[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 20 มีนาคม 2565 13:35:55



หัวข้อ: “ผ้าขาวม้า” คำยืมใช้จาก “เปอร์เซีย” คนไทยใช้ “ผ้าเคียนพุง”
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 20 มีนาคม 2565 13:35:55
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57483705629905__696x364.jpg)
ภาพวาดประกอบในหนังสือ “เล่าเรื่องกรุงสยาม” ของปาเลอกัว ใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่าทั้งสองข้าง


“ผ้าขาวม้า” คำยืมใช้จาก “เปอร์เซีย” คนไทยใช้ “ผ้าเคียนพุง”

ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มกราคม 2543
ผู้เขียน   - ชลอ ช่วยบำรุง
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2565


ปัญหาเรื่องคํา “ผ้าขาวม้า” ซึ่ง มร.เดอ ลาลูแบร์ บันทึก ไว้อย่างชัดเจน และคุณสันต์ ท. โกมลบุตร แปลจากต้นฉบับ ภาษาฝรั่งเศสโดยตรงไว้อย่างดีเยี่ยม จึงขอคัดลอกคําแปลของท่านแบบคงอักขรวิธีตามต้นฉบับ คือ

14. ความละอายในการเปลือย
แต่อย่างไรก็ดีการเปลือยการ (น่าจะเป็น กาย-ชลอ) โดย ทํานองนี้ใช่ว่าชาวสยามจะไร้ยางอายก็หาไม่ ตรงกันข้าม ชายและหญิงในประเทศนี้กลับเป็นชนชาติที่มีความตะขิดตะขวงใจเป็นอย่างยิ่งในโลก ที่เผยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายซึ่งทําเนียมกําหนดให้ปิดบังไว้ ออกให้ใครๆ เห็น พวกผู้หญิงที่นั่งขดอยู่ในเรือเมื่อวันที่เอกอัครราชทูตพิเศษของสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสแห่เข้าพระนคร ยังรีบผินหลังให้ขบวนแห่ทันที ส่วนคนที่อยากเห็นเต็มแก่ก็เพียง เหลียวหลังข้ามไหล่มาดูเท่านั้น เราต้องจ่ายผ้าขาวม้าให้ทหารฝรั่งเศสนุ่งเมื่อลงอาบน้ำตามถิ่นท่า (น่าจะ เป็นตีนท่า-ชลอ) เพื่อระงับข้อคระหาของชาวเมืองที่เห็น ทหารฝรั่งเศสเปลือยกายล่อน จ้อนลงอาบน้ำในแม่น้ำ

คงเห็นชัด ในสมัยอยุธยาชาวไทยใช้ผ้าขาวม้านั่งอาบน้ำ

จะอย่างไรก็ตามจิตรกรรมตามฝาผนัง จะเห็นภาพชายชาวไทยใช้ผ้าผาดบ่า อาจจะเป็นภาพที่เกิดขึ้นก่อนสมัยอยุธยาก็ได้บางทีผ้าเหล่านั้นก็ใช้คาดพุง ซึ่งคนบ้านนอกอย่างคนเขียนนี้เรียก “ผ้าเคียนพุง”

ตอนเป็นเด็กๆ ผู้บังเกิดเกล้าใช้ให้ไปหยิบผ้าเคียนพุง ก็หยิบได้ถูกต้อง ครั้นโตขึ้นไปอาศัยข้าวก้นบาตรพระที่วัดข้างบ้าน หิดขึ้นเต็มง่ามมือทั้งสองข้าง พระท่านใช้ให้ไปหยิบผ้าดินแดง ก็หยิบได้ถูกต้อง เพราะเป็นผ้าเคียนพุงของพระท่าน ครั้นโตขึ้นอีกหน่อยมีโอกาสเข้าไปเรียนหนังสือในตัวเมือง พวกเพื่อนๆ ว่าต้องนุ่งผ้าขาวม้าอาบน้ำ (ความจริงพวกเพื่อนๆ เรียก ผ้าขาม้า มากกว่าผ้าขาวม้า)

จึงได้รู้ว่า “ผ้าขาวม้า” ก็คือ “ผ้าเคียนพุง” นั่นเอง

ต่อมาอ่านหนังสือได้แต่ไม่แตก จึงทราบว่า ปราชญ์หลาย ท่านเขียนถึงคํา “ผ้าขาวม้า” ไว้หลายแห่ง จนกระทั่ง พ.ศ.2540 กรมศิลปากร จัดพิมพ์หนังสือ “อภิธานศัพท์คําไทย ที่มีต้นเค้ามาจากภาษาต่างประเทศ” คงเก็บคํานี้ไว้เช่นกัน ดังข้อความ

ผ้าขาวม้า เป็นคําไทยมีต้นเค้ามาจาก ภาษาเปอร์เซีย มี คําเต็มว่า กามาร์ บันด์ (Kamar band)

กามาร์ แปลว่า เอว หรือ ท่อนร่างของร่างกาย ส่วน บันด์ แปลว่า พัน, รัด, หรือ คาด.

เมื่อรวมกันเป็น กามาร์ บันด์ จึงหมายถึง เข็มขัด, ผ้า พัน, หรือ รัด, หรือ คาดสะเอว

คํา กามาร์ บันด์ นี้ยังมีปรากฏอยู่ในภาษาอื่นๆ อีก เช่น ภาษามลายู มีคํา กามาร์บัน (Kamarban) หมายถึงผ้าพันสะเอว ภาษาฮินดี มีคํากามาร์บันด์ (Kamarband) คือ ผ้าใช้รัดเอว และ ภาษาอังกฤษมีคํา คัมเมอร์บันด์ (Cummerband) ด้วย

ข้อความทั้งหมดข้างต้นนั้นเป็นข้อเขียนของ คุณพรพรรณ ทองต้น ซึ่งเขียนลงในหนังสือที่กรมศิลปากร จัดพิมพ์จําหน่ายดัง กล่าวแล้ว พอเห็นภาษาอังกฤษเข้าก็เหมือนยาหม้อใหญ่เข้าอีก จึง ลองค้นหาคํา Cummerbund จาก The Compact Edition of the Oxford English Dictionary เขียนอธิบายไว้ คือ

Cummerbund : [Urdū and Pers. kamer band, i, e, lion-band] A sash, or gindle worn round the waist, a waist belt.

ทําไมค้นหาคํา Cummerbund ไม่ค้นหาคํา Cummerband เรื่องนี้ตอบได้ พจนานุกรมอังกฤษใช้ Cummerbund อเมริกาใช้ Cummerband (อย่าถามว่า ทําไมเป็นอย่างนั้น เพราะภาษานี้ตามง้อ เขามาหลายทศวรรษแล้ว เขาไม่ใคร่จะญาติดีด้วย เขางอนและเล่นตัวมาก ขณะนี้ยังตามง้อเขาอยู่ จะเห็นได้ชัด รากศัพท์นั้นตรงกับ หนังสือศิลปากรพิมพ์จําหน่าย

ด้วยเหตุนี้ “ผ้าขาวม้า” จึงเป็นคําของเปอร์เซียเขา ไม่คำไทย

ผ้าเคียนพุง เชื่อว่าเป็นคําไทยแน่ ๆ คนบ้านนอกรุ่น ๗๐ ขวบขึ้นไปเคยได้ยินคํานี้มาก่อน คําผ้าขาวม้า