[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ จิบกาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 20 ตุลาคม 2563 20:15:04



หัวข้อ: ความแตกต่างระหว่าง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 20 ตุลาคม 2563 20:15:04


ความแตกต่างระหว่าง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัยว่า สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย มีความหมายเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร ? มาหาคำตอบกันเลย ...( เจ้าของกระทู้ก็เป็นเช่นกันค่า อิอิ  ;D ;D ;D)

(http://4.bp.blogspot.com/-3mc9-DNTeac/UhI_f0pxvZI/AAAAAAAAAp8/rL_xvSmch6w/s320/samnuan.jpg)


ความงดงามประการหนึ่งของภาษาไทย คือ เรามีสำนวน-คำพังเพย-สุภาษิต ที่ช่วยให้คำพูดและเขียนมีความหลากหลายและคมคาย ให้แง่คิดที่สละสลวยยิ่งขึ้น แต่บางทีสำนวน-คำพังเพย-สุภาษิต ก็ยากที่จะแยกออกจากกันให้ชัดเจน ดังเช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ อธิบายไว้ดังนี้

                  สำนวน เป็นคำนาม มีหลายความหมาย คือ

             ๑.  ถ้อยคำที่เรียบเรียงหรือโวหาร  บางทีก็ใช้ว่าสำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่มๆดอนๆ

             ๒.  ถ้อยคำหรือข้อความ  ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตัว หรือความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ว่ายน้ำ รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

             ๓.  ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นถ้อยคำพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ เช่นสำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี

             ๔.  ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่นสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง(หล)สำนวนยาขอบ

            ๕.   ลักษณะนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่งๆ  เช่น   อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน

                  พังเพย เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลางๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณติชมหรือแสดงความเห็นในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอน เช่น กระต่ายตื่นตูม,ทำนาบนหลังคน ,ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น,เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย,น้ำถึงไหน ปลาถึงนั้น เป็นต้น

                ภาษิต เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน ซึ่งประกอบด้วยลักษณะ ๒ ประการ คือเป็นข้อความสั้นๆ กินความลึกซึ้ง มีความหมายเป็นคติคำสอนหรือหลักความจริง เช่น กงเกวียน กำเกวียน,รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ,น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ,ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า  เป็นคำพูดเชิงเตือนสติว่า อย่าขัดขวางผู้มีอำนาจ

                ดังนั้นคำว่า “สำนวน” ที่ใช้ในที่นี้จึงหมายถึงเฉพาะถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตัวอักษร มีความหมายเป็นเชิงเปรียบเทียบ มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า สำนวนเป็นคำพูดชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้วางหลักวิชาหรือให้คติอย่าไร เช่น หนังหน้าไฟ,  เกลือจิ้มเกลือ,  บอดได้แว่น , ...

ที่มา http://xn--42cg4bk7abjvb6dj3gid1a4d8h0cti.blogspot.com/ (http://xn--42cg4bk7abjvb6dj3gid1a4d8h0cti.blogspot.com/)http://