[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เกร็ดศาสนา => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 07 ตุลาคม 2564 19:55:55



หัวข้อ: พุทธปฏิมากร
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 ตุลาคม 2564 19:55:55
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51230220331085_1.jpg)
พระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

พระพุทธรูปนี้ก็คือตัวแทนของพระพุทธเจ้า จัดอยู่ในอุเทสิกเจดีย์ จริงอยู่ที่พระพุทธรูปสร้างมาจากอิฐหินดินปูนทองเหลือง แต่เราก็เอามาสมมุติเป็นพระพุทธเจ้า เรากราบเพื่อรำลึกถึงคุณท่าน ก็เหมือนกับพระสงฆ์พวกเราทั้งหลายนี่แหละ ก็มาจากลูกชาวบ้าน มาสมมุติเป็นพระภิกษุสงฆ์ ให้พวกเรากราบไหว้กัน อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ฉะนั้นพระพุทธรูปนี้ เป็นตัวแทนให้เราระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน เหมือนหลายปีก่อนได้ยินข่าว มีพระที่เพชรบูรณ์ไปตบพระพุทธรูป อย่าไปกราบมันมันคือทองเหลืองคืออะไรหลายๆอย่างเขาก็ว่าไป มันก็จริงอยู่ แต่เราเอาอันนี้มาเป็นเครื่องระลึก ที่เราเคารพนบไหว้ เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เหมือนกับหลวงปู่มั่นท่านเคารพมาก พระจะไปเอาผ้าเช็ดพื้นเช็ดศาลามาเช็ดเนี่ย หลวงปู่มั่นท่านไม่ยอมนะ ท่านให้ไปเอาผ้าที่มันสูงสูง ผ้าเช็ดตัวเช็ดอะไรท่านน่ะให้มาเช็ด ฉะนั้นพวกเราทั้งหลายลูกหลาน ขอให้รู้จักเคารพนบน้อม ถ้าเป็นผู้อ่อนน้อมย่อมเป็นที่รักในหมู่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

เถรวาจา พระครูอุดมวนานุรักษ์ (หลวงพ่อสมหมาย ปิยธัมโม)
วัดป่าอุดมสนาสันต์  (สาขาวัดหนองป่าพงที่ ๓๑)  
อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี


หัวข้อ: Re: พุทธปฏิมากร
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 ตุลาคม 2564 14:28:57
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82819617787996_243052672_249257843809280_3728.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87423693678445_242835327_249257593809305_6412.jpg)

พระอรุณหรือพระแจ้ง
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์พระและผ้าทรงครองทำด้วยทองสีต่างกัน หน้าตักกว้างประมาณ ๕๐ ชม.
ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี เบื้องหน้าพระพุทธชัมภูทฯ ในพระวิหารวัดอรุณราชวราราม ตามประวัติกล่าวว่า
เป็นพระพุทธรูปที่ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.๒๔๐๑ ประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ด้วยทรงพระราชดำริว่า นามพระพ้องกันกับวัด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46438909280631_242875370_243811064353958_8905.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15640455194645_242879315_243811247687273_6119.jpg)

พระทศพลญาณ วัดบรมนิวาส
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๑ วา ๕ นิ้ว ตามประวัติกล่าวเพียงมาอัญเชิญ
มาแต่เมืองพระพิษณุโลก คราวเดียวกับพระสิทธารถ วัดพิชยญาติการาม วัดบรมนิวาส  เดิมชื่อว่า วัดบรมสุข
พระอินทรเดชะ (อาจ) เป็นผู้สร้างขึ้นในแผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเมื่อ
ทรงพระผนวชอยู่ ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า วัดนอก คู่กับวัดบวรนิเวศวิหาร
ว่า วัดใน แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดบรมนิวาส โปรดให้เป็นวัดอรัญวาสี เรียนวิปัสนาธุระ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42567974453171_242041852_243367477731650_8617.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82404011819097_242334222_243367604398304_3273.jpg)
พระพุทธปฏิมาทรงเครื่อง
บนม้าหมู่ เบื้องหน้าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53774074009723_242264843_240226611379070_8960.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72028519089023_242289184_240226708045727_3161.jpg)

พระคันธารราษฎร์ปางขอฝน
เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางขอฝน หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๕๗.๔๐ ซม. ประดิษฐาน
ในหอพระคันธารราษฎร์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า -
จุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๖ เพื่อใช้ประกอบพิธีพิรุณศาสตร์
และพระราชพิธีพืชมงคล

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45224986101190_241729475_234640315271033_3304.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90740745638807_241694855_234640395271025_3824.jpg)

พระพุทธปฏิมาปางห้ามสมุทร
ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานข้างพระพุทธสิหิงค์ ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21866771620180_240504867_232816802120051_7121.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67676083867748_240509623_232816868786711_6826.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62709595387180_241451741_232816842120047_6512.jpg)

