[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ จิบกาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 06 กันยายน 2564 19:42:52



หัวข้อ: รู้ไหมว่า สัตว์จริงๆ ตามธรรมชาติที่มี “สามกีบ” คือตัวอะไร?
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 06 กันยายน 2564 19:42:52

  ꧁  รู้ไหมว่า สัตว์จริงๆ ตามธรรมชาติที่มี “สามกีบ” คือตัวอะไร? ꧂


        ꕥ รู้ไหมว่า สัตว์จริงๆ ตามธรรมชาติที่มี “สามกีบ” คือตัวอะไร? ꕥ

        ✎✎✎...การแบ่งสัตว์ตาม “กีบเท้า” มนุษย์แบ่งมาแต่โบราณแล้ว ซึ่งบันทึกเก่าแก่ทางศาสนาอย่างคัมภีร์โตราห์ของชาวยิว (ซึ่งเป็น 5 บทแรกของพระคัมภีร์เก่าของชาวคริสต์) ก็มีบทบัญญัติที่สำคัญของโมเสสว่า ชาวยิวจะกินได้เฉพาะสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องและมี “สองกีบ” เท่านั้น เคี้ยวเอื้องอย่างเดียวกินไม่ได้ มีกีบมากหรือน้อยกว่าสองกีบ ก็กินไม่ได้ และชาวยิวก็ถือบทบัญญัตินี้มาจนถึงปัจจุบัน (ทั้งนี้ ข้อกำหนดว่าคนยิวกินตัวอะไรได้บ้างละเอียดมากนะครับ ไม่ขอพูดในที่นี้)   แต่นี่ก็เป็นการแบ่งหลวมๆ ตามหลักศาสนา และต้องรออีกเป็นพันปีกว่านิยามชัดๆ ว่า “กีบ” คืออะไรให้เป็นระบบระเบียบแบบวิทยาศาสตร์?

        คือในทางชีววิทยา โดยทั่วไปสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดมีนิ้ว 5 นิ้ว แต่สัตว์แต่ละชนิดที่เดิน 4 ขาไม่ได้ใช้ทั้ง 5 นิ้วรับน้ำหนักหรือสัมผัสกับพื้นตอนยืน แต่จะใช้แค่บางนิ้ว ซึ่งพวกสัตว์ 4 ขาที่เอานิ้วสัมผัสพื้นทั้งหลายก็พัฒนานิ้วให้รับน้ำหนักให้เยอะ จนออกมาในรูปแบบกีบ ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้เรียกรวมๆ ว่า “สัตว์กีบ” (Ungulate)     สัตว์กีบนั้นมีมากมายในโลก วัว ควาย หมู ยีราฟ อูฐ กวาง ล้วนเป็นสัตว์กีบทั้งหมด

        อย่างไรก็ดี ในศตวรรษที่ 19 นักชีววิทยาชาวอังกฤษชื่อ Richard Owen เกิดความคิดว่าสัตว์พวกนี้น่าจะแบ่งได้ละเอียดขึ้นอีกตามสายพันธุ์ เขาเลยเป็นคนแรกในโลกที่เสนอให้แยกระหว่างสัตว์กีบคู่ (even-toed ungulate) และสัตว์กีบคี่ (odd-toed ungulate)   ซึ่งสัตว์กีบคู่ก็คือพวก วัว ควาย หมู ยีราฟ อูฐ กวาง นี่แหละ พวกนี้ไปดูจะพบว่ามันมีกีบ 2 หรือ 4 กีบทั้งนั้น  แต่ที่น่าสนใจคือ พวก “สัตว์กีบคี่” นี่แหละ เพราะมีน้อยมากแค่ 3 ชนิดในโลก

        สัตว์กีบคี่ที่คนยุโรปรู้จักดีคือ ม้า (รวมไปถึงลา และม้าลาย) คือมันเป็นสัตว์ชนิดเดียวในโลกที่มี “กีบเดียว”   แต่อีก 2 ชนิดที่เหลือนี่แหละน่าสนใจ เพราะมันเป็นสัตว์ที่ไม่มีในยุโรป และคนยุโรปน่าจะเพิ่งรู้จักทั่วไปว่ามีสัตว์อะไรพวกนี้อยู่ในโลกช่วงยุคล่าอาณานิคม และที่สำคัญ พวกมันมี “สามกีบ”
สัตว์สองชนิดที่ว่าที่มี “สามกีบ” ได้แก่ “แรด” และ “สมเสร็จ” ซึ่งเป็นสัตว์พื้นถิ่นทางแอฟริกาและเอเชียใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   และนี่ก็คือบรรดา “สามกีบ” ตามหลักชีววิทยา ซึ่งสัตว์พวกนี้เราไม่ค่อยเห็นหรอก เพราะหายากมากๆ เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ทั้งนั้น



(https://scontent.fbkk10-1.fna.fbcdn.net/v/t1.6435-9/240420113_2733179783648180_4664942096155056976_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-5&_nc_sid=973b4a&_nc_ohc=HUCymjMsb4kAX-Y2ECI&_nc_ht=scontent.fbkk10-1.fna&oh=df3e070b7fa4b259f4a99803560c2225&oe=615B6D11)  (https://scontent.fbkk10-1.fna.fbcdn.net/v/t1.6435-9/240439068_2733179860314839_3946123060692349326_n.jpg?_nc_cat=101&ccb=1-5&_nc_sid=973b4a&_nc_ohc=WKUr9yHy0hEAX_NJVVk&_nc_ht=scontent.fbkk10-1.fna&oh=c4c36262b0d2e89a0f38c28c2caf3145&oe=615CF4B4)


        ⒸⒸ ที่มา https://www.brandthink.me/content/odd-toed-ungulates (https://www.brandthink.me/content/odd-toed-ungulates)