[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => กระบวนการ NEW AGE => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 03 มิถุนายน 2553 08:28:20



หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : สภาวะจิตวิญญาณคือแก่นในของทุก ๆ ศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 03 มิถุนายน 2553 08:28:20
(http://www.sherschoolofwisdom.org/wp-content/uploads/2008/11/enlightenment-2.jpg)


สภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) ซึ่งไม่ใช่ศาสนาอย่างเป็นระบบ (organized religion) แม้แต่น้อย แต่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดซึ่งกันและกันอย่างยิ่ง เพราะทั้งสองต่างก็เป็นคนละระบบและคนละรูปแบบ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป สภาวะจิตวิญญาณนั้นเป็นสิ่งที่มีมาก่อนศาสนาที่เป็นระบบมากยิ่งนัก คือได้มาจากปรัชญาโบราณ (perennial physilosophy) ที่ประกอบด้วย ดิน มนุษย์ ฟ้า ส่วนที่อยู่กับมนุษย์มาตั้งแต่ต้นคือ มนุษย์จะมีฟ้าและมีดินอันสำคัญอย่างที่สุด โดยเป็นเรื่องความดีงามหรือความเป็นเทพเทวดา  (gods) ผู้บริสุทธิ์ซ่อนลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกหรือจิตไร้สำนึกของแต่ละคนเป็นปัจเจกของมนุษย์ทุกๆ คน โดยไม่มีการยกเว้นแม้แต่คนที่มีจิตใจทมิฬหินชาติอย่างที่สุด - ที่จะแสดงออกมาระหว่างภาวะที่สุดคับขัน ซึ่งจะแตกต่างจากอุปนิสัยสันดานของสัตว์ร้าย (beast or evil) ที่เป็นจิตใต้สำนึกที่อยู่ตื้นกว่าและแสดงออกง่ายกว่า อย่าลืมว่ามนุษย์ที่เป็นปกติธรรมดาทุกคนเลย (ในปัจจุบัน) นั้นยืนอยู่ระหว่างเทวดากับความชั่วร้าย เพียงแต่ความเป็นเทวดา หรือความดีงามจะอยู่ลึกกว่าความชั่วร้าย (evil) ซึ่งจะเกิดขึ้นในสภาวะคับขันเพื่อช่วยชีวิตของผู้ที่อยู่ในสภาวะคับขันนั้น
     ไม่ใช่เพราะไปเกิดและอยู่ที่จังหวัดนราธิวาสมานาน จังหวัดที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามที่มีธรรมชาติระดับสูงเป็นคุณสมบัติหรืออัลเลาะห์ที่คือพระเจ้า และไม่ใช่เพราะภรรยานับถือคริสต์ศาสนาที่ทำให้ผู้เขียนซึ่งนับถือพระพุทธเจ้า และมีแม่เป็นนายกสมาคมพุทธศาสนาจังหวัดนราธิวาสแบบเชิงผูกขาดมาอย่างช้านานมากจนจำไม่ได้ คิดว่าอย่างน้อยก็ไม่น้อยไปกว่า 5-6 สมัย แถมไม่ใช่นับถือแต่กระพี้ หากแต่คิดว่าเป็นแก่นแกนของพุทธศาสนาอันมีพุทธธรรมหรือธรรมชาติทั้งสองระดับ หรือหยาบ กับละเอียด เป็นหลักการ หรือมีเพื่อนรุ่นน้องที่รักกันมากนับถือศาสนาเต๋าอย่างรู้แจ้งเห็นจริง ทั้งหมดนี้ไม่ได้มีส่วนแม้แต่น้อยที่ทำให้ผู้เขียนเขียนบทความบทนี้ขึ้นมาตามหัวเรื่องหรือชื่อของบทความที่ตั้งมาข้างบนนั้น ผู้เขียนมีความคิดเห็นเป็นเช่นที่กล่าวไว้นั้นจริงๆ ว่า ทุกๆ ศาสนาในโลก รวมทั้งลัทธิความเชื่อทุกๆ ลัทธิเลย ต่างล้วนมีเป้าหมายสูงสุดเป็นเช่นเดียวกัน นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของความเป็น "มนุษย์ผู้ประเสริฐ" อันเป็นสัตว์โลก - เผ่าพันธุ์ที่เป็นภพภูมิของชีวิตเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งสามารถจะมีวิวัฒนาการทางจิตไปสู่จิตวิญญาณ หรือสู่เส้นทางสู่ตรัสรู้ (enlightenment) นิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต - นั่นคือแก่นแกนที่แท้จริงของทุกศาสนาและทุกๆ ลัทธิความเชื่อ อันเป็นเรื่องของสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) เพราะเหตุนี้ ผู้เขียนขอสนับสนุน เออร์วิน ลาซโล (Erwin Laszlo : The Quiet Dawn, 2002) ที่กล่าวว่า "น่าเสียใจ เพราะกาลเวลาได้ทำให้ชุมชนทั่วๆ ไปมองศาสนาเปรียบเหมือนกะลาที่ว่างเปล่า (กระพี้).....ที่แท้เป็นจิตวิญญาณ (spirituality) ต่างหาก หาใช่ตัวศาสนาที่เป็นเป้าหมายส่วนตัวที่ซึมแทรกความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างกัน ระหว่างแต่ละคนเป็นปัจเจก กับจักรวาลโดยรวม" พูดไปแล้วทำให้คิดถึงหลวงพ่อปราโมช ครูผู้สอนวิปัสสนากรรมฐานจากศรีราชาผู้กล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่มากๆ ที่บอกว่าตัวเองนับถือพุทธศาสนานั้น เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่รู้ว่ามีคนไทยที่รู้จักศาสนาพุทธอย่างแท้จริงทั่วทั้งประเทศถึงหนึ่งหมื่นคนหรือไม่? นั่นแปลว่าคนไทยมากกว่า 50 ล้านคน ล้วนไม่รู้จักแก่นแกนของพุทธศาสนาเลย หรืออย่างดีก็รู้จักแต่กระพี้ของศาสนา มิน่าเล่าที่มีคนไทยจำนวนไม่น้อย ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่รู้จักพุทธศาสนาดีพอ แต่ยังกลัวว่าศาสนาอื่นจะมาแย่งเอาพุทธศาสนิกชนของตนไป จึงหาทางเรียกร้องและป้องกันอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งการกระทำเช่นนั้นมีแต่ก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติยิ่งกว่าความแตกแยกทางการเมืองที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้เสียอีก ทำไมเราไม่ทำตามอย่างที่องค์ทะไล ลามะ พูดเสมอๆ ว่า "หวังอย่างยิ่งว่าจะไม่มีการแก่งแย่งกันในเรื่องของศาสนาอย่างน้อยในพุทธศาสนาของทิเบต" จริงๆ แล้วผู้เขียนคิดเช่นเดียวกับองค์ทะไล ลามะ และเออร์วิน ลาซโล ว่า ทุกๆ ศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี มีศีลมีธรรม กอร์ปด้วยคุณธรรมความดีงามมาตลอด ฯลฯ แต่ทั้งสองคือสภาวะจิตวิญญาณอันหนึ่งกับศาสนานั้น แตกต่างกันที่นิยามและรูปแบบ จิตวิญญาณเป็นสภาวะของจิต หรือรูปแบบทางวัฒนธรรม คือสภาวะการวิวัฒนาการของจิตที่ภายใน แต่ศาสนาเป็นสถาบันของสังคม เป็นเรื่องของวิวัฒนาการของกายที่ภายนอกคือ เป็นเสมือนเรือหรือพาหนะที่นำพาจิตวิญญาณนั้นไปสูเป้าหมาย และสำหรับผู้เขียน ทั้งสองมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เหมือนกับประเทศกับชาติ เหมือนกับสังคมกับวัฒนธรรม สภาวะจิตวิญญาณจึงอาศัยพาหนะ หรือสิ่งบรรจุเพื่อนำพาสภาวะจิตที่วิวัฒนาการต่อๆ ไปตลอดเวลาเช่นเดียวกันกับรูปหรือกายที่มีวิวัฒนาการ - จากสัตว์โลกต่างๆ มาเป็นลิงเป็นเอพส์ และเป็นมนุษย์ - คือ เรา "ต้องรู้" ว่ามนุษย์นั้นมีทั้งรูปกับนาม หรือกายกับจิต และเรา "ต้องรู้" ว่าจักรวาลมีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือ วิวัฒนาการ และทั้งสองอย่างนั้น คือมนุษย์กับจักรวาล มนุษย์จะรู้ได้ก็จะต้องมีปัญญา และปัญญานั้นเป็นธรรมชาติ หรือก็คือธรรมะนั่นเอง ส่วนจักรวาลต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวแล้ว การที่สภาวะจิตของมนุษย์ซึ่งมีการวิวัฒนาการที่เป็นเช่นเดียวกันกับรูปกาย หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยาดังที่กล่าวมาในพารากราฟข้างบนไปตามสเปกตรัมทางจิตผ่านสภาวะจิตวิญญาณไปสู่การตรัสรู้ (enlightenment) หรือนิพพาน รวมทั้งเป้าหมายเพียงอย่างเดียวของจักรวาล คือวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลง หรืออนิจจตากับปฏิจจสมุปปบาทในพุทธศาสนา ผู้เขียนคิดว่าเป็นเป้าหมายนั้น หรืออีกนัยหนึ่งผู้เขียนคิดต่อไปว่าเป้าหมายหรือวิวัฒนาการที่ว่านั้นก็คือ วิวัฒนาการของกายและจิตของมนุษย์ เพราะฉะนั้นท้ายที่สุดแล้วสภาวะจิตวิญญาณจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากว่า นั่นคือวิวัฒนาการของจิตไปสู่จิตวิญญาณ ไปสู่การตรัสรู้และนิพพาน นั่นคือ สภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) หรือเป้าหมายสุดท้ายของวิวัฒนาการทางจิตที่ว่ามาหยกๆ นั้นคือ เป้าหมายอันสุดท้ายของชีวิตของสัตว์โลกต่างๆ ทั้งหมดที่มีประสาทสัมผัสรับรู้ภายนอก (sentience beings) และมนุษย์ทุกๆ คนจริงๆ
     นอกจากนั้น และเป็นความสำคัญอย่างที่สุดสำหรับสภาวะจิตวิญญาณ และศาสนาใหญ่ต่างๆ รวมทั้งลัทธิความเชื่อของทุกๆ วัฒนธรรม คือสิ่งที่ศาสนาพุทธและทุกๆ ศาสนาที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับลัทธิหรือวัฒนธรรมพระเวทบอกว่าคือกฎของธรรมชาติที่ใช้ควบคุมทุกสรรพสิ่ง โดยเฉพาะชีวิตและโดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตของมนุษย์ นั่นคือ "กฎแห่งกรรม" ซึ่งโดยศาสนาพุทธกับโดยประสบการณ์ของผู้เขียน - ซึ่งเชื่อมั่น 100 เปอร์เซ็นต์เต็มอย่างมีเหตุผล - และเป็นเหตุผลซึ่งทำให้ผู้เขียนปฏิเสธเรื่องของสิทธิมนุษย์ชน และระบอบประชาธิปไตยตัวแทน และการเลือกตั้งแบบที่เรามีอยู่โดยไม่มีธรรมาภิบาล ไม่มีระบบประชาพิจารณ์ ไม่มีระบบประชาสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงใดๆ เลย (participating democracy) ฯลฯ เพราะเหตุว่า ทั้งสอง ทั้งเรื่องของสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยตัวแทนเพียงอย่างเดียวนั้น เป็นเรื่องของกาย-วัตถุนิยมที่ทำงานแบบเครื่องจักรเครื่องยนต์ (materialism and mechanism) หรือพูดง่ายๆ ได้ว่า - สำหรับบ้านเราและประเทศที่พัฒนาใหม่ๆ ทั้งหลาย โดยเฉพาะนักวิชาการกับนักวิทยาศาสตร์กายภาพ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต (life sciences) ส่วนใหญ่ มักจะกล่าวถึงวิวัฒนาการทางชีววิทยา หรือทางด้านของกายภาพของจักรวาลอันเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์เก่า นิวโตเนียน-คลาสสิคัลฟิสิกส์และนีโอดาร์วินิซึ่ม โดยไม่ได้ติดตามฟิสิกส์ใหม่ โดยเฉพาะควอนตัมฟิสิกส์ ชีววิทยาใหม่ จักรวาล วิทยาใหม่ ฯลฯ เท่าที่ควร
     บทความนี้ผู้เขียนจะพูดถึงกฎแห่งกรรมอันเป็นหัวใจของพุทธศาสนาอย่างมีเหตุผล ผู้เขียนใคร่ขออธิบายกฎแห่งกรรม ซึ่งบางข้อยังไม่มีผู้ใดให้คำอธิบายมาก่อน และที่ผู้เขียนเข้าใจพุทธศาสนาทุกๆ นิกาย รวมทั้งหนังสือที่เกี่ยวข้องกับกรรมและการเกิดใหม่ของพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู และศาสนาที่เกิดขึ้นจากลัทธิพระเวท โดยนักปรัชญากับผู้เขียนชาวอินเดีย รวมทั้งการประชุมใหญ่และสัมมนาทางวิชาการทั้งของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เบิร์กเลย์ และที่มหาวิทยาลัยคาร์ลการีที่แคนาดา ทั้งหมดนี้ - ด้วยหลักการโดยทั่วไปของข้อมูล - ดังข้อสรุปต่อไปนี้ คือ หนึ่ง กฎแห่งกรรมนั้น ในทางศาสนาเชื่อว่าไม่มีทางที่ใคร และไม่ว่าอย่างไรก็ไม่มีทางหลบหลีกได้พ้น สอง กฎแห่งกรรมนั้น นอกจากจะไม่มีทางที่ใครจะหลีกหนีได้พ้น - ไม่ว่าใครจะตายไปจากโลกนี้หรือไม่ หรือเกิดใหม่หรือไม่ หรือเกิดในภพภูมิไหน - จะต้องรับรางวัลหรือรับการลงโทษจากผลกรรมนั้นอยู่วันยังค่ำ ทั้งยังต้องมีวิวัฒนาการ-เปลี่ยนแปลงของโลกของจักรวาลของสังสารวัต ทั้งกายและจิตอยู่วันยังค่ำ สาม หลักการกฎแห่งกรรม นอกจากมีวิวัฒนาการทางกายกับจิต ทั้งยังมีผลข้ามภพข้ามชาติดังได้กล่าวมาในข้อสองแล้วนั้น ซึ่งวิวัฒนาการทางจิต หรือทั้งสองคือทั้งทางกายและทางจิต ดังเช่นในภพภูมิของโลกนี้ หรือว่าเป็นในภพภูมิมิติใดของจักรวาลที่ซ้อนๆ กับจักรวาลนี้ ล้วนเป็นไปเพื่อการวิวัฒนาการทางจิตสู่จิตวิญญาณ (spirituality) ไปสู่การตรัสรู้และนิพพานทั้งนั้น และข้อสุดท้ายข้อที่สี่ การเกิดใหม่ในภพภูมิใด - หากเป็นภพภูมิเช่นโลกมนุษย์นี้ และมีวิวัฒนาการทั้งกายและจิตแล้ว - กฎแห่งกรรมจะต้องผ่านวิวัฒนาการของกายไล่สูงขึ้นไปตามลำดับ - จากไฟลัมถึงไฟลัม จากสปีชีส์ถึงสปีชีส์ จากสัตว์ชั้นต่ำสู่สัตว์ชั้นสูง จากคนพิการหรือผู้ยากไร้สู่คนปกติและเศรษฐีผู้สูงศักดิ์ซึ่งจะเป็นไปด้วยกรรมใหม่ของสัตว์โลกที่รวมทั้งมนุษย์คนนั้นๆ - ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ในทำนองว่า มนุษย์มีสูง มีต่ำ มีดำ มีขาว มีรวย มีจน ไม่เท่ากัน จึงเป็นไปตามกรรมในชาติก่อนนั้นๆ มันจึงไม่มีคำว่าสิทธิมนุษยชน หรือคำว่าประชาธิปไตย หรือคำว่าวัตถุนิยม ฯลฯ เพราะเหตุว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเป็นไปด้วยหน้าที่หรือพฤติกรรมที่ควบคุมโดยจิตหรือจิตวิญญาณและมนุษย์ทุกๆ คนจะต้องมีระดับจิตที่จะมีวิวัฒนาการได้เช่นนั้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว - หากว่าประชากรโลกมีไม่มากเกินกว่าคำว่าสมดุลพอเพียงพอดี อย่างเช่นในปี 2013 ซึ่งผู้เขียนคาดว่าอาจเป็นปีแห่งการเริ่มต้นของสภาวะจิตวิญญาณของชาวโลกทั่วทั้งโลก และประชากรจะเหลือราว 20% เพราะภัยธรรมชาติและกรรมร่วมของมนุษยชาติที่กล่าวมาแล้วว่าไม่มีทางจะหลีกหนี.


http://www.thaipost.net/sunday/230510/22424 (http://www.thaipost.net/sunday/230510/22424)


หัวข้อ: Re: ความทรงจำนอกมิติ : สภาวะจิตวิญญาณคือแก่นในของทุก ๆ ศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 05 มิถุนายน 2553 08:18:09

(http://i194.photobucket.com/albums/z32/jatikanont/24b4c35f.jpg)

ขอบพระคุณ คุณมดค่ะ


หัวข้อ: Re: ความทรงจำนอกมิติ : สภาวะจิตวิญญาณคือแก่นในของทุก ๆ ศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: DUNG ที่ 05 มิถุนายน 2553 09:34:19
ขอบคุณครับสำหรับบทความแห่งสัมมาทิฏฐิอนุโมทนาบุญครับ (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความทรงจำนอกมิติ : สภาวะจิตวิญญาณคือแก่นในของทุก ๆ ศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 05 มิถุนายน 2553 10:57:37
จารย์มดแกเรื่องแนว ๆ นี้เยอะครับ