[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 16:16:00



หัวข้อ: the happiness 5 step in trend Buddhism
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 16:16:00
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)

http://www.watnyanaves.net/uploads/File/sounds/navaga/navaga-1_05.mp3

ขั้นที่ 1 คือ ความสุขจากการเสพวัตถุหรือสิ่ง บำรุงบำเรอภายนอกที่นำมาปรนเปรอ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรา

ขั้นที่ 2 ความสุขจากการเจริญคุณธรรมเช่น มีเมตตากรุณา มีศรัทธา

ขั้นที่ 3 ความสุขเกิดจากการดำเนินชีวิตถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของ ธรรมชาติไม่หลงอยู่ในโลกของสมมติ

ขั้นที่ 4 ความสุขจากความสามารถปรุงแต่ง

ขั้นที่ 5 สุดท้าย ความสุขเหนือการปรุงแต่ง


หัวข้อ: Re: the happiness 5 step in trend Buddhism
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 16:21:51
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)



..................................ขั้นที่ ๑ คือ ความสุขจากการเสพวัตถุ...........................



หรือสิ่งบำรุงบำเรอภาย นอกที่นำมาปรนเปรอ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเราข้อนี้เป็นความสุขสามัญ ที่ทุกคนในโลกปรารถนากันมาก
ความสุขประเภทนี้ขึ้นต่อสิ่งภายนอกเพราะว่าเป็นวัตถุหรืออามิสภายนอกเมื่อเป็นสิ่งภายนอกอยู่นอกตัวก็ต้องหา ต้องเอาเพราะฉะนั้นสภาพจิตของคนที่หาความสุขประเภทนี้จึงเต็มไปด้วยความคิดที่จะได้จะเอาแล้วก็ต้องหาและดิ้นรนทะยานไปเมื่อได้มากก็มีความสุขมากแล้วก็เพลิดเพลินไปกับความสุขเหล่านั้น พอได้มาก ๆ เข้า ต่อมาก็นึกว่าตัวเองเก่งมาก ๆ ไป ๆ มา ๆ โดยไม่รู้ตัวก็มีภาวะอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือ ชีวิตและความสุขของตัวเองต้องไปขึ้นกับวัตถุเหล่านั้นอยู่ลำพังง่าย ๆ อย่างเก่าไม่สุขเสียแล้วตอนที่เกิดมาใหม่ ๆ นี้ ไม่ต้องมีอะไรมากก็พอจะมีความสุขได้ต่อมามีวัตถุมากเสพมาก ที่นี้ขาดวัตถุเหล่านั้นไม่ได้เสียแล้วกลายเป็นว่าสูญเสียอิสรภาพ ชีวิตและความสุขต้องไปขึ้นกับวัตถุภายนอกแต่เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่ง อันนี้เป็นข้อสำคัญที่คนเราหลงลืมไปทางธรรมจึงเตือนไว้เสมอว่าเราอย่าสูญเสียอิสรภาพนี้ไปพร้อมทั้งอย่าสูญเสียความสามารถที่จะเป็นสุขสิ่งที่คนเราจะพัฒนากันมากก็คือ..............
การพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอ ความสุขแม้แต่การศึกษา ทำไปทำมาก็ไม่รู้ตัวว่ากลายเป็นการพัฒนา ความสามารถที่จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุขแต่อีกด้านหนึ่งของชีวิตที่ ลืมไป คือการพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข
ถ้าเราไม่พัฒนาความ สามารถที่จะมีความสุขหรือแม้แต่ไม่รักษามันไว้เราก็สูญเสียความสามารถ ที่จะมีความสุข
อาการของคนที่สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุขก็ คือยิ่งอยู่ในโลกนานไปก็ยิ่งกลายเป็นคนที่สุขยากขึ้น
คนจำนวนมากสมัยนี้ มีลักษณะอย่างนี้คืออยู่ในโลกนานไป เติบโตขึ้น กลายเป็นคนที่สุขได้ยากขึ้น
ต่างจากคนที่รักษาดุลยภาพของชีวิตไว้ได้โดย พัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขควบคู่ไปด้วยจะเป็นคนที่มีมีลักษณะตรง ข้ามคือยิ่งอยู่ในโลกนานไป ก็ยิ่งเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น
ถ้าเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น ก็ดี 2 ชั้น คือเราพัฒนาสองด้านไปพร้อมกันทั้ง พัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุขด้วยและพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขด้วยผลก็คือ เราหาสิ่งมาบำเรอความสุขได้เก่งได้มาก ด้วย และพร้อมกันนั้นเราก็เป็นคนทีสุขได้ง่ายด้วย


หัวข้อ: Re: the happiness 5 step in trend Buddhism
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 16:28:18
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)



เราก็เลยสุขซ้อนทวีคูณส่วนคนที่สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุขแม้จะหาสิ่งเสพบำเรอ ความสุขได้มากแต่ความสุขก็ที่เดิมเรื่อยไป เพราะข้างนอกได้มา 1 แต่ข้างในก็ลดลงไป 1 เลยเหลือ 0 ที่เดิมกระบวนการวิ่งหาความสุขจึงดำเนิน ไปไม่รู้จักจบสิ้นเพราะความสุขวิ่งหนีเราไปเรื่อย ๆ
เพราะฉะนั้น จะต้องพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขไว้ด้วยคู่กันเป็นคนที่สุขได้ง่ายก็ เป็นอันว่าสบาย อย่างน้อยก็ฝึกตัวเองไว้
อย่าให้ความสุขต้องขึ้นกับ วัตถุมากเกินไป ศีล 5 เป็นตัวอย่างของวิธีฝึกไม่ให้เราสูญเสียอิสรภาพ
โดยไม่เอาความสุขไปขึ้น ต่อวัตถุมากเกินไปแปดวันก็รักษาศีล 8 ครั้งหนึ่งลองหัดดูซิว่าให้ ความสุขของเราไม่ต้องขึ้นกับการบำรุงบำเรอทางกายด้วย
วัตถุ
เริ่มด้วยข้อวิกาลโภชนาฯไม่ต้องบำเรอลิ้นด้วยอาหารอร่อยอยู่เรื่อยไม่คอยตามใจลิ้นกินแค่เที่ยงเพียงพอ ที่ร่างกายต้องการเพื่อให้มีสุขภาพดีแข็งแรงตลอดจนข้อ อุจจาสยนะฯ ไม่บำเรอตัวด้วยการนอนไม่ต้องนอนบนฟูก ลองนอนง่าย ๆ บนพื้นบนเสื่อธรรมดา ลองไม่ดูการบันเทิงซิทุก ๘ วันเอาครั้งเดียวจะเป็นการรักษาอิสรภาพของชีวิตไว้และฝึกให้เรามีชีวิต อยู่ดีได้โดยไม่ต้องขึ้นกับวัตถุมากเกินไปพอฝึกได้แล้วต่อมาเราจะพูดถึงวัตถุหรือสิ่งบำรุงความสุขเหล่านั้นว่ามีก็ดี ไม่มีก็ได้ต่างจากคนที่ไม่พัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขซึ่งจะเอาความสุขไปขึ้นต่อวัตถุถ้าไม่มีวัตถุเหล่านั้นเสพแล้วอยู่ไม่ได้ทุรนทุรายต้องพูด ถึงวัตถุหรือสิ่งเสพเหล่านั้นว่าต้องมีจึงจะอยู่ได้ ไม่มีอยู่ไม่ได้คนที่เป็นอย่างนี้จะแย่ ชีวิตนี้สูญเสียอิสรภาพคนยิ่งอายุมากขึ้สถานการณ์ก็ไม่แน่นอน ถึงเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยร่างกายเสพความสุขจากสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ เช่น ลิ้นไม่รับรู้รสกินอาหารก็ไม่อร่อย ถ้าไม่ฝึกไว้ความสุขของตัว ไปอยู่ที่วัตถุเหล่านั้นเสียหมดแล้วและตัวก็เสพมันไม่ได้จิตใจก็ ไม่มีความสามารถที่จะมีความสุขด้วยตนเองก็จะลำบากมาก ทุกข์มากเพราะ ฉะนั้นท่านจึงสอนให้ฝึกไว้รักษาศีล 8 นี้แปดวันครั้งหนึ่งจะได้ไม่สูญเสียอิสรภาพนี้ไปเพราะฉะนั้นเอาคำว่ามีก็ดี ไม่มีก็ได้นี้ไว้ ถามตัวเอง เป็นการตรวจสอบอยู่เสมอว่า
เราถึง ขั้นนี้หรือยัง หรือต้องมีจึงจะอยู่ได้ ถ้ายังพูดได้ว่ามีก็ดีไม่มีก็ ได้ ก็เบาใจได้ว่า เรายังมีอิสรภาพอยู่ต่อไปถ้าเราฝึกเก่งขึ้นไปอีกอาจจะมาถึงขั้น
ที่พูดได้ในบางเรื่องว่ามีก็ได้ไม่มีก็ดี ถ้าได้อย่างนี้ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก


หัวข้อ: Re: the happiness 5 step in trend Buddhism
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 16:35:01
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)



คนที่พูดได้อย่างนี้ จะมีความรู้สึกว่าของพวกนี้เกะกะเราอยู่ของเราง่าย ๆ ดีแล้ว มีก็ได้ไม่มีก็ดีไม่มีเราก็สบาย ชีวิตเป็นอิสระโปร่งเบา
ความสุข เริ่มไม่ขึ้นต่อวัตถุอามิสสิ่งเสพภายนอกความสุขเริ่มไม่ต้องหาความสุขที่ต้องหา แสดงว่าเราขาดคือยังไม่มีความสุขนั้นเราหาได้ที เสพทีก็มีสุขที
แต่ระหว่างนั้นต้องอยู่ด้วยการออยู่ด้วยความหวัง บางทีก็ถึงกับทุรนทุราย กระวนกระวายเพราะฉะนั้น จะต้องทำตัวให้มีความสุขด้วยตนเองสำรองไว้ให้ได้
ด้วยวิธีฝึกรักษา อิสรภาพของชีวิตและรักษาความสามารถที่จะมีความสุขไว้



....................................ขั้นที่ 2 พอเจริญคุณธรรม..................................



เช่น มีเมตตากรุณา มีศรัทธาเราก็มีความสุขเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่งแต่ก่อนนี้ชีวิตเคย ต้องได้วัตถุมาเสพต้องได้ ต้องเอาเมื่อได้จึงจะมีความสุขถ้าคือเสียก็ไม่มีความสุขแต่คราวนี้ คุณธรรมทำให้ใจเราเปลี่ยนไปเหมือน พ่อแม่ที่มีความสุขเมื่อให้แก่ลูก เพราะรักลูก ความรักคือเมตตา
ทำให้อยากให้ลูกมีความสุขพอให้แก่ลูกแล้วเห็นลูกมีความสุข ตัวเองก็มีความสุขเมื่อพัฒนาเมตตากรุณาขยายออกไปถึงใครให้แก่คนนั้นก็ทำให้ตัวเองมีความสุขศรัทธาในพระศาสนาในการทำความดีและใน การบำเพ็ญประโยชน์เป็นต้นก็เช่นเดียวกัน เมื่อให้ด้วยศรัทธาก็มี ความสุขจากการให้นั้นดังนั้นคุณธรรมที่พัฒนาขึ้นมาในใจเช่น เมตตากรุณา ศรัทธาจึงทำให้เรามีความสุขจากการให้การให้กลายเป็นความสุข



...................................ขั้นที่ 3 ความสุขเกิดจากการดำเนินชีวิตถูกต้อง................................



สอดคล้องกับความเป็น จริงของธรรมชาติไม่หลงอยู่ในโลกของสมมติที่ผ่านมานั้นเราอยู่ใน โลกของสมมติมากและบางทีเราก็หลงไปกับความสุขในโลกของสมมตินั้นแล้ว ก็ถูกสมมติ ล่อหลอกเอาอยู่ด้วยความหวังสุขจากสมมติที่ไม่จริงจัง ยั่งยืนและพาให้ตัวแปลกแยกจากความจริงของธรรมชาติและขาดความสุข ที่พึงได้จากความเป็นจริงในธรรมชาติเหมือนคนทำสวนที่มีหวังความสุขจาก เงินเดือนเลยมองข้ามผลที่แท้จริงตามธรรมชาติจากการทำงานของตัวคือ ความเจริญงอกงามของต้นไม้ทำให้ทำงานด้วยความฝืนใจเป็นทุกข์ความ สุขอยู่ที่การได้เงินเดือนอย่างเดียวได้แต่รอความสุขที่อยู่ข้างหน้าแต่พอใจมาอยู่กับความเป็นจริงของธรรมชาติอยากเห็นผลที่แท้จริงตามธรรมชาติ ของการทำงานของตน คือ อยากเห็นต้นไม้เจริญงอกงาม
หายหลงสมมติก็มีความสุขในทำสวนและได้ความสุข จากการชื่นชมความเจริญงอกงามของต้นไม้อยู่ตลอดเวลาดังนั้น คนที่ปรับชีวิตได้ เข้าถึงความจริงของธรรมชาติจึงสามารถหาความสุขจาก การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ได้เสมอพอ ปัญญามาบรรจบให้วางใจถูกชีวิตและความสุขก็ถึงความสมบูรณ์


หัวข้อ: Re: the happiness 5 step in trend Buddhism
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 16:43:10
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)



........................................ขั้นที่ 4 ความสุขจากความสามารถปรุงแต่ง...............................



คนเรานี้มีความสามารถในการปรุงแต่งซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของมนุษย์ปรุงแต่งทุกข์ก็ได้ปรุงแต่งสุขก็ได้โดยเฉพาะที่เห็นเด่นชัดก็คือปรุงแต่งความคิดมาสร้าง สิ่งประดิษฐ์ จนมีเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมายที่สำคัญก็คือในใจของเราเองเรา มักจะใช้ความสามารถในทางที่เป็นผลร้ายแก่ตนเอง
แทนที่จะปรุงแต่งความสุข เรามักจะปรุงแต่งทุกข์คือเก็บเอาอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ขัดใจ ขัดหู ขัดตาเอา มาครุ่นคิดให้ไม่สบายใจ ขุ่นมัว เศร้าหมองโดยเฉพาะคนที่สูงอายุนี่ ต้องระวังมากใจคอยจะเก็บอารมณ์ที่กระทบกระเทือนไม่สบาย แล้วก็มาปรุงแต่ง ให้เกิดความกลุ้มใจว้าเหว่ เหงา เรียกใช้ความสามารถไม่เป็นพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักใช้ความสามารถ ในการปรุงแต่งแทนที่จะปรุงทุกข์ ก็ปรุงสุขเก็บเอาแต่อารมณ์ที่ดีมา ปรุงแต่งใจให้สบายแม้แต่หายใจ ที่ยังให้ปรุงแต่งความสุขไปด้วยลอง ฝึกดูก็ได้เวลาหายใจเข้า ก็ทำใจให้เบิกบานเวลาหายใจออก ก็ทำใจให้โปร่งเบาท่านสอนไว้ว่าสภาพจิต 5 อย่างอย่างนี้ควรปรุงแต่งให้มีในใจอยู่เสมอ คือ.........................................................
1. ปราโมทย์ ความร่าเริงเบิกปานใจ
2. ปีติ ความอิ่มใจ
3. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น ผ่อนคลายกายใจ ไม่เครียด
4. ความสุข ความโปร่งโล่งใจ คล่องใจสะดวก ใจ ไม่มีอะไรมาบีบคั้น หรือติดขัดคับข้อง และ
5. สมาธิ ภาวะที่จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ ได้ตามต้องการไม่มีอะไรมารบกวน จิตอยู่ตัวของมันขอย้ำว่า 5 ตัวนี่สร้างไว้ประจำใจให้ได้เป็นสภาพ จิตที่ดีมาก
ผู้เจริญในธรรมจะมีคุณสมบัติของจิตใจ 5 ประการนี้พระ พุทธเจ้าตรัสว่า.............................................
ตโต ปาโมชฺชพหุโล ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ
แปลว่า ภิกษุปฏิบัติถูกต้องแล้วมากด้วยปราโมทย์มีจิตใจร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอจักทำทุกข์ให้หมดสิ้นไปท่านพูดไว้ถึงอย่างนี้ฉะนั้นท่านผู้เกษียณอายุนั้น
ถึงเวลาแล้ว ควรจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ถือเป็นโอกาสดีมาปรุงแต่งใจแต่ก่อนนี้ปรุงแต่งแต่ทุกข์ทำให้ใจเครียดขุ่นมัวเศร้าหมองตอนนี้ปรุงแต่งใจให้มีธรรม 5 อย่างนี้คือ ปราโมทย์ มีความร่าเริงเบิกบานใจ ปีติ ความอิ่มใจปัสสัทธิ ความผ่อนคลาย สงบเย็นกายใจสุข โล่งโปร่งใจสมาธิ สงบใจตั้งมั่นไม่มีอะไรมารบกวน อยู่ตัว สบายเลยทำใจให้ได้อย่างนี้ อยู่เสมอ ท่องไว้เลย 5 ตัวนี้
คือ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ


หัวข้อ: Re: the happiness 5 step in trend Buddhism
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 17:08:14
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)



พระพุทธเจ้าประทานไว้แล้วทำไมเราไม่เอามาใช้ นี่แหละความสามารถในการปรุงแต่งจิตเอามาใช้สบายแน่และก็เจริญงอกงามในธรรมด้วยโดยเฉพาะ ท่านผู้สูงอายุนั้นก็เป็นธรรมดาว่าจะต้องมีเวลาพักและเวลาว่างที่ว่างจากกิจกรรมมากกว่าคนหนุ่มสาวและคนวัยทำงานที่เขายังมีกำลังร่างกายแข็งแรงดีว่างจากงานเขาก็ไปเล่นไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้มากแต่ท่านที่สูงอายุนอกจากออกกำลังบริหารร่างกายบ้างแล้วก็ต้องการเวลาพักผ่อนมากหน่อย จึงมีเวลาว่างซึ่งไม่ควรปล่อยให้กายว่างแต่ใจวุ่นเพราะฉะนั้น ในเวลาที่ว่างไม่มีอะไรทำและก็ยังไม่พักผ่อนนอนหลับหรือนอนแล้วก่อนจะหลับ ก็พักผ่อนจิตใจให้สบายขอเสนอวิธีปฏิบัติง่าย ๆ ไว้อย่างหนึ่งว่าในเวลาที่ว่างอย่างนั้นให้สูดลมหายใจเข้าและหายใจออกอย่างสบาย ๆ สม่ำเสมอให้ใจอยู่กับลมหายใจที่เข้า
และออกนั้นพร้อมกันนั้นก็พูดในใจไปด้วยตามจังหวะลมหายใจเข้าและออกว่าจิตใจเบิกบานหายใจเข้าจิตใจโล่งเบาหายใจออกในเวลาที่พูดในใจอย่างไร
ก็ทำใจให้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ด้วยหรืออาจจะเปลี่ยนเป็นสำนวนใหม่ก็ได้ว่าหายใจเข้าสูดเอาความสดชื่นหายใจออก ฟอกใจให้สดใสถูกกับตัวแบบไหนก็เลือกเอาแบบนั้นหายใจพร้อมกับทำใจไปด้วยอย่างนี้ตามแต่จะมีเวลาหรือพอใจก็จะได้การพักผ่อนที่เสริมพลังทั้งร่างกายและจิตใจชีวิตจะมี ความหมาย มีคุณค่า และมีความสุขอยู่เรื่อยไป



......................................ขั้นที่ 5 สุดท้าย ความสุขเหนือการปรุงแต่ง....................................



คราวนี้ไม่ต้องปรุงแต่ง คืออยู่ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิตการเข้าถึงความจริงด้วยปัญญาเห็นแจ้งทำให้วางจิตวางใจลงตัวสนิทสบายกับ ทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่อย่างผู้เจนจบชีวิตสภาพจิตนี้จะเปรียบเทียบได้ เหมือนสารถีที่เจนจบการขับรถสารถีผู้ชำนาญในการขับรถนั้น จะขับม้าให้นำรถเข้าถนนและวิ่งด้วยความเร็วพอดีตอนแรกต้องใช้ความ พยายาม ใช้แซ่ ดึงบังเยนอยู่พักหนึ่งแต่พอรถม้านั้นวิ่งเข้าที่เข้าทาง ดี ความเร็วพอดี อยู่ตัวแล้วสารถีผู้เจนจบ ผู้ชำนาญแล้วนั้นจะนั่งสงบสบายเลยตลอดเวลานั้นเขาไม่มีความประหวั่น ไม่มีความหวาด จิตเรียบสนิทไม่เหมือนคนที่ยังไม่ชำนาญจะขับรถนี่ใจคอไม่ดีหวาดหวั่นใจคอยกังวลโน่นนี่ไม่ลงตัวแต่พอรู้เข้าใจความจริงเจนจบดี ด้วยความรู้นี่แหละจะปรับความรู้สึกให้ลงตัวเป็นสภาพจิตที่เรียบสงบสบายที่สุดคนที่อยู่ในโลกด้วยความรู้เข้าใจโลกและชีวิตตามเป็นจริงจิตเจนจบกับโลกและชีวิตวางจิตลงตัวพอดีทุกอย่าง เข้าที่อยู่ตัวสนิทอย่างนี้ท่านเรียกว่าเป็นจิตอุเบกขาเป็นจิตที่สบาย ไม่มีอะไรกวนเลยเรียบสนิทเป็นตัวของตัวเอง ลงตัว เมื่อทุกสิ่งเข้าที่ของมันแล้วคนที่จิตลงตัวเช่นนี้ จะมีความสุขอยู่ประจำตัวอยู่ตลอดเวลาเป็นสุขเต็มอิ่มอยู่ข้างใน ไม่ต้องหาจากข้างนอกและเป็นผู้มีชีวิตที่พร้อมที่จะทำเพื่อผู้อื่นได้ เต็มที่เพราะไม่ต้องห่วงกังวลถึงความสุขของตนและไม่มีอะไรที่จะ ต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไปจะมองโลกด้วยปัญญาที่รู้ความจริงและ ด้วยใจที่กว้างขวางและรู้สึกเกื้อกูลคนที่พัฒนาความสุขมาถึงขึ้นสุด ท้ายแล้วนี้เป็นผู้พร้อมที่จะเสวยความสุขทุกอย่างใน 4 ข้อแรก


