[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 20 พฤษภาคม 2563 20:46:51



หัวข้อ: วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อกระดูกหัก…ก่อนส่งโรงพยาบาล
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 20 พฤษภาคม 2563 20:46:51
                                                                                                                               วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อกระดูกหัก…ก่อนส่งโรงพยาบาล

         เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ และบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้น “กระดูกหัก” หากคุณต้องเผชิญสถานการณ์นั้นเพียงลำพัง หรือพบว่าคนในบ้านมีอาการกระดูกหัก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแบบถูกต้อง นับว่าเป็นหัวใจสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้าม

กระดูกหักแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ…


 กระดูกหักแบบปิด......เป็นเพียงการแตกของกระดูกที่ไม่มีการฉีกขาดเหนือบริเวณผิวหนัง กระดูกหักชนิดนี้จะไม่มีบาดแผลภายนอก

 กระดูกหักแบบเปิด.....เป็นกระดูกหักที่มีบาดแผลเปิดจากผิวหนังผ่านเนื้อเยื่อเข้าไปยังตำแหน่งที่หัก โดยอาจมองเห็นปลายกระดูกโผล่ออกมาทางบาดแผล กระดูกหักชนิดนี้จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย



ข้อระวัง ก่อน ”ปฐมพยาบาลเบื้องต้น”


ห้ามดึงข้อหรือจัดกระดูกให้เข้าที่ด้วยตัวเอง
หากจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้า ควรใช้กรรไกรตัดตามตะเข็บผ้า
ใช้วัสดุที่พอหาได้หรือดามเฝือกชั่วคราว เพื่อให้บริเวณที่บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ ในท่าที่สบาย
ประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยความเย็น
รีบเดินทางไปโรงพยาบาลโดยเร็ว


การเข้าเฝือกชั่วคราว…ไม่ยากอย่างที่คิด

1.เลือกวัสดุที่ใช้ให้เหมาะสม ควรเลือกใช้วัสดุสำหรับทำเฝือกชั่วคราว เช่น ไม้กระดาน, กิ่งไม้ หรือกระดาษแข็ง โดยให้มีความยาวกว่าอวัยวะส่วนที่หัก และยังสามารถบังคับข้อต่อที่อยู่เหนือและใต้ส่วนที่หักได้

2.ระวังเรื่องการรับน้ำหนัก ไม่วางส่วนที่หักสัมผัสกับเฝือกโดยตรง ควรมีสิ่งที่รองรับส่วนที่บาดเจ็บ โดยอาจเป็นเสื้อผ้า ผ้าห่ม หรือสำลีวางเรียงบนวัสดุแข็ง เป็นต้น

มัดให้ดี แต่อย่าแน่นเกินไป มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอที่จะประคองส่วนที่หักได้ อย่าให้แน่นจนเกินไปเพราะจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด หากสังเกตพบว่าบริเวณที่หักมีอาการบวม ให้ค่อยๆคลายเชือกที่ผูกให้หลวมมากขึ้น

จัดวางตำแหน่งให้เหมาะสม ในกรณีกระดูกแขนหัก ควรให้มือยกสูงกว่าข้อศอกเสมอ โดยอาจใช้ผ้ามาผูกสำหรับแขวนคอ ควรเป็นผ้าชิ้นยาวๆ เพื่อให้ระดับของแขนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

หากไม่แน่ใจว่ากระดูกหักหรือไม่? ให้สังเกตอาการเจ็บปวด บวม สีของผิวหนัง รูปร่างของอวัยวะว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติหรือไม่ ทางที่ดีที่สุด ควรโทรติดต่อสถานพยาบาลใกล้เคียงและไม่ควรเคลื่อนย้ายเอง เพราะอาจทำให้อาการกระดูกหักรุนแรงมากขึ้น

สอบถามรายละเอียด
ศูนย์กระดูกและข้อ อาคาร 2 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 1102 – 1105