[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ จิบกาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 15 ธันวาคม 2564 21:02:51



หัวข้อ: ภาพเล่าเรื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 ธันวาคม 2564 21:02:51
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30436465847823_266742866_1284965365352474_206.jpg)

นางหาริตี

นางหาริตี คือ ยักษิณีผู้พิทักษ์เด็กในพุทธศาสนา  เด็กจำนวนมากล้อมรอบนาง อีกนัยหนึ่งนางก็เป็นผู้ประทานบุตร
ให้กับผู้ศรัทธาด้วย  ด้วยเหตุนี้นางจึงเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกับท้าวกุเวร  บางคติจึงถือนางเป็น
ชายาของท้าวกุเวร การปรากฏของท้าวกุเวรและนางหาริตีที่ประตูทางเข้าของจันทิเมนดุต ย่อมแสดงคติการอวยพร
ให้กับผู้ศรัทธาอย่างไม่ต้องสงสัย

ที่มา : ฐานข้อมูลศิลปกรรมโบราณในเอเซียอาคเนย์


หัวข้อ: Re: จ้าดารารัศมี พร้อมลายเซ็นท่าน ที่หาชมได้ยาก : ภาพเล่าเรื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 ธันวาคม 2565 17:09:06
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61575344494647_316671454_8345888605453558_941.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/52193622953361_316801288_8345889545453464_336.jpg)

ภาพถ่ายซีเปีย เจ้าดารารัศมี พร้อมลายเซ็นท่านที่ถือว่าสูงสุดของตัวผู้สะสะสมในภาคเหนือ ในอริยะบทที่ยังไม่เคยเห็น   
ไม่ต้องบรรยายมากให้ภาพนั้นเล่าเรื่อง

ขอขอบคุณ ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ที่มาภาพ)

เจ้าดารารัศมี พระราชชายา มีพระนามเดิมว่า "เจ้าดารารัศมี" พระนามลำลองเรียกกันในครอบครัวว่า "เจ้าน้อย" และในพระประยูรญาติว่า "เจ้าอึ่ง" ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา (หากนับทางเหนือ เป็นเดือน ๑๐) หรือตรงกับวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๖ เวลา ๑๑.๓๐ น.เศษ ณ คุ้มหลวงกลางเวียง นครเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) เป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์กับเจ้าทิพเกสร มีพระเชษฐภคินีร่วมพระอุทรหนึ่งพระองค์คือเจ้าจันทรโสภา

เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าดารารัศมีทรงพระอักษรทั้งฝ่ายล้านนา สยาม และภาษาอังกฤษ จนแตกฉาน ทั้งยังได้ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ จนนับได้ว่าทรงเป็นผู้รอบรู้ในด้านขนบประเพณีอันเก่าแก่เหล่านั้นดีที่สุดคนหนึ่งทีเดียว และโปรดการทรงม้าเป็นอย่างยิ่ง

เหตุแห่งการเสด็จเข้าวังหลวง
ในปี พ.ศ.๒๔๒๖ เมื่อเจ้าดารารัศมีมีพระชนมายุได้ ๑๑ พรรษาเศษ พระบิดาได้จัดให้มีพิธีโสกันต์เจ้าดารารัศมีอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นพิธีโสกันต์ครั้งแรกในล้านนา โดยมีพระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันท์) ข้าหลวงสามหัวเมือง เป็นธุระในเรื่องการจัดพิธีโสกันต์ตลอดงาน ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (เวลานั้นดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำภาคพายัพ) ได้อัญเชิญพระกุณฑล (ตุ้มหู) และพระธำมรงค์เพชรไปพระราชทานเป็นของขวัญโกนจุกแก่เจ้าดารารัศมี

คล้อยหลัง ๓ ปี ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๙ (ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๒๔๘) ในปี ๒๔๒๙ นั้น พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้เสด็จลงมายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมในพระราชพิธีลงสรง และสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เจ้าดารารัศมีได้โดยเสด็จพระบิดาลงมากรุงเทพฯ ในครั้งนี้ด้วย และได้ถวายตัวรับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม ตำแหน่งพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


หัวข้อ: Re: ลีน่า รินทาล่า นักเต้นรำอัจฉริยะแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - ภาพเล่าเรื่อง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 ธันวาคม 2565 13:53:56

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57795554978979_314412269_5718161298268779_800.jpg)

ลีน่า รินทาล่า Leena Rintala

ลีน่า รินทาล่า Leena Rintala นักออกแบบท่าเต้นหญิงชาวฟินแลนด์ (เกิดที่ฮาร์บิ้น ประเทศจีน พ.ศ.๒๔๖๔ ถึงแก่กรรมที่ทัวร์คู ฟินแลนด์ พ.ศ.๒๕๑๕) ทำการแสดงที่โรงละครแห่งชาติฟินแลนด์ในชุด "การรำแบบตะวันออกและรำศาสนา" (oriental and temple dance) โดยมีวงออร์เคสตร้าบรรเลงประกอบ บันทึกภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ขณะนั้นเธออายุ ๑๔ ปี

In October 1935, 14-year-old Leena Rintala (Finnish dancer and dancing master) performed oriental and temple dances at the National Theater, accompanied by its orchestra.

———————————————

ประวัติของลีน่า รินทาล่า อานันท์ นาคคง ถอดความจาก https://fi.wikipedia.org/wiki/Leena_Rintala

ลีน่า รินทาล่า Leena Rintala (๑๙๒๑ Harbin, China – ๑๙๗๒ Turku) เป็นนักเต้นและครูสอนเต้นรำชาวฟินแลนด์ เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากการแสดงนาฏศิลป์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๓๐

บิดาของลีน่าชื่อ อารวี จูซี รินทาลา Arvi Jussi Rintala ได้เดินทางออกจาก Karelia ของฟินแลนด์ไปทางทิศตะวันออกในปี ๑๙๒๐ และจบลงที่ ฮาร์บิน ของแมนจูเรีย ซึ่งเป็นปลายทางของเส้นทางไซบีเรีย  ฮาร์บินเป็นศูนย์กลางการค้าธัญพืชและมีสำนักงานใหญ่ของบริษัทรถไฟรัสเซีย-จีนอยู่ที่นั่น รัสเซียผิวขาวหลายคนที่หนีสงครามกลางเมืองรัสเซียและชาวยิวที่หนีการกดขี่ข่มเหงและชาวต่างชาติอื่นๆ อาศัยอยู่ในเมือง  ฮาร์บินเป็นเมืองท่าและมีโรงละคร วาไรตี้โชว์ และไนท์คลับที่เฟื่องฟู รวมถึงการเก็งกำไร การซื้อขายสกุลเงิน การพนัน และการค้าประเวณี

อารวี จูซี อาจเป็นบิดาผู้ให้กำเนิดหรือพ่อบุญธรรมของลีน่า   ทอม ฮาร์เตล Tom Hartell สามีคนแรกของ Leena Rintala ได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Hymyเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ เขาให้ข้อมูลว่าชื่อเดิมของ ลีน่า คือ ลินไล Lin-lai และเธอน่าจะเป็นลูกสาวของภรรยาเก่าของอารวี จูซี ที่เสียชีวิตในฮาร์บิน จากการแต่งงานครั้งก่อน อารวี จูซี และภรรยาใหม่ของเขารับเลี้ยงลีน่าและซิกเน่ น้องสาวของเธอจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในท้องถิ่น อารวี จูซี ฝึกฝนลีน่าเป็นนักเต้นและซิกเน่เป็นนักร้องและทำหน้าที่เป็นผู้แสดง ลีน่าเริ่มเรียนเต้นที่โรงเรียนสอนเต้นรัสเซียในฮาร์บินเมื่ออายุได้ ๖ ขวบ

ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ จุสซี รินทาลา และลูกสาวย้ายไปอยู่ที่ญี่ปุ่น  โดยลีนาได้แสดงที่โรงละคร Great Imperial ของกรุงโตเกียว และเธอยังได้พบกับศาสตราจารย์ G.J. Ramstedt เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศญี่ปุ่น ลีน่าล้มป่วยด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในญี่ปุ่น และหลังจากพักฟื้น เธอก็เริ่มเรียนนาฏศิลป์ญี่ปุ่นและภาษาญี่ปุ่น พ่อลูกกลับมาที่ประเทศจีนในปี พ.ศ.๒๔๗๓ แต่เนื่องจากสภาพการณ์ที่ลำบาก พวกเขาจึงเดินทางต่อไปจนกระทั่งสิ้นสุดที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่ลีน่าศึกษาการเต้นรำเลกองในท้องถิ่น ซึ่งกลายเป็นงานแสดงยอดนิยมของเธอ จากบาหลี เธอเดินทางต่อไปยังสิงคโปร์ โดยลีน่าเรียนรู้วิธีการเต้นรำของสกอตแลนด์ไฮแลนด์ ฟลิง และเดินทางต่อไปยังกรุงสยาม ซึ่งเธอศึกษาการเต้นรำท้องถิ่น และตามรายงานของหนังสือพิมพ์ เธอเรียนแม้แต่การแสดงสำหรับฉลองงานวิวาห์คู่บ่าวสาวสยาม

จากกรุงสยาม เธอย้ายไปย่างกุ้ง ประเทศพม่า ลีน่าเรียนรู้การรำแบบพม่าซึ่งถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของละครของเธอ และเธอก็ได้ชุดการแสดงจากพม่าด้วย จากพม่า ลีน่าย้ายไปอินเดียในปี พ.ศ.๒๔๗๖ และเปิดการแสดงที่เมืองซิมลา ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงฤดูร้อนของการปกครองอาณานิคมของอังกฤษ  ตั้งอยู่ที่ระดับความสูงสองพันเมตรบนเนินเขาหิมาลัย จากอินเดีย การเดินทางของลีน่าเดินทางต่อไปในสยาม ฟิลิปปินส์ อบีซีเนีย อียิปต์ กรีซ ฮังการี และเอสโตเนีย จนจบการเดินทางที่ฟินแลนด์ ซึ่งพวกเขามาถึงในปี พ.ศ.๒๔๗๗ ลีน่าแสดงครั้งแรกที่ Grand Hotel Fennia ในเฮลซิงกิ และจากนั้นเธอก็ประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อเธอแสดงการเต้นรำแบบตะวันออกของเธอที่โรงละครแห่งชาติในปี ๒๔๗๘ เธอยังแสดงในเบอร์ลินและปารีสด้วย  ตอนแรกเธอใช้ชื่อบนเวทีว่าเรอเน่ ปูแลตต์ Renée Paulette ในฟินแลนด์ แต่แล้วก็เลิกใช้และเริ่มแสดงภายใต้ชื่อของเธอเอง

พ่ออุปถัมภ์ อารวี จูซี รินทาลาแต่งงานกับศิลปิน Kantele Kerttu Haapasalo น้องสาวซิกเนแต่งงานกับมิชชันนารีและย้ายไปแอฟริกา ลีน่าสูญเสียเครื่องใช้ในการแสดงของเธอไปในช่วงปีสงคราม และอาชีพของเธอในฐานะนักเต้นรำอัจฉริยะแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จบลง อย่างไรก็ตาม เธอยังคงแสดงการเต้นรำชาติพันธุ์ในทัวร์ฟินแลนด์และทำงานเป็นครูสอนเต้นรำ ทอม ฮาร์แตล Tom Hertell สามีคนแรกของลีน่าเป็นผู้จัดทัวร์ ต่อมาเธอแต่งงานกับนักมายากล เรจิโอ ซาลมิเนน Reijo Salminen เป็นครั้งที่สอง เธอทำงานที่โรงละครวาไรตี้ของ Punainen Mylly ในฐานะนักออกแบบท่าเต้นและนักเต้นในช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๕๐ และยังคงมีส่วนร่วมในทัวร์ที่จัดโดย Helge Siimes ในช่วงปลายทศวรรษ ๑๙๕๐ และต้นทศวรรษ ๑๙๖๐ และทำงานเป็นผู้ช่วยของ เรจิโอ ซาลมิเนน สามีของเธอ ลีน่าเลิกอาชีพนักเต้นในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ย้ายไปสวีเดนกับลูกสาวของเธอเนื่องจากปัญหาทางการเงิน และทำงานเป็นคนทำความสะอาดโรงแรม เธอเสียชีวิตในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ในทัวร์ครู Turku จากอุบัติเหตุไฟไหม้ห้องโดยสารใน Kemiönsaari สิริอายุได้ ๕๑ ปี

———————————

ภาพต้นฉบับ เป็นลิขสิทธิ์ของ Museovirasto สำนักงานมรดกแห่งฟินแลนด์
นอกจากภาพนี้ ยังมีเอกสารอีกชิ้นที่น่าสนใจมาก คือ WEIMARISTA VALTOIHIN ลิงค์ https://www.teatterimuseo.fi/.../weimarista_valtoihin_www... พิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Kirjoittajat เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ บรรณาธิการโดย : Johanna Laakkonen, Tiina Suhonen ในบทความ "นักเต้นระบำระหว่างตะวันออกและตะวันตกลีน่า รินทาลา และละครเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเธอ" TANSSIJA IDÄN JA LÄNNEN VÄLISSÄ Leena Rintala ja hänen kaakkoisaasialainen ohjelmistonsa เขียนโดยจุคก้า เมียตติเนน Jukka O. Miettinen อยู่ในเอกสารหน้า ๙-๓๔ ของหนังสือเล่มนี้ จุคก้าได้ค้นคว้าเรื่องราวชีวิตและผลงานของลีน่าไว้อย่างละเอียด มีภาพเธอสมัยเด็กร่ายรำในชุดบาหลี เมียนมาร์ สก็อตติช ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอื่นๆ รวมทั้งลายเซ็นของเธอบนภาพรำสยาม (แต่ลงปีเอาไว้แตกต่างจากบันทึกของ Museovirasto ซึ่งคงต้องตรวจสอบความถูกต้องต่อไป) และมีคำวิจารณ์เรื่องการแต่งกาย-การโพสต์ท่ารำของลีน่าจาก ดร.อนุชา ธีรคานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทยและการแต่งกาย รวมอยู่ในบทความชิ้นนี้ด้วย  ตัวจุคก้านั้นเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และทฤษฎีศิลปะการแสดง สอนที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ตีพิมพ์หนังสือหลายเล่มและทำงานใน Kuopio ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของเทศกาลศิลปการแสดงเฮลซิงกิ Tanssii ja Soi - sekä Aasia Helsingissä -festivaal


ที่มา : ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช.