[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ จิบกาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 12 กรกฎาคม 2565 00:39:56



หัวข้อ: “กระทิงแดง” มาจากไหน ทำไมเป็น “กระทิงสีแดง”
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 12 กรกฎาคม 2565 00:39:56


“กระทิงแดง” มาจากไหน ทำไมเป็น “กระทิงสีแดง”

(https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2020/07/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B3-696x425.jpg)
รูปปั้นกระทิงขนาดยักษ์ ที่อำเภอวังน้ำขียว จังหวัดนครราชสีมา (ภาพจาก ห้องสมุดภาพมติชน)

           ข้อมูลจาก “สารานุกรมสัตว์” องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ อธิบายว่า กระทิงเป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัย ในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย พม่า อินโดจีน มาเลเซีย และไทย สำหรับเมืองไทยพบกระทิง 2 สายพันธุ์ย่อย คือ Bos gaurus readei เป็นสายพันธุ์ที่พบทางป่าภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและอีสาน อีกสายพันธุ์หนึ่งคือ Bos gaurus hubbachi พบทางภาคใต้และเทือกเขาตะนาวศรี

           กระทิงมีลักษณะดังนี้ “กระทิงมีรูปร่างคล้ายวัว ขนสั้นเกรียนเป็นมันสีดำหรือแกมน้ำตาล ขาสีขาวนวลคล้ายสวมถุงเท้า บริเวณหน้าผากมีหน้าโพธิ์สีเทาปนขาวหรือปนเหลือง สันกลางหลังสูง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขาโค้ง โคนเขามีสีเหลือง ปลายเขาสีดำ ใต้ผิวหนังมีต่อมน้ำมันซึ่งน้ำมันมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย” [เน้นโดยผู้เขียน]


          ข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า “ปกติ” กระทิงสีดำ หรือน้ำตาล แล้ว “กระทิงสีแดง” มาจากไหน

           ย้อนกลับไปดูข่าวหน้าหนึ่ง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 หนังสือพิมพ์หลายฉบับมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับ “กระทิงแดง”  ซึ่งในที่นี้ขออ้างอิงข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 ที่นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ ขณะนั้น ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกระทิงและวัวแดง ให้สัมภาษณ์ว่า   “ได้รับแจ้งจากพื้นที่ป่าที่มีกระทิงและวัวแดงอาศัยอยู่ เช่นป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ว่าขณะนี้มีการผสมพันธุ์ระหว่างสัตว์ 2 ชนิด แต่อยู่ในสกุล (GENUS) และวงศ์ (FAMILY) เดียวกัน คือกระทิงและวัวแดง มีการผสมพันธุ์กันโดยกระทิงตัวผู้ ผสมพันธุ์กับวัวแดงตัวเมียก่อน แล้ววังตั้งท้องคลอดลูกออกมาเป็นตัวเมีย ลักษณะออกไปทางกระทิงและเดินตามกระทิงไปหากิน

           ต่อมาลูกกระทิงที่เกิดจากการผสมพันธุ์ดังกล่าว ไปปผสมพันธุ์กับวัวแดงอีก และคลอดลูกออกมาเป็นรุ่นที่ 2 ตอนนี้อายุได้ประมาณปีเศษ ลักษณะที่พบคือตัวเล็กกว่ากระทิงและมีสีมอๆ คือไม่เข้มแบบกระทิงและไม่แดงแบบวัวแดง ยังไม่รู้ว่าเป็นเพศไหน”   โดยทั่วไปเมื่อสัตว์ต่างชนิดมาผสมพันธุ์กัน เช่น ลากับม้า หรือเสือกับสิงโต ลูกออกมาจะเป็นหมันและมีลักษณะไม่ค่อยแข็งแรงนัก แต่ในลูกผสมระหว่างกระทิงกับวัวแดง ลูกออกมามีความเด่นของกระทิง และไม่มีอาการเป็นหมัน สามารถสืบพันธุ์ต่อได้อีก

           นายนิพนธ์ โชติบาล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเวลานั้น กล่าวว่า เจ้าหน้าที่จับตาลูกผสมที่เกิดจากกระทิงตัวผู้และวัวแดงตัวเมีย ที่เวลานั้นมีอายุเกือบ 2 ปี เนื่องจากการผสมข้ามพันธุ์เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น โดยให้เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เป็นสัตว์ที่มีโครโมโซมใกล้ชิดกันมาก ก่อนหน้านี้ในประเทศมาเลเซียมีโครงการผสมพันธุ์ระหว่างกระทิงกับวัวบ้าน แต่พบว่าลูกที่ออกมามีปัญหาเรื่องสุขภาพ คือมีระบบสืบพันธุ์ที่อ่อนแอ    สำหรับชื่อของสัตว์ “ลูกผสม” ที่เกิดจากกระทิงและวัวแดง ในเวลานั้นเรียกกันเล่นๆ ว่า “กระทิงแดง” ส่วนชื่อที่เป็นทางการยังรอให้ผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ตั้งตามหลักวิชาการ

 


            ข้อมูลจาก :   สารานุกรมสัตว์, องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
                           “ฮือฮากระทิงผสมวัวแดงได้ลูกแข็งแรงไม่เป็นหมัน” ใน, หนังสือพิมพ์มติชน  ฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558
 
            เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563



หัวข้อ: Re: “กระทิงแดง” มาจากไหน ทำไมเป็น “กระทิงสีแดง”
เริ่มหัวข้อโดย: kakakanga ที่ 16 กรกฎาคม 2565 21:35:20
อ่านสนุกมากเลยครับ