[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 27 มีนาคม 2563 16:12:39



หัวข้อ: เว็จกุฎี หรือ วัจกุฎี
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 มีนาคม 2563 16:12:39
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33439409360289_90638527_846388272543521_68409.jpg)
เว็จกุฎี วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
โครงสร้างสร้างอย่างแข็งแรง ก่ออิฐถือปูน เว้นช่องลมให้ระบายอากาศได้ดี โครงหลังคาทำจากไม้เนื้อแข็ง
หลังคามุงกระเบื้องแผ่นเรียบ (กระเบื้องกาบู) แบ่งเป็นสองห้อง ประตูและวงกบทำจากไม้แผ่นเรียบ


• เว็จกุฎี หรือ วัจกุฎี  (ป. วจฺจกุฏิ)  
 

เว็จกุฎี หรือ วัจกุฎี (ป. วจฺจกุฏิ)  หมายถึง ที่ถ่ายอุจจาระ (ใช้สำหรับ ภิกษุสามเณร)

คนในสมัยก่อนยังไม่รู้จักการสร้างส้วม เมื่อจะถ่ายอุจจาระ จึงเป็นการสะดวกที่จะไปทุ่งŽกัน โดยไปนั่งหลบถ่ายตามสุมทุมพุ่มไม้ หรือไปทุ่งไปนาไปสวน แต่ถ้ามีอันจะกินก็ขุดหลุมส้วม โดยให้ไกลตัวบ้านพอสมควรเพราะมีกลิ่นเหม็น เมื่อหลุมเริ่มเต็มก็กลบหลุมส้วม ย้ายไปขุดที่ใหม่ และบางคนอาจขุดหลุมตื้นๆ เพื่อถ่ายแล้วกลบฝังเป็นการเฉพาะกิจ  ต่อมามีการสร้างส้วมขึ้นเป็นส้วมหลุม ทำผนังกำบังง่ายๆ เป็นไม้ไผ่สาน ไม่มีประตู บ้างก็มีหลังคา บ้างก็ไม่มี บางแห่งใช้ไม้ทำผนัง มีประตู

ซึ่งนั่นไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับพระสงฆ์  พระสงฆ์จำเป็นต้องมีที่ขับถ่ายที่มิดชิดมากกว่าคนทั่วไป

ในพระวินัยปิฎก เสขิยวัตร (พระวินัยข้อที่ ๒๑๘-๒๒๐) ได้บัญญัติให้ภิกษุพึงฝึกฝนปฏิบัติ สำรวมกายที่เหมาะสมแก่สมณเพศ ที่เกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไว้ว่า “เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ...  เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงบนของสดเขียว… เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ ลงในน้ำ...”

ชื่อว่า “ของสดเขียว” หมายถึง ต้นไม้ แม้รากของต้นไม้ที่ยังเป็น (ยังไม่ตาย) ชอนไปบนพื้นดิน ปรากฏให้เห็นก็ดี กิ่งไม้เลื้อยระไปบนพื้นดินก็ดี ทั้งหมดเรียกว่าของสดเขียวทั้งนั้น

ในขุททกวัตถุขันธกะ กล่าวไว้ว่า แต่เดิมพระภิกษุต่างพากันขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง ทำให้อารามสกปรกและมีกลิ่นเหม็น ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงกำหนดให้ภิกษุสงฆ์อุจจาระหรือปัสสาวะให้เป็นที่เป็นทางเป็นการเฉพาะ และอนุญาตให้ใช้หม้อมีฝาปิดรับปัสสาวะ แต่การนั่งปัสสาวะลงในหม้อก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ใช้เขียงหรือแผ่นรองรับเท้าเพื่อถ่ายปัสสาวะ  ส่วนการถ่ายอุจจาระอนุญาตให้ทำส้วมหลุมสำหรับถ่าย โดยขุดหลุมดิน มีตัวเรือนสร้างครอบคลุมส้วมไว้ให้มิดชิด  เพื่อป้องกันปากหลุมพังลง จึงทรงให้กรุผนังและปากหลุมด้วยอิฐ หิน หรือไม้ และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการพลัดตกลงไปในหลุม จึงอนุญาตให้ทำเขียงหรือใช้ไม้มาพาดเหยียบเวลาถ่ายไว้เหนือปากหลุม หรือใช้ไม้กระดานมาปิดแล้วเจาะช่องสําหรับถ่าย

ด้วยเหตุนี้ เวจกุฎี หรือส้วมของพระจึงเป็นสิ่งจำเป็น และพระสงฆ์รู้จักใช้กันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79367387294769_90827172_846441259204889_85858.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27702207325233_91036635_846441185871563_36899.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29327119555738_90917461_846441319204883_33095.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42934121067325_90985060_846441402538208_22380.jpg)
เว็จกุฎี วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก