[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 21 มกราคม 2563 16:14:53



หัวข้อ: เจว็ด พลังอำนาจจากธรรมชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 มกราคม 2563 16:14:53

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53835931254757__320x200_.jpg)

เจว็ด รูปเทวดาถือคันไถ ใช้ในพิธีแรกนาขวัญ
วัสดุ  : ไม้
ศิลปะ : รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕
ปัจจุบันเก็บรักษาที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เจว็ด

เจว็ด (อ่านว่า จะ -เหฺว็ด) คือ แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา ลักษณะสูงเพรียว ด้านหน้าเขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ยืนอยู่บนแท่นหันหน้าเฉียงไปข้างๆ มือหนึ่งถือพระขรรค์ อีกมือหนึ่งถือสมุด บางทีก็ถือพระขรรค์กับถุงเงิน หรือพระขรรค์กับแส้และสมุดดำ ขนาดความสูงของเจว็ดอาจเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ความต้องการและสถานที่

เจว็ดใช้ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิ

ตามคติพราหมณ์เชื่อว่าเทพารักษ์หรือพระภูมิเทวดา (อ่านว่า พู-มิ-เท-วะ -ดา) ทำหน้าที่พิทักษ์เหย้าเรือนและเขตที่ตั้งบ้านของผู้เป็นเจ้าของที่ดินตลอดจนผู้อยู่อาศัยให้พ้นภัยทั้งปวง

คนส่วนใหญ่มองเห็นเจว็ดเป็นแผ่นไม้ที่มีรูปเทวดายืนอยู่เฉย ๆ จึงใช้คำว่า เจว็ด ในความหมายโดยปริยายว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ถึงเขาจะเป็นหัวหน้า แต่ก็เป็นแค่เจว็ด ไม่มีอำนาจสั่งการใด ๆ

เจว็ด รูปเทพารักษ์ อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการตั้งศาลเจ้าที่  ในสมัยโบราณทำจากไม้หรือดินปั้น ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่ทำจากแผ่นทองเหลือง

มีความเชื่อกันว่า เจว็ดเป็นตัวแทนของพระชัยมงคล ซึ่งมีการสร้างที่ถอดแบบมาจากลักษณะของเทวดา กล่าวคือ มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือสมุด หรือถุงเงินถุงทอง ซึ่งตามคติความเชื่อแล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวแทนของความร่ำรวยเงินทองและสติปัญญาในการดำเนินชีวิต แต่กระนั้น การนำเจว็ดไปประดิษฐานในศาลพระภูมิ จะต้องได้รับการประกอบพิธีกรรม ปลุกเสกเจว็ดให้เป็นองค์พระภูมิเสียก่อน โดยบรรจุธาตุทั้ง ๖ ได้แก่ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เทวคุณ และวิญญาณธาตุเข้าไปในเจว็ด เพื่อให้เจว็ดมีอำนาจศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองเจ้าบ้านให้แคล้วคลาดปลอดภัยและเจริญรุ่งเรืองสืบไป
 
ในตำราหนังสือโบราณหลายเล่มยืนยันว่า รูปปั้นเจว็ดที่ยังไม่ผ่านพิธีกรรมจะเป็นแค่แผ่นไม้ หรือดินธรรมดาเท่านั้น ไม่มีปาฏิหาริย์แต่อย่างใด และจะกลายเป็นพระภูมิหรือเทวดาที่เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพได้ ก็ต่อเมื่อได้รับการประกอบพิธีกรรมแล้วเท่านั้น เจว็ดจึงเปรียบเหมือนรูปเคารพตามความเชื่อของชาวสุวรรณภูมิที่แฝงเร้นไปด้วยความเชื่อและการเคารพสูงสุด

นอกจากนี้ ความหมายของคำว่า เจว็ด ยังปรากฏในพจนานุกรมไทย มีความหมายว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นใหญ่ แต่ไร้ซึ่งอำนาจ ทั้งนี้ อุปกรณ์ในการตั้งศาลเจ้าที่ที่สำคัญ ยังมีตุ๊กตาช้างม้า ตุ๊กตานางรำ อันเป็นทาสบริวารของศาลพระภูมิ ต้นโพธิ์เงิน ต้นโพธิ์ทอง ฉัตรเงิน ฉัตรทอง ซึ่งจะประกอบให้ศาลพระภูมิมีความสมบูรณ์ตามคติความเชื่อโบราณ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76333255527747__1_320x200_.jpg)
เจว็ด รูปเทพารักษ์ยืนอยู่บนแท่น มือซ้ายถือดอกบัว
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จ.พระนครศรีอยุธยา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11872678912348__2_320x200_.jpg)
เจว็ด รูปเทพารักษ์ยืนอยู่บนแท่น มือขวาถือพระขรรค์
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จ.พระนครศรีอยุธยา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77807659531633__320x200_.jpg)
เจว็ด ภาพวาดบนแผ่นไม้รูปเทพารักษ์
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ วัดหนองบัว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน
 

ขอขอบคุณข้อมูล : - เว็บไซต์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
                      - Facebook นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม



หัวข้อ: Re: เจว็ด - จิตรกรรมฝาผนัง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 สิงหาคม 2565 18:45:05
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35425202010406_300426051_441921504644210_2075.jpg)
จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

"เจว็ด"  เจว็ด (อ่านว่า จะ-เหว็ด)
คือแผ่นไม้รูปทรงใบเสมา เขียนเป็นรูปเทวดา
ใช้ประดิษฐานภายในศาลพระภูมิ ตามคติความเชื่อ
เพื่อทำหน้าที่ปกปักรักษาคุ้มครองบ้านเรือน

ที่มา กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร