[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 15:59:14



หัวข้อ: การกินหมากพลู นำไปสู่ยูค "ข้าวยากหมากแพง"
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 15:59:14
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24340115611751_SAM_6977_Copy_.JPG)
ตะกร้าหมาก ที่มีปูน หมาก ใบพลู ยาเส้น ตะบันหมาก กรรไกรผ่าหมาก มีดคมๆ และของใช้จิปาถะ เช่น กรรไกรตัดเล็บ ยาหม่อง ยาลม ฯลฯ
และที่ขาดไม่ได้คือ "เงินเหรียญ" สำหรับแจกลูกหลาน


การกินหมากพลู

ประเพณีการกินหมากพลูมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นที่นิยมทั้งในหมู่ชนชั้นสูงและประชาชนทั่วไปในชุมชนย่านเอเชียเช่น ไทย กัมพูชา จีน อินเดีย และได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทยยังไม่สูญหายไปไหน โดยเป็นที่นิยมในกลุ่มคนสูงอายุ ด้วยค่านิยมที่ว่าฟันสีดำเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง การกินหมากจะช่วยให้ฟันดำและแข็งแรง ช่วยให้ไม่ปวดปวดฟัน แก้รำมะนาด ตลอดจนช่วยระงับกลิ่นปากได้ ทั้งยังช่วยสร้างความเพลิดเพลินระหว่างวันได้เป็นอย่างดี คนสมัยโบราณทั้งวัยหนุ่มสาวจนวัยชราจึงมักพกหมากพลูติดตัวกันเป็นปกติ  ต่อมาในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นยุคของการสร้างชาติและวัฒนธรรม การกินหมากถือเป็นวัฒนธรรมที่ล้าหลัง รัฐบาลจึงประกาศห้ามกินหมาก ห้ามค้าขายหมาก และห้ามปลูกต้นหมาก ใครที่อยากกินหมากก็ต้องไปหาซื้อในตลาดมืดที่ราคาค่อนข้างสูง จนเป็นที่มาของคำว่า “ข้าวยากหมากแพง” แต่เมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงจากอำนาจ รัฐบาลชุดใหม่ก็ผ่อนผันให้กินหมากกันได้เป็นปกติ แต่จำนวนผู้กินหมากก็ลดลงไปโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่รับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา รวมถึงค่านิยมเรื่องฟันด้วยเช่นกันที่ฟันขาวเป็นตัวแทนของสุขภาพฟันที่ดีมิใช่ฟันสีดำดังเช่นในอดีต การกินหมากเพื่อช่วยให้ฟันดำจึงไม่จำเป็นสำหรับคนกลุ่มนี้อีกต่อไป

การเจียนหมากจีบพลูเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการกินหมาก เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งฝีมือและความพิถีพิถัน เริ่มจากการปรุงเครื่องประกอบ เช่น ปูน ก็ต้องเป็นผงละเอียด ปูนที่ดีจะต้องทำจากเถ้าหอยผสมผงขมิ้นบดละเอียด น้ำที่ละลายปูนต้องเป็นน้ำที่ต้มกับใบเนียมหรือใบเตยเพื่อให้มีกลิ่นหอม ส่วนเครื่องเคราอื่นๆ เช่น ยาจืด ยาฝอย ก็ต้องอบให้หอมด้วยดอกมะลิและควันเทียน  กานพลูสำหรับผู้ที่ชอบรสเผ็ดก็ต้องคั่วให้หอมขึ้น

เมื่อจะเจียนหมากจีบพลูต้องเลือกใบพลูที่งาม มีรสขมน้อย และเผ็ดกำลังดี นำมาเจียนขอบใบออกเล็กน้อยเพื่อให้สวยเวลาจีบ  ป้ายปูนไม่มากไม่น้อย แล้วพับทบก่อนจึงม้วนหรือจีบให้กลม  ระหว่างม้วนต้องรีดปลายให้เรียบและม้วนให้แน่น  ปลายจึงจะเรียวสวยงาม  ส่วนหมากจะต้องเป็นหมากที่แก่จัด แก่นกลางแข็งแห้งมีรสฝาดน้อยหรือไม่ฝาดเลย นำมาผ่าออกเป็น ๔ เสี้ยว เอามีดคมๆ จักเปลือกแตกออกเป็นฝอยๆ เรียงลงในจอกหมาก แล้วจึงนำไปใส่ในเชี่ยนหมากสำหรับหยิบเคี้ยว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12576262238952_400029257_1734772243705115_154.jpg)
ในวัฒนธรรมของภาคใต้ ประเทศไทย
หมากพลูจีบถือเป็นเครื่องไหว้สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการจัดสำรับ
ไหว้บรรพบุรุษหรือคนที่เสียชีวิตไปแล้ว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/43612394647465_400022392_1734772320371774_509.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65911118520630_399977510_1734772127038460_415.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89220960314075_399965577_1734772207038452_413.jpg)