[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 12 มกราคม 2564 20:13:25



หัวข้อ: ระเบียบเนื่องด้วยหนังสือสุทธิ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 มกราคม 2564 20:13:25
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46568107025490_imagesSKQOQ47X_Copy_.jpg)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ชื่น ราชสกุล นภวงศ์ ณ อยุธยา)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68054317144883_130046730_948588095548895_3511.jpg)

ระเบียบเนื่องด้วยหนังสือสุทธิ

สมเด็จพระมหาสมณะ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระปรารภถึงการออกการใช้หนังสือสุทธิอันไม่เป็นระเบียบ ทรงวางระเบียบไว้ดังต่อนี้ไป

๑. หนังสือสุทธินั้น ได้แก่ หนังสืออันเจ้าอาวาสออกให้แก่ภิกษุสามเณรผู้ลาออกจากวัด เพื่อไปอยู่อื่นหรือเพื่อเดินทาง เรียกว่า หนังสือสุทธินั้น เพราะแสดงความบริสุทธิ์ของเธอ ฯ

๒. การออกหนังสือสุทธิ มี ๒ อย่าง ออกเจาะจงถึงผู้รับ ๑ ออกเป็นกลาง ๑ ฯ

๓. เมื่อออกให้ภิกษุสามเณรผู้จะไปอยู่วัดอื่น ควรออกเจาะจงถึงผู้รับ คือ มีหนังสือฝากถึงเจ้าอาวาสแห่งวัดที่ภิกษุสามเณรรูปนั้นจะไปอยู่ ที่ไม่กล้าฝาก ควรงดคำฝากเสีย เป็นแต่แจ้งความปรารถนาของผู้ไป ฯ  เมื่อออกให้ภิกษุสามเณรผู้ปรารถนาจะเดินทางไปอื่นชั่วคราวแล้วจะกลับมาวัดเดิม ควรออกเป็นกลาง โดยฐานเป็นหนังสือเดินทาง เพื่อจะได้แสดงแก่วัดตามทาง ฯ

๔. ในหนังสือสุทธิทั้งสองชนิดนั้นสำหรับภิกษุ ควรระบุว่า เป็นผู้มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์ในวัดที่ไปจาก กล่าวคือ ได้ร่วมอุโบสถ ปวารณา สังฆกรรมอยู่ด้วยกัน นอกจากนี้ บอกชื่อภิกษุ ชื่อวัดที่ไปจาก ชื่อวัดที่จะไปอยู่ หรือตำบลที่จะไป ธุระเป็นเหตุไป ยิ่งบอกให้รู้ว่า อุปสมบทที่ไหน ใครเป็นอุปัชฌายะ ใครเป็นกรรมวาจาจารย์ยิ่งดี สำหรับสามเณรไม่มีข้อว่าด้วยสังวาส เป็นแต่บอกให้รู้ว่าเป็นสามเณรโดยปกติก็พอ ฯ

๕. ภิกษุสามเณรที่เจ้าอาวาสให้ออกเสียจากวัด โดยฐานทำผิด แต่ไม่ถึงห้ามสังวาส ควรออกหนังสือชี้แจงเหตุ เจาะจงถึงเจ้าอาวาสแห่งวัดที่ภิกษุสามเณรรูปนั้นจะไปอยู่ หรือออกให้เป็นกลาง สุดแต่จะอยู่ได้ในวัดใดวัดหนึ่ง ฯ  ถ้าความผิดนั้นถึงห้ามสังวาส ไม่ควรออกหนังสือให้เลย ฯ

๖. หนังสือสุทธิอันออกเจาะจงถึงผู้รับนั้น ตั้งแต่ผู้ถือไปได้เข้าอยู่ในวัดใหม่แล้ว สิ้นอายุใช้ไม่ได้อีก ถ้าจะออกจากวัดนั้นต่อไปอีก ต้องถือหนังสือสุทธิของวัดนั้นไป ฯ

๗. หนังสือสุทธิอันออกเป็นกลางนั้น ใช้ได้ชั่วคราว เดินทางไปถึงตำบลอันระบุไว้ในหนังสือนั้นแลกลับมา ถ้ายังไม่กลับ ล่วงพรรษาคือฤดูฝนแล้ว สิ้นอายุใช้ไม่ได้อีก ต้องถือหนังสือสุทธิของวัดที่อยู่จำพรรษานั้นไป ฯ

๘. เจ้าอาวาสไม่ควรรับภิกษุสามเณรผู้ถือหนังสือสุทธิมาไว้ง่าย ๆ ควรเลือกรับเฉพาะผู้มีคนรู้จักแลชักโยงเข้ามา หรือรู้จักกับเจ้าอาวาสแห่งวัดเดิมผู้ฝาก แต่จะยอมให้ภิกษุสามเณรผู้ถือหนังสือสุทธิเดินทางมาพักอยู่ชั่วคราว มีกำหนดวันไป ได้อยู่ ฯ

๙. ครั้นเลือกรับไว้แล้ว ควรยึดหนังสือสุทธินั้นไว้ ไม่ควรปล่อยให้เอาไว้เป็นเครื่องพิสูจน์ต่อไป ในเมื่อต้องออกจากวัดนั้นเพราะความเสีย เมื่อภิกษุสามเณรรูปนั้นลาออกจากวัดด้วย ไม่มีความเสีย พึ่งออกหนังสือสุทธิให้ใหม่ ฯ

๑๐. เจ้าอาวาสพึงประพฤติเป็นธรรมในการออกหนังสือสุทธิ ผู้ไปควรจะได้ พึงให้ ไม่ควรจะได้ ไม่พึงให้ พึงรักษาหนังสือสุทธิให้เป็นที่เชื่อฟังได้ ฯ

๑๑. ถ้าเจ้าอาวาสไม่ให้หนังสือสุทธิแก่ผู้ควรให้ เจ้าคณะได้รับคำร้อง ไต่สวนได้ความจริง พึ่งออกหนังสืออนุญาตให้ผู้นั้นอยู่ในวัดที่ปรารถนาจะอยู่ ฯ

๑๒. ข้างท้ายนี้ มีตัวอย่างหนังสือสุทธิทั้ง ๒ ชนิดไว้ให้ดูด้วย ฯ  


ระเบียบนี้ ทรงวางไว้ ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ ฯ
(ลงพระนาม) กรม-วชิรญาณวโรรส
(ที่มา : แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๓)

ขอขอบคุณที่มา : เพจเล่าเรื่อง วัดบวรฯ