[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 15 พฤษภาคม 2553 09:53:47



หัวข้อ: หลักการในการนับถือพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 15 พฤษภาคม 2553 09:53:47
(http://www.seesod.com/storage33/Mkz20YmpM61273726553/o.jpg)



Nirvana (http://www.youtube.com/watch?v=tsxAl3yfveY#)



การสวดมนต์ของพระพุทธศาสนาไม่ว่านิกายใดแบ่งออกเป็นได้ ๒ ประเภท คือการสวดโดยบุคคลหรือการสวดเป็นการส่วนตัวและ
การสวดเป็นหมู่คณะโดยจุดประสงค์ของการสวดนั้น เพราะว่าในอดีตนั้นคำสอนของพระพุทธศาสนาไม่มีการจดจารเป็นอักษร หากแต่ใช้การท่องจำปาก
ต่อปากหรือที่เรียกว่า มุขปาฐะ โดยพระภิกษุจะแบ่งกันเป็นคณะ ๆ โดยจะมีหน้าที่รับผิดชอบว่า คณะใดจะจดจำหมวดใดและพระภิกษุแต่ละองค์
ในแต่คณะก็จะท่องจำโดยส่วนตน เมื่อถึงคราวที่มาประชุมก็จะสาธยายพร้อมกัน เพื่อตรวจสอบว่าเนื้อหาธรรมที่ตัวเองจดจำเหมือนหรือต่างกับที่คน
อื่นจดจำหรือไม่อย่างไรมีส่วนใดที่ตนจดจำผิดพลาดหรือตกหล่นหรือไม่ ก็จะได้แก้ไขให้ถูกต้องและเพื่อการสวดสาธยายอันจะเป็นไปด้วยความ
พร้อมเพรียงและเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ทำนองในการสวดมนต์ จึงถือกำเนิดขึ้นไม่ว่านิกายใด ๆ ต่างมีทำนองในการสวดมนต์เป็น
ของตน และแต่ละนิกายต่างก็ไม่ได้ มีทำนองในการสวดมนต์เพียงทำนองเดียว
เมื่อเวลาผ่านไป คณะสงฆ์แจ้งชัดว่า สืบไปความสามารถในการจดจำของพระภิกษุจะลดลง ไม่บริบูรณ์ดังคนรุ่นก่อนด้วยเหตุนี้จึงมีการประชุมสงฆ์ขึ้นเพื่อสวดสาธยายธรรมในหมวดต่าง ๆ และเมื่อเป็นลงต้องกันเป็นที่เรียบร้อยจึงให้จดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยแบ่งออกเป็น ๓ หมวดใหญ่
ซึ่งก็คือ พระไตรปิฎก นั่นเองและการประชุม สงฆ์ครั้งใหญ่เพื่อสวดสาธยายธรรมทั้ง ๓ ปิฎกเรียกว่าการสังคยนาโดยที่การสังคยนาและพระไตรปิฎกของแต่ละนิกายจะแตกต่างกันไป ทว่าในส่วนของข้อธรรมนั้น ซึ่งถ้าศึกษาจะพบว่าไม่ว่านิกายใดต่างก็มีแนวทางคำสอนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ยกเว้นนิกายที่ตั้งขึ้นใหม่ในยุคหลัง ๆ
แม้ว่าปัจจุบันการ ท่องจำไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่ธรรมเนียมในการสวดมนต์ยังคงมีสืบมาจวบจนปัจจุบันโดยถือเป็นกิจที่สำคัญที่ต้องทำในพิธีกรรมของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาทว่าบทสวดมนต์ที่ค่อนข้างยาวนั้นจะพบว่าพระที่สวดได้จะมีน้อยลง เช่น บทปาฏิโมกข์ ที่พระจะต้องสวดในวันอุโบสถอย่างไรก็ตามก็ยังมีพระภิกษุบางองค์ที่สามารถท่องจำไตรปิฎกได้ทั้งหมดอยู่ในประเทศพม่าอานิสงส์จากการสวดมนต์ที่เห็นได้ชัดเจนคือการที่พระภิกษุ
มีความจำดีไม่เลอะเลือนแม้ว่าจะมีอายุมากเท่าใด และไม่ว่าพระองค์นั้นจะเป็นพระปฏิบัติธรรมหรือไม่ยกเว้นโรคภัยใข้เจ็บอันกระทบกระเทือนถึง
สมองในทางวิทยาศาสตร์อาจอธิบายว่าการจดจำบทสวดมนต์จำนวนมาก และสวดสาธยายเสมอ ๆ อาจเป็นการบริหารเซลล์สมองให้เกิดใหม่อยู่
เรื่อย ๆ แต่ในทางความเชื่ออาจกล่าวได้ว่านี่คือ พุทธานุภาพ แห่งพระศาสดาที่คุ้มครองพระภิกษุทุกองค์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งพระพุทธองค์


