[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปรษณีย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 07 เมษายน 2565 15:19:27



หัวข้อ: “ชาเค็มทรงเครื่อง” เครื่องดื่มกึ่งของว่างที่ได้อิทธิพลจากจีนแคะ
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 เมษายน 2565 15:19:27
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93731806220279_17323_696x463_Copy_.jpg)

ชาเค็มทรงเครื่องที่นอกจากมีน้ำชาเป็นหลักแล้ว ยังมีเครื่องเคราอย่่างกุ้งแห้ง, ต้นหอม, ผักชี, ถั่วป่น, ข้าวพอง ฯลฯ

“ชาเค็มทรงเครื่อง” เครื่องดื่มกึ่งของว่างที่ได้อิทธิพลจากจีนแคะ

ผู้เขียน - เสี่ยวจิว
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ.2565


โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึง “ชาจีน” เครื่องดื่มแก้กระหายที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีน  เรามักคิดถึงเครื่องดื่มร้อนๆ สีเหลืองอ่อน, สีน้ำตาลแดง, สีเขียวอ่อน ฯลฯ ตามแต่ละชนิดของชา ที่มาพร้อมกับกลิ่นหอมอ่อน และความชุ่มคอ เมื่อดื่มกิน

แม้วันนี้พืชที่นำมาทำเป็น “ชา” จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงใบชา แต่มีพืชชนิด รวมถึงผลไม้ แต่รูปแบบก็คงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนักนั้นคือ ชงด้วยน้ำร้อนๆ แล้วดื่ม หรือเติมน้ำแข็งเพื่อเป็นเครื่องดื่มเย็น

แต่สำหรับคนจีน “ชา” ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เครื่องดื่มแก้กระหายแบบที่เราคุ้นเคย ชาบางชนิดยังเป็น เครื่องดื่มกึ่งๆ ของว่างด้วย ผศ.ถาวร สิกขโกศล เคยเขียนอธิบายถึงชาดังกล่าวไว้ใน แต้จิ๋ว:จีนกลุ่มน้อยที่ยิ่งใหญ่ (สนพ.มติชน, 2554)ว่า ในคนจังหวัดซัวบ้วย มณฑลกวางตุ้ง หรือจีนซัวบ้วย มีการ “กิน” ชาชนิดหนึ่งที่แตกต่าง การ “ดื่ม” ชาจีนทั่วๆไป

จีนซัวบ๊วย มีความเป็นมาทางเผ่าพันธ์คล้ายจีนแต้จิ๋ว กล่าวคือเป็นเย่ว์โบราณผสมกับจีนจงหยวนจากฮกเกี้ยนเป็นหลัก ต่างกันที่จีนซัวบ้วยมีสายเลือดมองโกล (เมื่อครั้งที่บุกลงใต้มีบางส่วนตั้งรกรากอยู่ที่นี้) ร่วมอยู่ด้วย เนื่องจากจังหวัดซัวบ้วยมีพื้นที่ติดต่อกับถิ่นจีนแต้จิ๋ว จีนซัวบ้วยจึงใช้ภาษาแต้จิ๋วในการสื่อสาร ด้วยสำเนียงที่เฉพาะตัว ขณะเดียวก็รับอิทธิพลบางอย่างจากจีนแคะ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การ “กิน” ชา หลุ่ยเต๊ (擂茶-lèichá )

“หลุ่ยเต๊” หรือ “ชาเค็มทรงเครื่อง” ที่เรียกว่าชาชนิดนี้ ว่า “ทรงเครื่อง” เพราะมีส่วนประกอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกุ้งแห้ง, ต้นหอม, ขึ้นฉ่าย, เกลือ, น้ำขิง, ถั่วงาคั่วบด ฯลฯ ขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่ได้เขียนผิด และจริงๆ บางถิ่นอาจจะทรงเครื่อง หรือมีส่วนประกอบมากกว่านี้อีกด้วย ส่วนน้ำชาที่ใช้ส่วนใหญ่มักชาเขียว

และนี่ก็เป็นเป็นชาอีกอย่างที่เราไม่ “ดื่ม” แต่ “กิน” เพราะมีเครื่องเคราต้องเคี้ยวกินมากมาย