[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เสียงบทสวดมนต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 12 มกราคม 2564 09:02:00



หัวข้อ: สวดจุลชัยยะมงคลคาถา หรือ พระคาถาชัยน้อย บ้างเรียกว่านะโมเม
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 12 มกราคม 2564 09:02:00
เสียงสวดจุลชัยยะมงคลคาถา - หรือพระคาถาชัยน้อย - บ้างเรียกว่านะโมเม
ไม่ทราบที่มาว่าเป็นเสียงสวดจากแหล่งใด แต่ไพเราะมาก


http://www.youtube.com/watch?v=qVXHcIefllI (http://www.youtube.com/watch?v=qVXHcIefllI)




หัวข้อ: Re: สวดจุลชัยยะมงคลคาถา หรือ พระคาถาชัยน้อย บ้างเรียกว่านะโมเม
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 12 มกราคม 2564 09:03:54

ว่าด้วยเรื่องของจุลชัยมงคลคาถา

จุลชัยยะมงคลคาถา หรือ หรือจุลละชัยปกรณ์ หรือ ไชยน้อย เป็นวรรณกรรมภาษาบาลีผสมภาษาลาว
มีลักษณะเป็นบทสวดที่นิยมสวดกันในแว่นแคว้น 2 ฝั่งแม่น้ำโขง ปัจจุบันยังใช้สวดกันอยู่ในกลุ่มวัดป่า
สายพระอาจารย์เสาร์ กันตะสีโล-พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พระคาถานี้พรรณนาชัยชนะของพระพุทธเจ้า เหนือหมู่มารทั้งปวงทั้งล่วงพ้นอำนาจของพรหม มาร
เทวดา ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 และสรรพสัตว์ อีกทั้งความชั่วร้ายทั้งร้าย
เชื่อกันว่า เป็นบทสวดที่มีอานุภาพมาก สามารถขจัดปัดเป่าเรื่องเลวร้าย และภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง
ทั้งแก่ตัวผู้สวดสาธยาย และบ้านเมืองของผู้สวดสาธยายนั้น



หัวข้อ: Re: สวดจุลชัยยะมงคลคาถา หรือ พระคาถาชัยน้อย บ้างเรียกว่านะโมเม
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 12 มกราคม 2564 09:06:33

ที่มาของพระคาถา

จุลชัยยะมงคลคาถา เป็นคาถาในหมวดเดียวกับพระคาถามหาชัยยะมงคลคาถา หรือ ไชยใหญ่ และพระคาถาไชยหลวง
ซึ่งนิยมใช้สวดสาธยายกันในงานมงคลในแถบแว่นแคว้น 2 ฝั่งแม่น้ำโขง การแพร่หลายของพระคาถานี้ปรากฏโดยทั่วไป
ในแถบภาคอีสานของไทย และภาคกลางจนถึงภาคเหนือของลาว จากการสำรวจโดยหอสมุดดิจิตอลหนังสือใบลานลาว
พบคัมภีร์ใบลานเกี่ยวกับบทสวดไชยน้อย ไชยใหญ่ หรือไชยหลวงจำนวนหนึ่ง ทั้งในเมืองหลวงพระบาง
นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงคำม่วนทางภาคกลาง และในแขวงไชยบุรี ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
ซึ่งมีพื้นที่ประชิดกับภาคเหนือของไทย

ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของจุลชัยยะมงคลคาถา มีอยู่หลายทฤษฎี ข้อมูลที่แพร่หลายที่สุดในประเทศไทย คือการระบุว่า
พระมหาปาสมันตเถระ พระเถระแห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ผู้อุปการะพระเจ้าฟ้างุ้ม มหาราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง
และพระเถรผู้อัญเชิญพระบางและพระไตรปิฎกมายังแผ่นดินลาว คือผู้รจนาพระคาถานี้ ซึ่งหากทฤษฎีนี้เป็นความจริง
พระคาถานี้น่าจะรจนาขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ในช่วงก่อนหรือหลังจากที่พระเถระเดินทางจากกัมพูชา
มาประกาศพระศาสนาในอาณาจักรล้านช้างในปีพ.ศ. 1902

ทั้งนี้ ผู้แต่งจุลไชยปกรณ์ หรือตำนานพระคาถาจุลชัยยะมงคลคาถา ตามทัศนะของ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
แห่งวัดไตรสิกขาทลามลตาราม บ้านฝาง ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร คือพระมหาเทพหลวง
แห่งนครหลวงพระบาง โดยนำความจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกา โดยรจนาเป็นภาษาบาลีผสมกับภาษาพื้นเมือง
แต่ไม่ปรากฏว่าระบุถึงปีที่รจนาแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการในประเทศลาวบางรายระบุว่า จุลชัยยะมงคลคาถา เป็นผลงานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก
หรือ "ญาคูขี้หอม" โดยท่านมีช่วงชีวิตในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 โดยฝ่ายลาวเรียกพระคาถานี้ว่า
"จุลละไชยยะสิทธิมงคลคาถา" หรือ "จุลละไซยะสิททิมุงคุนคาถา"




หัวข้อ: Re: สวดจุลชัยยะมงคลคาถา หรือ พระคาถาชัยน้อย บ้างเรียกว่านะโมเม
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 12 มกราคม 2564 09:10:43

ตำนานเชิงมุขปาฐะ

ทั้งนี้ มีตำนานในเชิงมุขปาฐะเกี่ยวกับที่มาของพระคาถานี้ หนึ่งในนั้นพรรณนาโดยพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
แห่งวัดไตรสิกขาทลามลตาราม บ้านฝาง ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร ซึ่งได้กล่าวถึงความเป็นมา
ของจุลลไชยยะปกรณ์ หรือบทขัด หรือตำนานของจุลชัยยะมงคลคาถา ไว้ว่า เป็นพระคาถาที่แสดงถึงชัยชนะ
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือนัยหนึ่งคือชัยชนะของพระพุทธศาสนาต่อสิ่งชั่วร้ายที่เคยมีอิทธิพล
ในแถบถิ่นลุ่มแม่น้ำโขง โดยกล่าวว่า ต้นบทจุลชัยยะมงคลคาถา ที่เรียกว่า จุลละชัยปกรณ์ ได้บอกเล่าถึง
เหตุการณ์เบื้องหลังเหตุการณ์นี้ว่า เมื่อครั้งพระโสณะ และพระอุตระ รับอาราธนาพระเจ้าอโศกมหาราช
และพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เพื่อมาเป็นสมณทูตประกาศพระศาสนาในแผ่นดินสุวรรณภูมินั้น พระเถระทั้ง 2 รูป
ได้ผจญกับปีศาจท้องถิ่น ในรูปของเงือก หรือผีเสื้อน้ำ ซึ่งได้ซักถามพระเถระว่า สิ่งใดฤๅที่เรียกว่า เทวธรรม
พระเถระจึงวิสัชนาเป็นพระคาถาว่า หิริโอตัปปะสัมปันนาฯ เป็นอาทิ ซึ่งเป็นพระคาถาเทวธรรม
ซึ่งยกมาจากเทวธรรมชาดก และปรากฏอยู่ในช่วงปกรณ์ หรือพรรณนาที่มาของจุลชัยยะมงคลคาถา ความว่า


อ้างถึง

   สุโข พุทธานัง อุปปาโท   สุขา สัทธัมมะเทสะนา
   สุขา สังฆัสสะ สามัคคี   สะมัคคานัง ตะโป สุโข
   ทิวา ตะปะติ อาทิจโจ   รัตติง อาภาติ จันทิมา
   สันนัทโธ ขัตติโย ตะปะติ   ฌายี ตะปะติ พ๎ราห๎มะโณ
   อะถะ สัพพะมะโหรัตติง   พุทโธ ตะปะติ เตชะสา
   หิริโอตตัปปะ สัมปันนา   สุกกา ธัมมา สะมาหิตา
   สันโต สัปปุริสา โลเก   เทวาธัมมาติ วุจจะเร
   สันติปักขา อะปัตตะนา   สันติปาทา อะวัญจะนา
   มาตาปิตา จะ นิกขันตา   ชาตะเวทะปะติกกะมะ
   สุวัณณะภูมิ คัจฉันต๎วานะ   โสณุตตะรา มะหิทธิกา
   ปิสาเจ นิทธะมิต๎วานะ   พ๎รัห๎มะชาลัง อาเทเสยยุง
   เอเต สัพเพ ยักขา ปะลายันตุ ฯ



ในจุลลไชยยะปกรณ์ ยังอ้างข้อความจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย ที่ระบุว่า
"สุวณฺณภูมิ คจฺฉนฺตฺวาน โสณุตฺตรา มหิทฺธิกา ปิสาเจ นิทฺธมิตฺวาน พฺรหฺมชาลํ อเทสิสุ"
ความว่า "พระโสณะและพระอุตตระผู้มีฤทธิ์มาก ไปสู่สุวรรณภูมิ ปราบปรามพวกปีศาจแล้ว ได้แสดงพรหมชาลสูตร"
ซึ่งคัมภีร์สมันตปาสาทิกาพรรณนาไว้ว่า พระโสณะและพระอุตตระ ได้แสดงอภินิหาริย์ปราบนางผีเสื้อน้ำ
และทรงแสดงธรรมพรหมชาลสูตร อันเป็นสูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ ประกอบด้วย ศีลน้อย ศีลกลาง และศีลใหญ่
เป็นการสั่งสอนให้เวไนยสัตว์ทั้งหลายประพฤติตนอยู่ในสรณะและศีล พระธรรมเทศนาของพระเถระเจ้า
ยังให้ชาวสุวรรณภูมิประเทศได้บรรลุธรรมประมาณ 60,000 คน อีกทั้งยังมีกุลบุตรออกบวชประมาณ 3,500 คน