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๑
เป็นพระพุทธรูปนั่ง หล่อด้วยเงิน ปางมารวิชัย ประทับเหนือฐานปัทม์ บนฐานสิงห์ทองคำ มีผ้าทิพย์ทองคำ
หน้าตัก ๒๑ เซนติเมตร สูงตลอดพระรัศมี ๓๑ เซนติเมตร ด้วยฉัตรทองคำฉลุ ๕ ชั้น ลงยาราชาวดี
พระหัตถ์ซ้ายทรงถือตาลปัตร ฉลุลายประดับอัญมณี ด้ามทองคำ หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕
เป็นอนุสารณีย์เนื่องในอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๗ กันยายน ๒๕๖๔
ที่มา. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34617231869035_241543323_232134402188291_6970.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86956374429994_240429373_232134315521633_1785.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38682318313254_240481620_232134422188289_1117.jpg)

พระพุทธรูปทรงเครื่อง ๒ องค์
เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทรงเครื่องขัตติยภูษิตาภรณ์ ปักฉัตรทองปรุ ๕ ชั้น
ประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าด้านขวาและด้านซ้ายของพระพุทธเทววิลาส ในพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม กล่าวกันว่า
เป็นสัญลักษณ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาส กรมหมี่นอัปสรสุดาเทพ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64527054296599_241024092_230481569020241_8639.jpg)

พระพุทธบุษยรัตน์น้อย


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27262316520015_240910602_230225425712522_6797.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74887986191444_241026364_230225142379217_3814.jpg)

พระสัมพุทธพรรณีจำลอง
เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ กะไหล่ทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้วสูง ๒๗ นิ้ว
ฐานกว้าง ๒๘ นิ้ว สูง ๙.๕ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นพระประธาน
ภายในพระอุโบสถวัดราชาธิวาสเพื่ออุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าประดิษฐวรการออกแบบปั้น โดยการถ่ายแบบจากพระสัมพุทธพรรณี ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์เดิมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นขณะผนวชและประทับ
จำพรรษาที่วัดสมอราย การสร้างพระสัมพุทธพรรณีจำลอง จัดพิธีหล่อขึ้นที่วัดราชาธิวาส แล้วอัญเชิญไปประกอบ
พิธีกะไหล่ทอง ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิตในพระบรมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช
ดำเนินประกอบพิธีกะไหล่ด้วยทองคำ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีพุทธาภิเษกสมโภชขึ้น
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีลงสรงพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในผอบทองคำ
ทรงนำผอบทองคำนั้นบรรจุในพระศกพระสัมพุทธพรรณีจำลอง ประกอบพระราชพิธีสมโกช แต่ยังไม่ทันอัญเชิญ
ไปประดิษฐานที่วัดราชาธิวาส เสด็จสวรรคตเสียก่อน   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญพระสัมพุทธพรรณีจำลองไปประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถวัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๖๒


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23616382976372_240647991_224803746254690_6546.jpg)

พระพุทธอังคีรส ในพระอุโบสถวัดราชบพิธฯ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81989541277289_240955216_229555239112874_2144.jpg)

พระพุทธตรีโลกเชฎฐ์
พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม เบ็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดให้กรมหมื่นณรงคหริรักษ์หล่อขึ้นใหม่เมื่อทรงสถาปนา
พระอารามใหญ่กว่าพระ ที่หล่อในกรุงรัตนโกสินทร์องค์อื่นๆ หน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว ถึงรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า "พระพุทธตรีโลกเชฏฐ์"


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26562064679132_240824220_227643165970748_5364.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49175607413053_240821586_227643242637407_7846.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97118164847294_240884935_227643275970737_3321.jpg)

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๕ เป็นพระพุทธรูปนั่ง หล่อด้วยทองคำ
ปางมารวิชัย ประทับเหนือฐานปัทม์ ครองจีวรเป็นริ้ว ไม่มีพระเกตุมาลา หน้าตัก ๑๖ เซนติเมตร สูงตลอดพระรัศมี
๒๘ เซนติเมตร มีฉัตรทองคำฉลุ ๕ ชั้น ลงยาราชาวดี กั้นเบื้องหลัง ที่ฐานจารึกอักษรขอมย่อเป็นคาถาอริยสัจจ์
เช่นเดียวกับพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๔ ด้านในฐานแปดเหลี่ยมประดิษฐานพระกริ่งขนาดเล็กองค์หนึ่ง
หล่อขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๑๒
ที่มา. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ.๒๕๓๕, เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ พ.ศ.๒๕๖๐


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87210652273562_239514239_225400192861712_7376.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91025358686844_239741447_225400109528387_8697.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58858370739552_236226715_225400166195048_1156.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23274531794918_237286617_225400309528367_5862.jpg)

พระพุทธรังสรรค์หรือพระพุทธรังสฤษฏ์
เป็นพระพุทธรูปยืนแบบสมภังค์ ทรงเครื่องจักรพรรดิราชาธิราช ปางห้ามสมุทร สูงจากฐานถึงยอดพระชฎามงกุฎ
๒๑๐ เซนติเมตร หล่อด้วยสำริดหุ้มด้วยทองคำ เครื่องต้นเป็นทองคำลงยาราชาวดี ประดับเนาวรัตน์ ประดิษฐาน
ในหอพระสุราลัยพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระพุทธรังสรรค์
องค์นี้ขึ้นเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ คู่กับพระพุทธนฤมิต ซึ่งทรงสร้างเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย
สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ -
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถวายพระนามใหม่ว่า พระพุทธรังสฤษ์เพื่อให้อักษรสัมผัสกับพระพุทธนฤมิต
ที่มา. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง, สถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวัง เล่ม ๑,
ประติมากรรมและจิตรกรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่ม ๑


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51230352206362_240506904_224656269602771_6231.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19855637020534_240472617_224656256269439_3649.jpg)

พระชัยวัฒน์ประจำพระองค์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

ที่มา.ชินวรปูชนียมงคล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89870253246691_240299805_223381829730215_8405.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32335641897386_240573671_223381763063555_6264.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49614589454399_240396130_223381889730209_6242.jpg)

พระแก้วมรกตน้อย
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๓.๔๐ ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ ๓๖.๘๐ ซ.ม. ทำด้วยหยกสีเขียว
มีประภามณฑลและฐานเป็นไม้จำหลักปิดทอง ประดิษฐานในหอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ไปหาแก้วสีเขียวอย่างพระแก้วมรกตเพื่อสร้างพระพุทธปฏิมา สมเด็จฯ เจ้าฟ้าพระองค์นั้นได้แสวงหาได้หยกเขียว
ที่ประเทศรัซเซีย ครั้นแล้วได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างชาวรัซเซียนามว่า CARL FABERGE สลักหยกนั้น
ให้เป็นพระพุทธปฏิมาต้องตามพระราชประสงค์ แล้วเสร็จได้เชิญกลับพระนครเมื่อพ.ศ.๒๔๕๗ โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธี
พุทธาภิเษก ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายสักการะได้
เป็นเวลา ๓ วัน แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานในพระบรมมหาราชวังจนถึงทุกวันนี้

ที่มา. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36225546441144_240036262_222782013123530_3878.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91900629053513_240122125_222781949790203_3213.jpg)

พระสิทธารถ
พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดพิชยญาติการาม เป็นพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ
หน้าตักกว้าง ๓ ศอกเศษ ตามประวัติกล่าวว่า โดยอัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เคยเสด็จมาทอดพระเนตรรับสั่งชมว่างดงามยิ่งนัก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเบญจปฎลเศวตฉัตรมาถวายเป็นราชสักการะ




เผ่ยแพร่เป็นวิทยาทาน โดย หอสมุดพิกุลศิลปาคาร
600/. 1-700


หัวข้อ: Re: พุทธปฏิมากร
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 ตุลาคม 2564 19:59:19
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16402551324831_245342764_1128047464269623_714.jpg)

พระศากยมุนีพุทธเจ้า ศิลปะเนปาล
พระพุทธรูปองค์นี้ พุทธศาสนิกชนชาวเนปาล ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๘ 
เพื่อมอบให้เป็นของขวัญแบบพุทธศาสนิกชนชาวไทย ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่อาคารมหาสุรสิงหนาท
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ที่มา : เล่าเรื่อง วัดบวรฯ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74122236586279_245954043_1130556097352093_831.jpg)
พระพุทธรูปยืน ทำด้วยงาช้าง  ศิลปะศรีลังกา สมัยแคนดี้
พระสาธุศีลสังวร (สีลรัตนะ) หรือเจ้าคุณลังกา วัดบวรนิเวศวิหาร
มอบให้พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50662497472431_11892231_821568964622936_82209.jpg)
พระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดฯให้สร้างขึ้นถวายเป็นพระราชกุศศลนั้น วัสดุที่ใช้ทำ ทรงโปรดฯ
ให้นำ พระปทุมบัตนิการ มายุบหลอมทำเป็นองค์พระพุทธรูป



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82688976037833_10268614_666397646806736_63381.jpg)
พระพุทธรูปพระจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร (วันพุธ) ปั้นโดย พระเทพรจนา สร้างในระหว่างปี
พุทธศักราช ๒๔๖๙- พุทธศักราช ๒๔๗๐ องค์พระทำด้วยสัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง
บาตรทำด้วยหยก องค์พระมีความสูง ๒๔.๗๕ เซนติเมตร
ปัจจุบันประดิษฐาน ณ หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86242154447568_1003113_407167936063043_158783.jpg)
พระพุทธประจำพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


ที่มา :
เล่าเรื่อง วัดบวรฯ
พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง
700


หัวข้อ: Re: พุทธปฏิมากร
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 ตุลาคม 2564 19:21:50

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64759582281112_245984843_257396809662050_4485.jpg)
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงเครื่องทรงสำหรับฤดูฝน
เผ่ยแพร่เป็นวิทยาทาน โดย หอสมุดพิกุลศิลปาคาร

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97897099248237_246712769_259099376158460_3485.jpg)

หลวงพ่อแสงเพชร
พระพุทธรูปศิลปะอยุธยา ประดิษฐานในพระวิหารวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร

เผ่ยแพร่เป็นวิทยาทาน โดย หอสมุดพิกุลศิลปาคาร

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54499631333682_217405208_1074750329599337_878.jpg)
พระพุทธรูปเซรามิกฝีพระหัตถ์สมเด็จย่า

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงปั้นพระพุทธรูปองค์นี้ เพื่อถวายแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  นับเป็นสิ่งแสดงถึงพระราชศรัทธาในบวรพุทธศาสนา และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด สมดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ว่า "เวลาเป็นของมีค่า เมื่อมันล่วงไปแล้ว มันจะไม่กลับมาอีก ถ้าเรามีโอกาสจะใช้มันให้เป็นประโยชน์ แล้วไม่ใช้มันก็เป็นที่น่าเสียดาย” ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีก็ทรงยึดแนวพระราชดำรัสนั้นมาตลอดพระชนมชีพ
ที่มา : เพจพระพุทธศาสนา




หัวข้อ: Re: พุทธปฏิมากร
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 03 พฤศจิกายน 2564 20:32:09
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65298893302679_24059115_1871801789797383_1889.jpg)
ขอขอบคุณ สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช (ที่มาภาพประกอบ)

พระชัยนว​รัฐ

พระชัยนวรัฐ ​เป็นพระพุทธรูป​ล้านนาที่หล่อมาแต่โบราณโดยฝีมือช่างชาวล้านนา มีพุทธ​ลักษณะ​พิเศษยิ่ งต่างจากพระชัยวัฒน์โดยทั่วไป คือ เป็นพระนั่งขัดสมาธิ​ราบ ขนาดหน้าตักกว้างศอกเศษ พระหัตถ์​ซ้ายขวาอยู่ในลักษณะ​ถือและประคองตาลปัตร โดยพระหัตถ์ซ้ายถือตาลปัตรวางทอดกับพระเพลา พระหัตถ์ขวาแทนที่จะวางที่พระชานุ กลับยกขึ้นมาจับตาลปัตรด้านบน

เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่​ เมื่อครั้งเป็นเจ้าแก้ว เจ้าอุปราชผู้รั้งนครเชียงใหม่ อัญเชิญ​จากเชียงใหม่​มาถวายพระบาทสมเด็จ​พระ​จุล​จอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ อันเป็นปีที่ทรงเจริญพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​โปรดให้ตกแต่งและทำตาลปัตร​ลงยาถวาย แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล และฉลองพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามกับฉลองพระชัยในคราวเดียวกัน เริ่มการพระราชพิธีในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒​ ดังหมายกำหนดการดังนี้

"วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์​ เวลาเช้าสองโมง พระบาทสมเด็จ​พระ​เจ้า​อยู่​หัว​เสด็จ​ลงประทับพระ​ที่นั่งราชฤดี พระธรรม​ไตรโลกาจารย์​ถวายศีล ถวายพรพระแล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระไชยขึ้นประดิษฐาน​เหนือบังลังก์​ตั่งไม้อุทุมพร​ ครั้นถึงเวลาพระฤกษ์​เช้า ๒ โมง ๓๖ นาที ๑๑ วินาที หลวงโลกทีปลั่นฆ้องไชยให้สัญญา​ พนักงานประโคม​แตรสังข์​มโหรทึก​ พิณพาทย์​กรมแสงในแกว่งบัณเฑาะว์ พระสงฆ์​สวดไชยมงคลคาถา พระบาทสมเด็จ​พระเจ้าอยู่หัว​ถวายน้ำอภิเษก​พระไชยด้วยพระมหาสังข์​ทักษิณาวัฏ พระเต้าเบญจ​ครรภแล้ว ทรงบรรจุพระ​บรมสารีริกธาตุ แล้วทรงติดพระอุณาโลมเพชรแลพระสุพรรณ​บัตร​ ถวายพระนามว่า พระไชยนวรัฐ แล้วพราหมณ์​ได้ถวายน้ำสรงพระไชย​นวรัฐด้วยพระมหาสังข์​ ๕ และพระมหาสังข์​ ๓ แล้วพระบาทสมเด็จพระ​เจ้าอยู่​หัวทรงถวายนพปดล​เศวตฉัตร​ เจ้าพนักงานยิงปืนมหาฤกษ์​ มหาไชย มหาจักร มหาปราบยุค รวม ๑๒ นัด แล้วพระบาทสมเด็จ​พระ​เจ้า​อยู่​หัว​ทรง​จุดเทียน​เครื่องนมัสการพระไชย​นวรัฐ..... แล้วเจ้าพนักงานได้เชิญ​พระไชย​นวรัฐไปประดิษฐาน​บนพระที่นั่งเศวตฉัตร​ ในพระที่นั่งอภิเษก​ดุสิต" และเชิญไปประดิษฐานในมณฑลพิธีเมื่อมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ แทนพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เช่น ในการพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นตำหนักพญาไท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปราชเมืองนครเชียงใหม่เป็นเจ้าผู้ครองนครสืบต่อจากเจ้าราชบิดา มีราชทินนามว่า เจ้าแก้วนวรัฐ พ้องกับพระนามพระชัยที่เชิญมาถวายเมื่อครั้งยังเป็นเจ้าอุปราช

พระชัยนวรัฐเป็นพระชัยวัฒน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และนับถือกันว่ามีคุณวิเศษเนื่องจากได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตามแบบพระชัยแต่โบราณ ทั้งยังมีลักษณะที่แตกต่างและมีการประดับตกแต่งที่พิเศษกว่าพระชัยองค์อื่นๆ จึงถือว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย

อนึ่ง พระชัยนว​รัฐ​ แปลว่า พระชัยเมืองเชียงใหม่ เพราะเชียงใหม่แปลว่าเมืองใหม่ เมืองใหม่ก็คือนวรัฐ  

ปัจจุบัน​พระ​ชัยนว​รัฐ​ ประดิษฐาน​บนพระที่นั่งอัมพร​สถาน​ พระราชวังดุสิต



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49057650028003_6_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41747267668445_7_Copy_.jpg)

พระพุทธรูปปางลองหนาว  
พระพุทธ​รูป​ประจำพระชนมพรรษา ในพระบาทสมเด็จ​พระ​มงกุฎ​เกล้า​เจ้า​อยู่​หัว
ปรากฏตามจารึกที่ฐานชั้นล่างว่า “พระพุทธปฏิมา มีอาการนั่งทรงผ้าคลุมพระสรีราพยพลองหนาว...”
ภาพจากหนังสือพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง

ความเป็นมาของพระพุทธ​รูป​ประจำพระ​ชนมพรรษา​ เนื่องมาจากพระบาท​สมเด็จ​พระ​นั่ง​เกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​โปรดให้สร้างพระพุทธ​รูป​ปางมารวิชัยขนาดเล็กจำนวน ๗๓ องค์​เท่าพระชนม​พรรษาพระบาท​สมเด็จ​พระ​พุทธ​ยอด​ฟ้า​จุฬา​โลก​มหาราช​ สมเด็จ​พระอัยยกาธิราช และสร้างพระพุทธ​รูป​จำนวน ๕๙ องค์​เท่าพระชนมพรรษา​พระบาท​สมเด็จ​พระ​พุทธ​เลิศ​หล้า​นภาลัย​ สมเด็จ​พระ​บรม​ชนกนาถ และได้สร้างพระพุทธ​รูป​เท่าพระชนมพรรษา​ของพระองค์​เอง จึงเป็นขัตติยราชประเพณี​ที่จะสร้างพระพุทธ​รูป​ประจำ​พระ​ชนม​พรรษา​ทุกรัชกาล มีจำนวนเท่าพระชนมพรรษา​ของรัชกาลนั้นๆ ทั้งนี้ พระพุทธ​รูป​ประจำ​พระ​ชนม​พรรษา​จะมี ๒ ลักษณะ​ คือ ไม่มีฉัตร​และมีฉัตร  พระพุทธ​รูป​ที่ไม่มีฉัตร​เป็นพระพุทธรูป​ก่อนครองราชย์​ ส่วนพระพุทธ​รูป​ที่​มีฉัตร​คือพระพุทธ​รูปเมื่อครองราชย์​แล้ว และการสร้างพระพุทธ​รูป​ประจำพระ​ชนมพรรษา​ มีมาถึงรัชกาลที่ ๗ หลังจากนั้น ก็ไม่ได้สร้างพระพุทธ​รูป​ประจำพระ​ชนมพรรษา​อีก

พระพุทธ​รูป​ประจำ​พระ​ชนม​พรรษา​ จะมีปางต่างๆกันไป พระพุทธ​รูป​ประจำ​พระ​ชนม​พรรษา​พระบาทสมเด็จ​พระ​มงกุฎ​เกล้า​เจ้า​อยู่​หัว (รัชกาลที่ ๖) เป็นพระลองหนาว มีจำนวน ๔๕ องค์​เท่าจำนวนพระชนม​พรรษา แบ่งเป็นไม่มีฉัตร ๓๐ องค์​ มีฉัตร ๑๕ องค์​ ประดิษฐาน​อยู่ใน​หอพระสุลาลัยพิมาน หมู่พระมหามณเฑียร​ พระบรมมหาราชวัง

มูลเหตุการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระปางลองหนาว เนื่องจากพระมงคลวิเสสกถา (พระธรรมเทศนาที่ถวายในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา) ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ ทรงระบุว่า “เป็นปางที่สมควรแก่พระประสูติมงคลสมัยอันมีในเหมันตฤดูกาล"

พระลองหนาว เป็นพุทธปฏิมาที่หาได้ยาก พุทธลักษณะในอิริยาบถประทับนั่ง ปางสมาธิ ทรงจีวรคลุมพระวรกาย แบบธรรมยุติกนิกายที่หนาและหนักเป็นริ้วตามธรรมชาติ ซึ่งหากไม่ทราบจากพระมงคลวิเสสกถา หรืออ่านจากจารึกที่ฐานก็จะไม่ทราบว่าเป็นปางลองหนาว

เนื้อความตามพุทธประวัติ พระบรมศาสดาทรงจีวรคลุมพระวรกายเพื่อทดลองความหนาว มีในพระวินัยปิฎก มหาวรรค จีวรขันธกะ ได้ระบุว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระดำเนินจากนครราชคฤห์ไปประทับ ณ โคตมเจดีย์ นครเวสาลี ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุหลายรูปหอบผ้าพะรุงพะรังเพราะเป็นฤดูหนาว จึงทรงพระดำริว่าจะตั้งกฎในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยทรงทดลองห่มจีวรคลุมพระวรกายตลอดราตรีในฤดูหนาว ทรงจีวร ๔ ผืนพอทนหนาวได้จนรุ่งสาง  จึงทรงตั้งเขตต์จีวรลงเป็นชินะมริยาทว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ติจีวรํ  ทรงพระดำริว่า “กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ ที่เป็นคนขี้หนาว กลัวต่อความหนาว ก็อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยผ้าสามผืน ไฉนหนอ เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย เราจะพึงอนุญาตไตรจีวร” ซึ่งไตรจีวร ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์นั้น ได้แก่ ผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น ผ้าอุตราสงค์ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว เป็น ๔ ผืนในฤดูหนาว



หัวข้อ: Re: พุทธปฏิมากร
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 พฤศจิกายน 2564 20:11:17
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36060196864936_10420148_645431458903355_32873.jpg)
พระพุทธรูปปางประจำรัชกาล

พระพุทธรูปปางประจำรัชกาลพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
เป็นพระพุทธรูปที่เชิญออกประดิษฐานในการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ปัจจุบันมิได้เชิญออกประดิษฐานในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาแล้ว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91103838880856_10639706_643559109090590_28076.jpg)
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้น ในปี พ.ศ.๒๓๒๕
เป็นพระพุทธรูปประทับบนฐานสิงห์ มีผ้าทิพย์ทอดทางด้านหน้า ประดิษฐานอยู่ภายใต้ฉัตร ๕ ชั้น ด้วยเหตุที่ว่า
พระเบญจปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตรสีขาว ๕ ชั้น เป็นฉัตรสำหรับพระอิสริยยศของเจ้าฟ้า และสกลมหาสังฆ-
ปรินายกที่ได้รับสมณุตมาภิเษก เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาเปรียบกับพระพุทธองค์
ที่ทรงมีพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้า ก่อนที่จะเสด็จออกบรรพชา และเมื่อทรงเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ได้รับการยกย่องว่า
เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า อันเป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานใต้ ฉัตร ๕ ชั้น ส่วนตาลปัตร
ที่ทรงถือนั้นมีรูปทรงคล้ายพัดขนนกประดับด้วยอัญมณี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35954030065072_1378115_643559119090589_582186.jpg)
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๒๓๖๗ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระชัยวัฒน์
ของรัชกาลก่อนทุกประการ แตกต่างกันตรงที่รัศมีลงยา เบิ่งพระเนตร และหล่อด้วยทองคำ
ตาลปัตรเป็น พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับอัญมณี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83487550541758_10710731_643560419090459_20124.jpg)
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92668194530738_10150535_643559012423933_82337.jpg)
พระพักตร์ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


องค์พระครองจีวรทองลงยา  ซึ่งสอดคล้องกับพระราชนิยมพระพุทธรูปครองจีวรลงยา ฐานเป็น
หน้ากระดานสลักลวดลาย และปูด้วยผ้าทิพย์ลงยาประดับอัญมณี ตาลปัตรเป็นพัดแฉกทรงพุ่ม
ข้าวบิณฑ์ประดับอัญมณีเช่นกัน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18431886906425_10341684_643558999090601_47982.jpg)
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


