[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 01 มิถุนายน 2566 15:54:49



หัวข้อ: เอ็นร้อยหวาย - เรื่องจริงหรือมุขปาฐะ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 มิถุนายน 2566 15:54:49
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85907973017957_294637024_1431757407339935_218.jpg)
ภาพจาก วัดบางกุ้ง จังหวัดสมุทรสงคราม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81898751358191_294747577_1431757117339964_831.jpg)
ภาพจาก วัดบางกุ้ง จังหวัดสมุทรสงคราม

เอ็นร้อยหวาย

เรือสลัดตัดระกำร้อยลำหวาย    ทำเรือค่ายรายแล่นล้วนแน่นหนา    
น้าวกระเชียงเสียงเฮสุเรสุรา       ใส่เสื้อผ้าโพกนั้นลงยันต์ราย
เหมือนเรือเปล่าเสากระโดงลดลงซ่อน    ปลอมเรือจรจับบรรดาลูกค้าขาย
ตัวคนได้ไม่ล้างให้วางวาย    เจาะตีนหวายร้อยส้นทุกคนไป ฯ

จากเรื่อง รำพันพิลาป ของสุนทรภู่ ที่พรรณนาถึงการพานางในฝันลงเรือพยนต์ไปชมทะเล

เอ็นร้อยหวายเป็นเรื่องเล่ามุขปาฐะที่เล่าต่อๆ กันมาในหมู่ชาวปาตานีว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ทางการสยามใช้เพื่อควบคุมและกวาดต้อนเชลยชาวปาตานีมายังกรุงรัตนโกสินทร์ โดยระบุว่าเป็นการเอาหวายมาร้อยที่เอ็นเหนือส้นเท้าของเชลย (วิธีการอื่น เช่น เจาะใบหูผูกพ่วงกัน) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเรื่อง "ข้อเท็จจริงเอ็นร้อยหวาย ประวัติศาสตร์บาดแผลสยาม-ปาตานี (ปัตตานี)" โดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี ๒๕๖๑ ระบุว่าไม่พบเรื่องดังกล่าวในเอกสารโบราณใดๆ  

แม้จะยอมรับว่าไม่มีเอกสารต้นฉบับยืนยันจริง แต่กำพล จำปาพันธ์ นักประวัติศาสตร์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องเอ็นร้อยหวายใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ โดยเขาสรุปไว้ว่า "การเจาะเอ็นร้อยหวายสามารถทำได้ในขอบเขตจำกัดเท่านั้นกับเชลยศึกที่เป็นคนระดับนำ ซึ่งอาจก่อการลุกขึ้นสู้และก่อความวุ่นวาย จึงพิจารณาได้ว่าเป็นแค่เพียงการลงโทษ (punishment) เป็นตัวอย่างเพื่อมิให้เชลยศึกอื่นๆ เอาเยี่ยงเอาอย่าง" เขายกตัวอย่างวรรณกรรมเรื่อง รำพันพิลาป ของสุนทรภู่ (แต่งเมื่อปี ๒๓๘๕) ที่มีตอนหนึ่งเล่าว่าโจรสลัดมีการใช้วิธีเจาะเอ็นร้อยหวาย ซึ่งแปลว่าวิธีการดังกล่าวใช่ว่าจะไม่เคยมีการกล่าวถึง

ในเชิงกายวิภาคศาสตร์ เอ็นร้อยหวาย หรือรู้จักอีกชื่อคือ เอ็นส้นเท้า เป็นเอ็นกล้ามเนื้อที่หนาที่สุดในร่างกายมนุษย์ ที่อยู่บริเวณด้านหลังของน่อง โดยเกาะจากน่องลงไปถึงส้นเท้า ถือเป็นเส้นเอ็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีความแข็งแรงที่สุดในร่างกาย  ทำหน้าที่เหมือนสปริงที่ช่วยลดแรงกระแทกหรือส่งแรงถีบในขณะเราลุกขึ้นยืน เดิน วิ่ง หรือกระโดด ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้งานมันตลอดเวลาในทุกๆ การเคลื่อนไหว



ข้อมูลอ้างอิง - วิกิพีเดีย