[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: sithiphong ที่ 09 พฤษภาคม 2553 08:39:38



หัวข้อ: เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก)
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 09 พฤษภาคม 2553 08:39:38
เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก)

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOakE1TURVMU13PT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1DMHdOUzB3T1E9PQ== (http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOakE1TURVMU13PT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1DMHdOUzB3T1E9PQ==)


 
"วัดราชสิทธาราม" เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนอิสรภาพ ด้านเหนือสะพานเจริญพาศน์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 ด้านทิศตะวันตกของวัดที่มีอยู่ก่อนแล้ว คือ "วัดพลับ"

ต่อมาได้โปรดให้รวมทั้ง 2 วัดเข้าเป็นวัดเดียว มูลเหตุที่ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ในที่ใกล้กับวัดพลับเดิมนั้น เนื่องมาแต่สมเด็จพระสังฆราช(สุก) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อยู่จำพรรษา ณ วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม จ.พระนครศรีอยุธยา

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯนิมนต์ให้ลงมาอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านได้ถวายพระพรขออยู่วัดฝ่ายอรัญวาสี เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระอย่างเชี่ยวชาญ

โดยที่ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า วัดพลับ เป็นวัดที่สำคัญฝ่ายอรัญวาสีของจังหวัดธนบุรี คู่กับ "วัดรัชฎาธิษฐาน" เป็นวัดใกล้พระนคร จึงได้ทรงโปรดให้อยู่วัดพลับและเพื่อให้สมพระเกียรติที่เป็นพระอาจารย์ จึงได้ทรงสร้างวัดพระราชทานให้ใหม่ดังกล่าวมา ทั้งทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ "พระญาณสังวรเถร" เมื่อพ.ศ.2325 พร้อมกันกับที่ได้ทรงตั้งพระราชาคณะรูปอื่น เป็นต้น

ต่อมา พระอาจารย์สุก ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 วัดราชสิทธาราม จึงเป็นวัดที่สำคัญอีกที่หนึ่ง และอยู่มาตราบเท่าทุกวันนี้

สมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระ

ย้อนไปในสมัยก่อน บริเวณวัดราชสิทธาราม มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ มีสิงสาราสัตว์เข้ามาอาศัยภายในบริเวณวัดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ "ไก่ป่า" กล่าวกันว่าไก่ป่าเป็นไก่ที่ดุ ไม่เข้าหาคน แต่ด้วยความเมตตาของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) สามารถแผ่พรหมวิหารธรรม ทำให้ไก่ป่าเชื่องดุจเป็นไก่บ้านได้ทีเดียว

ทำให้ท่านได้รับฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า "พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน"

ด้วยความที่วัดราชสิทธาราม เคยเป็นศูนย์กลางสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสายวิชชาที่สืบสานมาแต่โบราณ นับแต่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำรัตนโกสินทร์

พระครูสิทธิสังวร (วีระ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ในฐานะผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2540 วัดราชสิทธาราม ได้จัดสร้าง "พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)" เพื่อให้เป็นสำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จัดสร้างตรงบริเวณคณะ 5 วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร (วัดพลับ)

เพื่อให้เป็นสำนักการเรียนรู้ฝึกจิตตภาวนา ดำรงชีวิตที่ดีงามแห่งสุขภาวะทางปัญญา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

นอกจากนี้ พิพิธ ภัณฑ์กรรมฐาน ยังได้จัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งจำลองสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เพื่อให้ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมพิพิธ ภัณฑ์ได้กราบนมัส การ อีกทั้ง ภายในพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ยังได้รวบรวมสิ่งของสำคัญมากมาย อาทิ ธารพระกรของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ภาพปู่พระฤๅษีปัญจะโภคทรัพย์ ภาพยันต์พระฤๅษีโภคทรัพย์ 5 พระองค์ ภาพพระฤๅษีตาไฟ และตำราใบลานวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมาของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจในพระเครื่องวัตถุมงคล ที่วัดราชสิทธาราม สามารถมาชมและเช่าบูชาพระเครื่อง อาทิ ตุ๊กตาใหญ่เนื้อชินพระสังวรา (ชุ่ม) ปิดตาเนื้อชินพระสังวรา (ชุ่ม) เหรียญที่ระลึกงานปลงพระศพ พระสังวรานุวงศ์เถระ พระสังวราเนื้อทองสำริดห้าเหลี่ยม พระปิดตาเนื้อชินพระสังวรา พระปิดตาเนื้อดินเผาพระสังวรา เป็นต้น

นอกจากนั้น พิพิธภัณฑ์กรรมฐานสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ยังจัดกิจกรรมการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นประจำ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) คณะ 5 ซอยอิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร.0-2465-2552

ส่วนผู้ประสงค์เข้าเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)" เปิดตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ทุกวัน


หัวข้อ: Re: เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 09 พฤษภาคม 2553 12:48:57

(http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics/normal_%BE%C3%D0%CD%A7%A4%EC%B7%D5%E8%20%F4%20%CA%C1%E0%B4%E7%A8%BE%C3%D0%CD%C3%D4%C2%C7%A7%C9%AD%D2%B3%20%CA%C1%E0%B4%E7%A8%BE%C3%D0%CA%D1%A7%A6%C3%D2%AA%20(%CA%D8%A1%20%AD%D2%B3%CA%D1%A7%C7%C3).jpg)
[สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)]

ก า ร เ จ ริ ญ อ นุ ส ส ติ ต่ า ง ๆ

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)

• ธัมมานุสสติ

โดยระลึกว่า ธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้า
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในเบื้องปลาย
พร้อมด้วยอรรถะ และพยัญชนะ
เพราะเป็นธรรมที่บุคคลพึงเห็นเอง
ไม่กำหนดการโดยการกำหนด

ควรเรียกให้มาดู ท่านจงดูธรรมนี้
ควรน้อมนำเข้าไปในจิตของตน ขงอตนให้มีขึ้น
พึงรู้ว่ามรรคเราเจริญแล้ว ผลเราบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งในนิโรธในนิพพานแล

• สังฆานุสสติ

โดยระลึกว่า พระสงฆ์ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง มีปฏิปทาดีงาม
ควรแก่การกราบไหว้บุคคลแปดจำพวก สี่คู่

คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกทาคามิมรรค สกทามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล
อรหัตมรรค อรหัตผล

บุคคลแปดจำพวกสี่คู่นี้
เป็นผู้ควรเป็นผู้ควรรับของอันเขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่การสักการะ เป็นผู้ควรซึ่งทำทักษิณาทาน
เป็นผู้ควรกระทำอัญชลีกราบไหว้
เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

• สีลานุสสติ

ระลึกโดยการพิจารณาว่า
ศีลทั้งหลายของเราไม่ขาด ไม่ด่าง ไม่ทะลุ ไม่พร้อย
ผู้รู้สรรเสริญ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น
เมื่อพระโยคาวจรระลึกถึงศีลทั้งหลายของตน
ไม่ขาด ไม่ด่าง ไม่ทะลุ ไม่พร้อย
เมื่อนั้นจิตไม่มีราคะกลุ้มรุม
จิตย่อมเกิดปราโมทย์มีปีติ สงบเป็นสุข ตั้งมั่นเป็นสมาธิ

(มีต่อค่ะ)


หัวข้อ: Re: เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 09 พฤษภาคม 2553 12:51:45

• จาคานุสสติ

เมื่อจะเจริญจาคานุสสตินั้น
ต้องเป็นผู้มีจิตน้อมไปในจาคะ
คือ การบริจาค มีการแบ่งปันอยู่เป็นนิตย์

โดยเริ่มสมาทานว่า

ตั้งแต่บัดนี้ไป เมื่อผู้รับทานมีอยู่
ถ้าเรายังมิได้ให้ทาน
โดยแม้ข้าวสักคำหนึ่งแล้ว จะไม่บริโภค

