[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 20 มกราคม 2564 19:53:47



หัวข้อ: ตำนานพระธาตุดอยตุง
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 20 มกราคม 2564 19:53:47

ตำนานพระธาตุดอยตุง

(https://www.chiangmainews.co.th/wp-content/uploads/2016/12/DSC_0686.jpg)


           เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงที่มาของพระธาตุดอยตุง (หากปริวรรตตามต้นฉบับภาษาถิ่นล้านนาจะเขียนด้วยตัว ท เป็น "ดอยทุง" ที่แปลว่า ธง หรือดอยธง คือธงตะขาบ ดังปรากฏมีรูหินที่ในบริเวณใกล้กับพระธาตุ อันเป็นที่ปักเสาธงมาก่อน ภาษาไทยกลางเขียนตามเสียงอ่านเป็น "ดอยตุง") ประดิษฐานบนดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บนความสูง ๑,๓๖๔ เมตรจากระดับน้ำทะเล
หนังสือ "ประวัติพระธาตุดอยตุง"(๒๕๓๖) ที่รวบรวมโดยคณะกรรมการค้นคว้าวิจัยประวัติพระธาตุดอยตุง ระบุถึงแหล่งข้อมูลลายลักษณ์ของตำนานพระธาตุดอยตุงว่า มีตำนาน ๒ ตำนาน ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระธาตุดอยตุงและถ้ำต่าง ๆ คือ
๑) ตำนานพระธาตุดอยตุง
๒) ตำนานถ้ำปุ่ม ถ้ำเปลวปล่องฟ้า
เรื่องราวบางส่วนของตำนานพระธาตุดอยตุงและตำนานถ้ำปุ่มฯ ยังปรากฏในตำนานอื่น ๆ เช่น ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ และตำนานสิงหนวัติ และพบว่าไม่ปรากฏต้นฉบับเดิมของทั้งสองตำนานนี้ คงเหลือเพียงฉบับคัดลอกในใบลาน ปกติมักจะพบตำนานทั้งสองนี้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยจะเขียนตำนานดอยตุงก่อน แล้วตามด้วยตำนานถ้ำปุ่มฯ บางฉบับนอกจากจะมีตำนานทั้งสองเรื่องแล้ว ยังมีเรื่องอื่นรวมอยู่ด้วย

          เนื้อเรื่องเริ่มต้นด้วยคาถาภาษาบาลี กล่าวถึงพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในภัทรกัปนี้ หลังจากบิณฑบาตที่เมืองราชคฤห์ และเมืองมิถิลาแล้ว ทุกพระองค์ก็ได้เสด็จมายังภูเขานี้ และประทับนั่งบนยอดเขา ในอนาคตพระศรีอริยเมตไตรยก็จะทรงมีพระจริยวัตรอย่างนี้เช่นกัน  จากนั้นกล่าวถึงครั้งสมัยพุทธกาลว่า ยังมีภูเขาอยู่ ๓ อัน ตั้งอยู่ปัจฉิมทิศแห่งชยบุรี (ต้นฉบับใบลานใช้คำว่าภูเขา ลักษณะนามคือ อัน) อันหนึ่งชื่อว่า ภูเขาท่า ตั้งอยู่ทางทิศอุตตรกล้ำเหนือ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) อันหนึ่งชื่อว่า ภูเขาย่าเจ้า อยู่ท่ามกลาง อันหนึ่งชื่อว่า ภูเขาปู่เจ้า ตั้งอยู่ทางทักขิณะ ลำดับกันเป็นก้อนเส้าประสุมกัน

          มีนิทานของภูเขา ๓ ก้อนนี้ ว่าในสมัยพุทธกาล ยังมีมิลักขุผัวเมียคู่หนึ่ง ผัวชื่อว่า ปู่เจ้าลาวจก เมียชื่อ ย่าเจ้าลาวจก ทั้งสองมีจกเจา (จอบ) คนละ ๕๐๐ ลูก จึงได้ชื่อว่าลาวจก ปลูกถั่วปลูกงาไปขายแก่ชาวเมืองหาเลี้ยงชีพ ทั้งสองเป็นใหญ่แก่มิลักขุทั้งหลาย ปู่เจ้าอยู่ในดอยมหาธาตุแห่งนั้น จึงเรียกชื่อดอยนั้นว่า ดอยปู่เจ้า ส่วนเมียอยู่ดอยทางเหนือถัดไป จึงเรียกว่าดอยย่าเจ้า นั่นแล
สองผัวเมียมีลูกชาย ๓ คน ชื่อ ลาวหม้อ ลาวล้าน และลาวกลิ่นรส อาศัยอยู่ดอยลูกทางเหนือ จึงมีคนเอาของไปค้าขายกันที่นั่น จึงได้ชื่อว่า ดอยท่า เพราะเป็นท่าค้าขายของ นั่นแล จากนั้นกล่าวถึงเรื่องที่มาของชื่อตลาด และชื่อเมือง ว่ามาจากชื่อที่เกิดจากการค้าขาย เช่น กาดไล่ เมืองบวบ เป็นต้น จากนั้นกล่าวถึงการให้ลูกทั้งสามไปครองเมืองต่าง ๆ คือ เมืองสี่ตวง เมืองคว้าน และเมืองเอก ตามลำดับ

          ในครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าเดินจงกรมอยู่ที่ตีนเขาคิชฌกูฏ พระเทวทัตเถระคิดจะกำจัดทำร้ายพระองค์ เพื่อจะได้ขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าแทน จึงกลิ้งหินก้อนใหญ่ลงจากเขาใส่พระองค์ แต่พระพุทธเจ้ามีบุญสมภารมาก จึงมีหินอีกก้อนหนึ่งกลิ้งมาบังไว้ แต่ด้วยมีความเมตตาไม่ให้พระเทวทัต อกแตกตาย พระองค์จึงเหยียดเท้าให้ถูกหินก้อนหนึ่งเป็นแผลจ้ำเลือด หมอชีวกกุมารจึงมารักษาให้พระองค์   จากนั้นพระพุทธองค์ก็เสด็จออกจากเขาคิชฌกูฏ ลงสู่แม่น้ำขลนทีแม่ของ (แม่น้ำโขง) ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันตก เห็นภูเขา ๓ ลูกนั้น จึงเสด็จมาทางอากาศพร้อมพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ประทับอยู่บนหินใหญ่ก้อนหนึ่งที่มีสัณฐานเหมือนมะนาวผ่าครึ่ง พระองค์ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออก แล้วทำนายว่าเมืองนี้จะเป็นเมืองอันใหญ่รุ่งเรืองในภายภาคหน้า เป็นที่ตั้งแห่งศาสนาตราบเท่า ๕,๐๐๐ วรรษา และรับสั่งแก่พระอานนท์ว่า เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ให้นำเอาสรีรธาตุกระดูกด้ามมีดเบื้องซ้าย มาประดิษฐานไว้ที่ก้อนผาอันเหมือนมะนาวผ่าครึ่งนี้

(https://www.thairath.co.th/media/dFQROr7oWzulq5FZYkPar51cQgFiUzUFiKH01GF4XQ3nkxYB3JALxw3fOu1sB200yWi.webp)


วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา