[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 30 กันยายน 2554 18:33:25



หัวข้อ: ชราสูตรที่ ๖.. ชีวิตนี้น้อยนัก
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 30 กันยายน 2554 18:33:25


(http://img81.imageshack.us/img81/2072/2e0eed3e4871519839ca094.jpg)

(http://www.goodsurgeonguide.co.uk/images/articles/1295949194-cosmetic-surgery-for-older-women.jpg)(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTaG8kXQbdrA9cbTpUb7CLC4ScLxsKUH6oiPnUuTC-NaaagJXld_5ab9YN5pA)
   
   ชราสูตรที่ ๖
  
                [๔๑๓]     ชีวิตนี้น้อยนัก สัตว์ย่อมตายแม้ภายใน ๑๐๐ ปี ถ้าแม้สัตว์
                             เป็นอยู่เกิน (๑๐๐ ปี) ไปไซร้ สัตว์นั้นก็ย่อมตายแม้เพราะ
                             ชราโดยแท้แล ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศก เพราะสิ่งที่ตน
                             ยึดถือว่าเป็นของเรา สิ่งที่เคยหวงแหนเป็นของเที่ยงไม่มีเลย

                             บุคคลเห็นว่า สิ่งนี้มีความเป็นไปต่างๆ มีอยู่ ดังนี้แล้ว
                             ไม่พึงอยู่ครองเรือน บุรุษย่อมสำคัญสิ่งใดว่า สิ่งนี้เป็นของเรา
                             จำต้องละสิ่งนั้นไปแม้เพราะความตาย บัณฑิตผู้นับถือ
                             พระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา ทราบข้อนี้แล้ว ไม่พึงน้อมไป

                             ในความเป็นผู้ถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา บุคคลผู้ตื่นขึ้นแล้ว
                             ย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด บุคคล
                             ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้ที่ตนรักทำกาละล่วงไปแล้ว แม้ฉันนั้น
                             บุคคลย่อมกล่าวขวัญกันถึงชื่อนี้ ของคนทั้งหลายผู้อันตนได้

                             เห็นแล้วบ้าง ได้ฟังแล้วบ้าง ชื่อเท่านั้นที่ควรกล่าวขวัญถึง
                             ของบุคคลผู้ล่วงไปแล้ว จักยังคงเหลืออยู่ ชนทั้งหลาย
                             ผู้ยินดีแล้วในสิ่งที่ตนถือว่าเป็นของเรา ย่อมละความโศก
                             ความร่ำไรและความตระหนี่ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น มุนีทั้งหลาย
                             ผู้เห็นนิพพานเป็นแดนเกษม ละอารมณ์ที่เคยหวงแหนได้

                             เที่ยวไปแล้ว บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ อัน
                             ต่างด้วยนรกเป็นต้น ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ผู้เสพที่นั่ง
                             อันสงัด ว่าเป็นการสมควร มุนีไม่อาศัยแล้วในอายตนะ
                             ทั้งปวง ย่อมไม่กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รักทั้งไม่กระทำ
                             สัตว์หรือสังขารให้เป็นที่เกลียดชัง ย่อมไม่ติดความร่ำไรและ
                             ความตระหนี่ ในสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักและเป็นที่เกลียด
                             ชังนั้น เปรียบเหมือนน้ำไม่ติดอยู่บนใบไม้ ฉะนั้น หยาด
                             น้ำย่อมไม่ติดอยู่บนใบบัว น้ำย่อมไม่ติดอยู่ที่ใบปทุม ฉันใด

                             มุนีย่อมไม่ติดในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง หรืออารมณ์ที่
                             ได้ทราบ ฉันนั้น ผู้มีปัญญาย่อมไม่สำคัญด้วยรูปที่ได้เห็น
                             เสียงที่ได้ฟัง หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ ย่อมไม่ปรารถนาความ
                             บริสุทธิ์ด้วย (มรรคอย่างอื่น) ทางอื่น ผู้มีปัญญานั้น ย่อมไม่
                                     ยินดี ย่อมไม่ยินร้าย
ฉะนี้แล ฯ
  