แม้ระลึกการบริจาคของตนแล้ว
ใจก็ปราศจากความตระหนี่
ยินดีในการเสียสละ พอใจในการให้

หากผู้ให้หมดอายุแล้ว ย่อมได้อายุทิพย์
และย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

• เทวตานุสสติ

ผู้เจริญเทวตานุสสติ ต้องเป็นผู้มีศรัทธา
ตั้งเทวดาไว้ในฐานแห่งพยาน
ระลึกถึงคุณศรัทธาของตนอย่างนี้ว่า

เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกามีอยู่
เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่
เทวดาเหล่ายามามีอยู่
เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่
เทวดาเหล่าปรินิมิตวัสวัตดีมีอยู่

เทวดาจำพวกพรหมก็มี

เทวดาเหล่านั้นประกอบไปด้วยศรัทธาอย่างใด
จุติในภพนี้แล้วเกิดในภพนั้น
แม้ศรัทธาของเราก็มีอย่างนี้

• มรณานุสสติ

โดยระลึกถึงความตายว่าความตายนี้ย่อมีเพราะสิ้นบุญบ้าง
เพราะสิ้นอายุบ้าง เพราะสิ้นทั้งสองอย่างบ้าง

ความตายย่อมมีแก่บุคคลทั้งหลาย
วัน-คืนล่วงไปชีวิตก็ดับไป อายุก็สิ้นไป

แม้พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก
ราชามหากษัตริย์ก็ยังไม่พ้นจากความตาย แม้แต่ตัวเรา

เมื่อพระโยคาวจรพิจารณาความตายจนได้อารมณ์เต็มที่ถึงที่
จิตย่อมข่มนิวรณธรรมได้
เพราะเกิดขึ้นด้วยกำลังที่ระลึกถึงความตาย

• อุปสมานุสสติ

โดยการระลึกถึง การระลึกถึงกาย การระลึกถึงจิต
ความดับคือ พระนิพพาน หมายเอาพระนิพพาน

อุปสมานุสสตินี้ ย่อมสำเร็จแก่พระอริยะสาวกเท่านั้น
ถึงกระนั้น ปุถุชนผู้หนักในอุปสมะก็ควรใส่ใจด้วย
เพราะการฟังกายจิตก็สงบ จิตก็เลื่อมใสในอุปสมะได้

(มีต่อค่ะ)


หัวข้อ: Re: เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 09 พฤษภาคม 2553 13:07:50
 
(http://www.vcharkarn.com/uploads/144/144376.jpg)


• คำภาวนาในห้องอนุสสติ

๑. ธัมมานุสสติ แจ้งเห็นร่างตนเองทั้งข้างนอกข้างใน

๒. สังฆานุสสติ อยู่แก่เสียงทั้งหลาย ไม่ได้ยิน ไม่รู้ว่าหายใจ (สังโฆ)

๓. สีลานุสสติ แจ้งนั่งสบาย เหมือนต้องลมริ้วๆ (สีโล)

๔. จาคานุสสติ สูงขึ้น ชุ่มชื่นกายเบา (จาโค)

๕. เทวตานุสสสติ เห็นเทวดาสวรรค์ทุกชั้น (สัทธา)

๖. มรณานุสสติ สูญเปล่าสิ้น (มรณัง)

๗. อุปสมานุสสิต เห็นพระนฤพาน (นิโรโธ)

อนุสสติเพื่อประโยชน์แก่การทำจิตให้หมดจด วิสุทธิด้วยอำนาจ อนุสสติ  


   

(ที่มา : หลักปฏิบัติสมถะวิปัสสนากรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน),
รวบรวม-เรียบเรียงโดย พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร วัดราชสิทธาราม, พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๑๕๑-๑๕๔)

โพสต์โดย คุณ กุหลาบสีชา  

 (:88:)   : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19817&view=previous (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19817&view=previous)
Pics by : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาค่ะ