[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 03 มิถุนายน 2553 19:08:59



หัวข้อ: วัดขุนสมุทรจีน และ แผ่นดินที่หายไป ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 03 มิถุนายน 2553 19:08:59
วัดขุนสมุทรจีน และ แผ่นดินที่หายไป ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน คัดลอกมาจากที่ อ.มดเอ็กซ์โพสท์ไว้ในเวบเก่า



(http://www.chonburi33.com/UserFiles/Image/smuthjin/watsamuthjin2.jpg)
             
ภัยพิบัติทางธรรมชาติี่เกิดขึ้นทุกปีในประเทศไทยเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ถูกกัดเซาะหายไปเป็นบริเวณกว้างชั่วเวลา 30 ปีประเทศไทยหายไปแล้วกว่า แสนไร่ อันตรายที่สุด คือจังหวัดสมุทรปราการ และที่ บางขุนเทียน กรุงเทพฯ อัตราการกัดเซาะกว่า 25 เมตรต่อปี และ20-25 เมตร ต่อปี ตัวเลขจากผู้ทำวิจัยมา 10 ปี คือ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ภาควิชา ธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ยังัังมีอีกหลายจังหวัดที่ชายฝั่งหาย เช่น ชลบุรี ระยอง 5จุดวิกฤตชายฝั่งทะเลไทย1.ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมสิงห์-ปากคลองขุนราชพินิจใจ จ.สมุทรปาการ ระยะทาง 12.5 กม. ถอยร่นเข้ามาประมาณ 700 - 800 เมตร2.ชายฝั่งทะเลปากคลองราชพินิจใจ - บ้านท่าตะโก เขตบางขุนเทียน กทม. ระยะทาง 5.5 กม. กัดเซาะ 20-25 เมตรต่อปี หายไป 400-800 ม.3.ชายฝั่งทะเลบ้านเคียนดำ-บ้านบ่อนนท์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีฯ4.ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมตะลุมพุก-บ้านบางบ่อ อ.ปากพนัง จ.นครศรีฯ5.ชายฝั่งบ้านเกาะทัง-บ้านหน้าศาล จ.นครศรีฯ ความยาวประมาณ 23 กม. อัตราการกัดเซาะประมาณ 12 ม.ต่่อปี
สาเหตุของการกัดเซาะ
1.การกัดเซาะเนื่องมาจากคลื่นลมในทะเล
2.การลดลงของพื้นที่ป่าชายเลน
3.การลดลงของตะกอนจากแม่น้ำ
4.การทรุดตัวของแผ่นดิน
(http://www.chonburi33.com/UserFiles/Image/smuthjin/DSc01.JPG)
ม่น่าเชื่อว่าเสาไฟฟ้าที่เห็นในภาพ เมือก่อนบริเวณนั้นเป็นถนนที่ชาวบ้านใช้สัญจรไปมา
         
    ถ้ายังมองว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญไม่เร่งดำเนินการแก้ไขเสียแต่ตอนนี้สุดท้ายพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เรายังเห็นๆกันอยู่ในวันนี้คงจะมีสภาพไม่ต่างจากหลักกิโลเมตรกลางน้ำที่โผล่ให้เห็นอยู่ลิบๆเหมือนที่บางขุนเทียนก็เป็นได้
             นอกจากปัญหาน้ำปริมาณมหาศาลที่มากจนเกินกว่าเขื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทยจะรองรับได้ทั้งหมด จนก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด แต่ยังมีอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ หมู่บ้านที่กำลังจะหายไปจากแผ่นดินไทย! เหตุผลที่หมู่บ้านดังกล่าวกำลังจะหายไปก็คือปัญหา “การกัดเซาะชายฝั่งทะเล” ที่กัดกินชายฝั่งหมู่บ้านนี้ไปถึง 3 - 4 กิโลเมตร
(http://www.chonburi33.com/UserFiles/Image/smuthjin/PIC_2241.jpg)
หมู่บ้านขุนสมุทรจีน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ มีพื้นที่ทั้งหมด 790 ไร่ ประชากร 420 คน มี 168 หลังคาเรือน แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงแค่ 105 หลังเท่านั้น โดยรศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าโครงการวิจัยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคนนำนักศึกษาชมรมเยาวชนธนาคารโลกเข้าพบกับผู้ใหญ่บ้าน “สมร เข่งสมุทร” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 บ้านขุนสมุทรจีน โดยผู้ใหญ่บ้านกล่าวว่ารู้สึกดีใจที่คนรุ่นใหม่เข้ามาสนใจเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านต่อสู้กันมา 30 ปี จากที่อยู่กันมาเป็นพันๆ ตอนนี้คนก็หายไปหมดเหลือแค่ 200-300 คน มีแต่คนแก่กับเด็กๆ “เราแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้วิธีที่บรรพบุรุษเคยทำมา ก็คือการใช้ไม้ลวกปักไว้ การตั้งเสาไฟฟ้ากลางทะเลเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำทะเลกัดเซาะเข้ามา หรือมีการรณรงค์ การปลูกป่าชายเลน แต่วิธีดังกล่าวเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะวัสดุที่นำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นไม้ลวก ซึ่งเป็นไม้ที่มีอายุการใช้งานที่ไม่นาน หรือเสาไฟฟ้าที่มีราคาสูงมาก ชาวบ้านคงไม่มีเงินมากพอที่จะไปซื้อเสาไฟฟ้ามาปักไว้ได้ วิธีหนึ่งที่ชาวบ้านสามารถที่จะทำได้ก็คือ การปลูกป่าชายเลน แต่กว่าป่าที่ปลูกจะโตก็อาจจะไม่ทันต่อการป้องกันการกัดเซาะของน้ำทะเลที่เกิดขึ้นทุกปี” ผู้ใหญ่บ้านกล่าว รศ.ดร.ธนวัฒน์ อธิบายสภาพปัญหา สาเหตุ และหนทางออกเพื่อปูพื้นให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่าปัญหา“การกัดเซาะชายฝั่งทะเล” เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังประสบซึ่งทำให้พื้นดินของโลกหายไปกว่าร้อยละ 30 สำหรับแนวชายฝั่งไทยซึ่งยาวประมาณ 2,700 กิโลเมตร ต่างประสบปัญหานี้ ซึ่งทำให้แผ่นดินหายไปถึง 130,000 ไร่ทั่วประเทศ และสำหรับแนวชายฝั่งอ่าวไทยซึ่งได้แก่จังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานครถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหานี้รุนแรงอันดับต้นๆ ของโลก และพื้นที่หมู่บ้านขุนสมุทรจีนถือว่าประสบปัญหารุนแรงที่สุด “สาเหตุที่ทำให้การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติกลายเป็นปัญหารุนแรงในปัจจุบัน มีหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ ภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน ทำให้น้ำทะเลขึ้นสูงอย่างน่าตกใจ, การสร้างเขื่อนซึ่งทำให้ตะกอนดินที่เคยไหลจากแม่น้ำมาสู่ปากแม่น้ำกลายเป็นแผ่นดินงอก หายไป 75%, การทรุดตัวของแผ่นดินเนื่องจากพื้นที่รอบชายฝั่งอ่าวไทยเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรม และป่าชายเลนเสื่อมโทรมเนื่องจากอาชีพการเลี้ยงกุ้งและการตัดไม้ หากปล่อยให้ปัญหาที่ดำรงอยู่ต่อไปโดยไม่แก้ไข จะทำให้อัตราการกัดเซาะจะทวีความรุนแรงกัดเซาะชายฝั่ง 65 เมตรต่อปี และภายในไม่กี่ 10 ปีข้างหน้าชุมชนรอบสนามบินสุวรรณภูมิจะถูกกัดเซาะและได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน”
(http://www.chonburi33.com/UserFiles/Image/smuthjin/watsamuthjin%20(Small).jpg)

(http://www.chonburi33.com/UserFiles/Image/smuthjin/DSc02.JPG)
(http://www.chonburi33.com/UserFiles/Image/smuthjin/DSc03.JPG)



http://www.chonburi33.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=16 (http://www.chonburi33.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=16)