[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 08 มิถุนายน 2553 12:15:19



หัวข้อ: วิถีแห่งพระโพธิสัตว์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 08 มิถุนายน 2553 12:15:19
(http://img410.yfrog.com/img410/8056/g2r.jpg)



......................................สูบมาจาก(ที่เขา)....................................



般若波羅蜜多心經 (http://www.youtube.com/watch?v=4zB2jBVe6jg#)



วันนี้จะพูดให้ฟังถึงเรื่องแนวทางพระโพธิสัตต์ หลวงพ่อดาวเรืองที่วัดหนองหอยและหลวงย่าที่วัตรของเรา เป็นตัวอย่างของพระที่เดินตามแนวทางของพระโพธิสัตว์เวลาที่พูดถึงพระโพธิสัตต์คนไทยมักจะเข้าใจว่าหมายถึงอดีตชาติของพระ พุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก่อนที่จะมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะได้บำเพ็ญพระชาติมาหลายสิบชาติ ในพระเจ้า ๕๐๐ ชาตินั้น เล่าถึงอดีต ๕๐๐ชาติของพระพุทธเจ้า แต่ในพระเจ้า ๕๐๐ ชาตินี้ส่วนหนึ่งจะเป็นเหมือนกับนิทานพื้นบ้าน แม้กระทั่งนิทานอีสป แม้กระทั่งรามเกียรติ์ก็สอดใส่เข้ามาอยู่ในพระเจ้า ๕๐๐ ชาติของเราด้วย คนไทยจะเข้าใจได้ว่าเมื่อพูดถึงพระโพธิสัตต์ก็คือพูดถึงอดีตชาติของพระ พุทธเจ้าย้อนไปเมื่อ ๔๙๙ ชาติ เราก็มีความรู้สึกว่าพวกเราอย่างเก่งก็ปรารถนาเป็นพระอรหันต์ จะไม่มีใครปรารถนาพุทธภูมิ ถ้าเราจะเป็นพระโพธิสัตต์คนไทยก็จะไม่ชอบ แล้วก็มีอคติว่าคนคนนี้จะทำตัวเทียบพระพุทธเจ้า อันนี้เป็นความเข้าใจค่อนข้างจะจำกัดเฉพาะในชาวพุทธในประเทศไทยเท่านั้น
เถรวาท กับมหายานต่างกันโดยหลักใหญ่ใจความตรงนี้ ก็คือตรงที่ทั้งฝ่ายมหายานนั้นพิจารณาดูชีวิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า มองย้อนไปในอดีตว่าพระพุทธเจ้าได้สร้างบารมีมาอย่างไร ได้บำเพ็ญพระองค์เป็นพระโพธิสัตต์มาอย่างไร จึงจะได้มาถึง พระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในท้ายที่สุด แล้วมหายานก็เพียรพยายามที่จะดำเนินรอยตามวิถีชีวิตแบบนั้น ในขณะที่ฝ่ายเถรวาทจะถือเอาพระพุทธเจ้าองค์เดียวกันแต่จะปฏิบัติตามคำสอนของ พระองค์นับตั้งแต่วาระที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ธรรมอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนม์พรรษาได้ ๓๕ แล้วก็ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ในช่วง ๔๕ ปีนับแต่วันที่ตรัสรู้ แนวทางของเถรวาทจึงเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตัว ในขณะที่แนวทางของสายมหายานจะมุ่งการปฏิบัติที่จะดำเนินแนวทางชีวิตเยี่ยง พระโพธิสัตต์ การที่จะดำเนินแนวทางเยี่ยงพระโพธิสัตต์มีจุดมุ่งหมายว่าในท้ายที่สุดเราก็ จะเข้าถึงพระพุทธภูมิ แต่บางคนนั้นมีบารมีแก่กล้าพร้อมที่จะเข้าถึงพุทธภูมิแล้ว บำเพ็ญบารมีมาครบถ้วนแล้ว แต่ก็ยังรออยู่ เพื่อที่จะช่วยรื้อสัตว์ ขนสัตว์ให้สรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากนั้นได้บรรลุธรรมพร้อมๆกัน  อันนี้ก็จะเป็นความกรุณาของบรรดาพระมหาโพธิสัตต์ทั้งหลาย


หัวข้อ: Re: วิถีแห่งพระโพธิสัตว์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 08 มิถุนายน 2553 12:16:16
(http://img410.yfrog.com/img410/8056/g2r.jpg)



ในหนังสือที่ว่าด้วยพระโพธิสัตต์ในวรรณคดีสันสกฤตนั้น คนที่เขียนหนังสือที่สำคัญก็คือ HAR DAYAL เข้าใจว่าเป็นคนแขกอินเดีย ได้อธิบายโพธิสัตต์ภูมิเอาไว้ 10 ขั้น ที่จะเพียรพยายามปฏิบัติขึ้นมา บนเส้นทางของการที่จะปฏิบัติเพื่อพุทธภูมิหรือแนวทางโพธิสัตต์นั้น เป็นแนวทางที่ไม่ได้ปรารถนาความหลุดพ้นเฉพาะตัว แต่ปรารถนาที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นด้วย เพราะฉะนั้นความรู้ความสามารถไม่ใช่เฉพาะในสิ่งที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นก็จำ เป็นสำหรับโพธิสัตต์ เพราะว่าถ้าความรู้ความสามารถเหล่านั้นอาจจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ในการที่จะช่วยให้เรารื้อสัตว์ขนสัตว์ได้มากขึ้น สะดวกขึ้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นกุศโลบายที่นำมาใช้ได้ทั้งสิ้น วิธีคิดของมหายานจะคิดกว้างขวาง สะท้อนออกในรูปแบบของการสร้างสถาปัตยกรรม วัดวาอารามของจีนจะใหญ่โต ที่อยู่อาศัยก็จะเป็นที่อยู่อาศัยด้วยกัน เป็นอาคารสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารใหญ่ แล้วก็จะอยู่ด้วยกัน อาหารการกินก็จะกินด้วยกัน ในขณะที่ฝ่ายเถรวาทสะท้อนออกในสถาปัตยกรรมการสร้างกุฏิสงฆ์ก็จะเป็นกุฏิ เล็กๆ เดี่ยว เพื่อมุ่งหวังการปฏิบัติเฉพาะตน หรือแม้สำนักแม่ชีบางแห่งอยู่กัน ๕๐ คนก็หุงข้าว ๕๐ หม้อ ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างกิน แต่ก็อยู่ในสำนักเดียวกัน อย่างนี้ก็คือท่าทีแตกต่างกันไป เราจะเห็นว่าในสมัยปัจจุบันนี้ ในขณะที่คนภายนอกมีปัญหาอย่างยิ่ง ทางมหายานเขาจะปรับตัวเองให้เข้ากับสังคม ออกมารับใช้สังคม ออกมาดูแลประโยชน์สังคมมากขึ้น ภิกษุณีรูปหนึ่งที่ไต้หวันเวลาที่เกิดทุพภิกขภัย เช่นแผ่นดินไหวตึกรามบ้านช่องล้มทับผู้คนตายจำนวนมาก ผู้คนไร้ที่พักที่อยู่อาศัยภิกษุณีรูปนี้ก็จะเข้าไปลุยไปตามเลน ตามโคลน ตามสลัม เพื่อที่จะช่วยกู้ชีวิตคนเหล่านี้ขึ้นมา มีอยู่ครั้งหนึ่งภิกษุณีรูปนี้บังเอิญไปยืนอยู่หน้าโรงพยาบาลเห็นผู้หญิง ท้องแก่มาอยู่ที่หน้าโรงพยาบาลแต่ไม่มีเงินจ่ายทางโรงพยาบาลก็ไม่รับต้องไป โรงพยาบาลอื่น พระภิกษุณีรูปนี้ตั้งอธิษฐานจิตว่าจะต้องสร้างโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษา พยาบาลกับคนยากจนโดยไม่คิดมูลค่า ก็ปรากฎว่าเมื่อท่านพูดขึ้นก็มีลูกศิษย์ลูกหาที่เห็นด้วยก็ช่วยกันหาเงิน สร้างโรงพยาบาล ไม่ใช่แต่สร้างโรงพยาบาลสำหรับมวลชนเท่านั้น ท่านยังสามารถสร้างวิทยาลัยที่จะอบรมสั่งสอนผลิตนายแพทย์ผลิตพยาบาลออกมารับ ใช้สังคม ด้วยการที่มีจิตใจเป็นโพธิสัตต์ช่วยเหลือคนที่ยากไร้ ให้ชีวิต ต่อชีวิต สำหรับคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ภิกษุณีรูปนี้ต่อมาได้รับรางวัลแม็กไซไซซึ่งเป็นรางวัลจากฟิลิปปินส์สนับ สนุนคนที่ทำงานเพื่อสังคม