แม้ว่า มุขปาฐะเกี่ยวกับตำนานของจุลชัยยะมงคลคาถา และข้อความจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกา จะมีความแตกต่างกัน
ในรายละเอียด (มุขปาฐะว่าพระเถระเจ้าวิสัชนาเทวธรรม ขณะสมันตปาสาทิกาว่า พระเถระแสดงพรหมชาลสูตร)
แต่สิ่งที่สอดคล้องกันคือ การประกาศความยิ่งใหญ่ของพระรัตนตรัยให้ชาวพื้นเมืองได้ประจักษ์
สามารถปราบมิจฉาทิษฐิทั้งหลาย ให้หันมาเชื่อถือศรัทธาในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันเป็นสัมมาทิษฐิ




หัวข้อ: Re: สวดจุลชัยยะมงคลคาถา หรือ พระคาถาชัยน้อย บ้างเรียกว่านะโมเม
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 12 มกราคม 2564 09:13:07

ความเชื่อของพุทธศาสนิกชน

พุทธศาสนิกชนในแถบลุ่มน้ำโขง นิยมสวดพระคาถานี้ โดยเชื่อว่าจะยังให้เกิดความเป็นสวัสดิมงคล
ขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นไป โดยกล่าวกันว่า แม้แต่หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอริยเจ้าแห่งจังหวัดเลย
แนะนำให้สาธุชนได้สวดสาธยาย โดยเฉพาะในงานมงคลพิธี ท่านกล่าวไว้ว่า

"ถ้ามีศึกสงครามหรือมีความยุ่งยากในบ้านเมือง หรือแม้แต่ในครอบครัว
ให้สาธยายมนต์บทนี้เป็นประจำจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้"





หัวข้อ: Re: สวดจุลชัยยะมงคลคาถา หรือ พระคาถาชัยน้อย บ้างเรียกว่านะโมเม
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 12 มกราคม 2564 09:14:31


บทสวดจุลชัยมงคลคาถา

นะโม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา
เตชะ ปะสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมสุรา
สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา
สะมุททา ภูตุง คังคา จะ สะหรัมพะ ชัยยะ ปะสิทธิ ภะวันตุ เต

ชัยยะ ชัยยะ ธ รณิ ธ รณี อุทะธิ อุทะธี นะ ทิ นะ ที
ชัยยะ ชัยยะ คะคนละตนละนิสัย นิรัยสัย เสน นะ เมรุราช ชะพล น ระชี
ชัยยะ ชัยยะ คัมภีระ โสมภี นาเคน ทะนาคี ปิศาจ จะ ภูตะกาลี
ชัยยะ ชัยยะ ทุน นิมิต ตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา นะมุขะชา

ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัมปาทินาคะ กุละคัณโถ

ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุชง สีหะ เพียคฆะ ทีปา
ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชิตะ ชิตะ เสน นารี ปุนะสุทธิ น ระดี

ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยา
ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สาน ติน สะทา

ชัยยะ ชัยยะ มังกะ ราชรัญญา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข

ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหเมนทะคะณา

ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชชัย ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพพัง

ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจกะพุทธะสาวัง ชัยยะ ชัยยะ มะเหสุโร หะโรหะริน เทวา

ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬหะโก วิรูปักโข จันทิมา ระวิ

อินโท จะ เวนะเตยโย จะ กุเวโร วะรุโณปิจะ
อัคคิ วาโย จะ ปาชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฐะโก
อัฏฐาระสะ มะหาเทวา สิทธิตาปะสะอาทะโย
อิสิโน สาวะกา สัพพา ชัยยะ ราโม ภะวันตุ เต
ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะกัง
เอเตนะ ชัยยะเตเชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ เต
เอเตนะ พุทธะเตเชนะ โหตุ เต ชัยยะมังคะลัง


ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา พ๎รัหมะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา อินทะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา เทวะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา สุปัณณะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา นาคะคะณา มะเหสิโน

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา สะหรัมพะคะณา มะเหสิโน


ชะยันโต โพธิยา มูเล สักกะยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตฺวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง

สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พ๎รัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตฺวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ


เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
สุณันตุ โภนโต เย เทวา อัสมิง ฐาเน อะธิคะตา
ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา
รักขันตุ สัพพะสัตตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง

ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพพะทา
กายาสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง