[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เกร็ดศาสนา => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 29 สิงหาคม 2563 20:18:07



หัวข้อ: พุทธศิลป์..จากศรัทธาสู่ปรัชญาศิลปะ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 สิงหาคม 2563 20:18:07

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60981392777628_40219577_230902177590045_40161.jpg)
พุทธศิลป์...จากศรัทธาสู่ปรัชญาศิลปะ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41464585479762_42937172_240948583252071_30283.jpg)

"พระพุทธปฏิมากรรม เป็นสื่อศรัทธา ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมา
 สัมพุทธเจ้า โดยคำนึงถึงคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ  ซึ่งแต่ละกลุ่มชนต่างก็พยายามตีความตาม
 ทัศนคติที่แตกต่างกันไป  ประกอบกับการได้รับแรงบันดาลใจ ในรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏอยู่
 ก่อนหน้า กับทั้งศิลปกรรมร่วมสมัยที่มีเข้ามา     จึงยังผลให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอด
 คล้องกับคติความงามของตนทำให้เกิดเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลก
 แตกต่างกันไป   แต่ทั้งนี้พระพุทธปฏิมาก็ยังคงได้รับการสืบทอด และแสดงถึงลักษณะของมหา
 บุรุษที่สูงส่งกว่ามนุษย์ปุถุชนอย่างชัดเจน"
ที่มา : หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์, ๒๕๑๓
 ภาพ : พระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทร วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93109962675306_41118273_234178330595763_21303.jpg)
ไม่ว่าใครจะหนีความตายไม่ได้ การดิ้นรนเอะอะโวยวายต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้เป็นการดิ้นรนเหนือธรรมดา
ไม่มีทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไรความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดาเป็นอย่างนี้
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า
ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดา ไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56841218264566_41953614_236604360353160_80640.jpg)
ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ แม้จะอยู่ในบ้านมันก็วุ่นวายอยู่เรื่อยๆ
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
นอกจากทุกข์หาอะไรเกิดอะไรดับมิได้ นอกจากทุกข์”

ภาพ : พระอุโบสถวัดศาลาปูน พระนครศรีอยุธยา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41893465113308_41880694_236809313665998_58869.jpg)
เราอย่าไปโกรธเขา เราอย่าไปเกลียดเขา ให้นึกถึงอกเขาอกเราว่า
เราต้องการความสุขอย่างใด เขาก็ต้องการความสุขอย่างนั้น
เราเกลียดความทุกข์อย่างใด เขาก็เกลียดความทุกข์อย่างนั้น
สิ่งใดเราไม่ชอบ สิ่งนั้นเขาก็ไม่ชอบเหมือนกัน
ธรรมมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพประกอบ : วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67029473723636_42044722_237395723607357_20832.jpg)
โลกนี้มันวุ่นวาย เร่าร้อน มีปัญหาเยอะแยะ
ถ้าเราควบคุมตัวเองไม่ได้ บังคับตัวเองไม่ได้
แล้วเราจะอยู่ในโลกได้อย่างไร ?
ธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : วัดชุมพลนิกายาราม พระนครศรีอยุธยา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36076534870597_42243623_238076276872635_84440.jpg)
ความทุกข์เป็นบทเรียน ที่ประเสริฐของชีวิต
และเป็นเหตุกระตุ้นเตือน ให้ก้าวไปข้างหน้า
พวกเราทั้งหลาย จึงไม่ควรย่อท้อต่ออุปสรรค
ควรเห็นว่าอุปสรรค เป็นเครื่องสร้างกำลังใจ
และเป็นปากทางไปสู่ ความสำเร็จในภายหลัง
ธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : วัดอรุณราชวราราม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98044529060522_42297059_238312000182396_20931.jpg)
คุณธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการประหยัดคือการเสียสละ
การประหยัดสอนให้รู้จักเก็บ ให้รู้จักรักษา หรือให้มีศิลปะในการใช้ของ
เช่น คนบางคนเก็บเอาเศษผ้าที่เขาตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
เอามาปะติดต่อกันสำเร็จเป็นผ้าปูนั่งปูนอนได้อย่างสวยงาม
แทนที่จะถูกตำหนิว่าเป็นคนตระหนี่ แต่กลับถูกชมว่าเป็นคนมีศิลปะ
การเสียสละสอนให้รู้จักเสีย คือมุ่งทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น
เมื่อถึงคราวต้องเสียแล้ว แม้ร่างกายและชีวิตก็ต้องยอมเสียเพื่อรักษาสิ่งมีค่ายิ่งกว่าไว้
การเสียที่เรียกว่าเสียสละนี้เป็นการเสียที่มีผลได้มากกว่าผลเสีย
ธรรมะ : พระธรรมดิลก หลวงปู่จันทร์ กุสโล

ภาพ : วัดดอนไจย์ อ.เทิง เชียงราย


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40562028934558_42501544_238975226782740_28715.jpg)
เพราะเกิดความยึดถือว่าเป็นตัวฉัน เป็นของฉัน
แล้วก็เกิดความหวงแหนในสิ่งนั้น
ไม่อยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างอื่น
อยากให้เป็นของเราเสียตลอดเวลา
ถ้ามันเป็นอื่นไปเราก็เป็นทุกข์
เพราะเรายึดว่าเป็นของฉัน มันก็เกิดความทุกข์
ธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : วัดภูมินทร์ จ.น่าน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29056302582224_42625098_239410286739234_51807.jpg)
ถ้าจิตใจเราไม่มีหลักประจำแล้ว เราก็ขึ้นๆ ลงๆ กับเรื่องได้เรื่องเสีย ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น
 การที่มีจิตขึ้นๆ ลงๆ อยู่อย่างนั้น มันจะเป็นความสุขได้อย่างไร เป็นความสงบได้อย่างไร
มันเป็นเรื่องที่เราไม่ควรจะทำในเรื่องอย่างนั้น แต่เราควรจะได้มีการรู้เท่ารู้ทันต่อสิ่งนั้น
ตามสภาพที่เป็นจริง ฉะนั้นจึงต้องมาทำการศึกษาในเรื่องนั้นๆ เพื่อจะได้ต้อนรับสิ่ง
เหล่านั้นให้ถูกต้องตามเรื่องที่มันควรจะเป็น
โอวาทธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : พระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50897197052836_42679450_239768983370031_49804.jpg)
พระพุทธศาสนาไม่ทำคนให้อ่อนแอ แต่ว่าทำคนให้เข้มแข็ง ให้อดทน
ให้ควบคุมตัวเองได้ ให้ต่อสู้กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้
โอวาทธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44210035146938_42806430_240412079972388_89971.jpg)
ในทางธรรมะจึงสอนเราให้รู้จักสันโดษ หมายความว่า พอใจในสิ่งที่เราประสพอยู่
เฉพาะหน้า คือ อะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เราก็นึกพอใจในสิ่งนั้น ความพอใจใน
สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือสันโดษ เป็นศิลปะของความสุขความสบายในทางจิตใจ
โอวาทธรรมะ : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ภาพ : พระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล เมืองน่าน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70498122812973_42988605_240666879946908_34613.jpg)
พระเจ้ามิลินท์ถามเรื่องการรู้ความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าแก่พระนาคเสน
“ ข้าแต่พระนาคเสน ท่านรู้หรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เยี่ยมไม่มีใครยิ่งกว่า ? ”
“ อาจรู้ ขอถวายพระพร ”
“ อาจรู้ได้อย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร เมื่อก่อนมีอาจารย์เลของค์หนึ่ง ชื่อว่า พระติสสเถระ มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายปี
   แต่ถึงมรณภาพไปแล้วอาจารย์เลของค์นั้น ทำไมชื่อจึงยังปรากฏอยู่? ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อาจารย์เลของค์นั้นยังปรากฏอยู่ เป็นด้วยเลขที่ท่านบอกไว้ ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นก็ได้เห็นพระพุทธเจ้า
    เพราะธรรมเป็นของที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ”
“ สมควรแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”
ที่มา : มิลินทปัญหา

ภาพ : พระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล เมืองน่าน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77432041822208_42696360_240019570011639_49724.jpg)

นิทานในพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่งคือ ชมพูบดีวัตถุ (หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มหาชมพูบดีสูตร) เล่าถึงท้าวมหาชมพู ผู้ครองมหานครใหญ่ที่ชื่อ นครปัญจาละ พรั่งพร้อมไปด้วยอิสริยยศและบริวารยศ หาผู้ใดในชมพูทวีปเสมอเหมือนไม่ได้ จึงสำคัญพระองค์ผิดว่าไม่มีใครสามารถสู้รบกับพระองค์ อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรเห็นกรุงราชคฤห์เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ก็หมายจะสำแดงอิทธิฤทธิ์บังคับให้พระเจ้าพิมพิสารตกอยู่ใต้อำนาจของพระองค์ แต่ก็ไม่สำเร็จด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้าคุ้มครองไว้

พระพุทธเจ้าทรงเห็นเหตุดังนั้นก็หมายจะทรมานท้าวชมพูบดีให้สิ้นฤทธิ์ จึงเนรมิตพระองค์เป็น “พระจักรพรรดิราช” คือราชาเหนือราชาทั้งปวง เนรมิตวัดเวฬุวันวิหารให้เป็นพระนครหลวง ให้พระอินทร์จำแลงกายเป็นราชทูตไปทูลเชิญ “แกมบังคับ” ให้ท้าวชมพูบดีมาเข้าเฝ้าเมื่อท้าวชมพูบดีได้ทอดพระเนตรเห็นนครของพระจักรพรรดิราชมั่งคั่งสมบูรณ์กว่าพระองค์ได้เข้าเฝ้าและทรงสดับพระราชบริหารต่างๆ ก็ละมิจฉาทิฐิยอมแพ้แก่ฤทธิ์ของพระจักรพรรดิราชพระพุทธองค์จึงคลายฤทธิ์ให้ท้าวชมพูบดีเห็นพระสรีระที่แท้จริงและแสดงธรรมเทศนาจนท้าวชมพูบดีบรรลุเป็นพระอรหันต์

พระพุทธรูปทรงเครื่องที่สร้างขึ้นในยุคอยุธยา ก็สร้างขึ้นในคติเรื่องท้าวมหาชมพู เพราะเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๘ ราชทูตลังกาได้นำพระภิกษุไทยที่ได้นำพระพุทธศาสนาแบบ “สยามวงศ์” ไปสืบไว้ที่ลังกาทวีปกลับเข้าสู่อยุธยา ได้มีโอกาสเห็น “พระพุทธรูปทรงเครื่อง” ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ก็เกิดสงสัยใจขึ้น จึงถามต่อเจ้าพนักงานที่ต้อนรับขับสู้ว่าเหตุไฉนสยามจึงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง คล้ายเทวรูป?

ความตรงนี้ทราบไปถึงพระกรรณของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ จึงรับสั่งให้เสนาบดีชี้แจงไปใน จดหมายของอัครเสนาบดีไทยมีไปถึงอัครเสนาบดีลังกา ปี พ.ศ. ๒๒๙๙ โดยมีใจความระบุว่า พระพุทธรูปทรงเครื่อง มีความปรากฏใน “มหาชมพูบดีวัตถุ”

สำหรับชาวอยุธยาแล้ว พระพุทธรูปจึงมีสถานะเป็นพระจักรพรรดิราชได้โดยไม่ใช่เรื่องแปลก และในทางกลับกันถ้าพระมหากษัตริย์ของพวกเขา จะมีสถานภาพไม่ต่างไปจากพระบรมโพธิสัตว์บ้างก็ไม่เห็นจะแปลกด้วยเช่นกัน

ที่มา : สโมสรศิลปวัฒนธรรม
ภาพ : วัดนางนอง



ขอขอบคุณ facebook.com/Watwaaa (ที่มาข้อมูล/ภาพ)


หัวข้อ: Re: พุทธศิลป์..จากศรัทธาสู่ปรัชญาศิลปะ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 กันยายน 2563 16:31:47
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50400385591718_43951237_243569156323347_37762.jpg)

ถ้าหากว่า ในขณะใดที่เขามีใจเหนื่อยหน่ายท้อแท้ไม่เอาไหน ขี้เกียจศึกษาเล่าเรียน
ประโยชน์ตนก็ไม่เอาเรื่อง  ประโยชน์ส่วนรวมก็ไม่เอาไหน  ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตาม
บุญตามกรรม ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะสร้างความดี เป็นบุคคลผู้ทอดธุระเสียแล้ว
ในขณะนั้นกายของเขาเป็นมนุษย์  แต่ใจของเขาเป็นเปรต    เปรต แปลว่า ผู้ละทิ้ง
ซึ่งประโยชน์ทั้งปวง  นี่คือ ความเป็นของเราในชั่วชีวิต  นี่คือ หลักที่เราจะพิจารณา
ตัวของตัวเอง ให้เรารู้ว่าช่วงไหนเราเป็นอะไร
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28202052497201_40133568_231210564225873_37644.jpg)

จิตเป็นของสูงๆ ตํ่าๆ คือ ฝึกหัดไม่สมํ่าเสมอ สูงหมายถึงว่าเจริญขึ้นไป
คือ มีสติควบคุมอยู่ ขณะที่มีสติควบคุมอยู่ก็กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อสู้กับอารมณ์ได้
อะไรมาก็ไม่กลัว พอสัมผัสมากระทบเข้าจริงๆ จังๆ อ่อนปวกลงไปเลย นั่นมันตํ่าลง
ไปแล้ว มันไม่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น จึงต้องหัดสติตัวนี้ให้แก่กล้า ให้แข็งแรงที่สุด
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ภาพประกอบ : วัดโบสถ์ สามเสน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55641957165466_40551590_232580404088889_72076.jpg)

ความสมบูรณ์มีไม่ได้ ถ้าไร้ดุลยภาพ ทีนี้ว่าถึงดุลยภาพนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับ
ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งสำหรับตัวมนุษย์ และสำหรับสิ่งแวดล้อมทั้งปวง ดุลยภาพนี้เป็น
ภาวะที่ทำให้สิ่งทั้งหลายดำรงคงอยู่และดำเนินไปได้ด้วยดี จะเห็นได้ง่ายๆ อย่างนก
นี้มีสองปีก ถ้านกมีปีกเดียวก็บินไม่ได้ นี้เรียกว่า ไม่มีดุลยภาพโดยสิ้นเชิง ถึงแม้มี
สองปีกแต่ปีกหนึ่งมีขน อีกปีกหนึ่งไม่มีขนก็คงบินยังไม่ได้ แม้แต่ว่าสองปีกมีขนแต่
ว่าข้างหนึ่งขนไม่บริบูรณ์ ข้างหนึ่งบริบูรณ์ ขนสมบูรณ์ไม่เท่ากัน ปีกทั้งสองนั้นก็
ไม่สามารถจะพานกให้บินไปได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วเท่าที่ควรจะเป็น นับว่าเป็น
ความไม่สมบูรณ์ของนกนั้น
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ภาพ : พระประธานวัดอัปสรสวรรค์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97267920937803_41953614_236604360353160_80640.jpg)

ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ แม้จะอยู่ในบ้านมันก็วุ่นวายอยู่เรื่อยๆ  พระพุทธองค์
จึงตรัสว่า “ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
นอกจากทุกข์หาอะไรเกิดอะไรดับมิได้ นอกจากทุกข์”
ภาพ : พระอุโบสถวัดศาลาปูน อยุธยา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64446888367334_43951917_243939626286300_58703.jpg)
วัดแก้วฟ้า วัดวาย่านบางขนุน นนทบุรี

วัดแก้วฟ้า ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ตำบลบางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
จากหลักฐานศิลปกรรมต่างๆ ทำให้ทราบว่าวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อสมัยอยุธยา
ในนิราศพระประธมของสุนทรภู่เมื่อเรือผ่านย่านบางขนุน ได้บรรยายไว้ว่า
"บางขนุนขุนกองมีคลองกว้าง ว่าเดิมบางชื่อถนนเขาขนของ เป็นเรื่อง
หลังครั้งคราวท้าวอู่ทอง แต่คนร้องเรียกเพื่อนไม่เหมือนเดิม”


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39078454590505_44029841_243673609646235_75719.jpg)

วัดมหรรณพาราม สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๓ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นอุดมรัตนราษี (พระองค์ เจ้าอรรณพ) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชทานเงินสมทบในการก่อสร้าง ๑,๐๐๐ ชั่ง   การก่อสร้าง ดำเนินมา
จนถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาพระราชทาน
ทรัพย์เป็นเงิน ๑,๐๐๐ ชั่ง  การสร้างวัดจึงแล้วเสร็จ และให้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ด้าน
หลังพระอุโบสถ บรรจุพระบรมธาตุ และพระราชทานนามว่า วัดมหรรณพาราม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12866447659002_43433854_242610179752578_45416.jpg)
พระพุทธรูปปางแสดงธรรม วัดโบสถ์สามเสน กรุงเทพฯ

ธรรมเนียมการถือตาลปัตรของพระสงฆ์เป็นคติเก่าแก่ที่มีมานานแล้ว คาดว่าน่าจะเริ่มต้นขึ้นในลังกาก่อน ดังปรากฏในคัมภีร์วิมติวิโนทนีฎีกา ซึ่งได้รับการแต่งขึ้นในลังกา ที่ได้อธิบายถึงการใช้ตาลปัตรไว้ว่า เพื่อบดบังภาพอันมิควรของสงฆ์ในระหว่างแสดงธรรม รวมถึงเพื่อสำรวมในการแสดงธรรม โดยตาลปัตรยุคแรก มีด้ามสั้นๆ เท่านั้น

หลักฐานธรรมเนียมการใช้ตาลปัตรในลังกานี้ ปรากฏอยู่ในศิลปกรรมรูปพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม ศิลปะลังกา ซึ่งทรงถือตาลปัตรด้ามสั้นไว้ที่หน้าตัก

คติการถือตาลปัตรนี้ ต่อมาได้แพร่หลายไปในชุมชนโบราณที่รับอิทธิพลด้านศาสนาพุทธจากลังกา เช่น ยะไข่ พุกาม รวมถึงชุมชนโบราณในไทย เช่น ละโว้(ลพบุรี) ซึ่งพบหลักฐานศิลปกรรมพระพุทธรูปปางแสดงธรรม พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือตาลปัตรด้ามสั้น อีกพระหัตถ์หนึ่งทำท่าประคองตาลปัตรอยู่ที่ด้านบน

ธรรมเนียมการใช้ตาลปัตรนี้ต่อมาได้ส่งอิทธิพลให้แก่กรุงศรีอยุธยาด้วย โดยในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้ปรับปรุงรูปแบบด้วยการขยายด้ามจับให้ยาวขึ้นและใช้สืบเนื่องมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ได้มีการเพิ่มความหมายใหม่ให้แก่พระพุทธรูปปางแสดงธรรมที่ถือตาลปัตรบังไว้ด้านหน้า ด้วยการสื่อนัยใหม่ว่า เป็นเสมือน “เกราะบังภัย” สำหรับผู้สร้าง ดังปรากฏธรรมเนียมการสร้าง “พระชัย” ประจำรัชกาลในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งสร้างขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางแสดงธรรม ทรงถือตาลปัตรบังพระพักตร์ไว้หน้าด้าน เพื่ออัญเชิญไปพร้อมกับกองทัพในยามออกศึกสงคราม
 ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่อง พระพุทธรูปทรงถือตาลปัตรในประเทศไทยภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99110565375950_43357855_242374786442784_53600.jpg)
พระสัมพุทธพรรณีแห่งวัดราชาธิวาส

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าพระอารามนี้ เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จมาประทับเมื่อครั้งทรงพระผนวช และได้ตั้งธรรมยุตินิกายขึ้น ณ พระอารามนี้ก่อน เมื่อประทับจำพรรษาอยู่ในพระอารามนี้ ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่าพระสัมพุทธพรรณี ทรงบรรจุดวงพระชนมพรรษาและพระสุพรรณบัตรเดิม แล้วทรงตั้งไว้เป็นที่นมัสการ ณ หอสวดมนต์วัดราชาธิวาสวิหาร

เมื่อพระจอมเกล้าเสด็จไปประทับวัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้เชิญพระสัมพุทธพรรณีนี้ไปไว้วัดบวรนิเวศวิหารด้วย ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ยังคงประดิษฐานอยู่จนทุกวันนี้

เพราะเหตุที่พระสัมพุทธพรรณีนี้ ได้ทรงหล่อแล้วและเคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามนี้เป็นเดิมมา สมควรจะหล่อถ่ายแบบอย่างพระสัมพุทธพรรณีนี้ขึ้นอีกองค์หนึ่ง เพื่อจะได้ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ ณ พระอารามนี้ ซึ่งเป็นที่หล่อองค์เดิม เป็นที่ทรงนมัสการระลึกถึงพระเดชพระคุณและทรงพระราชอุทิศส่วนพระราชกุศลอันนี้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการสนองพระเดชพระคุณต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างปั้นหุ่นถ่ายแบบอย่างพระสัมพุทธพรรณีองค์นี้ขึ้นใหม่ เหมือนกันกับพระสัมพุทธพรรณีเดิมแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อเตรียมการที่จะหล่อ ณ วัดราชาธิวาสนี้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98911446871029_43222795_241266689886927_28035.jpg)

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญของบ้านเมือง  ปรากฏอยู่ด้วยกัน ๓ องค์ องค์แรกประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่  องค์ที่ ๓ ประดิษฐาน
ในหอพระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช เรื่องราวของพระพุทธสิหิงค์ปรากฏขึ้นในตำนานของชาวล้านนา  ดังนั้นในการศึกษาที่มา จึงควรกล่าวถึงพระพุทธสิหิงค์ของเมืองเชียงใหม่ก่อนเป็นสำคัญ ถ้าตรวจสอบกับตำนานการสร้างจะพบว่า พระพุทธสิหิงค์นี้ปรากฏอยู่ในตำนานของชาวล้านนาหลายฉบับ ที่สำคัญ คือ “ชินกาลมาลีปกรณ์” แต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระ หรือใน “ตำนานพระพุทธสิหิงค์” แต่งโดยพระโพธิรังสี และอีกทั้งได้มีการรวบรวมตำนานหลายๆ ฉบับเข้าด้วยกันในชั้นหลัง เช่น “พงศาวดารโยนก” เป็นต้น จะแตกต่างกันอยู่บ้างในส่วนของรายละเอียดของเหตุการณ์และปาฏิหาริย์  

การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ในตำนานของชาวล้านนานั้น เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากือนาหรือพระเจ้าแสนเมืองมา ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อันมีบุคคลสำคัญคือท้าวมหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าเมืองเชียงรายเป็นผู้ไปอัญเชิญมาจากเมืองกำแพงเพชร โดยตำนานกล่าวไว้แตกต่างกันคือ กระแสหนึ่งกล่าวว่า ท้าวมหาพรหมทรงยกทัพไปตีเมืองกำแพงเพขร และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกตมายังล้านนา โดยได้ถวายพระพุทธสิหิงค์ให้กับพระเจ้ากือนาเพื่อประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่ และทรงนำพระแก้วมรกตไปยังเมืองเชียงราย ภายหลังท้าวมหาพรหมได้ทูลขอพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงใหม่ ไปจำลองแบบที่เกาะดอนแท่น เมืองเชียงแสน และมีงานสมโภชที่ยิ่งใหญ่เมื่อท้าวมหาพรหมสิ้นชีพลงแล้ว พระเจ้าแสนเมืองมาจึงทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงรายมายังเมืองเชียงใหม่ และประดิษฐานยังวัดเชียงพระ ภายหลังเรียกว่าวัดพระสิงห์ตามนามพระพุทธรูปที่นิยมเรียกกันในล้านนา
 ที่มา : สโมสรศิลปวัฒนธรรม  ภาพ : วัดพระสิงห์ เชียงใหม่
 

ขอขอบคุณ facebook.com/Watwaaa (ที่มาข้อมูล/ภาพ)



หัวข้อ: Re: พุทธศิลป์..จากศรัทธาสู่ปรัชญาศิลปะ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 กันยายน 2563 17:33:20
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48325182331932_50751012_280937759253153_10050.jpg)
วัดหนองบัว เมืองน่าน

วัดหนองบัว เป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน
วัดแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานทางสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมชิ้นเอกของเมืองน่าน
จากคำบอกเล่ากล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้นในราว พ.ศ.๒๔๐๕(สมัยรัชกาลที่ ๔) โดย
ท่านสุนันต๊ะ (ครูบาหลวง) เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงนำชาวบ้าน สร้างขึ้นเป็นวัดประจำ
หมู่บ้านหนองบัว สิ่งที่น่าสนใจในวัดหนองบัว คือจิตรกรรมฝาผนัง ที่ได้สะท้อนให้
เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกาย
ของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นที่สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของ
ภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน    เชื่อกันว่า
ภาพเขียนฝาผนังในวัดหนองบัวแห่งนี้ เขียนขึ้นด้วยช่างสกุลเมืองน่านผู้เดียวกัน
กับผู้เขียนภาพฝาผนังในวัดภูมินทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46344637581043_51039890_281332259213703_26265.jpg)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง
ประมาณ ๔ ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์ นั่งประนมมือดุจ
รับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏ
ว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน
ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหน
ไม่เหมือนมาวัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที  ด้วยเหตุนี้
จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์
ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ   และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า
พระประธานยิ้มรับฟ้า ตั้งแต่นั้นมา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49949302938249_51107078_284532682226994_65610.jpg)
วัดพระธาตุช่อแฮ วัดคู่บ้านคู่เมืองแพร่

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ ๒๘ เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ศิลปะเชียงแสนแบบแปดเหลี่ยม บุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก พระธาตุช่อแฮ เป็นพระธาตุ ๑ ใน ๑๒ ราศี คือ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดสำหรับคนที่เกิดปีเสือ (ปีขาล)

พระธาตุช่อแฮมีตำนานประวัติความเป็นมากล่าวไว้หลายทางด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ตำนานพระธาตุช่อแฮในพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย ดังนี้

พระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮว่า สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๘๑ ในสมัยที่พระมหาธรรมราชา (ลิไท) ยังเป็นพระมหาอุปราชซึ่งครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ในครั้งนั้น พระองค์โปรดให้สร้างสถานที่สำคัญทางศาสนาตามที่ปรากฏในพุทธประวัติในที่ต่างๆ รวมทั้งที่เมืองแพร่ซึ่งอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไทพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ขุนลัวะอ้ายก้อมให้นำมาบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ เมื่อขุนลัวะอ้ายก้อมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะเห็นว่าทำเลดีจึงสร้างเจดีย์ขึ้น และนำผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำ สร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทอง แล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้โดยโบกปูนทับอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง ๗ วัน ๗ คืน





