผู้ควบคุมการเผาที่มีความชำนาญในการควบคุมอุณหภูมิความร้อนจากเชื้อเพลิงได้ตลอดเวลาตามความต้องการ นอกจากเชื้อเพลิงประเภทไม้ฟืนที่ใช้กันทั่วไปแล้ว บางแห่งพยายามแสวงหาวัสดุอื่นมาทำเชื้อเพลิงด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนนิยมใช้ไม้ยูคาไว้โหมไฟ (ไม้ยูคาให้ไฟสม่ำเสมอ) และในช่วงสุดท้ายก่อนจะปิดเตานิยมใช้ไม้ไผ่เป็นเชื้อเพลิงเพื่อช่วยควบคุมสีของผลิตภัณฑ์ เพราะไม้ไผ่ทำให้สีของเครื่องปั้นสวยงาม บางคนใช้ยางรถยนต์ช่วยเป็นเชื้อเพลิงในการเผา ในกรณีที่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์มีสีดำ ส่วนขี้เถ้าจากยางที่ปลิวไปติดผิวดินปั้นนั้น บางครั้งก็ช่วยให้เกิดพื้นผิวที่มีสีสันสวยงามแปลกตาน่าดูได้โดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าวัสดุแต่ชนิดที่นำมาใช้ในการเผาเครื่องปั้นดินเผานั้น จะมีผลต่อลักษณะและคุณภาพของเนื้อเครื่องปั้นดินเผาด้วย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87507814872595_P_20191213_094827_320x200_.jpg)
ภายในเตาเผา : เตาเผาก่อฉาบทาด้วยดินเหนียว (ผู้โพสท์เห็นเป็นเช่นนั้น) พื้นเป็นดินอัดแน่น มีการเจาะช่องสี่เหลี่ยมไว้รอบๆ เตาเผา
เพื่อไว้เป็นช่องสำหรับเติมเชื้อเพลิง และให้ออกซิเจนหรืออากาศเข้าไปในเตาเผา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97014291294746_P_20191213_095028_320x200_.jpg)
กระถางปูนปั้นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่จัดเรียงไว้ก่อนจะเผา โดยเว้นช่องให้ความร้อนกระจายไปเผาเครื่องปั้นได้ทั่ว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76036932691931_P_20191213_100014_320x200_.jpg)
เชื้อเพลิงไม้ไผ่ถูกสอดเข้าไปทางช่องใส่เชื้อเพลิง เป็นการใช้วัสดุต่อจากไม้ยูคา เพื่อเครื่องปั้นสีสวย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87657672870490_P_20191213_095635_320x200_.jpg)
ไม้ยูคาให้ไฟสม่ำเสมอ จึงมีความจำเป็นกรณีต้องการโหมไฟให้แรง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82386108694805_P_20191213_095544_320x200_.jpg)
ผลิตภัณฑ์ที่ออกจากเตาเผาเตรียมนำสู่ท้องตลาด ซึ่งทราบมาว่าการขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผารูปทรงสี่เหลี่ยมทำยากกว่ารูปทรงกลม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35637483497460_P_20191213_095606_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60019214741057__MG_7990_320x200_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98032103354732_P_20191213_134713_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95989548580514__MG_7928_320x200_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83605225177274__MG_8034_320x200_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67637821535269__MG_8051_320x200_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39192020686136__MG_7929_320x200_.JPG)

ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์ข้อมูลและความเต็มใจให้ถ่ายภาพ ของชาวบ้านมอญ อ.เมือง จ.นครสวรรค์
เพื่อนำความรู้ในงานเครื่องปั้นดินเผาที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของบรรพชนในอดีตไปเผยแพร่แก่ผู้สนใจ
แม้ในปัจจุบันสังคมทั่วไปมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนภาชนะใช้สอยตามความต้องการ
ของสังคมใหม่อย่างหลากหลายมากมาย จนไม่เหลือเค้าของการผลิตเครื่องปั้นดินเผาไว้ใช้สอยในครัวเรือน
ชาวบ้านทั่วไปอย่างแต่ก่อนแล้ว แต่ชาวบ้านมอญยังคงมีเจตจำนงรักษาฝีมือและคุณภาพการผลิตเครื่องปั้นดินเผา
ที่สืบทอดกันมาแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้




ภาพการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ของชาวมอญ ต.บ้านแก่ง อ.เมือง จ.นครสวรรค์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63376022792524_Screenshot_20200108_200139_1_C.jpg)

ชมได้ที่ facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100015170677126 (https://www.facebook.com/profile.php?id=100015170677126)

ได้ขอให้ นาย Mckaforce แอ็ดมินเว็บไซต์นี้ แปลงไฟล์วีดีโอเป็นยูทูปให้มาตั้งนานละ ไม่รู้ยุ่งไรนักหนาไม่ทำให้สักที
หาตัวก็ยาก ... เชิญผู้เข้ามาอ่านเข้าชมผ่านทาง facebook เถอะค่ะ  ไว้แก้ไขเปลี่ยนเป็นยูทูปถ้านายคนนั้นแปลงไฟล์ให้เรียบร้อยแล้ว

ขอขอบคุณน้องใน สนง.ที่ช่วยเป็นธุระถ่ายวีดีโอนี้