[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 05 กรกฎาคม 2554 15:27:41



หัวข้อ: กุสลาธัมมา{อสุภะ}
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 05 กรกฎาคม 2554 15:27:41
(https://byfiles.storage.live.com/y1p_dTGIRr3TESkGiCv6h9wlC4SAm9uAUzcJT01aCbDmMnop7RodEvyswBecO6vNyIU5SHKrPImmZab0QrvQF41IQ/090914222357.jpg?psid=1)

อนิจจัง วัตตะ สังขารา
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
 
การจากคนเป็นที่รักย่อมเกิดทุกข์
ในเมื่อสังขารนี้ไม่เที่ยง ย่อมมีดับเป็นธรรมดา
จะทุกข์ใจไปใย
 
ขอให้ทุกคนอย่าได้ประมาท ในการดำเนินชีวิต
 
‎อนิจจา วต สังขารา อุปปาทวยธัมมิโน
อุปปัชชิตวา นิรุชชันติ เตสัง วูปสโม สุโข
 
อนิจจา วต สังขารา - สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ...
 
อุปปาทวยธัมมิโน - มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
 
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ - บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
 
เตสัง วูปสโม สุโข - การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข



http://vdo.palungjit.com/nuevo/player/nvplayer.swf?config=http://vdo.palungjit.com/nuevo/econfig.php?key=bfbcb49ae3396b261c1c

จากประสบการณ์ที่ผมเข้าร่วมงานสังคมทั้งหลายนั้นผมถือว่างานศพของญาติมิตรของผู้ที่รู้จักคุ้นเคยเป็นงานที่มีความสำคัญที่
สุดงานหนึ่งที่ผมจะต้องหาโอกาสไปร่วมให้ได้ส่วนงานอื่น ๆ โดยเฉพาะงานที่อยู่ในข่ายของงานแห่งความสุข รื่นเริงนั้นอยู่ในลำดับที่รองลงไป
 
ส่วนเหตุผลนั้นผมคิดว่าก็คงไม่ต่างจากท่านทั้งหลายหลัก ๆ คือเพื่อแสดงความเสียใจและเป็นกำลังใจให้กับเจ้าภาพผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
ซึ่งเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักมากที่สุดเพราะผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วนั้นเราคงไม่สามารถทำอะไรให้มากไปกว่าบำเพ็ญและอุทิศส่วนกุศลไปให้ส่วนผู้ที่ยังคง
มีชีวิตอยู่นี่เล่าเขาจะต้องอยู่กับความเศร้าโศกเสียใจตามความผูกพันที่เคยมีกับผู้ที่วายชนม์หรือบางคนก็อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากในการ
ดำรงชีวิตหลังการสูญเสีย
 
เหตุผลถัดไปก็เห็นจะเป็นการร่วมรำลึกถึงคุณงามความดีและแสดงความเคารพผู้ที่เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะฝังหรือเผา  ส่วนเหตุผลอีกข้อ
หนึ่งนั้น คือ การใช้โอกาสนี้ในการพิจารณาและปลงให้เห็นความจริงของชีวิตที่ทุกคนต้องเจอ นั่นก็คือ ความตายเพื่อการดำรงชีวิตที่เหลืออยู่อย่าง
ไม่ประมาทนั่นเอง
 
และจากกำหนดการของงานบำเพ็ญกุศลศพโดยทั่วไปซึ่งประกอบด้วยการรดน้ำศพการฟังสวดพระอภิธรรมศพและการฌาปนกิจศพ(เผา)นั้นผม
เห็นว่าอย่างน้อยเราควรจะต้องหาโอกาสไปร่วมงานฟังสวดให้ได้อย่างน้อยก็ ๑ คืน
 
และจากการได้ยินบทสวดพระอภิธรรม ๗ บทนี้มาตั้งแต่เด็กรวมทั้งที่ตัวเองเคยสวดได้ตั้งแต่อยู่ชั้น ป.๓ เมื่อครั้งบวชเป็นสามเณรตอนที่ยายเสียจึงตั้งใจตลอดมาว่าจะต้องหาความหมายหรือคำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นี้ให้ได้นอกเหนือจากการนั่งหลับตาทำสมาธิสวดในใจตามพระไปทุกครั้ง
 
เพราะยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไรโอกาสที่จะต้องไปร่วมงานสวดอภิธรรมศพก็น่าจะมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวและจำนวนรอบที่จะฟังพระอภิธรรมที่ขึ้นต้นด้วย
กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมาลงท้ายด้วย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย ในแต่ละงานก็ขึ้นอยู่กับพระวัดนั้น ๆ หรือตามที่เจ้าภาพกำหนด
 
บางวัดก็สวดจบเดียวบางวัดก็สวด ๒ หรือ ๓ จบแต่สูงสุดที่เคยผมเคยฟังมาจะสวด ๔ จบแต่ละจบจะใช้เวลามากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับจังหวะความเร็วของคณะสงฆ์ที่สวดร่วมกัน  ลองคิดดูเล่นๆก็แล้วกันว่า  นับแต่วันนี้จนกระทั่งวันสุดท้ายที่เราจะสามารถไปร่วมฟังสวดศพได้นั้นเราจะต้องฟังพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ซ้ำ ๆ อยู่อย่างนี้กี่ร้อยหรือกี่พันจบ
 
ความหวังที่จะได้คำแปลพระอภิธรรม ๗ บทนี้ เพื่อจะได้ใช้เวลาระหว่างการนั่งฟังพระสวดศพนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนอกเหนือจากการทำใจให้
สงบก็เป็นจริงเมื่อไปค้นเจอหนังสืออยู่ ๒ เล่ม คือ มนต์พิธีชาวพุทธ แปล ของคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงและคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
ของ{ธรรมสภา}
 
ได้หนังสือมา  ลองพยายามทำความเข้าใจคำแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยในหนังสือ ๒ เล่มดังกล่าว  (ซึ่งไม่เหมือนกันเสียทีเดียว)   ด้วยความรู้และปัญญาอันน้อยนิดของผมเองก็บอกกับตัวเองว่า หลายบท หลายตอนของพระอภิธรรม ๗ บทที่ถอดความเป็นภาษาไทยแล้วนี้ ยังจะต้องแปลไทยเป็นไทยต่ออีก
 
แต่แม้กระนั้นผมก็ยังคิดว่าอาจจะดีกว่าที่จะนั่งฟังและท่องได้เป็นนกแก้วนกขุนทองโดยไม่เข้าใจความหมายแม้แต่น้อยในบทสวด
 
ดังนั้น..........ครั้งนี้ผมจึงได้ตั้งใจคัดลอก(พิมพ์)พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์รวมทั้งคำแปล พิมพ์ติดตัวไว้เวลาไปฟังพระสวดอภิธรรมโดยเลือกเอาคำแปลจากสำนักพิมพ์ธรรมสภาซึ่งเป็นสำนักพิมพ์หลักที่เผยแพร่ธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุซึ่งมีความกระชับมากกว่า
 
เมื่อผลิตเอาไว้ใช้ส่วนตัวและเห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับสาธุชนชาวบางโอเคที่สนใจในเรื่องแบบนี้จึงนำเอามาลงในบล็อกเสียในคราวเดียวกัน
บทสวดนี้มีคำอธิบายเพิ่มเติมเป็นภาษาไทยในหนังสือ มนต์พิธีชาวพุทธ แปล ของคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงไว้ว่า พระอภิธรรมนี้ถือเป็นหลัก
ธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโปรดพุทธมารดาและเหล่าเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพียงครั้งเดียวนิยมสวดในงานศพมี
๗ คัมภีร์