หลวงพ่อที่วัดหนองหอยก็เหมือนกัน งานของท่านก็ทำในลักษณะงานของพระโพธิสัตต์ ประการแรกที่ท่านทำก็คือมีโรงทาน ไม่ว่าใครจะไปจะมาท่านก็มีอาหารให้กิน แล้วก็เป็นอาหารบริสุทธิ์ เป็นอาหารมังสวิรัติ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตพระโพธิสัตต์ ส่วนมากถ้าเป็นพระโพธิสัตต์ที่เป็นนักบวช เขาจะต้องรับศีลข้อที่ไม่กินเนื้อสัตว์ เพราะฉะนั้นสายพระโพธิสัตต์สายจีนจะเป็นมังสวิรัติโดยปริยาย ไม่ใช่เรื่องโรงทานเท่านั้น แต่หลวงพ่อยังทำบ้านพักคนชรา ดูแลคนชราที่ไม่มีลูกหลานดูแล เป็นงานสังคมสงเคราะห์ เป็นงานที่โปรดคนยากจน สถานที่ที่พักบ้านคนชรานั้นแม้จะมีจำนวนคนชราอยู่เพียง ๒๐ คน แต่แท้ที่จริงแล้วสามารถจะอยู่ได้ถึงร้อยคน และเมื่อคราวที่จังหวัดราชบุรีเกิดทุพภิกขภัย ประชาชนบ้านช่องน้ำท่วม ก็ได้มาอาศัยบารมีหลวงพ่อเข้ามาอยู่บ้านพักคนชรานี่เอง
อย่างนี้จะ เห็นว่างานของพระโพธิสัตต์เป็นงานที่เอื้อต่อคนอื่น เมื่อเราโกนผมเข้ามาบวช ไม่ใช่เราคอยให้คนเขากราบไหว้เราเท่านั้น สัญลักษณ์ของการที่โกนหัวบวชก็คือการที่จะบอกกับคนอื่นว่าเราจะช่วยอะไรคน อื่นได้บ้าง แม้กระทั่งวัตรปฏิบัติของการออกไปบิณฑบาต ผู้ที่เป็นนักบวชผู้ที่เป็นพุทธสาวกพุทธสาวิกา ก็ต้องทำหน้าที่ออกไปโปรดสัตว์
ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่เราจะไปรับอาหารจะต้องไปบ้านที่ถวายอาหารดีๆเท่านั้น นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของการบิณฑบาต การบิณฑบาตก็คือการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีโอกาสสัมผัสกับกุศล สัมผัสกับบุญ จึงเรียกการบิณฑบาตว่าการโปรดสัตว์ การออกบิณฑบาตจึงเป็นหน้าที่ประการหนึ่งของคนบวช เพราะฉะนั้นหลวงแม่จะชวนลูกทุกครั้งว่าวันนี้ออกบิณฑบาตใครจะตามไป แม้ว่าลูกยังไม่ได้บวชแต่การที่ลูกเดินตามหลังพระไปบิณฑบาตไ ปรับบาตรจากชาวบ้าน ลูกก็อยู่ในขบวนการของการสร้างกุศลทั้งสองฝ่าย ฝ่ายพระที่ไปโปรดสัตว์ญาติโยมและได้เห็นญาติโยมที่ตั้งใจมีจิตเป็นกุศลถวาย พระนี้เป็นการสร้างทั้งบุญกุศลทั้งสองฝ่าย งานของพระโพธิสัตต์นั้นไม่จบสิ้น แล้วแต่ว่าแต่ละคนอธิษฐานว่าจะช่วยเหลือทางใด
สำหรับแม่กวนอิมนั้นเป็น ปางของพระอวโลกิเตศวรพระอวโลกิเตศวร แปลว่าผู้พร้อมจะได้ยิน