หัวข้อ: Re: หลักการในการนับถือพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 15 พฤษภาคม 2553 10:03:16
(http://www.seesod.com/storage33/Mkz20YmpM61273726553/o.jpg)



ด้วยเหตุผลทางความเชื่อ เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมการเมือง ฯลฯ ทำให้ทำนองสวดมนต์ของแต่ชนชาติและแต่ละนิกายมี
หลากหลายโดย
ในส่วนของประเทศไทยนั้นอาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือการสวดทำนองราษฎร์และทำนองหลวงโดยทำนองราษฎร์จะใช้ในพิธีของ
ประชาชน
ส่วนทำนองหลวงจะใช้ในการพระราชพิธี ขณะที่ทำนองบางอย่างนั้นจะใช้เป็นการเฉพาะไม่ใช้กับพิธีอื่น ๆ อาทิเช่นทำนองที่ใช้ในการสวดภาณยักษ์
เป็นต้น
ในส่วนของพระมหายาน จีน ญวนหรือเวียดนาม เกาหลีญี่ปุ่น ฯลฯและวัชระยาน ทิเบต เนปาล ภูฏาน ฯลฯนั้นเนื่องจากในประเทศไทยคนที่มีความ
เชื่อในด้านนี้อย่างจริงจัง มีค่อนข้างน้อย จึงแพร่หลายในวงจำกัดซึ่งใน ความเป็นจริงนั้นทำนองที่พุทธศาสนาในอุตรนิกายมีค่อนข้างหลากหลายแม้
จะเป็นบทสวดมนต์เดียวกันแต่เราจะพบว่าพอต่างสำนักแล้วก็สวดทำนองต่างกันและยังออกเสียงต่างกันด้วยแม้จะออกเสียงสำเนียงเดียวกันก็ตาม
เช่นจีนกลาง – จีนกลางซึ่งโดยมากการเผยแพร่ไปสู่สาธารณะจะเผยแพร่ในรูปแบบของการขับร้องโดยใช้ดนตรีประกอบซึ่งถือเป็นวิธีในการเผยแพร่
ที่เอกลักษณ์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในอุตรนิกายแต่เนื่องจากวิธีดังกล่าวเน้นไปที่ความบันเทิงเราจึงมักพบว่าเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งในการนำ
เสนอในเท่านั้นหาใช่ทำนองที่ใช้จริงในการประกอบศาสนกิจไม่  
คนที่นับถือพุทธ ศาสนาวัชระยานในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พวกแรกเป็นคนไทยเชื้อสายจีนซึ่งกลุ่มนี้แม้จะนับถือวัชรยานแต่ไม่เน้นหนักมากนักโดยมากจะเน้นที่พุทธศาสนามหายานและลัทธิเต๋ามากกว่าส่วนที่ ๒ คือผู้ที่มีความสนใจทั่วไปและพวกที่ ๓ ซึ่งอาจกล่าว
ได้ว่าเป็นพวกคนรุ่นใหม่หรือพวกปัญญาชน คนกลุ่มนี้จะนับถือพุทธศาสนาวัชรยาน โดยได้รับอิทธิพลมากจากชาวตะวันตกที่นับถือพุทธศาสนาวัชรยาน
อีกทีซึ่งคนที่มีบทบาทพลักดันที่สำคัญก็ได้แก่ พระไพศาล วิสาโล ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ส. ศิวรักษ์ ฯลฯ โดยที่คนกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความสัมพันธ์
อันดีกับ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย นักวิชาการองค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ


หัวข้อ: Re: หลักการในการนับถือพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 15 พฤษภาคม 2553 10:11:00
(http://www.seesod.com/storage33/Mkz20YmpM61273726553/o.jpg)



หลายครั้งที่เราจะพบว่าคนกลุ่มนี้ค่อนข้างจะยกย่องชาวตะวันออกโดยจะตำหนิและต่อต้านต่อต้านชาวตะวันตกทว่าจากเอกสารและบทความตลอดจนถึงคำพูดของคนเหล่านี้จะพบว่าคนเหล่านี้มีแนวคิดแบบชาวตะวันตกค่อนข้างชัดเจนมาก  
แท้จริงแล้วสารัตถะ แห่งพระพุทธศาสนา พ้นแล้วจากการแบ่งแยกเรา – เขา ตลอดถึงชนชาติทั้งปวงซึ่งการนับถือพุทธศาสนานิกายใด ๆ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีงามแต่นั่นต้องหมายความว่าเราต้องไม่นับถือศาสนาเพราะต้องการเป็นการยกย่องสิ่งหนึ่งและลบล้างหรือต่อต้านอีกสิ่งหนึ่งและไม่ควรนับถือศาสนาเพราะค่านิยมและยิ่งไม่ควรใช้ศาสนาเป็นเครื่องมอมเมาจิตใจเพราะนั่นเราจะไม่ได้พบและรับประโยชน์จากศาสนาที่แท้จริง  
การเผยแพร่บทสวดมนต์ ของพุทธศาสนามหายานและวัชระยานในประเทศไทยนั้น โดยมากจะพบในรูปของสื่ออิเล็กโทรนิก CD VCD DVD และ
MP3 ฯลฯ หลายครั้งที่เราจะพบว่าที่กล่าวว่าเป็นบทสวดมนต์ทิเบตวัชรยานแต่โดยมากจะเอียงไปทางมหายานมากกว่าไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาของบทสวดมนต์
และดนตรีที่ใช้ประกอบ
ทำนองบางทำนองนั้นมี ที่มาในรูปของความเชื่อผู้เขียนเคยได้ฟังพระภิกษุทิเบต ลามะ สวดทำนองทิเบตในรูปแบบหนึ่งเล่ากันว่าทำนองนี้สืบทอดกันมารุ่น
ต่อรุ่น ผู้รู้ทำนองนี้มีไม่มากโดยกล่าวกันว่าปรมาจารย์ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์กล่าวกันว่าผู้ที่ได้ฟังการสวดทำนองนี้
แม้จะได้ฟังเพียงครั้งเดียวเมื่อสิ้นชีวิตลงจะไม่มีทางตกลงสู่อบายภูมิแน่นอน


หัวข้อ: Re: หลักการในการนับถือพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 15 พฤษภาคม 2553 10:18:29
(http://www.seesod.com/storage33/Mkz20YmpM61273726553/o.jpg)



นิกายสุขาวดีเป็นนิกายที่สำคัญของพุทธศาสนามหายานนิกายหนึ่ง นิกายนี้เน้นที่การสวดรำลึกถึงพระนามพระอมิตาภพุทธเจ้าความ
จริงแล้วนิกายนี้มีเนื้อหาธรรมลึกซึ้งมาก แต่คนจำนวนไม่น้อยศึกษาเพียงผิวเผิน แล้วมักสำคัญผิดว่านิกายไม่มีเนื้อหาธรรมอันใดจึงมักดูแคลนว่า
มีแต่เพียงการสวดรำลึกถึงพระ นามพระอมิตาภพุทธเจ้าเท่านั้น อันมีแต่ศรัทธาแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญาจึงทำให้ทำลายประโยชน์แห่งตนไปอย่าง
น่าเสียดายมีเรื่องเล่ากันว่า
มีปรมาจารย์ของนิกายมหายานรูปหนึ่งจาริกไปที่ ภูเขาอู่ไถ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นธรรมสถานแห่งพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ เมื่อไปสักการะจึงอธิษฐาน
ขอให้ได้
พบพระองค์ ครานั้นด้วยพระมหากรุณาแห่งพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ จึงทรงสำแดงนิรมานกายเบื้องบนนภากาศ พระเถระถวายบังคมแล้วถามว่า
สืบไป
อนาคตเพื่อประโยชน์แห่งสรรพชีวิต ของพระองค์ได้โปรดแสดงว่า ดำเนินธรรมสายใดจึงจะต้องอัธยาศัยแห่งสรรพชีวิตมากที่สุดพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์
ตรัสตอบว่า รำลึกถึงพระนามพระอมิตาภตถาคตเป็นเอกไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า พระเถระได้ฟังดังนั้นจึงได้ทูลถามอีกว่า ถ้าเช่นนั้นจักสวดอย่างไรพระมัญชุศรีจึงได้ถ่ายทอดการสวดรำลึกพระนามพระอมิตาภแบบเสียง ๕ ระดับ หรือที่เรียกว่า ปัญจสัททะซึ่งได้สืบทอดมาจนปัจจุบันนี้อย่างไรก็ตามบางแห่งเชื่อว่าการ
สวดรำลึกถึงพระนามแห่งพระอมิตาภแบบปัญจสัททะปัจจุบันได้สาบสูญไปแล้วที่พบเห็นในปัจจุบันนั้นเป็นการแต่งขึ้นมาใหม่ในภายหลัง
สิ่งที่จะต้อง ตระหนักอย่างยิ่งยวดในการนับถือศาสนาคือ อะไรคือเนื้อหาหรือสารัตถะที่แท้ของศาสนาหาไม่แล้วศาสนาจะเป็นเพียงรูปแบบหรือ
เป็นสิ่ง ๆ หนึ่งที่ใช้ในการยึดเหนี่ยวเพื่อหลอกตัวเองซึ่งนั่นไม่ใช่หนทางแห่ง ปัญญา




เขียนโดย จุลปัทมะ วันพุธที่ 07 ตุลาคม 2009 เวลา 12:22 น.



credit by ............................http://www.q1133.com (http://www.q1133.com)


หัวข้อ: Re: หลักการในการนับถือพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 15 พฤษภาคม 2553 12:15:48

(http://i198.photobucket.com/albums/aa105/free-at-spirit/84e9f17f.jpg)
สาธุค่ะ


หัวข้อ: Re: หลักการในการนับถือพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 15 พฤษภาคม 2553 13:09:48
(:88:) (:88:) (:88:)