   จบชราสูตรที่ ๖  
   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๑๑๑ - ๑๐๑๔๒. หน้าที่ ๔๓๘ - ๔๓๙.
   :http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=10111&Z=10142&pagebreak=0              
   ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=413 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=413)
   นำมาแบ่งปันโดย.. baby@home
   :http://agaligohome.com/index.php?topic=4895.0
   อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ



หัวข้อ: Re: ยัญอื่นจะประณีตและมีค่าเสมอด้วยยัญ.. คือพระอรหันต์นั้นไม่มี
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 07 ตุลาคม 2554 16:52:24


ยัญอื่นจะประณีตและมีค่าเสมอด้วยยัญ..  คือพระอรหันต์นั้นไม่มี
ส่วนหนึ่งจาก บทความเรื่อง "ชีวิตนี้น้อยนัก"
โดย
อ.ประณีต ก้องสมุทร

   การให้ทานนั้น บางแห่งท่านเรียกว่า ยัญ  แต่ในกูฏทัณฑสูตร ทีฆนิกาย ศีลขันธวรรค พระพุทธเจ้า
   ตรัสเรียกบุญกุศลทั้งที่เป็นทาน  ศีล  และภาวนา ว่าเป็น  ยัญที่ให้ผลแตกต่างกันเป็นลำดับ  ดังนี้

    ๑.  การถวายทานเป็นประจำ  แก่บรรพชิตผู้มีศีลที่เรียกว่า นิจทาน แม้จะยากจนลงก็มิได้ละเลย
   คงถวายอยู่เป็นนิจตามกำลัง  เพื่อรักษาประเพณีที่เคยทำไว้ มีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า  การสร้างวิหาร
   ถวายสงฆ์  ที่มาจากทิศทั้งสี่
   
    ๒.  การสร้างวิหารถวายสงฆ์  ที่มาจากทิศทั้งสี่ มีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า สรณคมน์
   คือการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
   
    ๓.  การถึงสรณคมน์ ก็ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การรักษาศีล ๕  ของผู้ถึงสรณคมน์
   อันให้ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งปวง
   
    ๔.  การรักษาศีล  ๕  ของผู้ถึงสรณคมน์ ก็ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การมีศีลสังวร
   คือการสำรวมในศีล  ทั้งปาฏิโมกขสังวรศีลและอินทริยสังวรศีล  คือสำรวมตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ
   ด้วยสติ  ไม่หลงใหล  ไปตามนิมิต  คือรูปร่าง  และอนุพยัญชนะ  คือส่วนปลีกย่อยของรูป  เสียง  กลิ่น  รส
   โผฎฐัพพะ  และธัมมารมณ์  ที่มาปรากฎทาง  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กายและใจ  เหล่านั้น
   
    ๕.  การมีศีลสังวร ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การบรรลุปฐมฌาน - ฌานที่  ๑   
    ๖.  การบรรลุ  ปฐมฌาน ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การบรรลุทุติยฌาน - ฌานที่  ๒   
    ๗.  การบรรลุ  ทุติยฌาน ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การบรรลุตติยฌาน - ฌานที่  ๓   
    ๘.  การบรรลุ  ตติยฌาน ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า การบรรลุจตุตถฌาน - ฌานที่  ๔   
    ๙.  การบรรลุ  จตุตถฌาน ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า วิปัสสนาญาณ - ญาณของวิปัสสนา  
   ๑๐.  วิปัสสนาญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า มโนมยิทธิญาณ - ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ
   
   ๑๑.  มโนมยิทธิญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า อิทธิวิธญาณ - ความรู้ที่แสดงฤทธิ์ต่างๆ  
   ๑๒.  อิทธิวิธญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า ทิพโสตญาณ - ความรู้ที่สามรถฟังเสียงทิพย์
   และเสียงมนุษย์ได้ทั้งที่อยู่ในที่ปกปิด  อยู่ใกล้และไกล  ด้วยทิพโสต  คือหูทิพย์   
   ๑๓.  ทิพโสตญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า เจโตปริยญาณ - ความรู้ที่กำหนดรู้ใจของ
   บุคคลอื่นได้ด้วยใจตนเอง   
   ๑๔.  เจโตปริยญาณ ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ - ความรู้ที่ตาม
   ระลึกถึงที่อยู่ในชาติก่อนได้   
   ๑๕.  ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า  จุตูปปาตญาณ - ความรู้การ
   ตาย  และการเกิดของสัตว์ทั้งหลายด้วยทิพยจักษุ  คือตาทิพย์  
   ๑๖.  จุตูปปาตญาณ  ยังมีผลน้อยกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่า  อาสวักขยญาณ - ความรู้ที่ทำลายอาสว
   กิเลสให้สิ้นไป  บรรลุเป็นพระอรหันตขีณาสพ

   การเจริญวิปัสสนา  จนบรรลุอาสวักขยญาณเป็นพระอรหันต์ได้นั้น  มีผลมากมีอานิสงส์มากที่สุด
   พระอรหันต์ได้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญคือบุญ  เป็นยอดแห่งยัญ  ยัญอื่นจะประณีตและมีค่าเสมอด้วยยัญ
   คือพระอรหันต์นั้นไม่มี  เพราะการบรรลุพระอรหันต์นั้น  เป็นบรมสุข  คือเป็นยอดแห่งความสุข  เป็นความสุข
   ที่ปราศจากกิเลสโดยแท้

   บุญกุศลทั้งหลายเหล่านั้นชื่อว่ายัญ  ก็เพราะสละคือละกิเลสอันเป็นข้าศึกของใจเลียได้  เป็นสิ่งที่
   ควรบำเพ็ญให้เกิดขึ้นเสียแต่วันนี้  เพราะเราไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไร
   พระอริยบุคคลท่านทำทุกอย่างเพื่อละความอยาก  ความต้องการ  แต่ปุถุชนคนธรรมดา  ทำทุกอย่าง
   เพื่อสนองและเพิ่มความต้องการ

   ดูอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสละจักรพรรดิสมบัติอันจะพึงได้ สละปราสาทราชวัง  พระราชบิดา
   พระมเหสี พระโอรส ข้าราชบริพารและสาวสวรรค์กำนัลในทั้งหมดออกทรงผนวช  พระอริยสาวกทั้งหลายก็เช่น
   กัน  ล้วนแต่สละบ้านเรือนทรัพย์สมบัติ  บุตร  ภรรยา  สามี  ข้าทาส  ออกบวช
   หันมาดูตัวเราเองบ้าง ไม่เห็นละอะไรได้ มีแต่เพิ่มความอยากได้ขึ้นทุกวัน จนไม่อาจสนองความ
   อยากได้นั้นได้หมด  จึงพากันคร่ำครวญเป็นทุกข์

   แม่น้ำอะไรที่จะกว้างใหญ่เสมอด้วยแม่น้ำ  คือ ตัณหา ความอยาก ความต้องการ
   เป็นไม่มี ( นตฺถิ  ตณฺหาสมา  นที )

   พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน  ธรรมบท  ปุปวรรค  ว่า  มัจจุย่อมจับนระ (คือสัตว์)  ผู้มีใจอันซ่านไป
   ในอารมณ์ต่างๆ  ผู้กำลังเก็บดอกไม้ทั้งหลายเที่ยวไป  เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดบ้านอัน (เจ้าของ)
   หลับอยู่ไปฉะนั้น

    หากเรายังยินดี  ร่าเริง  หลงใหลอยู่กับอารมณ์ต่างๆ  คือ  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  อันเป็น
   เสมือนดอกไม้ของมาร  เราก็จะถูกมัจจุราชคือ  ความตายฉุดคร่าเราไปแล้วๆ เล่าๆ  อยู่อย่างนี้  ไม่พ้นไปจาก
   อำนาจของมารได้  คงไม่ผิดกับคนที่นอนหลับใหลไร้สติ  จนไม่รู้ว่า  ได้มีห้วงน้ำใหญ่พัดพาเอาบ้านที่ตนนอนอยู่
   ลอยเปะปะไปปะทะตลิ่งหรือขอนไม้แตกทำลายไปทั้งตนและบ้านฉะนั้น
   สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว  ย่อมได้รับภัยนานาประการ  มีภัยจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความ
   เศร้าโศก  ความทุกข์ยากลำเค็ญ  ตลอดจนภัยจากกิเลสที่คอยเผาไหม้จิตใจของเราให้เดือดร้อน  ซึ่งเรารู้สึกว่า
   ภัยเหล่านี้ช่างใหญ่หลวงแท้ๆ  แต่กระนั้น  ภัยที่ใหญ่ที่สุดของสัตว์ทั้งหลายก็หาใช่ภัยดังกล่าวแล้วไม่  หากเป็นภัย
   อันเกิดจากทุกข์ในวัฏฏะที่ต้องเวียนว่ายตายอยู่บ่อยๆ  ต่างหาก

   เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ  ได้ตรัสว่า  "เมื่อเราแสวงหานาย
   ช่างผู้สร้างเรือนอยู่  เมื่อยังไม่พบแล่นไปสู่สงสารมีการเกิดมิใช่น้อย  ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
   แน่ะนายช่างผู้สร้างเรือน  บัดนี้เราพบท่านแล้ว  ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีกแล้ว  ซี่โครงทั้งหมด
   ของท่านเราหักเสียแล้ว  ยอดเรือนของท่านเราก็รื้อทิ้งแล้ว  จิตของเราถึงนิพพานอันปราศจาก
   สังขารการปรุงแต่งแล้วบรรลุความสิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว"

   นายช่างเรือน  ที่พระพุทธองค์ทรงแสวงหานั้น  คือ  ตัณหา  ความทะเยอทะยานอยากได้ในกาม
   ในภพ  และในวิภพ  อันเป็นเหตุใหญ่ให้เกิดภพชาติ  ก่อให้เกิดอัตภาพร่างกาย  ที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า
   เรือน เมื่อพระพุทธองค์ทรงค้นพบตัณหาแล้ว  ทำลายตัณหาให้สิ้นเชื้อแล้ว  ตัณหาจึงไม่สามารถสร้างเรือน
   คืออัตภาพ  ร่างกายของพระองค์  (ในภพใหม่)  ได้อีก
   ซี่โครง คือ กิเลสทั้งมวล พระองค์ก็ทรงทำลายเสียสิ้นแล้ว
   ยอดเรือน คือ อวิชชา พระองค์ก็ทรงรื้อทิ้งแล้วด้วยวิชชา คือปัญญาในอรหันตมรรค-อรหัตตผล
   จิต  อันมีนิพพานเป็นอารมณ์  พระองค์  และพระสาวกผู้ค้นพบตัณหาด้วยอริยปัญญา  ต่างพากันปรินิพพาน
   หมดแล้ว
   
   ส่วนหนึ่งจาก บทความเรื่อง "ชีวิตนี้น้อยนัก" โดย อ.ประณีต ก้องสมุทร
   :http://84000.org/tipitaka/book/bookpn05.html
   : http://agaligohome.com/index.php?topic=4909.msg13576;topicseen#msg13576 (http://agaligohome.com/index.php?topic=4909.msg13576;topicseen#msg13576)
   นำมาแบ่งปันโดย.. baby@home
   อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ



หัวข้อ: Re: ชราสูตรที่ ๖.. ชีวิตนี้น้อยนัก :กายคตาสติ (หลวงตามหาบัว )
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 ตุลาคม 2554 06:45:14


กายคตาสติ
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสอน กายคตาสติ
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs252.snc4/39928_137881559585849_100000920169547_174808_3186920_n.jpg)

http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash2/hs140.ash2/40347_137882119585793_100000920169547_174814_1359704_n.jpg (http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash2/hs140.ash2/40347_137882119585793_100000920169547_174814_1359704_n.jpg)     (:SHOCK:)  (:-_-:)

(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs204.snc4/38527_137882606252411_100000920169547_174822_2472355_n.jpg)

(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs204.snc4/38527_137882609585744_100000920169547_174823_4659794_n.jpg)

(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash2/hs144.ash2/40562_137883146252357_100000920169547_174831_3837803_n.jpg)

(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash2/hs069.ash2/36804_137883682918970_100000920169547_174836_3885576_n.jpg)

(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs129.snc4/36804_137883686252303_100000920169547_174837_1868074_n.jpg)

บางส่วนจาก กายคตาสติ (หน้าที่ ๐๑-๒๓) :หลวงตามหาบัว
ดูทั้งหมดคลิ๊ก!  ค่ะ
(http://upic.me/i/1s/pen1_53.gif)  http://portal.in.th/i-dhamma/pages/10268/
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