หัวข้อ: Re: วิถีแห่งพระโพธิสัตว์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 08 มิถุนายน 2553 12:18:19
(http://img410.yfrog.com/img410/8056/g2r.jpg)



เพราะฉะนั้น เราจึงเห็นปางของเจ้าแม่กวนอิมที่เรียกว่าปางสหัสเนตร สหัสกร พันมือพันตา แต่ละมือที่ยื่นออกมานั้นมีตากำกับ หมายถึงว่าพร้อมที่จะดูแลทุกข์สุขของประชาชนพร้อมที่จะช่วยเหลือด้วย มือที่ยื่นออกมานั้น อันนี้เป็นเพียงสัญลักษณ์คงไม่ใช่เป็นจริงอย่างนั้น แต่ว่าทำออกมาเป็นสัญลักษณ์ให้เราได้ตระหนักว่าอวโลกิเตศวรหมายความว่าอย่างนั้นทีนี้ อวโลกิเตศวรนั้นเดิมเป็นปางผู้ชายจากประเทศอินเดีย แต่เมื่อเดินทางไปสู่ประเทศจีน ที่ประเทศจีนนั้นมีเจ้าแม่แห่งท้องทะเลเพราะว่ามีชาวจีนที่ทำหน้าที่เป็น อาชีพชาวประมง หากินริมฝั่งแม่น้ำหากินริมฝั่งทะเล บรรดาสมาชิกที่ครอบครัวที่เป็นผู้ชายไม่ว่าจะเป็นปู่ไม่ว่าจะเป็นพ่อไม่ว่าจะเป็นลูกชายก็จะออกสู่ท้องทะเลไปจับปลา การออกทะเลแต่ละครั้ง ไม่เคยมีความแน่ใจเลยว่าลูกชายหรือผัวจะได้กลับมา
ชาวจีนจึงสร้างรูปพระแม่แห่งท้องทะเลหันหน้าออกสู่ท้องทะเลเพื่อที่จะให้ปก ปักษ์รักษาบรรดาชาวประมงทั้งหลายที่ออกหาปลา เมื่อแนวความคิดเรื่องอวโลกิเตศวรซึ่งแปลว่าพระผู้ได้ยินไปถึงประเทศจีน จึงสานกันเข้ากับความเชื่อพื้นบ้านคือเชื่อในเทพเจ้าเชื่อในเจ้าแม่แห่งท้อง ทะเลจึงสานกันเกิดเป็นแนวความคิดใหม่ เกิดเป็น มโนทัศน์ในเรื่องของเจ้าแม่กวนอิม ทำให้อวโลกิเตศวรนั้นมีปางผู้หญิงเป็นกวนอิมซึ่งมีลักษณะเป็นผู้หญิง กวนอิมดั้งเดิมจะเป็นแปะกวานซีอิม แปะกวานซีอิมแปลว่าเจ้าแม่กวนอิมทรงชุดขาว เพราะอะไร เพราะท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ตัวท่านเองรักษาศีลบริสุทธิ์ เวลาที่เราจะดูว่าองค์ไหนเป็นพระโพธิสัตต์ ดูตรงที่เหนือหน้าผากขึ้นไปบนศีรษะจะมีรูปพระพุทธรูปเล็กๆ ถ้ามีรูปพระพุทธรูปเล็กๆ แสดงว่าองค์นั้นเป็นพระโพธิสัตต์ รูปแม่กวนก็เหมือนกัน มีรูปพระพุทธรูปเล็กๆ อยู่ที่มวยผมแล้วก็จะครองชุดขาว แปะกวานซีอิม แม่กวนอิมดั้งเดิมที่สานความเชื่อพระโพธิสัตต์อวโลกิเตศวรเข้ากับเจ้าแม่ แห่งท้องทะเลได้รับความนิยมอย่างยิ่ง เพราะว่าเมื่อเป็นกวนอิมแล้วคนจีนก็จะเชื่อว่าเจ้าแม่กวนอิมนี้จะช่วยผู้หญิงจะช่วยคนเจ็บ
คนแก่จะช่วยคนที่ตกอยู่ในภัยพิบัติไฟไหม้จะช่วยคนที่เดินทาง เพราะฉะนั้นความเคารพความนิยมในการบูชาเจ้าแม่กวนอิมจึงมีมหาศาล เพราะไปสอดคล้องกันกับความต้องการทางจิตวิญญาณจิตใจของประชาชน ผู้ที่จะมาช่วยต้องเป็นผู้หญิง ความรู้สึกเรื่องอวโลกิเตศวรซึ่งเป็นเพศชายไม่รู้จะให้ไปช่วยอะไร ไปช่วยอะไรในบ้านในช่อง แต่ว่าผู้หญิงเรามีความทุกข์โศกไม่ว่าเรื่องลูกเจ็บ ไม่มีลูก บางคนไม่มีลูกไปอ้อนวอนขอจากเจ้าแม่กวนอิม มโนทัศน์เรื่องพระโพธิสัตต์ที่จะมาช่วยมนุษยชาติได้ดีกว่า จึงออกมาในปางของผู้หญิงมากกว่าที่จะเป็นปางของผู้ชาย ตรงนี้อาตมาเล่าให้ฟังว่า ทำไมอวโลกิเตศวรซึ่งเป็นปางผู้ชายจึงกลายเป็นกวนอิม พระโพธิสัตต์ฝ่ายกรุณาในปางผู้หญิงไปได้


หัวข้อ: Re: วิถีแห่งพระโพธิสัตว์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 08 มิถุนายน 2553 12:19:23
(http://img410.yfrog.com/img410/8056/g2r.jpg)



ทีนี้เล่าต่อไปอีกนิดหนึ่งว่าในประเทศธิเบตนั้นเขาไม่มีกวนอิม แต่เขามีพระนางตารา พระนางตารานี้มีสององค์ พระนางตาราขาว กับ พระนางตาราเขียวซึ่งถือว่าเป็นพระชายาของพระอวโลกิเตศวร ที่มีสององค์นี้สืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์การแผ่ขยายของพระพุทธศาสนาจาก อินเดียสู่ประเทศธิเบต กล่าวคือ เมื่อพระเจ้าสองสันกัมโปซึ่งเป็นกษัตริย์ธิเบตหันมารับนับถือพระศาสนาก็ได้ พระชายาสององค์ พระชายาองค์แรกเป็นเจ้าหญิงจากประเทศจีนชื่อเจ้าหญิงเวนเฉิง เจ้าหญิงเวนเฉิงเมื่อมาประเทศธิเบตท่านเป็นชาวพุทธฉะนั้นท่านก็นำพระพุทธรูป สำคัญที่พระนางเวนเฉิงนำมาก็ยังอยุ่ที่วัดหลวงในนครลาซา ส่วนพระชายาอีกพระองค์หนึ่งชาวพุทธอีกเหมือนกัน เป็นเจ้าหญิงที่มาจากประเทศเนปาล ชื่อเจ้าหญิงภริกุติ เจ้าหญิงภริกุตินี้เป็นผู้นำศาสนาพุทธมาช่วยกันเผยแผ่ในประเทศธิเบตเหมือน กันจึงเชื่อกันว่าเจ้าหญิงเวนเฉิงนั้นเป็นปางของพระนางตาราขาว ในขณะที่เจ้าหญิงหรือพระนางภริกุติ ที่มาจากเนปาลนั้นเป็นปางของพระนางตาราเขียว พระนางตาราขาวนั้นจะดูทุกข์สุขของปวงชนชาวธิเบตในเวลากลางวัน ในขณะที่พระนางตาราเขียวจะมีหน้าที่สอดส่องความทุกข์สุขของประชาชนในเวลา กลางคืน สังเกตได้จากดอกบัวที่ถือ ถ้าเป็นพระนางตาราขาวจะถือดอกบัวบานเพราะเป็นเวลากลางวัน ถ้าเป็นนางตาราเขียวจะถือดอกบัวตูมเพราะเป็นเวลากลางคืนอย่างนี้ เป็นต้น แต่ศิลปินที่วาดรูปนั้นส่วนมากแล้วเมื่อวาดดอกบัวก็จะวาดดอกบัวบานมันจะสวย กว่าดอกบัวตูมในแง่ของศิลปะ แต่ต่อมาได้มีการขยายพระนางตาราออกไปอีก มีพระนางตาราปางดุสีแดง สีดำ มีหลายสี แต่ดั้งเดิมนั้นมีแค่พระนางตาราขาวและพระนางตาราเขียวซึ่งก็เป็นสัญลักษณ์ ของผู้หญิงที่ชาวธิเบตไหว้กราบสักการะและก็เป็นที่นิยมมาก พระนางตาราขาวและพระนางตาราเขียวได้รับความนิยมมากในธิเบตพอ ๆ กับที่เจ้าแม่กวนอิมได้รับความนิยมอย่างยิ่งในตะวันออกไกล คือ ประเทศจีน ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น
ทีนี้พูดถึงชีวิตของคนที่เป็นพระโพธิสัตต์ ถ้าหากว่าเริ่มต้นเรายังไม่ได้รู้จักปรัชญา อะไรลึกซึ้งมากมายจะสังเกตได้ว่า คนที่เคารพนับถือเจ้าแม่กวนอิมนั้น จะเลิกกินเนื้อวัว หลายคนไม่กินเนื้อสัตว์เลย เพราะว่าบูชาเจ้าแม่กวนอิม ถือว่าเจ้าแม่กวนอิมจะปกปักษ์คุ้มครองต่อเมื่อตัวเองปฏิบัติไปแนวทางเดียว กันกับเจ้าแม่กวนอิม คือว่าไม่ละเมิดชีวิตของคนอื่น อันนี้จะทำความเข้าใจได้ว่าหลวงพ่อที่วัดหนองหอยถือมังสวิรัติ เพราะว่าบูชาเจ้าแม่กวนอิมและปางใหญ่ท่านก็อยู่ที่นั่น จะทำให้เราเห็นแนวความคิดที่สอดคล้องไปกับการปฏิบัติคนที่ไปบวชเป็นภิกษุณี ที่ไต้หวันทุกคน ถ้าบวชภิกษุณีนะ ทุกคนจะถือมังสวิรัติทั้งสิ้น นับตั้งแต่หลวงย่าที่ไปบวชที่ไต้หวันซึ่งรับศีลโพธิสัตต์ ศีลโพธิสัตต์ฝ่ายบรรพชิตนั้นจะระบุเลยว่าให้งดเว้นเนื้อสัตว์ ในขณะที่ศีลโพธิสัตต์ฝ่ายฆราวาสยังไม่ได้กำหนดงดเว้นเนื้อสัตว์ แต่ให้เราเริ่มเพียรพยายามที่จะปฏิบัติในขั้นปรมัตถ์ต่อไป