หัวข้อ: Re: the happiness 5 step in trend Buddhism
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 07 พฤษภาคม 2553 17:13:41
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)



ไม่เหมือนคนที่ไม่ พัฒนา ได้แต่หาความสุขประเภทแรกอย่างเดียวเมื่อหาไม่ได้ก็มีแต่ความ ทุกข์เต็มที่และในเวลาที่เสพความสุขนั้น
จิตใจก็ไม่โปร่งไม่โล่ง มีความหวั่นใจหวาดระแวงขุ่นมัวมีอะไรรบกวนอยู่ในใจสุขไม่เต็มที่แต่พอพัฒนาความสุขขึ้นมายิ่งพัฒนาถึงขั้นสูงขึ้นก็มีโอกาสได้รับความสุข เพิ่มขึ้นหลายทางกลายเป็นว่า ความสุขมีให้เลือกได้มากมายและจิตใจที่พัฒนาดีแล้ว ช่วยให้เสวยความสุขทุกอย่างได้เต็มที่
โดยที่ในขณะนั้น ๆ ไม่มีอะไรรบกวนให้ขุ่นข้องหมองมัวเป็นอันว่าธรรมะ ช่วยให้เรารู้จักความสุขในการดำเนินชีวิตมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปสู่ความเป็นผู้เต็มเปี่ยมสมบูรณ์จนกระทั่งความสุขเป็นคุณสมบัติของชีวิตอยู่ภายใน ตัวเองตลอดทุกเวลาไม่ต้องหาไม่ต้องรออีกต่อไปความสุข 5 ขั้นนี้ความจริงแต่ละข้อต้องอธิบายกันมากแต่วันนี้พูดไว้พอให้ได้หัวข้อก่อนคิดว่าคงจะเป็นประโยชน์พอสมควรขออนุโมทนา ท่านผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านขอตั้งจิตส่งเสริมกำลังใจขอให้ทุกคนประสบจตุรพิธพรชัยมีปีติอิ่มใจอย่าง น้อยว่า ชีวิตส่วนที่ผ่านมาได้ทำประโยชน์ได้ทำสิ่งที่มีค่าไปแล้ว ถือว่าได้บรรลุจุดหมายของชีวิตไปแล้วส่วนหนึ่งเพราะฉะนั้นจึงควรตั้งใจว่าเราจะเดินหน้าต่อไปอีกสู่จุดหมายชีวิตที่ควรจะได้ต่อไปเพราะ ยังมีสิ่งที่จะทำชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีกไม่ใช่แค่นี้ชีวิตนั้นเป็นประโยชน์ ที่จะทำให้เต็มเปี่ยมได้ยิ่งกว่านี้จึงขอให้ทุกท่านเข้าถึงความสมบูรณ์ ของชีวิตนั้นสืบต่อไปและขอให้ทุกท่านมีความร่มเย็นเป็นสุขในพระธรรมของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกันตลอดกาลทุกเมื่อ



.................คัดลอกจากหนังสือคู่มือชีวิตของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)....................