[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 กรกฎาคม 2554 13:14:59



หัวข้อ: พระพุทธศาสนาสอนอะไร{โดยย่ิอ}
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 กรกฎาคม 2554 13:14:59
(http://static.panoramio.com/photos/original/52707056.jpg)


พระไตรปิฎกกับพระสัทธรรม ๓


ก่อนจะปรินิพพานพระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า.........

อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้วเธอทั้งหลายอาจจะคิดว่าบัดนี้พวกเธอไม่มีศาสดาแล้วจะพึงว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง อานนท์เอย พึงประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้ว  ขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไปเธอทั้งหลายจงมีธรรมวินัยเป็นที่พึ่ง อย่าได้มีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย

หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ปรารถนาที่จะศึกษาพระธรรมแต่ไม่สามารถใช้เวลาทั้งหมดให้แก่การศึกษาได้เหมือนข้าพเจ้าหรือท่านมีความสงสัยว่าพระพุทธศาสนาสอนอะไรและควรจะเริ่มศึกษาพระพุทธสาสนาอย่างไรบทความนี้อาจจะเป็นประโยชน์ เพีื่อที่ท่านจะได้เลือกหมวดธรรมที่จะศึกษาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติบนพื้นฐานของความเข้าใจในความหมายตามหลักพระสัทธรรม ๓  

พระธรรม ในทางพระทุทธศาสนา อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าว่า{พระสัทธรรม}

ในพระไตรปิฎกได้อธิยบายคำว่าพระสัทธรรมไว้หลายนัย ได้แก่สัทธรรม ๓ สัทธรรม ๔ สัทธรรม ๗ สัทธรรม ๘ และสัทธรรม ๑๐

ในที่นี้จะกล่าวถึงสัทธรรม ๓ ซึ่งถือเป็นหลักคำสอนของศาสนาพุทธ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๕๑ หน้า ๑๒๑ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ท่านได้แสดงไว้ว่าสัทธรรม 3 หมายถึง ธรรมอันดี ธรรมที่แท้ ธรรมของสัตบุรุษ หลักหรือแก่นศาสนา good law true doctrine of the good essential doctrine


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนาสอนอะไร{โดยย่อ}
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 กรกฎาคม 2554 13:18:53
(http://static.panoramio.com/photos/original/52707600.jpg)


ธรรมอันดีหรือธรรมของสัตบุรุษ มี ๓ คือ


๑. ปริยัติสัทธรรม คือคำสอนของพระพุทธองค์ที่พุทธศานิกชนควรจะศึกษาเล่าเรียนได้แก่พระบาลี และอรรถกถา รวมเรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งแบ่งเป็น ๓ หมวด คือ....................................................

(๑) พระวินัยปิฎก คือประมวลกฎระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับศีลหรือสิกขาบท ตลอดจนพิธีกรรมและธรรมเนียมของสงฆ์ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ สำหรับภิกษุ และภิกษุณีอันเป็นกฎระเบียบ ที่พระภิกษุ และพระภิกษุณี จะต้องปฏิบัติ

(๒) พระสุตตันตปิฎกหรื่อเรียกว่าสั้น ๆ ว่าพระสูตรได้แก่พระพุทธพจน์ที่เป็นบุคลาธิษฐาน คือเป็นเรื่องราวที่ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ ตลอดจนบทประพันธ์ชาดกหรือ เรื่องราวชีวประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นต้น

(๓) พระอภิธรรมปิฎก คือธรรมอันยิ่ง เป็นประมวลคำสอนที่เป็นธรรมาธิษฐาน ป็นหลักวิชาการล้วน ๆ ว่าด้วยเรื่องของสภาวธรรม เรียกอีกนัยหนึ่งว่า
ปรมัตธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรือเรื่องอริยสัจ ๔ ประการ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ปัจจัย ๒๔ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น พระธรรมในหมวดพระอภิธรรมจึงไม่มีสัตว์บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรืิอเรื่องราวที่เป็นสมมุติบัญญัติประกอบเลย

พระไตรปิฎกมีเนื้อหารวมทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งหากจะศึกษาค้นคว้าเล่าเรียนพระไตรปิฎกให้แจ่มแจ้งถ้วนทั่วก็คงต้อง

อุทิศเวลาให้ทั้งชีวิต หรือมิฉะนั้นก็ค่อย ๆ ศึกษาไปและเวียนว่ายไปจนกระทั่งหาที่สุดมิได้ การเริ่มต้นศึกษาและสะสมความรู้ความเข้าใจไปในขณะนี้เท่าที่ทำได้  จึงย่อมดีกว่าที่จะทอดทิ้งไม่สนใจศึกษาเสียเลยและเพียงแค่ความคิดจะศึกษาพระธรรมเกิดขึ้นในใจครั้งหนึ่งแล้วระลึกรู้ก็นับได้ว่าจิตเป็นกุศลแล้วเมื่อพระไตรปิฎกมีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์แล้วเราจะเลือกศึกษาอย่างไร

พระพุทธพจน์ข้างต้นดังว่า ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอจะเห็นว่าทรงกล่าวถึงทั้ง ธรรมและวินัย ธรรมนั้นหมายถึงพระสูตร และพระอภิธรรม วินัยก็คือหมวดแรกในพระไตรปิฎก คือ พระวินัยปิฎก

สำหรับพระวินัยนนั้นแม้ทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นระเบียบข้อบังคับสำหรับพระภิกษุสงฆ์แต่พุทธศาสนิกฝ่ายคฤหัสถ์ก็ควรรู้จักพระวินัยบางข้อของพระภิกษุสงฆ์ไว้บ้างเพื่อที่จะช่วยให้พระภิกษุสงฆ์จะรักษาตัวให้บริสุทธิ์ มิให้มีโทษทางพระวินัยทั้งนี้หากฆราวาสไม่ทราบพระวินัยของพระเอาเสียเลยก็อาจจะปฏิบิติต่อพระภิกษุสงฆ์อย่างไม่ถูกต้องทำให้ท่านต้องอาบัติและฆราวาสเองก็ได้บุญน้อย หรืออาจถึงขั้นเป็นบาปโดยไม่ทราบตัว

ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงควรจะได้ศึกษาพระวินัยไว้บ้างข้าพเจ้าขอแนะนำตัอย่างหนังสือ ๒ เล่ม ที่ท่านผู้เขียนได้รวบรวมพระวินัยบางข้อที่คฤหัสถ์ทั้งบุรุษและสตรีควรทราบมาแสดงพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติ คือ วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบและวินัยพระน่ารู้คู่มือโยม


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนาสอนอะไร{โดยย่อ}
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 กรกฎาคม 2554 13:29:57
(http://static.panoramio.com/photos/original/52707056.jpg)


สำหรับพระสูตรนั้น คำสอนในพระสูตรมีทั้งที่เป็นเรื่องราวที่อ่านง่าย ฟัง่าย เข้าใจง่าย เช่นในอังคุลีมาลสูตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปโปรดองคุลิมาลโจร เป็นต้นโดยส่วนตัวข้าพเจ้า นั้นเห็นว่าฆราวาสที่สนใจศึกษาพระสูตรมีน้อยส่วนใหญ่เป็นพะภิกษุสงฆ์ที่ค้นคว้่าเรื่องราวในพระสูตรที่ไม่ยากนักเพื่อนำมาประกอบการแสดงพระธรรมเทศนา ทำให้การแสดงธรรมนั้นน่าสนใจไม่น่าเบื่อ แม้แต่เด็ก ๆ ก็สามารถเข้าใจและจดจำเรื่องราวในพระสูตรและสามารถเปรียบเทียบเรื่องราวนำมาอุปมาอุปมัยกับชีวิตจริงได้  พระสูตรจึงเป็นคำสอนที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างศรัทธาเพื่อโน้มน้าวความสนใจผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานในการศึกษาพระธรรมให้มีความสนใจในพระธรรมเป็นเบื้องต้น

นอกจากนี้พระสูตรยังประกอบด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักธรรม หรือแนวทางสำหรับการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา เช่น วิปัสสีสูตร
ซึ่งเกี่ยวกับเหตุปัจจัยและอวิชชาสูตร ซึ่งเกี่ยวกับอาหารของ อวิชชา วิชชา และวิมุตติ เป็นต้น

ความแตกต่างกันระหว่างพระสุตรกับอภิธรรมนั้นคือพระสูตรใช้ถ้อยคำร้อยเรียงเป็นเรื่องราวมีการยกตัวอย่างเป็นสัตว์ บุคคล สถานที่ส่วนพระอภิ
ธรรมนั้นเป็นการกล่าวโดยใช้ปรมัตถสัจจะในการอธิบาย แต่เนื้อหาของพระธรรมในทั้งสองหมวดเป็นไปในทำนองเดียวกันต่างกันเพียงวิธีการสาธ
ยายหากท่านมีความสนใจศึกษาพระสูตรจากการฟังข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านฟังการบรรยายพระสูตรจากอาจารย์ที่เป็นเลิศทางการบรรยายพระ
สูตรท่านหนึ่ง คือ พระอาจารย์สมบัติ นนฺทิโกซึ่งท่านสามารถติดต่อสอบถามขอซีดีพระธรรมเทศนาได้ที่มูลนิธิรักษ์ธรรมที่หมายเลขโทรศัพท์

๐๒ - ๗๑๑ - ๕๙๙๗ - ๘

สุดท้ายคือพระอภิธรรมพอเอ่ยถึงพระอภิธรรม บางท่านก็ร้องว่ายากเป็นธรรมที่ยากเป็นเรื่องที่มากเกินไม่จำเป็นที่จะศึกษาความเป็นจริงก็คือข้าพเจ้าไม่เถียงว่าพระอภิธรรมไม่ยาก เนื่องจากพระอภิธรรมปิฎกเป็นพระพุทธวจนะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแต่ปรมัตถธรรม เป็นสภาวธรรมล้วน ๆ ไม่มีสมมติบัญญัติเจือปนเลยดังนั้นจึงเป็นธรรมที่พึงรู้ได้โดยยากผู้ที่จะศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรมให้มีความฉลาดรอบรู้ได้เป็นอย่างดีนั้นจึงต้องเป็นบุคคลที่เป็นติ

เหตุกะปฏิสนธิเท่านั้น คือบุคคลที่เกิดมาด้วยเหตุ ๓ ได้แก่ อโลภะอโทสะและอโมหะส่วนบุคคลที่เป็นทุเหตุกะปฏิสนธินั้นไม่สามารถจะศึกษาเล่า
เรียนให้มีความฉลาดรอบรู้ได้ และหากถามว่าจำเป็นต้องศึกษาไหมข้าพเจ้าขอตอบด้วยหัวใจว่าจำเป็นอย่างยิ่งยิ่งกว่าการเรียนวิชาใด ๆ ในโลกนี้แต่หากถามว่าการศึกษาพระอภิธรรมแค่ไหนที่จะเรียกว่าไม่มากเกินไปนั้นคำตอบคือ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ท่านสร้างมาและเป็นเรื่องความพอใจของแต่ละท่านซึ่งยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าจำแนกบุคคลออกเป็น ๖ ประเภทคือ........................................


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนาสอนอะไร{โดยย่อ}
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 กรกฎาคม 2554 13:41:35
(http://static.panoramio.com/photos/original/52707600.jpg)


ผู้ที่ไม่สนใจศึกษาพระอภิธรรมเลยด้วยไม่เคยทราบไม่เเคยแม้จะได้ยินชื่อนี้มาก่อนหรือเคยได้ยินแต่ไม่ทราบว่าคืออะไรประเภทหนึ่งผู้ทีทราบว่าพระอภิธรรมคืออะไรแต่สำคัญผิดเห็นว่าเป็นเพียงคำสอนที่เกจิอาจารย์รจนาขึ้นเพื่อสั่งสอนศิษย์ในภายหลังเท่านั้นไม่ใช่พุทธพจนะ
จึงไม่ศึกษาเล่าเรียนอีกประเภทหนึ่ง

และอีกประเภทหนึ่งผู้ที่ไม่สนใจศึกษเพราะมีความเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องศึกษาไม่เห็นประโยชน์บุคคลประเภทที่สามนี้นอกจากตนเองไม่ศึกษาแล้วยังมักจะไม่สนับสนุนหรือไม่เห็นด้วยกับผู้ที่ศึกษา  

ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือผู้ที่มีความสนใจที่จะศึกษาแต่คิดว่ายากกลัวว่าจะต้องท่องจำ คิดว่าตนคงไม่สามารถศึกษาพระอภิธรรมได้
หรืออีกประเภทหนึ่ง คือผู้ที่มีความสนใจเพราะคิว่าเป็นธรรมที่ควรศึกษาแต่ไม่มีเวลาหรือสนใจพอประมาณศึกษาบ้างแต่มิได้ขวนขวายหรือแสวงหาครูอาจารย์ อีกประเภทหนึ่งคือผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติกรรมฐาน  

ประเภทสุดท้ายคือบุคคลที่ทุ่มเทกายใจให้กับการศึกษาพระอภิธรรมเป็นอย่างมากแสวงหาครูอาจารย์และสถานที่เรียนทั้งท่องทั้งจำทั้งยังเผยแผ่แก่ผู้
อื่น บุคคลเหล่านี้ก็มีมากข้าพเจ้าได้แต่อนุโมทนาเมื่อได้ยินว่าท่านเหล่านี้เพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียนพระอภิธรรมของข้าพเจ้าเองเช้าวันเสาร์ไปเรียนที่วัดเพลงวิปัสสนา ฯ บ่ายไปเรียนที่วัดสามพระยาเย็นไปติวที่วัดมหาธาตุ ฯ รุ่งขึ้นวันอาทิตย์เช้าไปเรียนที่วัดสังเวช ฯ แล้วตอนบ่ายกับตอนเย็น ก็ไปเรียนที่อื่น ๆ
อีก เป็นต้น เรียกว่าเรียนได้วันละ ๓ เวลา

บทความโดยย่อมาจาก.............http://www.analaya.com (http://www.analaya.com)

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma