หัวข้อ: พระรถคำฉันท์ วรรณกรรมร้อยกรองสมัยอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 มิถุนายน 2564 13:44:36 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73088319930765_206410617_1171834013332277_653.jpg) พระรถคำฉันท์ คำนำ บรรพชนไทยได้สร้างสรรค์วรรณกรรมร้อยกรองจำนวนมากไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ วรรณกรรมดังกล่าวย่อมสะท้อนถึงความคิด ความเชื่อ วิถีชีวิตและความเป็นไปของสังคมในยุคสมัยที่แต่งเรื่องนั้นๆ อาจกล่าวได้ว่าวรรณกรรมเป็นจดหมายเหตุรูปแบบหนึ่งซึ่งกวีเป็นผู้บันทึก ดังนั้นข้อมูลต่างๆ ที่สอดแทรกอยู่ในแต่ละเรื่อง จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาสืบค้นเรื่องราวในอดีต สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ได้ตรวจสอบชำระและจัดพิมพ์เผยแพร่วรรณกรรมของชาติมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีวรรณกรรมโบราณอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้ดำเนินการ วรรณกรรมเหล่านี้บันทึกไว้ในเอกสารสมุดไทยซึ่งนับวันจะชำรุดสูญสลายไปตามกาลเวลา หลายเรื่องสูงด้วยคุณค่าในเชิงวรรณศิลป์สมควรที่จะเผยแพร่และรักษาสืบทอดให้คงอยู่เป็นสมบัติของชาติสืบไป เรื่อง พระรถคำฉันท์ นี้สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีสำนวนโวหารไพเราะ กรมศิลปากรยังไม่เคยจัดพิมพ์มาก่อน ต้นฉบับเป็นเอกสารสมุดไทย เก็บรักษาไว้ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรพิจารณาเห็นว่า เรื่องดังกล่าวมีคุณค่าต่อการศึกษาด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ จึงมอบให้นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ ๘ ว. ข้าราชการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์เป็นผู้ตรวจสอบชำระและจัดพิมพ์เผยแพร่ อนึ่ง เรื่อง พระรถเสนหรือที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ พระรถเมรี เป็นนิทานที่ได้รับความนิยมตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กวีไทยนำมาสร้างสรรค์เป็นวรรณกรรมร้อยกรองหลายรูปแบบ เช่น กาพย์ขับไม้ คำกลอนและบทละครซึ่งสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กำลังตรวจสอบชำระเพื่อจัดพิมพ์ในโอกาสต่อไป กรมศิลปากรหวังว่าหนังสือ พระรถคำฉันท์นี้ จะอำนวยประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจวรรณกรรมไทยโดยทั่วกัน อธิบดีกรมศิลปากร สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ๘ เมษายน ๒๕๔๘ อธิบายเรื่อง พระรถคำฉันท์ [๑]เรื่องพระรถเมรี หรือ เรื่องนางสิบสอง เป็นนิทานพี้นบ้านที่ชาวไทยรู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยาหรือก่อนหน้านั้นแล้ว เมื่อพระเถระชาวเชียงใหม่รจนาคัมภีร์ปัญญาสชาดกได้นำเรื่องนี้ไปปรับเป็นชาดกด้วยเรื่องหนึ่ง วรรณคดีสำคัญๆ หลายเรื่องที่แต่งในสมัยอยุธยาอ้างถึงเรื่องพระรถเมรีไว้เช่น โคลงนิราศหริภุญไชย
กวีไทยสมัยอยุธยานิยมนำเรื่องพระรถเสน มาแต่งเป็นคำประพันธ์หลายรูปแบบ เช่น กาพย์ขับไม้ คำฉันท์และบทละคร เป็นต้น กาพย์ขับไม้เรื่องพระรถเสนนั้นสันนิษฐานว่า น่าจะแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น คำศัพท์ที่ปรากฏมีลักษณะใกล้เคียงกับลิลิตพระลอ เนื้อหาเท่าที่พบเป็นตอนอภิเษกพระรถเสนกับนางเมรี กาพย์ขับไม้สำนวนนี้ใช้เป็นบทสำหรับ “ขับไม้” ในพระราชพิธีสมโภชมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สืบมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดีซึ่งเชื่อกันว่าแต่งขึ้นใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอนที่ว่าด้วยการแต่งคำประพันธ์ “สุรางคณาปทุมฉันท์” นำข้อความจากเรื่องนางสิบสองมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้
ตัวอย่างที่ปรากฏในหนังสือจินดามณี ไม่พบฉบับที่เป็นเรื่องยาวหรือเอกสารอื่นๆ คำประพันธ์ดังกล่าวน่าจะตัดมาจากตอนต้นของเรื่องพระรถเมรีซึ่งสันนิษฐานว่าต้นฉบับน่าจะสูญไปแล้ว บทละครนอกสมัยอยุธยาเรื่องพระรถเสนนั้น พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ได้ต้นฉบับมาแต่เมืองเพชรบุรี แล้วคัดลอกถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื้อหาในบทละครสำนวนนี้เป็นตอนพระรถเสนกับนางเมรี “ลงสวน” ดำเนินเรื่องไปจนถึงพระรถเสนเตรียมที่จะหนี ส่วน เรื่อง พระรถคำฉันท์ เท่าที่พบในการตรวจสอบชำระครั้งนี้มีหลายสำนวน สำนวนที่พิมพ์อยู่ในหนังสือนี้ เริ่มเนื้อความตั้งแต่นางเมรีบรรทมตื่นไม่พบพระรถเสนก็ออกติดตาม ดำเนินไปจนจบเรื่อง สันนิษฐานว่า คำฉันท์สำนวนนี้น่าจะแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังจะอธิบายรายละเอียดต่อไปข้างหน้า เรื่องย่อ เนื่องจากกวีนิพนธ์คำฉันท์เรื่องพระรถเสนทุกสำนวนมิได้ดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นไปจนจบบริบูรณ์ ในที่นี้จึงขอนำเรื่องย่อจากรถเสนชาดกในปัญญาสชาดกมาประกอบดังนี้ ครั้งศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเศรษฐีผู้หนึ่งนามว่านนท์ได้นำกล้วยน้ำว้า ๑๒ ผล ไปถวายพระพุทธเจ้าแล้วอธิษฐานขอให้มีบุตรธิดาไว้สืบสกุล อยู่มาภรรยาก็ตั้งครรภ์ไห้กำเนิดธิดา ๑๒ คน โดยลำดับ ตั้งแต่นางสิบสองเกิดมาเศรษฐีก็เริ่มยากจนลง กระทั่งไม่มีอาหารพอเพียงที่จะเลี้ยง จึงพาธิดาทั้งหมดขึ้นเกวียนนำไปปล่อยเสียในป่า นางพากันเดินหลงทางไปจนถึงสวนเมืองคชปุรนครของนางยักขิณีสันธมาร นางยักษ์พบเข้าก็เมตตานำไปเลี้ยงไว้ อยู่มานางสิบสองรู้ว่านางสันธมารเป็นยักขิณี จึงหนีไปจนถึงเมืองกุตารนครของพระราชารถสิทธิ์ พากันขึ้นไปอยู่บนต้นไทรริมสระ นางทาสีไปตักนํ้าสรงพบเข้าจึงมาทูลท้าวรถสิทธ์ๆ จึงรับนางทั้งสิบสองไว้เป็นมเหสี ฝ่ายนางสันธมารมีความโกรธแค้นยิ่ง ครั้นทราบข่าวว่านางสิบสองไปเป็นมเหสีของท้าวรถสิทธ์จึงออกติดตามไปจนถึงกุตารนคร แปลงร่างเป็นนางงามนั่งอยู่บนต้นไทรริมสระน้ำเช่นเดียวกับนางสิบสอง เมื่อท้าวรถสิทธิ์ทราบจึงให้รับนางมาตั้งเป็นอัครมเหสี คราวหนึ่งนางสันธมารแปลงแกล้งทำเป็นป่วยแล้วทูลท้าวรถสิทธ์ว่า หากควักดวงตานางสิบสองเสียจึงจะหายจากโรค ท้าวรถสิทธ์ต้องเสน่ห์จึงยอมให้นางยักษ์ควักดวงตานางสิบสองเสียทั้งสองข้าง เว้นแต่นางน้องสุดท้องนั้นควักตาออกเพียงข้างเดียว แล้วฝากกองลมให้นำดวงตาทั้งหมดไปส่งให้นางกังรีผู้เป็นธิดาเก็บรักษาไว้ที่เมืองคชปุรนคร ขณะนั้นพี่สาวทั้งสิบเอ็ดคนกำลังตั้งครรภ์ ท้าวสักกเทวราชจึงอาราธนาพระโพธิสัตว์ให้มาปฏิสนธิในครรภ์ของน้องคนสุดท้อง ท้าวรถสิทธิ์ให้ขังนางสิบสองไว้ในอุโมงค์ เมื่อครบกำหนดนางผู้พี่ทั้งสิบเอ็ดคนก็คลอดบุตร ด้วยความอดอยากจึงฉีกเนื้อบุตรแบ่งกันกิน ภายหลังพระโพธิสัตว์จึงคลอดจากครรภ์มารดา นางน้องสุดท้องเฝ้าถนอมเลี้ยงดูจนเจริญวัยให้นามว่า “รถเสน” อยู่มารถเสนกุมารก็ออกมาจากอุโมงค์ได้ด้วยอำนาจบารมี เที่ยวเล่นชนไก่พนันแลกอาหารมาเลี้ยงมารดากับฟ้า ไก่ของพระรถเสนชนะพนันทุกคราวจนความเลื่องลือไปถึงท้าวรถสิทธิ์ จึงให้นำตัวไปเฝ้า เมื่อทราบว่าเป็นโอรสก็มีความรักใคร่ นางสันธมารทราบเข้าก็คิดหาอุบายที่จะกำจัดพระรถเสน นางแสร้งทำเป็นป่วยหนัก ทูลท้าวรถสิทธิ์ว่า ยาที่จะรักษาได้มีอยู่ที่เมีองคชปุรนคร ขอให้พระรถเสนไปนำมาให้ พระรถเสนทูลอาสาแล้วเลือกม้าพระที่นั่งตัวหนึ่งเป็นพาหนะสำหรับเดินทาง นางสันธมารแปลงเขียนจดหมายฉบับหนึ่งผูกคอม้าไปเป็นความว่า ถ้าพระรถเสนไปถึงเมืองยักษ์เมื่อไรให้ฆ่าเสีย ม้าพาพระรถเสนเหาะไปถึงกลางทางก็พากันแวะพักที่อาศรมของพระฤๅษี พระฤๅษีมีความเมตตาจึง “แปลงสาร” เปลี่ยนข้อความในจดหมายเสียใหม่ ครั้นถึงเมืองคชปุรนครพบไพร่พลยักษ์ขวางอยู่เป็นจำนวนมาก จึงแก้จดหมายที่คอม้าทิ้งลงไป เสนายักษ์อ่านข้อความแล้วก็จัดการต้อนรับอย่างเอิกเกริกและขัดการอภิเษกกับนางกังรีให้ครอบครองบ้านเมืองตามความในจดหมาย เวลาล่วงไป ๗ เดือน ม้าทูลเตือนให้พระรถเสนกลับไปหามารดา พระรถเสนจึงออกอุบายขอให้นางกังรีพาไปประพาสอุทยานเพื่อนำต้นบุนนากและคิรีบุนนาก[๒]ไปให้นางสันธมาร เมื่อได้สมปรารถนาแล้วก็กลับมายังตำหนัก ลวงให้นางกังรีดื่มสุราจนลืมสติแล้วพระรถเสนก็ถามถึงที่เก็บดวงตานางสิบสองและสรรพคุณยาวิเศษทั้ง ๗ ห่อ นางกังรีหลงกลก็บอกให้ทั้งหมด ครั้นนางกังรีหลับพระรถเสนก็ฉวยห่อดวงตาและห่อยาทั้งหมดขึ้นหลังม้าหนีไปกลางดึก