สร้างถวายโดย พระองค์เจ้า ประดิษฐวรการ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๓๙๔
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์องค์นี้แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่พระองค์
ทรงริเริ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี เพราะทรงรับคติสัจนิยมแบบตะวันตกที่เน้นความเป็นธรรมชาติ
เข้ามาแทนที่ค่านิยมแบบประเพณีที่ สืบทอดกันลงมาจากครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เช่น
พระพักตร์และจีวรที่เน้นความเหมือนจริง พระพุทธรูปในรัชกาลนี้ไม่มีพระเมาลี แต่มีพระอุณาโลม
ครองไตรจีวรแบบพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกายที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อทรงบรรพชา
อยู่ที่วัดราชาธิวาสวิหาร ประทับเหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย ที่รองรับด้วยฐานแบบโรมันแปดเหลี่ยม
 และมีจารึกยันต์อริยสัจจ์ที่ฐานและที่หน้ากระดาน ความว่า "พระสยามินทร์มหาราชพระองค์ใด
ทรงบูชาพระพุทธรูปนี้เป็นนิตย์ ขอพระสยามินทร์มหาราชพระองค์นั้น จงชนะซึ่งแผ่นดินทั้งหมด
จงชนะซึ่งข้าศึกทั้งหลายทุกเมื่อ"


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51390970705283_10641283_643558992423935_52515.jpg)
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๑๒ มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่แล้ว
ทุกประการ รวมทั้งฐาน แปดเหลี่ยมและจารึกยันต์อริยสัจจ์ที่ฐานหน้ากระดาน แตกต่างกันที่
ริ้วจีวรเป็นธรรมชาติมากขึ้นและ ตาลปัตรรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ทองคำลงยาราชาวดี
นอกจากนั้นแล้วภายในฐานหน้ากระดานยังมี คูหาประดิษฐานพระกริ่ง ซึ่งได้แก่พระพุทธรูป
ประทับขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ถือหม้อน้ำอมฤต ในพระหัตถ์ซ้ายที่วางหงายอยู่ในพระเพลา
ซึ่งถอดแบบมาจากพระกริ่งของกัมพูชา สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และเป็นพระ
บุคลาธิษฐานของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธะผู้รักษาโรคทั้งมวล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64132431604795_10698542_643558895757278_48573.jpg)
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๕๔ มีวัชระในกรอบรูปข้าวบิณฑ์ที่ผ้าทิพย์เหนือฐานบัวคว่ำบัวหงาย
พระเศียรแบบ พระพุทธรูปสุโขทัย พระวรกาย พระหัตถ์ พระบาทรวมทั้งไตรจีวรปั้นแบบ
เหมือนจริงดูเป็นธรรมชาติ มากกว่าพระชัยวัฒน์รัชกาลที่แล้ว ที่ฐานจารึกยันต์อริยสัจจ์
ตาลปัตรรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ลงยา ตรงกลางมีเลข ๖ อยู่ใต้มงกุฎ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63470083764857_10660174_643558889090612_85890.jpg)
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๙ มีพระพักตร์แบบพระพุทธรูปไทย พระเกศาแบบพระพุทธรูปอินเดีย
แบบคันธารราษฎร์ ครองจีวรแบบเหมือนจริง ไม่พาดสังฆาฏิประทับเหนือกลีบบัวหงาย รองรับ
ด้วยฐานหน้ากระดาน และมีศร ๓ เล่มอยู่ในซุ้มหน้าฐาน ศรสามเล่มนี้ มีความหมายว่า “ศักดิเดชน์”
ซึ่งเป็นพระนาม เดิมของสมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปก ศักดิเดชน์ “คำว่า ‘เดช’ หมายถึงลูกศร
ที่เป็นสามนั้นมาแต่พระแสงศรที่สำหรับชุบน้ำวันถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา คือ ศรพระอิศวร ๑
ศรพระนารายณ์ ๑ ศรพระพรหม ๑” (ศรพรหมาสตร์ ศรปราลัยวาต ศรอัคนิวาต พระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นไว้ สำหรับใช้ในการพระราชพิธีถือน้ำ) ซึ่งเป็น
เครื่องหมายประจำพระองค์ ที่หน้ากระดานทั้งสี่ด้านมีจารึกคาถาธรรมบท คาถาทศบารมี และ
คาถาอริยสัจจ์ ตาลปัตรออกแบบแปลกกว่ารัชกาลก่อนๆ ภายในรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
เป็นแก้วใสเขียนรูปธรรมจักร รอบนอกเป็นแฉกรูปแววขนหางนกยูง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55899348275528__3_Copy_.jpg)
พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๖ โดยมีนายพิมาน มูลประมุข เป็นผู้ปั้นหุ่นพระพุทธรูป โดยเป็น
พระพุทธรูป “แบบสุโขทัยประยุกต์” คือเลียนแบบจากพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประทับเหนือ
ฐานสิงห์แบบอยุธยาตอนปลาย - รัตนโกสินทร์ตอนต้น มีผ้าทิพย์ ขนาดใหญ่จำหลักลาย
ลงยาอยู่ด้านหน้า ซึ่งเป็นการประยุกต์พระพุทธรูปแบบประเพณี ซึ่งเป็นพระราชนิยม ของ
รัชกาล ตาลปัตรรูปพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์คล้ายพัดแฉกงาพัดยศ พระราชาคณะ
ตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ที่ฐานพระพุทธรูปด้านหน้า มีจารึกเป็นคาถา
ที่สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ผูกถวายว่า "ความตั้งใจมุ่งมั่น ความเพียร
ความมีขันติ เป็นพลังที่เป็นเหตุให้ประสบความ สำเร็จโดยแท้ ผู้บรรลุถึงความสำเร็จนั้น
เป็นบัณฑิต ได้รับความชนะมาก ย่อม ให้เกิดความสุขยินดี"


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35812444157070_10420308_648303415282826_84188.jpg)
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ปางรำพึง (วันศุกร์) สร้างปี พ.ศ.๒๔๓๘ องค์พระทำด้วยสัมฤทธิ์
กะไหล่ทอง องค์พระสูง ๒๑.๓๕ ซ.ม. ประดิษฐานณ หอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระบรมมหาราชวัง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58831997215747__Copy_.jpg)
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

เป็นพระพุทธรูปยืน ปางรำพึง (วันศุกร์) องค์พระทำด้วยทองคำ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓

ขอขอบคุณที่มา : พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง
600


หัวข้อ: Re: พุทธปฏิมากร
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 พฤศจิกายน 2564 14:13:57

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16774198205934_247248700_263448449056886_2044.jpg)
พระสัมพุทธพรรณี

เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ครองจีวรตามแบบพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย หน้าตักกว้าง ๔๙ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๖๗.๕๐ เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี ๙๓ เซนติเมตร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวชอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) โปรดให้ขุนอินทรพินิจ เจ้ากรมช่างหล่อ  สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๓ แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หอสวดมนต์วัดสมอราย ภายหลังเมื่อเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารก็ได้เชิญมาด้วย ต่อมาเมื่อเสวยราชย์แล้ว ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ฐานชุกชีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แทนพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วังหน้า เดิมองค์พระไม่มีพระเมาลี หรือพระเกตุมาลา ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ แปลงเสียใหม่ แล้วทำพระรัศมีขึ้น ๔ องค์ ทำด้วยทอง นาก แก้วสีขาว และแก้วสีน้ำเงินสำหรับเปลี่ยนตามฤดูกาล เช่นเดียวกับพระแก้วมรกต คือรัศมีทองสำหรับฤดูร้อน นากหรือแก้วสีขาวสำหรับฤดูหนาว แก้วสีน้ำเงินสำหรับฤดูฝน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้ว จะทรงเปลี่ยนพระรัศมีพระสัมพุทธพรรณี จากนั้นทรงพระสุหร่าย จึงจุดธูปเทียนนมัสการที่ผ้าทิพย์จารึกอักษรมอญ เป็นข้อความว่า


"สุทฺธานนฺตทยาญาโณ           . โคตโม สากยปุงฺคโว
พุทฺโธว ติฏฺฐตุ พิมฺพํ   สมฺพุทฺธ วณฺณินามิทํ"
 

ปัจจุบันพระสัมพุทธพรรณี ได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22765777301457_257771080_276929504375447_7829.jpg)
พระแก้ววังหน้า

ประดิษฐาน ณ ฐานชุกชี ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เบื้องหน้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยหินสีหม่น หน้าตักกว้าง ๓๗ เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์พระ  -
๕๘  เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๘๓ เซนติเมตร


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34714177623391_257543962_275553061179758_4183.jpg)
พระพุทธรูปไม้จันท์ทรงเครื่องจักรพรรดิราช

พระพุทธรูปไม้จันท์ทรงเครื่องจักรพรรดิราชสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓
ประดิษฐานบนฐานชุกชีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง



ที่มา : เผยแพร่เป็นวิทยาทานโดยหอสมุดพิกุลศิลปาคาร


หัวข้อ: Re: พุทธปฏิมากร
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 กรกฎาคม 2565 12:24:01
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36695936818917_294508215_5313427838738421_130.jpg)

พระพุทธมหาชัยยศสุวรรณปฏิมากร

พระพุทธมหาชัยยศสุวรรณปฏิมากร ประกอบด้วยพุทธลักษณะ องค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ด้านหลังประดิษฐานพัดยศสมเด็จพระราชาคณะ อันหมายถึง ความเจริญยิ่งด้วยยศฐานบรรดาศักดิ์อย่างสูงสุด ฐานบัลลังค์มังกร หมายถึง อำนาจ วาสนา ความยิ่งใหญ่ ดอกบัวปทุมมาศ หมายถึง ดอกบัวทองคำ รองรับทรัพย์สมบัติที่จะได้ครอบครอง นับเป็นวาสนาอย่างยิ่งแก่ผู้ได้สักการะบูชา จัดสร้างเมื่อปี ๒๕๖๓

โพสต์จาก พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย
650