หัวข้อ: Re: วิถีแห่งพระโพธิสัตว์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 08 มิถุนายน 2553 12:21:32
(http://img410.yfrog.com/img410/8056/g2r.jpg)



ในโอกาสหน้าจะหาโอกาสเล่าเรื่องพระกษิติครรภ์(ตี้ฉั่งอ๊วงพู่ลัก)ให้ฟัง ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์อีกพระองค์หนึ่งที่ช่วยเหลือโปรดวิญญาณในนรก เป็นที่นิยมของคนจีนอยู่มากในการที่จะไหว้กราบพระกษิติครรภ์ เพราะด้วยความว่าเราไม่แน่ใจว่าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ที่ตายไปแล้ว เราจะทำบุญถึงไหมถ้าหากว่าอยู่ในขุมนรกที่ลึกๆ มากลงไปนั้นอาจจะทำบุญไม่ถึง จะต้องฝากไปกับพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ เพราะว่าท่านได้อธิษฐานบารมีขอช่วยสัตว์นรกจนกว่าจะหมดนรกพูดกันว่าอย่างนั้น
เพราะฉะ นั้นก็เป็นพระโพธิสัตว์อีกพระองค์หนึ่งที่มีความมุ่งมั่นใน การปฏิบัติตนรื้อสัตว์ขนสัตว์อย่างยิ่ง
อาตมา หยิบยกเรื่องราวของพระโพธิสัตต์มาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เกิดความอ่อนน้อมในใจของเรา น้อมใจของเราลงเพื่อให้เห็นว่าแนวทางการปฏิบัติเส้นทางโพธิสัตต์นั้นจำเป็น ที่จะต้องมีความมั่นคง จำเป็นที่ต้องปฏิบัติในขั้นถวายชีวิตได้ ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชาเพื่อแนวทางโพธิสัตต์เพื่อพระพุทธภูมิ ข้อสำคัญในการปฏิบัติของเรา ในการสละที่สำคัญที่สุดก็คือ การสละการยึดมั่นถือมั่นในตน สละกิเลสที่มันรุมเร้า ยึดครองจิตใจของเรา สละมันไปทีละขั้น ๆ ยิ่งเราสละมาก ความมั่นคงของเราในสายพระโพธิสัตว์ก็จะมั่นคงขึ้น  


จาก.......................................พระภิกษุ


อ้างอิงจาก..............http://www.thaibhikkhunis.org (http://www.thaibhikkhunis.org)



หัวข้อ: Re: วิถีแห่งพระโพธิสัตว์
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 มิถุนายน 2553 18:23:06
 
(http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/stcmu7/picture/01109_0.jpg)

ภิกษุณีธัมมนันทา...ภิกษุณีแห่งสยามประเทศ

หนทางสู่นิพพาน...มิอาจขวางกั้น 'ภิกษุณีธัมมนันทา'
 ผู้หญิงไทย
คนแรกที่ได้รับการบวชเป็นสามเณรีในนิกายเถรวาท(เถรวาท = วาทะของพระเถระ)

http://www.sookjai.com/index.php?topic=2653.0 (http://www.sookjai.com/index.php?topic=2653.0)


ทุกข์เพราะไปผูกพันกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง
 พระผู้เทศน์ให้เข็มทิศจิตใจแก่เราชาวเลดี้ ก็คือ ภิกษุณีธัมมนันทา
แห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี

http://www.sookjai.com/index.php?topic=1127.0 (http://www.sookjai.com/index.php?topic=1127.0)


ชื่นชมวัตรปฏิบัติของท่าน.. ขอบคุณน้อง"บางครั้ง" มากมายสำหรับข้อมูลดีๆ
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