[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 29 มกราคม 2563 16:26:22



หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์บ้านฮอลันดา ต.สวนพูล อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 มกราคม 2563 16:26:22

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27514494914147_1.jpg)
บ้านฮอลันดา เป็นแหล่งเรียนรู้การใช้พื้นที่ที่เคยเป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออก ของชาวฮอลันดาในสมัยกรุงศรีอยุธยา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40668172513445_8.jpg)
ซึ่งหลงเหลือเพียงฐานรากโบราณสถานอาคารคลังสินค้าเดิม  โดย กรมศิลปากรได้เข้ามาขุดแต่งในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๔๘ และในปี
พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓ ขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องกระเบื้องจีน เครื่องปั้นดินเผา กล้องสูบยาของดัตช์ และเหรียญเงินตราดัตช์ ฯลฯ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29793736297223_2.jpg)


พิพิธภัณฑ์บ้านฮอลันดา
ตำบลสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ราชอาณาจักรของไทยในสมัยโบราณเมื่อ ๔๐๐ ปีก่อน ทำมาค้าขายระหว่างประเทศทางทะเลมากกว่าทางบก การค้าทางทะเลนี้นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งสู่ราชธานี พ่อค้าวานิชนักเดินเรือ ออกเดินทางด้วยกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เดินทางตามลมมรสุม สำรวจพื้นที่ใหม่ๆ เพื่อทำการค้าหรือแสวงหาอาณานิคม  

โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกจากยุโรปชาติแรกที่เข้ามาสัมพันธ์กับอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๔ – ๒๐๗๒ ) เมื่อ พ.ศ.๒๐๕๙ เพื่อทำสนธิสัญญาทางการค้าและตั้งคลังสินค้า ซึ่งก็ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ตั้งที่พำนักอาศัยอยู่ในพระนครได้

ชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาเป็นชาติที่สอง รองจากชาติโปรตุเกส คือเนเธอแลนด์ หรือฮอลันดา ซึ่งเป็นชนชาติที่มีความเชี่ยวชาญทางการค้ามาแต่อดีต

ชาวฮอลันดาติดต่อกับกับชาวไทยครั้งแรก เกิดขึ้นในปี ค.ศ.๑๖๐๑ เมื่อเรือของชาวฮอลันดาเดินทางมาถึงปัตตานีที่อยู่ทางใต้ของไทย และตั้งสถานีการค้าขึ้นหลายแห่งที่นั่น

ต่อมาในปี ค.ศ.๑๖๐๔ บริษัท VOC อาศัยข้อมูลจากพ่อค้าปัตตานีว่าอยุธยามีสินค้าจากเมืองจีนมาขายในพระนครเช่นเดียวกับปัตตานี จึงได้ส่งแลมเบิร์ต จาคอบซ์ เฮอิน (Lambert Jacobsz Heijn) และคอร์เนลีส สเปกซ์ (Cornelis Specx) มายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสำรวจตลาด

นับเป็นปีแรกที่เริ่มความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดา ซึ่งทำให้เกิดการตั้งสถานีการค้าแห่งแรกที่อยุธยาสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในปี พ.ศ.๒๑๕๑ (ค.ศ.๑๖๐๘) ซึ่งเชื่อว่าอยู่ทางใต้ภายในเกาะเมืองอยุธยา แต่มีพื้นที่จำกัด  เมื่อมีการก่อตั้งบริษัท Vereigde Oostindische Compangnie (VOC) หรือบริษัท Dutch East India ขึ้นในเนเธอร์แลนด์ สถานีการค้าเหล่านั้น จึงได้รวมเข้าด้วยกัน และอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานการค้า VOC


ใน พ.ศ.๒๑๗๗ (ค.ศ.๑๖๓๔) สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงตอบแทนการที่ VOC ให้ความช่วยเหลือทางการทหารด้วยการส่งเรือไปช่วยกองทัพสยามในกรณีพิพาทกับเมืองปัตตานี โดยพระราชทานที่ดินผืนใหญ่สำหรับก่อตั้งสถานีการค้า ซึ่งติดแม่น้ำเจ้าพระยาและอยู่นอกเกาะเมือง สะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าลงเรือเป็นอย่างมาก

ชาวฮอลันดา จะแตกต่างกับโปรตุเกส คือ ฮอลันดานั้นสนใจเฉพาะด้านการค้าโดยไม่ได้สนใจในเรื่องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา  สำหรับสินค้าที่ชาวฮอลันดาต้องการจากอยุธยามาก ได้แก่ เครื่องเทศ พริกไทย หนังกวาง และข้าว ฯลฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดาเป็นไปด้วยดี จะกระทั่งใน พ.ศ. ๒๑๗๖ ฮอลันดาได้ตั้งสถานีการค้าขึ้นในกรุงศรีอยุธยาในระยะแรกการค้าระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปด้วยดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางไทยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าฮอลันดาในการผูกขาดการค้าหนังสัตว์จากไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพ่อค้าชาวฮอลันดาเสื่อมทรามลงในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  เมื่อชาวฮอลันดาพยายามจะติดต่อทางการค้าโดยตรงกับญี่ปุ่นโดยไม่ผ่านทางไทย และเมื่อไทยขอร้องให้ฮอลันดาช่วยปราบจลาจลที่ปัตตานีก็ไม่ได้รับความร่วมมือ ทำให้เรือไทยถูกปล้นไปด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาจึงอยู่ในภาวะตึงเครียดตอนปลายรัชกาลนี้ ไทยไม่ยอมขายข้าวให้ฮอลันดา และยังมีข้อพิพาทกันเรื่องเมืองสงขลาและตะนาวศรีอีกด้วย
 
ความบาดหมางใจกันระหว่างไทยกับฮอลันดารุนแรงขึ้น ฮอลันดาได้ส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย และเรียกร้องสิทธิพิเศษต่างๆ จากไทยมากมาย เช่น ฮอลันดามีสิทธิในการค้าขายที่นครศรีธรรมราช ถลาง และหัวเมืองอื่นๆ รวมทั้งสิทธิพิเศษในการพิจารณาพิพากษาคดีคือ ชาวฮอลันดากระทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลไทย เป็นต้น

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฮอลันดาทำให้ไทยต้องสูญเสียผลประโยชน์ต่างๆ เป็นจำนวนมากแต่ก็ทำให้เราสามารถรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้  

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ฮอลันดาเกิดมีปัญหากับอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องการค้า จนทำให้ทั้งสองประเทศได้มีการรบพุ่งกันขึ้นทางเรือ ผลปรากฏว่าฝ่ายอังกฤษเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และได้เลิกติดต่อค้าขายกับอยุธยา แต่อิทธิพลของฮอลันดาก็เริ่มเสื่อมลงในตอนกลางสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะทางกรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อกับอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อเป็นการคานอำนาจฮอลันดา จนกระทั่งสมัยพระเพทราชาได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกไป ฮอลันดายังมีการติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์กับอยุธยาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ.๒๓๑๐

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.๒๓๑๐ ชาวฮอลันดาไม่ได้หวนกลับมาทำการค้ากับสยามโดยตรงอีกเลยเป็นเวลานานกว่าครึ่งศตวรรษ จนประมาณกลางปี พ.ศ. ๒๓๖๐ และ ๒๓๗๐ เรือสินค้าของฮอลันดาเริ่มเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ อีกครั้ง แต่ก็ยังไม่นับว่าเป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๐๓ มีการลงนามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับสยาม พ.ศ.๒๓๙๘ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อนำสยามเข้าสู่ระบบการค้าเสรีและเศรษฐกิจโลก


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34556949883699__0054_320x200_.jpg)
ชาวดัตช์ พลเมืองของเนเธอร์แลนด์ หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา .
เป็นคนขยันขันแข็ง เชี่ยวชาญในการค้า ในสมัยโบราณชอบเดินเรือไปค้าขายรอบโลก


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88845626637339_3.jpg)
เรือสำเภาโบราณจำลอง สิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับการเดินทางไปค้าขายกับต่างประเทศในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการเดินเรือ
ไปพร้อมๆ กันหลายลำซึ่งจะช่วยป้องกันภัยจากโจรสลัดได้ดี หรือหากเรือลำใดอับปางก็ยังมีเรือในกลุ่มช่วยเหลือกันได้

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32077706894940_4.jpg)
ชาวดัตซ์โบราณ มีสุภาษิตบทหนึ่ง ว่า “สิ่งที่นำมาจากแดนไกลที่สุด ย่อมดีที่สุด”
ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ และ ๑๘ ชาวฮอลันดาที่มีฐานะร่ำรวย ใช้ชีวิตหรูหราด้วยข้าวของจากแดนไกล พวกเขาใส่
เครื่องแต่งกายที่ตัดเย็บจากผ้าตะวันออก รับประทานอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศเมืองร้อนนานาชนิด ดื่มชา และใช้
เครื่องเรือนที่ทำจากไม้มะเกลือ ฝ่ายสตรีมีงานอดิเรกคือการแต่งบ้านตุ๊กตาหลังงามด้วยวัสดุจากจีนและอินเดีย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97581181302666_5.jpg)
ฝ่ายบุรุษนิยมเก็บสะสมของแปลกหายาก เช่น ขนนกเขตร้อนหรือเปลือกหอยทะเลใต้  งานอดิเรกเหล่านี้สะท้อนให้เห็น
ความก้าวหน้าของฮอลันดาในการสำรวจดินแดนใหม่ การเดินเรือ และการทำแผนที่ นอกจากนี้ตู้เก็บสะสมข้าวของ
น่าพิศวงต่างๆ ที่เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ในบ้าน แสดงถึงการสั่งสมองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ พฤกษศาสตร์
และสัตววิทยา ของชาวยุโรป

โปรดติดตามตอนต่อไป


หัวข้อ: Re: พิพิธภัณฑ์บ้านฮอลันดา ต.สวนพูล อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 31 มกราคม 2563 16:15:49

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41535172404514_6.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45761908301048_7.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62519054901268__0126_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73812061920762__0133_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88051290768716__0060_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65422712266445__0108_320x200_.jpg)

ชาวฮอลันดาเป็นผู้นำเข้าความแปลกใหม่เข้ามาสู่สยาม ได้นำเอาวัตถุ เทคโนโลยี และแบบแผนการปฏิบัติที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยหลายอย่างเข้ามาในสยาม อาทิ เครื่องแก้ว ขวดแก้วบรรจุไวน์ซึ่งเป็นเครื่องดื่มไว้รับรองเพื่อนร่วมงานและแขกผู้มีเกียรติอย่างขุนนางสยาม เครื่องเขียน แว่นสายตา หมวกทรงฝรั่ง กล้องส่องทางไกล กล้องสูบยาเซรามิก พวกเขาเล่นบิลเลียดและเป่าทรัมเป็ต ช่างไม้ ช่างเคลือบ ช่างทำหมวกขนสัตว์ และช่างทองจากปัตตาเวียถูกส่งมารับใช้กษัตริย์สยาม ราชสำนักสั่งของทันสมัยอย่างหมวกและแว่นสายตาผ่านสำนักงานการค้า VOC รวมถึงผลผลิตของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในโลกตะวันตกอย่างกล้องส่องทางไกล

Voc รายงานว่า โกษาปาน อดีตราชทูตสยามผู้เดินทางไปเยือนราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในขณะดำรงตำแหน่งออกญาพระคลังได้ขอยืมกล้องส่องทางไกลของบริษัทฯ ไปใช้วัดระยะเพื่อสร้างเจดีย์ นอกจากนี้ มีข้อสันนิษฐานว่า ถนน “ฝรั่งส่องกล้อง” ซึ่งทอดยาวจากท่าเรือไปยังพระพุทธบาทอาจสร้างโดยชาวฮอลันดานั่นเอง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71683765740858__0055_320x200__tn.jpg)

นอกเหนือจากสินค้าฟุ่มเฟือยจากจีน คือ ผ้าไหม เครื่องเคลือบ สิ่งที่วีโอซีต้องการจากเอเชียมากที่สุดคือการผูกขาดการค้าเครื่องเทศ ที่สำคัญคือ กานพลู ลูกจันทน์เทศ ดอกจันทน์เทศ ซึ่งมีให้ซื้อหาได้เพียงที่หมู่เกาะเครื่องเทศ (ทางตะวันออกของอินโดนีเซียในปัจจุบัน) รวมถึงอบเชยซึ่งมีแหล่งผลิตหลักที่ศรีลังกา ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างยิ่งในเครือข่ายการค้าโลก นอกจากนี้ชาวฮอลันดายังต้องการพริกไทยซึ่งพบมากในอินเดียใต้ สุมาตรา และคาบสมุทรมาเลย์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70197322012649__0033_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91758113230268__0190_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59506846674614__0030_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24149444575110__0193_320x200_.jpg)

ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ “บ้านฮอลันดา” ให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งฐานของชาวฮอลันดาในอยุธยา และความสัมพันธ์ไทย-เนเธอร์แลนด์
สร้างขึ้นด้วยเงินทุน จากพระราชทรัพย์สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ และ
งบประมาณจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์เพื่อการก่อตั้งศูนย์ข้อมูลและจัดแสดงนิทรรศการ เป็นอนุสรณ์แสดงสัมพันธภาพอันยั่งยืนระหว่างสอง
ประเทศ  บ้านฮอลันดา บอกเล่าความเป็นมาเมื่อครั้งอดีตของการเข้ามาตั้งถิ่นฐานการทำการค้าของพ่อค้าดัตช์ และวิถีความเป็นอยู่ใน
ประเทศไทย