[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 31 ตุลาคม 2564 19:28:39



หัวข้อ: สายน้ำมิอาจขวางกั้น "สะพานชูตองเป้" สะพานไม้พลังแห่งศรัทธา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 31 ตุลาคม 2564 19:28:39
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31794005094302_6_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58542536447445_.1_Copy_.jpg)

สะพานชูตองเป้ (Sutongpe Bridge)
บ้านกุงไม้สัก ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  

สะพานชูตองเป้   คำว่า"ซูตองเป้" เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า อธิษฐานสำเร็จ หรือแปลว่า ความสำเร็จ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า หากใครได้มายืนอยู่กลางสะพานแล้วอธิษฐานขอความสำเร็จใดๆ ก็มักจะประสบความสำเร็จตามที่ใจหวัง

สะพานชูตองเป้ อยู่ในพื้นที่ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เป็นสะพานแผงไม้ไผ่สับฟาก มีความกว้าง ๒ เมตร ยาว ๕๐๐ เมตร (โดยประมาณ) สร้างขึ้นเพื่อข้ามแม่น้ำสะงา จากหมู่บ้านกุงไม้สัก ผ่านผืนนาอันกว้างใหญ่ของหมู่บ้าน ข้ามแม่น้ำสะงา ไปสู่ภูเขาเตี้ยๆ อันเป็นที่ตั้งของสถานธรรม "สวนธรรมภูสมะ" ตำบลปางหมู ซึ่ง พระปลัดจิตตพัฒน์ อคฺคปญฺโญ ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและอบรมธรรมะให้แก่พุทธศาสนิกชนและนักเรียนนักศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียง  ลักษณะของสะพานชูตองเป้ เป็นสะพานที่ใช้แผงไม้ไผ่สับ สานขัดกัน เรียกว่า "พื้นไม้ไผ่สับฟาก" นำมาปูเป็นพื้นทางเดิน โดยวางพาดทับบนคานไม้เนื้อแข็งที่ทำรองรับ ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้ดี แล้วนำไม้ไผ่ทั้งลำมาวางทับที่ปลายแผงไม้ทั้งสองข้าง ใช้ลวดยึดติดตรึงกับโครงไม้จนแน่นหนา ในส่วนของสะพานที่ทอดข้ามแม่น้ำสะงา เข้าสู่สวนธรรมภูสมะ ได้ปรับโครงสร้างของสะพานจากการใช้วัสดุไม้ ปรับเปลี่ยนเป็นโครงสร้างเหล็กสำหรับรองรับพื้นสะพาน เพื่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยแก่ผู้สัญจรไปมา  

สะพานชูตอง สร้างในปี พ.ศ.๒๕๕๔ นำโดยท่านพระปลัดจิตตพัฒน์ อคฺคปญฺโญ ประธานสงฆ์สวนธรรมภูสมะ พร้อมด้วยแรงศรัทธาของประชาชนที่ร่วมใจกันสร้างสะพานนี้ขึ้น  ทำการลงเสาเอกเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ ๘ แสนเบาท ระยะเวลาก่อสร้าง ๒ เดือนเศษ ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ สะพานนี้ไม่เพียงเอื้อความสะดวกต่อพระภิกษุสามเณรในการออกเดินบิณฑบาตรไปในหมู่บ้านกุงไม้สักเท่านั้น แต่ชาวบ้านก็ได้อาศัยสะพานนี้สัญจรไปมาข้ามแม่น้ำสะงาอย่างสะดวกมากขึ้น



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37614505572451_251080803_1256607194854958_436.jpg)
ท่านพระปลัดจิตตพัฒน์ อคฺคปญฺโญ ประธานสงฆ์สวนธรรมภูสมะ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99257187793652_17_Copy_.jpg)
แม่น้ำสะงา สายน้ำที่ไหลหล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินและผู้คนสองฟากฝั่ง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87808278616931_4_Copy_.jpg)
พื้นสะพานแผงไม้ไผ่สับฟาก มีการนำไม้ไผ่ทั้งลำมาวางทับที่ปลายแผงไม้ทั้งสองข้าง แล้วใช้ลวดยึดติดตรึงกับโครงไม้จนแน่นหนา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76959228308664_1_Copy_.jpg)
สะพานในช่วงที่ทอดข้ามแม่น้ำสะงา ได้ปรับโครงสร้างจากการใช้วัสดุไม้ เปลี่ยนเป็นใช้เหล็กสำหรับรองรับพื้นสะพาน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40320497254530_2_Copy_.jpg)
พื้นไม้ไผ่สับฟาก ใช้วัสดุไม้ไผ่ทั้งลำมาผ่าซีก สอดขัดกัน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93285388582282_20_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58026093120376_3_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28397781815793_21_Copy_.jpg)
สายน้ำไม่เคยเหือดหาย ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ชนบทในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29446424378289_7_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36705987817711_16_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17099956133299_18_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32829722265402_19_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56886317498154_31_Copy_.jpg)
หยาดน้ำค้างพร่างพราว โลมไล้บนใบข้าว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17676211521029_5_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86753098873628_32_Copy_.jpg)