[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 14 มกราคม 2566 16:06:31



หัวข้อ: เจดีย์ยอดด้วน วัดเขาสมอแคลง ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 มกราคม 2566 16:06:31

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62510645596517_1_Copy_.jpg)
เจดีย์ยอดด้วน วัดเขาสมอแคลง
ณ บริเวณลานกว้างด้านหน้าพระเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


เจดีย์ยอดด้วน วัดเขาสมอแคลง
ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก


วัดเขาสมอแคลง สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ปรากฏในพงศาวดารเหนือเป็นที่พำนักของพระมหาเถระ ชื่อ พระอุบาลีเถระ และพระศิริมานนท์ ผู้เป็นประธานในการหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา

เขาสมอแคลง เป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของเมืองพิษณุโลก มีความโดดเด่นทางด้านภูมิศาสตร์ เพราะเป็นภูเขาลูกเดียวที่อยู่ในเมืองพิษณุโลก และมีประวัติศาสตร์เคียงคู่เมืองพิษณุโลก ซึ่งในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ยุคทวารวดีจนถึงยุคสุโขทัย ซึ่งปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณคดีว่ามีวัดถึง ๗ วัด โดยรอบเขาสมอแคลง ปัจจุบันมีร่องรอยหลือเพียง ๔ วัด บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นแหล่งชุมชนโบราณ  โดยบริเวณยอดสูงสุดของภูเขา มีพระมหาเจดีย์โบราณขนาดใหญ่ ทรงลังกา ปลายยอดเจดีย์หัก (ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖) ชาวบ้านเรียกว่า เจดีย์ด้วน ต่อมาได้เฉลิมสิริมงคลนามว่า “พระมหาชัยเจดีย์ศรีสมอแคลง”

เจดีย์ด้วนเป็นเจดีย์ทรงลังกาแต่เดิม เป็นเขตอรัญวาสี เรียก “บูรพาราม

การขุดค้นทางโบราณคดีและการขุดแต่ง หลักฐานที่พบคือเป็นเจดีย์ทรงลังกา มีฐานสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่ ๓ ชั้น หลังจากนั้นจะเป็นฐานย่อแปดเหลี่ยมแล้วขึ้นเป็นองค์ระฆัง แต่ไม่พบปล้องไฉน มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก

รูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าน่าจะบูรณะเจดีย์ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และต่อมาถูกบูรณะโดยกรมศิลปากรอีกสองครั้ง

ประวัติเขาสมอแคลง มีแหล่งศึกษาข้อมูล ดังนี้
๑. เจดีย์ยอดด้วน มีอายุราว ๗๐๐ ปี พระยาจิตไวย เจ้าเมืองน่าน สร้างเจดีย์องค์นี้เพื่อบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์เถระเจ้า คือพระอุบาลีเถระ และพระศิริมานนท์เถระ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ ๒ รูป ที่ได้รับนิมนต์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สร้างพระพุทธชินราช ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

๒. ตำนานการสร้างเมืองพิษณุโลก จากหนังสือพงศาวดารเหนือ ปรากฏเรื่องเขาสมอแคลง ว่า “พอได้ ณ วันพฤหัสบดี เดือนสาม ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีฉลูศก เพลาเช้าต้องกับเพลาเมื่อพระพุทธเจ้าฉันจังหันใต้ต้นสมอวันนั้น พระอุบาฬีและพระศิริมานนท์ ก็นิพพานในที่นั้น แต่ก่อนก็เรียกว่า พนมสมอ (หมายถึง ภูเขาหิน) บัดนี้ก็เรียกว่าเขาสมอแคลง เขาบรรจุพระธาตุเจ้าทั้งสองไว้ในที่นั้น”

๓. ในนิทานกำเนิดเขาสมอแคลง มีว่า “ใกล้กับบริเวณนี้มีนครนามว่า เมืองราชชนกธานี ใกล้กับเทือกเขาฟ้า มีพระยาราชชนก เป็นผู้ปกครอง มีพระธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นคู่หมั้นของหนุมานทหารเอกพระรามแห่งเมืองอโยธยา ต่อมามีฝนตกหนัก เมื่อฝนหยุด ปรากฏมีปลาหมอยักษ์ตัวหนึ่งมีขนาดลำตัวใหญ่มากดั่งขอนไม้ ชาวเมืองจึงจับแล้วฆ่าแจกจ่ายเนื้อกันกินอย่างทั่วถึง หลังจากนั้นก็เกิดเหตุไม่คาดคิด แผ่นดินเมืองราชชนกเกิดเลื่อนลั่นสนั่นหวั่นไหว ยุบตัวลงกลายเป็นบึงขนาดใหญ่ ต่อมาเรียกว่า “บึงราชชนก” ในเหตุภัยพิบัติในครั้งนั้น พระธิดาได้หนีเพื่อเอาชีวิตรอด ความทราบถึงหนุมานก็รีบเหาะมาหักเอายอดเขาฟ้าซึ่งอยู่ใกล้ๆ หมายจะช่วยพระคู่หมั้นให้พ้นภัยแต่ไม่ทันกาล เพราะคู่หมั้นได้สิ้นชีพแล้ว จึงทิ้งยอดเขาฟ้าไว้บริเวณนั้น ยอดเขาตกลงในลักษณะตะแคง จึงเรียกว่า “เขาตะแคง” ปัจจุบันเรียกว่า “เขาสมอแคลง” เนื่องจากมีต้นสมออยู่มาก”


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72281456324789_2_Copy_.jpg)
เจดีย์วัดเขาสมอแคลง
ลักษณะเจดีย์เป็นทรงลังกา มีฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ๓ ชั้น หลังจากนั้นจะเป็นฐานย่อแปดเหลี่ยม
แล้วขึ้นเป็นองค์ระฆัง ลักษณะเด่นของที่นี่คือบริเวณยอดเจดีย์องค์ระฆังจะมีเพียงแค่ครึ่งซีก

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/20615452859136_4_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40594031372004_5_Copy_.jpg)
รูปปั้น บรมครูปู่ฤาษีพรหมเมศ (ฤาษี ๔ หน้า) วัดเขาสมอแคลง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24621633895569_6_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85315275316437_7_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27086314683159_8_Copy_.jpg)
จุดชมวิว “หนุมานทัศนา”
ทางเดินชมวิวแห่งนี้  ได้รับความร่วมมือสร้างขึ้นจากทหารกองพันทหารช่างที่ ๓๐๒
กรมทหารช่างที่ ๓  ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เมื่อมองลงมาจากจุดนี้ จะเห็น
ทิวทิศน์โดยรอบเมืองพิษุโลกอย่างทั่วถึง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48855379306607_9_Copy_.jpg)