[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 25 มิถุนายน 2565 18:52:49



หัวข้อ: "หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย" ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 มิถุนายน 2565 18:52:49
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37169055061207_1_Copy_.jpg)

หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย
ที่ตั้ง : ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี  

สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ควายไทยในอดีตมีความผูกพันกับชีวิตของชาวนาอย่างแยกไม่ออก ชาวนาไทยให้ความสำคัญกับควายมาก ควายเป็นทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ใช้งาน ชาวนาต้องอาศัยแรงงานควายเป็นหลักในการเพาะปลูกทำนา ควายเป็นทั้งแรงงานไถนา ใช้ลากเกวียน ใช้นวดข้าว  ชาวนาจึงต้องทำพิธีสู่ขวัญควายเมื่อเสร็จสิ้นการเพาะปลูก เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและเรียกขวัญให้มาอยู่กับควาย เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณให้แก่ควายที่ได้ช่วยทำนาจนเสร็จสิ้น ในสมัยโบราณคนไทยจึงไม่นิยมบริโภคเนื้อควายเพราะถือว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ

ในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการเพาะปลูกทำนาให้ได้ประสิทธิภาพสูง ด้วยการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย ช่วยย่นระยะเวลาในการทำนา เช่น รถไถนา เครื่องปลูกข้าว เครื่องเกี่ยวข้าว นวดข้าว ฯลฯ ทำให้ความจำเป็นในการใช้แรงงานควายลดน้อยถอยลงไปด้วย  ในอนาคต การทำนาโดยอาศัยแรงงานควายคงเป็นแต่เพียงตำนานไว้เล่าขานกัน.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47261623044808_2_Copy_.jpg)  



จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และ "ควาย" ก็เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งานในการทำมาหากินของคนสุพรรณมาโดยตลอด เมื่อบทบาทของควายลดน้อยลงไปตามลำดับ จึงมีการทำโครงการ “หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย" (ชาวบ้านเรียกว่า "บ้านควาย") ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ ๗๐ ไร่ ที่อำเภอศรีประจันต์ เพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวนาและความผูกพันของชาวนาที่มีต่อควายมาอย่างช้านาน โดยดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคนม ๒๕๔๕

ในหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย มีการจัดแสดงให้เห็นภาพของชีวิตชาวนาชนบทไทย มีการสาธิตการทำนาตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านที่ไม่ใช้เครื่องจักรทันสมัย พร้อมสัมผัสงานฝีมือของบรรพบุรุษที่สะท้อนให้เห็นได้จากกลุ่มหมู่บ้านชาวนา อาทิเช่น บ้านเรือนไม้แบบเรือนปลายนาที่่สร้างแบบเรียบง่าย เป็นที่อยู่อาศัยของคนที่มีฐานะค่อนข้างยากจน เรือนศรีประจันต์เป็นบ้านที่สร้างจากไม้แท้หลังคามุงจากและกระเบื้อง ซึ่งเป็นหลังที่สี่และมีขนาดที่ใหญ่โต เป็นครอบครัวที่ขยายใหญ่สุดและมีฐานะค่อนข้างร่ำรวย และมีอุปกรณ์ต่างๆ ในการทำนาที่รวบรวมเก็บรักษาไว้สำหรับเป็นที่เรียนรู้ของอนุชนรุ่นหลัง

หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จึงเป็นจุดหนึ่ง ที่ช่วยให้ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในอดีตของควายที่อยู่คู่กับชาวนาไทย อีกประการคือเป็นการสร้างงานสร้างรายได้และสร้างโอกาสให้แก่ชุมชนในการทำมาหากิน และประกอบอาชีพเพื่อยังชีพอย่างพอเพียง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84794487804174_4.1_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25811262014839_4_Copy_.jpg)
ควายไทย เป็นสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในประเภทควายเอเชียชนิดควายปลัก เพราะชอบนอนแช่ในปลัก

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26213973056938_3_Copy_.jpg)
ธรรมชาติของควายชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง อดทน แข็งแรง ไม่ดุร้าย อยู่ง่ายกินง่าย ชอบกินหญ้าและวัชพืข กินข้าวโพด ข้าวฟ่าง  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34032072871923_6_Copy_.jpg)
ควายเผือก หรือควายด่อน ชาวอีสานมีความเชื่อว่าควายเผือกเป็นสัตวเทวะที่เกิดมาเพื่อใช้กรรม
ดังนั้น ผู้ที่ฆ่าหรือบริโภคเนื้อควายชนิดนี้ จะได้รับบาปกรรมเป็นอย่างหนัก ในหลายสำนักจึงกำหนดห้ามผู้เรียนคาถากินเนื้อควาย
ซึ่งในบางครั้งหมายรวมถึงควายทั้งหมดไม่จำกัดไว้เฉพาะควายด่อนหรือควายเผือกเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่า ควายเป็นสัตว์ที่มี
บุญคุณเพราะเป็นสัตว์ที่ใช้ในการไถนา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92746551252073_7_Copy_.jpg)
ควายไทยจะโตเต็มที่เมื่ออายุ ๕-๘ ปี ซึ่งเป็นอายุที่เหมาะกับการใช้งาน ตัวผู้จะมีรูปร่างใหญ่กว่าตัวเมีย
ควายตัวเมียจะออกลูกเฉลี่ย ๓ ปี ๒ ตัว  อายุควายไทยโดยเฉลี่ยประมาณ ๒๕ ปี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80239172114266_5_Copy_.jpg)
ในถ้อยคำสำนวน “โง่เหมือนควาย”  อาจมาจากลักษณะนิสัยของควายอดทน ดูเฉื่อยชา ชอบทำอะไรซ้ำซาก  
จึงเปรียบเปรยกับคนที่ดูเหมือนจะเข้าใจอะไรยาก และไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37599365206228_8_Copy_.jpg)
มุมพักผ่อนจิบชา-กาแฟ และป้อนอาหารควาย (มีหญ้าจำหน่ายกำละ ๒๐ บาท)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69854334203733_11_Copy_.jpg)
มีการจัดแสดง บ้านชาวชนบทไทยสมัยก่อน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53839305084612_12_Copy_.jpg)
ยุ้งข้าว เป็นสถานที่เก็บข้าวเปลือก หลังจากการทำนา เพื่อเก็บข้าวเปลือกไว้กิน ขาย และทำเป็นพันธุ์ข้าวในฤดูกาลหน้า
มักสร้างไว้ในบริเวณรั้วบ้าน (คงป้องกันข้าวสูญหาย) และห่างจากบ้านพอสมควร (ป้องกันเศษละอองฝุ่นจากข้าวเปลือก)  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57924311069978_13_Copy_.jpg)
อุปกรณ์การสีข้าว - ครก/สากสำหรับตำข้าวเปลือกจนกลายเป็นเมล็ดข้าวสาร

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67130057099792_9_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36356207024719_10_Copy_.jpg)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79398573024405_14_Copy_.jpg)
เคยได้ยินไหม? เขาเรียกลูกควายตัวเล็กๆ ว่า "ลูกแอ" หรือ "ลูกกะแอ" หรือ "ลูกแหง่"  - เรียกตามเสียงที่มันร้อง แหง่ๆ
 


หัวข้อ: Re: "หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย" ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
เริ่มหัวข้อโดย: kakakanga ที่ 11 กรกฎาคม 2565 23:19:48
น่าไปมากครับ  ;D