[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เกร็ดศาสนา => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 20:06:34



หัวข้อ: เกร็ดความรู้ธรรมะ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 20:06:34
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69119228132896_81841600_461168861226356_49136.jpg)

อธิษฐานธรรม

อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ความตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง
๑. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ
จากหนังสือนวโกวาท


หัวข้อ: Re: เกร็ดความรู้ธรรมะ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 พฤษภาคม 2564 20:10:16
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTEOxY0HD2uc49rvg80GBsuRWH5XazwPeezxQ&usqp=CAU)

มัชชะ

ธรรมเนียมดื่มมัชชะ

“มัชชะ” ในที่นี้มิได้หมายถึง “ชาเขียว” หากแต่แปลว่า “น้ำเมา หรือของเมา”

เราอาจคุ้นเคยกับคำว่า “มัชชะ” ในศีล ๕ ข้อที่ว่า “สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา” ที่แปลกันว่า “การดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยมัชชะอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท”

“สุราเมรยมชฺช” ประกอบด้วยการประสมกันของ ๓ คำ คือ “สุรา” “เมรัย” และ “มัชชะ”

คำว่า “สุรา” แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องดื่มที่ทำผู้ดื่มให้เป็นคนกล้า”

คำว่า “เมรย” แปลตามศัพท์ว่า “ของเป็นเหตุให้มึนเมา” หรือ “ของที่ยังความมึนเมาให้เกิด”

ส่วนคำว่า “มัชชะ” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเหตุบ้าคลั่งแห่งผู้คน

อันเป็นคุณลักษณะของคนที่ดื่มของมึนเมานั้น มักทำให้เป็นคนกล้า และเมื่อดื่มแล้วเป็นเหตุให้คนเราบ้างคลั่ง

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนิพนธ์ พระประวัติตรัสเล่า จากความทรงจำภายหลังทรงลาผนวชจากสามเณร ทั้งยังได้ทรงนำความทรงจำในคราวนั้นมาสั่งสอนสานุศิษย์ ไว้ตอนหนึ่งว่า “ตั้งแต่เกิดธรรมเนียมเลี้ยงโต๊ะอย่างฝรั่ง ธรรมเนียมดื่มมัชชะ ก็พลอยเกิดตามขึ้นด้วย แต่ในครั้งนั้นใช้มัชชะเพียงชนิดเป็นเมรัย ยังไม่ถึงชนิดสุรา ฯ

เราตื่นธรรมเนียมฝรั่ง ปรารถนาจะได้ชื่อในทางดื่มมัชชะทน พยายามหัดเท่าไรไม่สำเร็จ รสชาติก็ไม่อร่อย ดื่มเข้าไปมากก็เมาไม่สบาย เพราะเหตุเช่นนี้เราจึงรอดจากติดมัชชะมาได้ ฯ

คนติดมัชชะไม่เป็นอิสระกับตัว ไม่มีจะกิน เดือดร้อนไม่น้อย เมาแล้วปราศจากสติคุมใจ ทำอะไรมักเกินพอดี ที่สุดหน้าตาแลกิริยาก็ผิดปกติ กินเล็กน้อยหรือบางครั้ง ท่านไม่ว่าก็จริง แต่ถ้าเมาแล้วทำเกินพอดี ท่านไม่อภัย ถ้าติดจนอาการปรากฏ ท่านไม่เลี้ยง ศิษย์ของเราผู้แก่วัดสึกออกไป ยังไม่เคยรู้รส จงประหยัดให้มาก เพราะยากที่จะกำหนดความพอดี ฯ”


#พระมหาสมณานุสรณ์
#วชิรญาณวโรรสานุสรณ์