[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: Sweet Jasmine ที่ 22 ธันวาคม 2552 23:11:45



หัวข้อ: โรค นอนไม่หลับ เกี่ยวกับอะไร (อาการ สาเหตุ การรักษา การป้องกัน)
เริ่มหัวข้อโดย: Sweet Jasmine ที่ 22 ธันวาคม 2552 23:11:45
โรคนอนไม่หลับคืออะไร
     หากท่านเคยมีอาการหลับยาก ใช้เวลานานกว่าจะหลับ หรือตื่นนอนเร็วมากแม้จะอดนอนและอยากจะนอนต่อก็ตามก็นอนไม่หลับแล้ว และมีอาการแบบนี้อยู่บ่อยๆ ติดต่อกัน นั่นก็แสดงว่าท่านกำลังมีปัญหาโรคนอนไม่หลับ บางครั้งแบบที่เป็น 1-2 วันอาจจะมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือตื่นเต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ก็เป็นได้ ทั้งนี้อาการนี้จะกลายไปเป็นอาการเรื้อรังได้โดยมีอาการติดต่อกันเป็นเดือน เป็นปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีสาเหตุมาจากความเครียด ความกังวล หรือซึมเศร้า และจะพบมากในคนสูงอายุ

     คนบางคนต้องการนอน 9-10 ชั่วโมงจึงจะรู้สึกว่าได้พัก กับอีกบางคนนอนเพียว 5-6 ชั่วโมงก็เพียงพอสำหรับเขาแล้ว ดังนั้นในคนที่มีปัญหาโรคนอนไม่หลับอาจจะได้นอนนานกว่าคนเหล่านี้ก็เป็นได้

     ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงวิธีใดวิธีหนึ่งสำหรับโรคนอนไม่หลับ การรักษาจะแตกต่างกันไป โดยต้องสอบถามและค้นหาสาเหตุด้วยเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

อาการโรคนอนไม่หลับ
- หลับยากมาก
- หลับไม่ต่อเนื่อง หลับๆ ตื่นๆ อาจจะต้องลุกมาเดินบ่อยๆ
- นอนหลับแต่จะตื่นเช้ามากกว่าที่ต้องการและจะไม่สามารถนอนต่อได้
- อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ อารมณ์เสีย

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
     โรคนอนไม่หลับมักจะเกิดจากปัจจัยอื่นๆ มากระทบ เช่น การเดินไปเปลี่ยนสถานที่พัก อาการปวด ความเครียด ความกดดันทางจิตใจ บรรยากาศที่นอนไม่ดี เช่น มีเสียงดัง เผชิญปัญหาชีวิต และอื่นๆ และเมื่อปัญได้รับการแก้ไข อาการนอนไม่หลับก็จะดีขึ้นจนเป็นปกติ ทั้งนี้อาการโรคนอนไม่หลับอาจจะถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยอื่นๆ คือ
- คาเฟอีนและสารกระตุ้นประสาทอื่นๆที่ได้รับระหว่างวัน เช่น ชา กาแฟ หรือ ยาบางชนิด
- เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายหลับไม่ปกติ เช่น ทำให้ตื่นบ่อย หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ
- โรคบางชนิดก็ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ เช่น โรคหัวใจ ปอด Hyperthyroidism โรคปวดไขข้อ เป็นต้น นอกจากนี้ โรคต่อมลูกหมากโต โรคไต เบาหวาน ก็เป็นเหตุให้นอนหลับๆ ตื่นๆ หลับไม่ปกติ เพราะอาจจะต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกบ่อยๆ
- การออกกำลังหนักในช่วงบ่ายๆ
- ภาวะตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์)
- การสูบบุหรี่
- การรับประทานอาหารมื้อเย็นมากหรือน้อยเกินไป
- ที่นอนไม่ดี

     ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับได้ให้ความเห็นว่า อาการนอนไม่หลับมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการนอนของผู้ป่วยที่ปฏิบัติต่อเนื่องมานาน เช่น การใช้เวลาอยู่บนเตียงมากเกินไป อาจจะนั่งเฉยๆ หรือนั่งเล่นโดยไม่ได้นอนหลับ การใช้ยาบางชนิด การพฤติกรรมการงีบหลับบ่อยๆ และความกังวล ทั้งนี้ยิ่งกังวลเกี่ยวกับการนอนมาก เท่าไหร่ก็จะยิ่งหลับยากเท่านั้น
     สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ โรคการหายใจติดขัดขณะนอนหลับ (sleep apnoea and hypopnoea syndrome -OSAHS) ซึ่งจะเกิดจากการที่หลอดลมเกิดการบีบตัวทำให้การหายใจเกิดการหยุดชะงัก โดยมีอาการกรนเสียงดังเป็นอาการหลักของโรคนี้ ทำให้ผู้ป่วยจะหลับไม่ต่อเนื่อง หลับๆ ตื่นๆ การรักษาต้องใช้เครื่องมือในระหว่างนอนหลับเพื่อขยายกล้ามเนื้อบริเวณคอ เพื่อลด



การรักษาและการป้องกัน
     การรักษาด้วยยาจะถูกใช้บ่อยๆ เป็นการรักษาแบบง่ายๆ ที่แพทย์ทั่วไปมักนิยมใช้กัน โดยจะให้ยานอนหลับซึ่งแพทย์มักจะบอกให้ใช้ได้ชั่วคราว หรือเมื่อต้องการเท่านั้น ห้ามใช้ยาต่อเนื่องเพราะอาจจะทำให้เกิดการติดยาได้ ทั้งนี้บางทีผู้ป่วยอาจจะต้องการแค่ยาแบบอ่อนๆ เพื่อเริ่มหลับได้เท่านั้น ไม่ถึงกับต้องใช้ยานอนหลับก็เป็นได้
     บางทีคนที่อาการนอนไม่หลับอาจจะต้องการยากลุ่มยาแก้อาการซึมเศร้า (Antidepressant) หรือกลุ่ม Anti-anxiety มากกว่าจะต้องการยานอนหลับ ซึ่งน่าจะลองปรึกษาแพทย์ดูเพื่อให้มีทางเลือกมากขึ้น
     แต่หากปัญหาการนอนหลับยังคงเป็นแบบต่อเนื่องและเรื้อรัง แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชขาญการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุโดยละเอียด และหาวิธีวางแผนการรักษาต่อไป ซึ่งจะมีทั้งการแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวร่วมด้วย เช่น ไปที่เตียงเฉพาะเมื่อจะไปนอนเท่านั้น การฝึกการผ่อนคลาย นอนให้เป็นเวลา
     นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกที่อาจจะช่วยได้เช่น การฝังเข็ม การนวด การนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียด ซึ่ง อาจได้ผลไม่แพ้การรักษาด้วยยานอนหลับ แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน โดยสอบถามถึงวิธีการอื่นที่ท่านสนใจกับแพทย์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้หยุดยาที่แพทย์จ่ายให้ด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์

วิธีดูแลรักษาด้วยตนเอง
- ควรนอนหลับอย่างเป็นเวลาไม่ว่าจะเป็นวันทำงานหรือวันหยุด พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการงีบหลับระหว่างวัน
- งดชา กาแฟและเครื่องดื่มที่ผสมอัลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว
- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายเบาๆ ซึ่งมันจะช่วยลดความเครียด และทำให้หลับง่ายขึ้น (อย่างไรก็ดีควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในเวลาช่วงเย็น เพราะอาจจะทำให้ง่วงช้าลง)
- พยายามผ่อนคลายสักชั่วโมงก่อนจะถึงเวลานอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูทีวี แต่หลีกเลี่ยงที่จะดูเรื่องที่ตื่นเต้น เร้าใจ
- อาบน้ำให้สบายและผ่อนคลายโดยอาจจะใช้สมุนไพร Chamomile ผสมในน้ำอุ่นอาบน้ำ ก็จะช่วยผ่อนคลายได้มาก
- หลีกเลี่ยงการทำงานบนที่นอน หรือดูทีวีบนที่นอน
- ลุกจากเตียงหากว่าเกิดตื่นขึ้นมากลางดึกและไม่สามารถนอนหลับได้ จนกว้าจะรู้สึกเริ่มง่วง
หลีกเลี่ยงอาหารเสริมที่อาจจะทำให้หลับยาก เช่น โสม Gaurana Kola-Nut





ขอบคุณที่มา: โซนไอที หัวข้อที่ 86271 โดยคุณ ตั้ม


หัวข้อ: Re: โรค นอนไม่หลับ เกี่ยวกับอะไร (อาการ สาเหตุ การรักษา การป้องกัน)
เริ่มหัวข้อโดย: PETER ที่ 26 ธันวาคม 2552 22:23:09
โรคที่กลัวที่สุด คือ โรคหลับไม่ตื่นค่ะ
โดยปกติแล้ว เวลาตื่นขึ้นมาตอนเช้าๆ  มักจะฝันว่านอนไม่หลับทั้งคืนเลยค่ะ (:SY:) (:SY:) (:SY:) (:SY:) (:SY:) (:SY:) (:SY:) (:SY:)