[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 15 มิถุนายน 2553 02:32:28



หัวข้อ: ธรรมะยากหรือถูกทำให้ยาก
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 15 มิถุนายน 2553 02:32:28
[ โดย อ.ฐิตา จากบอร์ดเก่า ]



(http://www.think-be.com/vol8/be8_2.jpg)

ธรรมะยากหรือถูกทำให้ยาก


ถ้าในชีวิตเราครั้งหนึ่งเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการอ่านบทสัมภาษณ์ที่อุดมไปด้วยแก่นสารของพุทธศาสนา ชีวิตของเราคงถูกเติมเต็มไม่มากก็น้อย ตัวผมศรัทธาในคำสั่งสอนที่ว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง หรือตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หลายครั้งที่เราๆ ท่านๆ เดินเข้าวัดไปเพื่อพนมมือยกไหว้พระพุทธรูปแล้วขอนั่น ขอนี่ ขอให้รวย ขอให้มีความสุข แต่แท้จริงพุทธศาสนาคือการช่วยเหลือตนเอง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะหนักหนาเพียงใด นอกจากเรียนรู้เรื่องการช่วยเหลือตนเองแล้ว ทุกท่านต้องเรียนรู้คำว่า ‘อดทน’ ไปพร้อมๆ กัน ผมมองว่านี่แหละสัจธรรมของการมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้

การเป็นคนในสังคมปัจจุบันควรมีทรรศนะเช่นไร

หนึ่ง เราจะต้องพึ่งตนเองให้มากขึ้น สอง ต้องเห็นแก่ส่วนรวมเป็นกิจที่หนึ่ง ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง เพราะเวลานี้สังคมไทยเต็มไปด้วยคนเห็นแก่ตัว เราถูกกระตุ้นให้อยากแล้วก็หลอกให้ซื้อ แล้วก็บริโภคอย่างขาดสติ พอกระตุ้นให้อยาก หลอกให้ซื้อแล้วพอบริโภคอย่างขาดสติ ปัจจัยที่จะทำให้เราบริโภคได้อย่างเต็มที่ก็คือเงิน เมื่อทำมาหากินอย่างปกติแล้วไม่มีเงิน เราก็ต้องคอรัปชั่น ฉะนั้นเวลานี้คนไทยจึงมีค่านิยมว่าคอรัปชั่นเป็นเรื่องที่ไม่ผิด เราจะผิดก็ต่อเมื่อคอรัปชั่นแล้วทิ้งหลักฐานไว้ให้เขาจับได้ นี่คือค่านิยมวิปริต ประเทศที่มีค่านิยมทางจริยธรรมวิปริตก็เท่ากับเป็นประเทศที่มีจริยธรรมพังครืนลงมา เราจึงเป็นประเทศที่ไม่มีหลักประกัน ทั้งทางกฎหมายและทางจริยธรรม เพราะอะไร เพราะว่ารากฐานของกฎหมายและจริยธรรมมันต้องอยู่ในใจไม่ใช่รัฐธรรมนูญ เราจึงต้องหันมากระตุ้นคนไทยให้คิดถึงส่วนรวมให้มากเป็นกิจที่หนึ่ง ส่วนตัวนี้เป็นกิจที่สอง

หลายภาคส่วนได้พยายามปลูกจิตสำนึก แต่ก็ดูเหมือนว่าในความเป็นจริงของโลกความพยายามนั้นดูไร้ค่ากับสังคมไทย

นั่นเป็นเพราะว่า คนทั้งประเทศเห็นว่าคอรัปชั่นไม่ใช่อาชญากรรมที่เลวร้ายไม่ใช่กฎหมายไม่เข้มแข็งนะ กฎหมายปราบคอรัปชั่นของไทยถือว่าเข็มแข็งมากแต่ว่าในเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่เห็นว่าเป็นสิ่งที่เลวร้าย เราก็จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องโตอะไร ใครๆ เขาก็ทำกัน คำว่าใครๆ เขาก็ทำกัน เป็นคำที่ทำให้สังคมยุ่งเหยิงอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ จริงๆเราไม่ควรจะพูดประโยคนี้ เราควรพูดว่ามีแต่เพียงคนโง่บางคนเท่านั้นที่พากันคอรัปชั่น คนที่มีปัญญาทั้งหลายเขาไม่ได้เชื่อ ไม่ได้ยอมรับว่าคอรัปชั่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีประเทศไหนในโลกนี้ที่เชื่อว่าการคอรัปชั่นจะพาให้ประเทศพัฒนาได้อย่างแท้จริง

99 เปอร์เซ็นเป็นคนที่ไม่รู้จักแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ เขาถึงพยายามหาเปลือกของความเป็นมนุษย์เข้ามาพอก มาเพิ่มมาเติม มาประดับ เราไปดูพระพุทธเจ้ามีเพียงไตรจีวร บาตรหนึ่งใบ แต่พระพุทธองค์ไม่เคยจะมีปัญหาเรื่องการไม่ได้รับความยอมรับ คนทั่วโลกต่างก็ยอมรับพระพุทธองค์โดยไม่เคยถามว่า จีวรของพระองค์คือแบรนด์อะไร บาตรของพระองค์ผลิตที่ยุโรปหรือว่าที่เมืองไทย กุฏิของพระองค์อยู่อย่างไร ไม่มีใครถามถึงคุณค่าเทียมจากพระพุทธเจ้า

ฉะนั้นถ้าคนคนหนึ่งรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้เขาก็จะมีชีวิตที่มีแก่นสาร แล้วเขาก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการแสวงหาการยอมรับเทียมๆ จากชาวโลก แล้วชาวโลกก็จะไม่เรียกร้องอะไรที่เทียมๆ จากคนเช่นนี้ด้วย แต่เวลานี้มีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าแก่นของความเป็นมนุษย์คืออะไร ก็พยายามไปหามาพอกหัวจดเท้า พอไม่มีคนเห็นหัวก็ยังทุกข์อยู่ แต่ถ้าเราเข้าใจ เราไม่จำเป็นต้องมีเครื่องประดับ แค่มีชีวิตที่มีแก่นสารแค่นั้นชาวโลกก็จะค้อมมโนและศิระการให้คนอย่างพระพุทธเจ้า อย่างคานธี หรือคนอย่างแม่ชีเทเรซ่า ท่านทั้งหลายเหล่านี้ต้องใช้เครื่องประดับไหม…


คุณสามารถอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ใน นิตยสาร BE


(http://www.think-be.com/vol8/Cover8.jpg)


เรียบเรียงสัมภาษณ์ : กิตติพจน์ อรรถวิเชียร / ภาพ : ธานี ดำมา


 :) http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-833.html (http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-833.html)

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