ตอนเช้านางตื่นขึ้นไม่เห็นสามีก็รีบยกไพร่พลออกติดตามไป พระรถเสนก็โปรยยาห่อหนึ่งเป็นมหาสมุทรขวางหน้าไว้ นางกังรีรำพันขอร้องให้พระรถเสนกลับมาก็ไม่เป็นผล ในที่สุดนางเสียใจจนดวงหทัยแตกออกเป็น ๗ ภาค สิ้นชีวิตอยู่ริมฝั่งมหาสมุทรนั้น ฝ่ายพระรถเสนกลับมาถึงกุตารนครโดยสวัสดิภาพ นางสันธมารทราบว่า ถูกพระรถเสนซ้อนกลก็เสียใจจนถึงแก่ความตาย พระรถเสนรีบนำยาไปรักษาดวงตาให้แม่และป้าจนหายเป็นปกติ ท้าวรถสิทธิ์จึงตั้งนางสิบสองเป็นมเหสีดังเดิมและอภิเษกให้พระรถเสนครอบครองบ้านเมืองต่อไป การชำระต้นฉบับ การตรวจสอบชำระเรื่องพระรถคำฉันท์เพื่อพิมพ์เผยแพร่ครั้งนี้ ใช้สำเนาเอกสารซึ่งถ่ายจากต้นฉบับสมุดไทยที่เก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ จำนวน ๗ ฉบับ ได้แก่ เอกสารเลขที่ ๑๑ หมวดวรรณคดี หมู่ฉันท์ เรื่องพระรถ (รถเสน - เมรี) ประวัติ หอพระสมุดฯ ซื้อ พุทธศักราช ๒๔๕๐ มีข้อความในหน้าต้นว่า “หน้าต้นพระรถคำหวนณท่านเอย เล่ม ๑ ฯะ” เอกสารเลขที่ ๑๒ หมวดวรรณคดี หมู่ฉันท์ เรื่องพระรถ (รถเสน - เมรี) ประวัติ พระวิเชียรธรรมคุณาธาร (โสด) วัดโมลีโลกยาราม ให้หอพระสมุดฯ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๐ มี ข้อความในหน้าต้นว่า “สมุดพระรฐนิราชคำฉันท์ เล่ม ๑” เอกสารเลขที่ ๑๓ หมวดวรรณคดี หมู่ฉันท์ เรื่องพระรถ (รถเสน - เมรี) ประวัติ หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ให้หอพระสมุดฯ พุทธศักราช ๒๔๕๐ มีข้อความในหน้าต้นว่า “ต้นเมรีย ฯะ” เอกสารเลขที่ ๑๔ หมวดวรรณคดี หมู่ฉันท์ เรื่องพระรถ (รถเสน - เมรี) ประวัติ หอพระสมุดฯ ซื้อ พุทธศักราช ๒๔๕๐ เอกสารเลขที่ ๑๕ หมวดวรรณคดี หมู่ฉันท์ เรื่องพระรถ (รถเสน - เมรี) ประวัติ พระองค์เจ้าหญิงพิมพับศรสร้อย ประทานเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๐ (ตอนต้นและตอนปลายสมุดชำรุด) เอกสารเลขที่ ๑๖ หมวดวรรณคดี หมู่ฉันท์ เรื่องพระรถ (รถเสน - เมรี) ประวัติ ได้มาจากวัดอนงคาราม เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ มีข้อความในหน้าต้นว่า “หน้าต้น หนังสือพระรทคำฉันท์ เล่ม ๑” เอกสารเลขที่ ๑๗ หมวดวรรณคดี หมู่ฉันท์ เรื่องพระรถ (รถเสน - เมรี) ประวัติ หอพระสมุดฯ ซื้อ พุทธศักราช ๒๔๕๐ (มีตำรายาไทยอยู่ตอนต้น) เอกสารทั้ง ๗ ฉบับดังกล่าวจำแนกออกได้เป็น ๓ สำรับคือ เอกสารสำรับที่ ๑ ได้แก่ เอกสารเลขที่ ๑๒ เอกสารเลขที่ ๑๓ และเอกสารเลขที่ ๑๔ เอกสารสำรับนี้เป็นเรื่องพระรถคำฉันท์สำนวนที่เมื่อตรวจสอบชำระแล้วนำมาประมวลเข้าด้วยกันได้เนื้อความสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ (พิมพ์อยู่ในหนังสือนี้ ตั้งแต่หน้า ๒๑ ถึงหน้า ๗๒) ในจำนวนเอกสารทั้ง ๓ ฉบับดังกล่าว เอกสารเลขที่ ๑๔ มีเนื้อความบริบูรณ์ที่สุดเพียงฉบับเดียว (ดำเนินเนื้อความตั้งแต่บทนมัสการไปจนจบเรื่อง) ขาดหายไปเพียงบทนมัสการตอนต้นซึ่งแต่งเป็นอินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑ จำนวน ๑๐ บท เอกสารฉบับดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่คำประพันธ์บทที่ ๑๑ คือ
ในการตรวจสอบชำระได้นำเนื้อหาจากเอกสารเลขที่ ๑๒ และเอกสารเลขที่ ๑๓ มาเติมไว้จนได้ความครบบริบูรณ์ เอกสารเลขที่ ๑๒ เริ่มเนื้อความตั้งแต่บทนมัสการต้นเรื่อง แต่งเป็นอินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑ ดังนี้
เอกสารเลขที่ ๑๒ หมดหน้าสมุดลงตรงคำประพันธ์บทที่ ๓๑๕ ตอนนางขุชชาค่อมโต้ตอบกับนางเมรี แต่งเป็นสุรางคนางค์ กาพย์ ๒๘ ว่า “มิรู้เป็นโทษ กลับทรงพระโกรธ ด่าเล่นเปล่าเปล่า” ในหน้าต้นของสมุดไทยเล่มนี้มีข้อความว่า “สมุดพระรฐนิราชคำฉันท์ เล่ม ๑” แสดงว่ายังมีเล่ม ๒ ต่อไปอีกแต่ไม่พบต้นฉบับ เอกสารเลขที่ ๑๓ เริ่มต้นตั้งแต่บทนมัสการ เนื้อความตรงกับเอกสารเลขที่ ๑๒ หมดหน้าสมุดลงตรงคำประพันธ์บทที่ ๓๔๔ คือ
วรรคสุดท้ายของคำประพันธ์บทดังกล่าวต่างจากเอกสารฉบับที่ ๑๔ ซึ่งพิมพ์อยู่ในหนังสือนี้ และมีข้อความบอกว่า “สิ้นฉบับ” เนื่องจากเอกสารต้นฉบับสมุดไทยคัดลอกด้วยลายมือ แต่ละฉบับจึงมีความลักลั่นทั้งด้านอักขรวิธีและการคัดลอกตกหล่น ในการตรวจสอบชำระได้นำข้อความจากฉบับที่สมบูรณ์มาเติมลงในฉบับที่บกพร่อง อนึ่ง ตั้งแต่คำประพันธ์บทที่ ๓๔๕ เป็นต้นไปปรากฏในเอกสารเลขที่ ๑๔ เพียงฉบับเดียว จึงไม่สามารถสอบทานกับฉบับอื่นได้ เรื่องพระรถคำฉันท์ตามเอกสารสำรับที่ ๑ นี้ไม่มีข้อความตอนใดระบุถึงยุคสมัยที่แต่ง แต่จากข้อมูลที่ปรากฏ สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ระหว่างรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถึงรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ทั้งนี้พิจารณาจากสมมุติฐาน ๔ ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ ๑ เนื้อความในคำฉันท์ตอนนางเมรียกไพร่พลออกจากเมืองเพื่อติดตามพระรถเสนตั้งแต่คำประพันธ์บทที่ ๑๑๔-๑๒๒ กล่าวถึงสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
“ที่นั่งเย็น” ที่กล่าวในคำประพันธ์ข้างต้นน่าจะมีความหมายโดยนัยถึง “พระที่นั่งเย็น” หรือ “พระที่นั่งไกรสรสีหราช” ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับประทับสำราญพระราชอิริยาบถ บนเกาะกลางทะเลชุบศร เมืองลพบุรี พระที่นั่งองค์นี้อยู่ห่างจากพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศ ประมาณ ๓ กิโลเมตร ในบันทึกของคณะราชทูตฝรั่งเศสระบุว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงใช้เป็นที่ประทับเวลาเสด็จประพาสจับช้างป่าและเคยเป็นที่ประทับทอดพระเนตรจันทรุปราคาร่วมกับคณะราชทูตฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๒๒๘ “ไกลทั้งสระแก้วนํ้าใส” น่าจะมีความหมายโดยนัยถึง “สระแก้ว” ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้สร้างขึ้นนอกเมือง เป็นที่พักนํ้าจากทะเลชุบศรและห้วยซับเหล็กแล้วต่อท่อเข้ามาใช้ในพระราชวังเมืองลพบุรีตามที่กล่าวในพระราชพงศาวดาร ซึ่งสอดคล้องกับโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราชของพระศรีมโหสถที่ว่า
โคลงทั้ง ๓ บทดังกล่าว สอดคล้องกับคำฉันท์ตอนนางเมรี เดินทางผ่านสระน้ำนอกเมืองว่า “ไกลทั้งสระแก้วนํ้าใส” และในคำฉันท์อีกตอนหนึ่งที่ว่า
ประเด็นที่ ๒ การแต่งฉบัง กาพย์ ๑๖ เป็นกลบทนาคบริพันธ์ในพระรถคำฉันท์ตั้งแต่คำประพันธ์บทที่ ๑๑๕ - ๑๒๖ เป็นลักษณะที่นิยมในสมัยอยุธยา ดังมีตัวอย่างอยู่ในเรื่องราชาพิลาปคำฉันท์และหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดีนำมาเป็นตัวอย่างการประพันธ์ซึ่งน่าจะมีอิทธิพลต่อกวีผู้แต่งคำฉันท์เรื่องนี้ด้วย ประเด็นที่ ๓ บทพรรณนาในคำฉันท์ตอนนางเมรีถึงแก่มรณกรรม มีนัยประหวัดถึงเหตุการณ์ตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้แก่
ตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเกิด “กบฏแขกมักกะสัน” ขึ้นที่เมืองบางกอก ตามบันทึกของเชวาลิเอร์ เดอ ฟอร์บัง นายทหารฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางเข้ามาพร้อมกับคณะราชทูตเมื่อพุทธศักราช ๒๒๒๘ และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงขอตัวไว้ใช้ในราชการตั้งเป็นขุนนางมีบรรดาศักดิ์ที่ออกพระศักดิ์สงคราม ฟอร์บังได้รับคำสั่งจากราชสำนักให้เป็นผู้ปราบปรามกบฏแขกมักกะสัน พวกกบฏครั้งนั้นมีพฤติการณ์เหี้ยมโหดต่อสู้แบบพลีชีพทำให้กองทหารชาวยุโรปล้มตายลงเป็นอันมาก การที่เรื่องพระรถคำฉันท์กล่าวเปรียบเทียบว่า “จิตใจมักกะสัน ฤทธิ์แรงราวี” นั้นน่าจะแสดงว่า ความร้ายกาจของกบฏแขกมักกะสันยังอยู่ในความทรงจำของกวีผู้แต่ง ดังนั้นคำฉันท์สำนวนนี้จึงน่าจะแต่งขึ้นหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่นานนัก ประเด็นที่ ๔ คำศัพท์ที่ใช้มีลักษณะร่วมสมัยกับวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ ที่แต่งในสมัยอยุธยาเช่น ลาลด เสี่ยมสาร ภัยภิต จรล่ำ เป็นต้น คำศัพท์ดังกล่าวไม่นิยมใช้ในวรรณกรรมที่แต่งสมัยรัตนโกสินทร์ จากสมมุติฐานทั้ง ๔ ประเด็นดังกล่าว ในที่นี้จึงสันนิษฐานว่าเรื่องพระรถคำฉันท์สำนวนนี้น่าจะเป็นวรรณกรรมสมัยอยุธยา เอกสารสำรับที่ ๒ ได้แก่เอกสารเลขที่ ๑๕ เอกสารเลขที่ ๑๖ และเอกสารเลขที่ ๑๗ เอกสารทั้ง ๓ ฉบับดังกล่าวมีเนื้อความเดียวกัน ไม่มีบทนมัสการตอนต้น เอกสารเลขที่ ๑๕ เริ่มความตั้งแต่นางเมรีบรรทมตื่นไม่พบพระรถเสน หมดความลงในหน้าสมุดสุดท้าย ตอนพระรถเสนไปถึงอาศรมของพระฤๅษีแล้วลงสรงน้ำในสระว่า
เอกสารเลขที่ ๑๖ เริ่มความเหมือนกับเอกสารเลขที่ ๑๕ ดำเนินเรื่องไปจนหมดเล่มสมุดตอนพระรถเสนกลับไปหามารดาและป้ายังอุโมงค์ที่ถูกคุมขังแล้วเล่าความให้นางสิบสองฟังว่าได้รอดชีวิตกลับมาเพราะความช่วยเหลือของนางเมรี
เอกสารเลขที่ ๑๗ ตอนต้นสมุดเป็นตำรายาไทย เริ่มความในคำฉันท์เหมือนกับเอกสารเลขที่ ๑๕ ดำเนินความไปจนสิ้นสมุดเมื่อม้าพาพระรถเสนจากนางเมรีที่ริมฝั่งน้ำไปพักอยู่ที่เชิงเขาใกล้อาศรมของพระฤๅษี
เรื่องพระรถคำฉันท์ที่ปรากฏในเอกสารสำรับที่ ๒ นี้ เข้าใจว่าเป็นฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขสำนวนโวหารจากสำนวนเอกสารสำรับที่ ๑ ทั้งนี้อาจเพื่อต้องการให้ตรงตามบังคับฉันทลักษณ์ตามความเห็นของกวีผู้ปรับแก้และอาจต้องการตัดส่วนที่เยิ่นเย้อในสำนวนแรกออกไปเพื่อให้การดำเนินเรื่องกระชับยิ่งขึ้น คำฉันท์ในเอกสารสำรับที่ ๒ เริ่มต้นด้วยวสันตดิลก ฉันท์ ๑๔ ดังนี้
เนื้อหาคำฉันท์ตอนนางเมรีจะจากเมืองซึ่งในเอกสารสำรับที่ ๑ แต่งเป็นกลบทนาคบริพันธ์ ในคำประพันธ์บทที่ ๑๑๕ - ๑๒๖ นั้น คำฉันท์ในเอกสารสำรับที่ ๒ ได้แก้ไขใหม่โดยไม่คงกลบทไว้ดังนี้
หัวข้อ: Re: พระรถคำฉันท์ วรรณกรรมร้อยกรองสมัยอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 มิถุนายน 2564 13:48:53 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65921157474319_29612_640x480_.jpg)
การปรับแก้ไขสำนวนเรื่องพระรถคำฉันท์ในเอกสารสำรับที่ ๒ นี้ น่าจะทำในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ต้นฉบับเอกสารสมุดไทยที่พบไม่มีฉบับใดมีเนื้อหาบริบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ (โปรดดูสำเนาต้นฉบับเอกสารเลขที่ ๑๖ ซึ่งพิมพ์เป็นภาคผนวกของหนังสือนี้) เอกสารสำรับที่ ๓ เป็นเรื่องพระรถคำฉันท์อีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อความต่างจากที่กล่าวมาแล้ว พบต้นฉบับเพียงเล่มสมุดไทยเดียว คือเอกสารเลขที่ ๑๑ มีข้อความในหน้าต้นว่า “หน้าต้นพระรถคำหวนณท่านเอย เล่ม ๑” ตอนต้นเป็นบทนมัสการ เริ่มเนื้อเรื่องตั้งแต่พระรถเสนอยู่กับนางเมรี ม้าพระที่นั่งส่งเสียงเตือนให้รีบออกเดินทาง พระรถเสนจำต้องจากนางไปทั้งยังอาลัยรัก หมดหน้าสมุดลงตรงนางเมรีคร่ำครวญอยู่ที่ริมฝั่งนํ้าตามลำพังว่า
ความต่อจากนี้น่าจะมีอยู่สมุดไทย เล่ม ๒ แต่ไม่พบต้นฉบับ สำนวนโวหารในเรื่องพระรถคำฉันท์หรือพระรถคำหวนสำนวนนี้จัดว่าไพเราะมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ แต่ไม่สามารถกำหนดยุคสมัยที่แต่งได้แน่นอน เรื่องพระรถคำฉันท์ที่พิมพ์อยู่ในหนังสือนี้ประกอบด้วย พระรถคำฉันท์สำนวนที่ตรวจสอบชำระจากเอกสารสำรับที่ ๑ พระรถคำหวนซึ่งตรวจสอบชำระจากเอกสารเลขที่ ๑๑ และสำเนาเอกสารเลขที่ ๑๖ ซึ่งเป็นฉบับหนึ่งในเอกสารสำรับที่ ๒ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาได้เห็นความแตกต่างของเรื่องพระรถคำฉันท์ทั้ง ๓ สำนวน [๑] นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ เรียบเรียง [๒] ในบทละครครั้งกรุงเก่าว่า “มะงั่วหาวมะนาวโห่” แต่ในคำกลอนที่แต่งครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า “มะม่วงหาวมะนาวโห่”
โปรดติดตามตอนต่อไป หัวข้อ: Re: พระรถคำฉันท์ วรรณกรรมร้อยกรองสมัยอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 กรกฎาคม 2564 17:58:09 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65921157474319_29612_640x480_.jpg)
โปรดติดตามตอนต่อไป หัวข้อ: Re: พระรถคำฉันท์ วรรณกรรมร้อยกรองสมัยอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 กรกฎาคม 2564 14:52:42 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65921157474319_29612_640x480_.jpg)
โปรดติดตามตอนต่อไป หัวข้อ: Re: พระรถคำฉันท์ วรรณกรรมร้อยกรองสมัยอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 กรกฎาคม 2564 16:17:53 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65921157474319_29612_640x480_.jpg)
โปรดติดตามตอนต่อไป หัวข้อ: Re: พระรถคำฉันท์ วรรณกรรมร้อยกรองสมัยอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 สิงหาคม 2564 19:55:33 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65921157474319_29612_640x480_.jpg)
หัวข้อ: Re: พระรถคำฉันท์ วรรณกรรมร้อยกรองสมัยอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 สิงหาคม 2564 16:10:36 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65921157474319_29612_640x480_.jpg)
หัวข้อ: Re: พระรถคำฉันท์ วรรณกรรมร้อยกรองสมัยอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 สิงหาคม 2564 14:46:00 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65921157474319_29612_640x480_.jpg)
------------------------------------------------------------------- [๑] เอกสารเลขที่ ๑๓ เป็น
๓ สัมผัสไม่รับกับปลายบทก่อนหน้านี้ ๔ โคลง ๓ บทนี้อยู่ตอนท้ายเรื่องพระรถคำฉันท์ในเอกสารเลขที่ ๑๔ หัวข้อ: Re: พระรถคำฉันท์ วรรณกรรมร้อยกรองสมัยอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 พฤศจิกายน 2564 16:28:49 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24564594071772__Copy_.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร พระรถคำหวน
|