[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เอกสารธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 03 ตุลาคม 2554 15:20:49



หัวข้อ: พุทธวจน จากหนังสือ (ก้าวย่าง อย่างพุทธะ)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 03 ตุลาคม 2554 15:20:49


(http://img1.imagehousing.com/1/2ee6d420442bc022e61aa840a159c09f.jpg)

พุทธวจน
จากหนังสือ (ก้าวย่าง อย่างพุทธะ)
จัดทำโดย กลุ่มละนันทิ, กลุ่มพุทธโอษฐ์

วิธีตรวจสอบว่า เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือไม่
ภิกษุ ท..! ถ้าภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าฟังมาแล้ว ได้รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ดังนี้
พวกเธออย่าเพิ่งรับรอง, อย่าเพิ่งคัดค้าน
เธอกำหนดเนื้อความนั้นให้ดี แล้วนำไปสอบสวนในสูตร
นำไปเทียบเคียงในวินัย ถ้าลงกันไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้

พึงแน่ใจว่านั้นไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
ภิกษุรูปนั้นจำมาผิด, พวกเธอพึงทิ้งคำเหล่านั้นเสีย
ถ้าลงกันได้ เทียบเคียงกันได้ พึงแน่ใจว่า
นั่นเป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แล้ว
ภิกษุรูปนั้นจำมาอย่างดีแล้ว พวกเธอพึงรับเอาไว้...


อานนท์! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว
บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น
จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
อานนท์! พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป
มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย
จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย
มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ
มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว

ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์บ้าง สวนศักดิ์สิทธิบ้าง
รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตนๆ นั่นไม่ใช่ที่พึ่ง
อันทำความเกษมให้ได้เลย นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด
ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้
ส่วนผู้ใด ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว

เห็นอริยสัจทั้ง 4 ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์,
เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์, เห็นความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์,
และเห็นมรรคประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึง
ความเข้าไปสงบ รำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละคือ ที่พึ่งอันเกษม
นั่นคือ ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้แท้


ขอกราบขอบพระคุณแด่ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผล และคณะสงฆ์วัดนาป่าพง
ที่กรุณาให้คำปรึกษาในการจัดทำหนังสือเล่มนี้
และขอกราบขอบพระคุณผู้จัดทำโดย กลุ่มละนันทิ, กลุ่มพุทธโอษฐ์
ขอขอบพระคุณกัลยาณมิตรใจดีจาก คุณแดง ที่แบ่งปันธรรมทานมา



หัวข้อ: Re: พุทธวจน จากหนังสือ (ก้าวย่าง อย่างพุทธะ)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 03 ตุลาคม 2554 15:26:00


สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ

ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนี้
ข้างไหนจะมากกว่ากัน?
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า
ฝุ่นนิดหนึ่งที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย
ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้
เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้กะละภาค(ส่วนเสี้ยว)"

ภิกษุ ท.! อุปมานี้ ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น  สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์มีน้อย
สัตว์ที่เกิดกลับมาเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์มีมากกว่าโดยแท้
ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุ ท.! ข้อนั้น
เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้ง 4
อริยสัจ 4 อย่างไรเล่า? 4 อย่าง คือ
อริยสัจ คือ ทุกข์
อริยสัจ คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม(การกระทำอย่างเป็นระบบ)
อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า "ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้"



หัวข้อ: Re: พุทธวจน จากหนังสือ (ก้าวย่าง อย่างพุทธะ)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 03 ตุลาคม 2554 15:31:59


การรู้อริยสัจเป็นของไม่เหลือวิสัย พระอริยบุคคล
จึงมีปริมาณมาก


วัจฉะ! ภิกษุผู้สาวกของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ได้กระทำให้แจ้งแล้ว
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฎฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามากโดยแท้

วัจฉะ! ภิกษุณีผู้สาวิกาของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ได้กระทำให้แจ้งแล้ว
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฎฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามากโดยแท้

วัจฉะ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว
อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์เปน โอปปาติกสัตว์(พระอนาคามี)
มีปกติปรินิพพาน ในภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่างก็
มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามากโดยแท้

วัจฉะ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว
ยังบริโภคกาม เป็นผู้ทำตามคำสอน เป็นผู้สนองโอวาท
มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้องกล่าวด้วยความสงสัยว่า
นี่อ่ะไรๆ เป็นผู้ปราศจากความครั่นคร้าม ไม่ใช่ผู้ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น
อยู่ประพฤติพรมจรรย์ในศาสนาของพระศาสดา ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียวฯลฯ
ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้

วัจฉะ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว
อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์เป็น โอปปาติกสัตว์(พระอนาคามี)
มีปกติปรินิพพานในภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์ มีส่วนในเบื้องต่ำ 5 อย่าง ก็มีอยู่
ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมากกว่ามากเป็นแท้

วัจฉะ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว
ยังบริโภคกาม เป็นผู้ทำตามคำสอนเป็นผู้ สนองโอวาท
มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้องกล่าวด้วยความลังเลสังสัย
ว่านี่อะไรๆ เป็นผู้ปราศจากความครั่นคร้าม ไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียวฯลฯ
ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมากกว่าเป็นแท้



หัวข้อ: Re: พุทธวจน จากหนังสือ (ก้าวย่าง อย่างพุทธะ)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 03 ตุลาคม 2554 15:37:24


ให้พึ่งตน พึ่งธรรม

อานนท์! เราได้กล่าวเตือนไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือ
ว่า "ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น
จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ย่อมมี; อานนท์! ข้อนั้น
จักได้มาแต่ไหนเล่า : สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว
อันปัจจัยปรุงแล้ว มีความชำรุดไปเป็นธรรมดา, สิ่งนั้น
อย่าชำรุดไปเลย ดังนี้; ข้อนั้น ย่อมเป็นฐานะที่มีไม่ได้"

อานนท์! เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่นเหลืออยู่
ส่วนใดเก่าคร่ำกว่าส่วนอื่น ส่วนนั้นพึงย่อยยับไปก่อน,
ข้อนี้ ฉันใด : อานนท์! เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มีธรรม
เป็นแก่นสารเหลืออยู่, สารีบุตรปรินิพพานไปแล้ว
ฉันนั้นเหมือนกัน. อานนท์ !  ข้อนั้น จักได้มาแต่ไหนเล่า
สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแล้ว มีความชำรุด
ไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นอย่าชำรุดไปเลย ดังนี้ ; ข้อนั้น
ย่อมเป็นฐานะที่มีไม่ได้

อานนท์! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย
จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;
จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ

อานนท์! ภิกษุมีตนเป็นประทีบ มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น
เป็นสรณะ, มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น
เป็นสรณะนั้น เป็นอย่างไรเล่า?

อานนท์! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่,
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนืองๆอยู่,
พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่,
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆอยู่;
มีเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

อานนท์! ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป
มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นอยู่

อานนท์! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี
ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป
มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่

อานนท์! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา,
ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด

(ตรัสแก่ท่านพระอานนท์ ผู้เศร้าสลดในข่าวการ
ปรินิพพานของท่านพระสารีบุตร ซึ่งจุนทสามเณร
นำมาบอกเล่า ที่พระอารามเชตวันใกล้นครสาวัตถี)



หัวข้อ: Re: พุทธวจน :จากหนังสือ (ก้าวย่าง อย่างพุทธะ)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 03 ตุลาคม 2554 16:13:19


(http://www.ladytip.com/main/images/stories/email/chalermchai-05.jpg)

ความเพลินเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์

ปุณณะ! รูปที่เห็นด้วยตาก็ดี, เสียงที่ฟังด้วยหูก็ดี,
กลิ่นที่ดมด้วยจมูกก็ดี, รสที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี,
โผฎฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี, และธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตา ยวนใจให้รัก

เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่,
ถ้าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้น
นั้นไซร์, เมื่อภิกษูนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่,
นันทิ(ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น

เรากล่าวว่า เพราะความเพลินเป็นสมุทัย(เครื่องก่อขึ้น)
จึงเกิดมีทุกขสมุทัย(ความก่อขึ้นแห่งทุกข์), ดังนี้แล


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/658/14658/images/mistyavenue.jpg)

อาการเกิดแห่งความทุกข์โดยสังเขป

มิคชาละ! รูป ทั้งหลายที่เห็นด้วยตา อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยั่วยวนชวนให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
อยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่,
ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ในรูปนั้นไซร้;
เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลินพร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ในรูปนั้นอยู่,
นันทิ(ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น

"ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งนันทิ(ความเพลิน)"

lek : http://www.tairomdham.net/index.php/topic,6375.msg26270/topicseen.html#msg26270 (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,6375.msg26270/topicseen.html#msg26270)
Pics by : Google
อกาลิโกโฮมดอทคอม * สุขใจดอทคอม
ใต้ร่มธรรมดอทเนต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ



หัวข้อ: Re: พุทธวจน จากหนังสือ (ก้าวย่าง อย่างพุทธะ)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 ตุลาคม 2554 16:10:53


ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ

ปุณณะ! รูปที่เห็นด้วยตาก็ดี, เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี, กลิ่น ที่ดมด้วยจมูกก็ดี,
รส ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฎฐัพพะ ที่สัมผัสสด้วยกายก็ดี, ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้ง
ด้วยใจก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา
ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ย้อมใจ มีอยู่, ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริฐ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์
มีรูปเป็นต้นนั้น เมื่อภิกษุไม่เพลิดพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์
มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ(ความเพลิน)ย่อมดับไป

ปุณณะ! เรากล่าวว่า "ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือ
ของความเพลิน" ดังนี้แล


ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยการละนันทิ(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท.!  พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูปทั้งหลายโดยแยบคาย และเห็นความไม่เที่ยง
แห่งรูปทั้งหลายให้เห็นตามที่เป็นจริง ภิกษุ ท.! ภิกษุ เมื่อกระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลาย
โดยแยบคายอยู่ เห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลายตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูปทั้งหลาย

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ;
เพราะความสิ้นราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้


วิธีที่สะดวกสบายเพื่อการดับของกิเลส

ภิกษุ ท.! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน
แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุ ท.! ปฏิปทา เป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเห็นซึ่ง จักษุว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณว่า ไม่เที่ยง
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรืเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยว่า ไม่เที่ยง

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไป
ด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น)

ภิกษุ ท.!  นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น
(อีก 2 นัยยะได้ตรัสโดยใช้คำว่า ทุกขังและคำว่า อัตตาแทนคำว่า
ไม่เที่ยง ส่วนตัวอักษรอื่นๆนั้นเหมือนเดิมทุกประการ)

(อีกนัยหนึ่ง)
ภิกษุ ท.! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน
แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุ ท.! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท.! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จักษุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
"ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า"
สิ่งใดไม่เที่ยง, สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
"เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า"

สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา,
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า "นั่นของเรา(เอตํมม),
นั่นเป็นเรา(เอ โสหมสฺมิ), นั่นเป็นอัตตาของเรา(เอโส เม อตฺตา)" ดังนี้?
"ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"

(ต่อไปได้ตรัสถามและภิกษุทูลตอบ เกี่ยวกับ รูป...จักขุ...วิญญาณ...
จักขุสัมผัส...จักขุสัมผัสสชาเวทนา, ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับ
ในกรณีแห่งจักษุนั้นทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น)

ภิกษุ ท. !
อริยสาวก ผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข
ที่เกิดเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม  คลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด ย่อม หลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อม มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัด ว่า
"ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ
เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก"

ภิกษุ ท. !  นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น



หัวข้อ: Re: พุทธวจน จากหนังสือ (ก้าวย่าง อย่างพุทธะ)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 ตุลาคม 2554 16:19:36


(http://www.srichinmoybio.co.uk/images/landscapes/the-lake-martin.jpg)

ทิ้งเสียนั่นแหละ  กลับจะเป็นประโยชน์

ภิกษุ ท.! สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ, สิ่งนั้น จงละมันเสีย
สิ่งนั้น อันเธอละเสียแล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ

ภิกษุ ท.! อะไรเล่าที่ไม่ใช่ของเธอ?
ภิกษุ ท.! จักษุ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย,
จักษุนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
และความสุขแก่เธอ (ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา
กายะ และมโน ก็ได้ ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน)

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน อะไรๆในแคว้นนี้ ที่เป็นหญ้า เป็นไม้
เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขาขนไปทิ้ง หรือเผาเสีย
หรือทำตามปัจจัย  พวกเธอรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า
คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำแก่เราตามปัจจัยของเขา?
"ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า"
เพราะเหตุไรเล่า?
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุว่าความรู้สึกว่าตัวตน(อตฺตา)
ของตน(อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้นพระเจ้าข้า"

ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น
จักษุ...โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กายะ...มโน ไม่ใช่ของเธอ
เธอจงละมันเสีย
สิ่งเหล่านั้น อันเธอละเสียแล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ แล