[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ตลาดสด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 19:26:19



หัวข้อ: ตำนาน "เจ้าแม่กวนอิม"
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 19:26:19
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72905993503000_331057095_736328188156124_8885.jpg)
เจ้าแม่กวนอิม
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก


ตำนาน "เจ้าแม่กวนอิม"

“เจ้าแม่กวนอิม” มีประวัติและตำนานเกี่ยวข้องกับประชาชนเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบหลักฐานทางวรรณกรรมและประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวความเป็นมาหลายตำนาน “เจ้าแม่กวนอิม” เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีจิตใจเมตตาต่อชาวโลกตามหลักของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

เชื่อว่าตำนานประวัติของเจ้าแม่กวนอิมเกี่ยวข้องกับความทุกข์ยากของคนสมัยก่อนที่พบเจอกับภาวะภัยสงครามอย่างยาวนาน การนับถือพระโพธิสัตว์ต่างๆ จึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจยามเผชิญทุกข์ยาก

เจ้าแม่กวนอิม ศาสนาอะไร
ประวัติความเป็นมาของเจ้าแม่กวนอิม ชัดเจนขึ้นในยุคที่ศาสนาพุทธนิกายมหายานได้รับความนิยมในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียตะวันออก ควบคู่กับการแพร่หลายของลัทธิขงจื๊อและเต๋า ในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ โดยพบรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมในลักษณะต่างๆ เช่น รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมพันมือ รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมในชุดขาว

รูปปั้น “เจ้าแม่กวนอิม” ในประเทศต่างๆ
รูปปั้นเป็นงานประติมากรรมพุทธศิลป์ที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของผู้คนในยุคต่างๆ กัน สืบทอดต่อมานับพันปี โดยมีหลักฐานรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมในประเทศต่างๆ แตกต่างกัน ดังนี้

ประเทศอินเดีย
พบหลักฐานการสร้างรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหลายพระกร ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นยุครุ่งเรืองของพุทธศาสนานิกายตันตระ อันเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน โดยมีความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์ คาถา พิธีกรรมบูชาสักการะพระโพธิสัตว์ต่างๆ

ประเทศจีน
ชาวจีนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิมเป็นเทพเจ้าตามความเชื่อในนิกายมหายาน และเชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีเมตตาต่อมวลมนุษย์ สมัยราชวงศ์ฮั่น และซ่ง สร้างรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมตามแบบอินเดีย ไม่มีเพศ ต่อมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน พบหลักฐานการสร้างรูปปั้นพระโพธิสัตว์เป็นสตรีเพื่อความอ่อนโยน แสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับที่มารดาแสดงต่อบุตร คาดว่าเป็นการออกแบบจากผู้อพยพจากอินเดียมาอยู่ในประเทศจีน เพื่อแสดงออกถึงการระลึกถึงบ้านเกิดที่ห่างไกล

รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในรูปแบบเพศหญิง เป็นที่เคารพยอมรับของชาวจีนอย่างกว้างขวาง พบตำนานที่สอดคล้องกับการเกิดเจ้าแม่กวนอิม เรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน (Miaoshan) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง



ตำนานประวัติเจ้าแม่กวนอิม
ตำนานเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน
เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน เป็นบุตรีคนที่ ๓ ของพระราชาเมี่ยวจง กับพระนางโปยาเทวี เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่ประสงค์จะอภิเษกสมรส จึงถูกพระบิดาบัญชาให้ไปบวชเป็นภิกษุณีที่วัดนกขาว เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้บำเพ็ญบารมี โปรดสัตว์ ทำทานแก่สัตว์น้อยใหญ่ จนเจริญญาณขั้นสูง วันหนึ่งพระบิดาได้สั่งให้แม่ทัพเข้ามาทำลายวัด ประหารพระธิดาเมี่ยวซ่าน หลังจากเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านสิ้นพระชนม์ ก็ได้ไปจุติเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม

ตำนานเจ้าแม่กวนอิมพันมือ
ตำนานเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิมพันมือ จากศิลปะจีนยุคหลังราชวงศ์ซ่ง ที่พบการปั้นรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิมมาเป็นลักษณะสตรีเพศ เกี่ยวข้องกับเรื่องราวตำนานเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเช่นกัน

รูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิมปรากฏเป็นสตรีเพศ พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือแจกัน บรรจุน้ำทิพย์และกิ่งหลิว บางรูปเคารพสร้างพระหัตถ์ไว้ ๔ กร หรือมากกว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเคยเสด็จไปช่วยพระบิดาให้หายป่วยจากอาการประชวร โดยหมอเทวดาที่รักษาให้พระบิดาแจ้งว่า ต้องใช้พระหัตถ์จากพระโพธิสัตว์ และควักพระเนตรมาทำยา หลังจากพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญทานเสียสละครั้งยิ่งใหญ่นี้ก็ปรากฏพระเนตรกลับคืนมา และมีพระหัตถ์งอกขึ้นมาใหม่ถึงพันพระกร

นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ที่กล่าวถึงช่วงอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อแม่น้ำฮวงเหอล้นท่วมบ้านเรือนราษฎร พระโพธิสัตว์กวนอิมบันดาลให้พระกรมีพระเนตรบนพระหัตถ์เข้าช่วยเหลือประชาชน แสดงให้เห็นความกรุณาอันไม่มีที่สิ้นสุด

นับถือเจ้าแม่กวนอิม ห้ามทำอะไรบ้าง
ชาวไทยเชื้อสายจีนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิม จะไม่กินเนื้อวัว ในช่วงเทศกาลกินเจ และบางคนก็งดเนื้อวัวตลอดชีวิต และงดถวายอาหารที่มีเนื้อสัตว์ต่อท่าน เพราะเชื่อว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีความเมตตากรุณา โปรดสัตว์ ละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต


ในประเทศไทยมีศาลเจ้าที่ประดิษฐานรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิม อันเป็นความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่หลายแห่ง ยกตัวอย่างศาลเจ้าแม่กวนอิมในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่

- ศาลเจ้ากวนอิมเนี้ย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
- ศาลเจ้าแม่กวนอิม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
- วิหารเจ้าแม่กวนอิม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- ศาลเจ้าแม่กวนอิม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
- ศาลเจ้าแม่กวนอิม เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
- พระโพธิสัตว์กวนอิม อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
- วิหารพระแม่กวนอิม อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
- เจ้าแม่กวนอิมองค์ยืน อ.สามพราน จ.นครปฐม
- ศาลเจ้าแม่กวนอิม เขตบางกอกน้อย จ.นครปฐม
- ศาลเจ้าแม่กวนอิม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

มูลนิธิพระมหามงคลพุทธนิมิตอวโลกิเตศวร อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
   ที่มา : วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


"บทสวดเจ้าแม่กวนอิม" รวมคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม เสริมสิริมงคล เรียกทรัพย์

คาถาและบทสวดเจ้าแม่กวนอิม มีมากมายหลายฉบับ แตกต่างกันในแต่ละสำเนียงภาษา ซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อของผู้ศรัทธาว่าจะเลือกสวดบทไหน บทสวดเจ้าแม่กวนอิม ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาจีน และมีคำแปลภาษาไทย บางบทก็เป็นแบบโบราณ ประกอบด้วยตัวอักษรไม่กี่ตัว แต่ก็สามารถจำไว้ท่องภาวนาได้

สำหรับสิ่งที่ต้องเตรียมไว้สำหรับบูชา มักประกอบไปด้วย ธูป ๙ ดอก, เทียน ๒ เล่ม, น้ำชา ๑ ถ้วย หรือ ๓ ถ้วย, แจกัน ๒ ใบ ใส่กิ่งหลิว หรือดอกบัวก็ได้, ผลไม้ ๒ ชนิด โดยห้ามถวาย มังคุด, ระกำ, ละมุด, มะม่วง และพุทรา นอกจากนี้ บางคนยังนิยมถวายขนมเปี๊ยะ หรือขนมไหว้พระจันทร์ด้วย


บทสวดเจ้าแม่กวนอิม ต้นฉบับ (บทสรรเสริญพระคุณ)

นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)

นำโมฮุก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียงห่วยอุ่ยติ้ง
นำโมม่อออปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก


บทสวดเจ้าแม่กวนอิม ธิเบต (บทสวดมนต์มหากรุณาธารณีสูตร)

นำโม รัตนา ตายายะ นะโม อาริยะ จานะ
สักการา เปลอ จานะ ยูฮารา จายา
ตะทากาคะยา อะรา ฮาเต ซำ ยา ซำ พุทธายะ
นะโม สวา ตะถาคะเตเป อะรา ฮาตะเป
ซำ ยา ซำ พุทเธเป

นะโม อะริยะ อวโลกิเต สวารายา
พูทีสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหาการุณีตะยะ
ตะติยา ทา โอม ธารา ธารา ธีรี ธีรี ธูรู ธูรู
อิทธิเว อิทธิ จาเร จาเร ปูราจาเร ปูราจาเร
กุสุเม กุสุมา วาเร อิทธิ มิตรี จิตติ
จาลามะ ปานะ ยะ โชวฮา


บทสวดคาถาหัวใจ เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (ท่องภาวนาได้ทุกเวลา)
โอม มา ณี แปะ หมี่ ฮง

คำแปล และความหมายของบทสวดเจ้าแม่กวนอิม จะเป็นการนอบน้อม พร้อมสรรเสริญพระกรุณาเมตตาของเจ้าแม่กวนอิมที่มีต่อสรรพสัตว์โลก โดยสวดขอพรให้ท่านปัดเป่าโรคภัยและเคราะห์ร้ายให้หมดสิ้น พบแต่ความสุข ความมงคล ธุรกิจเจริญด้วยทรัพย์ และสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