(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90211750111646_50921821_282588129088116_55649.jpg)
วัดต้นเกว๋น เชียงใหม่

วัดอินทราวาส เดิมชื่อ วัดต้นเกว๋น ซึ่งเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งทางเหนือเรียกว่า ต้นป่าเกว๋น สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ ตามประวัติวัดแจ้งว่า วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ จ.ศ.๑๒๑๘ หรือ พ.ศ.๒๓๙๙ สมัยพระเจ้ากาวิโลรส สุริยวงค์ เป็นเจ้าหลวงปกครองเมืองเชียงใหม่ วัดนี้มีความสำคัญในอดีต คือเป็นที่พักขบวนพระบรมธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทองมาที่เชียงใหม่ ในอดีตเป็นประเพณีที่เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่มีการสรงน้ำพระธาตุ คือจากวัดพระธาตุจอมทองมาก็เดินทางมาด้วยขบวนช้าง ขบวนม้า แล้วแวะมาที่วัดต้นเกว๋นให้ประชาชนบริเวณนี้สรงน้ำพระธาตุศรีจอมทอง ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

ลักษณะสถาปัตยกรรมของวิหารวัดต้นเกว๋น เป็นศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนา ที่งดงามและทรงคุณค่า วิหารเป็นวิหารแบบล้านนาโบราณ หน้าบันประดับด้วยกระจกแก้วสีแบบฝาตาผ้าหรือฝาปะกนโก่งคิ้วจำหลักไม้ลายเครือเถาสอดสลับรูปเศียรนาค มีลายปูนปั้นรูปเทพพนมและดอกไม้อยู่ที่หัวเสา ด้านหน้าบัน ปีกนกเกาะสลักเป็นเศียรนาคในลายเครือเถาผสมกนก ตีช่องตารางเพื่อระบายอากาศ ปั้นลมและหางหงส์แกะรูปมกรคายนาค คันทวยหูช้างจำหลักไม้เป็นรูปกินนรีฟ้อนรำ
  ที่มา : ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98754273189438_50807591_281769165836679_55069.jpg)
พระศรีศาสดา

การสร้างพระพุทธรูปทั้ง ๓ พระองค์ ของเมืองพิษณุโลกนั้น มีตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูปสามองค์ ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาจนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา

พระศาสดา สร้างคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ ได้ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านทิศใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาแต่ต้น ต่อมาพระวิหารชำรุดไม่มีผู้ปฏิสังขรณ์ จึงได้อัญเชิญพระศาสดามาไว้ที่วัดบางอ้อช้าง ทางแม่น้ำอ้อม จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติปฏิสังขรณ์วัดประดู่ คลองบางหลวง จึงได้ขออัญเชิญพระศาสดาไปเป็นพระประธาน

ล่วงมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชดำริว่า "พระศาสดา"เป็นพระพุทธรูปอยู่ที่พระอารามหลวงมาแต่โบราณ ไม่สมควรอยู่ที่วัดอื่น จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ต่อมาได้ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาและพระพุทธชินสีห์ เคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามเดียวกันที่เมืองพิษณุโลก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระศาสดาจากวัดสุทัศน์ฯ ไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารนั้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๖
  ที่มา : เวปไซต์วัดบวรฯ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96409660867518_50934420_283302532350009_89259.jpg)
วัดพระธาตุลำปางหลวง

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่างๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน หรือ บ้านลำปางหลวงในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนครแล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้นบรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด(ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๒๗๕ นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน

สำหรับกู่พระเจ้าล้านทอง ตั้งอยู่บริเวณท้ายวิหารหลวง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปคือพระเจ้าล้านทอง ส่วนบนของกู่เป็นแบบผสมระหว่างหลังคาลาดกับหลังคาลดชั้น องค์ประกอบต่างๆ รวมทั้งลวดลายปั้นประดับมีอยู่อย่างมากมาย แสดงให้เห็นถึงแบบแผนของงานประดับในช่วงเวลานั้นด้วย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69942537405424_51211661_283578965655699_21780.jpg)
วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง

วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (แต้ม แปลว่า ภาพเขียน) ในวัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๔๔ เป็นวิหารที่เก่าแก่แห่งหนึ่งทางภาคเหนือ

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม วิหารน้ำแต้มเป็นวิหารขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุลำปางหลวง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารโถงขนาด ๕ ห้อง มีผนังปิดทึบเฉพาะห้องท้ายวิหารที่ยกเก็จออกไปเท่านั้น แผงผังโดยทั่วไปของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มียกเก็จออกทางด้านหน้า ๒ ช่วง ด้านหลัง ๑ ช่วง ฐานที่รองรับตัววิหารเป็นพื้นปูนยกสูงขึ้นมา หลังคาเป็นทรงแบบล้านนาเรียกว่า ขื่อม้าตั่งไหม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินลดหลั่นเป็นชั้นลงมา ชายคาของหลังคาด้านข้างคลุมลงมาต่ำมากจึงทำให้รูปทรงของวิหารดูค่อนข้างเตี้ย เพื่อกันน้ำฝนและแสงแดด

ด้านจุดเด่นของวิหารนั่นก็คือภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย ซึ่งหาดูได้ยากมาก ภาพจิตรกรรมนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมากแล้ว

บนแผ่นไม้แผงคอสองของวิหาร เป็นเรื่องท้าวสักกะเรื่องพระนางสามาวดี ซึ่งเป็นนิทานธรรมบท ทั้งสองเรื่องเป็นนิทานอธิบายพระสูตในพระไตรปิฎกที่พระพุทธโฆษาจารย์ แปลจากภาษาลังกา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ สันนิษฐานว่า แพร่หลายเข้ามาในไทยพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ –๒๐

โดยนักวิชาการสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปะและตัวอักษรธรรมล้านนาที่อธิบายประกอบภาพ รวมทั้งเอกสารตำนานต่างๆ สามารถสรุปได้ว่า ภาพเขียนในวิหารน้ำแต้มได้รับอิทธิพลจากศิลปะพุกาม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓

เรียกได้ว่าวิหารแห่งนี้เป็นสถานที่ที่เมื่อมาถึงลำปางแล้ว ต้องไปดูตัววิหารที่สร้างแบบฉบับโครงสร้างล้านนาที่สวยงามยิ่ง รวมถึงจิตรกรรมฝาผนังบนแผ่นไม้ที่เก่าแก่ ที่ช่างบรรจงวาดออกมาเพื่อเป็นธรรมะสอนใจแก่คนที่ได้พบเห็น เพราะสิ่งเหล่านี้หาดูได้ยากยิ่งนัก และเป็นสิ่งที่เราควรอนุรักษ์ไว้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14187706841362_51593818_284170962263166_30652.jpg)
พระวิหารลายคำสุชาดาราม วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

วิหารลายคำสุชาดาราม สร้างขึ้นในสมัยของเจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปางในสมัยนั้น โดยฝีมือของช่างเชียงแสน สร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒ เมื่อครั้งชาวเชียงแสนถูกกวาดต้อนมาอยู่เป็นชุมชนในเมืองเขลางค์ ตัววิหารมีขนาดว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสีหเชียงแสน ซึ่งเป็นพระประธานหน้าตักกว้าง ๕ เมตร

อนึ่งภายในวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังภาพทศชาติและพุทธประวัติซึ่งประดับลวดลายทองในส่วนต่างๆ อย่างวิจิตรพิสดาร ต่อมาได้บูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕ และบูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดในราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๑๕๙ ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๓

พระวิหารลายคำสุชาดา เป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นครึ่งปูนครึ่งไม้ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๗ เมตร ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก โครงสร้างพระวิหารเป็นแบบ “ม้าตั่งไหม” ที่มีการถ่ายทอดน้ำหนักจากหลังคาวิหารลงมาตามส่วนของขื่อต่างๆ ลงสู่เสาและหลังคาปีกนกด้านล่าง ๒ ข้าง ซึ่งเป็นลักษณะอาคารที่จำเพาะกับกษัตริย์หรือเจ้าเมือง ส่วนของหลังคาเป็นการยกซ้อนของไม้เป็นสามชั้นสามระดับ เพื่อประกอบเป็นหลังคาของห้องประธาน ส่วนหน้าซ้อนสามชั้น และส่วนหลังซ้อนกันเป็นสองชั้น มีเสารองรับหลังคาทั้งหมด การประกอบส่วนของหลังคาทั้งหมดใช้ลิ่มไม้เป็นตัวยึด ไม่มีการใช้ตะปู เสาและขื่อเขียนลายทองในเป็นที่มาของชื่อวิหารลาย(ทอง)คำ ขื่อและโครงรับจั่วหลังคาซ้อนกันเหมือนวางซ้อนเก้าอี้ หลังคาไม่มีเพดานทำให้เห็นกระเบื้องดินเผา พื้นที่ภายในพระวิหารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนประธานเป็นส่วนที่ประดิษฐานพระพุทธสีหะเชียงแสน ระหว่างห้องประธานและส่วนหน้ามีฝาปิด ตามเสาและขื่อลงรักดำ (ฮัก) และชาด (หาง) ปิดทองเป็นลวดลายพรรณพฤกษา ฝาผนังเป็นเรื่องราวในชาดก และเรื่องนรก ส่วนหลังคาลาดต่ำ หน้าต่างด้านขวาแคบเล็ก หน้าต่างด้านซ้ายเป็นลูกกรงลูกมะหวด การทำหน้าต่างแคบในลักษณะเช่นนี้เพื่อรักษาความอบอุ่นของอาคารในหน้าหนาว ด้านหน้าประกอบด้วยราวบันได และสิงห์ปูนปั้นคู่ประดับเหนือบานประตู

พระวิหารลายคำสุชาดา ถือเป็นตัวอย่างสำคัญของการอนุรักษ์ศาสนสถานที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปะที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตแบบล้านนา และวัฒนธรรมของภาคเหนือได้เป็นอย่างดี สามารถรักษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระวิหารซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเอาไว้ได้อย่างน่าชื่นชม
   ที่มา : สมาคมสถาปนิกสยามฯ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31633561352888_51394228_284915788855350_42050.jpg)
วัดคะตึกเชียงมั่น ลำปาง

วัดคะตึกเชียงมั่น ตั้งอยู่เลขที่ ๖๑ บ้านเชียงมั่น ถนนทิพย์ช้าง ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วัดคะตึกเชียงมั่น สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๒๘๗ โดยเจ้าคำโสม สันนิฐานว่าสร้างเมื่อครั้งมีการย้ายเมืองเขลางค์มายังฝั่งเมืองใหม่ ตรงข้ามกับที่ตั้งเดิม อันเป็นที่ตั้งเมืองลำปางปัจจุบัน แต่เดิมบริเวณนี้มีอยู่ ๒ วัด ได้แก่ วัดคะตึก และวัดเชียงมั่น ต่อมาได้รวมเป็นวัดเดียวกัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๘ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระครูสุวิมลธรรมานุสิฐ และพระสมุห์คำมูล มุนิวังโส เป็นรองเจ้าอาวาส

วัดนี้ถือเป็นวัดวิหารหลวงของจังหวัดลำปางอีกวัดหนึ่ง ซึ่งอยู่คู่ชาวลำปางมาหลายชั่วอายุคน วัดคะตึกเชียงมั่น สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๔๐ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือ ประมาณ ๕๒ วา จดถนนทิพย์ช้าง ทิศใต้ ประมาณ ๕๒ วา จดสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองหลังเก่า ปัจจุบันเป็นสำนักงานศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ๕ ทิศตะวันออกประมาณ ๓๙ วา จดวัดบุญยืน ทิศตะวันตกประมาณ ๓๙ วา จดที่ทำการไปรษณีย์ลำปาง อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญและกุฏิ จำนวน ๕ หลัง ปูชนียวัตถุมีพระพุทธมงคลนิมิตเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงตัดลูกนิมิต ณ อุโบสถวัดคะตึกเชียงมั่นด้วย ซึ่งมี พระอินทวิชยาจารย์ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น ถวายการต้อนรับ และวิหารเครื่องไม้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร ที่มีอายุเก่าแก่มาถึงปัจจุบันถึง ๑๘๑ ปี

วิหารเครื่องไม้สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นวิหารล้านนาที่เก่ามาก โครงสร้างเป็นเครื่องไม้ทั้งหมด หลังคาจั่วซ้อนชั้น วิหารโล่ง เป็นลักษณะวิหารล้านนาสกุลช่างลำปาง หลังคาเดิมมุงด้วยดินขอ ได้มาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องหน้าวัวในภายหลังวิหารเครื่องไม้ ปรากฏในศิลาจารึกด้านหลังของวิหาร โดยมีข้อความระบุว่าสร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๓๗๕ บูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นวิหารเครื่องไม้ขนาดกว้าง ๓ ห้อง ยาว ๕ ห้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเป็นวิหารกึ่งเปิด ที่เปิดโล่งด้านหน้า และด้านข้าง เฉพาะสองช่วงเสาจากด้านหน้า ส่วนด้านข้างตั้งแต่ห้องที่สามไปจนถึงท้ายวิหารจะเป็นผนังทึบ แผนผังของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มียกเก็จออกทางด้านหน้า ๒ ช่วง ด้านหลัง ๑ ช่วง ซึ่งสัมพันธ์กับการลดชั้นของหลังคา ที่มีการลดทางด้านหน้า ๓ ชุด ด้านหลัง ๒ ชุด รวมถึงยังมีการซ้อนผืนหลังคา ๒ ชั้น(ตับ) ปัจจุบันกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ได้ถูกซ่อมแซมเปลี่ยนเป็นกระเบื้องซีเมนต์สีขาวรูปขนมเปียกปูนนับ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๒

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๑๕๙ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๓ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็ได้เป็นพระอารามหลวงกลางเมืองลำปาง เป็นที่ทำบุญสร้างกุศลให้กับศรัทธาญาติโยมมาตลอดระยะเวลาที่ยาวนาน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96940172215302_51833996_285294095484186_71917.jpg)
วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง

วิหารต่างๆในวัดพระธาตุลำปางหลวงมีอายุหลายร้อยปี เป็นแหล่งชุมนุมศิลปกรรมแบบล้านนาหลากรูปแบบ ตั้งแต่พระพุทธรูป ลายทองประดับ ปูนปั้น จนถึงจิตรกรรม

นอกจากวิหารหลวงแล้ว ภายในเขตพุทธาวาสยังมีวิหารอีก ๔ หลัง ได้แก่ วิหารพระพุทธ วิหารพระเจ้าศิลา วิหารต้นแก้ว และวิหารน้ำแต้ม อีกทั้งยังมีอาคารอื่นๆ อาทิ อุโบสถ หอพระพุทธบาท

ทางทิศใต้ของพระธาตุเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารพระพุทธ หรือวิหารลายคำ โดดเด่นด้วยลายประดับสีทองบนพื้นสีแดง ทั้งบนผนังด้านนอก-ด้านใน และต้นเสา นับเป็นตัวอย่างลวดลายลงรักปิดทองแบบล้านนาที่หาชมได้ไม่มากแห่งนัก สันนิษฐานว่า วิหารพระพุทธสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา ตัวอาคารมีขนาด ๕ ห้อง สร้างครึ่งปูนครึ่งไม้ ปิดล้อมด้วยผนังโดยรอบ ช่วงห้องหน้าเป็นมุขโถง ล้อมด้วยกำแพงเตี้ยๆ หลังคาลดชั้นด้านหน้าและหลัง ด้านละ ๑ ชั้น แต่ละชั้นมีผืนหลังคา ๒ ตับ ประตูทางเข้าหลักมีซุ้มประตูก่ออิฐถือปูน เป็นซุ้มซ้อน ๓ ชั้น ประดับลวดลายปูนปั้นลงรักปิดทอง กรอบซุ้มเป็นวงโค้งกรอบหยัก ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปตัวเหงา หน้าบันใต้กรอบซุ้มเป็นลายใบไม้ หน้าบัน คำช่างล้านนาเรียกว่า หน้าแหนบ ประดับด้วยลายแกะไม้ประดับกระจกจีน เป็นลายประเภทพรรณพฤกษา ดอกไม้ใบไม้ ลายประแจจีน

พระประธานประดิษฐานในห้องที่สี่ของวิหาร ช่วงเสาคู่หน้าพระประธานมีการทำหน้าแหนบ หน้าแหนบปีกนก ด้านล่างของหน้าแหนบทั้งสองมีโก่งคิ้ว ทั้งหมดนี้ช่วยขับเน้นความโดดเด่นของพระประธาน

พระประธานมีนามว่า พระเจ้าองค์หลวงเมืองเขลางค์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อพระพุทธ ภายในห้องส่วนนี้ตกแต่งด้วยลายคำ และภาพอดีตพุทธเจ้า



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12121246589554_51531045_285721878774741_36902.jpg)
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

วัดพระบาทมิ่งเมืองมาจากสองวัดรวมกัน ได้แก่ วัดพระบาท และวัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ห่างกันเพียงมีถนน กั้นเท่านั้น วัดพระบาทเป็นวัดของพระยาอุปราชหรือเจ้าหอหน้า ส่วนวัดมิ่งเมืองเป็นวัดของเจ้าผู้ครองนครแพร่ เมื่อเมืองนครแพร่ถูกล้มเลิกระบบเจ้าผู้ครองนคร วัดทั้งสองก็ถูกทอดทิ้งอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก กระทั่งคณะกรมการจังหวัดเห็นสมควรรวมสองวัดเข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมือง

วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ และยังมีพระเจดีย์มิ่งเมือง ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอย พระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของอาคารยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง "ยาขอบ"หรือ นายโชติ แพร่พันธุ์ นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้าหลวงนครเมืองแพร่องค์สุดท้าย



ขอขอบคุณ facebook.com/Watwaaa (ที่มาข้อมูล/ภาพ)
ืn.วัดปงยางคก ลำปาง  8/2/96


หัวข้อ: Re: พุทธศิลป์..จากศรัทธาสู่ปรัชญาศิลปะ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 มกราคม 2564 15:03:46
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70388887781235_124395846_169407194847530_3757.jpg)
พระสุนทรีวาณี
พระประจำวัดสุทัศนเทพวราราม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69016719319754_800px_Phra_Sri_Sakayamunee_Wat.jpg)
พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม  
สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อายุประมาณ ๘๐๐ ปี  
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ร.๑ พระปฐมบรมราชจักรีวงศ์
ทรงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม
อันเป็นใจกลางเกาะกรุงรัตนโกสินทร์  ตราบเท่าปรัตยุบัน ฯ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93245546768109_119539848_151443183310598_1238.jpg)
รูปหล่อพระพุทธเสฏฐมุนี (หลวงพ่อกลักฝิ่น)  
วัดสุทัศนเทพวราราม  กทม.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44586420804262_120998449_159235659198017_3072.jpg)
พระพุทธเสฏฐมุนี องค์บูชา องค์จริงประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญวัดสุทัศนเทพวราราม
หรือเรียกนามท่านทั่วไปว่า "หลวงพ่อกลักฝิ่น" อันเป็นนิมิตหมายว่าทุกคนสามารถกลับตัว
กลับใจเป็นคนดีได้ตลอดเวลา การทำความดี ช่วงเวลาไหนก็ย่อมเป็นช่วงเวลาที่แสนงดงาม
สำหรับชีวิต ดังพระพุทธพจน์ว่า...
โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา    ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ       อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา ฯ
อนึ่ง ผู้ใดเคยเป็นคนไม่ดีมาก่อน ภายหลังกลับตัวเป็นคนดี ผู้นั้นย่อมทำชีวิตนี้ให้สดใส
สวยงามขึ้นมาได้อีกครั้ง  เสมือนพระจันทร์ที่เคลื่อนพ้นจากหมอกเมฆแล้ว ย่อมส่องโลก
ใบนี้ให้สว่างไสวขึ้นมาได้ ฯ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66030228262146_118073409_141624777625772_5503.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58088122473822_118197623_141624737625776_4402.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96480853897002_117732146_141624814292435_5105.jpg)
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย
ใหญ่ที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น  พระอสีติมหาสาวก พระอรหันตสาวกสมัยพุทธกาล ๘๐ องค์
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีแห่งเดียวในประเทศไทย ประดิษฐานคู่พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31541623837417_116901228_134878841633699_3200.jpg)
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธาน และพระอสีติมหาสาวก (๘๐)
ภายในพระอุโบสถกว้างยาวใหญ่ที่สุดในประเทศ
วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99977097163597_109665372_124748109313439_5182.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64396233980854_112754356_124748085980108_5028.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11549338656994_110219016_124748125980104_8962.jpg)
"พระสุนทรีวาณี"  องค์แทนพระธรรม เทพแห่งปัญญาญาณ งดงามในเบื้องต้น
ท่ามกลาง และที่สุด ช่างรังสรรค์จากศุภนิมิต ในสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒนมหาเถร)
เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามรูปที่ ๓ ผู้เป็นต้นตำรับการสร้างภาพวาดพระสุนทรีวาณี  
ผู้เป็นพระอุปัธยาจารย์แห่งสมเด็จพระสังฆราช ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร)
วัดสุทัศนเทพวราราม และสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) วัดสระเกศ
วัดสุทัศนเทพวรารามในเวลาก่อนเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรทุกวัน
และในเวลานำพุทธศาสนิกชนเจริญกรรมฐานจะบริกรรมคาถาประจำองค์พระสุนทรีวาณีว่า
มุนินฺทวทนมฺพุช       คพฺภสมฺภวสุนฺทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี   มยฺหํ ปีณยตํ มนํ ฯ
(คาถาประจำองค์พระสุนทรีวาณี)



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70848519562019_109581859_123609796093937_8434.jpg)
พระกริ่งวัดสุทัศน์
หากพูดถึงพระกริ่ง ก็จะนึกถึงวัดสุทัศน์ มนต์ขลังพลังศรัทธาของประชาชน
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร)
ทรงเป็นต้นตำรับรังสรรค์ขึ้นจนเป็นตำนานประจำวัดสุทัศน์ให้ประชาชนได้
กราบไหว้บูชา เป็นพระสำคัญประจำวัดอีกองค์
..............
ประดิษฐานอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม


ที่มา : ส่งเสริมการท่องเที่ยวพุทธสถาน ศิลปะ วัฒนธรรม วัดสุทัศน์


หัวข้อ: Re: พุทธศิลป์..จากศรัทธาสู่ปรัชญาศิลปะ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 สิงหาคม 2564 20:11:22
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60327310115098_240667015_2894415730810913_236.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71279583291874_240722614_2894415807477572_482.jpg)

พระพุทธรูป ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา

พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา คำว่า “ทุกรกิริยา (ทุก-กะ-ระ-กิ-ริ-ยา)” หมายถึง กิริยาที่ทำได้ยากยิ่ง โดยการบำเพ็ญเพียรของพระบรมโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะ ที่ทรงมุ่งหวังจะบรรลุธรรมวิเศษด้วยการทรมานตนด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการของโยคี เมื่อสร้างเป็นพระพุทธรูป จึงเป็นอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย มองเห็นพระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ (กระดูก) และพระนหารุ (เส้นเอ็น) ปรากฏ ลักษณะพระวรกายผ่ายผอมจนเห็นหนังติดกระดูก

หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะได้สำเร็จฌานสมาบัติ ๘ จากสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่พระบรมโพธิสัตว์ทรงเห็นว่าวิชาที่ศึกษามายังมิใช่หนทางแห่งโพธิญาณ จึงอำลาจากสำนักทั้งสองในกรุงราชคฤห์ ทรงออกแสวงหาหนทางตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ณ ภูเขาดงคสิริ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ โดยมีปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ถวายการอุปัฏฐาก พระบรมโพธิสัตว์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย จนมีพระวรกายซูบผอม พระโลมา (ขน) มีรากเน่าหลุดออกมา แลเห็นพระอัฐิได้ชัดเจนไปทั่วพระวรกาย การกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก) ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาติดต่อกันเป็นเวลา ๖ ปี แต่ก็ยังคงไม่พบหนทางหลุดพ้นจากทุกข์แต่อย่างใด เพราะเป็นการปฏิบัติฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค (หมายถึง การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อนถึงที่สุด)

ต่อมาเมื่อพระบรมโพธิสัตว์ได้ทรงสดับเสียงพิณและพิจารณาว่า สายพิณเส้นหนึ่งที่หย่อน ถ้าเล่นไปเสียงจะผิดเพี้ยนไม่ไพเราะ สายพิณอีกเส้นหนึ่งที่ตั้งตึงมากเกินไป ถ้าเล่นไปสายก็จะขาด ส่วนสายพิณที่ตั้งไม่หย่อนไม่ตึง เสียงจะไพเราะ ทางสายกลางต่างหากที่เป็นทางถูกต้อง ในที่สุดพระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาเสวยพระกระยาหารตามปกติ จึงเป็นเหตุให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เสื่อมศรัทธา คิดว่าพระบรมโพธิสัตว์กลายเป็นคนมักมาก จึงพากันละทิ้งไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ทำให้พระบรมโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญเพียรตามลำพังต่อไปตามหนทางมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นหนทางพอดี จนสำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ร่มโพธิพฤกษ์ในคืนเพ็ญเดือน ๖ ในที่สุด

“ปางพระพุทธรูป” ก็คือลักษณะของรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าในอิริยาบถต่างๆ ซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อในพระพุทธประวัติ โดยช่างในสมัยโยนก (คันธารราฐ) สมัยราชวงศ์คุปตะ (ราว พ.ศ.๘๖๓ - ๑๐๒๓) ซึ่งเป็นชาวกรีกพวกแรก ที่กำหนดรูปแบบพระพุทธรูปออกเป็นปางต่างๆ ขึ้นมาจำนวน ๙ ปาง รวมถึงพระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วย ต่อมาช่างชาวอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งเป็นชาวกลิงคราฐ (ในปัจจุบันคือรัฐโอริสสา) รวมทั้งในยุคสมัยต่างๆ ในภายหลัง ก็ได้สร้างปางพระพุทธรูปเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก

การสร้างพระพุทธรูปลักษณะปางทุกรกิริยานี้ ก็เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความเพียรที่ปฏิบัติได้ยากยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ไม่มีใครจะทำทุกรกิริยายิ่งกว่าพระบรมโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะได้อีก เพราะถ้าเพียรมากกว่านี้ก็ถึงกาลกิริยาแล้ว ซึ่งก็คือความตายนั่นเอง


ขอขอบคุณที่มา (ข้อมูล/ภาพ) เพจพระพุทธศาสนา